Luxury – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 08 Apr 2024 00:56:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เหล่าแบรนด์หรูยังทุ่มทุนเปิดร้านค้าทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง บางเจ้าเปิดโซน VIP ให้ลูกค้าโดยเฉพาะ ไม่กังวลสภาวะเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1469395 Sun, 07 Apr 2024 13:42:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469395 แบรนด์หรูหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Gucci หรือแม้แต่ Chanel จนถึง LVMH นั้นได้ทุ่มเงินในการเปิดหน้าร้านตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก โดยนักวิเคราะห์มองว่าแบรนด์หรูหลายแบรนด์นั้นลูกค้ายังมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอย และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ยังถือว่าเล็กน้อยด้วยซ้ำเมื่อวัดกับรายได้

Savills บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ และ Bernstein วาณิชธนกิจจากสหรัฐอเมริกา รวบรวมข้อมูลว่านับตั้งแต่ปี 2023 ที่ผ่านมาเหล่าแบรนด์หรูได้ทุ่มเงินรวมกันมากกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

ถ้าหากนับเฉพาะปี 2023 ที่ผ่านมาแบรนด์หรูหลายแบรนด์ได้ปิดดีลทั้งซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์รวมกันเกิน 6,500 ล้านเหรียญสหรัฐด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าสูงกว่าปี 2022 ถึงราวๆ 6.5 เท่าด้วยกัน

แม้ว่าจะมีความกังวลในเรื่องของสถานการณ์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (CRE) ซึ่งหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลว่าอาจเป็นจุดเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ แต่แบรนด์หรูหลายแบรนด์เองยังได้เจรจากับเจ้าของ อสังหาฯ เหล่านี้เพื่อที่จะจับจองพื้นที่ที่ดีที่สุดทั้งในนิวยอร์ก หรือแม้แต่พื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ปารีส หรือแม้แต่ในเมืองมุมไบ ในประเทศอินเดีย

แบรนด์หรูไม่ว่าจะเป็น Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Gucci ได้ทุ่มทุนมากถึง 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในละแวกที่ดีที่สุดในเมืองมิลานอย่าง Via Montenapoleone ซึ่งเป็นโซนรวมร้านแบรนด์หรูที่นักท่องเที่ยวรู้จัก ซึ่งก่อนหน้านี้แบรนด์ลูกอย่าง Saint Laurent เป็นหนึ่งในผู้เช่าละแวกนี้ด้วยเช่นกัน

ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา Kering ได้อสังหาริมทรัพย์ในนครนิวยอกร์กมาแล้ว ด้วยดีลมูลค่ามากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่คู่แข่งรายสำคัญอย่าง LVMH หรือ Chanel เองก็ได้ไล่ล่าหาอสังหาริมทรัพย์พื้นที่ที่ดีที่สุดในเมืองดังกล่าวเช่นเดียวกัน

ไม่เพียงเท่านี้มากกว่า 1 ใน 3 ของร้านค้าที่เช่าตามเมืองต่างๆ ของสหรัฐอเมริกานั้นได้เป็นของแบรนด์หรูไม่ว่าจะเป็น Dior ที่เปิดร้านตามเมือง Orlando และ Detroit รวมถึง Austin ขณะที่ Alexander McQueen ได้เปิดร้านค้าใหม่ตามเมือง Atlanta และ Boston เป็นต้น

นอกจากนี้ร้านค้าที่เช่าพื้นที่ใหม่ บางแห่งเองยังมีการเปิดโซนพิเศษเพื่อเอาใจลูกค้าระดับ VIP ที่มีกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง ไว้สามารถจับจ่ายซื้อสินค้าแบรนด์หรูแบบเป็นส่วนตัว ไม่ต้องปะปนกับลูกค้าทั่วไปด้วยซ้ำ

แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยยังสูง แต่แบรนด์หรูเหล่านี้กลับไม่สะทกสะท้านกับการไล่ซื้อหรือแม้แต่เช่าอสังหาริมทรัพย์ด้วยซ้ำ เนื่องจากตัวเลขล่าสุดโดยเฉลี่ย ค่าเช่าสถานที่หรือแม้แต่การลงทุนในเรื่องร้านค้านั้นคิดเป็น 9% ของยอดขายของแบรนด์หรูเหล่านี้ด้วยซ้ำ

ที่มา – Wall Street Journal, Business Insider, Forbes

]]>
1469395
CEO ของ Swatch ผู้ผลิตนาฬิการายใหญ่ เผย “ชาวจีนอ่อนไหวกับราคาสินค้า ตัดสินใจนานขึ้น” ชี้ยังเป็นปีที่ยากสำหรับตลาดแดนมังกร https://positioningmag.com/1468419 Mon, 01 Apr 2024 05:30:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468419 ผู้บริหารสูงสุดของ Swatch ผู้ผลิตนาฬิการายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์ ได้กล่าวว่าชาวจีนอ่อนไหวกับราคาสินค้า ตัดสินใจนานขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแดนมังกรยังกลับมาไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันเขาก็คาดว่ากว่าตลาดจะฟื้นตัวได้นั้นอาจต้องรอไปถึงช่วงปลายปีนี้

Nick Hayek ซึ่งเป็น CEO ของ Swatch ผู้ผลิตนาฬิกาจากสวิตเซอร์แลนด์ ให้สัมภาษณ์กับ Neue Zuercher Zeitung สื่อในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเขากล่าวว่าตลาดนาฬิกาหรูในประเทศจีนอาจต้องรอไปจนถึงสิ้นปีนี้ถึงสถานการณ์จะดีมากขึ้น และมองว่าผู้บริโภคชาวจีนเริ่มมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้า แสดงให้เห็นสภาวะเศรษฐกิจจีนที่ยังฟื้นตัวไม่ดีนัก

CEO ของ Swatch ได้กล่าวว่ากับสื่อรายดังกล่าวว่า ผู้บริโภคชาวจีนเริ่มมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้า และใช้เวลาตัดสินใจนานมากขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคเหล่านี้จะมีเงินอยู่แล้วก็ตาม และเขายังมองว่าสำหรับปี 2024 ยังถือว่าเป็นปีที่ยากสำหรับตลาดแดนมังกร และกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นอาจต้องรอไปถึงช่วงปลายปี

ข้อมูลของ Statista ได้ชี้ว่าตลาดนาฬิกาหรูในประเทศจีนในปีนี้จะเติบโตตั้งแต่ปี 2024-2028 เฉลี่ยแค่ 1.92% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งปกติตลาดนาฬิกาหรูในแดนมังกรนั้นมีอัตราการเติบโตต่อปีมากกว่าตัวเลขดังกล่าวด้วยซ้ำ

ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศจีน โดยเฉพาะปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์นั้นได้สร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกลางในประเทศจีนที่มีมากกว่า 400 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของสินค้าหรู

ขณะที่สถานการณ์ยอดขายในประเทศอื่นๆ CEO รายนี้มองว่า สหรัฐอเมริกายังคงเติบโตต่อไป โดยร้านค้าของทางบริษัทนั้นถือว่าเติบโตเร็วกว่าคาด แต่ขณะที่ร้านค้าอื่นที่นำนาฬิกาของบริษัทไปจำหน่ายนั้นเริ่มมีความไม่มั่นใจในยอดขาย ขณะที่ตลาดอื่นๆ อย่างในประเทศญี่ปุ่นยังไปได้ดี รวมถึงยุโรปด้วย

สำหรับ Swatch นั้นเป็นผู้ผลิตนาฬิการายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตนาฬิกาหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Omega หรือ Tissot ซึ่งเป็นแบรนด์นาฬิกาหรู รวมถึงแบรนด์อื่นๆ เช่น Swatch และ Hamilton หรือแม้แต่แบรนด์อย่าง Mido

นอกจากนี้ CEO ของ Swatch ยังกล่าวว่า เขาจะไม่นำบริษัทออกจากตลาดหุ้น เนื่องจากการนำบริษัทออกจากตลาดหุ้นทำให้มีหนี้จำนวนมาก ซึ่งเขาและครอบครัวซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั้นไม่ต้องการที่จะเป็นหนี้

อย่างไรก็ดี CEO รายนี้ยังชื่นชมชาวจีนว่าเป็นผู้ที่กระหายความสำเร็จ การต้องการทำงาน เพื่อที่จะให้ได้สิ่งต่างๆ และนำเงินไปท่องเที่ยวหรือแม้แต่การซื้อนาฬิกา และเขายังมองว่าตลาดจีนนั้นยังมีโอกาสอีกมาก

]]>
1468419
Gucci คาดยอดขายในไตรมาส 1 ปีนี้อาจลดลงถึง 20% ผลจากเศรษฐกิจจีนและตลาดเอเชียชะลอตัวลง https://positioningmag.com/1466859 Wed, 20 Mar 2024 07:40:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466859 กุชชี่ (Gucci) ได้แจ้งว่ายอดขายในไตรมาส 1 ปีนี้อาจลดลงถึง 20% ผลจากเศรษฐกิจจีนและตลาดเอเชียชะลอตัวลง ซึ่งแบรนด์หรูยี่ห้อดังกล่าวนั้นถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของ Kering ซึ่งในปีที่ผ่านมากำไรของบริษัทที่ลดลงถึง 17% ก็มาจากปัญหาเดียวเช่นกัน

Kering ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หรูหลายยี่ห้อได้แจ้งกับนักลงทุนก่อนที่ผลประกอบการในไตรมาส 1 จะออกมาในเดือนเมษายนว่า ยอดขายแบรนด์หรูอย่าง Gucci ในทวีปเอเชียอาจลดลงถึง 20% ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากยอดขายชะลอตัวลงจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน

ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หรูจากฝรั่งเศสรายนี้ได้ชี้ว่ายอดขายทวีปเอเชียในไตรมาส 1 ของปี 2024 ของ Gucci จะลดลงถึง 20% เมื่อเทียบกับปี 2023 ที่ผ่านมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หรูหลายยี่ห้อจากฝรั่งเศสรายนี้ต้องแจ้งนักลงทุนล่วงหน้า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของจีนที่ชะลอตัวลงกว่าคาด แม้ว่าในปีที่ผ่านมา GDP ของจีนจะเติบโตมากถึง 5.2% ก็ตาม แต่เศรษฐกิจจีนเองก็ยังพบกับความท้าทายจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

ข้อมูลจากปี 2022 ที่ผ่านมา Gucci เป็นแหล่งรายได้สำคัญมากถึง 51% ของรายได้รวมทั้งหมดของ Kering ซึ่งถ้าหากแบรนด์ดังกล่าวมีปัญหาเรื่องยอดขายตกย่อมส่งผลทันทีต่อบริษัท

ขณะที่ตลาดแดนมังกรมีสัดส่วนต่อรายได้ของ Gucci มากกว่า 1 ใน 3 ของรายได้รวมของ Gucii ซึ่งถ้าหากตลาดสินค้าหรูแดนมังกรประสบปัญหาจากสภาวะเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบต่อยอดขายรวมของ Kering ไม่น้อย ซึ่งในปี 2023 นั้น Kering มีกำไรลดลงถึง 17% เมื่อเทียบกับปี 2022 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากยอดขายฝั่งเอเชียที่ลดลง

ในช่วงที่ผ่านมา หลายแบรนด์หรูได้เน้นเจาะตลาดจีน โดยคาดหวังว่าจะเป็นแหล่งรายได้และผลกำไรให้กับบริษัทไม่น้อยนอกจากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ที่เป็นตลาดหลักของสินค้าหรูอยู่แล้ว ซึ่งหลายบริษัทเองได้มีการเร่งขยายธุรกิจในจีนอย่างมาก

อย่างไรก็ดี หลังจากการแพร่ระบาดของโควิดตลาดสินค้าหรูในจีนกลับไม่ฟื้นตัวอย่างที่หลายบริษัทคาดไว้ จนทำให้หลายบริษัทเองต้องกระจายรายได้โดยการหาลูกค้าที่สนใจสินค้าหรูทั่วโลกแทน เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้รายได้กลับมาเติบโตแทน

]]>
1466859
Coupang ซื้อกิจการ Farfetch ธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ มูลค่าเกือบ 17,500 ล้านบาท https://positioningmag.com/1456179 Tue, 19 Dec 2023 02:15:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456179 E-commerce รายใหญ่ในเกาหลีใต้ ประกาศซื้อกิจการ Farfetch ธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ มูลค่าเกือบ 17,500 ล้านบาท หลังจากที่ Farfetch ได้หาผู้ซื้อกิจการต่อ เนื่องจากบริษัทขาดทุนอย่างหนัก และมีโอกาสล้มละลายได้ในช่วงสิ้นปี 2023 นี้

Coupang ซึ่งเป็นธุรกิจ E-commerce รายใหญ่ในเกาหลีใต้ ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน ถึงการเข้าซื้อกิจการของ Farfetch ซึ่งเป็นธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ จากสหราชอาณาจักร มูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 17,500 ล้านบาท

สำหรับ Farfetch เป็นธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ จากสหราชอาณาจักร ก่อตั้งในปี 2007 โดย Jose Neves และธุรกิจขายสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ของบริษัทนั้นให้บริการมากถึง 190 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

แบรนด์สินค้าที่วางขายใน Farfetch มีทั้ง Gucci และ Dolce & Gabbana หรือ Alexander McQueen ฯลฯ ขณะที่ประเภทของสินค้านั้นมีตั้งแต่กระเป๋า รองเท้า หรือแม้แต่เครื่องประดับราคาแพง

ขณะที่ Coupang นั้นเป็น E-commerce รายใหญ่จากเกาหลีใต้ และมีผู้ลงทุนรายใหญ่คือ SoftBank

Bom Kim ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Coupang ได้กล่าวว่า การซื้อกิจการของ Farfetch ทำให้เข้าถึงธุรกิจขายสินค้าหรูที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 400,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และในแพลตฟอร์มของ Farfetch นั้นทางฝั่งของ Coupang มองว่าเป็นส่วนหนึ่งในอนาคตของช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าหรูด้วย

นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตรการซื้อสินค้าหรูนั้นสูงแห่งหนึ่งในโลกเมื่อเทียบกับรายได้ ทำให้ธุรกิจ E-commerce รายใหญ่ในเกาหลีใต้มองเห็นโอกาสในการซื้อกิจการของ Farfetch

ในปี 2018 นั้น Farfetch ได้เข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมีมูลค่ากิจการมากถึง 6,000 ล้านเหรียญในช่วงเวลาดังกล่าว และมีมูลค่าบริษัทสูงสุดถึง 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 จากช่วงการแพร่ระบาดของโควิดทำให้มียอดการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดี มูลค่ากิจการ Farfetch ในช่วงที่ผ่านมากลับลดลงอย่างหนัก เหลือมูลค่ากิจการไม่ถึง 230 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จากปัญหาการขาดทุนของธุรกิจติดต่อกันหลายปี จนทำให้ผู้ก่อตั้งของ Farfetch มีแผนที่จะซื้อบริษัทออกจากตลาดหุ้น หรือแม้แต่ขายกิจการต่อให้กับผู้สนใจ

โดยเม็ดเงินดังกล่าวของ Coupang จะทำให้กิจการของ Farfetch นั้นอยู่รอดต่อไปได้ หลังจากที่บริษัทนั้นมีสิทธิ์ที่จะล้มละลายและต้องเข้าฟื้นฟูกิจการ ถ้าหากไม่ได้ผู้ที่มาซื้อกิจการก่อนในช่วงวันที่ 25 ธันวาคมนี้

ที่มา – Reuters, Axios

]]>
1456179
ดัชนีราคานาฬิกาหรูมือสองทำสถิติต่ำสุดในรอบ 2 ปี ผลจากสภาวะไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1452003 Thu, 16 Nov 2023 07:08:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452003 ดัชนีราคานาฬิกาหรูมือสองทำสถิติต่ำสุดในรอบ 2 ปี สาเหตุสำคัญนั้นมาจากสภาวะไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ รวมถึงสภาวะดอกเบี้ยสูง ขณะเดียวกันยังรวมถึงปริมาณนาฬิกาหรูได้เพิ่มเข้ามาในตลาดมือสองเพิ่มขึ้นด้วย คาดว่าราคานาฬิกาหรูมือสองจะยังลดลงได้อีกหลังจากนี้

Watch Market Index ซึ่งเป็นดัชนีตลาดนาฬิกาหรูมือสองของ WatchCharts ซึ่งติดตามราคานาฬิกาหรู 60 รุ่น จากแบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกา ไม่ว่าจะเป็น Rolex และ Patek Philippe รวมถึงแบรนด์อื่น ๆ ล่าสุดดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ 29,914 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งถือเป็นสถิติต่ำสุดในรอบ 2 ปี

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาหรูลดลงต่ำเนื่องจากปริมาณนาฬิกาหรูเหล่านี้เข้ามาในตลาดซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจโลกไม่เป็นใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาวะดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจากธนาคารกลางหลายประเทศได้ปรับขึ้นดอกเบี้ย ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง

นอกจากนี้ยังรวมถึงสภาวะเศรษฐกิจในประเทศจีนที่ชะลอการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา และยังรวมถึงปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ ซึ่งตลาดในประเทศจีนถือเป็นตลาดสำคัญอีกตลาดหนึ่งของสินค้าแบรนด์หรูเนื่องจากจำนวนประชากรชนชั้นกลางผู้มั่งคั่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ราคานาฬิกาหรูได้ทำสถิติสูงสุดในปี 2022 เนื่องจากความต้องการนาฬิกาหรูเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญมากจากความมั่งคั่งของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ราคาสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดอกเบี้ยยังไม่สูงเท่ากับปัจจุบัน

สอดคล้องกับรายงานจาก Bloomberg ได้รายงานถึงจำนวนนาฬิกาหรูได้เข้ามาในตลาดมือสองเพิ่มมากขึ้น 5% นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จากรายงานของ Subdial ซึ่งเป็นผู้ทำดัชนีตลาดนาฬิกาหรูมือสองอีกราย คาดว่าราคานาฬิกาหรูมือสองจะถูกกดดันจากสภาวะต่าง ๆ และเราอาจได้เห็นราคาลดลงหลังจากนี้

รายงานของ Subdial ยังชี้ว่าราคานาฬิกาหรูอย่าง Patek Philippe มีราคาลดลงมากกว่า Rolex โดยถ้าหากนับจากจุดสูงสุดในเดือนเมษายนในปี 2022 นั้นราคามือสองของแบรนด์นาฬิกาหรูดังกล่าวนั้นลดลงมาแล้วมากกว่า 47% แล้ว

]]>
1452003
Chanel ปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นในหลายประเทศรวมถึงไทย ชี้ค่าเงินแต่ละประเทศผันผวน https://positioningmag.com/1447238 Sun, 08 Oct 2023 18:05:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447238 ชาแนล (Chanel) ยักษ์ใหญ่สินค้าหรูอีกรายของโลก ได้ปรับราคาสินค้าเพิ่มในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เป็นต้น หรือแม้แต่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยบริษัทได้ให้เหตุผลถึงค่าเงินในแต่ละประเทศมีความผันผวน

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า Chanel ผู้ผลิตสินค้าหรูหลายประเภท ได้ประกาศขึ้นราคาสินค้าหลายประเภทในหลายประเทศ โดยให้เหตุผลถึงค่าเงินของประเทศที่บริษัทมีสินค้าวางขายนั้นมีความผันผวน จึงมีการปรับราคาเพิ่มอีกตั้งแต่ 6 ถึง 8% ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ

ตัวแทนของ Chanel ได้ตอบคำถามของสำนักข่าว Bloomberg ว่า นี่คือสิ่งที่บริษัทได้ทำเป็นประจำ ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเราในแง่ของการปรับราคาให้สอดคล้องกัน โดยตลาดที่ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หรูรายนี้ได้ขึ้นราคานั้นได้แก่ ไทย จีน มาเลเซีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รวมถึง ไต้หวัน

และนั่นจะทำให้ราคากระเป๋ารุ่น Classique ของ Chanel ไซส์ 25 เซนติเมตร มีราคาถึง 9,700 ยูโรในฝรั่งเศส ถ้าหากคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ จะอยู่ที่ 10,230 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ถ้าราคาเป็นเงินหยวนจะอยู่ที่ 80,500 หยวน หรือคิดกลับเป็นดอลลาร์สหรัฐ จะมีราคามากถึง 11,030 ดอลลาร์สหรัฐ

ผู้ผลิตสินค้าหรูหลายรายมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้า และนั่นหมายความว่าแบรนด์หรูเหล่านี้สามารถเพิ่มราคาได้โดยไม่จำเป็นว่าจะมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียลูกค้าไป อย่างไรก็ดีในช่วงปีที่ผ่านมาแบรนด์หรูเหล่านี้เริ่มประสบปัญหาลูกค้าเริ่มที่จะลดการซื้อสินค้าของแบรนด์หรูเหล่านี้ลง ซึ่งเห็นได้จากหลายแบรนด์เองมียอดขายในตลาดใหญ่ๆ ลดลง แต่ Chanel เองก็ได้ตัดสินใจปรับราคาสินค้าขึ้นในท้ายที่สุด

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้บริหารของ Chanel ได้กล่าวว่า บริษัทอาจมีการขึ้นราคาสินค้าหรูของบริษัทอีกครั้งในเดือนกันยายน โดยมีปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนสินค้า อัตราเงินเฟ้อ ไปจนถึงค่าเงินของประเทศนั้นๆ และการขึ้นราคาสินค้านั้นจะไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ

ปัจจุบัน Chanel มีการพิจารณาปรับราคาสินค้าเฉลี่ยปีละ 2 ครั้งคือในช่วงเดือนมีนาคม และเดือนกันยายน โดยที่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับราคาสินค้าเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 8% และในปี 2020 บริษัทได้ปรับราคากระเป๋าเพิ่มมากขึ้นถึง 20% มาแล้ว

]]>
1447238
แบรนด์หรูยอมจ่ายค่าเช่าแพงบนทำเลที่ดีที่สุดในเมืองมุมไบ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในอินเดียโดยเฉพาะ https://positioningmag.com/1443247 Mon, 04 Sep 2023 04:07:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443247 แบรนด์หรูทั่วโลกต่างจับจ้องตลาดอินเดียเป็นแหล่งรายได้ใหม่ หลายแบรนด์ยอมที่จะจ่ายค่าเช่าในราคาแพงมหาศาลเพื่อที่จะเปิดร้านในทำเลที่ดีที่สุดในเมืองมุมไบ เพื่อจะเจาะลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของอินเดียในตลาดแบรนด์หรูมากขึ้น

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า อินเดียกำลังจะกลายเป็นตลาดสำคัญของเหล่าแบรนด์หรูทั่วโลก ซึ่งแต่ละแบรนด์ยอมจ่ายค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์บริเวณที่ดีที่สุด เพื่อที่จะเจาะเหล่าเศรษฐีที่มีกำลังซื้อ หลังจากหลายแบรนด์เองเริ่มที่จะเจาะตลาดในกลุ่มประเทศใหม่ๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Hermes ไปจนถึงแบรนด์รองเท้าหรูอย่าง Christian Louboutin รวมถึงแบรนด์อื่นๆ ได้ตั้งสาขาขึ้นในเมืองมุมไบ โดยแบรนด์เหล่านี้ยินดีจ่ายค่าเช่าในย่านที่ดีที่สุดของเมืองจนทำให้ค่าเช่าต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากราว 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 7,250 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร

จากรายงานของ Knight Frank คาดการณ์ว่าชาวอินเดียที่มีทรัพย์สินเกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นคาดว่าจะมีมากถึง 1.66 ล้านคนภายในปี 2027 ขณะที่เศรษฐีที่มีสินทรัพย์เกิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐของอินเดียเพิ่มมากขึ้นถึง 60% ในปี 2022 ที่ผ่านมา

อีกสัญญาณหนึ่งที่แสดงให้เห็นการให้ความสำคัญของตลาดในอินเดีย คือ แฟชั่นโชว์ของ Dior ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งแบรนด์หรูรายนี้ได้เลือกสัญลักษณ์อย่าง Gateway of India ในเมืองมุมไบเป็นฉากหลังของโชว์ หรือแม้แต่คอลเลกชันของเสื้อผ้าในงานได้โชว์ศิลปะการเย็บปักถักร้อยแบบอินเดียเอาไว้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการใช้เอกลักษณ์ดังกล่าวเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าในแดนภาระตะนี้ด้วย

Gateway of India ในเมืองมุมไบ ที่ Dior เลือกเป็นสถานที่จัดโชว์ – ภาพจาก Unsplash

สิ่งดังกล่าวหลายแบรนด์ทำไปเพื่อจะเจาะกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อสูงในประเทศอินเดียที่กำลังเติบโต ซึ่งในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา GDP ของอินเดียเติบโตมากถึง 7.8%

ก่อนหน้านี้แบรนด์หรูหลายรายได้เริ่มที่จะเจาะกลุ่มเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกาหรือจีนเท่านั้น หลังจากที่รายได้จาก 2 ประเทศดังกล่าวเติบโตลดลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด หรือแม้แต่ความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่สภาวะถดถอย

นอกจากนี้ยังรวมถึงแบรนด์ต่างๆ โฟกัสตลาดอินเดียมากขึ้น ตั้งแต่ภาคการผลิต ที่มีการย้ายกำลังการผลิตออกนอกประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น อย่างกรณีของ Apple และยังมีการเปิดหน้าร้านเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจนทำให้ยอดขาย iPhone ในอินเดียทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามหลัง สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

เมื่อแบรนด์หรูเริ่มให้ความสำคัญกับแดนภาระตะมากขึ้น เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า “อินเดีย” คือตลาดสำคัญอีกแห่ง ไม่ใช่ตลาดรองตามหลังประเทศใหญ่ๆ แล้วหลังจากนี้

]]>
1443247
‘COACH’ ทุ่ม 3 แสนล้านบาทปิดดีล ‘Versace’ หวังสร้างอาณาจักรสินค้าลักชัวรี่คานอำนาจกลุ่ม ‘LVMH’ https://positioningmag.com/1440686 Fri, 11 Aug 2023 02:50:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440686 หรือนี่จะเป็นการคานอำนาจในตลาดสินค้าลักชัวรี่ เมื่อบริษัทแม่ของ Coach ทุ่มเงินกว่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ ควบรวมกิจการกับแบรนด์ Versace เพื่อสร้างอาณาจักรไว้แข่งขันกับกลุ่ม LVMH และ Kering ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ครอบครองตลาดลักชัวรี่ทั่วโลกไว้

Michael Kors และ Kate Spade กำลังจะกลายเป็นพี่น้องกัน โดยบริษัท Tapestry Inc. ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าลักชัวรี่อย่าง Kate Spade และ Coach ว่าบริษัทได้ซื้อกิจการ Capri Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Michael Kors และ Versace ในมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 3 แสนล้านบาท เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันกับแบรนด์สินค้าระดับไฮเอนด์จากยุโรปได้ดีขึ้น

ข้อตกลงดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2024 โดยเมื่อธุรกิจควบรวมกันแล้วเสร็จจะประกอบด้วย 6 แบรนด์ ที่ส่งเสริมกันอย่างมากและเข้าถึงได้ทั่วโลก ซึ่งบริษัทเชื่อว่ายอดขายต่อปีหลังจากควบรวมจะมีมูลค่ามากกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายสินค้าในกว่75 ประเทศ นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันในช่วง 3 ปีหลังจากปิดดีล จะช่วยให้ลดต้นทุนได้ 200 ล้านดอลลาร์

“การรวมตัวกันของ Coach, Kate Spade และ Stuart Weitzman ร่วมกับ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors จะกลายเป็นกลุ่มสินค้าลักชัวรี่ที่ทรงพลังแห่งใหม่ ปลดล็อกโอกาสพิเศษในการขับเคลื่อนมูลค่าที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้บริโภค พนักงาน ชุมชน และผู้ถือหุ้นทั่ว” Joanne Crevoiserat CEO ของ Tapestry กล่าวในแถลงการณ์

โดยเจาะไปภายใต้ข้อตกลงพบว่า ผู้ถือหุ้นบริษัท Capri จะได้รับ 57 ดอลลาร์/หุ้น และมูลค่าหุ้นพุ่งขึ้น 60% ในช่วงต้นของการซื้อขาย ขณะที่หุ้นของ Tapestry ตกไปเกือบ 6%

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งสองบริษัทได้เปลี่ยนชื่อบริษัทแม่ เนื่องจากพวกเขาต้องการขยายพอร์ตโฟลิโอของแบรนด์แฟชั่น โดย Coach เปลี่ยนชื่อแม่เป็น Tapestry ในปี 2017 และ Michael Kors เปลี่ยนเป็น Capri หลังจากซื้อ Versace ในปี 2018 อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ระบุว่าชื่อ Tapestry จะยังคงอยู่หรือไม่หลังจากการปิดการซื้อกิจการ

การที่ทั้งสองแบรนด์มีการขยายตัวในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Neil Saunders กรรมการผู้จัดการของ GlobalData มองว่า แม้ว่าบริษัทใหม่จะไม่มีชื่อเสียงหรือใหญ่โตเหมือนบริษัทในยุโรป แต่ก็จะมีอิทธิพลอย่างมากในตลาดสินค้าลักชัวรี่ และเพื่อให้สามารถสู้กับแบรนด์จากยุโรปได้ ทั้ง 2 จึงเลียนแบบกลุ่ม LVMH และ Kering ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในการดูแลแบรนด์ที่ดึงดูดกลุ่มต่าง ๆ ของตลาด

“การรวมกลุ่มสินค้าลักชัวรี่ช่วยให้มีการจัดการร่วมกันและความสามารถในการปฏิบัติงานที่กว้างขวาง ซึ่งสามารถใช้กับแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล”

สำหรับกลุ่มบริษัท LVMH ของฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าลักชัวรี่ 75 แบรนด์ อาทิ Louis Vuitton, Dior, Tiffany & Co. แบรนด์เครื่องประดับสัญชาติสหรัฐฯ ส่วนบริษัท Kering เป็นบริษัทแม่ของ Gucci และ Saint Laurent และเมื่อเดือนก่อนบริษัทได้ซื้อหุ้น 30% ในกิจการของ Valentino

ย้อนไปช่วง Q2/2023 ที่ผ่านมา ตลาดสินค้าลักชัวรี่ในสหรัฐอเมริกาได้ชะลอตัวลง โดย Jean-Jacques Guiony ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ LVMH กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า ยอดขายของกลุ่ม LVMH ในสหรัฐฯ ลดลง 1% ดังนั้น การชะลอตัวดังกล่าวถือเป็นสัญญาณเตือนที่สร้างแรงกดดันให้กับ Tapestry และ Capri ซึ่งทั้งสองอย่างนี้กำลังมองหาตลาดต่างประเทศเพื่อหนุนการเติบโต

Source

]]>
1440686
ตลาดสินค้าหรูในจีน-สหรัฐฯ ไม่โตอย่างที่คาด หลายแบรนด์เลิกพึ่งพา 2 ประเทศนี้เป็นหลัก https://positioningmag.com/1438194 Wed, 19 Jul 2023 08:09:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438194 บริษัทผู้ผลิตสินค้าหรูหลายบริษัทอาจเลิกพึ่งพาตลาดหลักของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนหลังจากนี้ และจะเน้นเจาะลูกค้าตามประเทศต่างๆ มากขึ้น หลังจากที่ยอดขายสินค้าหรูของ 2 ประเทศนี้ชะลอตัวลงจากปัญหาเศรษฐกิจ

สำนักข่าว Reuters รายงานสถานการณ์ของตลาดสินค้าหรูในประเทศจีนรวมถึงสหรัฐอเมริกาว่าไม่ได้เติบโตอย่างที่คาดไว้ หลังจากการรายงานผลประกอบการของ Richemont บริษัทแม่ของแบรนด์หรูอย่าง Cartier ที่ผลประกอบการไม่ดีอย่างที่คาดไว้ในทั้ง 2 ประเทศ อาจทำให้หลายแบรนด์หรูต้องคิดหาวิธีเพิ่มรายได้หลังจากนี้

สาเหตุสำคัญคือเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจของประเทศจีน แม้ว่า GDP ในไตรมาส 2 จะเติบโตมากถึง 6.3% แต่ก็เติบโตต่ำว่านักวิเคราะห์คาดไว้ ขณะเดียวกันยอดค้าปลีกในแดนมังกรกลับไม่ได้เติบโตมากนักเหลือเพียงแค่ 3.1% เท่านั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นแตกต่างกับหลายฝ่ายได้คาดไว้ในช่วงปลายปี 2022 ว่าหลังจากการเปิดเมืองจะทำให้เศรษฐกิจจีนเติบโตด้วยแรงเหวี่ยงเต็มที่ และนั่นจะส่งผลกลับมายังตลาดผู้บริโภคของจีน ซึ่งรวมถึงตลาดสินค้าหรูที่หลายแบรนด์มองไว้ในตอนแรกว่าจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง รวมถึงตลาดสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดหลักของผู้ผลิตสินค้าหรูนั้นคาดหวังว่ายอดขายในปีนี้จะเติบโตกว่าเดิมด้วยซ้ำ

แบรนด์หรูหลายแบรนด์ได้ลุยตลาดจีนโดยการเปิดสาขาตามเมืองรองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อู่ฮั่นและเจิ้งโจว หรือในสหรัฐอเมริกาอย่างเมืองชาร์ลอตต์และแนชวิลล์

Amrita Banta กรรมการผู้จัดการของบริษัทวิจัยที่มีชื่อว่า Agility ชี้ว่า ตลาดสินค้าหรูหรานั้นค่อนข้างที่จะมีภาพรวมสวยหรูกว่าตลาดผู้บริโภคโดยรวมในจีน แต่เธอได้ชี้ว่าเกือบทุกคนที่เธอได้พูดคุยด้วย มีความไม่แน่นอนในระดับหนึ่ง โดยสาเหตุสำคัญคือเรื่องของปัจจัยทางเศรษฐกิจ

ภาพจาก Shutterstock

โดยนักวิเคราะห์ของ Citi คาดว่าการฟื้นตัวของจีนจะไม่ใช่ในรูปตัว V แบบที่หลายฝ่ายคาดไว้ และจะต้องใช้เวลาหลายปีที่จะฟื้นตัว

ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกานั้นพบกับปัญหาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จากผลของเงินเฟ้อ ทำให้ลูกค้าในอดีตที่เคยสินค้าหรู ก็เลิกซื้อสินค้าหรูชั่วคราว รายได้ในไตรมาสแรกสำหรับบริษัทผลิตสินค้าหรูอย่าง LVMH และ Chanel นั้นการเติบโตในอเมริกาเหนือชะลอตัวลงเหลือเพียงตัวเลขหลักเดียว จากเดิมที่เติบโต 2 หลักในช่วงที่ผ่านมา

Erwan Rambourg นักวิเคราะห์จาก HSBC ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้แบรนด์หรูในยุโรปเริ่มให้ความสนใจกับลูกค้าคนรวยตามประเทศต่างๆ มากขึ้น ทำให้บริษัทผลิตสินค้าแบรนด์หรูมีความเสี่ยงในการพึ่งพาตลาดจีนนั้นต่ำกว่าสมัยปี 2019 ด้วยซ้ำ

นักวิเคราะห์จาก HSBC รายนี้ยังกล่าวเสริมว่า ในอดีตบริษัทผู้ผลิตสินค้าหรูได้เจาะตลาดญี่ปุ่นในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ต่อมาคือประเทศจีนก่อนการแพร่ระบาดของโควิด และในปัจจุบันนั้นหลายบริษัทได้เจาะหลายตลาดโดยไม่ได้พึ่งพาตลาดประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี แต่เขาก็ชี้ว่าตลาดจีนและสหรัฐอเมริกาจะยังเติบโตต่อได้

สิ่งที่เราจะเห็นหลังจากนี้คือบริษัทผลิตสินค้าหรูจะเริ่มเจาะตลาดเศรษฐีเพิ่มมากขึ้นตามประเทศต่างๆ โดยไม่เน้นเจาะตลาดเฉพาะเจาะจง เพื่อจะลดความเสี่ยงในการพึ่งพิงตลาดใดตลาดหนึ่งมากเกินไป ซึ่งนั่นจะสร้างความเสี่ยงให้กับบริษัทเหมือนกับในช่วงที่ผ่านมา

]]>
1438194
Kering บริษัทแม่แบรนด์หรูหลายยี่ห้อ เตรียมลุยตลาดเครื่องสำอาง ผู้บริหารชี้ได้เวลาต้องทำ https://positioningmag.com/1418297 Tue, 07 Feb 2023 17:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418297 บริษัทผลิตสินค้าหรูจากฝรั่งเศสอย่าง Kering ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังไม่ว่าจะเป็น Balenciaga Gucci Alexander McQueen รวมถึง Yves Saint Laurent เป็นต้น ล่าสุดบริษัทเตรียมที่จะลุยตลาดเครื่องสำอางแล้ว หลังจากที่ดึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าวมาจากบริษัทดังอย่าง Estee Lauder มาร่วมงาน

สำหรับแบรนด์ของ Kering ที่เตรียมมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเร็วๆ นี้ ได้แก่ Bottega Veneta Balenciaga  Alexander McQueen Pomellato รวมถึง Qeelin

Jean-Francois Palus ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของ Kering ได้กล่าวว่าบริษัทกำลังสร้างพื้นที่ใหม่ (ธุรกิจเครื่องสำอาง) เพื่อที่จะให้แบรนด์ต่างๆ ของเราสามารถเติมเต็มศักยภาพในหมวดหมู่ดังกล่าวนี้ หลังจากที่บริษัทได้ดึงตัว Raffaella Cornaggia ซึ่งเป็นผู้บริหารของ Estee Lauder มายาวนานถึง 14 ปีมาร่วมงานกับบริษัท

ไม่เพียงเท่านี้ผู้บริหารรายดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาภาพลักษณ์ของแบรนด์เหล่านี้ให้มีกลุ่มเครื่องสำอางนั้นถือว่า “มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์

สิ่งที่ล่อตาล่อใจให้ Kering ต้องหันมาทำธุรกิจเครื่องสำอาง ก็คือคู่แข่งอย่าง LVMH มีรายได้จากเครื่องสำอางมากถึง 7,700 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนรายได้เกือบ 10% ของรายได้รวมทั้งหมดที่ 79,200 ล้านยูโร

ก่อนหน้านี้ทาง Kering (หรือชื่อ PPR ในสมัยอดีต) ได้ขายธุรกิจเครื่องสำอางของ Yves Saint Laurent ให้กับ L’Oréal ไปในปี 2008 ด้วยมูลค่ามากถึง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ Coty ได้สิทธิ์เครื่องสำอางแบรนด์ Gucci ซึ่งคาดว่าสิทธิ์ดังกล่าวกำลังจะหมดลงในช่วงปี 2028 โดยคาดว่า Kering ได้รายได้จาก Coty ปีละราวๆ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

นักวิเคราะห์จากหลายสถาบันการเงินคาดว่าหลังจากนี้บริษัทจะดึงแบรนด์เครื่องสำอางอย่าง Gucci หรือแบรนด์อื่นๆ ที่ Coty ได้สิทธิ์ไปในอดีตกลับมาเป็นของบริษัทอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะช่วยทำให้บริษัทนั้นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ดังอย่าง Gucci สร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่า 50% ของรายได้รวมทั้งหมด

ที่มา – Reuters, Global Cosmetics News

]]>
1418297