บริษัทสตรีมมิ่งเพลง “Spotify” รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2024 ทำรายได้ 3,810 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 20% YoY และทำกำไรสุทธิ 274 ล้านยูโร พลิกกลับจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เคยขาดทุนถึง -302 ล้านยูโร
สาเหตุที่กลับมาทำกำไรได้เพราะต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทลดลง -16% YoY ปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนลดเพราะ “ลดค่าบุคลากร และการใช้จ่ายด้านการตลาดลดลง” ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 29.2% เทียบกับปีก่อนที่ทำได้ 24.1%
Spotify เริ่มทำกำไรได้ทันทีหลังจากมีการเลย์ออฟพนักงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน ณ สิ้นปี 2023 บริษัทเคยมีพนักงาน 9,123 คนทั่วโลก มาถึงสิ้นไตรมาส 2 ปี 2024 จำนวนพนักงานลดเหลือ 7,372 คนเท่านั้น
ราคาหุ้นของ Spotify ดีดตัวขึ้น 12% ทันทีตอบรับข่าวดีจากการประกาศผลกำไรครั้งนี้
ในแง่จำนวนสมาชิกและยอดผู้ใช้งาน บริษัทรายงานว่าไตรมาสที่ผ่านมามีผู้สมัครสมาชิกระดับพรีเมียมสะสม 246 ล้านราย เพิ่มขึ้นมา 7 ล้านรายภายในไตรมาสเดียว ซึ่งถือว่าเกินเป้าหมายที่คาดการณ์ว่าจะมีสมาชิกเพิ่ม 6 ล้านราย อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เป็นประจำรายเดือน (Monthly Active Users: MAU) อยู่ที่ 626 ล้านราย เพิ่มขึ้นมา 11 ล้านราย ซึ่งยังต่ำกว่าที่คาดว่าจะมี MAU เพิ่มขึ้น 16 ล้านราย
นอกจากการหาสมาชิกเพิ่มแล้ว Spotify ยังสร้างรายได้เพิ่มได้ด้วยการ “ขึ้นราคา” โดยมีการปรับขึ้นไปเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ราคาแพ็กเกจสมาชิกแบบบุคคลขึ้นจาก 10.99 เหรียญสหรัฐ เป็น 11.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ขณะที่แพ็กเกจสมาชิกแบบครอบครัว (เข้าใช้พร้อมกันได้ 6 คน) ขึ้นจาก 16.99 เหรียญสหรัฐ เป็น 19.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน
ภายในไตรมาส 3 นี้ Spotify จะยังเดินหน้าตามเป้าหมายต่างๆ ต่อไป ได้แก่ เพิ่ม MAU ขึ้นอีก 13 ล้านราย, เพิ่มสมาชิกพรีเมียมอีก 5 ล้านราย, เพิ่มรายได้เป็น 4,000 ล้านยูโร (โต 19% YoY) และเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นเป็น 30.2%
จากแผนทั้งรัดเข็มขัดและเร่งไล่ล่าสมาชิกเพิ่ม อาจจะทำให้ Spotify มีสิทธิลุ้นให้ปี 2024 เป็นปีแรกที่บริษัทจะทำกำไรได้ตลอดปี หลังจากผลดำเนินงานขึ้นๆ ลงๆ มานาน
]]>สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าว โดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Spotify ได้เตรียมออกแพ็กเกจเสริมเพื่อฟังเพลงคุณภาพสูงระดับ Hi-Fi ซึ่งคาดว่าแพ็กเกจเสริมดังกล่าวจะออกมาภายในปีนี้ และบริษัทหวังว่าบริการดังกล่าวจะเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทในอนาคต
บริการดังกล่าวผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มอย่างน้อย 5 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นราคาเพิ่มเติมจากแพ็กเกจพรีเมียมที่ใช้งานราวๆ 40% นอกจากจะฟังเพลงคุณภาพสูงระดับ Hi-Fi ยังมีเครื่องมือที่จัดการ Playlists รวมถึงระบบจัดการเพลงของสมาชิก
แพ็กเกจเสริมของ Spotify นั้นบริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวบริการดังกล่าวมาสักพัก แต่ได้เลื่อนการเปิดตัวมาตลอดหลังจากมีข่าวตั้งแต่ปี 2021 ขณะเดียวกันคู่แข่งหลายรายไม่ว่าจะเป็น Amazon Music หรือ Apple Music นั้นมีบริการฟังเพลงคุณภาพระดับ Hi-Fi ให้กับสมาชิกแล้ว
แรงกดดันอีกอย่างที่ทำให้ Spotify ต้องเร่งเข็นแพ็กเกจเสริมออกมาคือ บริษัทเร่งการเติบโตของกำไรมากขึ้น หลังจากบริษัทได้รับแรงกดดันจากนักลงทุน เนื่องจากบริษัทมีผลประกอบการขาดทุนนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา
ในผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ผ่านมา Spotify มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 168 ล้านยูโร ขณะที่กำไรขั้นต้นของบริษัทได้แตะหลัก 1,000 ล้านยูโรเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งผลกำไรดังกล่าวนั้นมาจากกลยุทธ์ของบริษัทที่ลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่การปรับขึ้นราคาแพ็กเกจพรีเมียม
โดยบริการดังกล่าวนั้น Spotify มองว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทเพิ่มเติม และรายได้ดังกล่าวส่วนหนึ่งนั้นจะจ่ายไปยังค่ายเพลงต่างๆ แต่บริษัทยังมองว่าฐานลูกค้าหลักคือกลุ่มที่จ่ายเงินในแพ็กเกจพรีเมียม
]]>Spotify ประกาศผลประกอบการของไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยบริษัทมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 168 ล้านยูโร ขณะที่กำไรขั้นต้นของบริษัทได้แตะหลัก 1,000 ล้านยูโรเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งผลกำไรดังกล่าวนั้นมาจากกลยุทธ์ของบริษัทที่ลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง และปรับราคาแพ็กเกจ
ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้เร่งในการลดต้นทุน เช่น การปลดพนักงาน 1,500 รายช่วงปลายปี 2023 ซึ่ง Daniel Ek ผู้บริหารสูงสุดของ Spotify เคยกล่าวว่าบริษัทมีพนักงานมากเกินไป และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ทำให้บริษัทต้องกลับมารีดไขมันองค์กรให้มีประสิทธิภาพอีกครั้ง
นอกจากนี้ Spotify ยังได้งัดแผนการสำคัญคือการประกาศขึ้นราคาแพ็กเกจทั่วโลกในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2023 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อที่จะสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่เป็นผู้ฟังเพลง รวมถึงศิลปิน ซึ่งประกาศดังกล่าวนี้มีผลต่อผู้ใช้งานทั่วโลก
ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัทมีผู้ใช้งานเติบโตเพิ่ม 14% ทำให้บริษัทมีสมาชิกทั้งหมด 239 ล้านคน มีรายได้รวม 3,600 ล้านยูโร และมีกำไรขั้นต้นแตะ 1,000 ล้านยูโร ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 168 ล้านยูโร
สาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทต้องเร่งแผนในการปรับขึ้นราคาแพ็กเกจ หรือแม้แต่การลดต้นทุน ก็คือ แรงกดดันจากนักลงทุนที่ต้องการที่จะให้บริษัทกลับมามีกำไรอีกครั้ง หลังจากที่บริษัทมีผลประกอบการรายปีขาดทุนนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา แม้ว่าจำนวนผู้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
ขณะเดียวกันเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทยังมีแผนที่จะปรับขึ้นราคาในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เพื่มเติมด้วย ซึ่งประเทศดังกล่าวถือเป็นตลาดหลักของ Spotify
ข้อมูลจาก S&P Global Market Intelligence ได้รวบรวมข้อมูลจากนักวิเคราะห์ ชี้ว่าภายในปีนี้บริษัทจะกลับมามีกำไรได้เต็มปี ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่บริษัทไม่สามารถทำกำไรได้ตลอด
]]>ราคาหุ้นของ Spotify พุ่งขึ้นทันที 8% หลังมีการรายงานว่า สตรีมมิ่งเพลงชื่อดังเจ้านี้เตรียมจะปรับขึ้นราคาในหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย
Bloomberg รายงานจากแหล่งข่าววงในที่เกี่ยวข้องว่า Spotify จะขึ้นราคาใน 5 ประเทศหลัก เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ปากีสถาน โดยจะขึ้นประมาณ 1-2 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ก่อนที่จะขึ้นราคาในตลาดสหรัฐฯ เป็นประเทศต่อไปภายในปีนี้
สาเหตุที่ Spotify จะใช้ในการขึ้นราคา คือเรื่องต้นทุนการจัดการ “หนังสือเสียง” (Audiobook) ที่สูงขึ้น โดยปัจจุบัน Spotify ถือเป็นผู้เล่นอันดับ 2 ในตลาดหนังสือเสียงรองจาก Audible
แพ็กเกจราคาสมาชิกพรีเมียม Spotify ในสหรัฐฯ เพิ่งจะปรับขึ้นมารอบหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ขณะนี้ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 10.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หากมีการปรับขึ้นราคาน่าจะทำให้ขึ้นมาอยู่ที่ 11.99-12.99 เหรียญต่อเดือน แพ็กเกจราคานี้ลูกค้าสมาชิกจะสามารถฟังเพลงและพอดคาสต์ได้ไม่จำกัด ส่วนหนังสือเสียงมีโควตาให้ฟังได้ 15 ชั่วโมงต่อเดือน
รายงานข่าวยังแจ้งด้วยว่า Spotify อาจจะมีการเพิ่มแผนแพ็กเกจใหม่ด้วย โดยเสริมแผนราคาสมาชิก 11 เหรียญต่อเดือน เป็นแพ็กเกจกลุ่มราคาที่ไม่ได้รับโควตาฟังหนังสือเสียง ฟังได้เฉพาะเพลงและพอดคาสต์
ในตลาดสตรีมมิ่งเพลงและเสียง Spotify ต้องแข่งขันกับคู่แข่งหลักอย่าง Apple และ YouTube Music และสภาวะเบื้องหลังการทำธุรกิจ คาดกันว่าบริษัทได้รับแรงกดดันสูงมากจากนักลงทุนว่าจะต้องเริ่ม “ทำกำไร” ให้ได้ ทำให้ปีที่ผ่านมามีการปรับขึ้นราคาไปแล้วครั้งหนึ่งจากที่ไม่ได้ปรับมาหลายปี รวมถึงมีการเลย์ออฟพนักงานเพื่อลดต้นทุน
นอกจากการเพิ่มราคาและลดต้นทุนแล้ว มีรายงานข่าวด้วยว่า Spotify จะเริ่มเข็นแพ็กเกจ “ซูพรีเมียม” ออกมาในเร็วๆ นี้ แพ็กเกจนี้เป็นการสตรีมมิ่งเพลงแบบคุณภาพสูง หรือ Lossless Streaming โดยมีผู้ใช้ Spotify บางรายสังเกตเห็นว่าแอปฯ เริ่มทดลองติดโลโก้ Dolby Atmos แล้ว ทำให้คาดกันว่าจะมีแพ็กเกจระดับสูงออกมาเพื่อผู้ใช้ที่ต้องการฟังเพลงผ่านเครื่องเสียงหรือหูฟังคุณภาพ
]]>Apple ถูกสหภาพยุโรปปรับเป็นเงินมากถึง 1,800 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 70,000 ล้านบาท จากข้อหาที่ผูกขาด App Store และขัดขวางไม่ให้คู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการ Music Streaming รายอื่นสามารถแจ้งผู้ใช้งานได้ว่าสามารถจ่ายเงินค่าบริการจากนอกแพลตฟอร์มได้
ปัจจุบัน Apple ห้ามแอปประเภท Music Streaming แจ้งผู้ใช้งาน iOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ iPhone และ iPad ว่าสามารถสมัครสมาชิกด้านนอกแอปที่มีราคาถูกกว่าการสมัครผ่านแอปใน iOS ได้ ซึ่งถ้าหากมีการสมัครผ่านแอปโดยตรงนั้นจะโดน Apple หักค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 30% ทำให้ผู้พัฒนาแอปหลายรายไม่พอใจ
ขณะเดียวกันค่าปรับดังกล่าวยังสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ ซึ่งในตอนแรกคาดว่าจะอยู่ที่ราวๆ 500 ล้านยูโรเท่านั้น
คำตัดสินดังกล่าวมาจากข้อกล่าวหาที่ Spotify ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการยุโรปถึงพฤติกรรมของ Apple ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น การขวางไม่ให้อัปเดตตัวแอป เนื่องจากบริษัทให้ผู้ใช้งานรายใหม่สมัครสมาชิกนอกแอปฯ ของตัวเองจะได้ฟังเพลงฟรี 3 เดือนในราคา 0.99 เหรียญเท่านั้น
Margrethe Vestager กรรมาธิการการแข่งขันของคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่า Apple ใช้ตำแหน่งที่โดดเด่นในทางที่ผิดมานานนับ 10 ปี หลังจากนี้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ จะต้องยกเลิกข้อจำกัดที่มีอยู่ทั้งหมด
รายได้จาก App Store นั้นถือว่าเป็นรายได้สำคัญของ Apple ปัจจุบันรายได้ในส่วนดังกล่าวนั้นมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของรายได้รวมของบริษัทแล้ว
ไม่ใช่แค่สหภาพยุโรปเท่านั้นที่มองถึงเรื่องการผูกขาด App Store แต่หน่วยงานกำกับดูแลหลายประเทศเองเริ่มบีบ Apple หรือแม้แต่ Google ให้เปิดเสรีมากขึ้น เนื่องจากมองว่าผู้เล่นรายอื่นควรที่จะเข้ามาแข่งขันได้ เช่น ในกรณีของญี่ปุ่น เป็นต้น
ทางฝั่งของ Apple กล่าวว่าจะอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าว และมองว่าผลการตัดสินนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือฝั่งของ Spotify ซึ่งได้เข้าพบกับคณะกรรมาธิการยุโรปมากถึง 65 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา และมองว่าบริษัทไม่ได้ผูกขาดบริการ Music Streaming เนื่องจาก Spotify มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 56% ในทวีปยุโรป
ที่มา – BBC, CNN, The Guardian
]]>Spotify บริการสตรีมมิ่งเพลงรายใหญ่ ได้โวยกรณีที่ Apple เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นสูงถึง 27% แม้ว่า Apple จะไฟเขียวให้แอปพลิเคชันอื่นสามารถใช้ผู้บริการเก็บเงิน หรือแม้แต่ผ่าน App Store ของผู้พัฒนารายอื่นก็ตาม และต้องการที่จะให้รัฐบาลอังกฤษขวาง Apple ในกรณีดังกล่าว
บริการสตรีมมิ่งเพลงรายนี้ได้กล่าวว่าพฤติกรรมดังกล่าวของ Apple ถือว่า ‘อุกอาจ’ และเน้นปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง โดย Spotify เตรียมเรียกร้องให้รัฐบาลของอังกฤษจัดการในเรื่องนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ยักษ์ใหญ่รายดังกล่าวเรียกเก็บค่าค่าคอมมิชชั่นกับผู้พัฒนาโปรแกรมรายอื่นเช่นกัน
Apple ได้เริ่มให้ผู้พัฒนาโปรแกรมใช้บริการ App Store หรือแม้แต่ผู้ให้บริการเก็บเงินรายอื่น หลังจากที่ Epic Games ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกม Fortnite ได้ฟ้องร้องถึงการไม่อนุญาตให้ผู้พัฒนาลงโปรแกรมผ่าน App Store ของผู้พัฒนารายอื่น รวมถึงยังเก็บเงินค่าธรรมเนียมมากถึง 30%
ต่อมา Apple ได้ปรับปรุงเงื่อนไขโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากนักพัฒนารายใหญ่ๆ มากถึง 30% บน App Store ขณะที่นักพัฒนารายเล็กจะจ่ายค่าธรรมเนียมประมาณ 15% และนักพัฒนารายย่อยซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 85% ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ เลยให้กับบริษัท
แต่หลังจากการพิจารณาคดีของศาลระหว่าง Apple กับ Epic Games ศาลได้สั่งให้ Apple ห้ามจำกัดตัวเลือกในการชำระเงิน ขณะเดียวกัน Apple เองได้แก้เกมในกรณีดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาและบางประเทศ โดยเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น 27% โดยให้เหตุผลว่านักพัฒนาจะได้ประโยชน์จากบริการของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด หรือแม้แต่การดูแลความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน
ก่อนหน้านี้หน่วยงานกำกับดูแลหลายประเทศเองเริ่มบีบ Apple หรือแม้แต่ Google ในบริการในส่วนของ App Store หรือแม้แต่บริการจ่ายเงิน เนื่องจากมองว่าผู้เล่นรายอื่นควรที่จะเข้ามาแข่งขันได้ โดยประเทศที่เริ่มเข้ามาสนใจในกรณีดังกล่าว เช่น ญี่ปุ่น หรือ สหภาพยุโรป
และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Spotify ได้โวยยักษ์ใหญ่เทคโนโลยี ในเดือนตุลาคมปี 2023 ที่ผ่านมาผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงรายนี้ได้กล่าวถึงบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Apple และ Google ว่าพยายามเป็นหน้าด่านของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 4,000 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมกักขังโลกอินเตอร์เน็ตในระดับ ‘บ้าคลั่ง’ มาแล้ว
ที่มา – BBC News
]]>Daniel Ek ซีอีโอ Spotify ออกบันทึกข้อความถึงพนักงานบริษัทว่า บริษัทตัดสินใจปลดพนักงานเพิ่มเติมอีกเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับทิศมา “ลีนองค์กร” รีดไขมันตัดต้นทุนภายใน
“วันนี้เรายังมีพนักงานมากเกินไปที่ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงาน ช่วยงานของคนอื่นอีกที มากกว่าจะเป็นตำแหน่งงานที่สร้างโอกาสสำคัญต่อบริษัท” Ek กล่าวในบันทึกข้อความ “หลังจากบริษัทเราเติบโตขึ้น เรากลับเดินออกห่างจากแก่นหลักขององค์กรที่ต้องมีไหวพริบฉับไว”
การเลย์ออฟครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปีของ Spotify เมื่อเดือนมกราคมบริษัทประกาศเลย์ออฟพนักงาน 6% ของบริษัทหรือประมาณ 600 คน จากนั้นเมื่อเดือนมิถุนายนก็ปลดออกอีก 200 คนโดยเป็นพนักงานในแผนกพอดคาสต์ทั้งหมด
จากการประกาศผลการดำเนินงานรอบล่าสุด Spotify มีพนักงานรวม 9,241 คน ก่อนที่จะมาประกาศปลดพนักงานครั้งใหญ่ถึง 1,500 คนนี้
นอกจากการตัดต้นทุนด้วยการลดจำนวนพนักงานแล้ว บริษัทยังพยายามสร้างรายได้ให้มากขึ้นในระยะหลัง ผ่านการขึ้นราคาแพ็กเกจสมาชิกในหลายๆ ประเทศ
The Wall Street Journal รายงานว่า ย้อนไปในช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก Spotify มีการเพิ่มจำนวนพนักงานเกือบเท่าตัวในเวลาเพียง 3 ปี โดยซีอีโอ Ek ระบุในตอนนั้นว่าบริษัทต้องมีการขยายตัวเพราะสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลง
ปกติแล้ว Spotify มักจะให้ความสำคัญกับการเร่งเติบโตมากกว่าการทำกำไร แต่ในระยะหลังกลุ่มนักลงทุนเบื้องหลังบริษัทเริ่มจะผลักดันให้บริษัทต้องทำกำไรให้ได้ โดยเฉพาะในช่วงปีที่ผ่านมานี้ที่มีการกดดันหนัก ทำให้เมื่อไตรมาสล่าสุดบริษัทสามารถทำกำไรได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม หากรวม 9 เดือนแรกของปี 2023 บริษัทก็ยังขาดทุนอยู่ 462 ล้านยูโร (ประมาณ 17,500 ล้านบาท)
สำหรับพนักงานที่ถูกเลย์ออฟในรอบนี้จะได้รับค่าชดเชยเทียบเท่าเงินเดือน 5 เดือน และยังได้รับสวัสดิการประกันสุขภาพเป็นเวลา 5 เดือนเช่นกัน
]]>Spotify ได้ประกาศขยายความร่วมมือกับ Google ในการนำระบบ AI เข้ามาใช้เพื่อที่จะแนะนำ Podcast และ Audiobooks ให้ถูกใจผู้ฟังมากขึ้น
บริษัทสตรีมมิ่งเพลงรายนี้ได้ใช้ระบบ Google Cloud’s LLMs โดยระบบดังกล่าวจะวิเคราะห์ Podcast จำนวน 5 ล้านชุด และ Audiobooks ถึง 350,000 ชุด เพื่อที่จะนำข้อมูลไม่ว่าจะเป็นผู้จัดทำ หรือแม้แต่คำบรรยาย ไปประมวลผลเพื่อที่จะส่งผลลัพธ์ให้กับผู้ใช้งานได้แม่นยำมากขึ้น
นอกจากนี้ระบบ AI ดังกล่าวยังช่วยระบุเนื้อหาที่เป็นอันตราย แต่ Spotify ไม่ได้กล่าวลงรายละเอียดแต่อย่างใด
สำหรับความร่วมมือดังกล่าวของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ Spotify ประกาศใช้บริการระบบ Cloud ของ Google แต่เพียงเจ้าเดียวมาแล้วนับตั้งแต่ปี 2016 นอกจากนี้ยักษ์ใหญ่บริการสตรีมมิ่งเพลงรายนี้ได้ใช้บริการอื่นๆ ของ Google เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่เพียงเท่านี้ทั้ง 2 บริษัทประกาศว่าจะมีความร่วมมือด้านวิศวกรรมเพื่อที่จะทำให้บริการของ Spotify ดีมากยิ่งขึ้น ผ่านการใช้ Cloud ของ Google ด้วย
โดย Spotify ได้เริ่มต้นนำอัลกอริธึมแนะนำเพลงให้กับผู้ใช้งานเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำเทคโนโลยี AI มาเป็น DJ โดยใช้ข้อมูลจากเพลงที่ผู้ใช้งานฟังบ่อยๆ
ขณะเดียวกัน Spotify ได้มองหาวิธีการเพิ่มรายได้อื่นๆ นอกจากการสตรีมมิ่งเพลง ซึ่งการนำระบบ AI มาแนะนำ Podcast รวมถึง Audiobooks ให้ถูกใจผู้ฟังมากขึ้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดังกล่าวดัวย
]]>Spotify ระบุว่า ฟีเจอร์นี้ใช้เทคโนโลยีของ OpenAI (บริษัทเจ้าของ ChatGPT) ซึ่งสามารถ “เลียนเสียง” ได้ผ่านการฟังผู้พูดเพียงไม่กี่ประโยค ทำให้ Spotify เลือกนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับการแปลพอดคาสต์ พร้อมกับเลียนเสียงของนักจัดพอดคาสต์ด้วย เพื่อให้ผู้ฟังยังสัมผัสได้ถึงลักษณะเฉพาะและธรรมชาติของพิธีกรรายการ
เบื้องต้นบริษัทจะทดลองฟีเจอร์นี้กับนักจัดพอดคาสต์จำนวนหนึ่ง เช่น Dax Shepard, Monica Padman, Lex Fridman, Steven Bartlett และ Bill Simmons และจะมีการแปลทั้งตอนที่จัดไปแล้วและตอนใหม่
Spotify แจ้งว่า จะมีการแปลพอดคาสต์ภาษาอังกฤษเหล่านี้เป็นภาษาสเปน เยอรมัน และฝรั่งเศส โดยเลือก 3 ภาษานี้เพราะเป็นภาษาที่มีคนฟังพอดคาสต์มากที่สุด หากไม่นับภาษาอังกฤษ
ฟีเจอร์ฟังพอดคาสต์เวอร์ชันแปลและเลียนเสียงโดย AI จะเปิดฟังได้ทั้งสมาชิกที่ใช้งานฟรีและชำระเงิน
Spotify ขอสงวนไม่แจ้งมูลค่าการลงทุนกับฟีเจอร์นี้ แต่โปรเจกต์นี้จะเป็นโปรเจกต์ใหญ่ จะมีการนำไปใช้บริการนักจัดพอดคาสต์ทั่วโลก
ที่มา: CNBC
เพิ่มเติม:
– Dax Shepard และ Monica Padman จัดรายการพอดคาสต์ชื่อ Armchair Expert เป็นรายการสัมภาษณ์คนดัง นักข่าว และนักวิชาการ
– Lex Fridman เริ่มต้นจัดรายการพอดคาสต์เกี่ยวกับ AI ก่อนจะผันตัวมาทำรายการสัมภาษณ์คนดังทุกแขนง ตั้งแต่นักร้อง นักการเมือง จนถึงนักธุรกิจ
– Steven Bartlett ผู้ประกอบการที่ผันตัวมาทำพอดคาสต์รายการชื่อ The Diary of a CEO สัมภาษณ์นักธุรกิจ ในปี 2021 รายการนี้เป็นพอดคาสต์เกี่ยวกับธุรกิจที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดในทวีปยุโรป
– Bill Simmons เจ้าของเว็บไซต์ The Ringer รายการพอดคาสต์ของเขาเติบโตมาจากการพูดคุยเกี่ยวกับวงการกีฬา
Spotify ประกาศว่าบริษัทได้ปรับราคาแพ็กเกจครั้งแรกในรอบ 12 ปีตั้งแต่เปิดบริการเป็นต้นมาในปี 2008 โดยบริษัทได้ให้เหตุผลว่าเพื่อที่จะสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่เป็นผู้ฟังเพลง รวมถึงศิลปิน ซึ่งประกาศดังกล่าวนี้มีผลต่อผู้ใช้งานทั่วโลก
ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันบริษัทได้ประกาศปรับราคาแพ็กเกจสำหรับในลูกค้าในสหรัฐอเมริกามาแล้ว
สำหรับแพ็กเกจต่างๆ มีผลดังนี้ (ราคาของในประเทศไทย)
สำหรับการประกาศเพิ่มราคาของบริการสตรีมมิ่งเพลงนั้น Apple ได้ประกาศเพิ่มราคาในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา ตามมาด้วย Amazon Music รวมถึง Tidal และ Youtube Music
ก่อนหน้านี้ Daniel Ek ซึ่งเป็น CEO ของ Spotify ได้กล่าวว่าบริษัทพร้อมที่จะประกาศขึ้นค่าบริการในช่วงการประกาศผลประกอบการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และปัจจุบันบริษัทมีผู้สมัครสมาชิกแบบเสียเงินราวๆ 210 ล้านคน เพิ่มมากขึ้นกว่า 15% จากปี 2021
ผลประกอบการของ Spotify ในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นมีรายได้รวม 11,727 ล้านยูโร แต่ขาดทุนจากการดำเนินงานถึง 430 ล้านยูโร โดย CEO ของบริษัทได้กล่าวว่าบริษัทได้เน้นลงทุนในเรื่องต่างๆ ที่จะทำให้บริษัทสามารถดึงดูดลูกค้าได้ ก่อนที่ท้ายที่สุดบริษัทจะต้องปรับขึ้นราคาแพ็กเกจ
โดยหลังจากนี้บริษัทจะส่งอีเมล์ให้กับลูกค้าถึงการปรับขึ้นราคาแพ็กเกจหลังจากนี้ และการปรับราคาขึ้นครั้งนี้ยังส่งผลดีต่อค่ายเพลงหลายค่ายที่จะได้รับส่วนแบ่งจาก Spotify มากขึ้น
]]>