lpn – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 14 Oct 2023 12:56:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 #สารภาพว่าติดบ้าน แคมเปญแก้โจทย์ใหญ่ของ “LPN” ขอลบภาพคอนโดฯ “แก่-ไม่ทันสมัย” https://positioningmag.com/1448007 Fri, 13 Oct 2023 12:47:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448007 ซีอีโอ “LPN” ยอมรับแบบเปิดอกว่าปัญหาของแบรนด์วันนี้ คือการถูกมองว่า “แก่” และ “ไม่ทันสมัย” เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ยาก ทำให้ตั้งแต่ปีนี้บริษัทจะเริ่มปรับภาพลักษณ์ผ่านแคมเปญการตลาดต่อเนื่องทุกปี เริ่มจากแคมเปญโฆษณาชุด #สารภาพว่าติดบ้าน” เดินเรื่องด้วยตัวละคร Gen Y – Gen Z โชว์บรรยากาศ “น่าอยู่” ของโครงการ

“เหตุที่ต้องมีแคมเปญนี้เพราะ LPN เราถูกมองว่าเป็นแบรนด์แก่ พูดง่ายๆ ไม่ทันสมัยครับ” โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN กล่าวตรงไปตรงมากับกลุ่มผู้สื่อข่าว ถึงสาเหตุที่ LPN ต้องลุกมาทำแคมเปญ #สารภาพว่าติดบ้าน

“ลูกค้ายุคนี้เป็นเจนเนอเรชันที่เด็กลง พวกเขาอยากได้แบบบ้านที่ทันสมัย แบรนด์ก็ต้องดูดี แล้วไม่ใช่แค่คนรุ่นใหม่ด้วย ลูกบ้านเดิมที่เขาอยู่ LPN อยู่แล้ว ก็ไม่สบายใจที่วันนี้แบรนด์เราดูแก่ลง จะไปบอกใครว่าตัวเองอาศัยอยู่บ้านหรือคอนโดฯ LPN นะ ก็รู้สึกกระดาก”

นั่นคือปัญหาใหญ่ข้อแรกที่ LPN เผชิญ

แบรนด์ LPN
Park 168 นพรัตน์-รามอินทรา คอนโดฯ ใหม่ลงปรับแบรนด์และคอนเซ็ปต์

ปัญหารองลงมาคือ บริษัทเพิ่มไลน์ธุรกิจ มีการพัฒนาบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมมานานหลายปีแล้ว แต่ภาพลักษณ์ที่ยังติดในใจคนคือบริษัทพัฒนาเฉพาะคอนโดมิเนียมเท่านั้น

“ไปถามใครร้อยทั้งร้อยไม่รู้หรอกว่าเรามีหลายโปรดักส์ ทุกคนนึกว่าเรายังทำแต่คอนโดฯ” โอภาสกล่าว

สรุปรวมคือแบรนด์ LPN ยังติดภาพในอดีต นึกถึง LPN ก็จะนึกถึงคอนโดฯ แบบเก่าที่ดูหน้าตาเหมือนหอพักเท่านั้น

 

ปรับหน้าตาโปรดักส์ เปลี่ยนแบรนด์ใหม่

โอภาสกล่าวว่า บริษัทเริ่มมีการปรับตัวเพื่อแก้ไขเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2565 โดยเริ่มจากการปรับโปรดักส์ของตนเองให้ทันสมัยก่อน

คอนเซ็ปต์ของการออกแบบใหม่จะอยู่ภายใต้ธีม “Simple & Stylish” ใช้สีให้ดูโมเดิร์นขึ้น

แบรนด์ LPN
Maison 168 เมืองทอง ทาวน์โฮมคอนเซ็ปต์ใหม่

รวมถึงเปลี่ยนชื่อแบรนด์จากเดิมชื่อจะนำหน้าด้วยคำว่า “ลุมพินี” คำนี้ถูกตัดออกเกลี้ยง และเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ที่เติมท้ายด้วยตัวเลขหรือชื่อใหม่เลย เช่น Park 168, Place 168, Earn Condo, Venue 24, Haus 24

โครงการใหม่ที่ออกมาในช่วงปี 2566 ก็จะเปลี่ยนมาเป็นแบรนด์ใหม่ คอนเซ็ปต์ใหม่หมด

 

เปิดแคมเปญ #สารภาพว่าติดบ้าน

เมื่อปรับโปรดักส์ ปรับชื่อแบรนด์แล้ว มาถึงปลายปี 2566 บริษัทจึงเริ่มทำการตลาดเป็นบิ๊กแคมเปญ “#สารภาพว่าติดบ้าน”

เป้าหมายหลักคือเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องมี ‘DNA’ ของบริษัทที่เป็นจุดขายแฝงอยู่ในการสื่อสาร

ตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน LPN มีสโลแกนหนึ่งที่เป็นจุดขายของตัวเองคือ “ชุมชนน่าอยู่” เพราะบริษัทมองว่าตนเองไม่ได้แค่เป็นผู้ก่อสร้างตึกหรืออาคาร แต่มีการบริหารชุมชนให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

DNA นี้จะยังถ่ายทอดต่อมาใน LPN ยุคใหม่ แต่มีการตัดสโลแกนเหลือเพียงคำว่า “น่าอยู่” เพราะวันนี้โปรดักส์มีทั้งบ้านและทาวน์โฮม ไม่ได้มีเฉพาะคอนโดฯ ขนาดหลายพันยูนิตที่มีความเป็น “ชุมชน” สูงมากเหมือนเดิม

สารภาพว่าติดบ้าน

“มนพัทธ์ ศุภกิจจานุสันติ์” ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาแบรนด์ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โฆษณาชุดนี้ได้ “มอร์-วสุพล เกรียงประภากิจ” มาเป็นผู้กำกับโฆษณา และใช้เพลง “Sunday” ของเขาประกอบด้วย โดยโฆษณาแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ เจ้านายที่รัก, เพื่อนที่รัก และแฟนที่รัก

แนวคิดหลักของทั้ง 3 ตอนคือการปฏิเสธไปพบปะตามนัดหมายเพราะ “ติด(ธุระที่)บ้าน” สื่อให้เห็นว่าบ้านของ LPN น่าอยู่มากจนไม่อยากออกจากบ้านไปไหน โดยใน 3 ตอนนั้นจะฉายภาพโปรดักส์ที่ต่างกันทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม

ด้วยตัวละครที่เป็นคน Gen Y – Gen Z รวมถึงบรรยากาศโฆษณา ทำให้ได้ความรู้สึกที่ทันสมัยมากขึ้น

มนพัทธ์กล่าวว่า แคมเปญนี้ใช้งบลงทุน 20 ล้านบาท โดยจะสื่อสารถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นหลักผ่านช่องทางออนไลน์ และป้ายบิลบอร์ด OOH

“จากเดิมเราชอบมาๆ หายๆ ในการสื่อสารแบรนด์ แต่ต่อจากนี้จะมีการสื่อสารเรื่องปรับแบรนด์ต่อเนื่องทุกปีแน่นอน” โอภาสกล่าวปิดท้าย

]]>
1448007
“LPN” คัมแบ็กพร้อมแบรนด์ใหม่ “168” รีเฟรชให้ “ทันสมัย” ล้างภาพ “คอนโดฯ รุ่นเดอะ” https://positioningmag.com/1420218 Tue, 21 Feb 2023 11:22:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1420218 LPN กลับมาอีกครั้งหลังเงียบหายจากตลาดไป 4-5 ปี พร้อมพลิกโฉมแบรนด์ใหม่ เปลี่ยนชื่อโครงการเป็นตระกูล “168” ทั้งหมด เพื่อล้างภาพจำแบรนด์ “ลุมพินี” ที่ถูกมองว่า ‘แก่’ และ ‘ไม่ทันสมัย’ เข้าสู่ยุคใหม่ที่จะเป็นบ้าน ทาวน์เฮาส์ และคอนโดฯ แบบ Simple & Stylish พร้อมกลับมาเปิดตัวใหม่มากที่สุดในรอบสิบปี รวม 17 โครงการ 14,000 ล้านบาท

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN ลดความเคลื่อนไหวในตลาดไป 4-5 ปี แต่ปี 2566 นี้บริษัทจะกลับมาโหมตลาดครั้งใหญ่ในรอบทศวรรษ

“โอภาส ศรีพยัคฆ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ LPN อธิบายถึงการชะลอพัฒนาโครงการในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพราะคณะกรรมการบริษัทประเมินว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังเข้าสู่ช่วงวัฏจักรขาลง และบริษัทเองมีปรัชญาการทำงานที่จะ “ไม่เสี่ยง” เพราะเคยได้รับบทเรียนในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 มาแล้ว

“แต่การชะลอตัวก็จะกระทบกับอีกเรื่องนั่นคือ รายได้ในอนาคตจะลดลง และแบรนดิ้งก็จะเริ่มเงียบไปเพราะเรามีโครงการเปิดตัวน้อย” โอภาสกล่าว

LPN แบรนด์ 168
“โอภาส ศรีพยัคฆ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ LPN แถลงข่าวปี 2566 พร้อมด้วยโลโก้ใหม่ของบริษัท

ล้างภาพแบรนด์ “แก่” ด้วยแบรนด์ใหม่ “168”

อย่างไรก็ตาม LPN ไม่ได้หยุดนิ่งไปหมด เพราะใช้เวลา 4-5 ปีนั้นทบทวนตนเองว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ซึ่งพบว่าบริษัทมีจุดแข็ง 2 เรื่องหลักคือ “ความน่าไว้วางใจ” เนื่องจากมีข้อร้องเรียนน้อย และ “สปีด & สเกล” คือบริษัทถนัดการสร้างโครงการขนาดใหญ่และสร้างได้รวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 1 ปีพร้อมเข้าอยู่

ขณะที่จุดอ่อนสำคัญของบริษัทคือ แบรนด์ “ลุมพินี” เคยเป็นแบรนด์ที่ดีในสายตาผู้บริโภควัย 40 ปีขึ้นไป หรือเจนเอ็กซ์ไปจนถึงเบบี้บูมเมอร์ แต่ในกลุ่มเจนวายลงมา แบรนด์นี้ถูกมองว่า แก่ ไม่ทันสมัย ดูเหมือนหอพักมากกว่าคอนโดมิเนียม

LPN แบรนด์ 168
Ville 168 บางหว้า คอนโดฯ แบรนด์ใหม่เปิดตัวเมื่อปี 2565

“แล้วเราจะปรับปรุงแบรนด์เดิมหรือสร้างแบรนด์ใหม่? หลังจากคณะกรรมการได้คุยกันแล้ว ถ้าเปรียบเทียบกับตัวผมเอง ระหว่างการทำให้ผมดูหนุ่มขึ้นกับเลือกคนใหม่ที่เด็กลง การเลือกคนใหม่คงจะง่ายกว่า เพราะลุมพินีติดภาพจำของโครงการที่มีอยู่ทั่วเมืองไปแล้ว” โอภาสอธิบาย

สำหรับการปรับมาใช้แบรนด์ “168” ความหมายแบรนด์นี้มาจาก บ้านเลขที่ของออฟฟิศบริษัทที่ลุมพินี ทาวเวอร์ และยังเป็นเลขของสาย ‘มูเตลู’ เพราะ 168 หมายถึง ฮก ลก ซิ่ว เป็นเทพแห่งสิริมงคล

หลังปรับมาเป็น 168 แล้ว LPN จะปรับการทำโครงการด้วยตามคอนเซปต์ ‘Simple & Stylish’ คือโครงการมีความเรียบง่ายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาของผู้อยู่อาศัย แต่จะต้องมีสไตล์เฉพาะของพื้นที่แต่ละโครงการ ต่างจากในอดีตที่ขยายคอนโดฯ แบบเดิมไปในทุกทำเล

Venue 168 เวสต์เกต

โดยแบรนด์ใหม่เริ่มตั้งแต่ปี 2565 เปิดตัวแล้ว 6 โครงการ แบ่งเป็นกลุ่มคอนโดฯ 3 แห่ง คือ Ville 168 บางหว้า, Place 168 ปิ่นเกล้า และ Park 168 อ่อนนุช 19 กับกลุ่มทาวน์เฮาส์ภายใต้แบรนด์ Venue 168 มี 3 ทำเล คือ ราชพฤกษ์, คูคต สเตชั่น และเวสต์เกต สังเกตว่าวิธีการใช้แบรนด์ 168 จะนำไปต่อท้ายกับชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงรูปแบบและเซ็กเมนต์ของสินค้า

 

แผนใหม่ 5 ปีที่ต้อง ‘เสี่ยง’ ให้มากขึ้น

โอภาสกล่าวต่อถึงภาพรวมบริษัท การเปลี่ยนแบรนด์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “แผน 5 ปี 2565-69” ของ LPN ที่ต้องการจะกลับมามีส่วนแบ่งในตลาดอย่างชัดเจนและ ‘ยืนหนึ่ง’ ในใจผู้บริโภคอีกครั้ง โดยเป้าหมายภายในปี 2569 ได้แก่

1.รายได้สะสมตลอด 5 ปี แตะ 50,000 ล้านบาท เติบโตปีละไม่ต่ำกว่า 20%

2.กำไรสะสมตลอด 5 ปี แตะ 5,000 ล้านบาท

3.เป็นแบรนด์ในกลุ่ม Top of Mind ของผู้บริโภค

การกลับมาของ LPN โอภาสยอมรับว่าบริษัทอาจจะต้องยอมรับความเสี่ยงให้มากขึ้นเพื่อการขยายตัว เช่น การปรับแบรนด์ใหม่เมื่อปีก่อน มีโครงการที่สร้างยอดขายได้ไม่ถึง 20% หลังเปิดตัว

“ถ้าเป็นสมัยก่อนเราได้ยอดขายแค่ 5% แบบนี้เราจะพับโครงการ คืนเงินลูกค้า เก็บที่ดินรอพัฒนาแบบใหม่ แต่วันนี้เราจะต้องอดทนรอรอบการขายให้ได้ เพราะเราเรียนรู้แล้วว่าลูกค้าของเรามักจะผ่อนดาวน์ไม่ไหว ต้องรอซื้อเมื่อตึกสร้างเสร็จ” โอภาสกล่าว

 

ปี 2566 เปิดตัวมากที่สุดในรอบสิบปี เริ่มบุกต่างจังหวัด

ปีนี้จึงเป็นปีที่เห็นการท้าทายตนเองที่ชัดเจนของ LPN เพราะบริษัทจะเปิดตัว 17 โครงการ มูลค่ารวม 14,000 ล้านบาท มากที่สุดในรอบสิบปี แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 13 โครงการ มูลค่ารวม 9,000 ล้านบาท กับคอนโดฯ 4 โครงการ มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท

ในจำนวนนี้บริษัทจะเริ่มเข้าสู่น่านน้ำใหม่คือทำเล “ต่างจังหวัด” ด้วย โดยมีแลนด์แบงก์แล้ว 1 แปลงที่ จ.นครปฐม และกำลังจัดหาที่ดินใกล้อมตะนคร จ.ชลบุรี 2 แปลง เพื่อขึ้นโครงการคอนโดฯ 1 แห่ง และแนวราบ 1 แห่ง

ด้านไฮไลต์โครงการของบริษัท คือการพัฒนาแนวราบกลุ่มพรีเมียมมากขึ้น ปีนี้จะมี 3 โครงการ คือ

1.Residence 168 ราชพฤกษ์ บ้านเดี่ยว ราคา 35-50 ล้านบาท
2.Maison 168 เมืองทอง ทาวน์เฮาส์ ราคา 12-15 ล้านบาท
3.Villa 168 เวสต์เกต ทาวน์เฮาส์ ราคาเริ่ม 7.9 ล้านบาท

Residence 168 ราชพฤกษ์

ส่วนแบรนด์กลุ่มแวลูจะมีทั้งแบรนด์ Venue 168 ซึ่งเป็นทาวน์เฮาส์ราคาประมาณ 2-3 ล้านบาท และ Haus 168 ที่เป็นบ้านเดี่ยว-บ้านแฝด ราคา 4-6 ล้านบาท

ฝั่งคอนโดฯ จะแบ่งเป็นแบรนด์ Ville 168 ราคา 1.5-2.0 ล้านบาทต่อยูนิต, Park 168 ราคา 2.0-2.5 ล้านบาทต่อยูนิต และ Place 168 ราคา 2.5-3.0 ล้านบาทต่อยูนิต

เป้าหมายยอดขายปีนี้ของบริษัทตั้งไว้ที่ 13,000 ล้านบาท และเป้าหมายรายได้ 7,600 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีก่อน ขึ้นบันไดอีกขั้นในการไปสู่เป้าระยะ 5 ปีของ LPN

สรุปรวมแบรนด์ทั้งหมดหลังเปลี่ยนเป็น 168
]]>
1420218
LPN ยกเครื่ององค์กรระยะ 5 ปี ปรับโครงสร้าง-ปรับแบรนด์ให้ทันสมัย https://positioningmag.com/1373151 Tue, 08 Feb 2022 05:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373151 สถานการณ์ธุรกิจเปลี่ยน ทำให้ LPN ต้องปรับ วางแผนระยะ 5 ปี (2565-2569) มุ่งเป้าปี 2569 ต้องทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 16,000 ล้านบาท วางกลยุทธ์ปรับโครงสร้างองค์กร แยกบริษัท LPP ออกเป็นเอกเทศ และแยกการบริหารโครงการอสังหาฯ ตามเซ็กเมนต์ พร้อมเปิดแบรนด์ใหม่ทันสมัยโดนใจคนเจนวาย

“โอภาส ศรีพยัคฆ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN กล่าวว่า บริษัทมีการปรับแผนยุทธศาสตร์ใหม่จากเดิมวางระยะ 3 ปี (2564-66) เพิ่มเป็นระยะ 5 ปี (2565-2569)

โดยมีเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 10% และทำให้ในปี 2569 บริษัทจะทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 16,000 ล้านบาท (ทั้งนี้ รอบ 9 เดือนแรกปี 2564 บริษัทมีรายได้ 3,983 ล้านบาท)

LPN
“โอภาส ศรีพยัคฆ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

การจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าว บริษัทวางกลยุทธ์ไว้ 5 ประเด็น ดังนี้

1.เปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ

ปี 2565 บริษัทมีการแยก บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ออกไปเป็นอิสระ ส่งมือบริหาร “สุรวุฒิ สุขเจริญสิน” เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LPP

โดย LPN ยังคงถือหุ้นในบริษัท LPP 100% แต่การแยกบริษัทกันจะทำให้การบริหารชัดเจนขึ้น LPN ดูแลงานด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการขาย ส่วน LPP ดูแลงานบริการ จัดการโครงการหลังขาย ซึ่งการแยกบริษัทจะทำให้ LPP ขยายขอบเขตงานและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น

2.เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร

จากเดิม LPN แบ่งโครงสร้างตามหน้าที่การทำงาน (Functional Organization) ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะหน่วยธุรกิจ (Business Unit) มาตั้งแต่ปี 2564 โดยแบ่ง BU ออกเป็น 3 หน่วย คือ หน่วยธุรกิจอาคารชุดพักอาศัย, หน่วยธุรกิจบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และ หน่วยธุรกิจบ้านพักอาศัยราคามากกว่า 10 ล้านบาท

การแบ่งตามเซ็กเมนต์ทำให้แต่ละหน่วยธุรกิจคล่องตัวกว่าในการออกแบบและพัฒนาโครงการ สามารถปรับให้ตรงความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้เร็วขึ้น

3.เปลี่ยนแปลงการพัฒนาโครงการ

ระยะ 5 ปีนี้ LPN มีเป้าหมายพัฒนาโครงการใหม่สะสมไม่ต่ำกว่า 70 โครงการ มูลค่ารวมสะสมไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มียอดขายสะสมไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท

เฉพาะปี 2565 บริษัทตั้งเป้าพัฒนาโครงการ 16 โครงการ มูลค่ารวม 11,000 ล้านบาท เป้ายอดพรีเซล 13,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46% เทียบกับปี 2564 ซึ่งทำยอดขายได้ 8,900 ล้านบาท

4.เปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

ตั้งแต่ปลายปี 2562 บริษัทเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย และเริ่มรวบรวมข้อมูลลูกค้ามาใช้เพื่อพัฒนาสินค้า ต่อยอดถึงปี 2565 มีการเริ่มใช้ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการตลาด การขาย เช่น การเยี่ยมชมโครงการแบบ Virtual 360 องศา และเริ่มนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจนเป็นบิ๊กดาต้ามาใช้วิเคราะห์เพื่อหาความต้องการของลูกค้า

5.ปรับภาพลักษณ์แบรนด์
ลุมพินี เพลส รัชดา-สาธุ

ปี 2565 นี้ LPN จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบรนด์ในกลุ่มคนเจนวายอายุ 25-34 ปี ซึ่งคนกลุ่มนี้มีตั้งแต่กลุ่มวัยเริ่มทำงาน, ผู้ประกอบการ และสตาร์ทอัพ ซึ่งทำให้บริษัทจะมีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ทั้งในกลุ่มคอนโดฯ และบ้านแนวราบเพื่อให้สอดคล้องกับคนรุ่นใหม่

โอภาสกล่าวว่า ปีนี้มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบต่อภาคอสังหาฯ ปัจจัยบวกเช่นการผ่อนคลายเพดานอัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 100% จนถึงสิ้นปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยยังต่ำ แต่ขณะเดียวกันปัจจัยลบได้แก่หนี้ครัวเรือนสูงกระทบกำลังซื้อ และความไม่แน่นอนของการระบาดของโรค COVID-19 ยังคงมีอยู่ แต่ LPN เชื่อว่าการปรับองค์กรที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2564 จะทำให้องค์กรเติบโตได้ตามเป้าหมาย

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1373151
LPN เปิดแคมเปญ “ช่วยผ่อนยาว 5 ปี” สะท้อนภาพอสังหาฯ ยังต้องอัดโปรหนักหน่วง? https://positioningmag.com/1329306 Mon, 26 Apr 2021 10:57:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329306 LPN เปิดตัวแคมเปญใหม่ “ช่วยผ่อนนานสูงสุด…5 ปี” โปรโมชันช่วยจ่ายค่าผ่อนให้ลูกค้าแรงที่สุด เพื่อกระตุ้นยอดขายไตรมาส 2/64 ท่ามกลาง COVID-19 ระลอกที่สาม ขณะที่บริษัทอื่นๆ มีต่อโปรโมชันช่วยผ่อน 2-3 ปียาวมาตั้งแต่ปีก่อน สะท้อนภาพภาคอสังหาฯ ปี 2564 ยังต้องสู้ด้วยราคา-ส่วนลด

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN ออกแคมเปญใหม่ “ช่วยผ่อนนานสูงสุด…5 ปี” สำหรับ 11 โครงการในมือที่เข้าร่วม ราคาเริ่ม 1.38 ล้านบาทต่อยูนิต โดยมีรายละเอียดตัวเลือกให้ลูกค้าเลือกตัวช่วยผ่อนค่างวด ดังนี้

– ระยะเวลา 30 เดือน ช่วยผ่อนสูงสุดเดือนละ 13,000 บาท
– ระยะเวลา 40 เดือน ช่วยผ่อนสูงสุดเดือนละ 9,750 บาท
– ระยะเวลา 50 เดือน ช่วยผ่อนสูงสุดเดือนละ 7,800 บาท
– ระยะเวลา 60 เดือน ช่วยผ่อนสูงสุดเดือนละ 6,500 บาท

นอกจากนี้ยังมีส่วนลดสูงสุด 35% และฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พ.ค. 64

โปรโมชันแรงของ LPN ที่ปล่อยมาในช่วงไตรมาส 2/64 ตั้งเป้าว่าแคมเปญนี้จะทำยอดขายให้บริษัทได้ 1,000 ล้านบาท และเป็นการอัดโปรฯ เพื่อดึงดีมานด์ในช่วง COVID-19 ระบาดระลอกที่สาม ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ซื้อ การเปิดแคมเปญผ่อนให้ถึง 5 ปี นับว่าเป็นการปรับโปรโมชันครั้งใหญ่ทั้งของบริษัทและของตลาด

ตัวอย่างโปรโมชันผ่อนให้/อยู่ฟรีไตรมาส 2/64

ไม่เฉพาะ LPN ที่มีโปรฯ นี้ในปี 2564 อสังหาฯ อีกหลายบริษัทก็จัดโปรฯ “ผ่อนให้” ต่อเนื่องกันจากปีก่อน แม้อาจจะไม่ได้ให้ระยะเวลายาวนานเท่าก็ตาม เช่น “ศุภาลัย” ออกแคมเปญ “พักก่อน พี่ผ่อนให้” อยู่ฟรี 24 เดือน สำหรับทุกโครงการพร้อมอยู่ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 64

“พฤกษา” มีโปรฯ “พฤกษา คุ้ม จบทุกดีล” ให้อยู่ฟรีสูงสุด 36 เดือน สำหรับ 131 โครงการที่ร่วมแคมเปญ และลูกค้าจองซื้อภายใน 30 มิ.ย. 64 นอกจากนี้ยังมีโปรฯ พ่วงอีก เช่น ฟรีส่วนกลางสูงสุด 36 เดือน ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน

ภาพของการจัดโปรโมชันอยู่ฟรี/ผ่อนให้นาน 2-3 ปีนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปีก่อน เพราะเป็นโปรฯ ที่โดนใจลูกค้าในยุคเศรษฐกิจฝืดจาก COVID-19 คนต้องการบ้านแต่ไม่กล้าตัดสินใจซื้อตอนนี้ เนื่องจากกลัวอนาคตการเงินตนเองอาจไม่มั่นคงพอ อาจถูกลดเงินเดือนหรือเลย์ออฟ การจัดโปรฯ ผ่อนให้จึงตอบโจทย์ เพราะลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องการเงินไปได้อีก 2-3 ปี

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC ระบุว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรร (บ้านเดี่ยว-ทาวน์เฮาส์) ช่วงไตรมาส 1/64 เริ่มขยับขึ้นแล้ว โดยเติบโตขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 0.3% แต่หากเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนก็ยังต่ำกว่า เช่นเดียวกับดัชนีราคาคอนโดมิเนียม ไตรมาส 1/64 ราคาขึ้น 0.2% เทียบ QoQ แต่ยังไม่ฟื้นหากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นสัญญาณว่าตลาดอสังหาฯ เมื่อไตรมาสแรกของปีกำลังเริ่มฟื้นตัว แต่ยังไม่กลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิด COVID-19

ต้องรอดูกันอีกครั้งว่าการระบาดระลอกที่สามซึ่งหนักหน่วงกว่าทุกครั้ง จะทำให้ราคาอสังหาฯ กลับตกลงอีกหรือไม่ และผู้ประกอบการอาจจะต้องจัดโปรโมชันแรงอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดีมานด์ให้ได้

]]>
1329306
ยังลงไม่สุด! “LPN-เสนาฯ” ชี้ยอดขายอสังหาฯ Q1 ต่ำกว่าเป้า 20-40% แต่ Q2-Q3 จะซึมยิ่งกว่า https://positioningmag.com/1279923 Thu, 21 May 2020 10:03:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279923 “LPN-เสนาฯ” เปิดเผยยอดขายไตรมาสแรกกระทบจาก COVID-19 ตกเป้า 20-40% ไตรมาสสองรุนแรงกว่าจากสถานการณ์ช่วงเดือนเมษายน แม้เริ่มคลายล็อกดาวน์แล้วแต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต้องใช้เวลา หวังไม่มีการระบาดซ้ำ ฟาก “แสนสิริ” มองอีกมุมบริษัทยังทำยอดขายได้ตามเป้าจากการอัดโปรโมชันจูงใจ

Positioning สอบถามไปยังสองบริษัทอสังหาริมทรัพย์ สำรวจสภาวะตลาดหลังเริ่มคลายล็อกดาวน์ โดยมี “สุรวุฒิ สุขเจริญสิน” เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ “ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมให้คำตอบ

ยอดขาย Q1 ตกเป้า 20-40% “เมษา” หนักกว่านั้น

“สุรวุฒิ” ซีเอสโอ LPN เปิดเผยถึงยอดขายช่วงไตรมาสแรกของบริษัท ต่ำกว่าเป้าหมายไป 20% จากสถานการณ์ COVID-19 ที่กระทบช่วงเดือนมีนาคม เมื่อเข้าสู่ไตรมาสสองจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เห็นนัยสำคัญของการฟื้นตัวในตลาดอสังหาฯ และคาดว่าไตรมาส 2-3 ของปีนี้จะหนักหน่วงกว่าไตรมาสแรก เพราะปกติไม่ใช่ช่วงขายของธุรกิจอยู่แล้ว โดยเฉพาะเดือนเมษายนที่ยอดขายต่ำกว่าเป้าหมายมาก

“สุรวุฒิ สุขเจริญสิน” เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

“อสังหาฯ เป็นการลงทุนระยะยาว คนยังรอดูภาวะเศรษฐกิจก่อนว่าดีขึ้นหรือยัง เขาจะมีความมั่นคงในอาชีพการงานหรือยัง และแบงก์จะผ่อนปรนการปล่อยกู้หรือยัง เพราะฉะนั้นการเปิดเมืองเพิ่งจะเริ่ม กลุ่มที่ฟื้นก่อนคือ SMEs ศูนย์การค้า แต่เม็ดเงินตรงนี้ยังมาไม่ถึงอสังหาฯ อีกอย่างคือคนในธุรกิจท่องเที่ยว สายการบิน โรงแรม ธุรกิจนี้ก็ยังไม่ดีขึ้น กำลังซื้อของกลุ่มนี้หายไปเยอะ” สุรวุฒิกล่าว

เมื่อถามว่าอสังหาฯ “ผ่านจุดต่ำสุดหรือยัง” สุรวุฒิมองว่า “ยัง” เพราะภาพรวมไตรมาสสองน่าจะลงไปมากกว่าไตรมาสแรก และน่าจะยาวไปถึงไตรมาสสาม

ด้าน “ดร.เกษรา” กล่าวว่ายอดขายช่วงไตรมาสแรกถือว่า “พอไปได้” โดยได้ยอดขายต่ำกว่าเป้าไป 40% และมองว่าช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ยอดขายลงไปสู่จุดต่ำสุด

“ตลาดฟื้นตัวหรือยัง? ต้องไปดูเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับเราสถานการณ์ยังใกล้เคียงเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนมาก” ดร.เกษรากล่าว “ถ้าไม่มีการระบาดรอบสอง คงไม่ต่ำไปมากกว่านี้ แต่ถ้าหากโรคระบาดกลับมาอีก เศรษฐกิจจะซึมยาวยิ่งขึ้น”

 

ตลาดที่ยังขายได้สม่ำเสมอ

ในแง่กลุ่มตลาดที่ยังขายได้ในสถานการณ์เช่นนี้ สองค่ายอสังหาฯ มองต่างกัน โดย LPN เห็นว่าเซ็กเมนต์ระดับกลางล่างต่ำกว่า 2 ล้านบาทจะขายยากที่สุด เพราะผู้ซื้อมีความมั่นคงทางอาชีพไม่สูงทำให้ธนาคารมีโอกาสปล่อยกู้สินเชื่อต่ำกว่า ผลกระทบในแง่นี้จะมีปัญหาน้อยลงในกลุ่มคอนโดฯ ราคา 3-5 ล้านบาท และมากกว่า 5 ล้านบาท แต่ระบุว่าผู้ซื้อทุกกลุ่มระวังการใช้จ่ายทั้งหมด

ฟากเสนาฯ มองว่าบ้านเดี่ยวราคา 5-7 ล้านบาท และคอนโดฯ กลุ่มราคาต่ำกว่า 2.5 ล้านบาทยังขายได้ เพราะเป็นลูกค้าซื้ออยู่เอง หรือถ้าเป็นกลุ่มคอนโดฯ ต่ำกว่า 1 ล้านย่านนิคมอุตสาหกรรมของเสนาฯ ก็ยังมีนักลงทุนเพื่อปล่อยเช่าเข้าซื้ออยู่ เพราะเห็นทาร์เก็ตชัดเจนว่าสามารถปล่อยเช่าพนักงานโรงงานได้

ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

ส่วนกลุ่มที่ต้องระมัดระวังคือคอนโดฯ ไฮเอนด์ใจกลางเมือง ทำให้เสนาฯ เลือกชะลอการเปิดตัวคอนโดฯ 5-6 โครงการในแผนปี 2563 ไปอยู่ในครึ่งปีหลังทั้งหมด และหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นอาจจะมีการเลื่อนบางโครงการออกไปอีก ส่วนโครงการแนวราบยังเปิดได้ตามปกติ

ที่น่าสนใจคือ ดร.เกษรากล่าวว่าลูกค้ามีความต้องการโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่เป็นหลัก เพราะจะย้ายจากห้องเช่ามาอยู่ในคอนโดฯ ทำให้ไม่ต้องการจ่ายสองทาง (จ่ายดาวน์ห้องใหม่พร้อมกับจ่ายค่าเช่าห้องเดิม) ดังนั้น หากบริษัทมีสต็อกพร้อมอยู่จะขายดีมาก

 

แสนสิริมองต่าง โชว์ยอดขายทะลุเป้า

ในอีกมุมหนึ่ง “ปิติ จารุกำจร” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมและบริหารกลยุทธ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้จะมีสถานการณ์ COVID-19 แต่จนถึงขณะนี้แสนสิริสามารถทำยอดขายได้ 21,000 ล้านบาทแล้ว เชื่อว่าครึ่งปีแรกจะทำยอดขายได้ 22,000 ล้านบาทตามเป้าหมายที่วางไว้

“เรียลดีมานด์ยังมีอยู่ เพียงแต่เขามีความกังวลในสถานการณ์การเงิน ทำให้เราทำแคมเปญที่น่าจะตอบความกังวลของเขาได้” ปิติกล่าวถึงแคมเปญ “แสนสิริผ่อนให้ 24 เดือน” ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนมีนาคมและต่อโปรฯ ยาวจนถึง 30 มิถุนายน 63 ซึ่งบริษัทมองว่า มีส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ร่วมกับการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์

เป็นอีกปีที่หนักสำหรับภาคอสังหาฯ จากปัญหาเศรษฐกิจไม่เอื้อและความเข้มงวดการให้สินเชื่อบ้าน ซ้ำเติมด้วยไวรัส COVID-19 ต้องอาศัยทุกกลยุทธ์ชิงลูกค้าในช่วงนี้

]]>
1279923
LPN ชี้อสังหาฯ 2563 ซัพพลายใหม่อาจลดถึง 70% หาก COVID-19 ลากยาวถึงสิ้นปี https://positioningmag.com/1275124 Fri, 24 Apr 2020 06:22:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275124 LPN Wisdom ประเมินสถานการณ์อสังหาฯ ไทยปี 2563 ซัพพลายใหม่ในตลาดอาจลดลง 30-70% จากปีก่อน ขึ้นอยู่กับการหยุดระบาดของไวรัส COVID-19 ส่วนไตรมาสแรกปีนี้เห็นผลกระทบแล้ว โดยซัพพลายใหม่เทียบเป็นจำนวนยูนิตลดลง 35% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom) ในเครือ LPN เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับลดคาดการณ์การเปิดตัวโครงการใหม่ จากเดิมที่ประเมินว่าปี 2563 จะมีจำนวนซัพพลายใหม่ลดลง 6% จากปีก่อน แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ซัพพลายใหม่น่าจะลดลงมากกว่าเดิม คือลดลง 30-70% จากปีก่อน โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้

  • ฺBest Case – กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลงในไตรมาสสองของปี 2563 เศรษฐกิจฟื้นตัวในไตรมาสสามของปี 2563 คาดว่าจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2563 จะอยู่ที่ 70,000-75,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 250,000-270,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 30-35 เมื่อเทียบกับปี 2562

  • Base Case – กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสสามของปี 2563 เศรษฐกิจฟื้นตัวในไตรมาสสี่ของปี 2563 คาดว่าจำนวนการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2563 จะอยู่ที่ 50,000-55,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 175,000-190,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 50-55 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2562

  • Worst Case – กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยืดเยื้อไปจนถึงสิ้นปี 2563 คาดว่าในปี 2563 จะมีจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 35,000-40,000 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 120,000-135,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 65-70 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2562

ไตรมาสแรกซัพพลายหดตัวแล้ว 35%

ส่วนการเปิดโครงการใหม่ในไตรมาสแรก ปี 2563 LPN Wisdom พบว่า มีการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น 66 โครงการ คิดเป็นจำนวนยูนิตที่เปิดใหม่ 17,454 ยูนิต ลดลง 35% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2562 หากคิดเป็นมูลค่าโครงการเปิดใหม่จะอยู่ที่ 68,656 ล้านบาท ลดลง 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตาม ถ้าเจาะลึกแบ่งเป็นประเภทอสังหาริมทรัพย์ พบว่ากลุ่มโครงการแนวราบยังมีแนวโน้มเติบโตในช่วงไตรมาส 1/63 ขณะที่คอนโดมิเนียมลดการเปิดตัวไปมาก ดังนี้

  • การเปิดตัวที่อยู่อาศัยแนวราบ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮาส์ จำนวน 10,936 ยูนิต เพิ่มขึ้น 41% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยทั้งบ้านแฝดและทาวน์เฮาส์มีการเปิดตัวเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่กลุ่มบ้านเดี่ยวมีการเปิดตัวลดลง 30%
  • การเปิดตัวอาคารชุ จำนวน 6,518 ยูนิต หรือ ลดลง 66% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ทำเลเด่นที่ผู้ประกอบการนิยมเปิดตัวในไตรมาสแรกปีนี้ ประพันธ์ศักดิ์กล่าวว่า สำหรับ คอนโดฯ เน้นเปิดตัวตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย Circle Line ซึ่งเริ่มเปิดบริการแล้วช่วงปลายปี 2562 รวมถึงแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สำโรง-ลาดพร้าว ที่มีแผนเปิดบริการในปี 2564 ส่วนกลุ่มโครงการ แนวราบ เน้นย่านรังสิต-ปทุมธานี และบางนา-ศรีนครินทร์

ทั้งนี้ ตลาดอสังหาฯ ปี 2563 เป็นปีที่ผู้ประกอบการวางแผนดำเนินการอย่างระมัดระวังมาตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้อต่อกำลังซื้อผู้บริโภค รวมถึงมีมาตการรัฐเข้มงวดการให้อัตรา LTV สินเชื่อบ้านที่ใช้บังคับตั้งแต่ปี 2562 แผนงานของดีเวลอปเปอร์ปีนี้ส่วนใหญ่จึงปรับพอร์ตมาพัฒนาโครงการแนวราบเป็นหลักตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาด เพราะต้องการเน้นผู้บริโภคกลุ่มเรียลดีมานด์มากกว่านักลงทุน

]]>
1275124
กางแผน LPN เตรียมเปิดอีก 10 โครงการทั้งบ้าน และคอนโด มูลค่ากว่า 13,000 ลบ. https://positioningmag.com/1249581 Fri, 11 Oct 2019 22:00:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249581 LPN เร่งเครื่องยกกำลัง 2 ช่วงไตรมาส 4 ไปจนถึงปีหน้า เตรียมเปิดตัวอีก 10 โครงการใหม่รวดทั้งบ้านและคอนโด มูลค่ารวม 13,000 ล้านบาท

โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“แผนธุรกิจในปีนี้ได้กระจายฐานรายได้ออกหลายๆ ส่วนเพื่อลดความเสี่ยง โดยยังคงรักษารายได้จากการสร้างและขายอาคารชุดพักอาศัยปีละหมื่นล้านบาท รวมถึงขยายการเติบโตของโครงการบ้านพักอาศัยอย่างน้อย 50% ของอาคารชุดพักอาศัย เมื่อรวมกับรายได้จากธุรกิจบริการอื่นๆ ก็เชื่อว่าจะสร้างรายได้และการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้กับบริษัทได้อย่างแน่นอน”

หลังจากนี้ บริษัทได้เตรียมลุยเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งอาคารชุดพักอาศัย และบ้านพักอาศัย จำนวน 10 โครงการ โดยจะเปิดตัวในไตรมาส 4 ยาวไปถึงต้นปีหน้า ทำเลดังต่อไปนี้

lpn

อาคารชุดพักอาศัย รวมมูลค่าประมาณ 11,050 ล้านบาท

  1. ย่านเตาปูน คอนโด High Rise เปิดตัวปีนี้ จำนวน 800 ยูนิต มูลค่า 1,900 ล้านบาท
  2. แจ้งวัฒนะ ซอย 10 คอนโด Low Rise เปิดตัวปีนี้ จำนวน 476 ยูนิต มูลค่า 600 ล้านบาท
  3. แจ้งวัฒนะ ซอย 17 คอนโด High Rise เปิดตัวปี 2563 อาคารด้านหน้าจำนวน 719 ยูนิต มูลค่า 1,600 ล้านบาท และอาคารด้านหลังจำนวน 788 ยูนิต มูลค่า 1,450 ล้านบาท
  4. ย่านเอกชัย แถวเซ็นทรัลพระราม 2 คอนโด Low Rise เปิดตัวปี 2563 จำนวน 2,293 ยูนิต มูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท
  5. โครงการลุมพินี มิกซ์ นราธิวาส-รัชดา คอนโด High Rise เปิดตัวปี 2563 มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท
  6. โครงการในอนาคต อยู่ระหว่างการเจรจา

บ้านพักอาศัย รวมมูลค่าประมาณ 5,420 ล้านบาท

  1. ย่านพหลโยธิน 54/1 ห่าง BTS สะพานใหม่ (ในอนาคต) ระยะทาง 3 กม. จำนวน 253 แปลง มูลค่า 880 ล้านบาท
  2. ย่านลาดกระบัง ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ 4 กม. จำนวน 400 แปลง มูลค่า 1,250 ล้านบาท
  3. Baan 365 ย่านเมืองทองธานี จำนวน 182 แปลง มูลค่า 1,890 ล้านบาท
  4. ย่านสุขุมวิท 113 บ้านแฝด 2 ชั้น และบ้านทาวน์โฮมจำนวน 133 แปลง มูลค่า 750 ล้านบาท
  5. ย่านท่าข้าม-พระราม 2 บ้านแฝด 2 ชั้น 108 แปลง มูลค่า 650 ล้านบาท

ทั้งนี้ LPN มีเป้าหมายในการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดพักอาศัยและบ้านพักอาศัยในไตรมาส 4 ได้แก่

  1. ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี-จตุจักร มูลค่า 2,000 ล้านบาท
  2. ลุมพินี เพลส รัชดา-สาธุ มูลค่า 1,620 ล้านบาท
  3. ลุมพินี ซีเล็คเต็ด สุทธิสาร-สะพานควาย มูลค่า 1,265 ล้านบาท
  4. ลุมพินี วิลล์ สุขสวัสดิ์-พระราม 2 มูลค่า 720 ล้านบาท
  5. ลุมพินี พาร์ค พหล 32 มูลค่า 1,867 ล้านบาท
  6. บ้านพักอาศัย มูลค่า 530 ล้านบาท
  7. Baan 365 มูลค่า 500 ล้านบาท
]]>
1249581
LPN รีแบรนด์ปรับลุคให้เด็กลง พร้อมแนวคิดสร้างบ้านให้ “พอดี” ไม่ใช่บ้านที่เพ้อฝัน https://positioningmag.com/1249568 Fri, 11 Oct 2019 08:52:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249568 LPN ออกแคมเปญสร้างแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี ชูคอนเซ็ปต์ ความพอดี ที่ดีกว่า” เน้นย้ำถึงการสร้างบ้านที่มีความพอดีในการใช้ชีวิต ไม่ใช่สร้างบ้านแบบเพ้อฝัน

ปรับภาพลักษณ์จาก “ลุงใจดี” เป็นหนุ่ม Gen Y

ต้องบอกว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยยังคงมีการแข่งขันที่ดุเดือด ถึงแม้หลายคนจะมองว่าเกิดภาวะฟองสบู่บ้าง จุดอิ่มตัวบ้าง เศรษฐกิจไม่ดีบ้าง ทำเอาหลายดครงการต้องชะลอการลงทุน แต่ก็ยังคงได้เห็นโครงการใหม่ๆ ผุดขึ้นอยู่ตลอด เพียงแต่ต้องมีการปรับกลยุทธ์กันบ้าง

หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการ สร้างแบรนด์” ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็จะมี DNA ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าจะมีวิธีการสื่อสารอย่างไรกับกลุ่มเป้าหมาย

LPN หรือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในผู้เล่นอสังหาฯ รายใหญ่ในไทย ที่มีโครงการครอบคลุมตั้งแต่คอนโด ทาว์นโฮม ไปจนถึงบ้านระดับพรีเมี่ยม เป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่ผุดโครงการคอนโดได้ครอบคลุมหลายโลเคชั่น

แต่ในปัจจุบัน LPN ทำตลาดมา 30 ปีแล้ว ไม่ได้มีการสร้างแบรนด์เท่าที่ควร ในปีนี้จึงลุกขึ้นมาแต่งตัว สร้างแบรนด์ครั้งใหญ่ จึงออกแคมเปญแบรนด์ดิ้งครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี ความพอดี ที่ดีกว่า”

การรีแบรนด์ครั้งนี้ LPN ได้เลือกเอเยนซี่ BBDO มาเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านแบรนด์ และครีเอทีฟโฆษณา โจทย์สำคัญคือการปรับลุคให้เด็กลง ทันสมัยขึ้น เพราะจากการทำสำรวจพบว่าภาพลักษณ์ของ LPN ที่ผู้บริโภคนึกถึงคือ นิรุตติ์ ศิริจรรยา” นักแสดงรุ่นอาวุโส

 โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“ก่อนที่จะทำแคมเปญนี้ได้มีการทำผลสำรวจกับผู้บริโภค ได้พบว่าคนภายนอกมองภาพ LPN เป็นคุณนิรุตติ์ ศิริจรรยา หรือมองภาพลักษณ์เป็นผู้ใหญ่ใจดี ซึ่งก็พบว่าลูกค้าของ LPN ส่วนใหญ่อายุ 35 ปีขึ้นไป แต่ครั้งนี้อยากรีแบรนด์ให้ภาพลักษณ์เด็กลงสัก 20 – 30 ปี เป็นคาแรคเตอร์หนุ่ม Gen Y อยากให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี”

แนวคิดสร้างบ้านให้พอดีกับชีวิตจริง

อีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ของการทำแคมเปญครั้งนี้ คือการขับเคลื่อนแนวคิดใหม่ของ LPN ที่พูดถึงเรื่อง ความพอดี” ซึ่งความพอดีที่ว่านี้เป็นการตอบโจทย์เรื่องการสร้างบ้านให้ผู้บริโภคให้อยู่บนพื้นฐานความพอดีนั่นเอง ไม่ใช่อยู่บนความหรูหรา เหนือระดับ หรือความเพ้อฝัน แต่เป็นการอยู่บนชีวิตจริง

โอภาสเสริมต่อว่า LPN เป็นแบรนด์อสังหาฯ ที่อยากให้ทุกคนมีบ้านในฝันที่ราคาเข้าถึงได้ มีความเชื่อในปรัชญาของการสร้างบ้านที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิต เพราะเชื่อว่า การมีบ้านเป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตที่ดี จึงให้ความสำคัญกับการออกแบบที่อยู่อาศัย การบริหารจัดการภายหลังการเข้าอยู่ที่ช่วยส่งเสริมการใช้ชีวิตส่วนตัว และการอยู่ร่วมกันในสังคม

LPN ได้ถ่ายทอดความพอดีผ่านโฆษณาในชื่อ “Dream Home” ที่จะบอกเล่าความพอดีของ LPN และการสร้างแบรนด์ในครั้งนี้ ทางครีเอทีฟของ BBDO ก็ได้เล่าถึงกระบวนการแนวคิดของแคมเปญนี้ว่า

“แคมเปญนี้เกิดจากการไปคุยกับผู้บริโภคว่า… ถ้าอยากซื้อบ้านในฝัน ความพอดีคืออะไร? ก็พบว่าบ้านในฝันของแต่ละคนได้ถูกล้างสมองด้วยแคมเปญที่แบรนด์อสังหาฯ ต่างๆ ได้ทำขึ้น ทั้งสมาร์ทโฮม นวัตกรรมใหม่ๆ ต้องมีบ้านที่สวยหรู มีสไตล์ มีความแตกต่างที่สุดโต่ง มีเทคโนโลยีล้ำๆ ต้องมีเอกลักษณ์ ภาพพวกนี้เลยกลายเป็นภาพในฝันที่แต่ละคนอยากได้

แต่ภาพในฝันที่กล่ามานี้อาจจะไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง พอเข้าไปอยู่อาศัยจริงอาจจะไม่ได้อยู่สบายเท่าไหร่นัก อาจจะเป็นภาระด้วยซ้ำ”

lpn

การสื่อสารจึงเป็นในเชิงการตั้งคำถามกับคนดูว่า ในชีวิตจริง เราต้องการ บ้านแบบไหน ระหว่างบ้านที่ล้ำยุค ดีไซน์ล้ำสมัย ตรงตามค่านิยม “บ้านในฝัน” ที่อาจกลายเป็นฝันร้ายเมื่อเข้าไปอยู่ เพราะไม่ได้ถูกออกแบบมาจากการใช้ชีวิตจริง กับบ้านที่แม้ภายนอกอาจดูเรียบง่าย ไม่โดดเด่นแบบที่คนส่วนใหญ่ฝันถึง แต่กลับให้ความรู้สึกที่ดีกว่า เพราะออกแบบให้พอดีกับชีวิตจริง

ซึ่ง LPN มองว่า ไม่ได้อยากสร้างบ้านบนความเพ้อฝัน แต่สร้างบ้านบนความเป็นจริงมากที่สุด เพราะการอยู่อาศัยจริงๆ การเลือกบ้านไม่ใช่แค่ความฝัน แต่เป็นความพอดี การอยู่อาศัยจริงๆ

แคมเปญนี้ LPN ได้ใช้งบลงทุน 150 ล้านบาท เป็นงบที่รวมกับการทำการตลาดเปิดโครงการใหม่ในช่วง 6 เดือนหลังนี้ด้วย ซึ่งต้องมาดูว่าการปรับภาพลักษณ์ของ LPN ในครั้งนี้จะได้รับผลตอบรับอย่างไร แล้วทำให้ผู้บริโภคเข้าใจความพอดีได้หรือไม่.

]]>
1249568