เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้กล่าวถึงการทำ Transformation ขององค์กรอย่าง KBTG ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลากร หรือแม้แต่เทคโนโลยีต่างๆ ตั้งแต่ปี 2019 และสามารถบรรลุเป้าหมายได้ภายในปี 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งไวกว่ากำหนดถึง 2 ปี
ผลลัพธ์ที่ได้คือ ระบบไอทีของธนาคารกสิกรไทยมี
การยกระดับสถาปัตยกรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีให้ทันสมัย การปรับระบบการทำงานด้วย Agile และ Automation การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ หรือแม้แต่การขยายองค์กรออกไปยังภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น
สำหรับกลยุทธ์ 3 ปีข้างหน้าต่อจากนี้ KBTG ตั้งเป้าที่จะขยายศักยภาพขององค์กรด้วยปํญญาประดิษฐ์ (AI) โดยคงมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง เรียกว่า Human-first x AI-first Transformation เพื่อสร้
กลยุทธ์ Human-first x AI-first Transformation ของ KBTG ประกอบไปด้วย
นอกจากนี้ KBTG ได้เตรียมงบลงทุนอีกประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท โดยเน้นไปที่การยกเครื่องระบบเครดิตจากต้นน้ำยันปลายน้ำ (Rearchitect E2E Credit), แพลตฟอร์มบริหารความมั่นคั่ง (Wealth Platform), AI, Credit Card และ Infrastructure as a Service ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างไอทีพื้นฐาน
สำหรับเทคโนโลยีที่ KBTG ได้นำ AI เข้ามาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ระบบเปรียบเทียบใบหน้า (Face Recognition) และยืนยันหน้าจริง (Face Liveness) ระบบตรวจสภาพรถยนต์แบบอัตโนมัติเพื่
แผนการดังกล่าวของ KBTG เรืองโรจน์ มองว่าหลายๆ ส่วนนั้นเพื่อที่จะยกระดับการบริการของเครือธนาคารกสิกรไทย และการที่จะนำเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาได้ต้องลงไปฟังเจ้าหน้าที่ที่ทำงานจริง ว่ามีปัญหาติดขัดในส่วนไหน เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีที่พัฒนาไปแก้ปัญหา หรือทำ Transformation
นอกจากนี้ เรืองโรจน์ ยังได้กล่าวถึงเรื่องของการ Transformation ว่าเปรียบได้เป็นเหมือนกับการผจญภัยที่ไม่มีวันสิ้นสุด
]]>หลาย ๆ คนอาจเคยซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นบิตคอยน์ (Bitcoin) หรือแม้แต่อีเธอเรียม (Ethereum) รวมถึงเหรียญต่าง ๆ แต่ในช่วงที่ผ่านมา หลายแพลตฟอร์มนั้นเกิดปัญหาจนต้องปิดตัวลง ทำให้นักลงทุนหลายคนได้รับผลกระทบไม่น้อย
แต่จะดีกว่าไหมถ้าหากแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นผู้บริการในประเทศไทย ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลทั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย (BoT) รวมถึง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า รวมถึงมาตรฐานในการจัดการองค์กรที่ดี
วันนี้ Positioning จะพามาทำความรู้จักกับออร์บิกซ์ (orbix) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่ามีจุดเด่นอะไรที่จะทำให้นักลงทุนหรือผู้ที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเริ่มใช้งานครั้งแรก
คุณชาญวิทย์ รุ่งเรืองลดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์บิกซ์ เทรด จำกัด ได้กล่าวว่า ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยมีโอกาสที่จะเติบโตสอดคล้องกับทิศทางการลงทุนตลาดโลก จากข้อมูลของ ก.ล.ต. พบว่า มูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยเดือนตุลาคม 2566 อยู่ที่ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นมา สินทรัพย์ดิจิทัลกลุ่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
เพื่อรองรับความต้องการของนักลงทุนที่จะเกิดขึ้น บริษัทได้เปิดตัว orbix เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับการพัฒนาด้วยแนวคิด “สู่ประสบการณ์ใหม่ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าได้เข้าถึงบริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้งานง่ายและมีการเพิ่มความปลอดภัย และยังมีทีมงานให้บริการช่วยเหลือลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับ orbix เป็น Digital Asset Exchange โดยชูจุดเด่นในการสร้างความมั่นใจ ปลอดภัย ให้กับผู้ใช้งาน คุณชาญวิทย์ยังกล่าวว่าอยากให้ผู้ใช้งานวางใจได้ สบายใจได้ และยังปกป้องสินทรัพย์ลูกค้า รวมถึงส่งมอบประสบการณ์ที่ง่ายและปลอดภัย
ขณะที่มุมมองของ ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงการเปิดตัว orbix นั้นเปรียบเหมือนกับสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และเหมือนเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปยังยุค Future of wealth ที่ต้องใช้เวลา และความระมัดระวัง และมองว่าจากตัวเลขของธนาคารกสิกรไทยนั้นจะเห็นว่าลูกค้าคนไทยหาผู้ให้บริการ Digital Asset Exchange ที่ไว้ใจได้ เพราะถ้าผู้ให้บริการเกิดมีปัญหาขึ้นมาก็จะส่งผลกระทบต่อความมั่งคั่งของลูกค้าเองด้วย ดร.กรินทร์ ยังมองว่ากับการลงทุนของธนาคารกสิกรไทยกับ orbix เป็นการลงทุนพอประมาณ และมองถึงระยะยาว
1.ง่าย โดยแพลตฟอร์มซื้อขายของ orbix ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย โดยได้ทีม Beacon Interface จาก KBTG ที่ได้รางวัล Red Dot Awards เข้ามาช่วยดีไซน์ในการใช้งาน ทำให้ลูกค้าใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องซื้อ-ขาย-โอนเหรียญ สามารถสมัครใช้งานง่ายได้ด้วยตนเอง ทุกที่ ทุกเวลา โดยสำหรับลูกค้าทั่วไปสามารถสมัครใช้งานและยืนยันตัวตนผ่าน NDID และสำหรับลูกค้าธนาคารกสิกรไทย สามารยืนยันตัวตนด้วย K +
2.ปลอดภัย ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีการโจรกรรมและการหลอกลวงจากเหล่ามิจฉาชีพในสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นจํานวนมาก ทำให้ orbix จึงพัฒนาฟีเจอร์ Wallet Lock ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบการล็อกกระเป๋าสองชั้น เป็นการช่วยป้องกันการถอนเหรียญ โดยลูกค้าสามารถตั้งค่าเปิด-ปิด Wallet Lock ได้ด้วยตนเอง และยังเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ยืนยันการถอนเหรียญด้วยการสแกนใบหน้า (Face Scan) ด้วย
3.สมาร์ท orbix นั้นมีเครื่องมือและข้อมูลที่ช่วยตัดสินเรื่องการลงทุนได้อย่างแม่นยำขึ้น โดยฟังก์ชันน่าสนใจได้แก่ Price Alert ตั้งเตือนราคาโดยไม่ต้องเฝ้าจอ ทำให้ไม่พลาดทุกโอกาสการซื้อขาย โดยสามารถเลือกเหรียญที่ต้องการให้แจ้งเตือนได้ด้วยตนเอง รวมถึง orbix Balance ระบบช่วยคำนวณต้นทุนเหรียญแบบอัตโนมัติ ทำให้รู้กำไรขาดทุนทุกเหรียญ โดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ ซึ่งจะสามารถเริ่มใช้งานได้ภายในเดือนธันวาคม 2566
นอกจากในเรื่องของการใช้งานแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการดูแลกิจการที่ดี ในเรื่องนี้นั้น คุณชาญวิทย์ กล่าวว่า orbix นั้นมีระบบงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของผู้กำกับดูแลไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต. และ BoT ซึ่งบริษัทนั้นให้ความสำคัญในส่วนนี้มาก
ขณะเดียวกัน orbix เองยังมีการนำโครงสร้างการบริหารและมาตรฐานจากต่างประเทศมาใช้ เช่น มาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลระดับโลก ISO 27001 และ ISO 27701 ในการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า รวมถึงการให้ความสำคัญกับความเสี่ยงในระดับเดียวกับสถาบันการเงิน ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้
คุณชาญวิทย์ยังกล่าวถึงการเป็นผู้ให้บริการที่ดีนั้นต้องมีความรับผิดชอบของลูกค้า และเมื่อเป็นกระดานซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเอง ก็ต้องมีเกณฑ์ในการคัดเลือกเหรียญที่มีคุณภาพ แพลตฟอร์มต้องสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า รวมถึงทั่งความเสถียร เพื่อลูกค้าใช้งานได้
คุณชาญวิทย์ ยังได้กล่าวถึงข้อมูลของ Chain Analysis ว่าประเทศไทยติดอันดับ 10 ของโลก Digital Asset Adoption Index ซึ่งอันดับของไทยนำหน้า อังกฤษ หรือแคนาดา รวมถึงจีนด้วยซ้ำ ทำให้ตลาดในประเทศน่าสนใจ เขายังมองว่ากำลังเกิดสิ่งนี้ทั่วโลกคือ ตอนนี้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลวางกติกาให้กับผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งนั้น
นอกจากนี้เขายังมองเห็นเทรนด์อีกอย่างคือ สถาบันการเงินให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยเช่นกัน อย่างกองทุน ETF ที่มี Bitcoin เป็นสินทรัพย์ ซึ่งอนาคตนั้นจะทำให้มีการนำสินทรัพย์มาประยุกต์ใช้งานมากขึ้น ขณะเดียวกันจะเห็นว่าผู้เล่นใหม่ ๆ เข้าตลาดมากขึ้น กรอบกติกาชัดเจนมากขึ้น และในปีหน้ายังมี Bitcoin Halving จะทำให้การขยายตัวของตลาดเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าอาจแตกต่างกับอดีตที่มีความหวือหวา แต่จะมีความเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์บิกซ์ เทรด จำกัด ยังเชื่อว่า ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับความปลอดภัย และสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดี เน้นใช้งานง่าย ไม่เพียงจากคำแนะนำของลูกค้าที่ส่งตรงถึง orbix ในอนาคตยังตั้งใจที่จะส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานรายอื่น ๆ อีกเช่นกัน
คำเตือน สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
]]>KBTG ได้เปิดตัวสำนักงานใหญ่ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นสาขาที่ 3 ในทวีปเอเชีย ต่อจากประเทศไทย และประเทศจีน โดยตั้งเป้าเป็นฮับด้านเทคโนโลยีเพื่อขยายธุรกิจในภูมิภาค AEC+3 หลังจากนี้ ในรูปแบบธนาคารดิจิทัล
ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวถึงประเทศเวียดนามว่ามีเศรษฐกิจโต มีประชากรจำนวนมาก รวมถึงคาดการณ์ภายในปี 2030 ระดับ GDP ต่อหัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ไม่เพียงเท่านี้เวียดนามยังมีการทำ FTA กับหลายประเทศ รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของชาวเวียดนามส่งผลต่อธุรกิจธนาคาร และยังส่งผลดีต่อผู้ใช้งานในเวียดนาม
CEO ของธนาคารกสิกรไทยยังได้กล่าวเสริมว่าการก่อตั้ง KBTG Vietnam จะช่วยให้ประชาชนได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Mobile Banking หรือแม้แต่ Digital Lending นอกจากนี้ชาวเวียดนามยังมีความสามารถที่เก่ง ทำให้สามารถพัฒนาประเทศ และนอกประเทศได้ เธอมองว่าการเปิดสำนักงานที่นี่ถือเป็นก้าวใหม่ในการเดินทางของ KBTG ด้วย
นอกจากนี้ขัตติยายังวางเป้าหมายของธนาคารกสิกรไทยนั้นจะเป็นธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค AEC+3 พร้อมเป้าหมายการเป็น 1 ใน 20 ธนาคารที่ดีที่สุดในประเทศเวียดนามได้ภายในปี 2027
ทักษะคนเวียดนามถือว่าสูงมาก
วรนุช เดชะไกศยะ Executive Chairman ของ กสิกร บิซิเนส- เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้กล่าวถึง การที่แรงงานของไทยลดลง เวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงหลังจากนี้ และยังมีคนจบการศึกษาในสาขา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ (STEM) ที่มีจำนวนสูงอันดับต้นๆ ในอาเซียน นอกจากนี้ทักษะการเขียนโปรแกรมของคนเวียดนามถือว่าดีอันดับต้นๆ ในภูมิภาค รวมถึงยังมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทยด้วย
ผู้บริหารของ KBTG รายนี้ยังกล่าวว่าการที่ KBTG มีบุคลากรมากฝีมือทั้งในประเทศไทย ประเทศจีน รวมถึงประเทศเวียดนาม จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน และยังสามารถดึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญในแต่ละส่วนมาประกอบกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคนิค รวมถึงทักษะด้านต่างๆ ที่สำคัญสำหรับองค์กรได้
ชูหลักการ 3S สำหรับสำนักงานในเวียดนาม
ธนุสศักดิ์ ธัญญสิริ Managing Director บริษัท KBTG Vietnam ได้กล่าวถึงหลักการ 3S โดยนำกรณีศึกษาในต่างประเทศหลายแห่งมาใช้ เพื่อที่จะสามารถส่งมอบงานด้านซอฟต์แวร์ให้กับ KBTG ซึ่งประกอบไปด้วย
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Positioning เก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปิดสำนักงานของ KBTG ในประเทศเวียดนาม
โลกในศตวรรษที่ 21 เผชิญกับความท้าทายมากมายเทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เรื่องของ Digital Transformation จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญขององค์กรต่าง ๆ สถาบันการศึกษาก็เป็นหน่วยงานที่ผลักดันยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล เทคโนโลยีและหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ได้ทำ Digital Transformation มาอย่างต่อเนื่อง ก็คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง
โดยโครงการ CU NEX ซึ่งถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับธนาคารกสิกรไทยที่มีมาตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา โดยใช้เทคโนโลยีจากกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็น ‘Digital Lifestyle University’ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนิสิตและบุคลากรของจุฬาฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งการเรียน และการทำงาน
Positioning จะพาไปดูว่าในช่วงที่ผ่านมาความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างไร รวมถึงทิศทางหลังจากนี้ว่าโครงการ CU NEX จะพัฒนาต่อไปเพี่อตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล
CU NEX เป็นโครงการความร่วมมือของธนาคารกสิกรไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน CU NEX โดยมีความต้องการของผู้ใช้งาน คือ นิสิต เป็นหัวใจของการพัฒนา เพื่อนำเอาเทคโนโลยีมาทำให้การเรียนการสอน และการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมีความเป็นดิจิทัลไลฟ์สไตล์ในทุกมิติ พร้อมกันนี้ยังได้ต่อยอดสู่แอปพลิเคชัน CU NEX STAFF โดยมีฟังก์ชันที่จะมาช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานของชาวบุคลากรจุฬาฯ
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แอปพลิเคชัน CU NEX คือก้าวสำคัญของการเปลี่ยนจุฬาฯ เข้าสู่ยุคใหม่ (Chula New Era) การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาอำนวยความสะดวกให้กับนิสิตและบุคลากร คือเป้าหมายสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์แห่งแรกของประเทศไทย”
ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีเป้าหมายร่วมกันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่การเป็น Digital Lifestyle University ทั้งการพัฒนาระบบ สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมทั้ง Online และ On Ground องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อทำให้การใช้ชีวิตของนิสิตมีศักยภาพ และสะดวกสบายยิ่งขึ้นในยุคดิจิทัล จนเกิดเป็นหลายๆ อย่างที่นิสิตและบุคลากรได้ใช้กันทุกวันนี้ ทั้ง CU NEX (App), CU NEX STAFF (App), Plearn space, และโครงการ CU NEX Club ที่ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว
โดยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา CU NEX ได้มีการพัฒนาบริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง และทำให้นิสิต บุคลากรของจุฬาฯ ได้ใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
ปัจจุบันแอป CU NEX สำหรับนิสิตนั้นมียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลด 99.5% มี Active User ประมาณ 73% เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้การใช้ชีวิตนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสะดวกมากขึ้น ขณะที่ CU NEX STAFF สำหรับบุคลากรไว้ใช้งานนั้นมียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลด 74%
แอปฯ CU NEX
สำหรับการพัฒนาในระยะที่ 2 นี้ ได้มีการเพิ่มศักยภาพแอปพลิเคชัน CU NEX ด้วยการพัฒนาต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ CU NEX เป็นแอปพลิเคชันที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันทั้งการเรียน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาวะของตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ ไปจนถึงการพัฒนาศักยภาพของตนเองบ่มเพาะความรู้ด้านดิจิทัล เทคโนโลยี
โดย KBTG ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีของ KBank ได้นำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้กับบริบทการใช้ชีวิตของนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ เช่น Biometrics Technology ที่เป็น Commercial grade in house รับรองด้วย iBeta global certification รวมถึงในเฟสที่ 2 ที่จะมีการนำ Deep Technology มาพัฒนาต่อยอด CU NEX
ไม่เพียงเท่านี้ CU NEX ยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้นิสิตจาก CU NEX Club ที่มีสมาชิกรวม 60 คนจาก 17 คณะมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น และได้ฝึกฝน เรียนรู้ ระดมไอเดีย และลงมือปฏิบัติกระบวนการทำงานจริงในหลากหลายด้าน เช่น ด้านไอที ด้านการตลาด เป็นต้น
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของแอปพลิเคชัน CU NEX หลังจากนี้ที่จะมีให้บริการแก่นิสิต เช่น
การใช้งาน CU NEX ในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
]]>
ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการปรับตัวที่โดดเด่นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและแตกต่างของ ‘ธนาคารกสิกรไทย’ (KBank) ที่สร้างปรากฏการณ์มาหลายครั้ง
ความเคลื่อนไหวล่าสุดกับการประกาศยกทัพบุกตลาดภูมิภาค ด้วยแนวคิด “THE METAMORPHOSIS” กลายร่างธนาคาร ให้เติบโตมากกว่าเดิมแบบ “ไร้ขีดจำกัด ไร้รอยต่อ และไร้ขอบเขต” น่าสนใจยิ่ง เพราะสะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายที่ชัดเจนในการ บุกทำตลาดต่างประเทศ เพื่อให้ทุกคน ‘เข้าถึง’ การเงินบนโลกดิจิทัล
โอกาสนี้ เห็นได้จากทิศทางการเติบโตของธุรกิจธนาคารในระดับภูมิภาคของ KBank ที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ท่ามกลางความโกลาหลของเศรษฐกิจโลกในช่วงวิกฤตโควิด-19
โดยในปี 2564 มีการเติบโตมากกว่าปีก่อนหน้าถึง 34% ซึ่งธนาคารได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2566 จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจในต่างประเทศเป็น 5% ของรายได้สุทธิธนาคารทั้งหมด (Net Total Income-NTI) หรือมีรายได้เติบโตถึง 5 เท่า พร้อมขยายฐานลูกค้าดิจิทัลเป็น 6.5 ล้านราย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1.6 ล้านราย และเพิ่มเป็น 10 ล้านรายภายในปี 2567
เส้นทางสู่เป้าหมาย เต็มไปด้วยความท้าทายมากมายรออยู่ ทั้งเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน วางเเผนกลยุทธ์รองรับทุกการเปลี่ยนเเปลง การสร้างสรรค์เทคโนโลยีเเละพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมไปถึงการบริหารจัดการองค์กรให้เป็น ‘หนึ่งเดียวกัน’ ผสมผสานความหลากหลายของเชื้อชาติเเละวัฒนธรรม ดึงดูด Top Talent จากทั่วโลก
ภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า อาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก เเละมีเเนวโน้มจะเติบโตได้ต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า เเละเส้นทางนี้ก็เหมือนการ ‘วิ่งมาราธอน’ ที่ต้องใช้ความพยายาม อดทนเเละต้องคว้าโอกาสสำคัญให้ได้ พร้อมการวางเเผนกลยุทธ์ที่ดี การเติบโตของ KBank จึงเปรียบเสมือน ‘Metamorphosis’ วิวัฒนาการเชิงความคิด การเติบโตผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างรวดเร็วตามเป้าธุรกิจที่ท้าทาย
เปลี่ยนปรัชญาทางธุรกิจไปสู่การให้บริการที่เหนือกว่าธุรกิจธนาคาร ผ่านการสร้างโซลูชันและยกระดับการให้บริการเพื่อมอบชีวิตที่ดีให้ลูกค้า ตาม 3 วิสัยทัศน์หลัก คือ
Limitless Opportunity ธนาคารกสิกรไทยจะไม่ติดกรอบอยู่แค่การทำธุรกิจในประเทศไทย การเติบโตของธนาคารสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกภูมิภาคอย่างไร้ขีดจำกัด
Seamless Connectivity ด้วยการสนับสนุนทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยจาก KASIKORN BUSINESS-TECHNOLOGY GROUP (KBTG) ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรทั้งการลงทุน ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ
Borderless Growth สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ ศักยภาพ (Capabilities) ทุก ๆ ด้านของคนกสิกรไทยที่จะต้องเติบโตได้อย่างไร้ขอบเขต
ด้าน พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ชี้ว่า โลกยุคใหม่หลังโควิด-19 เปลี่ยนเเปลงไปอย่างมาก มีทั้งความซับซ้อนเเละท้าทาย เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาดิสรัปเร็วกว่าเดิม 4-10 ปี ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ สำหรับธุรกิจที่ปรับตัวได้เร็ว (Morph) และเปิดรับทักษะสมัยใหม่ โดยสามารถเเบ่งเป็น 4 ธีมการเปลี่ยนเเปลงของโลกในระยะต่อไป ได้เเก่
DECOUPLING สำนักวิจัยหลายแห่งคาดว่าภายในปี 2573 เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่กว่าสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลานี้ เกิดการประลองกันของมหาอำนาจโลก มีการกีดกันทางการค้าและเเข่งขันกันด้านเทคโนโลยี เหล่านี้เป็นโอกาสที่ไทยเเละ ‘อาเซียน’ จะสามารถเชื่อมต่อกับสองห่วงโซ่ทั้งจีน และสหรัฐฯ จากการเปิดกว้างต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับทั้งสองขั้วอำนาจ ซึ่งต้องมองเรื่องนี้ให้เป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค
ในประเด็นต่อมาคือ REGIONALIZATION 2.0 การปรับภาพลักษณ์ใหม่ของจีน ที่จะผันตัวเองจากแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกไปเป็นประเทศ ที่เน้นการส่งออกสินค้าไฮเทคและนวัตกรรม
“ธุรกิจของจีนจะทยอยย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งมีศักยภาพสูง ในการเป็นห่วงโซ่อุปทานของจีน เพื่อรองรับตลาดผู้บริโภคชนชั้นกลางจำนวนมาก รวมถึงมีความได้เปรียบทั้งเรื่องความสัมพันธ์ วิถีชีวิต มีศักยภาพสูงในการลงทุนทั้งเรื่องของค่าแรง กฎระเบียบต่างๆ”
สำหรับโอกาสของ NEXT-GEN DIGITALIZATION เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยขับเคลื่อนและสร้างโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อตอบรับการเปลี่ยนผ่านสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
ส่วนอีกกระแสสำคัญของปัจจุบัน คือ DECARBONIZATION ที่นานาประเทศเริ่มมุ่งไปสู่ ‘สังคมไร้คาร์บอน’ ซึ่งการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย
โดยทางจีนที่เป็นผู้ปล่อยคาร์บอนสูงที่สุด ก็มีการประกาศเป้าหมายนี้มาเเล้ว เชื่อว่าต่อไปจะได้เห็นความร่วมมือกันของหลายประเทศ ทั้งภาครัฐเเละเอกชนในด้านต่างๆ อย่างพลังงานลมและโซลาร์เซลล์ เเละรถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ
“นี่เป็นโอกาสของการทำธุรกิจในการสร้างห่วงโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain) ของไทยเเละอาเซียน ยกระดับเศรษฐกิจเก่าไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างอุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve ซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคบนเส้นทางการเติบโตยั่งยืนในอนาคตข้างหน้า”
ด้านความเห็นต่อกระเเส Crypto Economy ผู้บริหารกสิกรไทยมองว่า ต่อไปจะเป็นการรวมกันระหว่างตลาดการเงิน สินทรัพย์ดิจิทัลเเละภาคธุรกิจต่างๆ เช่นการนำ Metaverse มาปรับใช้ จะช่วยสร้างผลิตภาพที่สูงขึ้น การซื้อขายผ่านเงินสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) หรือซื้อขายผ่าน NFT (Non-Fungible Token) สถาบันการเงินจึงต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมรับทุกบริการเพื่อธุรกิจยุคใหม่
ทั้งนี้ เมื่อช่วงปลายเดือนต.ค.ที่ผ่านมา KBTG เพิ่งส่งบริษัทลูกในเครืออย่าง KASIKORN X หรือ KX เดินเกมสร้างธุรกิจใหม่บนโลกของ DeFi เปิดตัว ‘Coral’ มาร์เก็ตเพลส NFT ที่ซื้อขายง่ายด้วยสกุลเงินทั่วไป สร้างโอกาสศิลปินไทยสู่ระดับสากล (คลิกอ่าน ที่นี่)
โดยโจทย์หลักของ KBank คือ การมุ่งสู่โลกการเงินแห่งอนาคต ยกระดับความสามารถความรู้ให้ทั้งบุคลากรของธนาคาร และลูกค้าเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างยั่งยืน และเรื่อง ESG ที่การเติบโตของธุรกิจไม่ได้ดูแค่ผลกำไรเท่านั้น เเต่จะต้องสร้างสิ่งดีๆ ให้สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท KBTG (Group Chairman-KASIKORN BUSINESS-TECHNOLOGY GROUP) กล่าวถึงประเด็นที่น่าสนในของ ‘ตลาดจีน’ ว่ามี FinTech Landscape ที่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น จากจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 1,412 ล้านคน เเละมีการใช้โทรศัพท์มือถือสูงมากๆ ใช้จ่ายด้านออนไลน์สูง เเละเป็นตลาดที่มีการเเข่งขันสูง เป็นโอกาสของกสิกรไทยที่จะเข้าไปเจาะตลาดเเละเรียนรู้ได้
ในปี 2563 ที่ผ่านมา KBTG ได้มีการจัดตั้งบริษัท ไคไท่ เทคโนโลยี จำกัด (KAITAI Technology Company Limited : KTECH) ที่เซินเจิ้น ซึ่งภารกิจหลักๆ คือการ ‘หาบุคลากร’ จีนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีมาร่วมทีมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร เเลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งต่อยอดโอกาสทางธุรกิจจากฟินเทคในจีนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไปสู่ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน
โดยเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในจีน ก็คือ คลาวด์คอมพิวติ้ง นาโนไฟเเนนซ์ ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน 5G เเละความปลอกภัยไซเบอร์
ความสำเร็จในก้าวปีแรกของ KBTG คือ การมีส่วนร่วมใน 14 โครงการสำคัญ ครอบคลุมในทุกประสบการณ์ทางการเงิน ทั้งด้านการปล่อยกู้ เงินฝาก การชำระเงิน รวมทั้งข้อมูลและการวิเคราะห์กับ 7 พันธมิตรสำคัญในประเทศจีน และมีแผนเพิ่มทีมงานให้ใหญ่ขึ้นถึง 12 เท่า ภายในปี 2569 “การทำงานของเราจะเป็นไปในรูปแบบ Fast-Fun-Flow-Feedback ทำอย่างรวดเร็วด้วยความสนุก”
ส่วนเป้าหมายจำนวนผู้ใช้ K PLUS ทั้งในไทยและต่างประเทศนั้น ตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับ 50 ล้านผู้ใช้ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตอนนี้จำนวนผู้ใช้ในปัจจุบันก็ใกล้เเตะ 20 ล้านรายแล้ว
ภัทรพงศ์ อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับศักยภาพของกลุ่ม World Business Group (WBG) ที่ได้สร้างการเปลี่ยนสู่ธุรกิจ ธนาคารยุคใหม่แห่งภูมิภาค ว่า ด้วยความที่ KBank นิยามตัวเองว่าเป็นเทคสตาร์ทอัพที่มี banking license จึงเข้าไปทำตลาดใหม่ๆ ได้อย่าง ‘ตัวเบา’ โดยการเดินหน้าธุรกิจตามโมเดล Kasikorn China ในจีนนั้นจะใช้บนปรัชญา “Better Me” ที่มุ่งให้การสนับสนุนลูกค้าที่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน และมุ่งมั่นนำพาตัวเองสู่อิสรภาพทางการเงินสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืนพร้อมจะนำแนวคิดธุรกิจนี้ขยายไปต่อยัง ‘เวียดนาม’ ที่ได้เดินหน้าด้วยดิจิทัล แบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ
ได้แก่ KBank Biz Loan สินเชื่อดิจิทัลที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการขออนุมัติวงเงินและ K PLUS Vietnam โมบาย แบงกิ้งที่ต่อยอดจากต้นแบบ K PLUS ในประเทศไทย
“ในอนาคตจะมีการเปิดตัวธุรกิจใหม่บนโมเดล Banking-as-a Service (BaaS) ในการให้บริการมากกว่าธุรกิจการเงินที่จะเริ่มที่เวียดนามเป็นแห่งแรก เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่มากกว่าในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ช่วยให้ฟินเทครายย่อยมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกันและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น”
สำหรับในตลาดกัมพูชา KBank พร้อมเปิดตัว Payroll Lending ที่ทำให้ลูกค้าได้รับสินเชื่ออย่างง่ายดาย ผ่านแอปพลิเคชันของพันธมิตร ส่วนในฝั่ง สปป.ลาวจะยังคงเดินหน้าเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานบริการ QR KBank จากปัจจุบันที่มี 1.3 แสนรายอย่างต่อเนื่อง ด้วยการขยายการใช้งานให้ครอบคลุมทุกธุรกรรมการเงินของลูกค้า
เป้าหมายถัดไปของธนาคารกสิกรไทย คือ การเชื่อมต่อกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่สุดและมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภูมิภาค โดยปัจจุบันธนาคารได้เร่งสร้างพันธมิตรธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อขยายโอกาสในการทำธุรกิจและส่งมอบบริการทางการเงินให้กับลูกค้าในอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ยังมีแผนในการจัดตั้งบริษัท K VISION FINANCIAL (KVF) เพื่อขยายการลงทุนด้านดิจิทัลในธุรกิจต่าง ๆ ด้วยเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มจำนวนพันธมิตรทางธุรกิจ สู่การเป็น Ecosystem ทางการเงินในระดับภูมิภาค พร้อมชูแผนการสร้าง บริการทางการเงินเพื่อรองรับตลาด Digital Asset ที่จะเติบโตในตลาดภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม
จากเป้าหมายและพันธกิจที่ใหญ่ขึ้น WBG ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพนักงานเป็น 1,037 คนในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นถึง 52% จากปี 2563 เพื่อขยายศักยภาพของทีมให้ไปสู่ความสำเร็จได้ และด้วยความตั้งใจที่จะเป็นองค์กรสำหรับ Talent ทั่วโลก
ธนาคารได้เสนอแนวคิด “World of Borderless Growth” เพื่อสื่อสารให้คนรุ่นใหม่เห็นโอกาสในการเติบโตอย่างไร้ขอบเขตทุกมิติ อย่าง
Personal Growth การเติบโตผ่านประสบการณ์ทำงานจริงที่ท้าทาย
Growth of Team การเติบโตร่วมกับทีมที่เต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน
Growth of Partners การเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตรทั้ง Tech Company และ Startup ระดับโลก
Growth of Community การเติบโตเคียงข้างกับสังคมผ่านทุกภารกิจ (Mission) ของ WBG ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้า สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
“เราจะได้สร้างสิ่งใหม่ๆ เรื่องใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เเค่พนักงานไม่เคยทำ เเต่ KBank เองก็ยังไม่เคยทำ เป็นประสบการณ์ใหม่ของทีมงานที่จะได้ไปเจอ ให้โอกาสในการเเสดงศักยภาพ เเชร์ไอเดียทำงาน เราต้องการคนรุ่นใหม่ที่ใจกล้า มีความอยากเรียนรู้เข้ามาช่วยเราทำงาน เเละเติบโตไปด้วยกัน” ชัช เหลืองอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าว
โดยสิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยอยากจะเป็นจริงๆ ในช่วง 3 ปีข้างหน้า คือการเป็นธนาคารที่ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือลูกค้า เเละ ‘เป็นที่รัก’ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนๆ เเละก็เชื่อว่าทีมงานของเราทุกคนมีความเชื่อเเละปรัชญานี้เหมือนกัน ที่จะมุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต พัฒนาสิ่งที่ดีกว่าให้กับโลก
]]>
อีกหนึ่งบทใหม่ที่จับตามองของ KBTG กับการปั้น KASIKORN X หรือเรียกสั้นๆ จำได้ง่ายๆ ว่า ‘KX’ ให้เป็นเหมือน New S-curve Factory โรงงานผลิตธุรกิจใหม่บนโลก ‘DeFi’ ที่ไม่ใช่เเค่ต้องก้าวทัน เเต่ต้อง ‘ก้าวนำ’ ไปข้างหน้า
ล่าสุดจับทิศทางตลาด NFT ที่กำลังเติบโตมหาศาล เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ศิลปินไทยและทั่วโลก ได้ ‘ลองของ’ ขายผลงานศิลปะผ่าน ‘Coral’ แพลตฟอร์ม NFT มาร์เก็ตเพลสด้วยสกุลเงินทั่วไป ซึ่งจะเริ่มให้บริการได้ในช่วงปลายปีนี้
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2016 KBTG เกิดขึ้นมาตามเป้าหมายการทรานฟอร์มองค์กรของธนาคารกสิกรไทย ที่มุ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยียุคใหม่
กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เล่าว่า ในช่วง 3 ปีเเรกนั้น ถือเป็นเวลาเเห่งการ ‘สร้างเนื้อสร้างตัว’ เเละในช่วง 3 ปีต่อมา (2019 -2021) ถือเป็นยุคเเห่งการ Transformation & Rise in Crisis ที่มีทั้งความท้าทายเเละโอกาสการเติบโตที่สำคัญ ท่ามกลางวิกฤตใหญ่ที่เปลี่ยนเเปลงชีวิตคนทั้งโลก
“หลังจากเราสร้างรากฐานได้อย่างเเข็งเเกร่งเเล้ว ก็ถึงเวลาที่ขยับขยายไปสู่ระดับภูมิภาค ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง เพิ่มขีดความสามารถขึ้นเป็นเท่าตัว เเละการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ”
การเดินหน้าลุย Decentralized Finance หรือ DeFi เปิดทางสู่โลกการเงินแบบกระจายศูนย์กลาง โลกที่แปลงสินทรัพย์ในความเป็นจริงให้กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ก็เป็นหนึ่งในนั้น
เเม้หน่วยการทำงานต่างๆ ของกลุ่ม KBTG จะมีหน้าที่เเตกต่างกัน เเต่ก็ประสานเเละส่งเสริมกันได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันพนักงานของ KBTG มีมากกว่า 2,000 คนเเล้ว
ที่ผ่านมา KBTG ได้ประสานการทำงานร่วมกันในเเพลตฟอร์มต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงชีวิตประจำวันของผู้คนได้จำนวนมาก สร้างความฮือฮาให้วงการฟินเทคไทยมาอย่างต่อเนื่อง
ยกตัวอย่างสิ่งใกล้ตัวเราอย่าง การพัฒนาเเอปพลิเคชัน ‘K PLUS’ ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในหมวดโมบายเเบงก์กิ้งของประเทศไทยเเละเอเชียเเปซิฟิก รวมไปถึง ‘LINE BK’ ที่ตอนนี้มีลูกค้ากว่า 3.2 ล้านราย เเละ ‘ขุนทอง’ โซเชียลเเชทบอท ผู้ช่วยจัดเก็บเงินยุคใหม่ที่ตอนนี้มีสมาชิกในคอมมูนิตี้มากกว่า 1 ล้านคนเเล้ว
หนึ่งในเเนวทางสำคัญที่ KBTG ยึดมั่นก็คือ การเข้าไปร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในอีโคซีสเต็ม ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นของธนาคารยุคใหม่ KBTG ได้ขยายเครือข่ายออกไปอย่างรวดเร็วเเละมีสเกลที่เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การร่วมมือกับ GrabPay Wallet ที่ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 2 ล้านราย เเละ PTT Blue CONNECT ที่มีผู้ใช้งานเเล้วกว่า 3 เเสนราย
นอกจากนี้ ยังขยายไปยังกลุ่มธุรกิจ ‘สินเชื่อดิจิทัล’ ทั้งภายในเเอปฯ K PLUS เอง เเละเข้าไปจับมือกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee , Lazada เเละกระเป๋าเงินออนไลน์ Dolfin เหล่านี้ทำให้มีการเติบโตของยอดผู้ใช้สินเชื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า เเละมี Loan Booking เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ภายในเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น
“เเผนขยายไปยังภูมิภาคของเรา เรียกได้เลยว่าเป็นเเบบ Evil Fast รวดเร็วราวกับปิศาจ อย่างการเปิด KTech ที่ตอนนี้มีลูกค้าเเล้วกว่า 1 ล้านคนในจีน เเละมี Loan Booking มากถึง 1 พันล้าน RMB โดยมีการออกโปรดักต์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอทุกหนึ่งเดือน ท่ามกลางข้อจำกัดการเดินทางในวิกฤตโรคระบาด พร้อมๆ กับการขยายไปในเวียดนามด้วย”
โดยก้าวต่อไปของ KBTG นับจากนี้ หลักๆ จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของ Deep Tech เทคโนโลยีขั้นสูง อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ,ควอนตัมคอมพิวติ้ง ,บล็อกเชน , สินทรัพย์ดิจิทัลเเละ Metaverse
“KBTG เป็นเสมือนลมใต้ปีกของ KBANK ที่คอยสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ ช่วยสนับสนุนการเติบโตทุกๆ ด้านของกสิกรไทย”
KX กำลังก้าวสู่การเป็นพระเอกคนใหม่ของ KBTG หลังที่ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2018 ที่ผ่านมาเเละก็ถึงเวลาสมควรที่จะสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้วงการ โดย KX จะทำหน้าที่เป็น Venture Builder เสมือนโรงงานที่ผลิตสตาร์ทอัพหรือธุรกิจใหม่ ที่ปฏิบัติการเป็นอิสระ (Autonomous Venture Builder) มีเป้าหมายหลักๆ ในการผลิตธุรกิจด้าน Decentralized Finance and Beyond สืบเนื่องจากที่ DeFi เป็นระบบการเงินแบบกระจายอำนาจผ่านบล็อกเชนที่ทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบได้ สามารถทำธุรกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน
เป็นโอกาสทองของ KX ที่จะสร้างธุรกิจใหม่ในด้านบริการทางการเงิน (Financial Service) และบริการอื่นๆ (Non-Financial Service) ที่มีโอกาสได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้
ภารกิจหลักของ KX จึงเป็นการ ‘Building Trust in the Trustless World’ สร้างความเชื่อมั่นในโลกที่ปราศจากความน่าเชื่อถือนั่นเอง
“เราจะไม่หยุดเพียงเเค่นี้ เพราะโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลมันกว้างใหญ่มากๆ”
ความน่าสนใจของระบบการทำงานของ KX คือการใช้วิธีการ Incubate > Scale > Spin เริ่มต้นบ่มเพาะไอเดียใหม่ ๆ ตั้งไข่ธุรกิจ ขยายผลเเละขยายขนาด จากนั้นแยกตัวธุรกิจออกไปตั้งเป็นบริษัทใหม่ (Spin-off) ให้ทำงานอย่างอิสระ เมื่อเห็นทิศทางและโอกาสทางธุรกิจในยุคต่อไปที่ชัดเจนแล้ว
งานนี้จึงได้มืออาชีพอย่าง ‘พอล ธนะเมศฐ์ อาริยวัฒน์’ มารับหน้าที่เป็น Head of Venture Builder, KASIKORN X Co.,Ltd. นำทัพ KX เข้าสู่ตลาดธุรกิจใหม่ที่น่าท้าทาย
ธนะเมศฐ์ บอกว่า จุดเด่นคือ KX มีความคล่องตัวในการบริหารงานและตัดสินใจสูงดำเนินธุรกิจอย่างเป็นอิสระจากธนาคารกสิกรไทย และ KBTG
ในส่วนของการทำ Venture Building ของ KX นั้น ถูกออกแบบให้คล้ายกับการสร้างธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ ซึ่งในทีมจะมีฝั่งเจ้าของธุรกิจ (Entrepreneur) และฝั่ง Builder หรือ Engineer มาทำงานร่วมกัน เหมือนเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง (Co-Founder) ในด้านธุรกิจและเทคโนโลยีในโลกของสตาร์ทอัพ กับจุดมุ่งหมายคือศึกษา ทดลอง และออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดจริงด้วยความเร็วแบบสตาร์ทอัพ
KX ประเดิมการ Spin-off เเรก ผ่านจัดตั้งบริษัทใหม่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล คือ Kubix ถือเป็นกลุ่มธนาคารเเรกในไทย ที่ได้รับการอนุญาตจากก.ล.ต.ให้ประกอบธุรกิจ ICO Portal
และล่าสุดกับการเปิดตัวธุรกิจที่สอง คือ Coral แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส NFT สร้างโอกาสไร้พรมเเดนให้กับศิลปินและนักสะสม สนับสนุนศิลปินไทยและเอเชียให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
“เราจะมุ่งไปที่การสร้างเเพลตฟอร์ม สินค้าเเละบริการที่ปลอดภัย ทั้ง Financial Service และ Non-Financial Service ให้เข้าถึงคนจำนวนมากที่สุด โฟกัสไปที่ตลาด Decentralized Finance ซึ่งมีอีโคซีสเต็มที่ใหญ่มาก”
ผู้บริหาร KX ให้คำอธิบายง่ายๆ ถึงคอนเซปต์ของแพลตฟอร์ม Coral ว่าคือการที่จะทำให้การสร้างและการซื้อขาย NFT เป็นเรื่องง่าย เหมือนกับการช้อปปิ้งออนไลน์ทั่วไป
แต่มีจุดที่แตกต่างคือลูกค้า Coral สามารถซื้องานศิลปะ NFT ด้วยสกุลเงินทั่วไป (Fiat money) อย่างเงินบาทหรือเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ลูกค้าแพลตฟอร์มอื่นๆ ยังต้องแลก เหรียญสกุลคริปโตฯ ก่อน เพื่อนำมาซื้องานศิลปะอีกที ซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยาก
สำหรับตลาด NFT ในเมืองไทย ตอนนี้มูลค่าเเตะหลักล้านดอลลาร์สหรัฐเเล้ว เเละมีเเนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เเบบ ‘triple-digit’ ไม่ได้จำกัดเพียงเเค่งานศิลปะ เเต่ขยายออกไปเป็นวงกว้าง
จึงมีความจำเป็นที่ต้องเริ่มสร้างอุตสาหกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกให้คนในประเทศ เป็น ‘ตลาดงานศิลปะ’ ที่เข้าถึงง่าย มีรูปแบบสร้างรายได้เเบบมาร์เก็ตเพลสทั่วไป และที่สำคัญคือต้องปลอดภัย
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการหารือกับทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในเฟสเเรกจะเปิดซื้อขายในตลาดแรกก่อน เเละอีกไม่นานจะเปิดซื้อขายในตลาดรองต่อไป สามารถกลับมาเทรดอีกครั้งบนเเพลตฟอร์ม Coral ที่อยู่บนเชน Ethereum ส่วนระบบการชำระเงินในขณะนี้ยังใช้สกุลเงินทั่วไป แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะมีสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ เพิ่มเข้ามา
เมื่อถามถึงความจุดเสี่ยงของ NFT ผู้บริหาร KX ตอบว่า ความเสี่ยงคือการไม่รู้ว่าของที่ซื้อมานั้นเป็นของแท้หรือไม่ ดังนั้นเเพลตฟอร์มจึงต้องมีการตรวจสอบความเป็น ‘ออริจินัล’ ของผลงานให้รัดกุม
“ตอนนี้ศิลปินในไทยที่มีชื่อเสียงมีอยู่จำนวนหนึ่ง เเต่สิ่งที่น่าจับตามองคือ ‘ศิลปินที่กำลังเกิดใหม่’ คนที่มีความเป็นศิลปินซ่อนอยู่ในตัวนั้นมีมากมายมหาศาล Coral จึงอยากเป็นผู้จุดประกาย เปิดกว้างความคิดสร้างสรรค์ เเละเป็นเเรงบันดาลใจให้คนไทย ได้ลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองรัก”
เบื้องต้นมีศิลปินของไทยที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Coral เเล้ว 9 ราย ได้แก่ ไป Lactobacillus, Tikkywow, ทรงศีล ทิวสมบุญ, เอกชัย มิลินทะภาส, ปัณฑิตา มีบุญสบาย, Benzilla, Pomme Chan, IllustraTU, และ Jiggy Bug
โดยเหล่าศิลปิน ให้สัมภาษณ์ด้วยความเห็นที่ตรงกันว่า NFT ไม่ใช่เเค่การซื้อขายหรือเทรดงานศิลปะเท่านั้น เเต่เป็นการค้นพบ ‘คอมมูนิตี้’ ที่จะเข้ามาช่วยให้ศิลปินเติบโตขึ้นในโลกยุคใหม่ เป็นศูนย์รวมเเพชชั่น ความฝัน พื้นที่ความสร้างสรรค์ มีช่องทางการนำเสนอผลงานเเละตัวตนของเราสู่ผู้คนทั่วโลกได้ เเม้จะเป็นศิลปินตัวเล็กๆ ที่ไม่ได้มีชื่อเสียงมากนักก็ตาม
นอกจากนี้ KX ยังได้เปิดตัวพันธมิตร Coral รายแรกคือ ‘สยามพิวรรธน์’ มาร่วมกันสร้างศูนย์รวมและต่อยอดนวัตกรรมด้านศิลปะ วัฒนธรรม และไลฟ์ไตล์ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่ลูกค้าชาวไทยและต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด “Co-creation” และ “Creating Shared Value”
โดยได้เปิดพื้นที่ของสยามพารากอน และไอคอนสยาม จัด NFT Innovation Digital Wall เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนศูนย์การค้าได้เข้าชม NFT Art อย่างใกล้ชิด
นับเป็นก้าวแรกในการสร้างธุรกิจ และนวัตกรรมที่เชื่อมโลกคู่ขนาน ออนไลน์-ออฟไลน์ โดยใช้ DeFi เป็นประตูโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานได้ไม่จำกัด รวมทั้งเข้าถึงสินค้า บริการ และประสบการณ์ใหม่ ๆ ในอนาคต
Coral เริ่มเปิดรับศิลปินและพาร์ทเนอร์เพื่อเข้าร่วมแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://coralworld.co และคาดว่าจะเปิดให้บริการแก่นักสะสมภายในช่วงปลายปีนี้
ต้องติดตามว่า ‘KX’ ที่เปรียบเสมือน New S-curve Factory โรงงานผลิตธุรกิจใหม่ของ KBANK จะมีอะไรมาให้ได้เซอร์ไพรส์กันอีก…อดใจรอชมในเร็วๆ นี้
]]>ว่ากันว่า…เบื้องหลังการสร้างเทคโนโลยีสุดล้ำ ล้วนมาจากการมี ‘ทีมงาน’ ที่มีประสิทธิภาพ
การอำนวยความสะดวกให้เหล่าคนทำงานได้ ‘เฉิดฉาย’ ความสามารถอย่างเต็มที่ มีองค์ความรู้ให้ค้นคว้า ลดเวลาการทำงานซ้ำซ้อน ให้พวกเขาได้โฟกัสไปที่การมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ จึงเป็นอีกหนึ่งบันไดความสำเร็จที่จะนำพาองค์กรขยับไปสู่ระดับโลก
ล่าสุด KBTG ผู้นำด้านเทคโนโลยีของไทย เปิดตัวแผนกใหม่ ‘Software Development Excellence’ ประเดิมปั้นทีม ‘DevX’ มาช่วยให้นักพัฒนาให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน เสริมทัพด้าน Digital Services ในระดับภูมิภาค ตามยุทธศาสตร์ของ KBTG สู่การเป็น ‘บริษัทเทคแห่งอาเซียน’ รวมถึงการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับโลก ให้ได้ภายในปี 2025
วันนี้เราจะมารู้จักกับเเผนก Software Development Excellence เเละการทำงานของทีม ‘DevX’ ให้มากขึ้นกัน
ธนาคารใหญ่ในไทย กำลังหาขุมทรัพย์เเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่มีตลาดเติบโตสูงเป็นโอกาสทองในการปูทางสร้างรากฐาน ‘Digital Banking’ ให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังมีไม่เยอะ
กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ในเครือของธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ถือว่าเป็น ‘หัวหอก’ ผู้นำที่บุกเบิกด้านดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็น KBTG เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาเขย่าวงการ ไม่ว่าจะเป็น ขุนทอง chatbot, Eatable, Contactless Technology และ MAKE by KBank
จากยุทธศาสตร์ใหญ่ของ ‘กสิกรไทย’ ที่กำลังเข้าไปทำธุรกิจในกลุ่มประเทศ AEC+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) โดยการขยายธุรกิจเข้าไปในจีน , สปป.ลาว เมียนมา , อินโดนีเซีย , กัมพูชาและเวียดนาม ในรูปแบบที่เป็นธนาคารท้องถิ่น ธนาคารร่วมลงทุน และสาขาของธนาคาร
ด้วยกลยุทธ์การขยายธุรกิจแบบ ‘Asset Light’ สร้างความสะดวกในการใช้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล เน้นการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่าตอนนี้ ยังมีจำนวนสาขาที่จำกัดในแต่ละประเทศ เเต่ KBank ก็ยังสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้บริการแก่ลูกค้า อาทิ Digital Lending, Mobile Banking, ระบบชำระเงิน (Payment) และการโอนเงิน
การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งเหล่านี้ ทำให้ KBTG ต้องมีทีมบริหารและทีมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาบริการที่สามารถแข่งขันได้ในทุกตลาดอย่าง ‘ทันเวลา’ และ ‘ทันสมัย’ ที่สุด
นี่จึงเป็นที่มาของการตั้งเเผนก ‘Software Development Excellence’ ขึ้นมา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพื่อเป็น ‘หน่วยงานกลาง’ ประกอบด้วย 4 ทีม ได้แก่ Agile, DevOps, Software Development Methodology และ DevX
โดยจะมุ่งศึกษาปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) และพัฒนา ‘Automate Tools’ เพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คอยปิดช่องว่างในกระบวนการทำงาน รวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานที่ดี
ประเดิมตั้งทีม ‘DevX’ ขึ้นมาก่อน ซึ่งถือเป็นทีมแรกที่เกิดจาก KBTG Transformation Program มีภารกิจหลักๆ คือการ ‘เสริมพลังการทำงาน’ ให้องค์กรประสบความสำเร็จ บุคลากรได้เเสดงความสามารถอย่างเต็มที่เเละ ‘มีความสุข’ กับงานที่ทำ
จิรัฎฐ์ ศรีสวัสดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการแผนก Software Development Excellence ของ KBTG เล่าให้ฟังว่า เป้าหมายของทีม DevX คือการสร้าง ‘Enterprise Common Library’ เพื่อลดเวลาในการทำงานซ้ำซ้อน และ Align กันระหว่างภาษาได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมี Knowledge Management Framework ด้วยการจัดตั้ง New Practice พร้อมค้นคว้าองค์ความรู้ในเชิงลึก วิเคราะห์จุดที่เป็นช่องว่างของบริษัท รวมถึงสามารถผลิตซอฟต์แวร์ หรือนำเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้เพื่อปิดช่องว่างให้องค์กร และยกระดับนักพัฒนาให้ก้าวไปสู่ระดับภูมิภาค
โดยการทำงานของทีม DevX จะต้องเพิ่มความสามารถในการติดตามและตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันตั้งแต่ต้นจนจบ หรือที่เรียกว่า Application Observability ทั้งในส่วนของ Logging, Metrics, และ Tracing โดยประสานงานกับทีม Infrastructure ในการวางมาตรฐาน และพัฒนา Common Library เพื่อส่งต่อให้กับทีมแอปพลิเคชัน
รวมทั้งการสร้าง Developer Utility Platform เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการพัฒนาด้วย Automation รวมแอปพลิเคชันทั้งบริษัทให้มาอยู่ในที่เดียวกันเพื่อความสะดวกในการจัดการ
“บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Google , Apple , Facebook , Uber หรือบริษัทเทคอื่นๆ ในซิลิคอนวัลเลย์ ล้วนมีแผนกลักษณะนี้อยู่ เเต่มีชื่อทีมที่แตกต่างกันไป เพื่อมาสนับสนุนให้พนักงานทำงานง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานที่ซ้ำซ้อน ทุกคนสามารถเเชร์ไอเดียได้รวดเร็ว ไม่ต้องมาคุยกันหลายรอบ มีฐานข้อมูลให้ค้นคว้าได้ทันที เป็นการ ‘เพิ่มเวลา’ ให้กับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น”
สำหรับความท้าทายของ DevX อันดับเเรกคือต้องทำให้คนกว่า ‘ร้อยคน’ สามารถทำงานที่ไม่ซ้ำกัน ด้วยการสร้าง Common Library และเทคโนโลยีแพลตฟอร์มกลางให้ทุกคนมาแชร์กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามมาด้วย การตามหาคนที่จะมาร่วมทีม DevX เพราะจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ไม่ต่างจากวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ทั่วไป เเต่ต้องมี Soft Skills การสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน
คิดโซลูชั่นตอบโจทย์ทุกฝ่าย หาทางว่าจะทำอย่างไรให้คนทำงานทำงานได้ดี เเละรู้สึก ‘เเฮปปี้’ ด้วย
โดยทีม DevX จะต้องมองเห็น Pain Point ในการทำงานเเล้วคิดว่าจะเเก้ไขอย่างไร จึงต้องมีทักษะการเข้าสังคมเเละเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งคนที่มีทั้ง Hard Skills เเละ Soft Skills รวมกันนั้นหาได้ไม่ง่ายมากนักในวงการนี้
นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายด้านการนำวิธีการต่างๆ ที่มักจะเห็นในบริษัทเทคในต่างประเทศ โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก มา ‘ปรับใช้’ ให้เข้ากับคนทำงานในอาเซียนเเละคนไทย โดยจะต้องทำ Research ไปพร้อมกับการนำใช้ได้จริง
“ทีม DevX ไม่ได้ทำซอฟต์แวร์เพื่อธนาคารหรือลูกค้า เเต่จะทำเพื่อช่วยเพื่อนนักพัฒนาด้วยกัน โดยมุ่งไปที่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้นสมาชิกในทีม จึงจำเป็นต้องเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ พร้อมเป็นกระบอกเสียง และช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเต็มที่”
หากเเผนก Software Development Excellence ของ KBTG ประสบความสำเร็จ สามารถตอบโจทย์การทำงาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมบริการด้านดิจิทัลในภูมิภาค ทั้งในจีน สปป.ลาว เมียนมา อินโดนีเซีย กัมพูชาและเวียดนาม ได้เเล้ว
โจทย์ต่อไปคือการ ‘เผยเเพร่’ ระบบการทำงานให้นักพัฒนาคนไทยได้รับรู้ เป็นการเปิด Open Source มาเเชร์กันในองค์กรต่างๆ ซึ่งที่จะนำไปสู่การยกระดับวงการเทคโนโลยีของประเทศ เป็นอีก ‘ความใฝ่ฝัน’ ที่ทีมงาน KBTG หวังอยากจะทำให้ได้ในอนาคต ไปพร้อมๆ กับการเป็น Best Tech Company in Southeast Asia ให้ได้ภายใน 4 ปีนี้
ปัจจุบัน DevX มีพนักงานทั้งหมดราว 40-50 คน เเละกำลังจะขยายทีมอีกจำนวนมาก โดย KBTG ตั้งเป้าที่จะมีพนักงานในแผนก Software Development Excellence ประจำอยู่ทั้งในไทย จีน และเวียดนาม
สำหรับผู้ที่มุ่งมั่นจะสร้างนวัตกรรมใหม่ไปด้วยกัน สนใจอยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผนกสามารถส่ง CV มาสมัครได้ที่ [email protected]
ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน เวลา 15.00 น. HUAWEI CLOUD ประเทศไทย จะจัด Cloud Diary Special Session ซึ่งเป็นการสัมมนาออนไลน์ฟรีผ่านการสตรีมสดบนหน้า Facebook (@HuaweiCloudTH)
หัวข้อนี้มีชื่อว่า“ KBTG x HUAWEI CLOUD: Eatable by KBank Food Ordering Platform in the New Normal” โดยมีวิทยากรพิเศษคือ คุณเจนวิทย์ จันทรโชติ (โอ๊ต) หัวหน้าฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีของกลุ่มเทคโนโลยีธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย (KASIKORN Business-Technology Group) จะมาบรรยายเกี่ยวกับแพลตฟอร์มการสั่งอาหารแบบใหม่ “Eatable” ซึ่งรองรับทางเลือกในการสั่งอาหารทุกประเภท ตั้งแต่การสั่งเพื่อจัดส่งไปรับประทานที่บ้านหรือในร้านอาหาร
ทั้งนี้เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้าในยุค New Normal ร้านอาหารในปัจจุบันต้องปรับตัวเพื่อเสนอทางเลือกการสั่งอาหารสำหรับการจัดส่งไปรับประทานที่บ้านหรือในร้านอาหาร Eatable เป็นแพลตฟอร์มที่มีความโดดเด่นตรงที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน แต่สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ส่วนตัวได้ ด้วยการสแกน QR Code เพียงครั้งเดียวหรือคลิกลิงก์จากแชท และ Eatable ยังสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานดูเมนูอาหารได้โดยไร้การสัมผัส ด้วย QR Code และสามารถสั่งอาหารล่วงหน้าสำหรับการรับประทานอาหารที่บ้านหรือในร้านอาหารได้อีกด้วย
ตั้งแต่เริ่มแนวคิดจนถึงการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือน เพื่อเปิดตัว Eatable แพลตฟอร์ม ที่มีคุณสมบัติหลากหลาย ในขณะเดียวกันก็สามารถมั่นใจได้ว่า แพลตฟอร์มนี้มีมาตรฐานความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งใน Cloud Diary ครั้งนี้ คุณเจนวิทย์จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ด้วย Microservice Architecture และ Public Cloud
ผู้ที่สนใจจะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ ๆ และการออกแบบ Eatable แพลตฟอร์มได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า สามารถเข้าไปที่ Facebook @HuaweiCloudTH เพื่อเข้าร่วมการสัมมนา Cloud Diary Special Session, KBTG x HUAWEI CLOUD: Eatable by KBank Food Ordering Platform in the New Normal
ล่าสุดธนาคารใหญ่ในไทยอย่าง “กสิกรไทย” (KBank) เปิดตัวแอปพลิเคชัน MAKE by KBank เพื่อมาตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal ที่ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกันผ่านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ คาดว่าจะเปิดตัวเป็นทางการได้ในช่วงไตรมาส 4 เเละตั้งเป้าจะมียอดเปิดใช้ 1 แสนบัญชีภายในสิ้นปีนี้
เเม้ว่ากสิกรไทยจะมี K PLUS เป็นโมบายแบงกิ้งที่มีลูกค้าใช้บริการ 13 ล้านราย (อันดับ 1 ในไทย) อยู่แล้ว เเต่การมาของ MAKE ครั้งนี้ ทางทีมงานบอกว่าจะเป็นการ Re-imagining ครั้งใหญ่เเละเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การยกระดับเป็นธนาคาร 5.0 เลยทีเดียว
เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวถึงท่ีมาของ MAKE ว่า ต้องการตอบโจทย์การบริหารเงินของคนรุ่นใหม่อย่างดีที่สุด ทำให้ธนาคารต้องคิด ไม่ยึดติดขนบเดิม จึงมีการทดลองสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ธนาคารไปอยู่ทุกที่ในช่วงเวลาของชีวิตของทุกคน
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา KBank เริ่มทยอยเปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินยุคดิจิทัล เช่น 6 เทคโนโลยีใหม่แบบไร้สัมผัส เเละ “ขุนทอง” เป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหาร รวมถึง Eatable แพลตฟอร์มจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ด้วย
สำหรับ MAKE by KBank จะเน้นให้ลูกค้ารู้สึก “สะดวก-สบาย-สนุก” เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สามารถทำกิจกรรมทางการเงินโดยที่ไม่ต้องจำเลขบัญชี ไม่ต้องมีเบอร์โทร ผ่าน 3 พฤติกรรมหลักอย่าง ได้เเก่ บริการโอนเงินผ่านบลูทูธ บันทึกประวัติการทำธุ
“MAKE อ่านพ้องเสียงไปกับคำในภาษาไทยว่า “เมฆ” ดังนั้นโลโก้จึงเป็นรูปก้อนเมฆที่มีความโค้งมน ไม่สมมาตรเเต่มีไดนามิก มีการดีไซน์เเอปพลิเคชันโดยเเบ่งโหมดค่าใช้จ่ายตามสีของท้องฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ”
โดยการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ ของ MAKE มีแนวคิดหลักจาก
ในเฟสเเรก MAKE by KBank จะประกอบด้วย 3 ฟีเจอร์หลัก ที่เหมาะกับชีวิตประจำวันยุค New Normal ที่ต้องการจัดการทุกอย่างผ่านบัญชีธนาคารเดียว
Pop Pay บริการโอนเงินที่สะดวกและรวดเร็ว เพราะสามารถโอนเงินผ่านบลูทูธ ให้คนที่อยู่ในระยะ 10 เมตรได้เลยโดยไม่ต้องขอเลขบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ หรือ QR Code จากอีกฝ่าย ยกระดับวิธีโอนเงินแบบ Contactless เพียงแค่กดเลือกไอคอนเพื่อนที่มีบัญชี MAKE by KBank เหมือนกันและอยู่ในรัศมีที่กำหนด ก็กดส่งเงินได้เลย (ซึ่งจะมีชื่อจริงของเพื่อนให้เราเช็กก่อนกดโอน)
Chat Banking บันทึกรายการการทำธุรกรรมสไตล์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถเก็บบันทึกประวัติการโอนเงินระหว่างเพื่อนเป็นรูปแบบของโซเชียลแชท (Social Chat) คล้ายคลึงกับบริการส่งข้อความหรือแอปแชทที่ใช้กันทั่วไป โดยผู้โอนเงินสามารถแนบรูปภาพหรือเขียนบันทึกของการโอนนั้นๆ ได้เพื่อให้ง่ายต่อการย้อนดูภายหลัง
Cloud Pocket สามารถสร้างกระเป๋าเงินย่อยไว้แยกเก็บเงินในบัญชีได้ไม่จำกัดจำนวน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ ได้ สร้างเป็น Cloud Pocket ส่วนตัว เพื่อจัดสรรเงินสำหรับการใช้ส่วนบุคคล เช่น เงินออม ค่าใช้จ่ายรายเดือนของบริการต่างๆ ค่าของขวัญสำหรับคนพิเศษ ค่าช้อปปิ้ง หรือจะชวนเพื่อนมาร่วม Cloud Pocket ของเรา เพื่อเก็บเงินเป็นกองกลางเพื่อใช้ทำกิจกรรม ไปทริป หรือซื้อของร่วมกัน สร้างความเป็น Community-Based มากขึ้นก็ได้เช่นกัน สามารถย้ายเงินข้าม Pocket ได้อย่างสะดวก ไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมทั้งมีการแจ้งเตือนเวลามีเงินโอนเข้า และยังสามารถตั้งค่าโอนอัตโนมัติได้อีกด้วย
สำหรับการเปิดบัญชีเพื่อใช้งาน ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ก่อน จากนั้นระบบจะให้ยืนยันตั
ทั้งนี้ แอปฯ MAKE ยังต้องยืนยันตัวตนผู้ใช้ผ่าน KPLUS ไปก่อนในช่วงนี้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งทั้ง 2 แอปฯ แต่ในอนาคต ทีมงานเตรียมจะพัฒนาให้เป็นแอปฯ ที่สมบูรณ์ในตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาเเอปฯ หลักของธนาคาร
โดยตอนนี้ MAKE ยังอยู่ในช่วงที่ให้พนักงานธนาคารกสิกรไทยและ KBTG (ราว 2 หมื่นคน) ได้ทดลองใช้งานก่อน สำหรับลูกค้าหรือบุคคลที่สนใจร่วมทดลองใช้งานเป็นกลุ่มแรก สามารถลงทะเบียนได้ (ที่นี่) เพื่อช่วยให้ทางทีมพัฒนาสามารถรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการบริการ ก่อนที่จะเปิดให้ลูกค้าทั่วไปได้ใช้งานเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2563 ในระหว่างนี้ทางธนาคารยังเปิดประกวดไอเดียการสร้างฟีเจอร์ตอบโ
การเปิดตัว MAKE by KBank ในปีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของธนาคารที่ต้องการจะเพิ่มยอดการ “เปิดบัญชีใหม่” ในช่วงสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนหันมา “ออมเงิน” มากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของชีวิตเเละหน้าที่การงาน
ส่วนข้อสงสัยที่ว่า MAKE จะมาทับซ้อนหรือเเย่งฐานลูกค้าของเเอปฯ หลักอย่าง KPLUS หรือไม่นั้น ผู้บริหาร KBTG ตอบว่า เป็นการเชื่อมโยงกันมากกว่า เพราะทั้งสองมีเป้าหมายลูกค้าที่เเตกต่างกันเเน่ชัด โดย KPLUS จะเป็นเเอปฯ ที่ทำเพื่อผู้ใช้ทุกคน ครอบคลุมเเละมีบริการครบวงจรของธนาคาร ส่วน MAKE จะเน้นไปที่คนรุ่นใหม่ Gen Y-Z ที่นิยมเปิดบัญชีหลายบัญชี มีไลฟ์สไตล์เเละกิจกรรมที่หลากหลาย ชื่นชอบการใช้เทคโนโลยี
“ในอนาคตอาจจะมีการนำฟีเจอร์ของ MAKE ไปอยู่ใน KPLUS หรือเเอปฯ ขุนทอง หรือนำฟีเจอร์ของ KPLUS มาใส่ใน MAKE ด้วยก็ได้ เป็นการเชื่อมต่อระหว่างกัน ซึ่งเราจะมีการพัฒนาฟังก์ชั่นใหม่ๆ มาให้ใช้ตลอด นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น KBank ยังจะมีนวัตกรรมใหม่มาเปิดตัวอีก อย่างเร็วก็ในช่วงเดือนหน้านี้”
]]>
ธนาคารในไทย เป็นธุรกิจที่ถูกดิสรัปต์อย่างรุนเเรง เเต่ก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ พัฒนาไปสู่ดิจิทัล
เเบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้น ยังเป็นเหมือนผู้นำที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ด้วยความพร้อมจากการเป็น “ทุนใหญ่” มีทรัพยากรมากทั้งบุคลากรเเละข้อมูลผู้ใช้
ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการฟาดฟันกันระหว่าง 2 ธนาคารใหญ่ “เเบงก์เขียว” เเละ “เเบงก์ม่วง” อย่างกสิกรไทย (KBank) เเละไทยพาณิชย์ (SCB) ที่เเข่งขันเอาใจลูกค้าเเละตอบสนองความต้องการใหม่ๆ พยายามที่จะเป็น “มากกว่าเเบงก์” ทำอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยทำ ด้วยเป้าหมายว่าต่อไปแบงก์จะอยู่ทุกที่ ยกเว้นที่แบงก์นั่นเอง
KBank เเละ SCB เป็นคู่เเข่งสมน้ำสมเนื้อมาก ด้วยฐานผู้ใช้ K Plus ที่ 13 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 15 ล้านราย) ส่วน SCB Easy มีผู้ใช้ 11 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 13 ล้านราย)
ด้านรายได้รวม (อ้างอิงจากงบการเงิน 9 เดือน ปี 2562) KBank อยู่ที่ 139,376 ล้านบาท SCB อยู่ที่ 131,890 ล้านบาท
ทั้ง 2 ธนาคารได้ตั้งบริษัทลูกที่จะมาปั้นสตาร์ทอัพในเมืองไทยโดยเฉพาะ อย่าง KASIKORN Business- Technology Group หรือ KBTG ที่ได้ กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล มานำทัพเป็นหัวเรือใหญ่ ฟาก SCB ส่ง
SCB 10X มาลงสนามนำทัพโดย ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์
ล่าสุดการฉีกเเนวธนาคาร มาลงทุนในศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่” ด้วยการเปิดตัว Robinhood ของ SCB ก็สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย เมื่อกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ด้วยประเด็นจี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง ท้าทายคู่เเข่งระดับโลกอย่าง Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda โดยพร้อมจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้
ส่วน KBank ตามมาติดๆ เเละได้ใจผู้ประกอบการไปเต็มๆ เปิดตัว “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการ “ร้านอาหาร” ไม่ต้องโหลดแอป ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง และจ่ายแบบไร้การสัมผัส ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้
การได้เห็นแบงก์แข่งขัน เปิดตัวเทคโนโลยีออกมารัว ๆ เเบบนี้ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเเละสร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธนาคารไม่น้อย
“ถ้าการเข้ามาในตลาดนี้ของ SCB ทำให้เจ้าอื่นๆ ตื่นตัวเเละทุ่มโปรโมชั่นเพื่อเเข่งขันกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค”
Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่เขาต้องกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว
เเนวคิดหลักของ Robinhood เป็นไปตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพ คือมุ่งเเก้ Pain Point ในวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ GP ที่สูงถึง 30-35% ที่ทำให้บางร้านอาหารเเทบไม่มีกำไร หรือผู้บริโภคที่ต้องเเบกรับค่าอาหารที่ “เเพงขึ้น” จากปกติ ดังนั้น Robinhood จึงคว้าโอกาสชูจุดขายว่า ไม่เก็บค่า GP รวมถึงปัญหา “เงินหมุน” ของทั้งร้านค้าเเละคนขับ จึงเป็นที่มาของการที่จะเคลียร์เงินเข้าบัญชีให้ได้ใน 1 ชั่วโมง
ทาง SCB ยืนยันว่าเป็นหนึ่งใน CSR ของบริษัทที่ “จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม GP ทั้งในช่วงนี้และต่อไป” เเละถ้าหากในอนาคตมีคนใช้จำนวนมาก แนวทางการหารายได้จะเป็นไปในทาง “เสนอสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการมากกว่าที่จะหันมาหักค่า GP
“ถ้าจะพูดกันว่าเป็นการเผาเงินเล่น ก็คงเป็นการเผาเงินที่คุ้มค่ามาก…เราลงทุนปีละร้อยล้าน จะมองว่าเยอะก็เยอะ จะว่าน้อยก็น้อย เเต่เมื่อเทียบกับกำไรของธนาคารที่ได้ปีละ 4 หมื่นล้านเเล้ว ถือว่าน้อยมาก งบในส่วน CSR ของบริษัทเยอะกว่านี้อีก”
คำกล่าวของ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ผู้บริหาร SCB ที่จะมาเป็นหัวเรือใหญ่ของ Robinhood ผ่านการดำเนินงานภายใต้ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (บริษัทลูกของ scb 10x) โดยเขาจะนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเพย์เมนต์อย่าง “สีหนาท ล่ำซำ” ที่จะมานำทัพบุกเบิกบริษัท ในตำเเหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งกำลังจะปั้นทีมใหม่ให้ได้ราว 40-50 คน ใช้งบลงทุนราว 100 ล้านบาทต่อปี
อ่านเพิ่มเติม : เจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่”
ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ในประเด็นการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท หดตัวเกือบ 10% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้ามีความระมัดระวังตัวในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไป ใช้บริการเดลิเวอรี่ในการสั่งอาหารมาทานที่บ้านหรือที่ทำงานแทนมากขึ้น ร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่ทานที่ร้านและเดลิเวอรี่ไปพร้อม ๆ กัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านช่วงแพร่ระบาดหนักมาแล้ว แต่ร้านอาหารก็ยังฟื้นตัวช้ากว่าปีที่ผ่านมาถึง 70% ถือเป็นภาคธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของเหล่าร้านอาหาร ที่ต้องมีการ
“ทรานส์ฟอร์เมชั่น” ไปสู่การเป็นร้านอาหารยุค New Normal แบบ “ครบวงจร” ที่ตอบรับลูกค้าทั้งการทานที่ร้านและเดลิเวอรี่
นี่จึงเป็นที่มาของ “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มให้ใช้ “ฟรี” ที่จะมาเป็นตัวช่วยจัดการร้านอาหาร พัฒนาโดย KBTG บริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทย
เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ยืนว่า Eatable เป็นแพลตฟอร์มฟรี ช่วยจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ โดยจะเน้นไปที่ “ประสบการณ์การทานอาหารที่ร้าน” ไม่ได้เน้นไปที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่โดยตรง ซึ่งมีการเเข่งขันอย่างดุเดือดในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม : KBank มาเเล้ว! เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร ระบบสั่งทานที่ร้าน-ส่งเดลิเวอรี่
การลงทุนใน Robinhood ของ SCB จะเน้นต่อยอดไปที่ “สินเชื่อ” เเละสร้างความหลากหลาย
“บริษัทใหญ่ของโลกที่ให้บริการทั้ง E-Marketplace , Ride Hailing เเละเดลิเวอรี่ สุดท้ายก็จะวนมาสู่บริการทางการเงิน เป็นคำถามว่าแล้ว SCB ที่เป็นธนาคารให้บริการทางการเงินอยู่แล้ว โดนดิสรัปต์มาโดยตลอด แล้วทำไมธนาคารจะก้าวข้ามไปทำบริการอื่นๆ ไม่ได้”
สีหนาท ล่ำซำ เอ็มดีของ Robinhood กล่าวถึงการลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของธนาคาร และบอกว่าข้อได้เปรียบของการเป็นธนาคารในตลาดนี้ คือฐานลูกค้าเเละความเสถียรของระบบเพย์เมนต์ รวมถึงข้อเสนอเรื่องสินเชื่อที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
การลงทุนใน Eatable ของ KBank เน้นสร้าง Ecosystem เพื่อดึงลูกค้าให้ “อยู่ด้วยนานๆ” เเละต่อยอดไปบริการอื่น
เเม้ผู้บริหาร KBTG จะไม่เปิดเผยถึงงบประมาณในการลงทุน แต่บอกว่า “เยอะ” ทั้งในส่วนปฏิบัติการและการประสานงาน แต่ก็ถือว่าคุ้มเพราะ “ถ้าลูกค้าแฮปปี้ เขาก็จะอยู่กับเรานาน” เเละต่อยอดไปให้บริการเเละผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคารได้
เบื้องต้นไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าใช้ Eatable จำนวนเท่าใด แต่หวังว่าจะดึงดูดให้ร้านอาหารมาเข้าร่วมให้มากที่สุด เพราะถือเป็นการลดต้นทุนด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและร้านอาหารที่มีทุนน้อย ให้สามารถเปลี่ยนแปลง และปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมวงการร้านอาหารไทยเลยทีเดียว…
อีกด้านหนึ่ง การพัฒนา “ไคไท่เตี่ยนไช่” (Kai Tai Dian Cai) บริการสั่งอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจีนผ่านแอปวีแชท (WeChat) ก็เป็นการต่อยอดการลงทุน “ฟินเทค” ในจีนของกสิกรไทย โดยก่อนหน้านี้ KBTG ได้เปิดตัว 2 บริษัท KX และ Kai Tai Tech ในเซินเจิ้น เพื่อดึงศักยภาพการทำงานรูปแบบสตาร์ทอัพ เเละสร้างการเติบโตให้ธนาคารไทย
เห็นได้ชัดว่าทั้ง SCB เเละ KBank ประกาศว่าจะเน้นการให้บริการด้านธุรกิจอาหาร โดยไม่หวังรายได้ “โดยตรง” กลับคืนมา เพราะจุดประสงค์ไม่ใช่การหารายได้ เเต่การสร้าง Engagement กับลูกค้าเเบบที่ไม่เคยมีธนาคารไหนทำมาก่อนซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่
โมเดลธุรกิจที่นอกเหนือจากการเสนอสินเชื่อเเละการเก็บข้อมูลเเล้ว อีกหนึ่งผลพลอยได้ คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านอาหารกับพนักงานสาขา
โดย SCB วางนโยบายใหม่ว่า พนักงานธนาคารจะต้องออกไปเจอร้านค้าที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ไปพูดคุย ทำความรู้จักเเละให้คำเเนะนำได้ เป็นการ Re-Skill และปรับการทำงานของสาขา SCB ใหม่ จึงเกิดเป็นการเทรนนิ่งพนักงานกว่า 800 คนทั่วประเทศขึ้น
จึงมาถึงยุคที่พนักงานธนาคารต้องปรับตัว ให้ “ถ่ายรูปสวย” เพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับร้านอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มากกว่าการ “ฝาก–ถอน” ซึ่งความสนิทสนมเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะต่อยอดไปสู่บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ง่ายขึ้น
ส่วน SCB เมื่อเข้าไปเป็น “ระบบหลังบ้าน” ของร้านอาหารเเล้ว ก็ถือเป็นความใกล้ชิดเเบบสุดๆ เลยก็ว่าได้ เป็นการสร้างความเชื่อใจในระยะยาว เมื่อธุรกิจต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ต้องการขยายสาขาหรือพัฒนาศักยภาพธุรกิจก็ต้องคิดถึงธนาคารที่ใกล้ตัวที่สุดอยู่เเล้ว
นอกจากนี้ ด้วยประโยชน์ของข้อมูล (Data) ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อนำมาวางทิศทางกลยุทธ์การตลาด เเละคาดการณ์ว่าลูกค้าจะมีความต้องการอะไรทั้งใน “ตอนนี้” เเละ “อนาคต” ธนาคารจึงสามารถออกบริการใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุด นำไปสู่รายได้ทางอ้อม ที่ “คุ้มยิ่งกว่า” ต่างจากสมัยก่อนที่ธนาคารมักจะเสนอบริการแบบเดิมๆ ที่ไม่อาจรู้ได้ว่าลูกค้าอยากได้หรือไม่
ในช่วงนี้ธนาคารต่างๆ กำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์สถานะทางการเงิน เพื่อรุกหนักด้านสินเชื่อออนไลน์ ให้สามารถยื่นกู้ผ่านแอปฯ ได้ทันที…ก็เป็นอีกตัวอย่างที่อธิบายการต่อยอดธุรกิจนี้ได้ดี
นอกจากการเเข่งขันในประเทศเเล้ว ธนาคารใหญ่ในไทยกำลังหา “บ่อเงิน” เเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เป็นตลาดเติบโตใหม่ เป็นโอกาสทองที่จะเข้าไปปูทางสร้าง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” ให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ
อ่านเพิ่มเติม : ธนาคารไทย ตามหา “ขุมทรัพย์ใหม่” เเย่งลงทุนอาเซียน ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น
KBank เเละ SCB เลือกเจาะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกันดีอย่าง “เมียนมา” โดยธนาคารกสิกรไทย ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของ ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (A bank) ส่วน SCB ได้รับอนุมัติจัดตั้ง “ธนาคารลูก” อย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย
การงัดกลยุธ์เด็ดๆ มาประชันกันในศึกดิจิทัลเเบงกิ้งของเหล่าธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย เป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เมื่อเเบงก์กำลังจะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็น “มากกว่า” ผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใครจะก้าวไปไกลเเละเร็วกว่านั้น ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีของไทยทั้งสิ้น เเละหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์ก็คือ เราๆ ชาวผู้บริโภคนั่นเอง…
]]>