Inflation – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 07 Jan 2024 12:14:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ดัชนีราคาอาหารของ FAO ปรับตัวลดลงเกือบ 14% แต่นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่าราคาอาหารอาจไม่ได้ปรับตัวลดลงตาม https://positioningmag.com/1457856 Sat, 06 Jan 2024 05:33:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457856 ดัชนีราคาอาหารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในปี 2023 นั้นปรับตัวลดลงเกือบ 14% ในปี 2023 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความคลี่คลายของราคาอาหารทั่วโลก อย่างไรก็ดีนักเศรษฐศาสตร์กลับชี้ว่าราคาอาหารอาจไม่ได้ปรับตัวลดลงตาม เนื่องจากต้นทุนอื่นๆ

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ ได้รายงานดัชนี Food Price Index ที่รวบรวมราคาอาหารสำคัญๆ ซึ่งในปี 2023 ดัชนีดังกล่าวได้ปรับตัวลดลง 13.7% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อของราคาอาหารทั่วโลก

ดัชนี Food Price Index ของ FAO ซึ่งติดตามสินค้าโภคภัณฑ์อาหารที่มีการซื้อขายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาล เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ไปจนถึงน้ำมันพืช นั้นตัวเลขในเดือนธันวาคมของปี 2023 อยู่ที่ 143.7 จุด ลดลง 13.7% เมื่อเทียบกับปี 2022 ซึ่งดัชนีดังกล่าวนั้นอยู่ที่ 124 จุด

นอกจากนี้ถ้าเทียบตัวเลขดัชนีในเดือนธันวาคมกับเดือนพฤศจิกายน ตัวเลขของดัชนีดังกล่าวก็ลดลงเช่นกัน

ราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในดัชนีคือราคาน้ำมันพืช ซึ่งปรับตัวลดลงมากถึง 32.7% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา ราคาน้ำตาลปรับตัวลดลง 16.6% ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์นมปรับตัวลดลง 16.1% อย่างไรก็ดีราคาข้าวขาวกลับปรับตัวสูงขึ้นมากถึง 21%

สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นมาจากการบุกยูเครนโดยรัสเซียนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา และความกังวลในดังกล่าวทำให้หลายประเทศ เช่น อินเดีย หรือแม้แต่ไทย ได้งดส่งออกสินค้าทางการเกษตร หลายชนิด เพื่อที่จะทำให้ความต้องการในการบริโภคของประชาชนเพียงพอ

ดัชนีดังกล่าวนั้นมีท่าทีคลี่คลายเพิ่มมากขึ้น หลังจากในปี 2023 ราคาพลังงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของต้นทุนทางการเกษตร หรือแม้แต่ราคาปุ๋ย นั้นปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ดี Bruno Parmentier นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหารได้กล่าวกับ RTE สื่อของไอร์แลนด์ว่า “ดัชนีราคาสินค้าอาหารที่ลดลงไม่ได้หมายความว่าราคาอาหารจะลดลงเสมอไป” โดยเขาชี้ว่าราคาอาหารนั้นมีต้นทุนอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นกันมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง ราคาพลังงาน ฯลฯ

ที่มา – RTE

]]>
1457856
เงินเฟ้อไทยลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน นักวิเคราะห์มองแบงก์ชาติไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อแล้ว https://positioningmag.com/1450773 Mon, 06 Nov 2023 10:06:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450773 ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน ได้ปัจจัยจากมาตรการของรัฐบาล โดยนักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินต่างประเทศมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอาจไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกต่อไปหลังจากนี้เพื่อที่จะต่อสู้กับเงินเฟ้อ

กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) ของไทยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้นอยู่ -0.31% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 25 เดือน โดยได้ปัจจัยจากมาตรการของรัฐบาลทั้งการลดราคาพลังงาน รวมถึงอาหาร

ผลสำรวจของ Reuters คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนตุลาคมนั้นจะอยู่ที่ 0.0% โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมาตัวเลขเงินเฟ้อของไทยยังเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ถ้าหากดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งดัชนีดังกล่าวจะหักหมวดอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงาน กลายเป็นว่า Core CPI ของไทยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 0.7% เป็นผลจากราคาอาหารสำเร็จรูป ยาสูบ รวมถึงบริการทางการแพทย์มีต้นทุนสูงขึ้น

ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนว่าจะยังปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารและกลุ่มพลังงาน และยังได้ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปลงสู่กรอบ 1.0-1.7% จากกรอบเดิมที่ 1.0-2.0%

อย่างไรก็ดีสำหรับความเสี่ยงที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อจะไม่ลดลงคือ ราคาพลังงานที่สูงขึ้น จากปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลางที่กำลังเกิดขึ้น

ทางด้านบทวิเคราะห์จาก Bank of America มองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนอกเหนือจากภาคการท่องเที่ยวยังคงอ่อนแอ ในรายงานดังกล่าวยังชี้ความเสี่ยงของตัวเลขเงินเฟ้อของไทย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจาก ราคาน้ำมันจะสูงขึ้น ผลกระทบเอลนิโญต่อราคาอาหาร และการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ อย่างไรก็ดีรายงานดังกล่าวมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ยาวไปจนถึงปีหน้า

สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs ให้มุมมองว่าจากตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายยาวจนถึงสิ้นปี 2024

ที่มา – กระทรวงพาณิชย์, บทวิเคราะห์บางส่วนจาก Goldman Sachs และ Bank of America

]]>
1450773
ความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกยังโตต่อเนื่อง 7 ปีติด ปัจจัยสำคัญคือเรื่องของเงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1445256 Sat, 23 Sep 2023 13:35:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445256 World Instant Noodles Association ได้รายงานถึงความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกนั้นยังเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความต้องการในปีนี้เติบโตคือเรื่องปัจจัยของเงินเฟ้อ ทำให้ผู้บริโภคหลายประเทศบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเนื่องจากราคาที่ถูก มีความสะดวก

Nikkei Asia รายงานถึงความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2022 ได้มีการเสิร์ฟทั่วโลกไปแล้วมากถึง 121,200 ล้านครั้ง เติบโตจากปี 2021 ถึง 2.6% โดยการเติบโตดังกล่าวนี้ถือว่าเติบโตต่อเนื่อง 7 ปีติดต่อกัน และความต้องการดังกล่าวยังทำสถิติสูงสุดอีกด้วย

World Instant Noodles Association ได้เก็บข้อมูลโดยอ้างอิงตามการจัดส่งโดยประมาณใน 56 ประเทศ พบว่าราคาอาหารในหลายประเทศพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมารับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และมีราคาที่ถูกกว่า

ในปี 2022 ความต้องการจากประเทศจีนยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เวียดนามเองมีการบริโภคลดลง ทางด้านของประเทศอย่างเม็กซิโกเองยังมีความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นถึง 11% ทางด้านสหรัฐอเมริกามีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้น 3.5%

ขณะที่ไทยเองยังครองตำแหน่งอันดับ 9 ของโลกในแง่ปริมาณการบริโภค ซึ่งปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปี 2021

อย่างที่เราทราบกันดีว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่นิยมทั่วเอเชีย โดยที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ใช้ซุปเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมอาหารในหลายประเทศ แต่ความนิยมของอาหารชนิดนี้ก็เพิ่มขึ้นในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก ซึ่งไม่เคยมีวัฒนธรรมเช่นนี้มาก่อน

นิสซิน ฟู้ดส์ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่จากญี่ปุ่นได้กล่าวว่า ผู้บริโภคชนชั้นกลางที่ไม่เคยกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาก่อนกำลังนำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ โดยบริษัทเองวางแผนที่จะตั้งโรงงานผลิตในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2025 เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐฯ และเม็กซิโก

นอกจากผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีราคาไม่แพง ทุกคนสามารถจับต้องได้ ผู้บริโภคบางส่วนยังต้องการผลิตภัณฑ์ที่สามารถประหยัดเวลาพร้อมทั้งให้สารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วน ทำให้ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลายรายกำลังปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนโดยทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นและใช้ส่วนผสมที่คุณภาพดีขึ้นด้วย

]]>
1445256
ผู้บริหาร Chanel เปรยอาจขึ้นราคาสินค้าอย่างกระเป๋าอีกรอบในเดือนกันยายนนี้ https://positioningmag.com/1431971 Fri, 26 May 2023 05:03:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431971 ชาแนล (Chanel) ยักษ์ใหญ่สินค้าหรูอีกรายของโลก อาจปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนกันยายนนี้ หลังจากที่ผู้บริหารของบริษัทได้เปรยถึงปัญหาต้นทุนรวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าบริษัทจะปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาแล้วหลายครั้งก็ตาม

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า Philippe Blondiaux ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Chanel ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อธุรกิจรายดังกล่าว ซึ่งเขาได้เปรยว่าบริษัทอาจต้องปรับราคาสินค้าขึ้น หลังจากที่ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับราคาสินค้าเพิ่มไปแล้วเฉลี่ยที่ 8%

Chanel มีการพิจารณาปรับราคาสินค้าเฉลี่ยปีละ 2 ครั้งคือในช่วงเดือนมีนาคม และเดือนกันยายน แตกต่างกับคู่แข่งรายอื่นๆ อย่าง Hermes ที่มีการพิจารณาราคาสินค้าปีละ 1 ครั้งในช่วงต้นปี

ปัจจัยที่ทำให้บริษัทปรับราคาสินค้าขึ้นคือต้นทุนสินค้า อัตราเงินเฟ้อ ไปจนถึงค่าเงินของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจทำให้ในช่วงเดือนมีนาคมมที่ผ่านมาราคากระเป๋า Chanel ในแต่ละประเทศปรับราคาขึ้นไม่เท่ากัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Chanel ยังได้ชี้ว่าปัจจัยดังกล่าวนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าจะมีการเพิ่มราคาสินค้าหรือไม่

นอกจากนี้ด้วยราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ยังทำให้มีความต้องการกระเป๋าของ Chanel เพิ่มมากขึ้น แต่ปริมาณสินค้าที่ผลิตออกมาไม่ได้สูงมากนัก ทำให้บริษัทได้ใช้นโยบายลูกค้าสามารถที่จะซื้อกระเป๋ารุ่น Classique ได้เพียงปีละ 2 ใบเท่านั้น

ปัจจุบันราคากระเป๋ารุ่น Classique ของ Chanel ไซส์ 25 เซนติเมตร มีราคาถึง 9,700 ยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 360,578 บาท โดยในปี 2020 บริษัทได้ปรับราคากระเป๋าเพิ่มมากขึ้นถึง 20% 

ในปี 2022 นั้นทาง Chanel ได้มียอดขายรวมเพิ่มขึ้นมากถึง 17% แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโลกจะไม่เป็นใจจากปัญหาเงินเฟ้อ จนทำให้บริษัทต้องปรับราคาสินค้าก็ตาม

]]>
1431971
เงินเฟ้อสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ที่ 4.9% ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี นักวิเคราะห์คาด Fed อาจชะลอขึ้นดอกเบี้ย https://positioningmag.com/1430139 Wed, 10 May 2023 17:47:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430139 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ล่าสุดในเดือนเมษายนอยู่ที่ 4.9% แล้ว ถือเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีนับตั้งแต่เมษายนปี 2021 เป็นต้นมา โดยปัจจัยหลักคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ 10 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาล่าสุดอยู่ที่ 4.9% แล้ว ลดลงจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 5% นอกจากนี้ยังต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 5% ด้วย โดยตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำลงนั้นได้ปัจจัยสำคัญมาจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ

แต่ถ้าหากดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้น 0.4% ซึ่งตรงกับนักวิเคราะห์คาดไว้

ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาทำสถิติสูงสุดเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2022 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 9.1% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากที่สุดเพื่อที่สกัดเงินเฟ้อ โดยขึ้นครั้งละ 0.75% ก่อนที่จะชะลอตัวลงเหลือ 0.25% เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

ในช่วงที่ผ่านมาตัวเลขเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาไม่ใช่แค่ราคาอาหารเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ราคาที่อยู่อาศัย ราคาพลังงานอย่างน้ำมัน และรถมือสองพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเมษายน ค่าตัดผม ค่าตรวจสัตวแพทย์ และบริการทำสวนก็พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดีปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นยังสร้างความไม่ไว้ใจให้กับผู้ดูแลนโยบายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนั้นครั้งหนึ่งในอดีตช่วงยุค 1980-1990 เคยปรากฏอยู่ในภาคส่วนใดส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงาน ไปจนถึงสินค้าอุตสาหกรรม และได้สร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จนต้องมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่

เป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาคือตัวเลขเงินเฟ้อจะอยู่ที่ราวๆ 2% เท่านั้น

บทวิเคราะห์จาก Wells Fargo มองว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลงถือว่าอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้นมีโอกาสที่จะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยได้

สอดคล้องกับบทวิเคราะห์จาก Bank Of America มองว่าตัวเลขเงินเฟ้ออาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯนั้นสบายใจขึ้นว่านโยบายมาถูกทาง อย่างไรก็ดีอาจต้องรอดูการประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออีก 1 รอบ และสถาบันการเงินรายนี้มองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจหยุดขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเดือนมิถุนายน

ที่มา – BBC, The Guardian, CBS News, CNN

]]>
1430139
Citi คาดดอกเบี้ยนโยบายของไทยปีนี้อยู่ที่ 2.25% ผลของเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง https://positioningmag.com/1417993 Sun, 05 Feb 2023 03:40:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417993 ซิตี้แบงก์ (Citi) คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทยอยปรับขึ้นหลังจากนี้ และจะทำให้ไทยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.25% ภายในไตรมาส 3 หลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.50% เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปเป็นตามที่ตลาดและสถาบันการเงินรายนี้คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ Citi ยังมองว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งล่าสุด เป็นผลจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่ลดลง รวมถึงมุมมองต่อภาคการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นหลังจากจีนเปิดประเทศ โดยในปี 2566 นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเข้ามาไทยสูงถึง 25.5 ล้านคน

ขณะที่ในปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมาที่ไทยสูงถึง 34 ล้านคน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมที่ 31.5 ล้านคน 

ในขณะเดียวกัน มุมมองด้านเงินเฟ้อ Citi ชี้ว่าในแถลงการณ์ ของ กนง. ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากการประชุมเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าวนั้นชี้ว่าการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกลดลงช่วยลดความกดดันเงินเฟ้อจากด้านอุปทานในประเทศไทย

สถาบันการเงินรายนี้ยังคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 2.2% ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงจะทยอยปรับขึ้นจากระดับติดลบสู่ระดับ 0% ซึ่ง Citi มองว่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีต

อย่างไรก็ดี Citi มองว่าปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้ กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายน้อยกว่าที่คาด คือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย รวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วเกินไป อาจทำให้ กนง. บางท่านพิจารณาการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

]]>
1417993
นายกญี่ปุ่นเตือนปัญหาเงินฝืดอาจยังไม่หมดไป แม้เงินเฟ้อทำสถิติสูงสุดในรอบ 42 ปีก็ตาม https://positioningmag.com/1416985 Sat, 28 Jan 2023 09:43:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416985 ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้กล่าวว่าปัญหาเงินฝืดที่ตามหลอกหลอนเศรษฐกิจญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลายาวนานอาจยังไม่หมดไป แม้ว่าล่าสุดญี่ปุ่นจะมีตัวเลขเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 42 ปีก็ตาม โดยตัวเลขเงินเฟ้อญี่ปุ่นล่าสุดนั้นอยู่ที่ 4% มากกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ 2%

โดยความเห็นดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นรายนี้ตามหลังมาจากการรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่น ที่ทำลายสถิติใหม่สูงสุดในรอบ 42 ปี ซึ่งมีแรงกดดันจากนักลงทุนให้ญี่ปุ่นประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อที่จะสกัดเงินเฟ้อ และยุตินโยบาย Abenomics

นายกรัฐมนตรีรายนี้ยังได้กล่าวกับสภาสูงของญี่ปุ่นว่า ปัญหาเงินเฟ้อของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นมาจากราคาพลังงาน ต้นทุนวัตถุดิบต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมถึงค่าเงินเยนที่อ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมา ไม่ใช่ปัญหาในส่วนความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

ไม่เพียงเท่านี้เขายังกล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้ญี่ปุ่นไม่ถือว่าอยู่ในสภาวะเงินฝืด แต่สภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ก็ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าการกลับมาของปัญหาเงินฝืดนั้นเป็นไปไม่ได้เลย

สำหรับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกประสบปัญหาเงินฝืดมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ต้องใช้มาตรการ Abenomics ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวคือการใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการอัดสภาพคล่องเข้าระบบการเงิน ไปจนถึงการใช้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำติดดิน ซึ่งทำให้ท้ายที่สุดเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถออกจากปัญหาเงินฝืดได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แต่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มหารือข้อดีรวมถึงข้อเสียของนโยบายดังกล่าว และคาดว่านโยบาย Abenomics ที่ใช้ระยะเวลาถึง 10 ปีกำลังอาจถึงจุดสิ้นสุดได้ในเร็วๆ นี้

ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดจาก Bank of America คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2023 นี้ GDP จะเติบโต 1.2% ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 3% โดยสถาบันการเงินรายนี้คาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อญี่ปุ่นจะลดลงเหลือ 2.5% ภายในปี 2024 

ที่มา – Reuters

]]>
1416985
เกาหลีใต้นำเข้ากิมจิทำสถิติสูงสุดในรอบ 12 ปี หลังเงินเฟ้อทำพิษ ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม https://positioningmag.com/1416731 Thu, 26 Jan 2023 05:26:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416731 เกาหลีใต้ทำสถิตินำเข้ากิมจิสูงสุดในรอบ 12 ปี สาเหตุสำคัญมาจากเงินเฟ้อส่งผลทำให้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ร้านอาหารหรือประชาชนนั้นเริ่มที่จะซื้อกิมจิที่ผลิตจากประเทศจีนแทนกิมจิที่ผลิตภายในประเทศ เนื่องจากราคาที่ถูกกว่า

สำนักงานศุลกากรของเกาหลีใต้ได้รายงานยอดการนำเข้ากิมจิในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นสูงถึง 169.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยราวๆ 5,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้นราวๆ 20% จากปีที่ผ่านมา สวนทางกับยอดส่งออกกิมจิของเกาหลีใต้ที่ลดลงถึง 12%

กิมจิที่เกาหลีใต้นำเข้านั้นส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ซึ่งกิมจิจากประเทศจีนนั้นมีราคาถูกกว่าราคากิมจิที่ขายในประเทศ ส่งผลทำให้หลายร้านอาหารในเกาหลีใต้ได้เปลี่ยนจากกิมจิที่ผลิตในประเทศมาเป็นกิมจิของจีนแทนในช่วงที่ผ่านมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคากิมจิในเกาหลีเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลทำให้ต้นทุนของผักกาด หรือพริกในการทำกิมจิมีราคาสูงขึ้น ซึ่งผู้ผลิตกิมจิรายใหญ่ของเกาหลีใต้หลายรายได้ขึ้นราคาไปแล้วถึง 10%

ราคากิมจิที่นำเข้าจากประเทศจีนนั้นมีราคาเพียงแค่ 643 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเท่านั้น ขณะที่ราคากิมจิส่งออกของเกาหลีใต้นั้นอยู่ที่ 3425 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2021 นั้นเกาหลีใต้นำเข้ากิมจิน้อยลงเนื่องจากมีคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่าชาวจีนที่เปลือยท่อนบนได้ลงไปในบ่อหมักกิมจิ

ตัวเลขเงินเฟ้อในเกาหลีใต้ในเดือนธันวาคมปี 2022 ที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 5% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางเกาหลีใต้ โดยบทวิเคราะห์จาก J.P. Morgan คาดการณ์ว่าภายในช่วงปลายปีนี้ตัวเลขเงินเฟ้อจะอยู่ที่ราวๆ 3.6%

ที่มา – The Korea Times, Yonhap

]]>
1416731
กรุงไทยเตือน 5 ปัจจัยสำคัญกระทบภาคธุรกิจไทย มองเศรษฐกิจปีนี้ยังโตได้จากท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1414996 Tue, 10 Jan 2023 16:11:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414996 ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ได้ออกบทวิเคราะห์ชี้ถึง 5 ปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อธุรกิจไทยในปี 2566 นี้ และย้ำถึงการวางแผนรับมือในปัจจัยดังกล่าวนี้ ขณะเดียวกันก็มองว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะโตได้ถึง 3.4% ได้แรงส่งจากภาคการท่องเที่ยวของไทย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอาจได้เห็นถึง 2% ในปีนี้

ศูนย์วิจัยของธนาคารกรุงไทย ยังประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 นั้นฟื้นตัวต่อเนื่อง จากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยว และชี้ถึง 5 ปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจไทยจะต้องรู้ หลังเศรษฐกิจเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ และแนะนำว่าภาคธุรกิจควรวางแผนรับมือกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ธีมสำคัญในปีนี้ที่ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินไว้คือเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนี้ได้นำพาเศรษฐกิจไทยไปอยู่ในจุดที่ไม่คุ้นเคย ภายใต้โลกใหม่ที่มีความผันผวนและซับซ้อน

5 ปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้ได้แก่

  1. การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ Krungthai COMPASS ได้ชี้ว่าปัจจัยดังกล่าวนั้นมีหลายประเด็นที่ภาคธุรกิจไทยจะได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางตรงอย่างความรุนแรงของสภาวะอากาศตั้งแต่ระดับน้ำทะเลสูง ไปอุณภูมิที่เพิ่งสูงขึ้น จนถึงความรุนแรงของพายุ หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบ เช่น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความชะงักงันของ Supply Chain เป็นต้น รวมถึงภาษีคาร์บอนที่สหภาพยุโรปเริ่มมีการเก็บในเดือนตุลาคม
  2. เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะชะลอตัว ในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานหลายแห่งหรือสถาบันการเงินต่างๆ ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลง โดยเฉพาะ GDP ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จากปัญหาสำคัญคือเรื่องเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาที่ธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ถึง 5-5.25% ส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปชะลอตัวจากปัญหาพลังงาน รวมถึงความเสี่ยงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายโควิดในจีน ไปจนถึงปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์
  3. เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ภาคการท่องเที่ยว ในปี 2566 นี้ Krungthai COMPASS ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังจะเข้าสู่สภาวะเปลี่ยนผ่านจากภาคการส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยไปสู่ภาคการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลดีจากปัจจัยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจากอาเซียนที่กลับมาใกล้กับจำนวนเดิมก่อนการแพร่ระบาดของโควิด
  4. การเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นของไทย ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางในแต่ละประเทศได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วและแรงในช่วงที่ผ่านมา เพื่อที่จะต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งผลดังกล่าวได้กระทบกับประเทศไทยที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยตามกลุ่มประเทศเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
  5. การเปลี่ยนผ่านท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะปัญหาของราคาพลังงานในช่วงที่ผ่านมาจากผลกระทบของการบุกยูเครนของรัสเซีย ต้นทุนค่าจ้างที่สูง ซึ่งแรงกดดันดังกล่าวทำให้ Krungthai COMPASS มองว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยแม้จะลดลงมาเหลือ 3.1% ในปีนี้ แต่ก็ยังถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 3.4% ในปี 2566 ปริมาณนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอยู่ที่ 22.5 ล้านคน การส่งออกของไทยเติบโตแค่ 0.7% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 2% และอาจมีสิทธิ์เพิ่มสูงสุดได้ถึง 2.5% ในปีหน้า ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยคาดว่าจะอยู่ในกรอบ 33.75-36.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

]]>
1414996
เงินเฟ้อไทยปี 65 อยู่ที่ 6.08% สูงสุดในรอบ 24 ปี พาณิชย์คาดปีนี้จะลดลงกลับมาตามเป้า https://positioningmag.com/1414702 Thu, 05 Jan 2023 10:28:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414702 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในปี 2565 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 6.08% สูงสุดในรอบ 24 ปีนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา สาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยพุ่งสูงนั้นมาจากราคาพลังงานที่สูง จากผลกระทบของการบุกยูเครนโดยรัสเซีย

ถ้าหากมาดูตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมแล้วนั้นล่าสุดอยู่ที่ 5.89% เมื่อเทียบกับปี 2021 ที่ผ่านมา ดีกว่านักเศรษฐศาสตร์ที่สำนักข่าว Reuters ได้ทำผลสำรวจไว้ที่ 5.9% แต่ยังสูงกว่าตัวเลขในเดือนพฤศจิกายนที่ 5.5%

โดยตัวเลขเงินเฟ้อนั้นยังถือว่าอยู่สูงกว่ากรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ตั้งไว้ 1-3%

อย่างไรก็ดี สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าได้ชี้แจงว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ดีกว่าในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี เม็กซิโก และอินเดีย และยังดีกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วยกัน เช่น ลาว ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ด้วย

ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อในปี 2566 นี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะชะลอตัวลงจากปี 2565 เนื่องจากราคาสินค้าส่วนใหญ่เริ่มทรงตัวและบางรายการปรับลดลงหลังจากที่ทยอยปรับขึ้นตามต้นทุนแล้วในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังกระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อในไตรมาส 1 ของปี 2566 นั้นจะยังคงสูงอยู่ แต่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่เกิน 5% ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมา โดยคาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ 2-3% ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย

]]>
1414702