cars – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Jun 2021 14:33:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Nissan’ อาจยุติการพัฒนา ‘Skyline’ รถเเรงขวัญใจวัยรุ่นยุค 70s ไปทุ่มลงทุน ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ เเทน https://positioningmag.com/1337925 Mon, 21 Jun 2021 07:35:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337925 เกิดกระเเสข่าวว่า ‘Skyline’ รถซีดานยอดฮิตครองใจวัยรุ่นยุค 70s ที่สร้างชื่อเสียงให้เเบรนด์ ‘Nissan’ มายาวนาน กำลังจะปิดฉากลง เมื่อเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป ความนิยมลดลง บริษัทจึงอาจตัดสินใจขยับไปมุ่ง SUV เเละรถยนต์ไฟฟ้าเเทน

Skyline รถยนต์ไฮเอนด์ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของเเดนอาทิตย์อุทัย ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อผู้คนหันมาเป็นเจ้าของรถส่วนตัวกันมากขึ้น เปลี่ยนรูปแบบทางสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน เเละวัตนธรรมของชาวญี่ปุ่น

Nissan Skyline เปิดตัวครั้งแรกในปี 1957 เป็นช่วงเดียวกันที่รัฐบาลญี่ปุ่นขยายเครือข่ายทางหลวง ทำให้ความต้องการรถยนต์ความเร็วสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ความมีสไตล์ ความเเรงของเครื่องยนต์ ภาพลักษณ์เเตกต่างที่ปรากฎอยู่ในสื่อภาพยนตร์เเละโฆษณาต่างๆ ทำให้รถรุ่น Skyline เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่คนหนุ่มสาวสมัยนั้น

หนึ่งในรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือโมเดลรุ่นที่ 4’ ซึ่งเปิดตัวในปี 1972 ได้รับฉายาว่า ‘Kenmeri’ จากเเคมเปญโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีคู่สามีภรรยาชาวตะวันตกชื่อเคนและแมรี่แสดงนำ

โดย ‘Skyline Kenmeri’ นี้ มียอดขายรวมกว่า 6.6 แสนคัน นับเป็นรุ่นที่มียอดขายสูงที่สุดของ Nissan Skyline กลายเป็นไอค่อนของวัยรุ่นญี่ปุ่นยุค 70s

ช่วงทศวรรษ 70s รถยนต์ Nissan Skyline มียอดจำหน่ายเฉลี่ย 1.5 แสนคันต่อปี เเต่กาลเวลาเปลี่ยน เทรนด์โลกเปลี่ยน ทำให้ในปี 2020 มียอดขายเพียง 3,900 คันเท่านั้น ความนิยมลดลงเรื่อยๆ เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่หันไปใช้รถ SUV

Nikkei Asia รายงานว่า Nissan จะหยุดพัฒนารถยนต์รุ่น Skyline ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการปรับโครงสร้างองค์กร ไปมุ่งรุกตลาดรถยนต์ SUV เเละรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเติบโตในปัจจุบัน

ผู้บริหาร Nissan ระบุว่า การตัดสินใจยุติพัฒนารถซีดานในตำนานอย่าง ‘Skyline’ เป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ก็มีความจำเป็นเพื่อการดำเนินธุรกิจต่อไปในระยะยาวต่อไป ซึ่งบริษัทกำลังทุ่มงบ R&D ไปที่การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (EV) เเทน โดยนอกจากรุ่น Skyline แล้ว Nissan ยังจะยุติการพัฒนารถซีดานทั้งหมดใน ตลาดญี่ปุ่น รวมถึงรถรุ่น Fuga และ Cima ที่อยู่ในกลุ่มลักชัวรีด้วย

ทั้งนี้ Nissan เพิ่งเปิดตัว Ariya รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุด ที่วิ่งระยะทางได้ไกลสุดถึง 610 กิโลเมตร และมีกำลังสูง 290 กิโลวัตต์ พร้อมวางจำหน่ายในราคาราว 1.5 ล้านบาทในญี่ปุ่น ช่วงกลางปี 2021

ต้องจับตาว่า ‘ตลาดรถมือสอง’ ของ Nissan Skyline พุ่งขึ้นหรือไม่…

 

ที่มา : Nikkei (1) , (2)

 

]]>
1337925
โอกาสตลาด ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ ในไทย อีก 7 ปีแตะ 1 ล้านคัน มีเเววต่อยอดเป็นฐานผลิต ‘รถไฮบริด’ https://positioningmag.com/1337621 Thu, 17 Jun 2021 11:40:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337621 เมกะเทรนด์การเปลี่ยนแปลง Krungthai COMPASS ประเมินอุตสาหกรรม ‘ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย คาดปี 2028 มียอดผู้ใช้เเตะ 1 ล้านคัน ในจำนวนนี้จะเป็น ‘รถไฮบริด’ ถึง 93% เเนะรัฐออกมาตรการช่วยดัน มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิต’ ของภูมิภาค 

ช่วงวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจนเข้าสู่ภาวะถดถอยเเต่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กลับเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยยอดขายสูงถึง 3.2 ล้านคันทั่วโลก หรือเพิ่มขึ้นกว่า 43%

ในไทยก็ได้รับความนิยมไม่น้อย โดยมียอดจดทะเบียนสูงถึง 3 หมื่นคัน ขยายตัวถึง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สวนทางยอดขายรถยนต์โดยรวมที่ลดลง 21%

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวถึงปัจจัยที่สนับสนุน EV ว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการตื่นตัวของภาครัฐในต่างประเทศเพื่อแก้ไขประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงปารีส โดยเฉพาะนโยบายยกเลิกการขายยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ควบคู่ไปกับการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม

ประกอบกับความเคลื่อไหวของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่ปรับตัวหันไปทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นตามความสนใจของผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าสะสมทั่วโลกมีโอกาสแตะระดับ 25-45 ล้านคันได้ภายในปี 2030 จาก 10 ล้านคันในปัจจุบัน”  

ตลาดไทยยังเล็ก เเต่มีเเววต่อยอด ‘ฐานผลิตไฮบริด’ 

สำหรับประเทศไทยนั้น มียอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในประเทศ ณ สิ้นปี 2020 อยู่ที่เพียง 1.9 แสนคัน หรือคิดเป็นเพียง 1% ของยานยนต์ทั้งหมด ถือว่ายังมีขนาดเล็กและอยู่ในช่วงเริ่มต้นเมื่อเทียบกับประเทศชั้นนำอื่นๆ

ดร.มานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS มองว่าข้อได้เปรียบของไทย คือการเป็นฐานผลิตยานยนต์เครื่องยนต์ ICE แบบดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน ประกอบกับกลยุทธ์การทำตลาดของผู้ผลิตยานยนต์ OEM ในประเทศที่ยังคงเน้นทำตลาดยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดตามบริษัทแม่ในญี่ปุ่น

ยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสะสมในไทยมีโอกาสแตะ 1 ล้านคันได้ในปี 2028 หรือขยายตัวเฉลี่ยราว 24% ต่อปี โดยยอดใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่คาดว่าจะมีสัดส่วนสูงถึง 93% ของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

โดยมาตรการภาครัฐที่สนับสนุนทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค จะเป็นส่วนสำคัญให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย มีโอกาสต่อยอดเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดที่แข็งแกร่งของภูมิภาคในอนาคตต่อไป

ผู้ประกอบการกลุ่มไหน ได้รับผลประโยชน์-ผลกระทบ ? 

การเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดของไทย นอกจากจะช่วยรักษาตลาดผู้ผลิตในกลุ่มเครื่องยนต์ ICE ในประเทศเเล้ว รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องในระยะปานกลางแล้ว ยังส่งผลดีต่อ ผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ผลิตวัสดุน้ำหนักเบาและแข็งแรงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม พิมฉัตร เอกฉันท์ นักวิเคราะห์ของ Krungthai COMPASS ระบุว่า ในระยะยาว การที่สัดส่วนยานยนต์ปราศจากการปล่อยมลพิษ หรือ Zero Emission Vehicle : ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยตามกระแสเมกะเทรนด์ที่กำลังเดินหน้าไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาด (Green Economy) นั้น จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในกลุ่ม Powertrain และ Engine ในไทย ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงถึงเกือบ 3 แสนล้านบาท หรือประมาณ 20% ของรายได้ของผู้ผลิตชิ้นส่วนในตลาดทั้งหมด

โดยสรุปเเล้ว ในระยะสั้นปานกลาง อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยแบบดั้งเดิม จะถูกปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างเพื่อรองรับฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดมากขึ้น ทำให้ดีมานด์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มยานยนต์เครื่องยนต์ ทั้ง ICE แบบเดิม ควบคู่ไปกับระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ ยังเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ

อย่างไรก็ดี กระแสเมกะเทรนด์ที่ตื่นตัวต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การปรับตัวของผู้ผลิตที่เน้นไปหายานยนต์แบบปราศจากมลพิษ (ZEV) มากขึ้น รวมทั้งการเปิดรับจากผู้บริโภคที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าแบบ ZEV จะทยอยเข้ามามีบทบาทในไทยมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งก็จะทำให้ในระยะยาวที่สัดส่วนยานยนต์ ZEV เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ย่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยเฉพาะในกลุ่ม Powertrain และ Engine มากที่สุด

 

 

 

]]>
1337621
ญี่ปุ่นยกเลิก ‘โตเกียว มอเตอร์โชว์’ ไม่จัดงานออนไลน์ หลัง COVID-19 ระบาดไม่หยุด https://positioningmag.com/1328844 Thu, 22 Apr 2021 10:43:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328844 ญี่ปุ่นประกาศยกเลิกโตเกียว มอเตอร์โชว์ปีนี้ หลัง COVID-19 ระบาดไม่หยุด ย้ำไม่มีการจัดงานทางออนไลน์ 

สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น ประกาศยกเลิกจัดงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ (Tokyo Motor Show) ในปี 2021 หลังสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ยังน่าเป็นห่วง

โตเกียว มอเตอร์ โชว์เป็นหนึ่งในงานแสดงนวัตกรรมยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดครั้งล่าสุดไปเมื่อปลายปี 2019 โดยมีผู้เข้าชมงานกว่า 1.3 ล้านคน

โดยการยกเลิกจัดงานครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรก ตั้งเเต่มี ‘โตเกียว มอเตอร์ โชว์ในปี 1954 โดยมีการจัดงานต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี

อากิโอะ โตโยดะ ประธานสมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งญี่ปุ่น เเละและประธานบริษัทโตโยต้า กล่าวว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะจัดงานมอเตอร์โชว์ในปีนี้ ไปพร้อมๆ กับการที่ต้องรับประกันความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงานในช่วงที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในญี่ปุ่นกลับมารุนแรง

เราไม่ต้องการจัดงานทางออนไลน์ เราต้องการจัดงานที่สามารถมาพบปะกันได้ นั่นคือเหตุผลที่เราเลือกที่จะยกเลิกงานในครั้งนี้

ล่าสุด โยชิฮิเดะ สุงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกำลังพิจารณาว่า จะประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว, โอซาก้า และพื้นที่อื่นๆ หรือไม่ รวมถึงมาตรการควบคุมอื่นๆ ก่อนเริ่มการแข่งขันงานโตเกียวโอลิมปิกอีก 3 เดือนข้างหน้า

ปัจจุบันญี่ปุ่นมีผู้ป่วยสะสมจาก COVID-19 มากกว่า 5.4 เเสนคน มียอดเสียชีวิตสะสมมากกว่า 9. พันราย ขณะที่ผู้ป่วยอีกอย่างน้อย 4.2 หมื่นคนยังคงต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

สำหรับโครงการการกระจายวัคซีนของญี่ปุ่น จะมีการใช้วัคซีนต้าน COVID-19 จากหลายผู้ผลิต เช่น Pfizer , Moderna เเละ Astrazeneca เเต่ขณะนี้วัคซีน Pfizer เป็นยี่ห้อเดียวที่องค์การยาของญี่ปุ่นอนุมัติให้ใช้ได้ โดยทางการญี่ปุ่นได้สั่งซื้อไปเเล้วถึง 144 ล้านโดส

 

 

ที่มา : japantimes

]]>
1328844
จับตา ‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของเวียดนาม จ่อเข้า ‘ระดมทุน’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1327814 Wed, 14 Apr 2021 10:47:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327814 จับตาความเคลื่อนไหวของ ‘VinFast’ (วินฟาสต์) เเบรนด์รถยนต์เจ้าใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ธุรกิจในเครือ Vingroup เตรียมเข้า IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดระดมทุนได้ถึง 2 พันล้านดอลลาร์ (ราว 6.3 หมื่นล้านบาท)

Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวใกล้ชิด ระบุว่า Vingroup บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเวียดนาม เตรียมการจะส่งบริษัทลูกอย่าง ‘VinFast’ เสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม กำลังอยู่ในช่วงดำเนินงานร่วมกับที่ปรึกษา โดยคาดว่าข้อเสนอดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในไตรมาสนี้ เเละประเมินว่าการระดุมทุน IPO ของ VinFast อาจเพิ่มขึ้นสูงสุดเเตะ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 หมื่นล้านบาท)

ขณะที่แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ Reuters ว่ากลุ่มธุรกิจของ Vingroup ซึ่งมีอยู่หลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งเเต่อสังหาริมทรัพย์ไปจนถึงสมาร์ทโฟนกำลังทำงานร่วมกับ Credit Suisse HongKong เพื่อเสนอขาย IPO ในครั้งนี้

หลังจากมีกระเเสข่าวนี้เผยเเพร่ออกมา ส่งผลให้หุ้นของ Vingroup เพิ่มขึ้นมากถึง 5.3% (ณ วันที่ 13 เมษายน) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้มูลค่าตลาดของบริษัทพุ่งขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.27 เเสนล้านบาท)

ในช่วงเเรก Vingroup ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อข่าวนี้ เเต่ต่อมาได้ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทกำลังกำลังพิจารณาหาโอกาสในการระดมทุนซึ่งอาจจะเป็นไปได้ทั้งรูปเเบบ IPO หรือ SPAC (บริษัทที่สร้างขึ้นมาเพื่อระดมเงินทุนไปซื้อบริษัทอื่น) เเต่การระดมทุนใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นสภาวะตลาด

VinFast เพิ่งเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ 3 รุ่นใหม่ ได้แก่ VF31 ,VF32 และ VF33 ในเวียดนาม เเละกำลังจะส่งไปทำตลาดในสหรัฐฯ แคนาดาและยุโรปในปีหน้า โดยกำลังมองหาโอกาสที่จะเปิดโรงงานใหม่ในอเมริกาด้วย

นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่เเล้ว มีกระเเสข่าวว่า Vingroup กำลังเจรจากับ Foxconn ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน เพื่อร่วมมือเป็นพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ากับเเบรนด์ VinFast

 

 

ที่มา : Bloomberg , Reuters

]]>
1327814