Japan Airlines – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 30 Nov 2020 09:46:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สายการบินใหญ่ญี่ปุ่น ANA เเละ JAL เริ่มทดสอบใช้ “บัตรผ่านดิจิทัล” โชว์สถานะผู้ตรวจ COVID-19 https://positioningmag.com/1308259 Mon, 30 Nov 2020 07:44:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308259 สองสายการบินใหญ่ของญี่ปุ่น เริ่มทดสอบใช้ทดสอบระบบใบรับรองดิจิทัล สำหรับผู้เดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ที่มีผลตรวจเป็นลบเพื่อลดความซับซ้อนของขั้นตอนตรวจคนเข้าเมือง

โดย All Nippon Airways หรือ ANA จะเริ่มใช้งานเเอปพลิเคชัน “CommonPass” บนเที่ยวบินระหว่างสนามบินฮาเนดะของกรุงโตเกียว กับนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน ซึ่งทาง Japan Airlines ก็กำลังพิจารณาใช้โปรแกรมใบรับรองดิจิทัลในลักษณะนี้เช่นกัน

สำหรับเเอปพลิเคชัน “CommonPass” เป็นระบบที่เเสดงผลของผู้ผ่านการตรวจ PCR รวมถึงชื่อสถานที่ตรวจ หมายเลขหนังสือเดินทาง แผนการเดินทาง สถานะสุขภาพปัจจุบันของผู้ใช้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางอื่นๆ ผ่านการสแกนทางสมาร์ทโฟน

โดยเป็นการช่วยลดขั้นตอนตรวจคนเข้าเมืองในสถานการณ์ COVID-19 ที่มีความซับซ้อนเเละจะทำให้ทราบอย่างรวดเร็วว่าผู้ใช้เเอปฯ นี้ มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดในการเข้าประเทศหรือไม่

สายการบินหลายเเห่งทั่วโลก อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้ “CommonPass” กับเที่ยวบินโดยสาร เช่น สายการบิน United Airlines และ Cathay Pacific Airways ของฮ่องกง ก็กำลังทำการทดลองใช้เเอปฯ นี้ ซึ่งที่ผ่านมา CommonPass ได้รับการสนับสนุนการพัฒนาจาก World Economic Forum

อย่างไรก็ตาม การใช้ CommonPass อย่างเต็มรูปแบบเเละมีมาตรฐานระดับโลกนั้น ยังมีความท้าทายอยู่มากเพราะต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่กักกันโรค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามประเทศต่างๆ ซึ่งต้องรอดูว่าต่อไปจะมีการพัฒนาเชื่อมต่อข้อมูลกันได้ในระดับใด

 

ที่มา : NHK , Financial Times 

]]>
1308259
ZIPAIR มาแล้ว! เตรียมเริ่มบินเส้นทางกรุงเทพฯ – นาริตะ 28 ตุลาคม นี้ บินไป ไม่มีกลับ https://positioningmag.com/1302551 Wed, 21 Oct 2020 06:20:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302551 ZIPAIR Tokyo สายการบิน LCC ระดับพรีเมียมจาก Japan Airlines (JAL) ประกาศเตรียมเริ่มบินรับผู้โดยสารในเส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) – โตเกียว (นาริตะ) แล้ว โดยจะบินสัปดาห์ละ 5 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2563 นี้เป็นต้นไป

เนื่องจากมีการจำกัดเที่ยวบินของผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศไทยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้โดยสารจะสามารถเดินทางได้เฉพาะเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปยังนาริตะเท่านั้น

ตารางบินเส้นทาง กรุงเทพฯ – นาริตะ

[เที่ยวบินบรรทุกสินค้า] นาริตะ (NRT) – กรุงเทพฯ (BKK)  | ZG51 | ออกจากนาริตะ 16.40 น. ถึงกรุงเทพฯ 22.00 น. | บินทุกวัน อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
[เที่ยวบินสำหรับผู้โดยสาร] กรุงเทพฯ (BKK) – นาริตะ (NRT) | ZG52 | ออกจากกรุงเทพฯ 23.30 น. ถึงนาริตะ 7.15 น. (+1) | บินทุกวัน พ. พฤ. ศ. ส. อา.

*ตารางเที่ยวบินขึ้นอยู่กับการอนุมัติของรัฐบาล

ค่าโดยสาร

ค่าโดยสารแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ “ZIP Full-Flat Value” ซึ่งเป็นตั๋วที่นั่งเกรดพรีเมียม และ “Standard Value” เป็นตั๋วที่นั่งแบบธรรมดา โดยในส่วนของ “Standard Value” จะมี “U6 Standard Value” สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ซึ่งมีอัตราค่าโดยสารแบบเที่ยวเดียวอยู่ที่ 1,600 บาท เพื่อให้เด็กทุกคนรวมถึงทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ปีมีที่นั่งเป็นของตนเอง

ค่าที่นั่ง

ระยะเวลา: 28 ตุลาคม – 29 พฤศจิกายน 2563

ZIP Full-Flat Value

  • ค่าโดยสาร (ต่อที่นั่ง, เที่ยวเดียว)
  • โตเกียว-กรุงเทพฯ: ไม่มี
  • กรุงเทพฯ-โตเกียว: 15,000-61,800 บาท
  • อายุ: 7 ปีขึ้นไป

Standard Value

  • ค่าโดยสาร (ต่อที่นั่ง, เที่ยวเดียว)
  • โตเกียว-กรุงเทพฯ: ไม่มี
  • กรุงเทพฯ-โตเกียว: 4,200-51,600 บาท
  • อายุ: 7 ปีขึ้นไป

U6 Standard Value

  • ค่าโดยสาร (ต่อที่นั่ง, เที่ยวเดียว)
  • โตเกียว-กรุงเทพฯ: ไม่มี
  • กรุงเทพฯ-โตเกียว: 1,600 บาท
  • ค่าโดยสาร (ต่อที่นั่ง, เทียวเดียว)
  • อายุ: ต่ำกว่า 7 ปี

– นอกเหนือจากค่าโดยสารแล้ว ผู้โดยสารจำเป็นต้องชำระค่าธรรมเนียมสนามบิน และค่าภาษีด้วย
– ค่าโดยสารรวมสัมภาระถือขึ้นเครื่องน้ำหนักไม่เกิน 7 กก.
– มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการสั่งอาหาร การตรวจสอบสัมภาระ และการเลือกที่นั่งล่วงหน้า
– ค่าโดยสารอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งที่เหลืออยู่

*กำหนดการจำหน่ายตั๋วโดยสารและราคาตั๋วเครื่องบินสำหรับการเดินทางหลังวันที่ 27 พฤศจิกายน จะมีการแจ้งให้ทราบหลังจากที่มีการกำหนดแน่นอนแล้ว

ข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าโดยสาร

  • การจองเที่ยวบิน: บนเว็บไซต์ของ ZIPAIR หรือที่ ZIPAIR Contact Center
  • กำหนดเวลาซื้อตั๋ว: อย่างน้อย 90 นาทีก่อนกำหนดเวลาออกเดินทาง
  • การเปลี่ยนวันที่บิน: ไม่ได้
  • การคืนเงิน: ไม่ได้

กรณีซื้อตั๋วที่ ZIPAIR Contact Center จะมีการคิดค่าธรรมเนียมต่อคน/ที่นั่ง รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดตรวจสอบที่เว็บไซต์ของ ZIPAIR

วันเริ่มจำหน่ายตั๋ว

วันที่ 19 ตุลาคม เวลา 13.00 น. สำหรับเที่ยวบินระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 29 พฤศจิกายน 2563

จุดเด่นของ ZIPAIR

สายการบิน ZIPAIR ใช้เครื่องบิน Boeing 787-8 ภายในตกแต่งแบบเรียบง่ายด้วยสีดำตัดเทา ที่นั่งแต่ละที่มาพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน

บริการที่น่าสนใจของ ZIPAIR

  • การบริการ Wi-Fi ภายในเครื่อง
    (1) บริการฟรีอินเทอร์เน็ต
    (2) สิ่งบันเทิงฟรี
    (3) บริการสั่งอาหาร และจำหน่ายสินค้าภายในเที่ยวบินด้วยระบบเซลฟ์ออเดอร์

ตั๋วเครื่องบินสำหรับเด็ก U6

ผู้โดยสารที่มากับเด็กอายุ 0-6 ปี สามารถใช้บริการ “U6” ได้ เพื่อความเพลิดเพลินในการเดินทางบนท้องฟ้า โดยทางสายการบินได้เตรียมค่าโดยสารแบบ “U6 Standard” ราคาย่อมเยาสำหรับผู้โดยสารอายุไม่เกิน 6 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารในราคาปกติแล้ว เป็นราคาที่สามารถซื้อได้อย่างสบาย

บริการที่ให้การเดินทางผ่อนคลายกว่าเดิม

ZIPAIR มาพร้อมบริการเช็กอินอัตโนมัติเพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องได้อย่างสะดวกสบาย โดยสำหรับผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วโดยสารเรียบร้อยแล้วนั้น ระบบจะทำการเช็กอินให้โดยอัตโนมัติก่อนถึงเวลาเครื่องบินออก 24 ชั่วโมง หลังจากระบบทำการเช็กอินอัตโนมัติแล้วบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) จะถูกส่งไปยังอีเมลที่ผู้โดยสารได้ลงทะเบียนไว้ตอนจอง นับเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องเร่งรีบเดินทางมายังสนามบินเพื่อเช็กอิน ไม่ต้องต่อแถวนาน และเริ่มต้นการเดินทางได้อย่างราบรื่นกว่าที่เคย

เนื่องจากตอนนี้ทาง ​ZIPAIR ให้บริการเฉพาะเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปยังนาริตะเท่านั้น เที่ยวบินนี้จึงเหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท หรือผู้ที่มีแผนจะเดินทางไปพำนักที่ญี่ปุ่นในระยะยาว สำหรับรายละเอียดเที่ยวบินอื่นๆ ในอนาคต โปรดรอติดตามต่อไป

]]>
1302551
Japan Airline เปลี่ยนคำทักทาย Ladies and Gentlemen เพราะผู้โดยสารไม่ได้จำกัดแค่หญิงชาย https://positioningmag.com/1299669 Thu, 01 Oct 2020 15:28:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299669 สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ หรือ JAL ออกแถลงการณ์พร้อมเปลี่ยนคำว่าสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษหรือ ladies and gentlemen มาเป็นคำอื่นที่ลูกเรือจะสามารถทักทายผู้โดยสารได้อย่างเป็นกลางมากกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้ตอกย้ำเทรนด์สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ หลังจากสายการบินระดับโลกรายอื่นปรับมาใช้ภาษาที่ครอบคลุมเพศหลากหลายขึ้นสำหรับผู้โดยสารยุคใหม่

จากคำว่า ladies and gentlemen สายการบินญี่ปุ่นระบุว่าจะประกาศเรียกผู้โดยสารที่สนามบินและเที่ยวบินด้วยคำใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม โดยสายการบินจะหันไปใช้คำว่าเรียนผู้โดยสารทุกท่านหรือ Attention all passengers และอรุณสวัสดิ์ค่ะทุกท่านหรือ Good morning everyone แทน

เทรนด์แรงสายการบินขานรับ

ไม่เพียง JAL สายการบินหลายแห่งทั่วโลกได้ลงมือเปลี่ยนแปลงคำเรียกผู้โดยสารในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มคนข้ามเพศและกลุ่มที่ไม่ได้เป็นทั้งเพศชายหรือหญิง

ภาพ : facebook.com/easyJet

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือสายการบินแอร์แคนาดา และสายการบินโลว์คอสต์ของยุโรป EasyJet ซึ่งออกแถลงการณ์เมื่อปีที่แล้ว ว่าจะยกเลิกคำเรียกสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษไป สำหรับ JAL สายการบินระบุว่ามีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทที่สามารถสร้างบรรยากาศที่ดี และปฏิบัติต่อทุกคนรวมถึงลูกค้าด้วยความเคารพ

Mark Morimoto โฆษกของ Japan Airlines อธิบายว่าบริษัทมุ่งมั่นที่จะไม่เลือกปฏิบัติตามเพศ อายุ สัญชาติ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา ความทุพพลภาพ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ หรือคุณลักษณะส่วนบุคคลอื่น แต่จะปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมที่สุด

ภาพ : facebook.com/JapanAirlinesTH

อิมแพคทางสังคม

การประกาศของ JAL เกิดขึ้นในขณะที่หลายบริษัทแสดงจุดยืนสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในญี่ปุ่นอย่างชัดเจน ทั้งการให้ความสำคัญกับองค์กรเพื่อสิทธิ LGBT ที่กำลังเติบโตขึ้น เปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นที่เป็นประเทศอนุรักษ์นิยม และการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันยังคงผิดกฎหมาย ขณะที่การเปิดเผยตัวว่าเป็นเกย์ยังเป็นเรื่องต้องห้าม

การประกาศของ JAl เกิดขึ้นหลังจากที่เดือนเมษายน องค์กรการกุศลของญี่ปุ่นได้เปิดตัวโครงการที่เปิดทางให้คู่รักเพศเดียวกันได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการพนักงานเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารและบริษัทด้านประกัน

นอกจากนี้ การประกาศล่าสุดยังปรับภาพลักษณ์ JAL ให้มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม หลังจากในเดือนมีนาคม สายการบินเจแปนแอร์ไลน์เคยประกาศอนุญาตให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่เป็นผู้หญิง สามารถสวมกางเกงขายาว และไม่ต้องสวมรองเท้าส้นสูงในที่ทำงาน ซึ่งเป็นผลจากการรณรงค์เรียกร้องสิทธิสตรีที่เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง.


ที่มา

]]>
1299669
Japan Airlines เตรียมระดมทุน 5 แสนล้านเยน พยุงธุรกิจสู้วิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1284330 Fri, 19 Jun 2020 12:49:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284330 ธุรกิจสายการบินยังต้องดิ้นรนไปอีกยาว เเม้สถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 จะเริ่มดีขึ้น เเต่การท่องเที่ยวเเละการเดินทางข้ามพรมเเดน ยังคงไม่ฟื้นในเร็ววัน

ล่าสุด สายการบินเเห่งชาติของญี่ปุ่นอย่าง Japan Airlines เตรียมระดมทุนกว่า 5 แสนล้านเยน (ราว 1.45 แสนล้านบาท) เพื่อประคองธุรกิจให้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้

Yuji Akasaka ประธานของ Japan Airlines (JAL) เปิดเผยว่า สายการบินหวังจะระดมเงินทุนให้ได้ 5 แสนล้านเยน เพื่อนำมาพยุงสถานะการเงินของบริษัท หลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากยอดการเดินทางที่หายไปในช่วง COVID-19 ซึ่งก่อนหน้านี้ สายการบินได้ทำการกู้เงินจำนวน 2 เเสนล้านเยนจากสถาบันการเงินมาเเล้ว

โดยผลประกอบการล่าสุดในไตรมาส 1 ของปีนี้ JAL ขาดทุนสูงถึง 2.29 หมื่นล้านเยน นับเป็นการขาดทุนรายไตรมาสครั้งแรก ตั้งแต่ที่บริษัทได้กลับเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นโตเกียวอีกครั้งในปี 2012 หลังยื่นล้มละลายในปี 2010

การกลับมาเเข็งเเกร่งเเละทำกำไรได้อีกครั้ง หลังการยื่นล้มละลายของสายการบินเเห่งชาติญี่ปุ่น ได้กลายเป็นกรณีศึกษาอันเลื่องชื่อของวงการสายการบิน จากกลยุทธ์พลิกฟื้นเเละปฎิรูปองค์กรของ Kazuo Inamori นักบริหารมือฉมัง ดังนั้น JAL จึงเป็นอีกหนึ่งสายการบินที่ฝ่าฟันวิกฤตมานับไม่ถ้วน

ตอนนี้สายการบินทั่วโลก ต้องปรับลดเที่ยวบินระหว่างประเทศและภายในประเทศ ขณะเดียวกันสถานการณ์ของ COVID-19 ในญี่ปุ่นเริ่มดีขึ้น ล่าสุดรัฐบาลยกเลิกข้อกัดในการเดินทาง อนุญาตให้ประชาชนสามารถท่องเที่ยวข้ามจังหวัดได้ ทำให้ JAL จะได้กลับมาทำการบินในประเทศอีกครั้ง หลังจากหยุดให้บริการมาเป็นเวลานาน เบื้องต้นคาดว่าจำนวนผู้โดยสารเที่ยวบินภายในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในเดือนนี้

อย่างไรก็ตาม JAL ยืนยันว่า เที่ยวบินระหว่างประเทศจะยังคงงดให้บริการกว่า 90% เช่นเดิม เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ยังมีอยู่เเละยังต้องมีการตรวจสอบต่อไป

โดยประธานของ Japan Airlines กล่าวในที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงเเผนต่อไปว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ ให้สอดคล้องกับความต้องการท่องเที่ยวของผู้บริโภคทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้บริษัทกลับมาทำกำไรได้ หลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19

 

ที่มา : japantimes , kyodonews

]]> 1284330