WeWork – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 13 Jun 2024 00:46:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “WeWork” พ้นสถานะ “ล้มละลาย” หลังปิดสาขาที่ไม่ทำเงิน 170 แห่ง – เจรจาค่าเช่าใหม่ 190 แห่ง https://positioningmag.com/1477833 Wed, 12 Jun 2024 14:20:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477833 “WeWork” พ้นสถานะ “ล้มละลาย” แล้วเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2024 หลังจากปิดสาขาที่ไม่ทำเงินไป 170 แห่ง และขอเจรจาค่าเช่าใหม่ 190 แห่ง พร้อมกับการเริ่มต้นใหม่ บริษัทแจ้งเปลี่ยนซีอีโอคนที่ 4 ในรอบ 5 ปี

บริษัทโคเวิร์กกิ้งสเปซชื่อดัง “WeWork” ยื่นคำร้องขอเข้าสู่สถานะล้มละลายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023 เนื่องจากมีหนี้สินรวม 18,650 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีทรัพย์สินเพียง 15,060 เหรียญสหรัฐ

สถานการณ์ของบริษัทตกต่ำถึงขีดสุดหลังเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้อัตราการเช่าพื้นที่ตกต่ำ แต่ถึงแม้โรคระบาดจะสงบลงในช่วง 2 ปีมานี้ เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงการประเมินมูลค่าบริษัทเทคกลับตัวเป็นขาลง ส่งผลกระทบให้ WeWork ยังอยู่ในวิกฤตมาอย่างต่อเนื่อง

หลังการล้มละลายของ WeWork บริษัทเริ่มปรับโครงสร้างธุรกิจด้วยการปิดสาขาที่ไม่ทำเงินไป 170 แห่ง และเจรจาขอลดค่าเช่าตึกอีก 190 แห่ง จนทำให้ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ลดลงไปได้ปีละ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา WeWork แจ้งข่าวภายในว่าบริษัทมีการเจรจาสัญญาขอลดค่าเช่าตึกใน 6 เมืองแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำเร็จ ได้แก่ สิงคโปร์, กัวลาลัมเปอร์, กรุงเทพฯ, โฮจิมินห์ ซิตี้, จาการ์ตา และมะนิลา และทำให้บริษัทไม่ต้องปิดสาขาใดในตลาดเหล่านี้ (*ในไทยมี WeWork ตั้งอยู่ 3 สาขา ได้แก่ The PARQ พระราม 4, T-ONE ทองหล่อ และ Spring Tower พญาไท)

WeWork สาขา The PARQ พระราม 4 เปิดตัวในปี 2563

WeWork ระบุเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า พอร์ตโฟลิโอใหม่ของบริษัทในปัจจุบันมีพื้นที่เช่าทั้งหมด 45 ล้านตารางฟุต จาก 600 สาขา ใน 37 ประเทศ

นอกจากการประกาศพ้นสถานะล้มละลายแล้ว WeWork ยังเปลี่ยนตัวซีอีโออีกครั้งโดยซีอีโอใหม่ “จอห์น ซานโตรา” ถือว่าเป็นซีอีโอคนที่ 4 ในรอบ 5 ปีของ WeWork นับตั้งแต่ปี 2019 ที่บริษัทพลาดการเปิดขายหุ้น IPO และเป็นจุดตั้งต้นความปั่นป่วนในองค์กร

ซานโตราจะเข้ามารับตำแหน่งต่อจาก “เดวิด โทลเลย์” ซีอีโอที่เริ่มรับตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 (นับรวมช่วงที่เป็นซีอีโอรักษาการณ์) โดยโทลเลย์ถือเป็นคนที่เข้ามาปรับโครงสร้างธุรกิจ นำการปิดสาขาและเจรจาสัญญาใหม่

สำหรับ จอห์น ซานโตรา เคยเป็นประธานกรรมการ Cushman & Wakefield บริษัทโบรกเกอร์และบริการที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ บริษัทที่เขาทำงานด้วยมานานถึง 40 ปี

WeWork เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย “อดัม นิวแมน” และ “มิเกล แมคเคลวีย์” เมื่อปี 2010 นิวแมนเป็นผู้นำองค์กรในช่วงแรก ผ่านการระดมทุนครั้งใหญ่และการเติบโตระดับประวัติการณ์ จนกระทั่งตัวเขาเองถูกขับออกจากบริษัทเมื่อปี 2019 หลังแผนการเปิดขายหุ้น IPO ไม่สำเร็จ ต่อมาบริษัทได้เข้าตลาดหุ้นในปี 2021 แต่ใช้วิธีเข้าตลาดหุ้นด้วยบริษัท SPAC (Special Purpose Acquisition Company)

Source

]]>
1477833
WeWork เตรียมออกจากการล้มละลายสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ เจรจาสัญญาเช่าฉบับใหม่กับเจ้าของพื้นที่เพื่อลดค่าใช้จ่าย https://positioningmag.com/1468816 Wed, 03 Apr 2024 06:17:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468816 WeWork เตรียมออกจากการล้มละลายสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากที่บริษัทได้เจรจาสัญญาเช่าฉบับใหม่กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ซึ่งคาดว่าค่าเช่านั้นลดลงมากกว่า 40% จากสัญญาฉบับเดิม

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า WeWork ผู้ให้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซนั้นเตรียมที่จะออกจากสภาวะล้มละลายภายในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะเดียวกันบริษัทก็ได้เจรจากับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งที่บริษัทได้เช่าอยู่เพื่อที่จะต่อรองค่าเช่า ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้

WeWork ได้เจรจากับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา หรือแม้แต่ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งผู้ให้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซได้กล่าวขอบคุณเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งถึงความร่วมมือดังกล่าว โดยบริษัทได้เจรจาและทำสัญญาเช่าฉบับใหม่ไปแล้วถึง 150 แห่ง และบริษัทจะหาพื้นที่เช่าใหม่อีก 50 แห่งเพิ่มเติม

Peter Greenspan หัวหน้าฝ่ายอสังหาริมทรัพย์ของ WeWork ที่ดูแลเรื่องการเจรจาสัญญาเช่ากับผู้เช่าทั่วโลก ได้กล่าวว่า ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเจรจากับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (CRE) ซึ่งการเจรจานั้นจะเป็นประโยชน์ทั้งเจ้าของอสังหาฯ และผู้เช่า

การเจรจาดังกล่าวทำให้ WeWork สามารถลดค่าเช่าในสหรัฐอเมริกา แคนาดา จากเดิมได้มากกว่า 40% เมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายลงมาได้

ผู้ให้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซรายดังกล่าวได้ยื่นล้มละลายในช่วงเดือนพฤศจิกายนในปี 2023 ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูง โดยเฉพาะต้นทุนจากค่าเช่าที่บริษัทได้ทำสัญญาระยะยาวกับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ยังรวมถึงรายได้ที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด

นอกจากนี้เทรนด์การทำงานที่บ้าน ยังส่งผลกระทบ WeWork เนื่องจากบริษัทหลายแห่งได้ลดการเช่าสำนักงาน หรือแม้แต่โคเวิร์คกิ้งสเปซลง แม้ว่าล่าสุดบริษัทหลายแห่งจะให้พนักงานกลับมาทำงานที่สำนักงานแล้วก็ตาม

ก่อนหน้านี้ WeWork เคยมีมูลค่ามากถึง 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังเป็นหนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพที่ถูกจับตามองมากที่สุด ซึ่งมีผู้ลงทุนรายใหญ่อย่าง SoftBank Vision Fund เป็น 1 ในผู้ลงทุนรายใหญ่ของบริษัท

]]>
1468816
ตลาด ‘อาคารสำนักงาน’ สหรัฐฯ เตรียมรับแรงกระแทกหลัง ‘WeWork’ ยื่นล้มละลาย ทำให้ต้องยุติสัญญาเช่าในหลายพื้นที่ https://positioningmag.com/1451024 Wed, 08 Nov 2023 09:51:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451024 ดูเหมือนว่าตลาด อาคารสำนักงาน ในอเมริกามีสำนักงานว่างเหลือเฟืออยู่แล้ว หลังจากที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้เทรนด์การทำงานไปสู่รูปแบบไฮบริดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ WeWork ยื่นล้มละลาย อาจยิ่งทำให้ตลาดอาคารสำนักงานเกิดผลกระทบ

เจ้าของอาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยให้ บริษัทโคเวิร์กกิ้ง เช่าเป็นอาคารสำนักงานจำนวนมาก กำลังได้รับผลกระทบจากการที่ WeWork ยื่นล้มละลาย เนื่องจากบริษัทต้อง ยุติสัญญาเช่าอาคารในสหรัฐฯ บางส่วน ซึ่งปัจจุบัน  WeWork มีสาขามากกว่า 600 แห่งในเมืองใหญ่ ๆ

ลือ ‘WeWork’ เตรียมยื่น ‘ล้มละลาย’ ในสัปดาห์หน้า

JLL ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักงานมากกว่า 1 ใน 5 ทั่วสหรัฐฯ หรือกว่า 20% ยังคง ว่าง ดังนั้น การสูญเสีย WeWork จะทำให้มีการเช่าอาคารสำนักงานว่างเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ ค่าเช่าของผู้เช่าลดลง

ซึ่งหมายความว่าเจ้าของอาคารพาณิชย์บางรายอาจ ประสบปัญหาในการชำระหนี้ ในสภาพแวดล้อมที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง โดยในกรณีที่เลวร้ายที่สุด อาจส่งผลให้เจ้าของอาคารพาณิชย์ผิดนัดชำระหนี้เงินกู้หรือการจำนอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบธนาคาร

นอกจากนี้ การล้มละลายของ WeWork อาจส่งผลกระทบกระทบต่อธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลางที่ถือครองหนี้ของเจ้าของอาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ธนาคารต่าง ๆ เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อแก่เจ้าของอาคารและธุรกิจ และทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของระบบการเงิน 

“การล้มละลายของ WeWork สร้างความตกใจครั้งใหญ่ให้กับตลาดอาคารสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดประสบปัญหาอย่างหนัก นี่เป็นอีกปัญหาใหญ่สำหรับตลาดนที่ต้องเผชิญ” Stijn Van Nieuwerburgh ศาสตราจารย์ด้านอสังหาริมทรัพย์ของ Columbia Business School กล่าว 

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า อาคารสำนักงานในเมืองที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด ได้แก่ นิวยอร์กซิตี้ ซานฟรานซิสโก และบอสตัน โดย CoStar บริษัทเก็บข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ระบุว่า ประมาณ 42% ของอัตราการเข้าพักของ WeWork อยู่ใน 3 เมืองดังกล่าว และ WeWork มีแผนที่จะปิดพื้นที่ 1.9 ล้านตารางฟุตในตลาดทั้ง 3 แห่งนี้ หรือประมาณ 35% ของพื้นที่ทั้งหมด

Source

]]>
1451024
ลือ ‘WeWork’ เตรียมยื่น ‘ล้มละลาย’ ในสัปดาห์หน้า https://positioningmag.com/1450163 Wed, 01 Nov 2023 02:49:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450163 จากสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่กำลังมาแรงและมีมูลค่าสูงกว่า 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่จากปัญหาด้านโมเดลธุรกิจและการบริหารงานภายใน ก็ทำให้ WeWork ต้องเจอกับวิกฤต และที่ผ่านมาก็พยายามจะกู้ธุรกิจกลับมาให้ได้ แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะไม่ไหว และมีข่าวว่ากำลังจะยื่นล้มละลาย

แววไม่ดีของ WeWork สตาร์ทอัพผู้ให้บริการ Co-Working Space เริ่มเห็นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 โดยมีข้อกังวลว่าบริษัทจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แม้ว่าบริษัทจะมีรายได้ 844 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 4% ก็ตาม แต่ก็ยัง ขาดทุนถึง 397 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ บริษัทมีสภาพคล่องเหลือแค่ 680 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น 

เนื่องจากบริษัทต้องต่อสู้กับกอง หนี้จํานวนมาก รวมถึงมูลค่าของ หุ้น ปีนี้ ดิ่งลง 96% ก่อนหน้านี้ WeWork แจ้งขอเลื่อนจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ทำให้เข้าสู่ขั้นตอนกำหนดชำระล่าช้าภายใน 30 วัน ซึ่งบริษัทได้เจรจาขอมติผู้ถือหุ้นกู้ให้เลื่อนนัดชำระออกไปอีก 7 วัน มิฉะนั้นจะเข้าสู่สถานะผิดนัดชำระ

WeWork ส่อแววไม่รอดสูง บริษัทกังวลความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลังขาดทุน สภาพคล่องแทบไม่มี

ล่าสุด มีแหล่งข่าววงในเปิดเผยว่า WeWork กําลังพิจารณายื่นคําร้อง ล้มละลาย ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยบริษัทได้ทําข้อตกลงกับเจ้าหนี้เพื่อเลื่อนการชําระเงินชั่วคราวสําหรับหนี้บางส่วน โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน บริษัทมีหนี้ระยะยาวสุทธิ 2.9 พันล้านดอลลาร์ และสัญญาเช่าระยะยาวมากกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ 

ที่ผ่านมา WeWork ทําให้เกิดข้อสงสัยอย่างมาก เกี่ยวกับความสามารถในการดําเนินการต่อไปในเดือนสิงหาคม เนื่องจากมีผู้บริหารระดับสูงจํานวนมาก รวมถึง Sandeep Mathrani CEO ที่ลาออกในปีนี้

Source

]]>
1450163
WeWork ส่อแววไม่รอดสูง บริษัทกังวลความสามารถในการดำเนินธุรกิจหลังขาดทุน สภาพคล่องแทบไม่มี https://positioningmag.com/1440316 Wed, 09 Aug 2023 04:54:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440316 ผู้ให้บริการ Co Working Space อย่าง WeWork ล่าสุดสถานการณ์บริษัทส่อแววไม่รอดสูง หลังจากบริษัทรายงานผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง สภาพคล่องลดลงอย่างหนัก และบริษัทเองยังกังวลความสามารถในการดำเนินธุรกิจด้วย

WeWork ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่ทำงาน (Co Working Space) ได้รายงานผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ของบริษัทว่า “กังวลความสามารถในการดำเนินธุรกิจ” ซึ่งบริษัทได้รายงานผลขาดทุนจากการดำเนินงานมากถึง 396 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานผลประกอบการ บริษัทกล่าวว่า “มีข้อสงสัยอย่างมากเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง” บริษัทยังชี้แจงถึงความสามารถของบริษัทในการดำเนินกิจการได้นั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินการตามแผนในการปรับปรุงสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรในช่วง 12 เดือนข้างหน้าว่าขึ้นอยู่กับแผนการดำเนินงานของผู้บริหารหลังจากนี้

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2023 นั้น WeWork มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,693 ล้านเหรียญสหรัฐ ขาดทุนทั้งสิ้น 696 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่เพียงเท่านี้บริษัทมีสภาพคล่องเหลือแค่ 680 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

แผนการของ WeWork ที่จะกู้ธุรกิจให้กลับมาอยู่รอดประกอบไปด้วย

  • การลดค่าเช่าและการเช่าโดยการดำเนินการปรับโครงสร้างและการเจรจาเงื่อนไขการเช่าที่ดีขึ้น
  • เพิ่มรายได้โดยการหาลูกค้าเพิ่มเติม
  • ควบคุมค่าใช้จ่าย
  • หาเงินทุนเพิ่มเติมโดยการออกหุ้นกู้ หรือหุ้นเพิ่มทุน ไปจนถึงมาตรการขายสินทรัพย์ของบริษัท

หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทเชื่อว่าจะมีลูกค้าใหม่เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่ม นอกจากนี้ยังมีการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น การไล่ปิดสาขา ปลดพนักงานมาเป็นระยะๆ รวมแล้วหลายพันคน แต่ก็ยังไม่ทำให้สถานการณ์ของบริษัทดูดีขึ้นเท่าไหร่นัก 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา WeWork เป็นหนึ่งในธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีบริษัทร่วมลงทุน หลายรายได้ลงทุนในระดับหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ หรือแม้แต่กองทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Vision Fund ของ SoftBank ก็ได้ลงทุนกับผู้ให้บริการ Co Working Space รายนี้ด้วย

มูลค่าบริษัทของ WeWork นั้นเคยสูงสุดมากถึง 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่ Adam Neumann ผู้ร่วมก่อตั้ง WeWork ต้องถูกบีบลาออกจากตำแหน่งหลังจากถูกวิจารณ์ว่าใช้อิทธิพลนำเพื่อนฝูงรวมถึงคนในครอบครัวมาปักหลักทำงานในบริษัท และยังมีข้อครหาในการนำอสังหาริมทรัพย์ของตัวเองมาปล่อยเช่าให้กับบริษัทด้วย

ผลจากการบริหารของ Adam Neumann ทำให้บริษัทมูลค่าตกลงก่อนการเข้าตลาดหุ้น จนท้ายที่สุดต้องมีการล้างบางผู้บริหารแทบทั้งหมด เพื่อฟื้นฟูความมั่นใจให้กับนักลงทุน แต่ราคาหุ้นหลังจาก IPO ไม่ได้กลับเพิ่มขึ้นเลยด้วยซ้ำ

ปัจจุบันราคาหุ้นของ WeWork ลดลงมาแล้วมากถึง 85% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงภาพรวมบริษัทที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ (อดีต) CEO อย่าง Sandeep Mathrani ที่ได้เข้ารับเผือกร้อนในการฟื้นฟูกิจการในปี 2020 ที่ผ่านมา ก็ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันบริษัทมีรักษาการ CEO เท่านั้น ยังไม่มีการหาหัวเรือใหญ่รายใหม่เข้ามาทดแทนแต่อย่างใด

]]>
1440316
ยังพอมีหวัง…ประธาน WeWork คาดปี 2021 บริษัทจะมีกระแสเงินสดเป็นบวก https://positioningmag.com/1287551 Mon, 13 Jul 2020 12:59:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287551 ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา WeWork สตาร์ทอัพที่เคยเป็นดาวรุ่งเเห่งวงการ ต้องเจอมรสุมใหญ่ทั้งปัญหาในองค์กรเเละวิกฤตทางการเงิน ล่าสุดยังต้องเจอกับ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อบริการ Co-working Space โดยตรง เเต่อีกด้าน WeWork ก็ได้อานิสงส์เชิงบวกจากการเเพร่ระบาดนี้ด้วย

Marcelo Claure ประธานกรรมการบริหารของ WeWork (ที่เป็นผู้บริหารในบอร์ด SoftBank ด้วย) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Financial Times ว่า กระแสเงินสดของบริษัทในปี 2021 มีแนวโน้มปรับตัวเป็นค่าบวกได้

ก่อนหน้านี้ WeWork ได้ปรับลดองค์กรให้มีขนาดเล็กลงเพื่อความอยู่รอด โดยมีการปรับลดค่าใช้จ่าย เลิกจ้างพนักงานกว่า 8,000 คน รวมถึงต่อรองยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่ และการขายสินทรัพย์บางส่วนออกไป

ทุกคนอาจคิดว่าภารกิจของ WeWork (ที่จะกลับมารุ่งอีกครั้ง) เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เเละมีโอกาสเป็นศูนย์ เเต่อีก 1 ปีข้างหน้าคุณจะได้เห็น WeWork เป็นธุรกิจที่สามารถทำกำไรได้จากความหลากหลายของสินทรัพย์ที่เรามี” Claure กล่าว

เเม้ว่าการเเพร่ระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อ Co-working Space เมื่อผู้คนต้องเว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงการเดินทาง ขณะที่ผู้เช่าหลายรายก็ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าหรือขอยกเลิกสัญญา

เเต่ WeWork กลับได้รับผลประโยชน์ในอีกทางหนึ่งไปด้วย เมื่อบริษัทหลายเเห่งมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากบ้าน หลายบริษัทเลือกใช้ Co-working Space ให้เป็นรีโมตออฟฟิศแทนการเข้าออฟฟิศของตัวเอง บางแห่งเสนอทางเลือกให้พนักงานมานั่งทำงานเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากบ้าน 2-3 วันต่อสัปดาห์

โดยตอนนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft , Mastercard, ByteDance (บริษัทแม่ TikTok) และ Citigroup ตกลงต่อสัญญาเช่าพื้นที่ใช้บริการของ WeWork เพื่อรองรับพนักงานของพวกเขาในการปฏิบัติงานนอกสถานที่

Marcelo Claure ได้รับการแต่งตั้งให้มาเป็นประธานของ WeWork โดยมีภารกิจหลักคือการกอบกู้สถานการณ์ บริษัท เเละมีการเร่งถอดทีมบริหารเดิมออกด้วย หลัง SoftBank บีบให้ Adam Neumann อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งลาออกเมื่อปีที่แล้วจากกรณียืมเงินบริษัทเพื่อนำไปใช้จ่ายส่วนตัว

ในช่วงวิกฤต COVID-19 นายทุนใหญ่ผู้หนุนหลัง WeWork อย่าง SoftBank ต้องเผชิญภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท สาเหตุมาจากการลงทุนอย่างหนักในธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วโลก เเละการลงทุนใน WeWork ถือเป็นความผิดพลาดหลัก โดย SoftBank กำลังเดินหน้าเเผน “ลดหนี้เพิ่มเงินสด” เเละเตรียมขายหุ้นบางส่วนใน T-Mobile มูลค่ารวมกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร

 

ที่มา : financial times, CNBC

 

]]>
1287551
WeWork ดึง “ซามิต โชปรา” บิ๊กเนมวงการอสังหาฯ นำทัพดูตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก https://positioningmag.com/1281806 Tue, 02 Jun 2020 15:23:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281806 WeWork  ประกาศแต่งตั้ง ซามิต โชปรา ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ WeWork ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อกำกับดูแลกลยุทธ์และตลาดหลักที่มีความสำคัญในภูมิภาค อาทิ ไทย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยมีผลตั้งแต่ 2 มิถุนายน 2563

ซามิต มีประสบการณ์ทำงานในบริษัทชั้นนำในแวดวงอสังหาริมทรัพย์มานานกว่า 20 ปี มีผลงานการขยายธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ และการเติบโต โดยซามิตจะประจำที่สำนักงานในสิงคโปร์ รับผิดชอบงานในด้านการบริหารงบกำไรขาดทุน รุกกลยุทธ์ go-to-market บริหารด้านการขาย ดูแลการเติบโตทางธุรกิจและนวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพของทีมงาน โดยซามิตจะขึ้นตรงกัออยเกน มิโรโพลสกี (Eugen Miropolski) กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการต่างประเทศ  

ออยเกน มิโรโพลสกี กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการต่างประเทศ WeWork กล่าวว่า 

เรายินดีที่ได้ต้อนรับซามิตในฐานะผู้นำทีมของ WeWork ในเอเชียแปซิฟิก ซามิตนับเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในวงการด้วยประสบการณ์การทำงานอย่างยาวนานและประสบความสำเร็จในการวางแผนเร่งพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศในหลายภูมิภาค ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นที่ซามิตจะนำความเชี่ยวชาญและความเป็นผู้นำมาช่วยวางกลยุทธ์ในการดำเนินแผนทางธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตของบริษัทและนำทางไปสู่อนาคตของแพลตฟอร์มสถานที่ทำงาน” 

ซามิตมีประสบการณ์ในวงการอสังหาริมทรัพย์มากว่า 20 ปี และล่าสุดเขาได้รับหน้าที่ในการวางแนวทางที่สามารถยืดหยุ่นได้ให้กับมัลติแบรนด์ของบริษัทที่ต้องการจะพัฒนาพอร์ตโฟลิโอขององค์กรต่างๆ รวมถึงลูกค้าขององค์กรทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และเอเชียแปซิฟิกซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการสถานที่ทำงานระดับโลก

นอกจากนี้เขายังเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในบริษัทผู้ให้บริการทางด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกซึ่งเน้นการขยายธุรกิจระหว่างประเทศไปทั่วอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก และยังดูแลโครงการระดับนานาชาติซึ่งลูกค้าแต่ละรายเป็นลูกค้าองค์กรระดับโลก อาทิ Amazon Apple Qualcomm MetLife Cisco Microsoft Deutsche Bank และ UHG 

ซามิตจบการศึกษา MBA จาก Institute of Management Technology และปริญญาตรีพาณิชยศาสตร์จาก Delhi University นอกจากนี้เขายังศึกษา Advanced Management Program ทางด้านอสังหาริมทรัพย์จาก Harvard University และ Advanced Data Analytics Program จาก The Wharton School of the University of Pennsylvania

]]>
1281806
“แจ็ค หม่า” ลาออกจากบอร์ด SoftBank หลังร่วมบริหาร 13 ปี ขณะที่บริษัทกำลังขาดทุนหนัก https://positioningmag.com/1279248 Mon, 18 May 2020 14:28:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279248 “เเจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังของจีนอย่าง “Alibaba” ประกาศลาออกจากบอร์ดบริหารของ “SoftBank Group” ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีของญี่ปุ่น หลังร่วมบริหารมายาวนานกว่า 13 ปี ขณะที่ SoftBank กำลังเผชิญภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท

ความสัมพันธ์ของ “มาซาโยชิ ซัน” ประธานเเละผู้ก่อตั้ง SoftBank กับ “เเจ็ค หม่า” นั้นถือว่าเเน่นเเฟ้นมาหลายสิบปี ด้วยการเป็นนายทุนใหญ่ที่ตัดสินใจลงทุนใน Alibaba เมื่อปี 2000 กลายเป็นหนึ่งในดีลที่ประสบความสำเร็จที่สุด
ในโลกธุรกิจ

โดยปัจจุบัน Alibaba เป็นหนึ่งในบริษัทรายใหญ่ ด้วยมูลค่าตลาด 5.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 17.5 ล้านล้านบาท) ซึ่งมี SoftBank ร่วมถือหุ้นอยู่ 25%

ก่อนหน้านี้ แจ็ค หม่า ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งในบอร์ดบริหารของ SoftBank Group เป็นระยะเวลา 13 ปีเต็ม
เเละกำลังจะพ้นตำเเหน่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.นี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทไม่ได้เปิดเผยสาเหตุการลาออกของเขา โดยปีที่ผ่านมาหม่าได้เกษียณตัวเองจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba เพื่อหันมาทำงานการกุศล

ด้าน SoftBank ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัทเพิ่มอีก 3 คน
ได้เเก่ โยชิมิสึ โกโตะ รองประธานอาวุโสของบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน SoftBank,
ลิปปู-ตัน ซีอีโอของ Cadence Design Systems และผู้ก่อตั้งบริษัท Walden International และ
ยูโกะ คาวาโมโตะ อาจารย์จาก Waseda Business School

นอกจากนี้ SoftBank ยังได้ประกาศแผนซื้อหุ้นคืนอีก 5 แสนล้านเยน (4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในเดือนมี.ค.ปีหน้า เพิ่มเติมจากแผนซื้อหุ้นคืนในวงเงิน 4.1 หมื่นล้านเหรียญที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน SoftBank กำลังเผชิญภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท สาเหตุหลักๆ มาจากการลงทุนอย่างหนักในธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วโลก ซึ่งตอนนี้กำลังเดือดร้อนจากการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 หนึ่งในนั้นคือ WeWork สตาร์ทดาวรุ่งผู้ให้บริการ Co-Working Space

ทั้งนี้ SoftBank Group เปิดเผยว่าบริษัทมียอดขาดทุนสุทธิในปีงบการเงิน 2019 อยู่ที่ 9.6158 แสนล้านเยน
(ราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 15 ปี สวนทางกับงบการเงินปี 2018 ที่บริษัทเคยมีกำไรสุทธิถึง 1.41 ล้านล้านเยน

ขณะที่บริษัทมียอดขาดทุนจากการดำเนินงานในปีงบการเงิน 2019 อยู่ที่ระดับ 1.36 ล้านล้านเยน ลดลงจากงบการเงินปี 2018 ที่บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 2.07 ล้านล้านเยนจากยอดขาย 6.19 ล้านล้านเยน โดยทาง SoftBank Group ไม่ได้เปิดเผยการคาดการณ์ผลประกอบการในปี 2020 เนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ

 

ที่มา : softbank , asia.nikkei , kyodonews

]]>
1279248
WeWork เตรียมปลดพนักงานจำนวนครึ่งหนึ่ง อยู่ในแผนฟื้นฟูระยะ 5 ปี https://positioningmag.com/1254180 Tue, 19 Nov 2019 16:39:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254180 WeWork รายงานว่าอาจเลิกจ้างพนักงานจำนวนครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งหมดภายในสัปดาห์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูบริษัทในช่วง 5 ปีข้างหน้าด้วย

ตามรายงานของ The Wall Street Journal ระบุว่า WeWork มีแผนที่จะปลดพนักงานมากถึง 4,500-6,000 คน ถือเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดของบริษัทที่มีพนักงาน 12,000 คน

ซึ่งพนักงานจำนวน 2,000-2,500 คน จะมาจากธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เช่น โรงเรียนเอกชนในแมนฮัตตันที่ WeWork ตั้งขึ้น ในอนาคตอาจจะมีการปิดตัว หรือขายกิจการต่อก็ได้ ส่วนอีกหลายพันคนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นคนงานที่บำรุงอาคาร

ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าพนักงานฝ่ายอื่นๆ จะได้รับผลกระทบอย่างไรจากการเลิกจ้างครั้งนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูบริษัทในระยะ 5 ปีหลังจากนี้ เป็นการฝ่าวิกฤตของ WeWork ของจริง

Source

]]>
1254180
ผ่าตัดใหญ่ WeWork! สัญญาณป่วนบอกใบ้ธุรกิจ office-sharing ดิ่งเหวทั่วโลก? https://positioningmag.com/1248121 Tue, 01 Oct 2019 00:28:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248121 สัปดาห์ที่ผ่านมาถือเป็นช่วงเวลาชุลมุนของ WeWork บริการให้เช่าพื้นที่สำนักงานรายย่อยหรือ office-sharing ชื่อดังที่ใช้เงินกว้านทำสัญญากับอาคารใจกลางเมืองใหญ่ทั่วโลกรวมถึงกรุงเทพฯ วันนี้ WeWork กำลังอยู่ระหว่างการผ่าตัดใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหา governance หรือการจัดการทีมบริหารองค์กร ซึ่ง Adam Neumann ผู้ร่วมก่อตั้ง WeWork เพิ่งลาออกจากตำแหน่งเพื่อสางปมถูกวิจารณ์ว่าใช้อิทธิพลนำเพื่อนฝูงครอบครัวมาปักหลักใน WeWork จนซีอีโอคนใหม่เตรียมปลดผู้บริหารเก่าเกือบ 20 คน

การปรับโครงสร้างและแก้ปัญหาใน WeWork นำไปสู่คำถามยิ่งใหญ่ เพราะ IPO ของ WeWork ที่คว้าน้ำเหลวไม่เป็นท่าทำให้กลุ่มนักลงทุนพากันสงสัยในธุรกิจแชร์สำนักงาน ซึ่งที่ผ่านมา WeWork เขย่าโลกธุรกิจแชร์สำนักงานด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก แถมยังสร้างชุมชนสำหรับผู้เช่าซึ่งเป็นสตาร์ทอัปบริษัทรายเล็กที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งหรือบุคคลทั่วไป ทำให้นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 บริษัทก็ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นหนึ่งในผู้เช่าสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในสถานที่เช่นแมนฮัตตัน และใจกลางกรุงลอนดอน

สิ่งนี้ทำให้ WeWork ต้องการเงินสดหมุนเวียนสูงมาก แต่ความสามารถในการทำกำไรกลับยังไม่ชัดเจน ขณะที่สัญญาเช่าระยะยาวก็อาจกัดกร่อน WeWork ได้มากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้นักวิเคราะห์ฟันธงว่าโมเดลธุรกิจแชร์สำนักงานกำลังมีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ในนาทีนี้

ฟอกเลือด WeWork

WeWork วันนี้ยังอยู่ในกระบวนการฟอกเลือด เห็นได้ชัดจากนโยบายของ Artie Minson และ Sebastian Gunningham ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมคนใหม่ 2 รายที่ถูกสื่อรายงานว่าจะเร่งมือถอดทีมบริหารเดิมที่มีสายสัมพันธ์กับอดีต CEO ร่วมอย่าง Adam Neumann ให้เกลี้ยง คาดว่าจำนวนผู้บริหารกลุ่มนี้จะมีมากเกิน 20 ราย

รายงานจาก The Wall Street Journal ย้ำว่านอกจากประธานอาวุโสอย่าง Michael Gross และประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์อย่าง Chris Hill รวมถึงพนักงานกว่า 10 รายที่เคยทำงานแบบรายงานตรงถึง Neumann ทีม Co-CEO รายใหม่ยังจะลอยแพพนักงานหลายพันราย ขณะเดียวกันก็จะขายทิ้งธุรกิจบางส่วนของ WeWork โดยคัดทิ้งเฉพาะธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจหลักในตลาดอสังหาฯ

WeWork’s new co-CEOS, Artie Minson, left, and Sebastian Gunningham, are reportedly moving quickly to overhaul its management. Photo : businessinsider

2 Co-CEO ใหม่อย่าง Minson และ Gunningham นั้นเข้ามารับคำแหน่งต่อจาก Neumann ในช่วงสัปดาห์นี้ หลังจากที่ WeWork ไม่สามารถเสนอขายหุ้น IPO (initial public offering) ได้ตามที่นักลงทุนหวังไว้ โดย 2 Co-CEO รายใหม่ถูกแต่งตั้งจาก Softbank ซึ่งลงทุนใน WeWork มากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ประเด็นนี้มีการวิจารณ์ว่า WeWork นั้นกำลังมีชะตากรรมเดียวกับ Uber ซึ่งผู้ก่อตั้งจำเป็นต้องกระเด็นจากเก้าอี้ CEO และหลุดจากวงโคจรของบริษัทเพราะมีปัญหา governance จนต้องให้ยาแรงปรับโครงสร้างใหญ่กว่าจะขาย IPO ได้ในที่สุด กรณีของ Softbank มีรายงานว่าหัวเรือใหญ่อย่าง Masayoshi Son เคยเรียก WeWork ว่าเป็น “Alibaba รายถัดไปของตัวเขาเอง เพราะก่อนหน้านี้ Masayoshi Son ลงทุนให้ Alibaba ราว 20 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ได้รับกลับมา 5 หมื่นล้านเหรียญเมื่อ Alibaba เข้าตลาดและขาย IPO ได้สำเร็จ

ยังไม่กำไร

บริษัทดาวรุ่งอย่าง WeWork ยังคงยืนยันกำหนดการขาย IPO ที่ปลายปีนี้ มูลค่าตลาดที่ประเมินล่าสุดคือ 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม นักการเงินกำลังจับตากรณีของ WeWork อย่างใกล้ชิดเพราะ WeWork ยังไม่มีแผนทำกำไรที่ชัดเจนในขณะนี้ โดย 80 – 85% ของยอดรายรับยังต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่คาดคิดกันว่า WeWork จะสามารถทำได้ในอนาคต

ที่ผ่านมา WeWork พยายามวางตัวเป็นคู่แข่งกับ IWG Plc ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสำนักงานใหญ่ที่สุดในโลก IWG ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วพร้อมกับการก่อตั้งแบรนด์ Regus แต่จุดต่างของ IWG คือการลดความเสี่ยง เพราะ WeWork เน้นเซ็นสัญญาเช่าระยะยาวกับเจ้าของที่ดิน ก่อนจะลงมือก่อสร้างพื้นที่เพื่อให้เช่าแบบดูดีที่สุด แต่ IWG และคู่แข่งรายอื่นใช้รูปแบบแฟรนไชส์ ที่ใช้ทุนน้อยกว่า ขณะที่บางรายเน้นการให้เช่าพื้นที่สำหรับผู้เช่าองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ปัจจุบัน WeWork ดำเนินงานใน 111 เมืองทั่วโลก มีสมาชิกมากกว่า 525,000 คน ท่ามกลางพนักงานมากกว่า 12,000 คน โดย WeWork ทำสถิติเป็นผู้เช่าสำนักงานเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในแมนฮัตตัน และเป็นผู้เช่ารายใหญ่อันดับ 2 ในลอนดอน (รองจากรัฐบาลอังกฤษ) นอกจากนี้ยังเป็นผู้เช่ารายใหญ่อันดับ 4 ในซานฟรานซิสโก ซึ่งภายในเวลา 1 ปีที่เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น WeWork ได้เปิดสำนักงาน 11 แห่งทั่วประเทศ และวางเป้าหมายเพิ่มสำนักงานเป็น 3 เท่าในปลายปี 2562.

]]>
1248121