AstraZeneca-Oxford – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 09 Jul 2021 06:48:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลวิเคราะห์ชี้ 5 ใน 6 ประเทศที่มีการ ‘ติดเชื้อโควิดสูง’ ได้รับ ‘วัคซีนจีน’ https://positioningmag.com/1341457 Fri, 09 Jul 2021 06:33:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341457 การวิเคราะห์ของเว็บไซต์ CNBC ระบุว่า ในบรรดาประเทศที่มี ‘อัตราการฉีดวัคซีนสูง’ และ ‘อัตราการติดเชื้อ COVID-19 สูง’ ส่วนใหญ่พึ่งพา ‘วัคซีนที่ผลิตในประเทศจีน’ โดยการหาข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพวัคซีนจากจีน เนื่องจากการมาของตัวแปรเดลต้าที่แพร่เชื้อได้ดีกว่า

CNBC ระบุ 36 ประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่มากกว่า 1,000 รายต่อล้านคน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม โดยใช้ตัวเลขจาก Our World in Data ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก รัฐบาล และนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด จากนั้น CNBC ระบุประเทศในกลุ่ม 36 ที่มีประชากรมากกว่า 60% ได้รับวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 โดส

จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโควิดรายสัปดาห์ซึ่งปรับตามจำนวนประชากรยังคง เพิ่มสูงขึ้น ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลกอย่างน้อย 6 ประเทศ และ 5 ประเทศ ในนั้นต้อง พึ่งพาวัคซีนจากประเทศจีน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เซเชลส์, มองโกเลีย, อุรุกวัย และชิลี ส่วนอีกหนึ่งประเทศหนึ่งที่เหลือคือ สหราชอาณาจักรที่ไม่ได้รับวัคซีนจากจีนเป็นหลัก

  • มองโกเลีย เปิดเผยว่าประเทศได้รับวัคซีน 2.3 ล้านโดส เป็น Sinopharm ตามด้วย สปุตนิก วี ของรัสเซีย 80,000 โดส และ Pfizer-BioNTech ประมาณ 255,000 โดส
  • ชิลี ฉีดวัคซีน 16.8 ล้านโดสจาก Sinovac Biotech ได้ Pfizer-BioNTech 3.9 ล้านโดส และวัคซีนอีก 2 ชนิดในปริมาณที่น้อยกว่า 2 รายแรก
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เซเชลส์ พึ่งพาวัคซีน Sinoarm อย่างมากในช่วงเริ่มต้น แต่แต่ละแห่งเพิ่งเปิดตัววัคซีนอื่น ๆ
  • อุรุกวัย มีวัคซีนของ Sinovac เป็นหนึ่งในสองวัคซีนที่ใช้กันมากที่สุด ร่วมกับ Pfizer-BioNTech
  • สหราชอาณาจักร ได้วัคซีน Moderna, AstraZeneca-Oxford, Pfizer-BioNTech และ Janssen ผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแพร่กระจายของโรคเดลต้าที่แพร่ระบาดมากขึ้น

ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เพราะ วัคซีนไม่ได้ให้การป้องกัน 100% ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนยังสามารถติดเชื้อได้ ในเวลาเดียวกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถเจาะภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ดีขึ้น

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม นักระบาดวิทยามองว่า ประเทศต่าง ๆ ไม่ควรหยุดใช้วัคซีน จากประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่จำนวนของวัคซีนมีจำกัดในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยหลายประเทศที่อนุมัติวัคซีนโดย Sinopharm และ Sinovac ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าสำหรับวัคซีนที่พัฒนาในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แม้จะบอกว่าไม่ควรหยุดใช้วัคซีนจากจีน แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา คอสตาริกาปฏิเสธการส่งมอบวัคซีนที่พัฒนาโดยซิโนแวค หลังจากสรุปว่าไม่ได้ผลเพียงพอ แม้องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนจาก Sinopharm และ Sinovac เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินก็ตาม

ทั้งนี้ ประสิทธิผลของวัคซีนจีนทั้งสองชนิดนั้นมีผลออกมาว่าต่ำกว่าของ Pfizer – BioNTech และ Moderna ซึ่งทั้งสองวัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 90% โดยวัคซีนของ Sinopharm มีประสิทธิภาพ 79% ในการต่อต้านการติดเชื้อโควิดตามอาการ WHO กล่าว แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนในบางกลุ่ม เช่น คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังไม่ชัดเจน ประสิทธิภาพของการยิง Sinovac นั้นอยู่ระหว่างประมาณ 50-80% ขึ้นอยู่กับประเทศที่ถูกจัดขึ้นในการทดลอง

Source

]]>
1341457
‘คนอังกฤษ’ เมินฉีดวัคซีน ‘แอสตราเซเนกา’ เพิ่มขึ้น กังวลความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน https://positioningmag.com/1329842 Wed, 28 Apr 2021 14:04:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329842 ผลสำรวจพบ ความนิยมของวัคซีนแอสตราเซเนกา’ (AstraZeneca) ในหมู่คนอังกฤษลดลงอย่างมาก หลังมีรายงานผลข้างเคียงหลังฉีด ที่เชื่อมโยงกับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

จากผลสำรวจความเห็นของประชาชนเกือบ 5,000 คนในสหราชอาณาจักร ช่วงเดือนเมษายน พบว่า ประชาชนมีความต้องการที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตราเซเนกาลดลง นับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา เเละมีและความเชื่อว่าจะทำให้เลือดภาวะอุดตันลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น

ผลการศึกษาทางวิชาการของอังกฤษ พบว่า กลุ่มคนที่เคยประสงค์จะฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่มีอยู่ราว 24% ในเดือนมีนาคม ลดลงเหลือเพียง 17% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนเมษายนเท่านั้น

ขณะที่ 23% เชื่อว่าวัคซีนของแอสตราเซนเนกานั้น ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กลับมีเพิ่มขึ้นจากระดับ 13% ในเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม ชาวอังกฤษอีก 39% ยังคงเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ เเละอีก 38% ระบุว่า พวกเขายังไม่แน่ใจว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องหรือไม่

Photo : Shutterstock

โดยผลการศึกษานี้ ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยบริสทอล คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ร่วมกับสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ (NIHR) จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 1-16 เมษายน

ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนมีความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลังได้รับข่าวสารใหม่ เมื่อทางการอังกฤษประกาศว่า มีความเป็นไปได้ที่วัคซีนโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา จะเกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ยากจากนั้นมีชาติในยุโรปอย่างเดนมาร์กตัดสินใจระงับการฉีดวัคซีนนี้

ขณะท่ี่ผลการทดลองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่าวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดย ‘แอสตราเซเนกา’ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มีประสิทธิภาพ 79% ในการป้องกันอาการเจ็บป่วยและได้ผล 100% ในการป้องกันโรครุนแรงและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และสำหรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพของวัคซีนจะอยู่ที่ 80%

อย่างไรก็ตาม เเม้ข้อกังขาในผลข้างเคียงของวัคซีนจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น เเต่ก็เกิดขึ้นเฉพาะยี่ห้อเท่านั้น เนื่องจากความพึงพอใจการในการควบคุมวิกฤตโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนโดยรวมนั้นมีมากขึ้น

โดยกว่า 81% มองว่า วัคซีนมีความปลอดภัย เพิ่มขึ้นจากระดับ 73% ในช่วงปลายปี 2020 เเละชาวอังกฤษกว่า 86% เชื่อว่าการทำงานของวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นจากระดับ 79% ในช่วงเดือนพฤศจิกายนธันวาคมของปีที่เเล้ว

 

ที่มา : CNBC , Reuters 

]]>
1329842
เปิดเหตุผล ทำไม ‘อินโดนีเซีย’ เลือกฉีดวัคซีน COVID-19 ให้คนวัยทำงาน ก่อนผู้สูงอายุ? https://positioningmag.com/1313072 Wed, 06 Jan 2021 10:39:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313072 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกอย่างอินโดนีเซียวางเเผนจะเริ่มเเจกจ่ายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชาชนกว่าร้อยล้านคนภายในเดือนมีนาคมนี้

ในขณะที่หลายชาติ ทั้งสหรัฐฯ เเละยุโรป เลือกฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ’ ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจเเละโรคเเทรกซ้อนมากกว่า

เเต่อินโดนีเซียกลับมีเเนวทางที่เเตกต่างออกไป โดยมีแผนจะฉีดให้กับประชากรวัยทำงาน เป็นกลุ่มแรกๆ ถัดจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เเละเจ้าหน้าที่ทางการ โดยหวังว่าช่วยขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 

เเละนี่คือมุมมองของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อดีและความเสี่ยงที่อินโดนีเซียเลือกใช้แนวทางนี้ 

ทำไมต้องฉีดวัคซีนให้กลุ่มอายุ 18-59 ปี ก่อน?

อินโดนีเซีย เตรียมแจกจ่ายให้ประชาชนในเฟสแรก ด้วยวัคซีนของบริษัท Sinovac Biotech ของจีน โดยรัฐบาลได้ทำข้อตกลงซื้อวัคซีน 125.5 ล้านโดส ซึ่งตอนนี้วัคซีนล็อตแรก 3 ล้านโดสได้มาถึงอินโดนีเซียแล้ว

ขณะที่วัคซีนของ Pfizer คาดว่าจะส่งถึงอินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป ส่วนวัคซีนที่พัฒนาโดย AstraZeneca-Oxford จะเริ่มแจกจ่ายในช่วงไตรมาส 2

การฉีดวัคซีนของอินโดนีเซีย จะเริ่มจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการก่อน จากนั้นจะแจกจ่ายให้คนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ซึ่งเป็นลำดับการเข้าถึงวัคซีนที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ เเละสหราชอาณาจักร ที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยก่อน ทำให้การเเจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ จึงถูกจับตามองจากนานาประเทศเป็นพิเศษ 

โดยวัคซีน Sinovac ของจีนนั้นได้ทำการทดลองทางคลินิกกับกลุ่มคนในช่วงวัย 18-59 ปี แตกต่างจากวัคซีนของประเทศตะวันตกอย่าง Pfizer และ Moderna ที่มีผลการทดลองออกมาแล้วว่า ใช้ได้ผลดีกับคนทุกช่วงอายุ

Peter Collignon ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า ไม่มีใครฟันธงได้ว่าวิธี (เเจกจ่ายวัคซีน) เเบบไหนเป็นวิธีที่ถูกต้อง เเละยังไม่เเน่ชัดว่ากลยุทธ์ของอินโดนีเซียอาจช่วยชะลอการเเพร่ระบาดของโรคได้จริง 

เเต่การที่รัฐบาลอินโดฯ ใช้วิธีที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ และยุโรป ถือว่าเป็นประโยชน์เชิงข้อมูล เพราะเราจะได้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่าง ส่วนจะได้เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไป

Photo : Shutterstock

ด้านศาสตราจารย์ Dale Fisher จาก Yong Loo Lin School of Medicine มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ บอกว่า เขาเข้าใจถึงเหตุผลที่อินโดนีเซียเลือกวิธีนี้ เพราะคนวัยทำงานมีกิจกรรมมากกว่า เข้าสังคมมากกว่า และเดินทางบ่อยกว่า ดังนั้นยุทธศาสตร์นี้ น่าจะช่วยลดการแพร่ระบาดในชุมชนได้เร็วกว่าการมุ่งฉีดวัคซีนให้ผู้สูงวัย

แน่นอนว่าคนแก่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีอาการของโรคและเสียชีวิตได้มากกว่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ซึ่งผมมองเห็นข้อดีของทั้งสองกลยุทธ์” Fisher ระบุ

 ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เป้าหมายหลักๆ ของอินโดนีเซียคือการทำให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยการทำให้สัดส่วนของประชากรผู้มีภูมิคุ้มกันแล้วมีจำนวนมากพอ จนเชื้อไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายหรือถูกส่งผ่านไปยังคนอื่นได้ ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเเละสังคมอย่างรวดเร็ว

Budi Gunadi Sadikin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ประชากร 181.5 ล้านคน หรือประมาณ 67% ของประชากรทั้งหมด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และต้องการวัคซีนเกือบ 427 ล้านโดส กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนให้ประชากรคนละ 2 ครั้ง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย 15%

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังสงสัยเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อค้นคว้าว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเเล้วจะยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้อีกหรือไม่

Photo : Getty Images

นักเศรษฐศาสตร์ มองอีกมุมว่า โครงการฉีดวัคซีนให้เกิด ‘herd immunity’ ที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องครอบคลุมประชากรประมาณ 100 ล้านคนจึงจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากทำให้ประชากรเหล่านี้จะกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นการใช้จ่ายและการผลิต

Faisal Rachman นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Mandiri บอกว่า ประชาชนวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

พวกเขาจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการบริโภคในครัวเรือนมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมากกว่า 50% ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในประเทศนั้น เป็นการลดความเชื่อมั่นของประชาชน

อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเต่การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ปะทุขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัวถึง 2.2%  

 

 

ที่มา : Reuters , Jakartapost

]]>
1313072
อินเดีย ไฟเขียวใช้วัคซีน COVID-19 ที่พัฒนาเอง เสริมวัคซีน AstraZeneca เร่งฉีดฟรีให้ประชาชน https://positioningmag.com/1312763 Sun, 03 Jan 2021 11:07:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312763 ทางการอินเดีย อนุมัติใช้วัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทในประเทศ เป็นการฉุกเฉินแล้ว ควบคู่ไปกับการรับรองใช้วัคซีน AstraZeneca-Oxford จากอังกฤษ พร้อมวางแผนเเจกจ่ายให้ประชาชน 300 ล้านคนในอีก 6-8 เดือนข้างหน้า

สำนักงานกำกับดูแลยาของอินเดีย (DCGI) เเถลงยืนยันการมอบใบอนุญาตใช้งานเป็นกรณีฉุกเฉินภายในประเทศ ให้กับ วัคซีนโควิชีลด์ (Covishield) ของ AstraZeneca-Oxford จากสหราชอาณาจักร ที่มีประสิทธิภาพในภาพรวม 70.42% ตามการศึกษาวิจัยโดยหน่วยงานของอินเดีย และให้ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 28 วัน

พร้อมกับอนุมัติใช้ วัคซีนโควาซิน (COVAXIN) ของภารตะไบโอเทคหนึ่งในผู้ประกอบการด้านชีวเภสัชภัณฑ์รายใหญ่ของอินเดีย โดยระบุว่า มีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิคุ้มกันอย่างแข็งแกร่งในระดับใกล้เคียงกันกับวัคซีน Covishield ทั้งนี้ ล่าสุดอินเดียมีผู้ป่วยโรค COVID-19 สะสมเป็นอันดับ 2 ของโลก ราว 10 ล้านราย เเละเสียชีวิตสะสมราว 1.49 เเสนราย

รัฐบาลกลางของอินเดีย คาดว่าจะเริ่มการฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 ในเดือนมกราคมนี้ ทันทีที่วัคซีนได้รับการอนุมัติ DCGI โดยระยะเเรกจะฉีดวัคซีนฟรีให้กับเจ้าหน้าที่ในระบบสาธารณสุข 10 ล้านคน และผู้ปฏิบัติงานในแนวหน้า 20 ล้านคน

ก่อนหน้านี้ ได้มีการซ้อมฉีดวัคซีนด้วยการจำลองขั้นตอนต่างๆ ในศูนย์ด้านการแพทย์ 285 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเตรียมการให้พร้อมก่อนเริ่มฉีดให้ประชาชนจริงๆ โดยวางแผนฉีดวัคซีนให้กับประชากรให้ได้ 300 ล้านคนในอีก 6-8 เดือนข้างหน้านี้

 

ที่มา : pib.gov.in , BBC 

 

]]>
1312763