MRT – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Dec 2020 02:34:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ด้อมเกาหลี ขยายสู่เเฟน “อินเตอร์” มิติใหม่ “ป้าย HBD” เทนายทุน มุ่งกระจายรายได้ชุมชน https://positioningmag.com/1311070 Fri, 18 Dec 2020 13:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311070 ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เวลาเราเดินทางด้วยรถไฟฟ้าก็มักจะเห็นป้าย HBD ที่เหล่าเเฟนคลับทุ่มเทลงขันบริจาคเงินกันเพื่อซื้อสื่ออวยพรวันเกิดให้ศิลปิน สร้างสีสันเเละบรรยากาศคึกคักในสถานี

จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ การเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย นำมาสู่กระเเสการเเบนบริษัทนายทุนต่าง ๆ หนึ่งในนั้นได้เกิดแคมเปญรณรงค์ให้ชาวแฟนด้อมหันไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย

เรียกได้ว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่ #เเบนจริง อย่างเป็นรูปธรรม เเละทำให้เกิดเเรงกระเพื่อมได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

เเม้สัดส่วนรายได้จากป้ายศิลปินจะยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับสื่อนอกบ้านอื่น ๆ เเต่บรรดาเเบรนด์ต่าง ๆ ก็ต้องกลับมาคิดให้หนักกันมากขึ้น

เพราะกลุ่มเเฟนคลับ หรือที่มักเรียกกันว่าเเฟนด้อม” (Fandom) เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง เห็นได้จากในเเต่ละครั้งที่มีการเปิดโดเนท เหล่าเเฟนด้อมจะสามารถ “ระดมทุนได้ยอดเงินบริจาค ตั้งเเต่ “หลักหมื่นยันหลักล้าน” ในเวลาอันรวดเร็ว เพียงเปิดโดเนทไม่กี่ชั่วโมง ก็ทะลุหลักเเสนบาทไปเเล้วในด้อมใหญ่ ๆ ที่มีเเฟนคลับจำนวนมาก

ด้อมเกาหลี ขยายสู่อินเตอร์” ช่วย “ตุ๊กตุ๊ก

กระเเสนี้เริ่มต้นจากกลุ่มเเฟนคลับศิลปินเกาหลี รวมตัวกันเพื่อต่อต้านการซื้อสื่อโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า เเม้จะเป็นโปรเจกต์ที่เหล่าเเฟนคลับทำกันมาช้านานก็ตาม

มีการเสนอให้นำโปรเจกต์ศิลปินต่าง ๆ ย้ายไปซื้อสื่อโฆษณาในขนส่งมวลชนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น รถตุ๊กตุ๊ก บิลบอร์ดรถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนต่าง ๆ เเทน

เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็ประเดิมด้วยด้อมใหญ่อย่างกลุ่ม A.R.M.Y แฟนคลับของวง BTS บอยเเบนด์ชื่อดังเเห่งยุค ได้ทำโปรเจกต์ซื้อพื้นที่ป้ายโฆษณาหลังรถตุ๊กตุ๊กจำนวน 15 คัน เพื่ออวยพรวันเกิดให้ 2 สมาชิกในวงอย่าง คิม ซอกจิน (Jin) เเละคิม แทฮยอง (V) เน้นเคลื่อนที่ไปตามถนนเส้นสำคัญในกรุงเทพฯ อย่างสยามเเละสุขุมวิท

จากนั้นก็มีกลุ่มเเฟนด้อมต่าง ๆ หันไปซื้อสื่อโฆษณาในท้องถิ่นตามไปด้วย จนป้ายตามสถานีรถไฟฟ้าว่างในหลายพื้นที่อย่างเห็นได้ชัดต่างจากที่ผ่านมาจะมีโฆษณาลงเต็มตลอด

Source : twitter @piiragan

ล่าสุดความเคลื่อนไหวนี้ ไม่ได้จำกัดเเค่ในด้อมเกาหลีเท่านั้น เพราะได้ขยายไปสู่กลุ่มเเฟนคลับศิลปินระดับอินเตอร์ที่มีคนรู้จักทั่วโลก อย่าง Sarah Paulson เเละ Taylor Swift

Photo : Facebook / Sarah Paulson Thailand

จากการที่ได้พูดคุยกับผู้ทำโปรเจกต์เเละผู้ร่วมบริจาคซื้อโฆษณาบนรถตุ๊กตุ๊ก หลายคนมองว่า

  • เป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนคนหาเช้ากินค่ำ
  • เป็นความเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ เพื่อต่อต้านนายทุนได้ดี
  • ราคาถูกกว่าการซื้อโฆษณาเเบบอื่น เเต่มีคนเห็นบนท้องถนนจำนวนมาก
  • มีความพิเศษ ไม่เหมือนใคร เพราะรถตุ๊กตุ๊กมีเเค่ในไทย ใครเห็นก็จำได้เเละคนต่างชาติก็สนใจ
  • เเบรนด์สินค้าก็สามารถทำได้ เพื่อลดต้นทุนการตลาดในยามเศรษฐกิจไม่ดี
Photo : Twitter @moomoots13

ด้านเหล่าคนขับรถตุ๊กตุ๊กบอกกับสื่อมวลชนว่าเเม้หลายคนจะมองว่ารายได้ป้ายโฆษณา 700 บาทต่อคันต่อเดือนนั้นจะน้อยนิดเเต่ก็สามารถต่อชีวิตในช่วงวิกฤต COVID-19 ได้ใช้จ่ายในครอบครัวหรือจ่ายค่านมลูกได้

จ่ายไม่เเพง เเต่ไปถึงคนตัวเล็กตัวน้อย

โดยราคาราคาป้ายโปรโมตศิลปินท้ายรถตุ๊กตุ๊กมีอัตราค่าบริการโดยเฉลี่ยราว 300 – 700 บาทต่อคันต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่มีขั้นต่ำจะติดกี่คันก็ได้ บางจุดไม่มีการหักค่าหัวคิว สามารถติดต่อคนขับได้โดยตรง เเต่บางจุดต้องติดต่อผ่านหัวหน้าวิน ซึ่งจะมีเเพ็กเกจพิเศษให้ถ้าตกลงติดตั้งเเต่ 30 – 100 คัน ส่วนตัวป้ายนั้น “ต้องทำมาเอง

ส่วนรถกระป้อในซอยต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เรตราคาจะอยู่ที่ 400 – 500 บาทต่อคันต่อเดือน ส่วนรถเเดงในเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ จะมีค่าทำตัวป้าย 500 บาท และค่าเช่ารถสองแถว 1,000 บาทต่อเดือน โดยได้ติดต่อผ่านทางสหกรณ์ที่ดูเเลรถ

Photo : Twitter @NEST97TG_

ขณะที่เมื่อเทียบกับค่าบริการป้ายโฆษณาของสถานีรถไฟ MRT นั้นจะเห็นว่าต่างกันมาก เเละลูกค้าต้องติดต่อกับบริษัทโดยตรง หรือบางกลุ่มก็ติดต่อผ่านเอเยนซี่โฆษณา โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ซึ่งมีไซส์ที่นิยมกันอยู่ 3 ขนาด คือ

  • ขนาดเล็ก (เเนวตั้งเเนวนอนเล็กเรตราคาตั้งเเต่หลักพันปลาย ๆ ถึง 3 หมื่นบาท
  • ขนาดกลาง (แนวนอนเรตราคาตั้งเเต่ 3 – 8 หมื่นบาท
  • ขนาดใหญ่ เรตราคาตั้งเเต่ 8 หมื่น – แสนบาท

โดยราคาของป้ายศิลปินมีอยู่หลากหลายมาก เริ่มตั้งเเต่หลักพันปลาย ๆ ไปจนถึงหลักเเสน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละโลเคชั่น เช่น ถ้าขึ้นเเค่ 15 วันจะถูกลงไปอีก อยู่จุดไหน สถานีไหน ขนาดเท่าไหร่ จุดที่คนมองเห็นมากน้อย ก็จะมีราคาที่ต่างกัน รวมถึงโปรโมชันที่ได้ด้วย

ตัวอย่างป้ายอวยพรศิลปิน ในสถานีรถไฟฟ้า MRT

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะจองขึ้นป้าย 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิด เเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษ ออกเพลงละคร หรือออกอัลบั้มใหม่

เมื่อดูจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็ก ๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN บริษัทผู้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน MRT โดยคิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

เเต่ผู้บริหาร BMN ให้สัมภาษณ์กับ Positioning เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก่อนจะเกิดกระเเสการเเบนนี้ว่า

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว 

ด้านฝั่งผู้พัฒนาสื่อโฆษณารายใหญ่ของเมืองไทยอย่าง Plan B เทคแอคชั่นในกระเเสนี้ด้วยเชิญชวนเเฟนคลับกลับมาลงโฆษณา ด้วยเเคปชั่นว่าเมนใคร ใครก็รัก ประกาศความน่ารักของเมนให้โลกรู้  ซึ่งหลายความเห็นในทวิตเตอร์มองว่า ยิ่งทำให้รู้ว่าความเคลื่อนไหวในการ #เเบน ครั้งนี้มีผลต่อวงการโฆษณาไม่น้อย

เมื่อถามว่าความเคลื่อนไหวนี้ จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือต่อไปอีกยาวหรือไม่ หนึ่งในผู้ทำโปรเจกต์ศิลปินเกาหลี บอกกับ Positioning ว่า จะมีการทำต่อเนื่องอย่างเเน่นอน โดยเฉพาะการซื้อโฆษณากับคนในชุมชน นอกจากรถตุ๊กตุ๊กเเล้ว ก็จะมีการขยายไปยังขนส่งมวลชนท้องถิ่นอื่น ๆ รวมไปถึงป้ายตามร้านโชห่วย รถเร่ขายของเเละรถพุ่มพวง ตามโอกาสที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งมองว่าในปีหน้าแฟนคลับจะมีการทุ่มเงินโปรโมตให้มากกว่าปีนี้อย่างเเน่นอนเพื่อเป็นการช่วยเหลือกันในช่วงเศรษฐกิจย่ำเเย่

สำหรับภาพรวมสื่ออุตสาหกรรมโฆษณาในเมืองไทย คาดว่าทั้งปีนี้ เงินโฆษณาจะสะพัดอยู่ที่ 7.1 หมื่นล้าน เเตะจุด “New Low” ต่ำสุดรอบ 20 ปี ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง โดยสื่อทีวีและสื่อนอกบ้าน ที่เคยมีเม็ดเงินมากที่สุดยัง “ติดลบหนัก” ส่วนดาวรุ่งอย่างสื่อดิจิทัลที่เคยเติบโต 20-30% ต่อเนื่องมาทุกปี ต้องสะดุดเเละอาจเติบโตได้เพียง 0.5% เท่านั้น

 

]]>
1311070
เศรษฐกิจฝืด เเต่เเฟนคลับยัง “จ่ายหนัก” ป้ายศิลปินใน MRT เติบโต ขยายเรทราคา-ปรับไซส์ตามงบ https://positioningmag.com/1301849 Sat, 17 Oct 2020 09:30:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301849 ใครที่เดินผ่านสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) อยู่เป็นประจำ คงคุ้นเคยกับป้าย HBD อวยพรวันเกิดให้เหล่าศิลปิน ที่มีสีสันเเละดีไซน์เเตกต่างกันมากมาย  

เเม้ในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเต่ทว่า โปรเจกต์ของบรรดาแฟนคลับที่รวมเงินลงขัน จัดทำขึ้นมาเพื่อโปรโมตศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบนั้นไม่ได้ลดลงเลย

ย้อนกลับไปถึงกระเเสสื่อโฆษณาป้ายบิลบอร์ดในสถานีรถไฟฟ้าเริ่มคึกคักในไทยมาตั้งแต่ปี 2016 โดยเฉพาะป้ายศิลปินที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแฟนคลับจะเเสดงความยินดี ด้วยการอวยพรศิลปินผ่านป้ายโฆษณานอกบ้าน มีทั้งจอใหญ่เเละจอดิจิทัล ปัจจุบันได้ขยายการเข้าถึงคนหมู่มาก ด้วยฐานแฟนคลับในไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นกิจกรรมทางใจที่ได้ส่วนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มศิลปินที่ชื่นชอบ

ในมุมของเเฟนคลับนั้น ป้าย HBD เป็นการแสดงให้ศิลปินเห็นว่าพวกเขาอยู่เคียงข้างเเละพร้อมให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันก็เป็นการโปรโมตตัวศิลปินด้วย เพราะป้ายจะติดอยู่ในส่วนที่คนเดินผ่านจำนวนมาก เเละผลพลอยได้อีกอย่างคืออาจทำให้คนที่ไม่เคยรู้จัก ก็จะได้รู้จัก และอาจกลายเป็นแฟนคลับคนใหม่ก็เป็นได้

ตลาดป้ายศิลปิน เติบโต-กำลังซื้อไม่ลด 

ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา ถือว่าเทรนด์ป้ายโฆษณา MRT ของกลุ่มเเฟนคลับโตขี้นเรื่อยๆ มีดีมานด์สูงจริงๆ ทำให้เราต้องขยับทำอะไรเพิ่มเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า สมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นป้ายของศิลปินเกาหลี เเต่ตอนนี้ศิลปินไทยเยอะขึ้นมาก มีศิลปินจีน ญี่ปุ่น เเละอาเซียนเพิ่มขึ้นด้วย

ณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด หรือ BMN ผู้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ MRT เล่าให้ Positioning ฟังว่า บริษัทมีการตั้งทีมงานเพื่อดูเเลลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพราะต้องการเข้าใจถึงสิ่งที่เเฟนคลับตั้งใจเเละอยากจะสื่อสารออกไป โดยความต้องการที่ลูกค้าขอมาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่อยากให้เปิดพื้นที่จัด Meet and Greet เเละกิจกรรมเเบบเอ็กซ์คูลซีฟ เอาโปสเตอร์มาตกเเต่งได้ในช็อป ฯลฯ

เเม้ช่วง COVID-19 เศรษฐกิจจะค่อนข้างฝืดเคือง เเต่ป้าย MRT ของเเฟนคลับไม่ได้รับผลกระทบ เเละไม่ลดลงเลย

ด้านมุมมองจากเเฟนคลับที่ให้สัมภาษณ์กับ Positioning บอกว่า เเม้ช่วงนี้จะต้องระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจ เเต่เมื่อโรคระบาดทำให้ไม่ได้ไปชมคอนเสิร์ต เเละยังไม่ได้ซื้ออัลบั้มใหม่ ก็สามารถจัดสรรเงินเหล่านั้นมาร่วมระดมทุนเเทน หรือเเฟนคลับบางคนก็ไม่ได้รับผลกระทบทางการเงินเเละการงานมากนัก ก็ถือว่ายังมี “กำลัง” พอที่จะสนับสนุนศิลปินที่ชอบได้ 

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดกลาง (เเนวนอน)ใน MRT

เมื่อมองจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็กๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN คิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลกับลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว

ขยายเรทราคาให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

ในช่วงเเรกๆ การทำป้าย HBD ศิลปินต้องใช้เงินอย่างน้อยหลักหมื่นต้นๆ ถึงหลักเเสน เเต่ตอนนี้มีการขยายราคาลงมาให้อยู่หลักพันปลายๆ เพิ่มพื้นที่วางป้ายให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างการมี ป้ายเล็ก สำหรับลูกค้าที่มีงบจำกัด

โดยส่วนใหญ่เเฟนคลับจะมีการจองป้าย ประมาณ 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิดหรือเเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษออกเพลงละครหรือออกอัลบั้มใหม่

สำหรับรูปแบบในการ ระดมทุน (​Donate) ทำป้ายของเหล่าเเฟนคลับ ส่วนใหญ่จะกระจายข่าวผ่านทางทวิตเตอร์ ที่มีฐานเเฟนคลับนิยมใช้กันเยอะมาก บางโปรเจกต์อาจมีการระดมทุนผ่านการขายของที่ระลึกต่างๆ ด้วย ซึ่งก็มีการระดมทุนกันได้อย่างรวดเร็ว เเละมีการโหวตเลือก รูปภาพ-โลเคชั่น ที่จะวางโปรเจกต์นั้นๆ ด้วย

บางกลุ่มเเฟนคลับก็ติดต่อโดยตรงกับทีมงาน BMN เอง หรือบางกลุ่มก็ติดต่อผ่านเอเยนซี่โฆษณา โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ซึ่งมีไซส์ที่นิยมกันอยู่ 3 ขนาดคือ

  • ขนาดเล็ก (เเนวตั้งเเนวนอนเล็ก) เรทราคาตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ถึง 3 หมื่นบาท
  • ขนาดกลาง (แนวนอน) เรทราคาตั้งเเต่ 3 – 8 หมื่นบาท
  • ขนาดใหญ่ เรทราคาตั้งเเต่ 8 หมื่น แสนบาท

ราคาของป้ายศิลปินมีอยู่หลากหลายมาก เริ่มตั้งเเต่หลักพันปลายๆ ไปจนถึงหลักเเสน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเเละโลเคชั่น เช่นถ้าขึ้นเเค่ 15 วันจะถูกลงไปอีก อยู่จุดไหน สถานีไหน ขนาดเท่าไหร่ จุดที่คนมองเห็นมากน้อย ก็จะมีราคาที่ต่างกัน รวมถึงโปรโมชันที่ได้ด้วย

ตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดเล็ก (เเนวตั้ง) ใน MRT

สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการทำป้าย ส่วนใหญ่แฟนคลับสร้างโปรเจกต์ขึ้นแล้วทำการระดมทุน (​Donate) เพื่อนำเงินมาทำป้าย โดยใช้การกระจายข่าวผ่านทาง Twitter (แฟนคลับเกาหลีอยู่ใน Twitter จำนวนมาก) ซึ่งรูปแบบการระดมทุนจะมีของที่ระลึก เช่น โปสต์การ์ด, พวงกุญแจ ฯลฯ ให้กับแฟนคลับที่ร่วมระดมทุนด้วย

ขณะที่เรทป้ายโฆษณาสำหรับเเบรนด์สินค้านั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่หลักหมื่นหลักล้าน โดยทีม BMN บอกว่าสามารถปรับได้เสมอ เพราะเป็นเเคมเปญที่เป็นพาร์ตเนอร์กัน โดยในช่วงหลังๆ ก็มีเเบรนด์ใหญ่เข้ามาดีลเเบบระยะยาวเพิ่มขึ้น

ปีหน้าสถานการณ์น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ เเต่สิ่งที่เราห่วงอย่างเดียวคือการเมืองเพราะคาดเดายาก เรื่องเศรษฐกิจกับการเมืองกระทบในเเง่ของโฆษณาอยู่เเล้ว ก็หวังว่าเราจะปรับตัวได้ตามเเผนที่เราวางไว้”

อัดโปรโฆษณา ซื้อ 1 เเถม 1 ช่วงวิกฤตโควิด

วิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการของ BMN กล่าวว่า ตอนนี้ผู้โดยสารก็กลับมาประมาณ 80% เเล้ว ผู้โดยสารอยู่ที่ 3 – 4 เเสนคนต่อเที่ยวต่อวัน นอกจากนี้ยังต้องนับถึงผู้ใช้บริการทางลอดเช่นในสถานีจตุจักร พระรามเก้า ที่เเม้ไม่ได้โดยสารรถไฟ เเต่ก็เข้ามาในพื้นที่ มาช้อปปิ้งที่ Metro Mall มารอเพื่อน ดังนั้น จำนวนผู้ใช้บริการก็จะมากกว่าตัวเลขที่รายงานไป

ตามปกติเเล้ว ผู้คนจะใช้รถไฟฟ้าน้อยที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์เเละวันหยุดยาว เเต่สถานีจตุจักร จะยังเท่ากันทุกวัน เพราะคนยังมาเดินตลาดนัด มาวิ่งออกกำลังกายที่สวน

โดยสถานีที่มีคนใช้เยอะสุดคือสุขุมวิทที่มีผู้โดยสารที่เเตะตั๋วราว 1 เเสนคนต่อวัน ผู้ใช้บริการผ่านพื้นที่ราว 2 เเสนคนต่อวัน รองลงมาคือ เพชรบุรี พระรามเก้า เเละจตุจักร บริษัทคาดว่าปีหน้า จะมีผู้มาใช้บริการจะเพิ่มขึ้นเเตะหลักล้านคน ใน 38 สถานี เพราะสถานการณ์คงดีขึ้นกว่านี้

สถานการณ์หลังจากช่วง COVID-19 ที่หลายเเบรนด์ต้องชะลองบประมาณในการทำการตลาดไปนั้น การซื้อโฆษณาใน MRT ลดลงไปหรือไม่

ผมว่าในภาพรวมของการซื้อโฆษณาใน MRT ไม่ลดในเเง่พื้นที่ เราก็พยายามเติมให้เต็มทุกที่ เเต่อาจจะไม่ได้ทำกำไรจากโฆษณามากนักในสถานการณ์เเบบนี้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนออย่างการซื้อ 1 เเถม 1 ที่ได้ช่วยทั้งลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าเเละพื้นที่ของเราเต็มด้วย

จากนั้นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น BMN ก็มีการดูเเลเฉพาะร้าน เฉพาะสถานี ส่วนใหญ่จะเน้นมาดูเรื่องสื่อโฆษณา ส่วนร้านค้าจะดูเเลทั้งภาพรวมอยู่เเล้ว เเต่ก็ยังไม่ได้กลับมาเก็บค่าเช่า 100% โดยยังมีโปรโมชันเเละส่วนลดอยู่ กระตุ้นให้ร้านต่างๆ ขายของได้ ส่งเสริมให้คนมาซื้อของให้ Metro Mall มากขึ้น

“MRT ปรับตัวรับผลกระทบนี้ โดยมองถึงความอยู่รอดของลูกค้าเป็นหลัก มีการออกมาตรการช่วยเหลือเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ ทั้งให้ส่วนลดเเละให้พื้นที่ฟรีในการขายของ อย่างช่วงเดือนเม.. – .. ลูกค้าอยากไปจัดโรดโชว์ที่สถานีไหน ก็เเจ้งเรามาเเละไปขายของฟรีได้เลย ไม่ต้องเสียค่าเช่า เพื่อให้ลูกค้ายังอยู่กับเราได้นานๆ”

ขณะเดียวกัน การที่ MRT สายสีน้ำเงินมีส่วนต่อขยายครบทั้ง 38 สถานี ก็ทำให้มีพื้นที่ในการบริหารสื่อโฆษณาเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ต่อไปมีการเพิ่มพื้นที่สื่อโฆษณา on ground เช่น บริเวณทางเข้าสถานี และปล่องระบายอากาศ ฯลฯ

โดยบริษัทได้มุ่งเน้นการให้บริการสร้างสรรค์สื่อโฆษณาต่างๆ ตามความต้องการเฉพาะ (Tailor Made) ร่วมกับ
เเบรนด์ชั้นนำเพิ่มมากขึ้น ด้วยนำเสนอที่แปลกใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เเละเดินหน้ากลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสาน OMO (Online Merges with Offline) ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมออนไลน์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน

บุกค้าปลีก ไซส์เล็ก รับเทรนด์ Grab & Go

อีกหนึ่งกลยุทธ์ของ BMN คือการปรับปรุงและสร้างสรรค์พื้นที่ค้าปลีก Metro Mall ทุกสถานีไปสู่ The Happy Hub of MRT

โดยการปรับรูปแบบการขายของร้านค้า ให้เป็นรูปเเบบไซส์เล็กมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากหลายเเบรนด์ ที่ได้ปรับเปลี่ยนร้านอย่างเช่น Fuji To Go, Bon To Go ของโอ ปอง แปง, CoCo Express เเละอีกหลายๆ ร้านที่ปรับร้านเเละขายสินค้าขนาดเล็ก เพื่อคนเดินทางมากขึ้น

ผู้บริหาร BMN บอกว่า ด้วยความที่ MRT เป็นพื้นที่ใหญ่ มีดีมานด์ตลาดสูง บริษัทจึงมีเเผนขยายพื้นที่โฆษณาไปเรื่อยๆ ตามมุมต่างๆ ของสถานีที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยการจัดสรรพื้นที่นั้น หลักๆ จะดูจากอินไซต์ที่เรามี ทั้งเรื่องโลเคชั่นเเละขนาด ให้ตอบโจทย์เเต่ละสินค้าที่ไม่เหมือนกันได้ ช่วยให้ร้านค้าขายของดีขึ้น เพราะอยู่ในสถานที่ที่ใช่

ทั้งนี้ พื้นที่การค้าใน MRT มีอยู่ 2 โซน ได้เเก่ Metro Mall ซึ่งเป็นร้านช็อปใหญ่ เเละโซน Event Area ซึ่งเป็นพื้นที่ให้ร้านไซส์เล็กเข้ามาขาย Grab & Go เเบบ 100% เน้นให้ผู้โดยสารเเวะซื้อสินค้าระหว่างเดินทางได้สะดวก

พื้นที่เราอยู่ยาว เเต่ร้านค้าในโซน Event Area จะอยู่สั้น ประมาณ 10 – 14 วัน สร้างความหลากหลายให้ MRT ลูกค้าจะได้ไม่จำเจ เพราะผู้โดยสารเราขี้เบื่อ ชอบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ถ้าร้านมีสินค้าหลากหลายให้เลือก มี Seasonal Menu ก็จะมัดใจลูกค้าผู้เดินทางได้ดีกว่า

]]>
1301849
เตรียมชงครม. ตรึงค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ถึงสิ้นปีนี้ ลดค่าครองชีพประชาชน  https://positioningmag.com/1285816 Tue, 30 Jun 2020 08:40:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285816 กระทรวงคมนาคมชงครม.ปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ตามสัญญา โดย BEM ช่วยตรึงราคาเดิมถึงสิ้นปี 63 เพื่อลดค่าครองชีพศักดิ์สยามสั่ง รฟม.เจรจาปี 64 คาด CPI ติดลบ ให้ลดราคาต่อ

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เสนอการปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) หรือ MRT

ตามสัญญาสัมปทานทุก 2 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 3 .. 63 โดยพิจารณาตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ทุก 2 ปี ซึ่งพบว่าจะมีจำนวน 4 สถานีที่ต้องปรับขึ้นค่าโดยสารใหม่ อัตรา 1 บาท ตามเงื่อนไขสัญญา

รฟม.ได้หารือกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทาน ซึ่งเอกชนได้มีหนังสือเสนอที่จะยังไม่ปรับขึ้นค่าโดยสารออกไปจนถึงสิ้นปี 2563 เพื่อช่วยลดค่าครองชีพประชาชน ทำให้ตั้งแต่วันที่ 3 ..นี้จะยังคงจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราเดิมเริ่มต้นที่ 16 และสูงสุด 42 บาท

ทั้งนี้ ได้ให้ รฟม.หารือกับเอกชนเพิ่มเติมในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ในปี 2564 ว่า หากคำนวณ CPI แล้วติดลบ ควรจะต้องพิจารณาอัตราค่าโดยสารให้สอดคล้องด้วย

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (30 มิ..) เห็นชอบตามที่ รฟม.เสนอการจัดเก็บค่าโดยสารตามร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร ตามสัญญาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพงบางซื่อ โดยจะมีผลในวันที่ 3 .. 2563 เป็นต้นไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ทุก 2 ปี ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 จะมีการปรับค่าโดยสารใหม่ จำนวน 4 สถานี คือ สถานีที่ 1, 4, 7, 10 โดย BEM ได้มีหนังสือให้ความร่วมมือในการจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราเดิมที่ 16 บาท และสูงสุด 42 บาท ต่อไปจนถึงสิ้นปี 63 โดยไม่มีการสงวนสิทธิ์ใดๆ

Source

]]>
1285816
BTS-MRT-Airport Rail Link เปิดให้บริการฟรี 12 ธ.ค.นี้ ทุกสถานีทั้งวัน https://positioningmag.com/1256233 Mon, 09 Dec 2019 17:19:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256233 ระบบขนส่งมวลชนพร้อมใจให้บริการประชาชน BTS-BRT-MRT-Airport Rail Link ให้บริการฟรี 12 ธ.ค. ตลอดทั้งวัน อำนวยความสะดวกประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ เลียบพระนครทางชลมารค

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท จัดให้บริการรถไฟฟ้า BTS และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ฟรี ตลอดระยะเวลาให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่จะเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ และเข้าชมพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562

โดยประชาชนสามารถเดินทางรถไฟฟ้า BTS ฟรีตลอดเส้นทาง ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 06.00 – 24.00 น. สายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงสถานีเคหะฯ และสายสีลม ตั้งแต่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ถึงสถานีบางหว้า และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT

โดยผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT สามารถกดรับบัตรโดยสารฟรีได้ทุกสถานี หรือรับบัตรฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋ว สำหรับผู้ใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ระบบจะไม่ตัดเงินในวันดังกล่าว ส่วนผู้โดยสารที่ใช้บัตรแรบบิทประเภทเติมจำนวนเที่ยว ต้องกดรับบัตรโดยสารเที่ยวเดียวจากตู้จำหน่ายบัตร หรือรับบัตรฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี

ทางด้านบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ฟรีในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 05.30 – 24.00 น. โดยประชาชนสามารถขอรับคูปองเดินทางฟรีได้ที่เจ้าหน้าที่ประจำสถานีบริเวณห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี

รฟม. และ BEM ยกเว้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน (สถานีเตาปูน-สถานีหลักสอง) และสายสีม่วง (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) ในวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2562 ตลอดระยะเวลาการเปิดให้บริการ นอกจากนี้ รฟม. ได้จัดให้บริการที่จอดรถฟรีทุกอาคารและลานจอดรถ

ส่วนขสมก.จัดเดินรถโดยสารให้บริการฟรี จำนวน 19 เส้นทาง ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 22.00 น. หรือจนกว่าจะส่งประชาชนออกจากพื้นที่หมด แบ่งเป็น

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดเดินขบวนรถพิเศษฟรี ใน 4 เส้นทางหลัก คือ อยุธยา นครปฐม ฉะเชิงเทรา และมหาชัย ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้

Source

]]>
1256233
Thailand Only! รถใต้ดินเดี้ยงซ้ำรอย BTS คลื่นกวนคือปมลึก https://positioningmag.com/1176115 Wed, 27 Jun 2018 05:12:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1176115 เป็นปัญหาซ้ำรอยกันอีกแล้ว สำหรับรถไฟฟ้าเมืองไทย ล่าสุด เช้าวันพุธที่ 27 มิถุนายน 2561 รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เกิดขัดข้องที่สถานีเตาปูน จุดเชื่อมต่อสายสีม่วง ซึ่งทาง MRT ประกาศแจ้งให้ผู้โดยสารย้ายไปที่ชานชาลา 2 แทน

ภาพจาก https://twitter.com/fm91trafficpro
ภาพจาก https://twitter.com/fm91trafficpro

ทำให้มีปริมาณผู้โดยสารสะสมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้โดยสารที่เดินทางมากับรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายบางใหญ่บางซื่อ ที่ทยอยเข้ามาสมทบในชานชาลา บรรยากาศจึงเต็มไปด้วยความเคร่งเครียดและอึดอัด เพราะผู้โดยสารล้นมาถึงบันไดทางขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาไม่ต่างกับบีทีเอสในช่วง 2 วันที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันรถไฟฟ้า BTS ทั้งสายสุขุมวิทและสีลม ออกประกาศว่า ให้ผู้โดยสารเผื่อเวลาเดินทางมากขึ้น เพราะเช้าวันนี้ก็เกิดปัญหาล่าช้าอีก เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณขัดข้อง ต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะถึงแต่สถานีตามเป้าหมายไทม์ไลน์ จาก 1-2 นาทีอาจนานถึง 30 นาทีขึ้นไป 

คีย์หลักของปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถไฟฟ้า BTS มาจากคลื่นความถี่ 2400 MHz มาใช้กับระบบอาณัติสัญญาณในการควบคุมรถไฟฟ้า

เนื่องจากคลื่นย่าน 2400 MHz นี้เป็นคลื่นสาธารณะ จึงมีผู้นำใช้งานจำนวนมาก ทั้งบริการ WIFI, Blutooth และ Microwave Link

ทำให้ความเสี่ยงในการถูกรบกวนสูง ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับระบบควบคุมระบบอาณัติสัญญาณในการควบคุมขบวนรถไฟฟ้า เพราะถ้ามีการใช้งานคลื่นกันมากๆ จะเกิดปัญหาได้ ซึ่ง BTS เองก็รู้ข้อจำกัดเหล่านี้ตั้งแต่แรก

แต่เนื่องจากช่วงแรกการใช้คลื่นยังไม่มีมาก จึงไม่ได้มีการเตรียมป้องกันการกวนของคลื่นไว้ จนมาช่วงหลังการใช้งานอินเทอร์เน็ต ไวไฟ มากขึ้น เริ่มส่งผลต่อระบบอาณัติสัญญาณในการควบคุมขบวนรถไฟฟ้าบ่อยขึ้นเป็นระยะ ตั้งแต่ช่วงปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ แต่ไม่เสียถี่ทั้งวันเหมือนกับช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการคลื่นความถี่เพิ่มสูงขึ้น

โดยดีแทค ได้รับอนุมัติคลื่น 2300 MHz จากทีโอที มาใช้ขยายโครงการ เพื่อทดแทนคลื่น 1800 MHz ที่กำลังจะหมดลง

คุณสมบัติของคลื่นย่านนี้ เป็นคลื่นสั้น มีประสิทธิภาพเรื่องการทะลุทะลวงของสัญญาณสูง เหมาะกับใช้ในเมือง ดีแทคเองได้เร่งขยายการลงทุนเครือข่ายบนคลื่นย่าน 2300 MHz อย่างหนัก จึงทำให้มีกระแสข่าวว่า เป็นเพราะคลื่นความถี่ 2300 MHz ของดีแทค ที่มารบกวนคลื่นของบีทีเอส

ดีแทค จึงได้ทดลองปิดการปล่อยสัญญาณบนคลื่น 2300 MHz จำนวนกว่า 20 สถานีฐานตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า BTS (เช้าเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.) แต่ระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอสก็ยังขัดข้องอยู่เหมือนเดิม

จากการตรวจสอบของ กสทช. ได้สรุปว่า มีความแรงคลื่นกวนกัน  แต่เป็นหน้าที่ของ BTS ต้องไปแก้ปัญหา เพราะคลื่น 2400 MHz เป็นคลื่นสาธารณะจึงไม่ได้รับการคุ้มครอง ผู้ใช้คลื่นต้องรับผิดชอบเอง หากมีปัญหาคลื่นกวนเกิดขึ้น

ในขณะที่คลื่น 2300 MHz ของดีแทค และทีโอที ได้รับอนุญาตใช้งานขยายเครือข่ายถูกต้อง จึงไม่ใช่ปัญหาที่ดีแทคต้องแก้ไข

BTS เลือกแก้ปัญหา หลีกเลี่ยงช่วงคลื่นที่มีการใช้หนาแน่น จากเดิมที่ช่วงคลื่น 2370 MHz ซึ่งใกล้กับช่วงคลื่นดีแทค 2310-2370 MHz ทำให้ BTS จึงขยับไปใช้คลื่น 2400 MHz ช่วงปลาย ให้ห่างจากคลื่น 2300 MHz ที่ดีแทคใช้งานอยู่ให้มากขึ้น

โดย BTS ได้ออกมาระบุว่า ได้มีการแก้ปรับเปลี่ยนระบบวิทยุที่ใช้กับระบบอาณัติสัญญาณในการควบคุมขบวนรถไฟฟ้า เพื่อให้มีความเสถียรมากขึ้น โดยคาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จในวันศุกร์ที่ 29 มิถุนายนนี้

แต่ปัญหาดังกล่าว ถือว่าเป็นการแก้แบบเฉพาะหน้าเท่านั้น และไม่ได้รองรับกับการใช้งานในระยะยาว เพราะนับวันการใช้คลื่นก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น  จึงไม่สามารถการันตีได้ว่าช่วงคลื่นที่ย้ายมาจะไม่เจอปัญหาแบบเดียวกัน

งานนนี้นอกจาก BTS ต้องติดตั้งระบบป้องกันการกวนสัญญาณเพิ่มขึ้นแล้ว กสทช.มองว่า BTS รวมถึง MRT ซึ่งใช้คลื่นความถี่ 2400 MHz ควรต้องเปลี่ยนมาใช้คลื่นในย่านคลื่นที่กันไว้ให้สำหรับบริการรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ เช่น คลื่น 800 MHz สำหรับการส่งสัญญาณรถไฟฟ้าความเร็วสูงไว้แล้ว

รวมถึง การลงทุนวางสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ตามแนวรถไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อเป็นระบบสำรองในระบบอาณัติสัญญาณในการควบคุมรถไฟฟ้า กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับคลื่นไร้สาย เพื่อให้ระบบมีความเสถียรมากที่สุด

ต้องวัดใจ BTS ว่าจะยอมควักเงินลงทุน เปลี่ยนอุปกรณ์ไปใช้ย่านคลื่นใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับกับการให้บริการในระยะยาว เพื่อผู้โดยสารไม่ต้องเผชิญกับปัญหาต้องรอลุ้นทุกวันว่าวันนี้รถไฟฟ้าจะเสียอีกหรือไม่ เหมือนกับทุกวันนี้.


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1176115
เพิ่มผู้โดยสาร ! “รถไฟฟ้าใต้ดิน” ถอดเก้าอี้นั่งให้ยืนมากขึ้น https://positioningmag.com/1147363 Mon, 20 Nov 2017 12:10:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1147363 กลายเป็นกระแสฮือฮาบนโลกออนไลน์ เมื่อบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) แจ้งบนหน้าเฟซบุ๊กเพจ ว่า ได้เพิ่มพื้นที่ว่างในขบวนรถไฟฟ้า สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)  โดยถอดเก้าอี้นั่งผู้โดยสารออกเฉพาะที่นั่งแถวกลาง เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้มากขึ้น

เริ่มทดลองให้บริการขบวนแรก ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป และขอความร่วมมือผู้โดยสารช่วยขยับนิดชิดในให้ผู้โดยสารท่านอื่นสามารถเดินทางไปด้วยกัน

ปรากฏว่ามีทั้งผู้เห็นด้วย และผู้ออกมาคัดค้านว่า เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด และแก้ปัญหาชั่วคราวควรเพิ่มจำนวนรถให้มากขึ้นจะดีกว่าลดเก้าอี้นั่ง ในขณะที่ผู้ที่เห็นด้วยมองว่าวิธีนี้ช่วยเพิ่มผู้โดยสารในช่วงหนาแน่นได้

ทีนี้ลองมาดูผลประกอบการของ BEM ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ (2560) พบว่า มีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ไตรมาส 3 มีรายได้รวม 3,926 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 460 ล้านบาท เพิ่ม 13.3% มีกำไร 940 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว 132 ล้านบาท หรือ 16.3%  เป็นตัวเลขที่สูงมากกว่าทุกปี

รายได้ของ BEM ไม่ใช่รถไฟฟ้าใต้ดินเพียงอย่างเดียว แต่มาจากบริการทางด่วนสายศรีรัชวงแหวนรอบนอกฯ เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสาย สายสีม่วง และเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้า ช่วงสถานีบางซื่อสถานีเตาปูน เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารและรายได้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีน้ำเงินเพิ่มมากขึ้นในด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นตามโครงการที่เปิดให้บริการเพิ่ม

 

ที่มา :mgronline.com/onlinesection/detail/9600000117035

]]>
1147363