Kantar Worldpanel – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Aug 2024 13:24:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สุดยอดแบรนด์ FMCG แห่งปี 2024 โดย Kantar กระแสแพลนต์เบสส่ง “แลคตาซอย” ขึ้นแท่น “โทฟุซัง” มาแรง https://positioningmag.com/1487802 Wed, 28 Aug 2024 10:54:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1487802
  • รางวัล “สุดยอดแบรนด์ FMCG แห่งปี 2024” โดย Kantar กลับมาอีกครั้ง หลายแบรนด์แกร่งยังอยู่กันครบ เช่น มาม่า คอลเกต เนสกาแฟ
  • ขณะที่หมวดเครื่องดื่ม “แพลนต์เบส” มีชื่อแบรนด์ “แลคตาซอย” พุ่งขึ้นมาในโผแบรนด์ที่ถูกเลือกมากที่สุด ขณะที่ “โทฟุซัง” เป็นแบรนด์มาแรงในกลุ่มนี้
  • ท่ามกลางตลาดเครื่องดื่มที่หดตัวลง แต่เครื่องดื่มเกลือแร่และให้พลังงานกลับโตสวนทาง โดยมี “เรดดี้” เป็นแบรนด์ที่เติบโตสูงสุด
  • Kantar บริษัทด้านข้อมูลการตลาดและการวิเคราะห์ เปิดเผยรายชื่อแบรนด์ที่ได้รับรางวัลจากงาน Thailand Brand Footprint Awards 2024 ในการศึกษาครั้งนี้ Kantar สำรวจแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) กว่า 590 แบรนด์ และแบรนด์ความงามอีก 400 แบรนด์ในประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำว่าแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสามารถดึงดูดผู้บริโภคในสภาพแวดล้อมที่สินค้ามีราคาสูงขึ้นได้อย่างไร

    Kantar มองว่า แบรนด์เหล่านี้สามารถสร้างความสัมพันธ์ทาง Functional และ Emotional ได้อย่างแข็งแกร่ง ทำให้ตัวเองเป็นที่จดจำและเข้าถึงได้ง่ายในทุกจุดสัมผัสของผู้บริโภค

    Brand Footprint คือการจัดอันดับประจำปีของแบรนด์ FMCG ที่ได้รับการเลือกซื้อมากที่สุดทั่วโลกจาก Worldpanel ของ Kantar ซึ่งใช้เมตริกเฉพาะที่เรียกว่า Consumer Reach Points (CRP) เพื่อวัดและเปรียบเทียบความสำเร็จของแบรนด์ในตลาดและภูมิภาคต่างๆ CRP แสดงถึงการเลือกซื้อแบรนด์ของผู้บริโภคหนึ่งครั้ง โดยรวมข้อมูลจากประชากร, การเข้าถึง และการเลือกของผู้บริโภค

    FMCG

    รางวัล Thailand Brand Footprint Awards 2024

    มีการแบ่งรางวัลออกเป็น 4 ประเภทดังนี้:

    1. Most Chosen Brands: รางวัลนี้มอบให้กับแบรนด์ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด วัดจากคะแนน CRP สูงสุด
    2. Top Outstanding Brands: รางวัลนี้มอบให้กับแบรนด์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมและเติบโตอย่างโดดเด่น
    3. Top Outstanding Retailer: รางวัลนี้มอบให้กับผู้ค้าปลีกที่มีผลงานยอดเยี่ยมในตลาด
    4. Top Outstanding Manufacturer: รางวัลนี้มอบให้กับผู้ผลิตที่มีผลงานยอดเยี่ยมในตลาด

    รางวัลนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ FMCG ใน 6 หมวดหมู่ ได้แก่ อาหาร (บรรจุหีบห่อ), เครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์นม, ผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน, ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และ ความงาม รวมถึงผู้ค้าปลีกและผู้ผลิต

     

    Most Chosen Brands
    • Mama (มาม่า) – 165 ล้าน CRPs (อาหาร)
    • Nescafé (เนสกาแฟ) – 145 ล้าน CRPs (เครื่องดื่ม)
    • Colgate (คอลเกต) – 84 ล้าน CRPs (ผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน)
    • Hygiene (ไฮยีน) – 111 ล้าน CRPs (ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล)
    • Garnier (การ์นิเย่) – 40 ล้าน CRPs (ความงาม)
    • Maybelline (เมย์เบลลีน) – 9 ล้าน CRPs (เครื่องสำอาง)
    • Dutch Mill (ดัชมิลล์) – 139 ล้าน CRPs (ผลิตภัณฑ์นม)
    • Lactasoy (แลคตาซอย) – 66 ล้าน CRPs (เครื่องดื่มแพลนต์เบส)

    Positioning พบว่าเทียบกับปี 2023 แล้วทุกกลุ่มยังคงเป็นแบรนด์เดิมที่แข็งแกร่ง เป็นแบรนด์ที่ถูกเลือกมากที่สุด โดยมีแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาจากการเจาะลึกหมวดย่อยสินค้าอย่าง “Maybelline” ที่แกร่งที่สุดในตลาดเครื่องสำอาง และ “แลคตาซอย” เป็นที่สุดในตลาดเครื่องดื่มแพลนต์เบสซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโตสูง

    Top Outstanding Brands

    แบรนด์ต่อไปนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบรนด์ยอดเยี่ยมแห่งปี โดยอ้างอิงจากข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปีที่ผ่านมา

    ไฮไลต์อยู่ที่เครื่องดื่มแพลนต์เบสที่โตขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์นม และกลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่และให้พลังงาน (Sports and Energy Drink) ซึ่งเติบโตสูงสวนทางกับตลาดเครื่องดื่มในภาพรวมที่หดตัวลง

    แบรนด์ยอดเยี่ยมมาแรงที่สุดแห่งปี 2024 ได้แก่

    • Merrezca (เมอเรสก้า) – 2 ล้าน CRPs (เครื่องสำอาง เป็นครั้งแรกที่แบรนด์แตะ CRPs สูงถึง 2 ล้าน)
    • Clear Nose (เคลียร์โนส) – 7 ล้าน CRPs เพิ่มขึ้นจากเดิม 4 ล้าน CRPs (การเติบโตของ CRPs สูงสุดในหมวดสกินแคร์)
    • Koh-Kae (โก๋แก่) – 33 ล้าน CRPs เพิ่มขึ้นจากเดิม 7 ล้าน CRPs (การเติบโตของ CRPs สูงสุดในหมวดอาหาร)
    • Phanom Rung (พนมรุ้ง) – 5 ล้าน CRPs เพิ่มขึ้นจากเดิม 1 ล้าน CRPs (การเติบโตของ CRPs สูงสุดในหมวดข้าว)
    • Ready (เรดดี้) – 7 ล้าน CRPs เพิ่มขึ้นจากเดิม 1 ล้าน CRPs (การเติบโตของ CRPs สูงสุดในหมวดเครื่องดื่มสปอร์ตและเอเนอร์จี้)
    • Tofusan (โทฟุซัง) – 5 ล้าน CRPs เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 ล้าน CRPs (การเติบโตของ CRPs สูงสุดในหมวดเครื่องดื่มแพลนต์เบส)
    เครื่องดื่มเรดดี้ เอเนอจี้ ดริงค์
    Top Outstanding Retailer

    ในตลาดความงามที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งช่องทางการขายครอบคลุมทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ ร้านความงามท้องถิ่นได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภค

    • Eveandboy (อีฟแอนด์บอย) – 2 ล้าน CRPs (ร้านความงามที่ถูกเลือกซื้อมากที่สุด)

     

    Top Outstanding Manufacturer

    ตลาดสัตว์เลี้ยงกำลังบูมอย่างรวดเร็ว โดยได้รับแรงหนุนจากแนวโน้ม ‘Pet-humanization’

    • Perfect Companion Group – 14 ล้าน CRPs (ผู้ผลิตที่ถูกเลือกซื้อมากที่สุดในหมวดอาหารสัตว์เลี้ยง)

     

    อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ

    ]]>
    1487802
    จะไหวไหม? Netflix เสียสมาชิก 1 ล้านรายทันทีที่ “สเปน” หลังเริ่มกฎเหล็ก “ห้ามแชร์รหัสผ่าน” https://positioningmag.com/1429779 Mon, 08 May 2023 12:08:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429779 หลัง Netflix เอาจริงกับกฎเหล็ก “ห้ามแชร์รหัสผ่าน” บัญชีเดียวดูหลายคน โดยเริ่มทดลองก่อนในบางตลาด ล่าสุดมีผลสำรวจจาก “สเปน” พบว่า ภายในเดือนเดียวสตรีมมิ่งเจ้านี้ต้องเสียสมาชิกไปถึง 1 ล้านราย และมีแนวโน้มที่เลือดจะไหลออกอีกในไตรมาส 2

    ก่อนหน้านี้ Netflix ประกาศออกมาแล้วว่า บริษัทจะเริ่มจริงจังการใช้มาตรการ “ห้ามแชร์รหัสผ่าน” โดยมีการทดลองก่อนในบางตลาด ได้แก่ สเปน โปรตุเกส แคนาดา นิวซีแลนด์ และ 5 ประเทศทวีปอเมริกาใต้ เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2023

    ล่าสุดบริษัทวิจัยการตลาด Kantar Worldpanel ทำการสำรวจตลาดสตรีมมิ่งใน “สเปน” ตลาดที่มีผู้สมัครสมาชิกสตรีมมิ่งอยู่ 11.9 ล้านราย การสำรวจช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2023 พบว่า Netflix ต้องเสียลูกค้าไปทันที 1 ล้านราย ภายในเวลา 1 เดือน

    การเสียลูกค้าไปเป็นเรื่องที่ Netflix คาดการณ์และแจ้งเตือนนักลงทุนไว้ก่อนแล้ว แต่บริษัททำเช่นนี้เพราะหวังผลระยะยาวว่า บรรดาลูกค้าที่เคยแชร์รหัสผ่านกับคนอื่นจะหันมาสมัครสมาชิกด้วยตนเองแทน

    ในประเด็นนี้ Worldpanel สอบถามความเห็นพบว่า ลูกค้า ‘เกือบครึ่งหนึ่ง’ ที่ยกเลิกสมาชิก Netflix ไป บอกว่าตนเองจะไม่กลับมาจ่ายค่าสมาชิกให้สตรีมมิ่งรายนี้อีก

    Netflix
    ไตรมาสแรก Netflix มีซีรีส์ใหม่ออกฉายคือ YOU season 4 ซึ่งมีผู้ชมมากเป็นอันดับ 3 ในสเปน แต่ดึงสมาชิกใหม่ได้เพียง 1% ของการสมัครใหม่ทั้งหมด

    สัญญาณที่ไม่ดียังมีมากกว่านั้น เพราะลูกค้าที่ยังเป็นสมาชิกอยู่มีถึง 10% ที่ตอบว่ามีแผนจะยกเลิกสมาชิกภายในไตรมาส 2 และที่น่าสนใจอีกประการคือ กลุ่มลูกค้าที่ยกเลิกสมาชิกเพราะถูกห้ามแชร์รหัสผ่าน ไม่ได้มีลักษณะร่วมกันตามหลักประชากรศาสตร์ที่เด่นชัดเป็นพิเศษ

    “การเสียลูกค้า 1 ล้านรายในเวลาแค่ 1 เดือนกว่า น่าจะส่งผลต่อการตัดสินใจของ Netflix ว่าจะนำกฎนี้ไปใช้ทั่วโลกไหม หลังจากนี้บริษัทน่าจะจับตามองความเคลื่อนไหวไปอีก 2-3 ไตรมาสว่ามีลูกค้ากลับมาสมัครสมาชิกใหม่มากน้อยแค่ไหน เพื่อนำไปกำหนดกลยุทธ์ของบริษัท” Dominic Sunnebo ผู้อำนวยการฝ่ายอินไซต์ผู้บริโภคระดับโลกของ Kantar Worldpanel กล่าว

     

    ใครได้โอกาสเขย่าบัลลังก์ Netflix

    ส่วนสตรีมมิ่งที่คว้าชิ้นปลามันและได้ประโยชน์ชัดเจนคือ “Prime Video” และ “Sky Showtime” ซึ่งได้ส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มลูกค้าสมัครสมาชิกสตรีมมิ่งใหม่ไตรมาส 1/2023 ของสเปนไปถึง 34.4% และ 32.6% ตามลำดับ ส่วนอันดับสามที่ตามมาห่างๆ คือ “HBO Max” ซึ่งได้ส่วนแบ่งลูกค้าใหม่ไป 9.2%

    กรณีของ Prime Video นั้น นับได้ว่าเกิดจาก “คอนเทนต์” ที่ช่วยเรียกลูกค้า เนื่องจาก Prime Video มีซีรีส์เด่นคือ The Lord of the Rings, the Rings of Power ที่แม้จะออกฉายมานาน 9 เดือนแล้ว แต่ก็ยังเป็นซีรีส์ที่ช่วยดันยอดสมาชิกใหม่ได้

    นอกจากนี้ สตรีมมิ่งเจ้านี้ยังเป็นคู่แข่งชัดเจนของ Netflix ด้วย เพราะประมาณครึ่งหนึ่งของลูกค้าที่ยกเลิกสมาชิก Netflix มีการสมัคร Prime Video ควบคู่ไว้อยู่ก่อนแล้ว ทำให้มีแนวโน้มว่าต่อจากนี้ลูกค้าจะหันมาใช้เวลาชมคอนเทนต์ของ Prime Video กันมากขึ้น

    ขณะที่สตรีมมิ่ง Sky Showtime เจ้านี้เป็นเจ้าใหม่ในตลาดเพิ่งจะเปิดตัวเมื่อปี 2022 โดยเป็นสตรีมมิ่งที่เกิดจากกิจการร่วมค้าของ 3 บริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์ คือ NBCUniversal, Sky และ Paramount Global เจ้านี้เข้ามาในตลาดด้วยโปรโมชันแรงๆ เช่น ลดราคาครึ่งหนึ่งตลอดชีพสำหรับผู้ที่สมัครสมาชิกในช่วงเปิดตัว

    ส่วน HBO Max ที่ตามมาห่างๆ นั้นก็ใช้คอนเทนต์นำทางเช่นกัน เนื่องจากมีการออกฉายซีรีส์ The Last of Us ที่กลายเป็นซีรีส์ที่มีผู้ชมอันดับ 1 ของสเปนเมื่อไตรมาสก่อน และผู้ที่สมัครสมาชิกใหม่ HBO Max มีประมาณ 9% ที่ตอบว่ากดสมัครสมาชิกก็เพราะต้องการดูซีรีส์เรื่องนี้

    เห็นตัวเลขสถิติจากสเปนแล้ว Netflix อาจจะหายใจไม่ทั่วท้อง ต้องรอลุ้นว่าไตรมาสต่อๆ ไปจะสามารถดึงสมาชิกกลับมาได้หรือไม่

    Source

    ]]>
    1429779
    2022 เป็นปีที่ “ไม่แย่” สำหรับสินค้า FMCG คาดโต 2.1% บทวิเคราะห์จาก Kantar https://positioningmag.com/1371214 Fri, 21 Jan 2022 12:24:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371214 Kantar Worldpanel คาดการณ์ตลาดสินค้าของกินของใช้ FMCG ในไทยปี 2022 น่าจะเป็นอีกปีที่ “ไม่แย่” เติบโตได้ 2.1% หากการระบาดของโอมิครอนไม่รุนแรงจนต้องล็อกดาวน์ และภาวะเงินเฟ้อราคาอาหารเป็นผลระยะสั้น แต่หากปัจจัยลบสูง อาจติดลบเล็กน้อย -0.2%

    “สุริยา อ้นมงคล” Head of Expert Solutions, Kantar, Worldpanel Division ประเทศไทย เปิดเผยการคาดการณ์ของบริษัท จากการใช้ชุดข้อมูลเชิงลึกผนวกกับการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง คาดว่าตลาด FMCG ในไทยปี 2022 จะเติบโต 2.1% โดยให้ปัจจัยอัตราเงินเฟ้อราคาอาหารเป็นภาวะระยะสั้น และการระบาดของโอมิครอนไม่มีผลสำคัญต่อการควบคุมการเดินทางหรือใช้ชีวิต

    อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัจจัยลบคืออัตราเงินเฟ้อราคาอาหารและต้นทุนเชื้อเพลิงเกิดขึ้นยาวนาน โดยที่รัฐไม่มีหรือลดโครงการเงินอุดหนุน จะทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาระที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดขาย FMCG อาจติดลบได้ถึง -0.2% หรือบวกได้ไม่เกิน 0.1%

    FMCG

    ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา FMCG เคยทำยอดขายเติบโตสูงสุด 3.4% ทำให้ถ้าหากการเติบโตปีนี้อยู่ที่ 2.1% ถือว่าเป็นปีที่ “ไม่แย่” นักสำหรับตลาดของกินของใช้

    ด้านปัจจัยบวกต่อ FMCG รูปแบบพฤติกรรมที่ผ่านมาพบว่า การเปิดโครงการเงินอุดหนุนของรัฐจะเป็นผลบวกต่อ FMCG ทำให้ประชาชนจับจ่ายสินค้ามากขึ้น และถ้ามีแนวโน้มจะล็อกดาวน์ ประชาชนมักจะซื้อสินค้าเพื่อกักตุน

     

    ช่องทาง “อี-คอมเมิร์ซ” เติบโตสูง

    อีกประเด็นที่น่าสนใจในตลาด FMCG เมื่อปี 2021 พบว่า ช่องทางการขายสินค้าของกินของใช้ผ่าน “อี-คอมเมิร์ซ” ในไทยโตสูงถึง 38% YoY มากกว่าค่าเฉลี่ยของทวีปเอเชียที่โต 27.7% YoY ซึ่งเกิดจากการปรับตัวของผู้ขายมาตั้งแต่ปี 2020 เริ่มปรับกลยุทธ์การตลาดให้แม่นยำผ่านสื่อดิจิทัล ประกอบกับการระบาดเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมตนเอง

    ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องจับตาว่าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อ FMCG ได้แก่

    • Mobility Trends ข้อมูลจาก Google เมื่อเดือนมกราคม 2022 พบว่า การเคลื่อนที่ไปยังสถานที่ทำงานลดลง -14% แต่การเคลื่อนที่ในแหล่งที่อยู่อาศัยกลับเพิ่มขึ้น 4% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนจำนวนหนึ่งยังมีพฤติกรรมทำงานจากบ้านอยู่
    • จับตาจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ โดยเป้าหมายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาต้องการอัดแคมเปญดึงนักท่องเที่ยวกลับเข้าประเทศปีนี้ 5-15 ล้านคน จะทำรายได้ด้านการท่องเที่ยว 1.3-1.8 ล้านล้านบาท (ทั้งนี้ ศบค. ปรับมาตรการล่าสุด กลับมาอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศในระบบ Test & Go ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้)
    ]]>
    1371214
    ยังมาแรง! “ฟังก์ชันนัลดริงก์” เติบโต 20% แม้คนออกจากบ้านน้อยลง “ผู้ใหญ่” นิยมดื่ม https://positioningmag.com/1357425 Wed, 20 Oct 2021 03:06:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1357425 ข้อมูลวิจัยจาก Kantar พบว่า “ฟังก์ชันนัลดริงก์” ยังเป็นตลาดที่โตแรง 20.5% แม้คนออกจากบ้านน้อยลงระหว่างล็อกดาวน์ โดยกลุ่มผู้ซื้อหลักคือผู้ใหญ่วัย 30-49 ปี และคนส่วนใหญ่ยังซื้อเครื่องดื่มกลุ่มนี้เพียง 1-3 ครั้งต่อ 6 เดือน ทำให้โอกาสเติบโตมีอีกมาก

    Kantar Worldpanel วิจัยตลาดเครื่องดื่ม “ฟังก์ชันนัลดริงก์” ในประเทศไทย เก็บข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน 2564 โดยนิยามตลาดเครื่องดื่มกลุ่มนี้หมายถึง เครื่องดื่มวิตามิน, เครื่องดื่มเพื่อความงาม, สารสกัดจากผลไม้, สารสกัดจากพืช, เครื่องดื่มจากเห็ด, น้ำแต่งรส ฯลฯ โดยพบข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

    1.ตลาดโต 20.5% แม้เผชิญการล็อกดาวน์

    มูลค่าตลาดฟังก์ชันนัลดริงก์เติบโตขึ้น 20.5% แม้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคถึง 78% จะซื้อเครื่องดื่มกลุ่มนี้เมื่อออกนอกบ้าน (out-of-home consumption) และช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญการล็อกดาวน์หลายครั้งก็ตาม

    นอกจากนี้ การเข้าถึงผู้บริโภคของสินค้ากลุ่มนี้ยังทำได้ดีขึ้นกว่าปีก่อน โดย 76.7% ของประชากรไทยวัย 15-49 ปีที่อาศัยในเขตเมืองเคยซื้อเครื่องดื่มกลุ่มนี้บริโภคอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

    2.ตัวท็อปของกลุ่มคือ “เครื่องดื่มวิตามิน”

    ในประเภทที่แยกย่อยลงไป “เครื่องดื่มวิตามิน” มีสัดส่วน 36% ในยอดขายรวมของตลาดฟังก์ชันนัลดริงก์ โดยมีแบรนด์ดังคือ C-Vitt และ Woody C Lock

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มีตลาดใหญ่ไม่แพ้กันคือ “น้ำแต่งรส” มีแบรนด์ดังในกลุ่มนี้คือ ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ และ วิตอะเดย์ ซึ่งโตถึง 140% เทียบปีต่อปี

    3.ผู้บริโภคกลุ่มใหญ่คือ “ผู้ใหญ่” วัย 30-49 ปี

    เป็นเรื่องน่าสนใจที่ สินค้าประเภทนี้เข้าถึงลูกค้ามากที่สุดในกลุ่มวัย 20-24 ปี ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยและกลุ่มเพิ่งเริ่มทำงาน แต่ผู้ซื้อตัวจริงที่สร้างยอดขายให้สูงที่สุดคิดเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของยอดขายคือ “ผู้ใหญ่” วัย 30-49 ปี เป็นไปได้ว่า เนื่องจากคนวัย 30 ปีขึ้นไปมักจะคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น

    4.ผู้ซื้อส่วนใหญ่ยังซื้อไม่บ่อยนัก

    ในตลาดที่มาแรง ยังมีที่ทางให้เติบโตหรือไม่? ผลจากการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการซื้อฟังก์ชันนัลดริงก์อยู่ที่ 15 ครั้งต่อปี แต่คนกลุ่มใหญ่เกือบ 40% จะซื้อเพียง 1-3 ครั้งต่อรอบ 6 เดือนเท่านั้น เมื่อเทียบกับตลาดเครื่องดื่มชนิดอื่นที่อิ่มตัวแล้วอย่างน้ำอัดลม มีผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ที่ซื้อน้ำอัดลม 5-9 ครั้งต่อรอบ 6 เดือน นั่นหมายความว่า ยังมีพื้นที่ให้สินค้าชนิดนี้ผลักดันตลาดได้อีก

    Kantar สรุปว่าตลาดนี้ยังมีศักยภาพในการเติบโต ผู้บริโภคยังถือว่าอยู่ในช่วงทดลองสินค้า ซึ่งแปลว่าแบรนด์ใหม่และสินค้าชนิดใหม่ยังบุกเข้าตลาดได้อยู่ ผู้ชนะในตลาดจะต้องสร้างสรรค์สินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค และทำให้เกิดการซื้อประจำให้ได้

    อ่านข่าวเพิ่มเติม

    ]]>
    1357425
    ผลสำรวจชี้! คนไทยรอไม่ไหว อยากกลับไปทานอาหารในร้าน ลดความถี่สั่ง Food Delivery แล้ว https://positioningmag.com/1278023 Tue, 12 May 2020 14:49:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278023 Kantar Worldpanel เปิดข้อมูลผลสำรวจผู้บริโภคคนไทยในช่วงเวลากักตัวจากช่วงล็อกดาวน์ประเทศจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 พบว่าตอนนี้คนไทยอยากกลับไปทานอาหารที่ร้าน เลิกกักตุนอาหาร เพราะรู้แล้วว่าร้านค้าไม่ปิด

    ทำอาหารมากขึ้น แต่อยากกลับไปทานที่ร้านแล้ว

    ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดช่วงสงกรานต์ถูกยกเลิก ยิม บาร์ และสถานบันเทิงถูกบังคับให้ปิด ตามด้วยห้างสรรพสินค้าและร้านอาหารไม่อนุญาตให้รับประทานอาหารในร้าน

    โดยข้อมูลจาก Kantar Worldpanel (คันทาร์ เวิร์ลพาแนล) บริษัทด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เผยว่า ตั้งแต่มีการห้ามรับประทานอาหารภายในร้านตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา

    • การจับจ่ายรายสัปดาห์สำหรับ Packaged Foods ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสูงถึง 40% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ย สวนกับสินค้าประเภทอื่นๆ อย่าง Beverage Homecare และ Personal Care
    • คนไทยทำอาหารที่บ้านมากขึ้น สินค้าเช่นปลากระป๋องและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นที่นิยม ขณะเดียวกันก็มีการสั่งอาหารผ่าน Food Delivery มากขึ้น
    (Photo by Lauren DeCicca/Getty Images)

    จากการสำรวจในผู้บริโภค 1,638 ราย อายุระหว่าง 15 – 49 ปี อาศัยอยู่ใน Urban Thailand ระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน พบว่า

    • ผู้บริโภคมากถึง 38% สั่งอาหารมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน

    สอดคล้องกับข้อมูลจาก Google Trend ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม จำนวนการค้นหา “Delivery” มากกว่า “Restaurant” ทั้งนี้ทั้งนั้นกระแส Food Delivery อาจจะสั้น

    79% ของผู้บริโภค รอไม่ไหวที่จะกลับไปทานอาหารในร้าน และจะลดความถี่ในการสั่งอาหารผ่าน Food Delivery ลง

    เมินกักตุนอาหาร

    พฤติกรรมการซื้อจำนวนมาก หรือกักตุนจะไม่เกิดขึ้นอีก ผู้บริโภคเข้าใจดีว่าร้านขายของชำและร้านค้าปลีกยังคงเปิดให้บริการตามปกติ นอกจากนี้ภาครัฐได้ออกมาตรการผ่อนคลายในการเปิดธุรกิจบางประเภทซึ่งรวมไปถึงร้านอาหาร ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

    แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการควบคุม Social Distancing และระยะเวลาเปิดทำการ ผู้บริโภคชาวไทยยังคงทำอาหารที่บ้านและสั่งอาหารจาก Food Delivery จนกว่าพวกเขาจะรู้สึกปลอดภัยและมีความมั่นใจเหมือนแต่ก่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมในการรักษาหรือวัคซีนที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาอีกหลายเดือน

    Photo : Shutterstock

    แบรนด์สินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มจะยังคงได้รับผลประโยชน์จากการบริโภคที่บ้าน แพ็กขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นที่นิยมในระยะสั้น เนื่องจากสามารถแบ่งปันสำหรับสมาชิกในครอบครัวได้ ในระยะยาวทุกแบรนด์จะต้องเข้าใจความหมายของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครัวเรือน ซึ่งขนาดครัวเรือน 1 หรือ 2 คนคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 45%

    การระบาดของ Covid-19 อาจเปลี่ยนแปลงวิถีการจับจ่ายในระยะสั้น แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ “ความต้องการด้านสะดวกสบาย คุ้มค่าเงิน และคุณประโยชน์ทางสุขภาพและโภชนาการ”

    ]]>
    1278023