moderna – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Apr 2023 01:43:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘โมเดอร์นา’ มั่นใจภายในปี 2030 โลกจะมีวัคซีนรักษามะเร็ง-โรคหัวใจ https://positioningmag.com/1427084 Tue, 11 Apr 2023 01:43:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1427084 เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ซึ่งนำไปสู่ยุคทองของวัคซีนแบบใหม่ โดย โมเดอร์นา (Moderna) บริษัทยาและเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้โลกสามารถผลิตวัคซีนที่รักษาได้ทุกโรครวมถึงมะเร็งและโรคหัวใจ

นายแพทย์พอล เบอร์ตัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโมเดอร์นา ได้กล่าวกับ เดอะการ์เดียน ว่า ภายในปี 2030 โลกจะมีวัคซีนรักษามะเร็ง โรคหัวใจ รวมถึงโรคอื่น ๆ และมีความเป็นไปได้ที่โมเดอร์นาจะสามารถผลิตวัคซีนดังกล่าวได้ภายใน 5 ปีจากนี้ เนื่องจากความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีน COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่านักวิจัยสามารถพัฒนาวัคซีนได้เร็วขึ้น หลังจากที่เคยใช้องค์ความรู้งานวิจัย 15 ปีมาพัฒนาวัคซีนภายในเวลาเพียง 12-18 เดือน

ด้วยความเร็วในการพัฒนาดังกล่าว นายแพทย์พอล เบอร์ตัน จึงมั่นใจว่าโลกจะได้เห็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะช่วยสามารถช่วยชีวิตคนได้หลายล้านคน ทั้งนี้ โมเดอร์นาเองก็กำลังพัฒนาวัคซีนมะเร็งที่พุ่งเป้าไปยังเนื้องอกประเภทต่าง ๆ

“ผมคิดว่าสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาคือ เทคโนโลยี mRNA ไม่ได้ใช้ได้กับแค่โรคติดเชื้อหรือกับโควิดเท่านั้น แต่มันใช้ได้กับทุกพื้นที่ของโรค ทั้งกลุ่มโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคหายาก”

ก่อนหน้านี้ การผลิตวัคซีนจะใช้โปรตีนของไวรัสหรือใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอ ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน แต่สำหรับเทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA จะเป็นการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ ที่ใช้การฉีดสารพันธุกรรมที่เรียกว่า mRNA หรือ mRNA molecule เข้าไปในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายหนามของไวรัส แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ขึ้นมา และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อสู้กับไวรัสต่อไป

ส่วนในกรณีของวัคซีน mRNA ที่ใช้ต้านมะเร็ง จะเป็นการฉีดวัคซีนให้ผู้ป่วยเพื่อไปกระตุ้นเซลล์ให้สร้างโปรตีนชนิดที่ร่างกายต้องการให้ระบบภูมิต้านทานสร้างขึ้นมา และสามารถโจมตี-ทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกายผู้ป่วยได้โดยไม่ทำลายเซลล์ที่แข็งแรง

Gloved Hand Holding Cancer Vaccine with Syringe on Orange Background

โดยในเดือนกุมภาพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้กำหนดให้วัคซีนมะเร็งเฉพาะบุคคลของโมเดอร์นา เป็นการบำบัดแบบก้าวหน้าร่วมกับยา Keytruda ซึ่งเป็นยาภูมิคุ้มกันบำบัดของเมอร์คสำหรับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่เรียกว่าเมลาโนมา เนื่องจากพบว่า เมื่อใช้วัคซีนร่วมกับ Keytruda สามารถช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งผิวหนังได้ถึง 44%

นายแพทย์พอล เบอร์ตัน ย้ำว่า ความสามารถของ RNA จะช่วยให้สามารถรับมือกับโรคหายากที่ยังไม่มีการรักษา การบำบัดด้วย mRNA รวมถึงโรคติดเชื้อทางเดินหายใจหลายระบบในอนาคตจะสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวหรือเพียงเข็มเดียว ไม่ว่าจะเป็น COVID-19, ไข้หวัดใหญ่ และไวรัสทางเดินหายใจ (RSV) โดยไม่ต้องฉีดวัคซีนหลายตัวอีกต่อไป

“ผมคิดว่าเราจะมีการบำบัดด้วย mRNA สำหรับโรคหายากที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถรักษาได้ และผมคิดว่า 10 ปีนับจากนี้ เราจะเข้าใกล้โลกที่สามารถระบุสาเหตุโรคทางพันธุกรรมได้อย่างแท้จริง ด้วยการใช้เทคโนโลยี mRNA ที่ไปแก้ไขและซ่อมแซม”

Source

]]>
1427084
WHO เดินหน้าเผยแพร่ ‘เทคโนโลยีวัคซีนโควิด’ สู่ประเทศยากจนให้ผลิตได้เอง https://positioningmag.com/1375555 Sun, 27 Feb 2022 11:13:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375555 องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังสร้างศูนย์ฝึกอบรมระดับโลก เพื่อช่วยประเทศยากจนในการผลิตวัคซีนแอนติบอดี และการรักษามะเร็งโดยใช้เทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน COVID-19

Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวว่า WHO กำลังสร้างศูนย์ฝึกอบรมระดับโลกที่แบ่งปันเทคโนโลยี mRNA ที่พัฒนาโดย WHO และพันธมิตรในแอฟริกาใต้ รวมถึงการช่วยเหลือจาก Moderna Inc. โดยศูนย์กลางแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ในเกาหลีใต้

“วัคซีนได้ช่วยเปลี่ยนแนวทางของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่ชัยชนะทางวิทยาศาสตร์นี้กลับถูกทำลายลงด้วยความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเครื่องมือช่วยชีวิตเหล่านี้” Tedros Adhanom Ghebreyesus กล่าว

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันนี้หวังว่าจะไม่เพียงส่งผลในวัคซีนป้องกัน COVID-19 เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในการผลิตแอนติบอดี อินซูลิน และการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงมาเลเรียและมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม ดร. โสมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ WHO คาดการณ์ว่า ความพยายามในการสร้างวัคซีนของโมเดอร์นาขึ้นมาใหม่จะแล้วเสร็จช่วงปลายปีหน้าหรือกระทั่งปี 2024 แต่กล่าวว่าไทม์ไลน์อาจสั้นลงได้มากหากผู้ผลิตตกลงที่จะช่วย

ที่ผ่านมา วัคซีนนั้นถูกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดหาประเทศร่ำรวยมากกว่าที่ยากจนทั้งในด้านการขายและการผลิต โดยทั้ง Moderna และ Pfizer-BioNTech ผู้ผลิตวัคซีน mRNA COVID-19 ที่ได้รับอนุญาตทั้งสองรายการ ปฏิเสธที่จะแบ่งปันสูตรวัคซีนหรือความรู้ทางเทคโนโลยีกับ WHO และพันธมิตร

ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำระดับโลกในการเข้าถึงวัคซีน COVID-19 นั้นมหาศาล ปัจจุบันแอฟริกาผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพียง 1% ของโลก และมีเพียง 11% ของประชากรทั้งหมดที่ได้รับวัคซีน ในทางตรงกันข้าม ประเทศในยุโรปอย่างโปรตุเกสมีประชากร 84% ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน และมากกว่า 59% ของคนในประเทศได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้น

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว WHO กล่าวว่า 6 ประเทศในแอฟริกา ได้แก่ อียิปต์ เคนยา ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และตูนิเซีย จะได้รับความรู้และความรู้ทางเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีน mRNA COVID-19 และ อีก 5 ประเทศจะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางแอฟริกาใต้ ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ปากีสถาน เซอร์เบีย และเวียดนาม

Source

]]>
1375555
หุ้น ‘Moderna’ และ ‘Pfizer’ พากันร่วง หลังการระบาดของโควิดเริ่มลดลง https://positioningmag.com/1373962 Tue, 15 Feb 2022 04:33:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373962 เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลายลง อย่างจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในสหรัฐอเมริกาก็เริ่มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้หุ้นของผู้ผลิตวัคซีนต่างร่วงไปตาม ๆ กัน หลายคนมองว่าหุ้นของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนอาจลดลงได้อีกหากความต้องการวัคซีนลดลง
  • หุ้นของ Moderna ร่วงลงมากกว่า -11%
  • Pfizer ร่วงลงเกือบ -2%
  • BioNTech ลดลงมากกว่า -9%
  • Novavax ลดลงมากกว่า -11%
  • Johnson & Johnson ลดลงมากกว่า -1%

ดร.แอนโธนี เฟาซี หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของทำเนียบขาว กล่าวกับ Financial Times ว่า สหรัฐฯ กำลังออกจาก “การระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างเต็มรูปแบบ” โดยมีจำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่ประมาณ 175,000 รายต่อวัน ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ถือว่าลดลง 42% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ป่วยเมื่อช่วงวันที่ 15 มกราคม มีมากกว่า 800,000 รายต่อวัน

โดยประมาณ 64% ของประชากรสหรัฐฯ ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน จากทั้ง ไฟเซอร์, โมเดอร์นา และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน โดยระยะเวลาเพียงแค่ 2 เดือนกว่า สัดส่วนคนอเมริกันที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบโดสเพิ่มจาก 40% เป็น 50% และอีก 4 เดือนจะไปถึงระดับ 60%

ทั้งนี้ Pfizer และ BioNTech กำลังพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนโดยเฉพาะ โดย อัลเบิร์ต บูร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Pfizer กล่าวว่า วัคซีนสำหรับสายพันธุ์โอมิครอนจะพร้อมในเดือนมีนาคม แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าวัคซีนใหม่จะมีความจำเป็นหรือไม่ หากจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง

ที่น่าสนใจคือ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สเตฟาน บานเซล ซีอีโอของ Moderna ขายหุ้นบริษัท 19,000 หุ้น รวมเป็นเงิน 2.9 ล้านดอลลาร์ และลบบัญชี Twitter ของเขาหลังจากไม่ได้ใช้งานมาสองปี จนทำให้เกิดคำถามบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

Source

]]>
1373962
ผลวิจัยชี้วัคซีน ‘Moderna’ 2 โดสเสี่ยงต่ออาการ ‘หัวใจอักเสบ’ มากกว่า ‘Pfizer’ แต่หายได้ภายใน 37 สัปดาห์ https://positioningmag.com/1372979 Sun, 06 Feb 2022 05:45:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372979 ผลวิจัยเปิดเผยว่า วัคซีนป้องกัน COVID-19 ของ Moderna จำนวน 2 โดส มีความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบของหัวใจมากกว่าของ Pfizer แต่คุณสมบัติการป้องกันเชื้อ COVID-19 ของวัคซีนทั้งสองบริษัทมีมากกว่าความเสี่ยง ตามรายงานของคณะผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค

อาการ Myocarditis เป็นอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง ตามที่ National Heart, Lung and Blood Institute แม้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะพบได้บ่อยที่สุดหลังการติดเชื้อไวรัส แต่ CDC ได้พบความเชื่อมโยงระหว่างการอักเสบของหัวใจกับการฉีดวัคซีนด้วยการฉีด Moderna และ Pfizer

โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีนโควิดคือ เด็กชายวัยรุ่นอายุ 18-39 ปี หลังจากฉีดวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ Moderna และ Pfizer ใช้ โดยอาการจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 วันหลังจากฉีดวัคซีน เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ใจสั่น และเมื่อยล้า ทั้งนี้ ทาง CDC กำลังรวบรวมข้อมูลจากองค์กรดูแลสุขภาพ 9 แห่งใน 8 รัฐ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม

ในทุก ๆ 1 ล้านวินาทีที่มีการฉีดวัคซีนพบว่า ผู้ที่รับวัคซีน Moderna มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบประมาณ 10.7 ราย และพบเกิน 21.9 รายหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ในขณะที่ผู้หญิงมีผู้ป่วยเพิ่มเติม 1.6 ราย อย่างไรก็ตาม ไม่มีความแตกต่างในอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับการฉีดยาของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ผลการศึกษาระบุว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยาบาลเพียงวันเดียวและไม่มีใครเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู

ด้านหน่วยงานด้านสาธารณสุขในออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา พบว่า อัตราของกล้ามเนื้อหัวใจหัวใจอักเสบในผู้ชายอายุ 18-24 ปีเพิ่มขึ้น 5 เท่า หลังการฉีดวัคซีน Moderna ครั้งที่ 2 เมื่อเทียบกับของ Pfizer

ดร.ซาร่า โอลิเวอร์ เจ้าหน้าที่ของ CDC กล่าวว่า คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเพิ่มขึ้นหลังจากวัคซีนของ Moderna แต่การฉีดวัคซีนดังกล่าวจะช่วยป้องกันการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรค COVID-19 ได้มากกว่าวัคซีนของ Pfizer ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้รับสำหรับวัคซีน mRNA มีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ในประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศได้แนะนำวัคซีนของ Pfizer มากกว่าวัคซีนของ Moderna ในกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงสูง โดยวัคซีนของ Moderna ได้รับการอนุมัติให้ใช้กับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป วัคซีนของ Pfizer ได้รับการอนุมัติอย่างสมบูรณ์สำหรับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป และได้รับอนุญาตในกรณีฉุกเฉินสำหรับเด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี

“อย่างน้อยที่สุด ผู้ชายที่อายุน้อยควรแนะนำให้ฉีด Pfizer มากกว่ากับ Moderna”

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนโควิดสามารถฟื้นตัวเต็มที่ และส่วนใหญ่รายงานว่าไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา โดยพบว่า 81% มีโอกาสที่จะหายดีภายใน 37 สัปดาห์หลังเกิดอาการ อีก 15% ดีขึ้น ในขณะที่ 1% ไม่ดีขึ้น แต่ยังไม่พบการเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม แพทย์แนะนำว่าผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักเป็นเวลา 2-3 เดือนเพื่อให้แน่ใจว่าหัวใจจะฟื้นตัวเต็มที่

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์เปิดเผยว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนถึง 100 เท่า

“การมุ่งเน้นไปที่วัคซีนและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมีอันตรายอยู่บ้าง แต่การเกิดอาการดังกล่าวจากการติดเชื้อ COVID-19 อาจถึงขั้นร้ายแรงถึงชีวิตได้” ดร.คามิลล์ คอตตอน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ กล่าว

Source

]]>
1372979
เงื่อนไข : ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจอง ‘โมเดอร์นา’ เข็ม 3 ราคา 555 บาท/โดส ซิโนฟาร์ม 550 บาท/โดส https://positioningmag.com/1356921 Sat, 16 Oct 2021 06:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356921 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยเงื่อนไขจองวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ‘ซิโนฟาร์มและโมเดอร์นา’ สำหรับองค์กรนิติบุคคลและโรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ขั้นต่ำ 12 คนขึ้นไป เปิดจองในวันที่ 29 ตุลาคม เวลา 09.00 น. กำหนดเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

โดยกำหนดการเปิดจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในรูปแบบองค์กร นิติบุคคล และโรงพยาบาลเท่านั้น (ยังไม่มีการเปิดรอบบุคคลทั่วไป)

วัคซีนซิโนฟาร์ม อัตราเข็มละ 550 บาท

วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) อัตราเข็มละ 550 บาท พร้อมร่วมบริจาค 10% ของจำนวนวัคซีนที่ขอรับจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบาง (ยอดบริจาคนิติบุคคลนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าผ่านระบบ E-Donation)

-แนะนำเป็นเข็มกระตุ้นภูมิ (เข็มที่ 3) สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มหรือวัคซีนชนิดอื่นๆ ครบ 2 เข็มมาแล้ว 3-6 เดือน

-ลงทะเบียนจองพร้อมโอนเงินเต็มจำนวน รวมจำนวนวัคซีนบริจาค 10% ภายใน 5 วันทำการเมื่อได้รับการแจ้งจัดสรรวัคซีน

-กำหนดเริ่มฉีดเข็มกระตุ้นภูมิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ

บุคคลธรรมดาที่เคยฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม

ขอให้ท่านติดตามการจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิจากโรงพยาบาลต่างๆ ที่รับการจัดสรรวัคซีนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และให้บริการฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่เปิดรับจองในรูปแบบบุคคลทั่วไปในการจัดสรรครั้งนี้

หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่เคยเข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มรอบบุคคลธรรมดากับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กรุณารอ SMS เพื่อแจ้งกำหนดการเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะใช้วัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์มเป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยชำระเงิน ณ วันเข้ารับวัคซีน (สำหรับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรุณารอการติดต่อทาง sms หรือให้ผู้ประสานงานทำหนังสือถึงเลขาธิการเพื่อรอการจัดสรร)

วัคซีนโมเดอร์นา อัตราเข็มละ 550 บาท

วัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โมเดอร์นา (Moderna) 50 ไมโครกรัม อัตราเข็มละ 555 บาท พร้อมร่วมบริจาค 10% ของจำนวนวัคซีนที่ขอรับจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบาง (ยอดบริจาคนิติบุคคลนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าผ่านระบบ E-Donation)

-แนะนำใช้เป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปี 2565 (โดยฉีดเป็นวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ 4) โดยฉีดห่างจากวัคซีนเข็มล่าสุด 3-6 เดือน (แล้วแต่ชนิดวัคซีนที่ได้รับก่อนหน้านั้น)

-ลงทะเบียนจองพร้อมโอนเงินมัดจำ 250 บาทต่อโดส จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และโอนเงินมัดจำ 400 บาทต่อโดสตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และชำระเงินส่วนที่เหลือเต็มตามจำนวน เมื่อได้รับการจัดสรรวัคซีน พร้อมจำนวนที่บริจาคอีก 10%

เริ่มฉีดเมื่อไหร่ 

กำหนดเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบจัดสรรวัคซีนที่รับฉีดแทนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทั่วประเทศ

จัดสรรวัคซีนในเดือนมีนาคม ตามลำดับองค์กรที่โอนเงินจองเข้ามาก่อน และจัดสรรต่อทุก 3 เดือน หรือเมื่อได้รับวัคซีนจากต่างประเทศจนได้รับวัคซีนครบตามจำนวน

ข้อกำหนด : การจองวัคซีนทางเลือกเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับองค์กรนิติบุคคล

1.การสั่งจองและขอรับจัดสรรวัคซีนทางเลือกนี้ เมื่อยืนยันการจองและโอนเงินแล้ว ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะไม่คืนเงิน และไม่รับการขอลดจำนวนวัคซีนในทุกกรณี หากไม่โอนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด ขอสงวนสิทธิ์ที่จะนำเงินจองจำนวนดังกล่าว หรือวัคซีนไปจัดสรรให้กับกลุ่มเปราะบางของประเทศต่อไป

2. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะจัดสรรวัคซีนให้ตามลำดับองค์กรที่โอนเงินจองเข้ามาก่อนกับวัคซีนที่จะทยอยมาจากต่างประเทศ

3. องค์กรสามารถยื่นขอรับจัดสรรวัคซีนได้ทั้ง 2 ชนิด โดยแจ้งระบุจำนวนคนตามยี่ห้อวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิที่ประสงค์จะขอรับจัดสรร

4. องค์กรจะได้รับอีเมลแจ้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเพื่อล็อกอินเข้าระบบผ่านเมนู “ลงทะเบียนองค์กรผู้ได้รับการจัดสรรวัคซีน” เพื่อยืนยันยอดจำนวนวัคซีนที่ขอรับการจัดสรร และวิธีการโอนเงิน โดยโอนเต็มจำนวนสำหรับวัคซีนซิโนฟาร์ม และโอนเงินมัดจำ 250 บาทต่อโดสสำหรับวัคซีนโมเดอร์นา

5. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะดำเนินการส่งรายงานมูลค่าบริจาควัคซีน 10% ขององค์กรเข้าระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (E-Donation) ของทางกรมสรรพากรตามเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคลที่ยื่นความประสงค์เข้ามา เมื่อได้รับการโอนเงินชำระค่าวัคซีนจากองค์กรเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

6. สำหรับโรงพยาบาลที่ขอรับการจัดสรรวัคซีนทางเลือกใดๆ จากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อนำไปจัดสรรต่อให้กับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการของโรงพยาบาล สามารถกำหนดอัตราค่าวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามความเหมาะสมโดยให้คำนึงถึงการเข้าถึงวัคซีนของส่วนรวมเป็นสำคัญ

7. อัตราค่าวัคซีนทางเลือกของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รวมประกันในการรักษาอาการข้างเคียงทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน (โดยเริ่มคุ้มครองเมื่อองค์กรอัพโหลดรายชื่อผู้ฉีดเข้าระบบ หรือโรงพยาบาลที่รับฉีดแทนได้ส่งชื่อผู้รับบริการเข้าระบบให้ทางราชวิทยาลัยและประกัน หากเกิดอาการแทรกซ้อนนก่อนหน้านั้น ทางโรงพยาบาลที่รับฉีดแทนจะเป็นผู้ดูแล)

 

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

]]>
1356921
ซีอีโอ ‘ไฟเซอร์-โมเดอร์นา’ มองโลกจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ใน 1 ปี อาจต้องฉีดวัคซีนทุกปี https://positioningmag.com/1353450 Mon, 27 Sep 2021 08:12:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353450 ซีอีโอของสองบริษัทผู้ลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลกอย่างไฟเซอร์เเละโมเดอร์นามีความเห็นตรงกันถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่าภายใน 1 ปี สังคมโลกจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ เเต่อาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี

Albert Bourla ซีอีโอของไฟเซอร์ (Pfizer) ให้สัมภาษณ์ในรายการ This Week ของ ABC ว่า ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 1 ปีนับจากนี้ แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่ เเละไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องฉีดวัคซีนอีก เพราะยังมีตัวแปรอื่นๆ อีกมาก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเป็นประจำทุกปี เพื่อรองรับไวรัสกลายพันธุ์

อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่า นี่เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น โดยต้องรอดูสถานการณ์และข้อมูลให้ชัดเจนมากขึ้น

ด้าน Stephane Bancel ซีอีโอของโมเดอร์นา (Moderna) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Neue Zuercher Zeitung ว่า การระบาดของโควิด-19 อาจจะสามารถสิ้นสุดลงได้ภายใน 1 ปีนับจากนี้ หากยังคงมีการผลิตเเละฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

โดยหากดูถึงอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรม ในด้านกำลังการผลิตวัคซีนเมื่อช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่ามีวัคซีนเพียงพอ’ ในกลางปีหน้า ซึ่งจะทำให้ทุกคนบนโลกสามารถเข้าถึงการฉีดวัคซีน เเละยังสามารถฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เป็นบูสเตอร์ช็อตได้หากมีความจำเป็น

ขณะเดียวกัน เขามองว่า กลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ก็จะได้รับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ จากมีตัวแปรสำคัญอย่างสายพันธ์ุเดลตาที่ติดต่อได้ง่าย ผู้ได้รับวัคซีนเเล้วอาจมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ เเต่กับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน จะมีความเสี่ยงติดเชื้อและอาจป่วยถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลมากกว่า

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เพิ่งจะอนุมัติให้สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของ Pfizer-BioNTech เป็นเข็มบูสเตอร์ช็อตได้ สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีอายุ 18-64 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ที่ทำงานในที่เสี่ยงภัย ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มมาแล้วเกิน 6 เดือน

ท่ามกลางข้อถกเถียงเรื่องการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเป็นข้อได้เปรียบของประเทศร่ำรวยเเละยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรก

ซีอีโอไฟเซอร์ ตอบคำถามถึงประเด็นนี้ว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สุดในตอนนี้คือความจำเป็นของเข็มกระตุ้น ซึ่งถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ต้องใช้

ก่อนหน้านี้ ไฟเซอร์คาดการณ์ยอดขายวัคซีนของบริษัทในปีนี้มากกว่า 2.6 หมื่นล้านเหรียญ เเละกำลังมองหาวิธีที่จะเพิ่มการผลิต โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ได้ 3 พันล้านโดสภายในปีนี้ และ 4 พันล้านโดสในปีหน้า

จากข้อมูลของ IQVIA Holdings ระบุว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก และวัคซีนเข็มต่อไปเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อาจมีมูลค่ารวมสูงถึง 1.57 เเสนล้านเหรียญในปี 2025

 

 

ที่มา : CNBC , Fox Business

]]>
1353450
หุ้น​ COVID-19 ตัวไหนปัง! พร้อมชี้เป้า ETF ลงทุนรับดีมานด์ทั่วโลก https://positioningmag.com/1347296 Sat, 21 Aug 2021 14:18:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347296
ตอนนี้…เวลานี้ ใครๆ ก็เรียกหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพราะพวกเรารู้ว่า วัคซีนจะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้โลกของเราเอาชนะโรคระบาดครั้งสำคัญนี้ได้ แต่การผลิตวัคซีน รวมไปถึงจัดสรรและกระจายตามความต้องการของแต่ละประเทศทั่วโลก ยังทำได้ไม่ทั่วถึง จำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก

อัปเดตถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประชากรในสัดส่วน 30.02% ทั่วโลกได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และสัดส่วน 15.7% คือประชากรที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ยังไม่ใช่สัดส่วนที่จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือทำให้แต่ละประเทศเปิดพรมแดนเพื่อออกเดินทางกันอีกครั้ง

กว่า 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงสิงหาคม 2564 ที่กระจายวัคซีนไปแล้วกว่า 4,480 ล้านโดสทั่วโลก ตราบใดที่เชื้อไวรัส COVID-19 ยังสามารถกลายพันธุ์ไปได้อีกหลายสายพันธุ์ ทำให้เกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็วและอาการมีความรุนแรงมากขึ้น การพัฒนาวัคซีนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก…มีความจำเป็นอย่างมาก

ถ้าเชื้อไวรัสนี้ยังอยู่ ความต้องการวัคซีนก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็น Recurring Demand เหมือนกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่เราฉีดทุกปี

นั่นหมายว่า การวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะไม่ได้จบเพียงเท่านี้ กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้น การลงทุนใหม่ๆ จะตามมา บริษัทไหนที่อยู่ในแวดวงวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีน…กำลังเป็นโอกาสลงทุนครั้งสำคัญ

หุ้นวัคซีน COVID-19 ราคาขึ้นแรง

รู้หรือไม่ว่า… โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนในแต่ละชนิด ใช้เวลาตั้งแต่ 5-10 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น จนกว่าจะผลิตวัคซีนมีคุณภาพที่ดี ซึ่งไม่ง่ายนัก… ที่จะเอาชนะโรคระบาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

แต่สำหรับ COVID-19 นับเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ห้วงเวลาการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนใช้เวลาไม่ถึง 9 เดือน ตัดขั้นตอนการทดสอบหลายระดับ ให้เหลือเพียง 3 ระยะ เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากพอในระดับที่สามารถใช้ได้ในร่างกายมนุษย์

Photo : Shutterstock

นอกจากนี้รัฐบาลแต่ละประเทศต่างเร่งรัดรับรองการใช้วัคซีน COVID-19 เป็นการฉุกเฉิน (Emergency Use) เพราะการแพร่ระบาดจนมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกรวมๆ กว่า 4.328 ล้านคน (ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564) ไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ

เมื่อเวลาไม่คอยท่า แต่ละบริษัทในกลุ่มบริการสุขภาพทั่วโลกต่างเร่งสปีดพัฒนาวัคซีน บางบริษัทได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาล จึงเป็นที่มาของวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน หรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่

1.Genetic Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ยีนของไวรัส หรือที่เรารู้จักกันว่า วัคซีน mRNA (Messenger RNA) ปัจจุบันมี 2 ผู้ผลิต ได้แก่ Pfizer (ร่วมกับ BioNTech ของเยอรมนี) และ Moderna จากสหรัฐฯ

โรคระบาด COVID-19 กลายเป็นตัวเร่งครั้งสำคัญที่ทำให้เกิดวัคซีน mRNA แรกของโลก โดยมีรายงานว่า ให้ประสิทธิภาพป้องกัน และไม่ทำให้เจ็บป่วยรุนแรงได้สูงถึง 94-95% [4]

vaccine covid-19 pfizer
Photo : Shutterstock

นอกจากนี้วัคซีน mRNA ยังมีรายงานด้วยว่า ยังมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ เช่น สายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) เป็นต้น

ส่งผลให้ความต้องการวัคซีน mRNA พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศต่างเร่งรัดส่งคำสั่งซื้อหลายล้านโดส เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด จนมีข่าวว่าภูมิภาคอาเซียนมียอดคำสั่งซื้อเต็มโควตาปี 2564 แล้ว หากต้องการจะสั่ง ต้องรอปีต่อไป [6]

สำหรับ 3 บริษัทที่พัฒนาวัคซีน มีราคาหุ้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ Moderna (+534.3%) BioNTech (+463.22%) และ Pfizer (+32.43%) (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

Photo : Shutterstock

ด้วยเหตุผลของประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA สูงพอที่จะป้องกันหลากหลายสายพันธุ์ของ COVID-19 ทำให้มีหลายบริษัทเตรียมที่จะพัฒนาวัคซีนประเภทนี้ด้วย เช่น

  • Sanofi จะลงทุน 400 ล้านยูโรเพื่อพัฒนาและผลิตวัคซีน mRNA เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับ COVID-19
  • Fosun Pharma เซ็นร่วมมือกับ BioNTech เพื่อผลิตวัคซีน mRNA ในจีน กำลังการผลิต 1,000 ล้านโดส ลงทุนร่วมกัน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่ก็มีรายงานว่า วัคซีน mRNA มีผลข้างเคียงเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Heart Inflammation) โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เพิ่มคำเตือนลงไปในฉลากวัคซีนด้วย

2. Viral Vector Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง และไม่ก่อให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของ COVID-19 ปัจจุบันมี 4 แบรนด์ที่พัฒนาวัคซีนประเภทนี้ ได้แก่ AstraZeneca (ร่วมกับ University of Oxford) จากสหราชอาณาจักร, Johnson & Johnson จากสหรัฐฯ, CanSino Biologics จากจีน และ Sputnik V (Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology) จากรัสเซีย

โดย AstraZeneca เป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ทั่วโลก เพราะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่โดสแรก และมีงานวิจัยฉีดผสมกับวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ด้วย

Astrazeneca Vaccine
Photo : Shutterstock

สำหรับวัคซีน Johnson & Johnson ที่ฉีดเพียงเข็มเดียว มีประสิทธิภาพสูงถึง 85% ส่วน AstraZeneca จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพ 82% และ Sputnik V จำนวน 2 โดส มีประสิทธิภาพสูงถึง 92%

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าวัคซีน Viral Vector มีรายงานเรื่องผลข้างเคียงคือ เกิดลิ่มเลือดในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย มาจากทั้ง AstraZeneca และ Johnson & Johnson แต่ก็ยังมีเปอร์เซ็นต์การเกิดไม่สูงมาก

สำหรับราคาหุ้นที่ผลิตวัคซีน Viral Vector ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มี CanSino Biologics ราคาเพิ่มขึ้น 69.58% และ Johnson & Johnson ราคาเพิ่มขึ้น 17.39% ส่วน AstraZeneca เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.86% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

3. Protein-based Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใส่ชิ้นส่วนโปรตีนของไวรัส เรียกอีกอย่างว่า Subunit Vaccine โดยบริษัทพัฒนาวัคซีนนี้ คือ Novavax จากสหรัฐฯ มีรายงานว่า ประสิทธิภาพการป้องกันสูงถึง 90%

ขณะนี้วัคซีนของ Novavax ยังไม่ได้มีสถานะการรับรองจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) FDA และสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) ของไทย คาดว่า เร็วๆ นี้ อาจจะมีความคืบหน้า มีการรับรองและอนุมัติแบบ Emergency Use

Photo : Shutterstock

ความหลากหลายของวัคซีน จะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกเข้าถึงวัคซีนได้ง่ายขึ้น เพราะภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อน บางคนอาจจะแพ้วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งได้ ดังนั้น Subunit Vaccine ของ Novavax จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการต่อสู้กับ COVID-19

ราคาหุ้นของ Novavax ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น สะท้อนมุมมองเชิงบวก และผลสำเร็จของวัคซีนเช่นเดียวกัน 28.96% (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564)

4. Whole-virus Vaccine

วัคซีนที่ถูกพัฒนาโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนลง หรือไม่ทำงาน เรียกอีกอย่าง Inactivated Virus Vaccine หรือ วัคซีนเชื้อตาย ปัจจุบันจีนยังเป็นประเทศหลักที่ผลิตวัคซีนประเภทนี้ เช่น CoronaVac (Sinovac Biotech) และ Sinopharm จากจีน และยังมี Covaxin (Bharat Biotech พัฒนาร่วมกับ Indian Council of Medical Research) จากอินเดีย

เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ทำการทูตวัคซีน จึงส่งออกวัคซีนทั้ง 2 แบรนด์ไปยังประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนาทั่วโลก ในรูปแบบทั้งขาย และบริจาค จึงทำให้วัคซีนเชื้อตาย ถูกฉีดให้กับประชาชนส่วนใหญ่ในเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

Photo : Shutterstock

สำหรับ Covaxin ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิก และยื่นขอการรับรองจาก WHO แต่กำลังประสบปัญหากับข้อตกลงส่งมอบวัคซีนกับประเทศในอเมริกาใต้ เช่น บราซิล ปารากวัย

ส่วนราคาหุ้น Sinopharm ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 9.67% (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564)

ในกลุ่มวัคซีนทั้ง 4 ประเภทนี้ มีการพัฒนามาแล้ว 21 แบรนด์ทั่วโลก และได้รับรอง Emergency Use ในบางประเทศ ส่วนที่ WHO รับรองแล้วมี 6 บริษัท ได้แก่ Pfizer-BioNTech Moderna AstraZeneca Johnson & Johnson Sinopharm และ Sinovac 

นอกจากนี้โรคระบาด COVID-19 ยังเป็นแรงส่งให้กับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์ ในการพัฒนาวัคซีนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ล่าสุดมีการพัฒนาวัคซีนชนิดพ่นจมูก (Intranasal) ของบริษัท Meissa ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนทดลองกับสัตว์ มีรายงานว่า สามารถป้องกันสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) และแอฟริกาใต้ (เบตา) ได้ โดยจะเป็นวัคซีนที่สามารถสร้างแอนติบอดีในระบบทางเดินหายใจ และหากจามออกมา จะไม่แพร่เชื้อ

หุ้นชุดตรวจ COVID-19 ที่น่าสนใจ

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนามาโดยตลอด ทำให้การตรวจ COVID-19 เบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองจากที่บ้าน โดยคุณไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการออกไปข้างนอก

คุณสามารถใช้ชุดตรวจแบบ Rapid Test เป็นชุดตรวจที่ทราบผลเร็วภายใน 30 นาที ปัจจุบันมีผู้ผลิตจากหลายๆ ชาติ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย ฟินแลนด์ และเกาหลีใต้ รวมทั้งมีการขึ้นทะเบียนรับรองการใช้งานนับสิบแบรนด์ในทุกประเทศ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.Rapid Antigen Test

ใช้ตรวจหาเชื้อ COVID-19 เพื่อประเมินการติดเชื้อเบื้องต้น โดยใช้การเก็บตัวอย่างด้วยการแยงไม้เข้าไปในโพรงจมูก ช่องคอ และน้ำลาย คล้ายคลึงกับการตรวจ RT-PCR (Real-time Polymerase Chain Reaction) ของโรงพยาบาล หากประเมินว่า ได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน จะได้ผลตรวจที่แม่นยำ

สำหรับไทย อย. เพิ่งประกาศให้ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจ ​​Rapid Antigen Test มาใช้เองได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ ไม่อนุญาตให้ซื้อขายตามร้านขายยา แต่ในหลายๆ ประเทศ ประชาชนสามารถหาซื้อได้เอง อย่างในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

Photo : Shutterstock

2. Rapid Antibody Test

ใช้ตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทาน COVID-19 โดยใช้วิธีเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือท้องแขน สามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้ในวันที่ 10 เป็นต้นไป นับจากที่คาดว่า ได้รับเชื้อ

การใช้ชุดตรวจ Rapid Antibody Test ผลที่ได้จะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์คัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้น เพราะการตรวจภูมิคุ้มกัน COVID-19 ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว การฉีดวัคซีนป้องกัน และผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคนี้ สามารถตรวจพบภูมิต้านทานที่เพิ่มขึ้นได้

Photo : Shutterstock

ปัจจุบัน อย. ไทย ยังไม่รับรองให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงชุดตรวจ Rapid Antibody Test แต่จะอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ใช้ตรวจได้เท่านั้น ส่วนประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดตรวจนี้ได้

ตัวอย่างหุ้นบริษัทที่ผลิตชุดตรวจที่น่าสนใจ บางรายเป็นผู้ผลิตทั้ง Rapid Antigen Test และ Rapid Antibody Test ได้แก่ Abbott Laboratories จากสหรัฐฯ ราคาหุ้นได้รับอานิสงส์จาก COVID-19 เพิ่มขึ้นเป็น 22.65% ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่  11 สิงหาคม 2564) โดยได้ผลิตชุดตรวจ Rapid Antigen Test แบบการ์ด ด้วยราคาเพียง 5 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมแสดงผลภายใน 15 นาทีผ่านแอปพลิเคชัน ส่วน Roche จากสวิตเซอร์แลนด์ ราคาเพิ่มขึ้น 16.32% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ชี้เป้า ETF ลงทุนหุ้น COVID-19

เชื้อ COVID-19 ค้นพบครั้งแรกในจีนเมื่อปลายปี 2563 จนตอนนี้ระยะผ่านมานานกว่า 1 ปีครึ่ง ทั่วโลกยังเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดหลายระลอก

บางประเทศคุมได้เร็ว แต่ก็ยังกลับมาระบาดได้อีก บางประเทศเลือกที่จะเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้สัดส่วนมากกว่า 70% ของประชากร มีเป้าหมายให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะคลายมาตรการล็อกดาวน์ เปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเปิดการท่องเที่ยว

ขณะที่หลายๆ ประเทศพยายามสั่งจองวัคซีนหลายล้านโดส จากหลายๆ แบรนด์ผู้ผลิต เพื่อมาฉีดให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดได้ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับประชาชน จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

มิฉะนั้น…จะเปิดประเทศไม่ได้ จะเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ได้ เศรษฐกิจเสียหายหนักและใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนเกิด COVID-19

Photo : Shutterstock

แม้วัคซีนเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่เรายังคาดการณ์ไม่ได้ว่า โลกจะเอาชนะ COVID-19 ได้หรือไม่ หรือจะต้องเผชิญกับการแพร่ระบาด รวมทั้งไวรัสกลายพันธุ์ไปจนถึงเมื่อไร

มันเป็นวิกฤตของโลกที่กำลังสะเทือนเศรษฐกิจทุกประเทศ ในทางกลับกัน…โอกาสการลงทุนก็อยู่กับบริษัทที่พัฒนาและผลิตวัคซีน ยาต้านไวรัส และชุดตรวจ Rapid Test รวมทั้งถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

อย่างที่เราได้รวบรวมข้อมูลหุ้นวัคซีนและชุดตรวจ COVID-19 วัดกันที่ราคาหุ้นระยะสั้น ส่วนใหญ่มีทิศทางที่ดีจากการพัฒนาวัคซีนได้สำเร็จ มียอดสั่งซื้อจากทั่วโลก และการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ๆ รวมไปถึงการคิดค้นชุดตรวจที่แสดงผลรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ธุรกิจบริการสุขภาพ และเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างจีโนมิกส์  จึงมีความน่าสนใจมากในยุค New Normal นี้ โดย Jitta Wealth ได้คัดเลือก ETF 2 กอง เข้ามาเป็นตัวแทนของธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ในกองทุนส่วนบุคคล Thematic อย่างธีมสุขภาพ (Healthcare) และธีมจีโนมิกส์ (Genomics) ที่ได้รับอานิสงส์จากวิกฤต COVID-19 ด้วย

Photo : Shutterstock

ธีมสุขภาพ มี iShares Global Healthcare ETF (IXJ) ลงทุนในหุ้นธุรกิจบริการสุขภาพทั่วโลกประมาณ 110 บริษัท เป็น Passive Fund โดยมีดัชนีอ้างอิง S&P Global 1200 Healthcare Sector Index ลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตจากวิกฤต COVID-19 เช่น บริษัท Johnson & Johnson บริษัท Pfizer บริษัท Moderna บริษัท AstraZeneca บริษัท Sanofi บริษัท Abbott Laboratories และ Roche

ผลตอบแทนของ IXJ

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +21.87%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.26%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (13 พฤศจิกายน 2544) อยู่ที่ +374.37%

ธีมจีโนมิกส์ มี iShares Genomics Immunology and Healthcare ETF (IDNA) ลงทุนในหุ้นที่พัฒนานวัตกรรมจากระบบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต วินิจฉัยโรคในระดับยีน และลงลึกไปถึงระบบภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งการพัฒนาวัคซีน mRNA คือ การใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ด้วย

IDNA เป็น Passive Fund โดยมีอ้างอิง 2 ดัชนี คือ NYSE FactSet Global Genomics และ Immuno Biopharma Index ลงทุนหุ้นที่พัฒนาวัคซีน mRNA เช่น บริษัท Moderna บริษัท BioNTech และบริษัท Sanofi

ผลตอบแทนของ IDNA

  • ย้อนหลัง 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 – 31 กรกฎาคม 2564) อยู่ที่ +34.49%
  • ปี 2564 (1 มกราคม – 11 สิงหาคม 2564) อยู่ที่ +13.17%
  • นับตั้งแต่จัดตั้ง ETF (11 มิถุนายน 2562) อยู่ที่ +115.01%

สำหรับ การลงทุนในธุรกิจบริการสุขภาพในจีน ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และเป็นผู้พัฒนาวัคซีนจำนวนมหาศาลของโลกเช่นเดียวกับสหรัฐฯ กองทุนส่วนบุคคล Thematic ของ บลจ. จิตต เวลธ์ มีธีมตลาดหุ้นจีน iShares MSCI China ETF (MCHI) ที่ลงทุนในหุ้น Sinopharm และ CanSino Biologics ด้วย

]]>
1347296
ผลวิเคราะห์ชี้ 5 ใน 6 ประเทศที่มีการ ‘ติดเชื้อโควิดสูง’ ได้รับ ‘วัคซีนจีน’ https://positioningmag.com/1341457 Fri, 09 Jul 2021 06:33:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341457 การวิเคราะห์ของเว็บไซต์ CNBC ระบุว่า ในบรรดาประเทศที่มี ‘อัตราการฉีดวัคซีนสูง’ และ ‘อัตราการติดเชื้อ COVID-19 สูง’ ส่วนใหญ่พึ่งพา ‘วัคซีนที่ผลิตในประเทศจีน’ โดยการหาข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพวัคซีนจากจีน เนื่องจากการมาของตัวแปรเดลต้าที่แพร่เชื้อได้ดีกว่า

CNBC ระบุ 36 ประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่มากกว่า 1,000 รายต่อล้านคน ณ วันที่ 6 กรกฎาคม โดยใช้ตัวเลขจาก Our World in Data ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงองค์การอนามัยโลก รัฐบาล และนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด จากนั้น CNBC ระบุประเทศในกลุ่ม 36 ที่มีประชากรมากกว่า 60% ได้รับวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 โดส

จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโควิดรายสัปดาห์ซึ่งปรับตามจำนวนประชากรยังคง เพิ่มสูงขึ้น ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลกอย่างน้อย 6 ประเทศ และ 5 ประเทศ ในนั้นต้อง พึ่งพาวัคซีนจากประเทศจีน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เซเชลส์, มองโกเลีย, อุรุกวัย และชิลี ส่วนอีกหนึ่งประเทศหนึ่งที่เหลือคือ สหราชอาณาจักรที่ไม่ได้รับวัคซีนจากจีนเป็นหลัก

  • มองโกเลีย เปิดเผยว่าประเทศได้รับวัคซีน 2.3 ล้านโดส เป็น Sinopharm ตามด้วย สปุตนิก วี ของรัสเซีย 80,000 โดส และ Pfizer-BioNTech ประมาณ 255,000 โดส
  • ชิลี ฉีดวัคซีน 16.8 ล้านโดสจาก Sinovac Biotech ได้ Pfizer-BioNTech 3.9 ล้านโดส และวัคซีนอีก 2 ชนิดในปริมาณที่น้อยกว่า 2 รายแรก
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เซเชลส์ พึ่งพาวัคซีน Sinoarm อย่างมากในช่วงเริ่มต้น แต่แต่ละแห่งเพิ่งเปิดตัววัคซีนอื่น ๆ
  • อุรุกวัย มีวัคซีนของ Sinovac เป็นหนึ่งในสองวัคซีนที่ใช้กันมากที่สุด ร่วมกับ Pfizer-BioNTech
  • สหราชอาณาจักร ได้วัคซีน Moderna, AstraZeneca-Oxford, Pfizer-BioNTech และ Janssen ผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแพร่กระจายของโรคเดลต้าที่แพร่ระบาดมากขึ้น

ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เพราะ วัคซีนไม่ได้ให้การป้องกัน 100% ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนยังสามารถติดเชื้อได้ ในเวลาเดียวกัน ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถเจาะภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ดีขึ้น

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

อย่างไรก็ตาม นักระบาดวิทยามองว่า ประเทศต่าง ๆ ไม่ควรหยุดใช้วัคซีน จากประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่จำนวนของวัคซีนมีจำกัดในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยหลายประเทศที่อนุมัติวัคซีนโดย Sinopharm และ Sinovac ส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ร่ำรวยกว่าสำหรับวัคซีนที่พัฒนาในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แม้จะบอกว่าไม่ควรหยุดใช้วัคซีนจากจีน แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา คอสตาริกาปฏิเสธการส่งมอบวัคซีนที่พัฒนาโดยซิโนแวค หลังจากสรุปว่าไม่ได้ผลเพียงพอ แม้องค์การอนามัยโลกอนุมัติวัคซีนจาก Sinopharm และ Sinovac เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินก็ตาม

ทั้งนี้ ประสิทธิผลของวัคซีนจีนทั้งสองชนิดนั้นมีผลออกมาว่าต่ำกว่าของ Pfizer – BioNTech และ Moderna ซึ่งทั้งสองวัคซีนมีประสิทธิภาพมากกว่า 90% โดยวัคซีนของ Sinopharm มีประสิทธิภาพ 79% ในการต่อต้านการติดเชื้อโควิดตามอาการ WHO กล่าว แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนในบางกลุ่ม เช่น คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังไม่ชัดเจน ประสิทธิภาพของการยิง Sinovac นั้นอยู่ระหว่างประมาณ 50-80% ขึ้นอยู่กับประเทศที่ถูกจัดขึ้นในการทดลอง

Source

]]>
1341457
ผู้ผลิตวัคซีน อาจโกยรายได้ปีนี้ เกือบ 6 ล้านล้านบาท ‘ซิโนฟาร์ม-ซิโนแวค’ สัดส่วน 25% https://positioningmag.com/1334373 Fri, 28 May 2021 08:30:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334373 ในปีนี้ บริษัทวิจัยประเมินว่า บรรดาผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก อาจทำรายได้สูงสุดเเตะ 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 6 ล้านล้านบาท โดยสองบริษัทจีนอย่าง Sinopharm (ซิโนฟาร์ม) เเละ Sinovac (ซิโนเเวค) โกยสัดส่วนรายได้ไปถึง 25%

Airfinity บริษัทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ รายงานตัวเลขคาดการณ์รายได้จากการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19’ ของ 9 บริษัทใหญ่ เช่น Pfizer (ไฟเซอร์) เเละ Moderna (โมเดอร์นา) ของสหรัฐฯ Sinovac Biotech และ Sinopharm Group ของจีน

โดยระบุว่า กรณีการผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้ผลิตวัคซีนทั้งหลายจะทำรายได้ราวสูงสุดถึง 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ สองบริษัทจากประเทศจีน จะมีสัดส่วนรายได้อย่างน้อย 1 ใน 4 (ราว 25%)

เเต่หากเกิดข้อจำกัดด้านการผลิตและปัญหาการขาดแคลน อาจทำให้ตัวเลขรายได้ของปีนี้ ลดลงมาอยู่ที่ 115,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.59 ล้านล้านบาท)

วัคซีนโควิด-19 ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนของรัฐบาลต่างๆ เพื่อฟื้นฟูสังคม และหลีกเลี่ยงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่จะเสียหายหลายล้านล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงวัคซีนของประเทศยากจนหลายแห่ง ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากภาระค่าใช้จ่าย และการกักตุนวัคซีนในประเทศร่ำรวย

Rasmus Bech Hansen ซีอีโอของ Airfinity ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่านี่เป็นตลาดที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตัวเลขเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถจัดหาวัคซีนที่จำเป็นได้ เพราะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อฉีดวัคซีนให้ประชากรทั้งหมด

Photo : Shutterstock

Airfinity ย้ำว่า การคาดการณ์รายได้ ขึ้นอยู่กับราคาและการที่บริษัทต่างๆ จะบรรลุเป้าหมายการผลิตและการจัดส่งหรือไม่ โดยขณะนี้มีบางบริษัทกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่

ปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้จำนวนวัคซีนที่ผลิตได้จริงในปีนี้ น้อยกว่าที่เหล่าผู้ผลิตคาดการณ์ไว้ถึง 42% เเละอาจทำให้รายได้รวม ลดลงเหลือเพียง 97,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ยกตัวอย่าง เช่น การผลิตวัคซีนของ Novavax (โนวาเเวกซ์) ในสหรัฐฯ ที่ประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 2,000 ล้านโดสในปีนี้ แต่ทาง Airfinity ประเมินว่าจะสามารถผลิตได้เพียง 400 ล้านโดส

จีนกำลังมีบทบาทสำคัญในการกระจายวัคซีนทั่วโลก หลังคู่เเข่งอย่างอินเดียต้องเจอกับวิกฤตการระบาดขั้นสาหัสทำให้ต้องระงับการส่งออกวัคซีนไปต่างประเทศชั่วคราว

Airfinity ประเมินว่า บริษัทจีนอย่าง Sinovac อาจทำรายได้จากการจำหน่ายวัคซีนมากถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Sinopharm จะทำได้ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองบริษัท ทำรายได้ไปแล้วอย่างน้อยแห่งละ 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่ผ่านมา เราเคยมองว่าการส่งออกวัคซีนของจีนเป็นเครื่องมือนโยบาย ทำให้ตัวเลขรายได้ที่เเท้จริงกลับถูกมองข้ามไปจริงๆ เเล้วราคาวัคซีนของจีนไม่ได้ถูกขนาดนั้น” Bech Hansen กล่าวว่า 

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

ด้านรายได้ของ Pfizer และ Moderna บริษัทวิจัยประเมินว่า อาจทำรายได้ถึง 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ แต่ตัวเลขจริงอาจจะลดลงกว่านั้น

โดย Pfizer เองตั้งเป้าจะจำหน่ายวัคซีนที่ร่วมพัฒนากับ BioNTech ของเยอรมนีได้ราว 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Moderna ตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ราว 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับราคาของวัคซีนเเต่ละเจ้า ตามรายงานของ Airfinity ระบุว่า

  • Sinovac และ Sinopharm อยู่ที่โดสละ 12-23 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-720 บาท) 
  • Pfizer อยู่ที่โดสละ 12-14.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-453 บาท)
  • Moderna อยู่ที่โดสละ 18-32 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 563 – 1,000 บาท)
  • AstraZeneca อยู่ที่โดสละ 3.50-5.25 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 109 – 164 บาท)

ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขายวัคซีนที่เเตกต่างกันทำให้คาดการณ์ตัวเลขยอดขายได้ยาก เนื่องจากผู้ผลิตจะกำหนดราคา ตามระดับรายได้ของประเทศนั้นๆ เช่นกลุ่มลูกค้าประเทศร่ำรวย บริษัทจะขายให้เเพงกว่าประเทศรายได้ต่ำหรือปานกลางนั่นเอง

 

 

ที่มา : Bloomberg

 

]]>
1334373
‘ญี่ปุ่น’ อาจแบ่งวัคซีนให้ ‘ไต้หวัน’ หลังมีวัคซีนมากกว่าความต้องการ ‘2 เท่า’ https://positioningmag.com/1334323 Fri, 28 May 2021 06:44:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334323 ก่อนหน้านี้ ‘ญี่ปุ่น’ ต้องเจอกับปัญหาการจัดการ ‘ฉีดวัคซีน’ ป้องกัน COVID-19 ได้ล่าช้า แม้จะเป็นประเทศที่มีวัคซีนมากสุดในเอเชีย ซึ่งสาเหตุนั้นทำให้อาจต้องทิ้งวัคซีนนับหมื่นโดสเพราะหมดอายุ และตอนนี้ญี่ปุ่นเพิ่งได้วัคซีนของ AstraZeneca ซึ่งยังมีความกังวลเรื่อง ‘ลิ่มเลือดอุดตัน’ จนไม่มีแผนที่จะฉีดเร็ว ๆ นี้ และอาจแบ่งให้ ‘ไต้หวัน’ ที่กำลังขาดแคลน

ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นสั่งจองวัคซีน COVID-19 มากกว่า 400 ล้านโดส ซึ่ง มากกว่าความต้องการสำหรับประชากรผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า และถือเป็นประเทศที่มีวัคซีนมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ขณะที่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเริ่มจะพิจารณาแบ่งปันวัคซีนให้กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกนั้นก็คือ ‘ไต้หวัน’

“ญี่ปุ่น” อาจต้องทิ้งวัคซีนนับหมื่นโดส เหตุฉีดล่าช้าไม่ทันก่อนหมดอายุสิ้นมิ.ย.

ปัจจุบัน ไต้หวันกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่มีประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนเพียง 1% เท่านั้น ขณะที่กระทรวงต่างประเทศของไต้หวันระบุว่า รัฐบาลกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อขอรับวัคซีนผ่านทางผู้ผลิตหรือโครงการแบ่งปันทั่วโลกของ COVAX

“เราคิดว่าสิ่งสำคัญคือ ต้องดูแลให้มีการเข้าถึงวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในทุกประเทศอย่างเป็นธรรม เราจะพิจารณาและพิจารณาแนวทางที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับวิธีที่เราจัดหาวัคซีนให้กับประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ ที่เกินจำนวน” คัตสึโนบุ คาโตะ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าว

มาซาฮิสะ ซาโตะ หัวหน้าคณะกรรมการฝ่ายไต้หวันสัมพันธ์ กล่าวว่ารัฐบาลควรจัดหาวัคซีนให้ไต้หวันโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อตอนที่หน้ากากอนามัยขาดแคลนในญี่ปุ่น ไต้หวันก็ได้ส่งหน้ากากอนามัยให้เรา 2 ล้านชิ้น”

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้อนุมัติวัคซีนของ AstraZeneca เมื่อสัปดาห์ที่แล้วและได้ทำสัญญาซื้อ 120 ล้านโดส แต่ยังไม่มีแผนที่จะใช้การในประเทศทันที เนื่องจากมีความกังวลที่เกิดขึ้นในระดับสากลเกี่ยวกับการอุดตันของเลือด ขณะที่วัคซีนของ AstraZeneca ได้เริ่มบรรจุขวดวัคซีนในเดือนมีนาคม โดยคลังสินค้าคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านโดส ซึ่งจะหมดอายุภายในเดือนกันยายนหากไม่ได้ใช้

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะเก็บวัคซีนของ AstraZeneca ไว้บางส่วนเพื่อนำมาฉีดให้แก่ประชาชนที่แพ้วัคซีนของ Pfizer หรือ Moderna และบริจาควัคซีนที่เหลือให้แก่ประเทศอื่น ๆ ขณะที่ไต้หวันมีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 สะสมทะลุ 5 พันกว่าราย ส่วนกรุงไทเป-นครนิวไทเปกำลังการแพทย์ไม่เพียงพอ

Source

]]>
1334323