Burnout Syndrome – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 06 Dec 2021 11:14:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แค่เหนื่อยๆ หรือ “หมดไฟ” ? เช็กด้วย 4 สัญญาณต่อไปนี้ จากข้อมูลตรงโดยนักจิตวิทยา https://positioningmag.com/1365530 Mon, 06 Dec 2021 09:32:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365530 ความรู้สึกระหว่าง “แค่เหนื่อยๆ” เป็นบางช่วง กับอาการ “หมดไฟ” หรือ Burnout นั้น มีแค่เส้นบางๆ กั้นอยู่ แต่จะแยกออกได้อย่างไรว่าคุณกำลังหมดไฟกับการทำงานจริงๆ หรือแค่ต้องการการพักผ่อนสักหน่อยก็หาย

ถ้าคุณมีสัปดาห์อันเหนื่อยยากยาวนาน คุณคงรู้สึกเหนื่อยแทบขาดใจและรู้สึกเหมือนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ความรู้สึกนั้นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณต้องไปงีบสักหน่อยหรือพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์บ้าง แต่บางครั้งความรู้สึกดังกล่าวก็อาจจะเป็นสัญญาณของอาการ “หมดไฟ” ก็ได้

คุณจะแยกสองสิ่งนี้ออกจากกันได้อย่างไร? “อาร์ต มาร์กแมน” ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและการตลาดที่ University of Texas at Austin จะมาแนะนำการอ่าน สัญญาณ 4 อย่างที่จะทำให้แยกออกได้ว่าคุณแค่เหนื่อยหรือ Burnout จริงๆ โดยสัญญาณต่อไปนี้คือตัวแบ่งแยก ถ้าคุณอาการหนักขนาดนี้ คุณอาจต้องเริ่มปรึกษานักจิตวิทยา/จิตแพทย์เพื่อหาทางปรับสมดุลให้กับชีวิต

(Photo : Shutterstock)
1.หมดแรงกระตุ้นในการทำงาน

สัญญาณแรกของอาการหมดไฟคือ คุณไม่มีแรงกระตุ้นในการทำงานให้เสร็จ ถ้าอาการหนักมากๆ คือคุณอาจจะไม่มีแรงกระตุ้นในการออกไปทำงานเสียด้วยซ้ำ คุณอาจถึงกับหวาดกลัวที่จะคิดถึงเรื่องงาน คุณพบว่าตัวเองทั้งเกลียดงานที่ตัวเองต้องทำ และเกลียดภารกิจขององค์กรที่คุณทำงานให้ คุณไม่อาจสร้างความกระตือรือร้นให้กับตัวเองได้เลย

2.หมดความสามารถที่จะ ‘ล้มแล้วลุก’ อีกครั้ง

สัญญาณต่อไปคือคุณหมดความสามารถที่จะ ‘ล้มแล้วลุก’ ความสามารถส่วนนี้หมายถึง เมื่อคุณเผชิญอุปสรรค หรือความผิดพลาดบางอย่างในการทำงาน คุณยังสามารถกลับมาสู้ต่อได้

แน่นอนว่าความผิดพลาด ข่าวร้าย หรือการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ย่อมทำให้ทุกคนรู้สึกหดหู่ไปบ้าง แต่ถ้าคุณแค่เหนื่อย ความรู้สึกนี้จะดีขึ้นในเวลาต่อมา แต่ถ้าคุณรู้สึกหมดไฟ อุปสรรคที่เจออาจทำให้คุณรู้สึกโกรธหรือเศร้าได้เป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน นั่นแปลว่าความสามารถที่จะปรับตัวของคุณต่ำลงแล้ว

3.ความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแย่ลง

ถ้าคุณหมดไฟ มีแนวโน้มที่ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานของคุณจะแย่ลง คุณพบว่ามันช่างยากเหลือเกินในการห้ามใจไม่ให้พูดจาไม่ดีใส่คนอื่น คุณปกปิดความรู้สึกเชิงลบไว้ไม่ได้ และอาจจะทำให้คนอื่นรู้สึกโกรธเคือง ความรู้สึกไม่ดีที่คุณมีต่องานถูกระบายออกด้วยวิธีการเหล่านี้ ซึ่งกลายเป็นว่าทำให้สถานการณ์ของคุณในที่ทำงานยิ่งแย่ลงไปอีก

4.ตัดสินใจอะไรไม่ได้

Burnout ทำให้คุณตัดสินใจเกี่ยวกับการทำงานได้ยากลำบากมาก การตัดสินใจที่ดีเป็นเรื่องที่ยาก คุณจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างต้นทุนที่ต้องจ่ายกับประโยชน์ที่จะได้มา คุณต้องเลือกระหว่างตัวเลือกต่างๆ อย่างระมัดระวัง ตัวเลือกไหนที่มีน้ำหนักเหมาะสมมากกว่า ซึ่งอาการหมดไฟจะทำให้คุณไม่ค่อยมีสมาธิในการคำนวณชั่งน้ำหนักตัวเลือกเหล่านี้

ในการทำงานหลายอย่าง มักจะต้องใช้ ‘gut feeling’ หรือสัญชาตญาณเข้ามาช่วยตัดสินใจ เพราะข้อมูลบางอย่างที่มีคุณค่าไม่อาจระบุเป็นคำพูดลงไปในการคำนวณเลือกตัวเลือกได้ชัดเจน แต่กลับเป็นข้อมูลที่สำคัญในการเลือก อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณรู้สึกหมดไฟ ทุกอย่างรอบตัวจะดูแย่ไปหมด จนทำให้สัญชาตญาณไม่อาจช่วยอะไรคุณได้

(Photo : Shutterstock)

ถ้ารู้สึก “หมดไฟ” จะทำอย่างไรดี?

หลายคนที่รู้สึก Burnout จะพบว่าอาการคล้ายกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามาก ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกหมดไฟกับการทำงาน การไปพบนักจิตบำบัดสักหน่อยจะเป็นเรื่องที่คุ้มค่า ให้นักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ประเมินว่าเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

แม้ว่าคุณจะไม่ถึงกับมีภาวะซึมเศร้า แต่นักจิตบำบัดจะช่วยให้คุณค้นหาเหตุผลได้ว่าทำไมคุณจึงหมดไฟกับการทำงาน และหากลยุทธ์ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น ทำให้คุณกลับมาลุกขึ้นยืนได้ใหม่

สาเหตุหนึ่งที่แนะนำให้พบนักจิตวิทยา เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณ Burnout มีแนวโน้มสูงที่คุณจะหาทางแก้ด้วยการ “เปลี่ยนงาน” การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะช่วยคุณได้มาก แต่บางครั้งก็อาจจะมีปัจจัยอื่นที่คุณต้องพิจารณาร่วมด้วย

ปัจจัยที่ว่าก็เช่น ถ้าเกิดว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า การเปลี่ยนงานอย่างเดียวอาจจะไม่ช่วยอะไร หรือถ้าคุณแค่หมดไฟเฉยๆ แต่คุณก็อาจจะต้องการการฝึกฝนทักษะบางอย่างเพื่อจะรับมือกันงานใหม่ ตำแหน่งใหม่ บริษัทใหม่ด้วย

นอกจากนี้ นักจิตวิทยาอาจช่วยให้คุณเห็นภาพได้ลึกขึ้นว่า คุณแค่ต้องการการเปลี่ยนงานไปองค์กรอื่นในอุตสาหกรรมเดิม ตำแหน่งงานเดิม หรือความรู้สึกแย่ของคุณอาจมีสาเหตุจากอะไรที่ทำให้คุณต้องเปลี่ยนไปทำงานวงการอื่นดีกว่า

ที่สำคัญ การรักษาใจให้ตรงจุดจะช่วยยกความเครียดออกจากความสัมพันธ์ส่วนตัวด้วย จากที่ผ่านมาคนรักหรือครอบครัวของคุณอาจต้องรับบทบาทหนักอึ้งมาตลอดเพราะพยายามจะช่วยให้คุณดีขึ้น นักจิตบำบัดจะมาช่วยรับภาระนี้แทน เพื่อไม่ให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวต้องทรุดลงไปตามหน้าที่การงาน

Source

]]>
1365530
‘Burnout’ เป็นเหมือน ‘โรคติดต่อ’ ในออฟฟิศ อ่าน 5 ข้อแนะนำหยุดความคิด ‘หมดไฟ’ https://positioningmag.com/1352288 Fri, 17 Sep 2021 09:09:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352288 Burnout! คำนี้วนเวียนอยู่ในสังคมชาวออฟฟิศมาพักใหญ่ แต่ภาวะดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง งานวิจัยพบว่าภาวะ ‘หมดไฟ’ เปรียบเสมือนโรคติดต่อ เมื่อใครสักคนเกิดภาวะนี้ขึ้นมักจะส่งต่ออารมณ์แบบเดียวกันในหมู่เพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดกัน

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักภาวะ Burnout หรืออาการ “หมดไฟ” ภาวะนี้คืออาการทางจิตใจซึ่งมักจะเกิดจากความเครียดในสถานที่ทำงาน ผลคือทำให้คนคนนั้นเหนื่อยล้า หมดพลังทั้งกายใจ ขาดความเชื่อมั่นในการทำงาน และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง

อาการ Burnout ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในฐานะโรคใหม่เรียบร้อยแล้ว และเป็นอาการทางใจที่ส่งผลทางกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคนอนไม่หลับ

ล่าสุดภาวะหมดไฟจนไม่อยากจะลุกขึ้นไปทำงาน มีข้อมูลงานวิจัยใหม่ พบว่า อาจจะไม่ได้เกิดจากตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะเปรียบได้กับ ‘โรคติดต่อ’ ส่งต่อพลังงานลบกันในหมู่พนักงาน หรืออยู่ในออฟฟิศที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเกิดภาวะ Burnout

งานวิจัยของ Michigan State University พบว่าภาวะหมดไฟมักจะติดต่อกันในหมู่พนักงานที่ทำงานใกล้ชิดกัน หรือเป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรเอื้อให้เกิดการ Burnout

เหตุผลเพราะเมื่อมีใครบางคนเริ่มหมดไฟ คนคนนั้นจะไม่สามารถสนับสนุนทีมได้เต็มที่ ทั้งประสิทธิภาพการทำงาน เวลา และอารมณ์ ซึ่งจะมีผลกระทบกับคนรอบตัวที่ทำงานด้วย และกลายเป็นลูกโซ่ทำให้คนอื่นๆ ห่อเหี่ยวตามกันไป

 

หยุดภาวะ Burnout ในสังคมออฟฟิศ

แม้ว่าภาวะหมดไฟเมื่อเกิดแล้วมักจะทำให้คนรอบตัวเป็นไปด้วย แต่ทางแก้ต้องเจาะลึกเป็นรายบุคคล เพราะแต่ละคนมีสาเหตุของอาการหมดไฟไม่เหมือนกัน จากความต้องการหรือความคาดหวังต่อการทำงานต่างกัน

งานวิจัยของ University of Zurich และ University of Leipzig ให้นิยามกระชับๆ ว่า ภาวะ Burnout จะเกิดขึ้นเมื่อคนคนนั้นไม่ได้สิ่งที่ต้องการอย่างเฉพาะเจาะจงจากการทำงาน

กุญแจสำคัญคือ แต่ละคนมีสิ่งที่ “ต้องการจริงๆ” ต่างกัน และไม่ใช่ว่าการได้อะไรมากขึ้นจากที่ทำงานจะทำให้ทุกคนพอใจเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น “การได้เลื่อนขั้น” ขึ้นไปเป็นหัวหน้างาน โดยทั่วไปแล้วคนเราน่าจะต้องการเติบโตในหน้าที่การงาน แต่บางคนก็ไม่ใช่ บางคนต้องการทำหน้าที่ที่ไม่ถูกจับจ้องและไม่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ

ดังนั้น การจะต่อสู้กับภาวะหมดไฟสำเร็จ คุณต้องทำความเข้าใจตัวเองให้ได้ก่อนว่าตัวเองมีบุคลิกแบบไหน ต้องการอะไรจากการงาน

คำแนะนำจากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Current Psychology มี ข้อแนะนำ 5 ข้อ เพื่อให้คุณแก้ไขปัญหา Burnout ดังนี้

1.ตั้งใจแก้ปัญหามากกว่าวิ่งหนีปัญหา หาทางเข้าใจและแก้ไขให้ได้ เช่น ถ้าคุณมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ลองเปิดใจคุยกันดู ถ้าคุณทำงานไม่ไหวเพราะงานเยอะเกินไป ลองปรึกษาหัวหน้าให้ช่วยเหลือ รวมๆ ก็คือหาทางทำอะไรสักอย่าง มากกว่าจะเลี่ยงๆ ไป

2.เชื่อมั่นในทักษะของตนเอง แน่นอนว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แต่ภาวะหมดไฟมักเกิดจากความรู้สึกลบ กล่าวโทษ หรือตั้งคำถามต่อความสามารถของตน ถ้าเริ่มสงสัยในตัวเอง ลองลิสต์ถึงความสำเร็จที่ผ่านมา ทักษะและความเชี่ยวชาญของคุณมีอะไรบ้าง ต่อด้วยการมองหาว่าคุณอยากพัฒนาอะไรเพิ่มอีก

3.มองภาพให้ใหญ่ขึ้น อีกหนึ่งความรู้สึกของคน Burnout คือคนคนนั้นจะเริ่มมองตัวเองเล็กลง โลกแคบลง มองไปทางไหนก็ไร้ทางออก เรื่องนี้ต้องเปลี่ยนมุมมองตัวเองให้เชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นสำคัญ เช่น คุณไม่ได้แค่ทำงานบัญชีไปวันๆ แต่งานของคุณคือการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินให้บริษัท

4.หล่อเลี้ยงความสัมพันธ์กับคนในบริษัท สาเหตุหนึ่งที่มักทำให้เกิดอาการหมดไฟ คือความรู้สึกถูกตัดขาด ไม่เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่ทำงาน อย่าปล่อยให้เป็นแบบนั้น ลองสร้างสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับเพื่อนร่วมงานสัก 1-2 คน จะทำให้คุณมีคนรับฟังหรือช่วยเหลือ มีคนแลกเปลี่ยนสถานะในออฟฟิศ ทำให้คุณเห็นว่าคุณไม่ได้เผชิญความท้าทายอยู่คนเดียว

5.มองบวก อย่าโหดกับตัวเองเกินไป เตือนตัวเองเสมอว่าคุณกำลังเรียนรู้ และคุณไม่มีทางทำถูกไปทุกอย่างได้ วันนี้คุณอาจจะพลาด แต่พรุ่งนี้คุณจะลุกขึ้นใหม่และก้าวต่อไปด้วยพลังบวก

City College of New York พบว่า 86% ของคนที่พวกเขาทำการสำรวจ มีภาวะร่วมระหว่าง Burnout กับ “โรคซึมเศร้า” ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้ภาวะหมดไฟกัดกินหัวใจของคุณนานเกินไป…

Source

]]>
1352288
ชาวอเมริกัน ‘ลาออก’ มากสุดในรอบ 20 ปี หมดไฟ-เครียด-เริ่มทบทวนชีวิต ฉุกคิด ‘หางานใหม่’ https://positioningmag.com/1336827 Mon, 14 Jun 2021 11:27:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336827 ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่ยอดว่างงานพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ในอีกมุมหนึ่งก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจลาออกจากงานด้วยตนเอง ส่วนหนึ่งมาจากความตึงเครียด ภาวะหมดไฟในการทำงาน ได้ทบทวนชีวิตเเละเริ่มฉุกคิดใหม่เรื่อง ‘career path’ 

The Wall Street Journal นำเสนอประเด็นที่น่าสนใจว่า ชาวอเมริกันมีอัตราการลาออกจากงานสูงสุดในรอบ 20 ปี นับเป็นความท้าทายใหม่ของภาคธุรกิจที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่า อัตราการลาออกจากงานของชาวอเมริกันในเดือนเม.. อยู่ที่ 2.7% หรือราว 4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2000

จำนวนผู้ที่ลาออกจากงานปรับตัวสูงขึ้น หลังช่วงวิกฤตโรคระบาด เมื่อคนจำนวนมากต้องการความมั่นคงในหน้าที่การงาน ขณะที่ต้องเผชิญกับวิกฤตสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศ”

เทรนด์การเปลี่ยนงานเเละเปลี่ยนอาชีพใหม่ กระตุ้นให้นายจ้างต้องขึ้นค่าแรงและเสนอการเลื่อนตำแหน่ง เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ โดยความต้องการที่จะเปลี่ยนงานใหม่ ชี้ให้เห็นถึงความหวังเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่าแม้ว่าจะมีอัตราว่างงานจะสูงขึ้นก็ตาม

เมื่ออัตราการเลิกจ้างสูง ก็ทำให้นายจ้างต้องเสียต้นทุนมากขึ้นเช่นกัน จากการที่ธุรกิจต้องหยุดชะงักลง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ด้านแรงงาน ให้ความเห็นว่า การลาออกส่งสัญญาณว่า ตลาดเเรงงานเริ่มเเข็งเเกร่งขึ้น เนื่องจากผู้คนหันมาสนใจหางานที่เหมาะกับทักษะ ความสนใจของตัวเอง และต้องการมีชีวิตส่วนตัวมากขึ้น

(Photo : Shutterstock)

ยิ่งในปัจจุบันมีหลายปัจจัยส่งเสริมให้มีการ ‘เปลี่ยนงาน’ บ่อยขึ้น ประชาชนจำนวนมากปฏิเสธที่จะกลับมาทำงานตามปกติในระบบเดิม เเละลังเลที่จะทำงานในออฟฟิศเหมือนก่อนช่วงก่อนโรคระบาด แต่พวกเขามีเเนวโน้มจะเลือกทำงานทางไกลที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน เริ่มมองเห็นถึงกระเเสการลาออกนี้ จากสำรวจความเห็นพนักงาน 2,000 คนในช่วงเดือนมีนาคมโดย Prudential Financial พบว่า พนักงานกว่า 1 ใน 4 วางแผนหางานใหม่กับนายจ้างรายอื่นในเร็วๆ นี้

หลายคนตกอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) เนื่องจากภาระงานที่เพิ่มขึ้นและความตึงเครียดจากโควิด-19 ขณะที่บางคนต้องมองหาค่าจ้างที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยการสูญเสียงานของคู่สมรส หรือใช้ช่วงเวลาในปีที่ผ่านมาเพื่อคิดพิจารณาถึงเส้นทางอาชีพและการเปลี่ยนงานใหม่

จากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนที่รวดเร็วในสหรัฐฯ เเละมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคดีขึ้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะงานในภาคการผลิตเเละภาคบริการ จนหลายบริษัทต้องเเย่งชิงเเรงงาน จัดโปรโมชันต่างๆ ให้ผู้สมัคร

โดยร้านอาหารและแฟรนไชส์บางแห่งในสหรัฐฯ ต้อง ‘เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ’ หรือ ‘ให้โบนัสไปจนถึงเเจกสมาร์ทโฟน เพื่อจูงใจให้คนมากลับมาทำงาน แทนการอยู่บ้านและพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล

 

ที่มา : WSJ , businessinsider 

]]>
1336827