IMF – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 17 Apr 2024 04:12:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IMF คาด GDP ไทยโต 2.7% ในปีนี้ มองเศรษฐกิจโลกเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เตือนยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกมาก https://positioningmag.com/1470177 Tue, 16 Apr 2024 17:27:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470177 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโต 2.7% ขณะเดียวกันก็มองว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.2% จากปัจจัยของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แต่ก็เตือนถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกนั้นยังมีความเสี่ยงอีกมาก

IMF ได้ออกคาดการณ์เศรษฐกิจล่าสุดฉบับเดือนเมษายน โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกนั้นจะเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากคาดการณ์เดิม ซึ่งได้ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยังเติบโตแข็งแกร่ง อย่างไรก็ดีก็ได้เตือนถึงเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย

สำหรับเศรษฐกิจโลก IMF ได้คาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ 3.2% ในปีนี้ ซึ่งดีกว่าคาดการณ์เดิมเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยบวกจากการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งอยูที่ 1.8% ขณะเดียวกันก็ปรับคาดการณ์ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเหลือเติบโตแค่ 4.2% ในปีนี้

นอกจากนี้ IMF ยังมองว่าเศรษฐกิจโลกถือว่ามีความยืดหยุ่น แม้ว่าโลกจะอยู่ในสภาวะดอกเบี้ยสูงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่างๆ นอกจากนี้ชื่นชมว่าธนาคารกลางทั่วโลกได้ต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อได้ถูกทางแล้ว

IMF ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเติบโตได้มากถึง 2.7% ในปีนี้ ขณะที่จีนคาดว่าจะเติบโตที่ 4.6% ขณะที่อินเดียคาดว่าจะเติบโตได้ 6.8% ยกเว้นในส่วนของยูโรโซนที่ปรับประมาณการลดลง เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปอย่างมาก

ในส่วนเศรษฐกิจไทยนั้น IMF คาดว่า GDP ของไทยจะเติบโต 2.7% ในปีนี้ และคาดว่าจะเติบโต 2.9% ในปี 2025 ขณะที่เงินเฟ้อของไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 0.7%

ทางด้านของความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก IMF ยังมองถึงความเสี่ยงจากสภาวะเงินเฟ้อที่ยังสูง แต่ก็ทยอยลดลงจากราคาพลังงานและอาหารลดลง รวมถึง Supply Chain ทั่วโลกกลับมาสู่สภาวะปกติมากขึ้น คาดว่าทั่วโลกนั้นตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ 5.9% ในปีนี้ และ 4.5% ในปี 2025

ในเรื่องอื่นๆ นั้น IMF ยังกังวลถึงความเสี่ยงระยะสั้นคือ ต้นทุนการเงินที่สูง การถอนมาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจทำให้ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่ความเสี่ยงระยะกลางนั้น ด้านผลิตภาพ (Productivity) ถือว่าต่ำสุดในรอบหลายสิบปี และยังกังวลถึงเรื่องของความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก

และยังรวมถึงปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ในจีน การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนที่ส่งผลทำให้เกิดการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก

]]>
1470177
IMF ชี้ การเข้ามาของ AI กระทบตำแหน่งงานมากถึงเกือบ 40% ทั่วโลก ประเทศพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบมากสุด https://positioningmag.com/1458858 Mon, 15 Jan 2024 12:14:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458858 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการนำ AI มาใช้ โดยพบว่าการเข้ามาของเทคโนโลยีดังกล่าวกระทบตำแหน่งงานมากถึงเกือบ 40% ทั่วโลก โดยประเทศพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบมากสุด และผลกระทบดังกล่าวยังอาจสร้างช่องว่างในเรื่องรายได้อีกด้วย

IMF ได้ออกผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมองว่าผลกระทบนั้นมีต่อตำแหน่งงานมากถึง 40% ทั่วโลก ซึ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และยังมีผลต่อช่องว่างรายได้ที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ผลการศึกษาของ IMF ชี้ว่า AI มีผลกระทบเกือบ 40% ของการจ้างงานทั่วโลก แต่ในผลการศึกษายังมองว่า AI ยังกระทบต่องานที่ต้องใช้ทักษะสูง ซึ่งจะมีผลทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นถึง 60% จาก AI แต่ก็ยังมอง่ว่าประเทศเหล่านี้มีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จาก AI มากกว่า

ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นการเข้ามาของ AI มีผลกระทบต่อตำแหน่งงานตั้งแต่ 26-40% ซึ่ง IMF มองว่าในระยะยาวนั้นอาจสร้างช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศให้แย่ลงไปอีก ถ้าหากไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหรือแม้แต่การพัฒนาทักษะของประชาชน

รายงานฉบับดังกล่าว IMF ยังได้จัดทำดัชนีประเมินความพร้อมของ 125 ประเทศ โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเทศที่ร่ำรวย หรือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงประเทศตลาดเกิดใหม่บางประเทศ มีแนวโน้มที่จะมีความพร้อมสำหรับการนำ AI มาใช้มากกว่าประเทศที่มีรายได้น้อยกว่า

ดัชนีดังกล่าวที่ IMF จัดทำขึ้นมา ชี้ว่า ประเทศสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเดนมาร์กมีคะแนนสูงสุดในดัชนีดังกล่าว แสดงให้เห็นความพร้อมในการนำ AI มาใช้ ขณะที่ประเทศไทยนั้นมีความพร้อมในอันดับที่ 15 ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ไม่ใช่แค่การเข้ามาของ AI จะมีผลกระทบต่อระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อแรงงานที่มีอายุแตกต่างกันด้วย โดยผลการศึกษาของ IMF ชี้ว่า AI สามารถช่วยให้แรงงานที่มีอายุน้อยนั้นเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตได้เร็วขึ้น ตรงข้ามกับในขณะที่แรงงานที่มีอายุมากกว่าอาจประสบปัญหาในการปรับตัว

ในด้านของรายได้นั้นผลการศึกษายังชี้ว่าแรงงานที่มี AI ช่วยเสริมการทำงานที่มีรายได้สูงนั้นอาจทำให้ช่องว่างกับแรงงานที่ไม่มี AI ช่วยเสริมการทำงานแตกต่างกัน ซึ่งอาจสร้างความไม่เท่าเทียมเพิ่มมากขึ้น IMF ชี้ว่ารัฐบาลหรือผู้กำหนดนโยบายจะต้องออกมาตรการจัดการในเชิงรุก เพื่อที่ปัญหาดังกล่าวจะไม่สร้างแรงกดดันในสังคม เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้ หรือแม้แต่สวัสดิการด้านสังคม เป็นต้น

]]>
1458858
‘IMF’ ปรับคาดการณ์ GDP ‘จีน’ ขึ้นเป็น 5.4% หลังศก. ไตรมาส 3 โตกว่าที่คาด https://positioningmag.com/1450933 Tue, 07 Nov 2023 09:34:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450933 หลังจากที่สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนได้เปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ถึง 4.9% ซึ่งเติบโตกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้ IMF ปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP จีนปีนี้อีกครั้ง รวมถึงในปีหน้าด้วย

เนื่องจากภาคการบริโภคในจีนดีกว่าที่คาด ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 เติบโตได้ 4.9% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเติบโต 4.4-4.5% เท่านั้น ส่งผลให้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตของ GDP จีนในปี 2566 เป็น 5.4% อย่างไรก็ตาม IMF ยังคงคาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงในปีหน้าเป็น 4.6%

ทั้งนี้ ย้อนไปเมื่อเดือนตุลาคม IMF ได้ลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP จีนลงเหลือ 5% ในปีนี้และ 4.2% ในปีหน้า

“ท่ามกลางความอ่อนแออย่างต่อเนื่องในตลาดอสังหาริมทรัพย์และอุปสงค์จากภายนอกที่ลดลง แต่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินมีการยกระดับและยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินมีมาตรการรองรับแรงกระแทกในกรณีเงินทุนสำรองที่ลดลงและความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น” กีตา โกปินาธ รองกรรมการผู้จัดการลำดับที่หนึ่งของ IMF ระบุ

โดยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการถาวรของสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ได้อนุมัติการออกพันธบัตรรัฐบาล 1 ล้านล้านหยวน (137 พันล้านดอลลาร์) พร้อมผ่านร่างกฎหมายที่จะอนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นได้รับโควตาในการออกพันธบัตรในปีงบประมาณ 2567 โดยมีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม กีตา ย้ำว่า แม้จีนจะแนะนํามาตรการมากมายเพื่อสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ แต่จําเป็นต้องมีมากขึ้นเพื่อให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและลดต้นทุนทางเศรษฐกิจในระหว่างการเปลี่ยนแปลง

Source

]]>
1450933
‘เยอรมนี’ จ่อแซง ‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นแท่นประเทศที่มี GDP สูงอันดับ 3 ของโลก หลังครองตำแหน่งมานานนับสิบปี https://positioningmag.com/1449043 Tue, 24 Oct 2023 07:55:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449043 IMF คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP ของ ญี่ปุ่น ในปี 2566 นี้ จะร่วงลงไปอยู่อันดับ 4 ของโลก โดยจะถูกประเทศ เยอรมนี ขึ้นแซง เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง

ในปี 2022 ที่ผ่านมา มูลค่า GDP ของ ประเทศญี่ปุ่น อยู่ที่ประมาณ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้น 1.1% ส่วน GDP ของ เยอรมนี อยู่ที่ 4.07 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าในช่วงไตรมาส 1 GDP ของญี่ปุ่นจะสามารถเติบโตได้ ถึง 1.6% และไตรมาส 2 สามารถเติบโตได้ 6% ซึ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี

แต่เนื่องจากเงินเยนที่อ่อนค่าลง และผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่น ส่งผลให้การบริโภคของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 2 ถดถอย 2% ซึ่งปัจจุบันตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของ GDP ญี่ปุ่น

ส่งผลให้ IMF คาดว่า GDP ของเยอรมนีในปี 2023 จะแซงญี่ปุ่นขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 หลังจากที่ญี่ปุ่นครองตำแหน่งนี้มานานกว่าสิบปี และ IMF ยังคาดอีกว่า GDP อินเดียจะซึ่งแซงหน้าญี่ปุ่น ภายในปี 2026 และเป็นไปได้ว่าอินเดียจะขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ภายในปี 2027

ย้อนไปปี 1968 ญี่ปุ่นได้แซงเยอรมนีตะวันตกในแง่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือที่เรียกว่า GNP ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้หลักในขณะนั้น และกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และตำแหน่งนั้นก็ถูก จีน แซงในปี 2013

Source

]]>
1449043
IMF คาดการณ์ GDP ไทยปีนี้โตแค่ 2.7% เท่านั้น ห่วงเศรษฐกิจโลกโตต่ำลง ปัญหาเงินเฟ้อยังลากยาวต่อ https://positioningmag.com/1447556 Tue, 10 Oct 2023 09:27:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447556 รายงานมุมมองเศรษฐกิจโลกที่จัดทำโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือนตุลาคม ได้ปรับคาดการณ์ GDP ไทยลงเหลือแค่ 2.7% เท่านั้น ขณะที่ในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตได้ 3.2% เท่านั้น

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับเดือนตุลาคม โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเหลือแค่ 2.7% เท่านั้น ตัวเลขดังกล่าวได้ปรับลดลงจากคาดการณ์ในเดือนเมษายน ซึ่งคาดว่า GDP ไทยจะเติบโต 3.4% ในปีนี้ด้วยซ้ำ ขณะที่ในปี 2024 นั้นคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโตได้ 3.2%

รายงานของ IMF ได้ออกมาในช่วงการประชุมของ IMF ที่จัดขึ้นที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก โดยมองว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกในหลายปัจจัยถือว่าดีขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขององค์การอนามัยโลกไม่ถือว่า Covid-19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลกอีกต่อไป

IMF ยังมองว่าด้าน Supply Chain ทั่วโลกมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะที่ภาคการธนาคารนั้นมีความคลี่คลายลงหลังเหตุการณ์ SVB ล้มลง รวมถึง UBS ได้ซื้อกิจการของ Credit Suisse

นอกจากนี้ IMF ยังได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจหลายประเทศลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ที่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา IMF คาดว่า GDP จีนจะเติบโตมากถึง 5.2% ในปีนี้ ก่อนที่จะปรับลดลงเหลือแค่ 5% และยังปรับคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2024 จะโตเหลือแค่ 4.2% เท่านั้น ซึ่งเป็นผลจากภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง

Pierre-Olivier Gourincha หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนว่า จีนจะต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่น และภาครัฐจะต้องจัดการภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างแข็งขัน แต่เขามองว่าจีนจะต้องจัดการมากกว่านั้น เพราะไม่งั้นแล้วปัญหาอาจลามไปภาคส่วนอื่นๆ ได้

IMF ยังปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกในปี 2023 นี้จะอยู่ที่ 6.9% และในปีหน้าจะลดลงเหลือ 5.8% ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อน และ IMF ยังเรียกร้องให้ธนาคารกลางคงนโยบายการเงินที่เข้มงวดจนกว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะลดลงจริง

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ได้กล่าวถึงประเด็นเงินเฟ้อทั่วโลกว่า เงินเฟ้อทั่วโลกยังไปไม่ถึงจุดที่ลดลงต่ำจนไว้วางใจได้ และเขาเองยังมองว่าเศรษฐกิจโลกตอนนี้ถือว่ายังฟื้นตัวแบบช้าๆ และยังมีอุปสรรคในการเติบโต เหมือนกับการเดินกะเผลก

คาดการณ์เศรษฐกิจรายประเทศที่น่าสนใจในรายงานเดือนตุลาคม

  • สหรัฐอเมริกาคาดว่า GDP จะโตได้ 2.1%
  • Euro zone คาดว่า GDP จะโตได้ 0.7%
  • สหราชอาณาจักร คาดว่า GDP จะโตได้แค่ 0.5%
  • ญี่ปุ่นคาดว่า GDP จะโตได้ถึง 2.1%
  • อินเดียคาดว่า GDP จะโตได้ถึง 5.5%

นอกจากนี้ IMF ยังได้เตือนถึงการแยกส่วนทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับจีน หรือแม้แต่การบุกยูเครนโดยรัสเซีย

ขณะที่เศรษฐกิจโลกในปีนี้ IMF มองว่าจะเติบโตได้ 3% ก่อนที่จะลดลงในปี 2024 เหลือแค่ 2.9% ซึ่งเติบโตได้ช้าลง รวมถึงปริมาณการค้าโลกในปีนี้จะเติบโตขึ้นเพียงแค่ 0.9% เท่านั้น จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 2%

]]>
1447556
IMF ชี้ จีนดูมีเสถียรภาพมากขึ้นจากข้อมูลล่าสุด เชื่อว่า GDP โตได้ในระยะกลาง ถ้าปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1446124 Fri, 29 Sep 2023 05:35:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446124 IMF ได้ให้มุมมองกับเศรษฐกิจจีนล่าสุด โดยอ้างอิงข้อมูลที่ได้รับว่าเศรษฐกิจจีนดูมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดียังแนะนำให้จีนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ในระยะกลาง GDP ยังเติบโตต่อไปได้

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้กล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจจีนล่าสุดว่าจากข้อมูลล่าสุดเห็นสัญญาณเสถียรภาพในเศรษฐกิจแดนมังกรแล้ว แต่เชื่อว่าจีนจะสามารถเร่งการเติบโตได้ในระยะกลางได้ ถ้าหากดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อปรับสมดุลจากการลงทุนไปสู่การใช้จ่ายของผู้บริโภค

Julie Kozack โฆษกของ IMF กล่าวในการแถลงข่าวว่า ข้อมูลล่าสุดของเศรษฐกิจจีนมีหลายอย่างปะปนกัน แต่มีสัญญาณแสดงถึงเสถียรภาพในเศรษฐกิจจีนบ้างแล้ว ท่ามกลางปัญหาด้านโครงสร้างประชากร และผลิตภาพของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง

แม้ว่า GDP ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาจะเติบโตถึง 6.3% ก็ตาม แต่สถานการณ์เศรษฐกิจจีนยังน่ากังวลจากการฟื้นตัวช้าเกินไปนั้น และรวมถึงแรงกดดันจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากตัวเลขการบริโภคในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก

ขณะเดียวกันจีนเองยังประสบปัญหาการย้ายกำลังการผลิตออกนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจากเกาหลีใต้ หรือผู้ผลิตรายอื่นๆ อย่างเช่น Apple หรือผู้ผลิตสินค้ารายอื่น ที่มองถึงความยืดหยุ่นของ Supply Chain และลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป

ไม่เพียงเท่านี้นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มมองเห็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นว่าจีนจะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจซบเซาเหมือนญี่ปุ่นด้วยจำนวนประชากรสูงวัย (Japanification)

ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก กรรมการผู้จัดการของ IMF เคยให้มุมมองด้านเศรษฐกิจจีนว่า “เราคาดการณ์ว่าหากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้าง การเติบโตระยะกลางของเศรษฐกิจจีนอาจลดลงต่ำกว่า 4%”

โฆษกของ IMF ยังได้กล่าวเสริมว่า ยังคงเชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจจีนสามารถเติบโตได้ประมาณ 5% ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวจะมีเพิ่มเติมหลังจาก IMF ได้ออกรายงาน World Economic Outlook และในระยะกลาง จีนสามารถเร่งการเติบโตได้ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจ

]]>
1446124
IMF มองอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอาจอยู่สูงไปอีกระยะเวลาหนึ่ง ชี้ปัญหาเงินเฟ้ออาจเกิดได้บ่อยขึ้น https://positioningmag.com/1443222 Sat, 02 Sep 2023 10:21:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443222 ผู้บริหารระดับสูงของ IMF ได้กล่าวในงานสัมมนาของธนาคารกลางแอฟริกาใต้โดยมองอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอาจอยู่สูงไปอีกระยะเวลาหนึ่ง และเงินเฟ้อที่เกิดจากปัญหา Supply Shock อาจเกิดได้มากขึ้น

Gita Gopinath รองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้กล่าวในงานสัมมนาของธนาคารกลางของแอฟริกาใต้ว่า อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอาจอยู่สูงไปอีกระยะเวลาหนึ่ง หลังจากที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

รองกรรมการผู้จัดการของ IMF ยังได้กล่าวเสริมว่าอัตราดอกเบี้ยอาจไม่กลับไปสู่ยุคอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน โดยดูได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 10 ปี ล่าสุดให้ผลตอบแทนเกิน 4% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤติการเงินปี 2008 เป็นต้นมา

การปรับตัวเพิ่มของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี มีผลมาจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

เธอยังมองว่าปัญหาอุปทานของสินค้าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Supply Shock) อาจเกิดบ่อยมากขึ้น อาจส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เธอได้ชี้ถึงช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และอาจทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศเข้ามาจัดการในปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัญหานี้แตกต่างกับในอดีตที่ผ่านมาที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ

นอกจากนี้รองกรรมการผู้จัดการของ IMF ยังกล่าวถึงภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geoeconomic) ที่เกิดเพิ่มมากขึ้นหลังจากการบุกยูเครนของรัสเซีย สิ่งที่เกิดขึ้นคือการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ นั้นเพิ่มมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้รองกรรมการผู้จัดการของ IMF หลังการแพร่ระบาดของโควิดรวมถึงการบุกยูเครนของรัสเซีย ประเทศต่างๆ ได้ตั้งกำแพงทางการค้าเพิ่มมากขึ้นถึง 3,000 มาตรการ มากกว่าในปี 2019 ถึง 3 เท่าด้วยกัน ขณะเดียวกันการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้รับแรงผลักดันมาจากปัจจัยด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงโลกที่มีการแยกตัวกันอย่างมาก

ปัจจัยการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับแรงผลักดันมาจากปัจจัยด้านการเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลทำให้บางประเทศได้ผลประโยชน์จากปัจจัยดังกล่าว แต่บางประเทศกลับไม่ใช่เช่นนั้น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจกระทบได้มากถึง 10% ของ GDP เธอได้ยกกรณีของแอฟริกาใต้ว่าอาจกระทบ 5% ของ GDP ประเทศ

อย่างไรก็ดี เธอมองว่าธนาคารกลางของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาถือว่ามีความยืดหยุ่นด้านนโยบายการเงินมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเป็นอิสระของการควบคุมดูแลนโยบายการเงิน ความยืดหยุ่นในอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนโยบายเหล่านี้ถือว่าดีขึ้นในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

]]>
1443222
IMF คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำลง มองการขึ้นดอกเบี้ยช่วงที่ผ่านมาเพื่อสกัดเงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1427123 Tue, 11 Apr 2023 15:22:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427123 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีแนวโน้มต่ำลงในระยะยาว โดยให้มุมมองว่าธนาคารของประเทศต่างๆ ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่สูงเพื่อที่จะต่อสู้กับตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และมองว่าเมื่อตัวเลขดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วก็จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงมา

ในรายงานของ IMF ชี้ถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rates) ซึ่งคิดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางแต่ละประเทศลบด้วยอัตราเงินเฟ้อว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศเองมีแนวโน้มที่จะลดต่ำลงหลังจากนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศนั้นเงินเฟ้อลดลง ทำให้ธนาคารกลางแต่ละประเทศลดอัตราดอกเบี้ยลงมาด้วย

IMF ได้ใช้แบบจำลองโครงสร้างแบบละเอียดเพื่อสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไหลเข้าของเงินทุน ปัจจัยทางด้านการผลิต หรือแม้แต่ปัจจัยของการเติบโตด้านประชากรในแต่ละประเทศนำมาคิดในเรื่องปัจจัยดังกล่าว

George Godber ผู้จัดการกองทุนที่ Polar Capital กล่าวกับ BBC ในประเด็นดังกล่าวว่าในสังคมที่มีประชากรผู้สูงอายุนั้นส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง เนื่องจากการบริโภคที่ต่ำ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยต่ำกว่า ประเทศที่มีประชากรวัยรุ่นหนุ่มสาว เนื่องจากการบริโภคของกลุ่มประชากรเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคที่มากกว่าผู้สูงอายุ

ผู้จัดการกองทุนรายดังกล่าวยังอธิบายว่า แม้แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่หนุ่มสาวนั้นมีการเดินทางท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ในการเที่ยวกลางคืน ซึ่งแตกต่างกับผู้สูงอายุ ส่งผลทำให้การใช้จ่ายเงินก็แตกต่างกันด้วย ซึ่งทำให้ประเทศที่มีประชากรที่มีผู้สูงอายุมากกว่านั้นทำให้เงินเฟ้อน้อยกว่า

นอกจากนี้ในรายงานของ IMF ยังชี้ว่าในประเทศที่มีการเจริญทางเศรษฐกิจสูงปัจจัยสำคัญที่นำมาคิดในเรื่องนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเนื่องจากหนี้สาธารณะของรัฐบาลจะได้ลดลง โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้รัฐบาลหลายประเทศออกมากู้เงินจำนวนมหาศาล

อย่างไรก็ดีในรายงานของ IMF ไม่ได้ระบุระยะเวลาในการลดดอกเบี้ยหลังจากนี้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

แต่ในระยะยาวแล้ว IMF ชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของทั้งเศรษฐกิจพัฒนาแล้วและประเทศที่มีเศรษฐกิจกำลังพัฒนาหลังจากนี้จะมีแนวโน้มบรรจบเข้าหากันมากขึ้น จากปัจจัยของประชากรที่สูงอายุที่ได้กล่าวไปข้างต้น

]]>
1427123
‘IMF’ ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกขึ้นเป็น 2.9% หลังปัญหาเงินเฟ้อเริ่มดีขึ้น https://positioningmag.com/1417300 Tue, 31 Jan 2023 06:05:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417300 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกใหม่เป็น 2.9% ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตในปี 2023 ยังถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับปี 2022 ที่เติบโต 3.4%

จากการคำนวณของ IMF ระบุว่า ประมาณ 84% ของประเทศต่าง ๆ จะเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปี 2022 ทำให้ IMF ได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกใหม่เป็น 2.9% แนวโน้มเศรษฐกิจโลกกลับมาเป็นบวกมากขึ้นจากปัจจัยภายในประเทศที่ออกมาดีเกินคาดในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา

อีกปัจจัยที่ทำให้แนวโน้มของเศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้นก็คือ จีน ที่ประกาศเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งหลังจากมีมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนทำให้การเติบโตทั่วโลกสูงขึ้น นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงยังทำให้โอกาสของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ถือครองตราสารหนี้เป็นสกุลเงินต่างประเทศสดใสขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม IMF มองว่าปัจจัยลบในปี 2023 คือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและการรุกรานยูเครนของรัสเซียที่น่าจะยังคงส่งผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมี ความไม่แน่นอน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปิดใหม่ของจีนอาจหยุดชะงัก อัตราเงินเฟ้ออาจยังคงสูง การรุกรานยูเครนที่ยืดเยื้อของรัสเซียอาจทำให้ต้นทุนด้านพลังงานและอาหารสั่นคลอนไปมากกว่านี้ และตลาดอาจพลิกผันจากตัวเลขเงินเฟ้อที่แย่กว่า

การเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับการพิสูจน์แล้วว่าฟื้นตัวอย่างน่าประหลาดใจในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ด้วยตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง การบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนทางธุรกิจ และการปรับตัวที่ดีเกินคาดต่อวิกฤตพลังงานในยุโรป อย่างไรก็ตาม การเติบโตจะยังคงอ่อนแอ เนื่องจากต้องเจอกับปัญหาเงินเฟ้อและสงครามของรัสเซียในยูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก” ปิแอร์-โอลิเวียร์ กูรินชาส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ IMF กล่าว

ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของโลกจะลดลง แต่คาดว่าเฉลี่ยแล้วอัตราเงินเฟ้อปี 2023 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.6% และลดลงเหลือ 4.3% ในปี 2024 ซึ่ง IMF คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกของปี 2024 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.1%

Source

]]>
1417300
IMF มองปี 2023 เศรษฐกิจโลกยังพบเวลายากลำบาก กังวลโควิดในจีน แม้จะผ่อนคลายก็ตาม https://positioningmag.com/1398455 Tue, 03 Jan 2023 10:04:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398455 ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเศรษฐกิจโลกในปี 2023 ซึ่งเป็นอีกปีที่พบกับความยากลำบาก โดยเธอมองว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกจะพบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะเดียวกันเศรษฐกิจจีนเองก็อาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก

คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสถานีโทรทัศน์ CBS ในรายการ Face the Nation โดยกล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2023 ว่ามีความยากลำบาก ขณะเดียวกันแม้ว่าประเทศจีนจะมีมาตรการผ่อนคลายเกี่ยวกับโควิด-19 แล้วก็ตาม แต่เธอมองว่าการแพร่ระบาดในประเทศจีนจะกลับส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ

เธอได้ชี้ถึงเศรษฐกิจขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาแม้ว่าจะหลีกเลี่ยงสภาวะดังกล่าวได้ แต่ในปีนี้ 1 ใน 3 ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะพบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากการบุกยูเครนโดยรัสเซีย

แม้ว่าหลายประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ เธอได้กล่าวว่าประชาชนเหล่านี้ก็จะรู้สึกถึงสภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เช่นกัน

ทางด้านของเศรษฐกิจจีนนั้น เธอได้กล่าวว่าอาจเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่เศรษฐกิจจีนนั้นโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก และเธอยังชี้ว่าก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเติบโตของจีนนั้นผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากกว่า 30% ซึ่งปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้น

โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจจีนไม่เติบโตในช่วงที่ผ่านมาคือนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน แม้ว่าล่าสุดจีนจะออกมาตรการผ่อนคลาย รวมถึงให้ชาวจีนออกนอกประเทศได้แล้วก็ตาม เพื่อทำให้เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกกลับมาเติบโตตามปกติอีกครั้ง

ผู้อำนวยการของ IMF ยังกล่าวถึงการพบกับผู้นำประเทศในเอเชียหลายประเทศ ซึ่งคำถามที่ผู้นำเหล่านี้เริ่มต้นถามเธอก็คือ “เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจจีน” หรือไม่ก็เป็นคำถามที่ว่า “จีนจะสามารถทำให้เศรษฐกิจกลับไปเติบโตในระดับสูงเท่ากับในอดีตได้หรือไม่” แสดงให้เห็นความกังวลถึงสภาวะเศรษฐกิจจีนที่มีความเปราะบางมากขึ้น

เธอยังมองว่า 2-3 เดือนหลังจากนี้ เศรษฐกิจจีนมีโอกาสที่จะถดถอยจากการแพร่ระบาดโควิดได้ และจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจโลก

IMF คาดว่า GDP โลกจะเติบโตได้ 2.7% เท่านั้นในปี 2022 จากคาดการณ์เดิมอยู่ที่ 3.2% นอกจากนี้คาดการณ์ล่าสุดนั้นในปี 2023 ยังมองว่ามีโอกาส 1 ใน 4 ที่เศรษฐกิจโลกจะเติบโตต่ำกว่า 2% ด้วย

]]>
1398455