Qantas – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 13 Sep 2023 04:10:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยังฉาวต่อ ศาลสูงออสเตรเลียตัดสิน Qantas เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายช่วงโควิด ละเมิดกฎหมายแรงงาน https://positioningmag.com/1444099 Wed, 13 Sep 2023 03:48:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444099 สายการบินเบอร์ใหญ่ของออสเตรเลียอย่าง Qantas ล่าสุดยังมีข่าวฉาวอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ศาลสูงออสเตรเลียตัดสิน Qantas เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายช่วงโควิด ถือว่าละเมิดกฎหมายแรงงาน แม้ว่าบริษัทจะจ้างพนักงานเหล่านี้กลับมาในฐานะพนักงานชั่วคราวก็ตาม

สายการบินชื่อดังของออสเตรเลียอย่าง Qantas ล่าสุดยังมีมรสุมกระหน่ำบริษัทต่อ เมื่อศาลสูงสุดของออสเตรเลียได้ตัดสินว่าบริษัทได้เลิกจ้างพนักงาน 1,700 รายอย่างผิดกฎหมายช่วงโควิด แล้วได้จ้างงานกลับในฐานะพนักงานชั่วคราว (Outsource)

ศาลสูงออสเตรเลียได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า Qantas ได้เลิกจ้างพนักงานที่สนามบิน 10 แห่งจำนวน 1,700 ราย อย่างผิดกฎหมายในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 ซึ่งในคำตัดสินพบว่าสายการบินรายนี้ได้ละเมิดกฎหมาย Fair Work Act ของออสเตรเลีย ซึ่งคุ้มครองสิทธิของพนักงาน

สายการบินชื่อดังของออสเตรเลียได้ไล่พนักงานจัดการสัมภาระและพนักงานทำความสะอาดของสนามบิน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวออสเตรเลียพบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และธุรกิจของ Qantas กำลังประสบปัญหาการขาดทุนเนื่องจากการปิดพรมแดน

ศาลสูงแห่งออสเตรเลียยืนยันคำตัดสินว่าแม้ Qantas จะมีเหตุผลทางธุรกิจที่ดี แต่สำหรับการปลดพนักงานแล้วจ้างกลับในฐานะพนักงานชั่วคราวครั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้พนักงานขาดสิทธิในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองรวมถึงการเจรจาต่อรอง

แถลงการณ์ดังกล่าวของ Qantas ได้กล่าวว่า บริษัทเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผลกระทบส่วนบุคคลจากการตัดสินใจจ้างบุคคลภายนอกที่มีต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ และบริษัทขออภัยอย่างจริงใจ

ด้านสหภาพแรงงานขนส่งในออสเตรเลียกล่าวว่า การตัดสินคดีดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์ว่าคณะกรรมการของ Qantas ทั้งหมดจะต้องถูกแทนที่ด้วยคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งรวมถึงตัวแทนพนักงานของสายการบินด้วย และมองว่าการต่อสู้ดังกล่าวเหมือนกับ “คนตัวเล็กที่ล้มยักษ์”

ก่อนหน้านี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Alan Joyce ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ Qantas มานานถึง 15 ปีได้ประกาศเกษียณตัวเองจากตำแหน่งก่อนเวลา ท่ามกลางข่าวฉาวของสายการบินจากการขายตั๋วเครื่องบินมากถึง 8,000 เที่ยวบินที่ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ

นอกจากนี้ยังมีข่าวอื่นๆ อย่างเช่น การคืนเครดิตสำหรับลูกค้าที่จองเที่ยวบินในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นสายการบินกลับกำหนดไว้ว่าอายุของเครดิตนั้นจะหมดภายในสิ้นปี 2023 นี้ หรือแม้แต่การล็อบบี้รัฐบาลออสเตรเลียไม่ให้ Qartar Airways เพิ่มเที่ยวบินเข้ามาในประเทศ

ข่าวดังกล่าวถือว่าเป็นภาระอันหนักหน่วงของ CEO สายการบินคนใหม่อย่าง Vanessa Hudson ที่จะต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นของ Qantas กลับมาหลังจากนี้ 

ที่มา – ABC, BBC, The Guardian

]]>
1444099
ซีอีโอสายการบิน “Qantas” เกษียณก่อนกำหนด ท่ามกลางข่าวฉาว “ขายตั๋วไฟลท์บินที่ยกเลิกไปแล้ว” https://positioningmag.com/1443549 Tue, 05 Sep 2023 10:50:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443549 Reuters รายงานข่าวซีอีโอ “Qantas” สายการบินสัญชาติออสเตรเลีย ชิงขอเกษียณก่อนกำหนด 2 เดือน ท่ามกลางข่าวฉาวการขายตั๋วเครื่องบินผิดกฎหมาย จนทำให้ภาพลักษณ์สายการบินตกต่ำอย่างมาก

“Alan Joyce” นั่งตำแหน่งซีอีโอ Qantas มานานถึง 15 ปี และมีคิวจะเกษียณอายุในเดือนพฤศจิกายน 2023 ทว่า ล่าสุดเขาประกาศว่าจะเกษียณก่อนกำหนด 2 เดือน เนื่องมาจาก “การมุ่งความสนใจมาที่ Qantas และเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต” โดยไม่ได้แจกแจงชัดเจนว่าหมายถึงเหตุการณ์ใด

เมื่อ 5 วันก่อนหน้านี้ กลุ่มเฝ้าระวังผู้บริโภคของออสเตรเลียรวมตัวกันฟ้องร้อง Qantas จากเหตุการณ์เมื่อกลางปี 2022 ที่สายการบิน Qantas จงใจ “ขายตั๋วเครื่องบิน” ในไฟลท์บินประมาณ 8,000 เที่ยวบิน ที่สายการบินทราบดีว่า “ถูกยกเลิกไปแล้ว” ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ หลังจากนั้น Qantas ออกแถลงการณ์ขออภัย 2 ครั้ง

สายการบิน Qantas ระบุว่า การลงจากตำแหน่งของ Joyce จะช่วยให้สายการบินสามารถ “เร่งการเปลี่ยนแปลงใหม่” ได้เร็วขึ้น เป็นการให้สัญญาณว่าบริษัทกำลังโค้งคำนับขอโทษแก่สาธารณะ

กว่าทศวรรษครึ่งที่ Joyce ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด ก่อนหน้าที่จะมีเหตุการณ์ขายตั๋วไฟลท์บินที่ไม่มีอยู่จริงนี้เสียอีก ข่าวฉาวเรื่องหนึ่งที่เป็นข่าวดังคือ Qantas เข้าไปล็อบบี้รัฐบาลกลางออสเตรเลียจนสำเร็จ เพื่อป้องกันไม่ให้คู่แข่งอย่าง Qatar Airways เพิ่มจำนวนเที่ยวบินเข้าออกออสเตรเลียได้

ต่อมาสายการบินก็ถูกวิจารณ์อีก เพราะเหตุเรื่อง “เครดิตเงินคืน” ที่คืนให้ลูกค้าที่จองเที่ยวบินในช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 สายการบินออกนโยบายวางกำหนดหมดอายุของเครดิตเหล่านี้ภายในสิ้นปี 2023 มูลค่าความเสียหายรวมเกือบ 500 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 11,300 ล้านบาท) แต่ต่อมาหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลดำเนินการฟ้องร้องจนสายการบินต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายให้เครดิตเงินคืนเหล่านั้นสามารถเคลมได้โดยไม่มีวันหมดอายุ

เมื่อเดือนที่แล้วนี่เอง Qantas เพิ่งจะประกาศว่าบริษัทกลับมาทำกำไรได้แล้ว หลังจากผ่าน 3 ปีที่ขาดทุนเนื่องจากโควิด-19

การนำทัพของ Joyce เป็นที่พึงพอใจของกลุ่มนักลงทุนเสมอมา เพราะเขาเน้นทำผลกำไรให้กับบริษัทเป็นหลัก แต่ล่าสุดข่าวฉาวที่ทับซ้อนครั้งแล้วครั้งเล่าก็เริ่มทำให้นักลงทุนกังวล ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2023 ราคาหุ้น Qantas ร่วงลงมาแล้ว 13% เพราะนักลงทุนเริ่มมองว่าบริษัททำกำไรสูงสุดได้ก็จริงแต่สร้างขึ้นจากการกัดกร่อนชื่อเสียงระยะยาวของตัวเอง

“มรดกของ Alan Joyce ที่ Qantas นั้น เปรียบเสมือนแบรนด์ที่หมายถึงการจ่ายเงินเดือนต่ำ, การงานไม่มั่นคง, เลย์ออฟผิดกฎหมาย และขูดเลือดขูดเนื้อผู้บริโภค” Tony Sheldon สมาชิกวุฒิสภาออสเตรเลีย และอดีตหัวหน้าสหภาพแรงงานขนส่ง กล่าว “คณะกรรมการบริษัทหนุนหลังพฤติกรรมของ Joyce มาทุกย่างก้าว พวกเขาควรจะต้องร่วมรับผิดชอบไปเท่าๆ กันด้วย”

Qantas ไม่อนุญาตให้ Reuters สัมภาษณ์ “Richard Goyder” ประธานกรรมการบริษัท แต่เขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Australian Financial Review ว่า “นี่เป็นห้วงเวลาของการอ่อนน้อมถ่อมตน และผมคิดว่าคุณจะได้เห็นสิ่งเหล่านั้นมากมายจากนี้”

การเกษียณก่อนกำหนดของ Joyce จะมีผู้บริหารคนใหม่ “Vanessa Hudson” ขึ้นเป็นซีอีโอแทน และถือเป็นซีอีโอหญิงคนแรกของสายการบินที่มีอายุร่วมศตวรรษแห่งนี้

Source

]]>
1443549
สายการบิน Qantas วางแผนให้ “วอชเชอร์-คะแนนสะสม” กระตุ้นชาวออสซี่ฉีดวัคซีน https://positioningmag.com/1334396 Fri, 28 May 2021 11:44:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334396 Qantas วางแผนกระตุ้นให้ชาวออสเตรเลียฉีดวัคซีน ด้วยการให้ “วอชเชอร์-คะแนนสะสม” ผู้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว หวังผลระยะยาวทำให้ประเทศเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ฟื้นธุรกิจท่องเที่ยว เนื่องจากขณะนี้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ในเมลเบิร์น แต่ชาวออสซี่ยังลังเลที่จะฉีดวัคซีนเพราะกลัวผลข้างเคียง

สายการบิน Qantas กำลังพิจารณาแผนให้วอชเชอร์เดินทางและคะแนนสะสมสำหรับสมาชิก เพื่อกระตุ้นให้ชาวออสซี่ไปฉีดวัคซีนกันมากขึ้น

“Qantas เป็นผู้สนับสนุนใหญ่ของแผนการกระจายวัคซีนในออสเตรเลีย เหตุผลไม่ใช่เฉพาะเรื่องสุขอนามัยสาธารณะ แต่ยังเป็นเพราะสิ่งนี้จะเป็นกุญแจที่ช่วยให้การเดินทางภายในประเทศยังทำได้อยู่ และเป็นหนทางไปสู่การเริ่มต้นการท่องเที่ยวระหว่างประเทศอย่างปลอดภัยด้วย” สเตฟานี ทุลลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผู้ใช้บริการของ Qantas กล่าว

“เรายังหารือกันอยู่ว่าจะทำให้แรงจูงใจตรงนี้ได้ผลได้อย่างไร อาจจะเป็นการให้คะแนนสะสม หรือให้วอชเชอร์ทั้งสายการบิน Qantas และสายการบิน Jetstar” ทุลลีกล่าวเสริม

ความเป็นไปได้ขณะนี้คือการให้คะแนนสะสม Qantas 1,000 คะแนนแก่ผู้ที่รับวัคซีนครบแล้ว

ประชาชนในเมลเบิร์นสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ ภาพเมื่อเดือนพ.ย. 2020 (Photo : Shutterstock)

สายการบินยังระบุด้วยว่า การมีอัตราการฉีดวัคซีนที่มากขึ้น จะทำให้นักบิน ผู้ให้บริการบนเครื่องบิน พนักงานภาคพื้น ตลอดจนเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าของบริษัท สามารถกลับมาทำงานได้ ดังนั้น สายการบินจึงกระตือรือร้นที่จะให้ความช่วยเหลือต่อแผนการฉีดวัคซีนของชาติ

สำหรับการใช้บริการสายการบิน Qantas เดินทางไปต่างประเทศในอนาคต ผู้โดยสารจะต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนก่อนเดินทาง แม้ว่ารัฐบาลออสเตรเลียจะไม่ได้บังคับให้ประชาชนทุกคนฉีดวัคซีนก็ตาม

ปัจจุบัน แดนจิงโจ้กำลังเผชิญปัญหาความหวาดกลัวผลข้างเคียงจากวัคซีน และด้วยจำนวนเคสผู้ติดเชื้อที่ต่ำ ยิ่งทำให้การฉีดวัคซีนให้ประชาชนล่าช้า จนรัฐบาลเริ่มต้องหารือถึงการให้แรงจูงใจเพิ่มเพื่อให้คนมาฉีดวัคซีนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดออสเตรเลียมีคลัสเตอร์ใหม่ มีผู้ติดเชื้อสะสมใหม่ 26 รายในเมลเบิร์นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนรัฐวิกตอเรียรีบประกาศล็อกดาวน์เป็นเวลา 7 วัน และรัฐอื่นๆ จำกัดการเดินทางเข้าออกรัฐวิกตอเรียทันที โดยการล็อกดาวน์ของรัฐวิกตอเรียมีกฎที่เข้มงวด เช่น อนุญาตให้ออกจากบ้านด้วยเหตุผล 5 ข้อเท่านั้น คือ ซื้อของใช้จำเป็น ไปทำงานหรือเรียนที่รัฐอนุญาต ออกกำลังกายโดยให้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง ไปพบแพทย์ และไปฉีดวัคซีน

คลัสเตอร์ใหม่ของวิกตอเรียเกิดขึ้นจากชายวัย 30 กว่าปีคนหนึ่งแอบหลบออกจากสถานที่กักตัวในโรงแรมทางใต้ของออสเตรเลียและเดินทางเข้ารัฐวิกตอเรีย แม้จะมีเคสแค่สองหลักแต่รัฐรีบล็อกดาวน์ก่อนเพราะพบว่าเคสที่มีปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่ถึง 79 แห่ง

Source

]]>
1334396
สายการบิน Qantas เจอมรสุมใหญ่ในรอบ 100 ปี พิษไวรัสทำขาดทุนหนัก 4 หมื่นล้านบาท https://positioningmag.com/1293537 Thu, 20 Aug 2020 11:59:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293537 ธุรกิจการบินยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละใช้เวลานาน ล่าสุด สายการบินเเห่งชาติของออสเตรเลียอย่าง Qantas ประสบภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ นับเป็นวิกฤตหนักที่สุดในรอบ 100 ปี  พร้อมมองว่าไม่น่าจะกลับมาบินระหว่างประเทศได้ทันก่อนเดือนก.. 2021 นี้

Alan Joyce ซีอีโอของ Qantas สายการบินแห่งชาติของออสเตรเลีย เปิดเผยผลประกอบการของบริษัทในปีงบประมาณ 2563 สิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 มิ..ที่ผ่านมาว่า ขาดทุนสุทธิ 1,960 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 4.4 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่เเล้ว ที่เคยทำกำไร  ถึง 840 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 1.8 หมื่นล้านบาท) ซึ่งความเปลี่ยนเเปลงนี้ถือว่าเป็นการสูญเสียรายได้มากถึง 91% เลยทีเดียว

โดยการดำเนินงานระหว่างเดือนเม.. ถึง มิ..ที่ผ่านมา นับว่าเป็นช่วงที่หนักหนาสาหัสที่สุด ตั้งเเต่มีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 จากการที่รัฐบาลทั่วโลกรวมถึงออสเตรเลีย ต้องเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการล็อกดาวน์

สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง 2020 นั้น ซีอีโอ Qantas บอกว่าเป็นเงื่อนไขในสถานการณ์ที่ยากที่สุดของสายการบินในรอบ 100 ปีส่วนปัจจัยที่จะทำให้เที่ยวบินภายในประเทศ กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะเปิดชายแดนทั่วประเทศเมื่อใด

ก่อนหน้านี้ สายการบิน Qantas เริ่มปรับโครงสร้างองค์กร หนึ่งในนั้นคือเเผนการที่จะปลดพนักงานอย่างน้อย 6 พันคนทั่วโลก หรือคิดเป็นประมาณ 20% จากที่มีอยู่ราว 2.9 หมื่นคนในปัจจุบัน นอกเหนือจากพนักงานอีกอย่างน้อย 1.5 หมื่นคน ต้องพักงานอย่างไม่มีกำหนดต่อไปด้วย

ด้านความเคลื่อนไหวของคู่เเข่งรายสำคัญอย่าง Virgin Australia หลังต้องเข้าระบวนการฟื้นฟูกิจการเมื่อเดือนเม..ที่ผ่านมา ล่าสุดต้องจำใจยุติกิจการของ Tigerair Australia สายการบินต้นทุนต่ำในเครือ เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรภายใต้การบริหารของเจ้าของใหม่อย่าง bain capital โดยจะมีการปลดพนักงานออกราว 1 ใน 3 ของทั้งหมดราว 3,000 คน เเต่ทางบริษัทจะจะยังคงเก็บใบอนุญาตทำการบินไว้ เผื่อในอนาคตจะสามารถกลับมา “ฟื้นกิจการ” ได้อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์โลกเข้าสู่ภาวะปกติ เเละการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่

ในช่วงนี้ สายการบินต่างๆ ต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักจาก COVID-19 เเม้จะเคยเป็นสายการบินที่มีผลประกอบการดีมาหลายปีก็ตาม ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยังมีอีกหลายสายการบินที่ยังมีความเสี่ยงจะล้มละลายเเละปิดกิจการในช่วงนี้ โดยทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 

 

ที่มา : CNN , BBC 

]]>
1293537
ปิดฉาก “ราชินีแห่งท้องฟ้า” เลิกผลิต Boeing 747 ในปี 2022 จากพิษไวรัส-เทรนด์ประหยัดพลังงาน https://positioningmag.com/1290152 Thu, 30 Jul 2020 09:44:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290152 หลังมีกระเเสการเลิกผลิตเครื่องบินเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 “จัมโบ้เจ็ตสัญลักษณ์ของการเดินทางระยะไกล มาสักระยะหนึ่ง ล่าสุดทาง Boeing ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการเเล้วว่าจะยุติการผลิตภายในปี 2022 นี้ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เเละปัจจุบันสายการบินต่างๆ ก็หันมาใช้เครื่องบินรุ่นประหยัดเชื้อเพลิงกันมากขึ้น ตามเทรนด์ของยุคสมัย

ธุรกิจการบินกำลังเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ เมื่อยอดผู้โดยสารลดฮวบเเละต้องปลดพนักงานเพื่อความอยู่รอด บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินก็ได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมาก เรียกได้ว่าสะเทือนไปทั้งอุตสาหกรรม

โดยผลประกอบการไตรมาส 2 ในปีนี้ของ Boeing ขาดทุนไปกว่า 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้ดิ่งลง 25% เหลือ 11,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการผลิตเครื่องบินลดลงในหลายรุ่น รวมถึง Boeing 787 และ 777 ด้วย

เเม้ช่วงนี้การเดินทางท่องเที่ยวจะซบเซา เเต่อุปสงค์สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ไม่มีคำสั่งซื้อ Boeing 747-8F เข้ามาเลย นับตั้งเเต่มีการส่งมอบเครื่องบินรุ่น 747 ให้สายการบินลุฟต์ฮันซา ตั้งเเต่เดือนเมษายน ปี 2015 โดยตอนนี้ Boeing ยังเหลือเครื่องบิน 747-8F ที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกถึง 15 ลำ

สำหรับ Boeing 747 เป็นตำนานจัมโบ้เจ็ต ที่มีอายุนานกว่า 50 ปี รองรับผู้โดยสารได้ถึง 400 คน มีฉายาว่าราชินีแห่งท้องฟ้า และครองตำแหน่งเจ้าการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ

ก่อนจะถูกซ้ำเติมด้วย COVID-19 เครื่องบิน Boeing 747 ก็เริ่มไม่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายสายการบิน เริ่มปลดระวางเเละนำไปใช้เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าหรือคาร์โกเเทน

ขณะเดียวกัน การมาของเทรนด์ประหยัดพลังงาน ทำให้สายการบินส่วนใหญ่หันไปใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าเเละประหยัดเชื้อเพลิงกว่าอย่าง Boeing 787 Dreamliner, Boeing 737 เเละ Airbus A350

Boeing ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทจะยังคงให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานและซ่อมบำรุงเครื่องบิน 747 ต่อไปในอนาคต โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสายการบินใหญ่อย่าง British Airways เเละ Qantas ได้ประกาศยุติการใช้งาน Boeing 747 เป็นที่เรียบร้อย  

Photo : Shutterstock

เหล่าผู้ผลิตเครื่องบินต้องปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อพยุงธุรกิจ โดยล่าสุด Boeing ได้ส่งข้อความที่ส่งถึงพนักงานว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มเติม หลังช่วงต้นปี เคยประกาศว่าจะลดพนักงานลง 10% พร้อมลดกำลังผลิต Boeing 787 และ 777 ส่วน 737 Max แม้จะปรับเพิ่มการผลิต แต่ก็เป็นการปรับขึ้นอย่างช้าๆ กว่าแผนเดิมที่เคยวางเอาไว้

ด้านสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด

โดยการฟื้นตัวของการเดินทางระยะสั้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางระยะไกล เเละคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2019 เเย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายนที่ 46% สำหรับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทราฟฟิกของผู้โดยสารลดลง 86.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากการหดตัวถึง 91% ในเดือนพฤษภาคม หลังได้รับอานิสงส์การเดินทางที่เพิ่มขึ้นบ้างในตลาดจีน

เเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

 

ที่มา : Aerotime , BBC

]]> 1290152 สายการบิน Qantas ไม่มีนโยบาย “เว้นที่นั่ง” บอกว่าทำไม่ได้จริง แถมทำให้ “ตั๋วแพง” เปล่าๆ https://positioningmag.com/1279469 Tue, 19 May 2020 14:32:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279469 สายการบินแควนตัส (Qantas) ของออสเตรเลียเตรียมเปิดให้บริการเที่ยวบินในประเทศ 40-50% ภายในเดือน .. หลังรัฐต่างๆ เริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ โดยบริษัทจะจำหน่ายบัตรโดยสารที่ราคาถูก และยืดหยุ่นเพื่อกระตุ้นอุปสงค์การเดินทาง และจะไม่มีการเว้นที่นั่งระหว่างผู้โดยสาร เนื่องจากไม่ได้ช่วยป้องกันโรคและทำให้ราคาตั๋วแพงขึ้นเปล่าๆ

ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.. แควนตัสจะแจกหน้ากากอนามัย และทิชชูเปียกเพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของผู้โดยสารในช่วงที่ไวรัส COVID-19 ยังคงแพร่ระบาด แต่จะไม่ปล่อยที่นั่งตรงกลางให้เว้นว่าง

การเว้นระยะห่างทางสังคมบนเครื่องบินเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้จริง” อลัน จอยซ์ ซีอีโอแควนตัส ให้สัมภาษณ์ พร้อมอธิบายว่าการเว้นที่นั่งตรงกลางซึ่งทำให้ผู้โดยสารอยู่ห่างกันแค่ 60 เซนติเมตรนั้นแทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย

จอยซ์ ระบุด้วยว่า ถ้าจะเว้นระยะห่างให้ได้ตามมาตรฐาน 1.5 เมตร เครื่องบินแอร์บัส SE A320 ของสายการบินโลว์คอสต์เจ็ตสตาร์” จะรับผู้โดยสารได้เพียง 22 คนจากปกติ 180 คน

นั่นหมายความว่าผู้โดยสารจะต้องซื้อตั๋วในราคาที่แพงขึ้น 8-9 เท่าจากทุกวันนี้ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเหมาะสมเลย

แควนตัสจะใช้วิธีลดขั้นตอนการเสิร์ฟอาหาร ทำความสะอาดภายในเครื่องบินให้บ่อยขึ้น ขอร้องผู้โดยสารให้นั่งอยู่กับที่ให้มากที่สุด และแนะนำให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัย แต่จะไม่ออกกฎบังคับ

เอียน โฮสกู๊ด ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของแควนตัสกรุ๊ป อ้างข้อมูลที่ระบุว่า การแพร่เชื้อ COVID-19 บนเครื่องบินเกิดขึ้นได้น้อยมาก และยังไม่มีการยืนยันผู้ป่วยลักษณะนี้แม้แต่รายเดียว แม้กระทั่งบนเที่ยวบินแควนตัสที่มีการอพยพพลเมืองกลับจากลอนดอนและลอสแองเจลิสเมื่อเร็วๆ นี้

Source

]]>
1279469
การล้มละลาย Virgin Australia เป็นสัญญาณ “อันตรายขั้นวิกฤต” ของธุรกิจสายการบินทั่วโลก https://positioningmag.com/1275046 Thu, 23 Apr 2020 10:37:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275046 ธุรกิจการบินทั่วโลกกำลังเสี่ยง “ล้มละลาย” เมื่อการท่องเที่ยวเเละการเดินทางต้องหยุดชะงักจากการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เเม้สายการบินหลายเจ้าจะประสบปัญหาการเงินมาก่อนหน้านี้เเล้ว เเต่เมื่อต้องเจอมรสุมอันหนักหน่วงนี้เข้าไป จุดที่ “ยื้อต่อไม่ไหว” ก็มาถึง

สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียอย่าง Virgin Australia กลายเป็นสายการบินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย-เเปซิฟิก ที่เข้าสู่กระบวนการ “ล้มละลาย” พนักงานกว่าหมื่นคนเสี่ยงตกงานกะทันหัน

ในขณะที่สายการบินอีกหลายเเห่งในเอเชียต้อง “ชะลอเเผนธุรกิจ” จากเดิมที่มีเเผนจะควบรวมกิจการ ซื้อกิจการหรือซื้อเครื่องบินใหม่ เปลี่ยนมาเปลี่ยนเเค่พยุงธุรกิจให้รอดวิกฤต COVID-19 นี้ไปก็พอ รวมถึงขอให้ผู้โดยสารรับเงินคืนเป็น “เครดิต” เเทนเงินสดในยามธุรกิจย่ำเเย่ไร้เงินหมุน

Paul Scurrah ซีอีโอของ Virgin Australia กล่าวว่า การตัดสินใจยื่นขอล้มละลายครั้งนี้เป็นไปเพื่อที่จะต่อชีวิตของสายการบิน และแสดงให้เห็นถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นจาก COVID-19 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและการเงินของบริษัทต่อไป

ก่อนหน้านี้ สายการบินพยายามยื่นขอให้รัฐบาลจัดหาเงินกู้เพื่อฟื้นฟูกิจการ ในวงเงิน 888 ล้านเหรียญสหรัฐ เเต่รัฐบาลออสเตรเลีย “ปฏิเสธ” ด้วยเหตุผลว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Virgin Australia เป็นสายการบินต่างชาติ (เเต่ Qantas สายการบินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจำนวน 715 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย)

Virgin Australia มีผู้ถือหุ้นหลักๆ ประกอบด้วย สายการบิน Etihad Airways ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือหุ้น 20.94% สายการบิน Singapore Airlines ของสิงคโปร์ ถือหุ้น 20.09% บริษัทหนานชาน กรุ๊ป ถือหุ้น 19.98% บริษัท HNA Group ถือหุ้น 19.82% และบริษัท Virgin Group ของนักลงทุนชื่อดัง Richard Branson ถือหุ้นอยู่ 10.42%

โดยสายการบินมีเครื่องบินถึง 130 ลำ พนักงานรวมกันกว่า 10,000 คน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องอีกราว 6,000 คน ต้องเเบกรับหนี้สินระยะยาวอยู่ราว 3,170 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1 แสนล้านบาท)

ที่ผ่านมา Virgin Australia มีส่วนแบ่งรายได้ 31% ของเที่ยวบินในประเทศออสเตรเลีย เป็นอันดับ 2 รองจากคู่เเข่งอย่าง Qantas ที่มีส่วนแบ่ง 58% เเละที่เหลือเป็นของสายการบินขนาดเล็กในประเทศ โดยธุรกิจการบินในออสเตรเลียประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมาพักใหญ่ ก่อนที่จะเกิดวิฤกต COVID-19

ความเสียหายระยะยาวสายการบิน จะมีผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นภาคธุรกิจสำคัญของ GDP

ก่อนหน้านี้ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะต้องการมาตรการช่วยเหลือและเงินสนับสนุนจากรัฐมูลค่าประมาณ 1.5-2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตครั้งนี้
มิฉะนั้นแล้วการระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลให้หลายสายการบินต้องล้มละลาย หรือเกิดการควบรวมกิจการ

ล่าสุด IATA ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์ความสูญเสียรายได้ของธุรกิจการบินโลกว่า ขณะนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.14 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้นกว่าการประเมินครั้งก่อนเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเคยประเมินไว้ที่ 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดมาตรการ “ล็อกดาวน์” ในหลายประเทศส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงมาก การที่จะฟื้นฟูเส้นทางบินระหว่างประเทศ “ล่าช้า” กว่าที่เคยคาดไว้ เเละจำนวนผู้โดยสารในปีนี้ลดลงถึง 55% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

“การล้มละลายของ Virgin Australia เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของวิกฤต ต่อจากนี้ 2-3 เดือน จะมีสายการบินล้มละลายอีกจำนวนมาก” 

 

ที่มา : ฺBBC , straitstimes

 

 

]]>
1275046