Thailand – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 08 Jul 2024 10:42:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องมุมมอง จิ๊บ BrandBaker เมื่อ AI จะทำให้นักการตลาดตกงานหรือไม่ แล้วต้องปรับตัวอย่างไรในสภาวะเช่นนี้ https://positioningmag.com/1481713 Mon, 08 Jul 2024 08:36:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481713 พาไปคุยกับ สุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล (จิ๊บ) ผู้ร่วมก่อตั้งของ BrandBaker ในเรื่องภาพรวมการตลาดของไทย การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะทำให้นักการตลาดตกงานหรือไม่รวมถึงการปรับตัวในสภาวะเช่นนี้

การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในปัจจุบันได้สร้างผลกระทบอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาของ ChatGPT ของ OpenAI ที่มีความสามารถหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสรุปข้อความ ไปจนถึงการสร้างประโยคต่างๆ ฯลฯ

เนื่องด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นก็ได้สร้างผลกระทบต่อหลายอาชีพเช่นกัน ซึ่งรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ชี้ว่าผลกระทบดังกล่าวมีมากถึง 40% ต่อตำแหน่งงานทั้งหมด

แน่นอนว่าเรื่องดังกล่าว ไม่เว้นแม้แต่ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับสายการตลาดก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

Positioning จะพาไปคุยกับ สุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล (จิ๊บ) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งของ BrandBaker ว่าการเข้ามาของ AI จะกระทบกับนักการตลาดแค่ไหน รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ภาพรวมการตลาดในประเทศไทย

ผู้ร่วมก่อตั้งของ BrandBaker กล่าวถึงสถานการณ์การตลาดในไทยว่าในปี 2024 นั้นเป็นปีที่หลายคนมองว่าไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก แต่ความเป็นจริงแล้วงบการตลาดไม่ได้ลดลง แต่เม็ดเงินนั้นกระจายไปยังแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคม (Social Network) ต่างๆ

เขายังกล่าวว่า ทางฝั่งของแบรนด์เองนั้นก็ยังมองว่าการทำการตลาดและการทำโฆษณาถือเป็นสิ่งสำคัญอยู่ แต่แบรนด์จะเลือกการทำตลาดหรือทำแคมเปญใน Social Network แต่ละที่ โดยเจาะจงซึ่งลูกค้าในแต่ละแพลตฟอร์มก็จะไม่เหมือนกัน

ทางด้านของฝั่งเอเจนซี่นั้นเขายังมองว่าตลาดยังค่อนข้างเปิด แต่ความท้าทายที่เขามองคือเรื่องของความเก่งที่จะตอบโจทย์ลูกค้าได้ ซึ่งเอเจนซี่บางเจ้าอาจมีความถนัดในบางรูปแบบ เช่น ถนัดเรื่องอินฟลูเอนเซอร์ หรือบางเจ้าถนัดทำแคมเปญการตลาด เป็นต้น

มองเรื่อง Marketing อิ่มตัวมาสักพักแล้ว

สุรศักดิ์ กล่าวถึงวงการตลาดนั้นอิ่มตัวมาสักพักแล้ว ก่อนที่จะมี AI เข้ามานั้น สิ่งใหม่ของวงการตลาดก็คือ Direct Social Commerce อย่างเช่น TikTok Shop ฯลฯ นอกจากนี้วงการดังกล่าวจะปรับตัวเมื่อแพลตฟอร์ม Social Network ปรับรูปแบบ เช่น การเกิดขึ้นของ Reels ของฝั่ง Meta ที่เอาออกมาสู้กับ TikTok เป็นต้น

นอกจากนี้เขายังมองว่าผู้คนในแต่ละยุคก็จะมีการใช้ Social Network ของตัวเอง อย่าง Gen Y และ Gen Z เองจะใช้ Instagram หรือ TikTok ขณะที่ Gen X จะใช้ Facebook เป็นหลัก ซึ่งถ้าหากแบรนด์ต้องการทำการตลาดก็จะเข้าไปเจาะลูกค้าในแต่ละกลุ่มตามแพลตฟอร์ม

ขณะเดียวกันเขาเองก็มองว่าถ้าหากสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีนั้น เงินในส่วนการตลาดเองจะถือว่าโดนตัดเป็นสิ่งแรกๆ

ผู้ร่วมก่อตั้งของ BrandBaker มองว่าการเข้ามาของ AI นั้นจะยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขนาดนั้น / ภาพจาก Shutterstock

เมื่อ AI เข้ามา ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ยังมีข้อผิดพลาด

ในเรื่องของการเข้ามาของ AI เขากล่าวว่าการเข้ามาของ AI ที่เห็นได้ชัดคือการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นทำได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของ AI ในเฉพาะงานซ้ำซ้ำนั้นทำได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่เขามองว่าการเข้ามาของ AI นั้นจะยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขนาดนั้น

เขาได้เปรียบถึงการทำงานของ GenAI ในปัจจุบันนั้นเหมือนกับนกแก้ว และยังมีจุดผิดพลาดหลายจุด ขณะเดียวกันในการปรับแต่งตัว GenAI ให้ตรงตามความต้องการของเหล่าแบรนด์ต่างๆ เองนั้นก็ยังต้องใช้ต้นทุนที่สูงมากเช่นกัน

สุรศักดิ์ ได้ยกตัวอย่างถึงการนำ GenAI ถ้าหากจะนำมาเขียนคอนเทนต์เพื่อการตลาดและตอบโจทย์แบรนด์นั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลักษณะภาษา การใช้คำต่างๆ ที่จะคุมให้เนื้อหาออกมาตรงกับสิ่งที่เป็นตัวตนของแบรนด์ยังถือว่าเป็นเรื่องยาก และยังรวมถึงตัว GenAI ไม่ได้ออกแบบมาในเรื่องของความแม่นยำ

เขาเองยังมองว่า GenAI ในตอนนี้ถ้าหากจะสั่งให้ทำงานตั้งแต่ต้นจนจบเลย เช่น ออกแบบสินค้าหรือคิดเรื่องของคอนเทนต์การตลาดให้ตรงกับตามแบรนด์ต้องการ เสร็จแล้วโพสต์ลง Social Network ในเวลานี้ยังถือว่าทำไม่ได้ นอกจากนี้เอง

AI ช่วยเรื่อง Productivity

สุรศักดิ์ มองว่าการเข้ามาของ AI นั้นถ้าหากใช้งานเป็นแล้วจะช่วยในหลากหลายเรื่องในมุมของนักการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการหาไอเดีย เช่น การที่ครีเอทีฟดูไอเดียหลายๆ อันแล้วเลือกอันที่ดีที่สุด เนื่องจาก AI หลายตัวค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือบทความ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ AI ทำได้ไวมาก

เขาเปรียบเทียบว่าในอดีตสำหรับครีเอทีฟแล้ว จะต้องมานั่งดูไอเดียต่างๆ ในหนังสือ หรือสื่ออื่นๆ แต่การเข้ามาของ Google ในการช่วยหาข้อมูลต่างๆ นั้นรวดเร็วมากขึ้น ฉะนั้นแล้วการเข้ามาของ AI ก็ช่วยลดเวลาลง แต่ก็ต้องมีการนั่งตรวจสอบอยู่ดี

แต่เขาก็มองว่าความท้าทายใหม่ในอนาคตนั้นการที่นำ AI มาใช้งานอาจทำให้เกิดไอเดียที่คล้ายๆ กัน ซึ่งเป็นผลจากการใช้ข้อมูลในการฝึกฝน AI ที่แทบไม่ได้ต่างกัน และเขายังชี้ข้อมูลคาดการณ์ว่าข้อมูลที่นำมาฝึกฝน AI ก็กำลังจะหมดเช่นกัน ขณะเดียวกันเขาก็มองว่าท้ายที่สุดการต่อยอดเรื่องต่างๆ ก็เกิดขึ้นจากมนุษย์อยู่ดี

สุรศักดิ์ ยังมองว่า GenAI ยังช่วยในงานครีเอทีฟเช่นกัน – ภาพจาก Unsplash

AI ยังไม่เข้ามา Disrupt งานด้านการตลาดเร็วๆ นี้

เขายังมองจากประสบการณ์ในการทดลองใช้ AI หลากหลายบริษัท เขาค้นพบว่าถ้าหากนั่งเขียนคอนเทนต์แล้วให้ระบบ AI ช่วยตัดสินใจให้นั้นถือว่าเรากำลังพึ่งพาระบบสุ่ม ที่จะใชนอกจากนี้เขายังชี้ว่าถ้าหากแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง การให้เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยทำงาน ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมีมนุษย์ช่วยตรวจสอบ

นอกจากนี้เองถ้าหากเป็นคอนเทนต์บางประเภทแล้ว แม้ AI จะช่วยเข้ามาร่างหรือเขียนข้อความได้นั้น แต่สุรศักดิ์ยังมองว่ามนุษย์เองนั้นต้องการที่จะเสพคอนเทนต์ที่เป็นตัวตนของผู้เขียนคนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวความคิดรวมถึงทิศทางของผู้เขียน

เขามองว่าถ้าหากมีความเข้าใจในเรื่อง AI แล้ว ทีมที่ทำงานอาจหาทีมที่มีคนใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวเก่งๆ หลายคน แล้วก็มีผู้ที่มากประสบการณ์ในเรื่องการตลาดช่วยตรวจสอบในเรื่องของงงานอีกที

แล้วนักการตลาดต้องปรับตัวอย่างไร

ผู้ร่วมก่อตั้งของ BrandBaker แนะนำให้นักการตลาดทดลองเล่นกับระบบ AI ต่างๆ ดู โดยเขาได้ชี้ถึงงาน 2 แกนได้แก่อย่างแรกคือความบ่อยของงาน กับอย่างที่สองคืองานที่ต้องใช้ตรรกะของมนุษย์

เขาชี้ว่า ถ้าหากเป็นงานที่ต้องทำบ่อยๆ เช่น ให้ช่วยยิงข้อความผ่าน Social Network หรืองานไหนที่สามารถทำเป็นระบบอัตโนมัติได้ เขาแนะนำให้ใช้เทคโนโลยี AI ซึ่งเขาแนะนำว่าเทคโนโลยีดังกล่าวมีหลายตัว และต้องวางแผนในการใช้งาน รวมถึงดูความคุ้มค่าเม็ดเงินที่จ่ายไปด้วย

ขณะที่งานที่ต้องใช้ตรรกะของมนุษย์อาจนำ AI เข้ามาช่วยต่อยอดในกระบวนการต่างๆ หรือแม้แต่การนำมาตั้งเป็นคำถามเพื่อที่จะทำให้งานของเรานั้นดีขึ้น เขาได้ชี้ถึงเรื่องของความเป็นมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่นักการตลาดจะต้องมี รวมถึงความเข้าใจในตัวของลูกค้า

]]>
1481713
บล.พาย เปิดตัวบริการ Digital Wealth Management ชี้กลุ่มคนไทยมั่งคั่งสูงยังมีเงินฝากเป็นจำนวนมาก https://positioningmag.com/1473115 Fri, 05 Jul 2024 14:18:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473115 บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ บล. พาย ได้เปิดตัวบริการ Digital Wealth Management โดยมองโอกาสจากกลุ่มคนไทยมั่งคั่งสูงยังมีเงินฝากเป็นจำนวนมาก สามารถนำออกมาลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งได้ นอกจากนี้ยังชูจุดเด่นที่ Relationship Manager หรือทีมงานนั้นคลุกคลีอยู่ในวงการนี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน

บ๊อบ เวาเทอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า ปัจจุบัน บล. พาย มีลูกค้ามากกว่า 80,000 รายที่ยังใช้บริการเป็นประจำอยู่ และลูกค้ามีมูลค่าการลงทุน หรือ AUM แตะระดับ 100,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 10% เมื่อเทียบกับมูลค่าทรัพย์สิน ณ สิ้นปี 2023 ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันทาง บล. พาย นั้นต้องการที่จะกระจายรายได้ออกมาจากรายได้หลักคือค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือแม้แต่สัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยการเปิดตัวเปิดตัวบริการ Digital Wealth Management ในชื่อ Pi Private Wealth

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บล. พาย มองโอกาสไว้คือความมั่งคั่งของไทยของเหล่ามหาเศรษฐียังสูงมาก โดยคนไทยที่เป็นเหล่ามหาเศรษฐีนั้นยังมีเงินฝากจำนวนมาก โดยเม็ดเงินนั้นมีมากถึง 74,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 2.7 ล้านล้านบาท ขณะที่กลุ่มลูกค้า Mass Affultent มีเงินฝากมากถึง 113,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 4.1 ล้านล้านบาท

การเปิดตัว Digital Wealth Management ของ บล. พาย นั้น บ๊อบ มองว่าทำให้ปรับเปลี่ยนเรื่องการลงทุนของไทยได้มากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาคนไทยยังลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เห็นได้จากจำนวนกองทุนรวมต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ณัชชา สุนทรธาราวงศ์, Deputy CEO and Chief of Private Wealth บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า หลังจากที่ได้เปิดบริการ Pi Private Wealth แบบไม่เป็นทางการมาตั้งแต่เดือนมีนาคมนั้น จุดเด่นของนั้นแตกต่างเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยชูจุดเด่นในเรื่องการใช้เทคโนโลยี หรือแม้แต่เรื่องของพนักงาน ซึ่งแตกต่างแพลตฟอร์มดิจิทัลคู่แข่งรายอื่น

ณัชชา สุนทรธาราวงศ์ – Deputy CEO and Chief of Private Wealth บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) / ภาพจากบริษัท

เธอได้ชี้ว่าต้องการสร้างพอร์ตโฟลิโอการลงทุน ให้ดีมากขึ้น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวใช้ได้ทั้งนักลงทุนส่วนบุคคลและนักลงทุนที่เป็นสถาบันหรือบริษัทต่างๆ และยังสามารถออกแบบการลงทุนได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่ง บล. พาย สามารถให้บริการได้ครบวงจร

สำหรับบริการของ Pi Private Wealth มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทย หรือลงทุนต่างประเทศ หรือแม้แต่กองทุนรวมทั้งจาก บลจ. ไทย บลจ. ต่างประเทศ หุ้นกู้ ตราสารหนี้ กองทุนส่วนบุคคล หรือแม้แต่สินทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในบริษัทนอกตลาดหุ้น ไปจนถึงการปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่างๆ โดยมีสินทรัพย์เป็นหลักประกัน (Private Credit)

นอกจากนี้ บล. พาย ยังจับมือกับพันธมิตร เช่น Investcorp ซึ่งทำธุรกิจ Private Wealth รายใหญ่ หรือแม้แต่สถาบันการเงินรายอื่นๆ อย่าง Citi หรือ BNP Paribas เป็นต้น

สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุน ทาง บล. พาย ยังมองการลงทุนในสหรัฐอเมริกา และมองสหรัฐอยู่ในช่วงที่หุ้นกำลังเป็นขาขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจยังพอไปได้ ตลาดต้องการความแน่นอน นอจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มประเทศอย่าง อินเดีย เวียดนาม

ในขณะที่เรื่องเทคโนโลยี AI นั้น บล. พาย มองว่าเหมือนกับต้นกำเนิดอินเทอร์เน็ตเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา และการเข้ามาของ AI ทำให้ชีวิตดีขึ้น บริษัทต่างๆ สามารถทำอะไรได้มากขึ้น นอกจากนี้ บล. พาย มองว่าถ้าธนาคารกลางสหรัฐฯ  ลดดอกเบี้ย ตราสารหนี้จะได้ประโยชน์

]]>
1473115
คุยกับ ‘พิมล ศรีวิกรม์’ กับการปั้นแบรนด์ Alexander & James ลุยตลาดเอเชีย หลังเปิด Flagship Store ใหม่ https://positioningmag.com/1481325 Fri, 05 Jul 2024 08:56:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481325 คุยกับ พิมล ศรีวิกรม์ ประธานกรรมการของ บมจ. ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Alexander & James ในเรื่องการขยายธุรกิจแบรนด์โซฟาจากอังกฤษที่ต้องการเจาะตลาดเอเชีย โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน รวมถึงการเปิด Flagship Store ใหม่ในซอยสุขุมวิท 63

สำหรับแบรนด์ Alexander & James หลายคนอาจรู้จักว่าแบรนด์โซฟาดังกล่าวถือว่าเป็นแบรนด์จากอังกฤษ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าเจ้าของจริงๆ นั้นคือบริษัทไทยนั่นก็คือ บมจ. ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น หรือ TCMC

โดย TCMC ได้เข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 75% ของ Midlands Group บริษัทแม่แบรนด์ Alexander & James เมื่อ 8 ปีที่แล้ว และแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ชั้นนำจากอังกฤษมีการเปิดขายสินค้าในประเทศไทยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้โซฟาของแบรนด์ดังกล่าวยังมีการผลิตในประเทศไทยด้วยส่วนหนึ่ง นอกจากประเทศสเปน

สินค้าหลักของแบรนด์ Alexander & James ก็คือโซฟา โดยจุดเด่นของแบรนด์คือ วิธีการดึงดุม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ นอกจากนี้ลูกค้าสามารถปรับแต่งวัสดุโซฟาได้ตามความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเลือกหนังที่ผลิตในทวีปยุโรปหลายแบบ หรือวัสดุอื่นได้

ล่าสุด TCMC ได้เปิด Flagship Store ของ Alexander & James แห่งใหม่ในซอยสุขุมวิท 63 ซึ่งสถานที่ดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าสาขาเดิมที่สุขุมวิท 39 นอกจากนี้ยังมีการออกแบบด้วยคอนเซ็ปต์ที่ผสมกลิ่นอายของวัฒนธรรมอังกฤษซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแบรนด์

Positioning จะพาไปคุยกับ พิมล ศรีวิกรม์ ประธานกรรมการของ TCMC ในเรื่องธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตลาดไปในทวีปเอเชีย หรือแม้แต่การขยายตลาดในประเทศไทย

ภาพรวมธุรกิจ

พิมล ได้กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจของแบรนด์ Alexander & James ว่ามีการออกแบบโดยทีมงานที่อังกฤษที่ฝีมือสูง ส่งผลทำให้ความต้องการโซฟาของแบรนด์สูง ซึ่งตัวเขาเองสงสัยว่าทำไมขายดีที่อังกฤษ ต่อมาลูกค้าคนไทยเห็นคุณค่า เลยเริ่มนำมาลองขายในประเทศไทย

ตลาดในอังกฤษซึ่งเป็นตลาดหลักของแบรนด์ Alexander & James นั้นชะลอตัวลง เนื่องจากสภาวะดอกเบี้ยที่สูง ส่งผลทำให้การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ส่งผลทำให้การสั่งซื้อโซฟาลดลงด้วย เขายังมองว่าภายในช่วงปลายปี 2024 นี้อังกฤษน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ยอดขายกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

นอกจากนี้เขายังมองว่าเทรนด์สินค้าตกแต่งบ้านจากเดิมที่เน้นสไตล์มินิมอลนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นเทรนด์ที่มี ‘ความเยอะ’ มากขึ้น เช่น อย่างโซฟา เขาได้ยกตัวอย่างเช่นมีตุ่มขึ้นมา ฯลฯ หรือแม้แต่การมีหมอนเสริม

ปรับแบรนด์เน้นไลฟ์สไตล์มากขึ้น

ประธานของ TCMC ยังกล่าวถึง แบรนด์ Alexander & James นั้นอาจขยายธุรกิจไปยังเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เพิ่มเติมนอกจากโซฟา เน้นไลฟ์สไตล์มากขึ้น โดยจะเน้นสินค้าเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะกาแฟ โต๊ะข้างเตียง โต๊ะข้างข้างโซฟา โดยมองว่าสินค้าเหล่านี้เป็นส่วนเสริมจากโซฟา

สินค้าเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เหล่านี้บริษัทอาจจ้างให้กับผู้ผลิตรายอื่นนั้นผลิตสินค้าให้แทน เช่น ผู้ผลิตในยุโรป หรือแม้แต่ ผู้ผลิตจากจีน

เขาได้เล่าตัวอย่างลูกค้าได้มาสอบถามในโชว์รูมบ่อยๆ ว่า โต๊ะข้างโซฟานั้นสวยมาก เนื่องจากสินค้าเข้ากัน จะซื้อกลับไปด้วยได้ไหม จึงทำให้บริษัทตัดสินใจที่นำสินค้าอื่นๆ วางขายด้วย

เปิดโชว์รูมใหม่ และอนาคตมีแผนอาจขยายสาขาไปภูเก็ต

สำหรับแบรนด์ Alexander & James นั้น ตัว Flagship Store ที่สุขุมวิท 63 ถือเป็นสาขาเดียวในทวีปเอเชียของแบรนด์ โดยพิมลได้กล่าวว่า การย้ายสาขาจากเดิมที่อยู่สุขุมวิท 39 นั้นมีพื้นที่มากขึ้น มีการตกแต่งหรูหรา รวมถึงสินค้าที่นำมาโชว์หลากหลายมากขึ้น

ขณะเดียวกัน พิมล ยังมองว่าแบรนด์ Alexander & James นั้นเจาะตลาดสินค้าหรู แต่อยู่ในช่วงราคาที่จับต้องได้ โดยราคาโซฟานั้นอยู่ในช่วง 100,000 ถึง 300,000 บาท แตกต่างกับแบรนด์หรูจากอิตาลี ซึ่งโซฟาตัวนึงนั้นราคามีตั้งแต่ 900,000 จนถึงหลัก 1,000,000 บาท เขายังกล่าวว่าถ้าหากลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าแล้วส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าเลย

เขายังชี้ว่าลูกค้าในต่างจังหวัดนั้นสนใจในโซฟาของแบรนด์ไม่น้อย โดยได้ยกตัวอย่างลูกค้าในจังหวัดนครราชสีมา ได้มาสั่งซื้อโซฟาของแบรนด์เช่นกัน และเขาเองยังเปรยไว้ว่าอาจมีการขยายสาขาของ Alexander & James ไปต่างจังหวัด เช่น ภูเก็ต เนื่องจากเป็นตลาดที่มีชาวต่างชาติที่มีจำนวนมาก ซึ่งอาจมีการไปทดลองเปิดสาขาชั่วคราวเพื่อทดลองการขายก่อน ขณะที่การขยายสาขานั้นเป็นเรื่องของอนาคต

เตรียมขยายธุรกิจไปในเอเชีย

ประธานของ TCMC ยังได้กล่าวถึงสัดส่วนของรายได้จากการขายโซฟานั้น 90% มาจากอังกฤษ เนื่องจากขายเป็นล็อตใหญ่ๆ (B2B) และที่เหลืออีก 10% คือนอกอังกฤษ ซึ่งเน้นขายให้ลูกค้า (B2C)

สำหรับสาขาของแบรนด์ Alexander & James ที่อยู่ในไทยนั้นมีลูกค้าชาวต่างชาติสั่งสินค้าเหมือนกัน เช่น ลูกค้าที่มาจาก มาเลเซีย หรือแม้แต่นิวซีแลนด์ แต่การสั่งสินค้ากลับไปนั้นลูกค้าจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งเอง ซึ่งทางแบรนด์จะช่วยดูในเรื่องบริษัทรับขนส่งให้

เขายังกล่าวถึงแผนในการขยายตลาดไปยังทวีปเอเชียเนื่องจากก่อนหน้านี้บริษัทไม่ได้จริงจังมากนัก จนล่าสุดเขากล่าวว่ามีลูกค้าจากประเทศจีนสั่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าสินค้าของแบรนด์ Alexander & James จะมีบางส่วนผลิตในไทย แต่เนื่องด้วยความสวยงามในการออกแบบทำให้ลูกค้าชาวจีนชื่นชอบ

นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าด้วยความที่เป็นแบรนด์จากอังกฤษ ยิ่งทำให้ลูกค้าจีนชื่นชอบมากกว่าเดิม ซึ่งหลังจากนี้ทางแบรนด์จะเริ่มเข้าไปเปิดตลาดในประเทศจีน เพื่อเจาะลูกค้าเพิ่ม

ไม่เพียงเท่านี้ ตลาดตะวันออกกลางเขาก็ยังมองว่าเติบโตมากขึ้น โดยในดูไบนั้นมีลูกค้าที่สั่งสินค้าเหมือนกัน แต่จะสั่งเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีลูกค้าชาวต่างชาติที่สั่งสินค้าไปขายต่อก็มี โดยเลือกสินค้าแต่ละชนิดที่น่าสนใจไปวางจำหน่าย

Alexander & James ตั้งเป้ารายได้ปี 2024 ไว้ที่ 130 ล้านบาท และประธานของ TCMC ยังคาดว่าแบรนด์โซฟาจากอังกฤษรายนี้จะสามารถเป็น Top of mind ในกลุ่มผู้ชื่นชอบสินค้าลักชัวรี่ที่มาพร้อมคุณภาพได้

]]>
1481325
มองอนาคตธุรกิจ Food Delivery ทั้งไทยและต่างประเทศ บนการแข่งขันที่ยังดุเดือด แม้จะเหลือผู้เล่นน้อยราย https://positioningmag.com/1480493 Thu, 04 Jul 2024 05:42:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480493 ธุรกิจ Food Delivery ทั้งในไทยและต่างประเทศกำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง แม้ว่าจะเหลือผู้เล่นน้อยรายแล้วก็ตาม ซึ่งต่างกับอดีต แต่ผู้เล่นที่เหลืออยู่ต่างต้องแข่งขันเพื่อกินส่วนแบ่งตลาด หรือหารายได้ใหม่ๆ เนื่องจากแรงกดดันทั้งจากนักลงทุนหรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีคู่แข่งก็ตาม

อุตสาหกรรมส่งอาหาร (Food Delivery) ทั่วโลกหรือแม้แต่ในประเทศไทยได้เดินทางมาถึงจุดสำคัญอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปิดกิจการของผู้เล่นบางราย การควบรวมกิจการ การเพิ่มรายได้ด้วยธุรกิจส่วนอื่นๆ หรือแม้แต่การขยายไปยังประเทศอื่นๆ

Positioning พาไปวิเคราะห์ถึงทิศทางของอุตสาหกรรม Food Delivery ในประเทศไทยหรือเทรนด์อุตสาหกรรมทั่วโลกว่าจะเป็นยังไงต่อไป

ดูภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อน

ก่อนอื่นต้องยกข้อมูลของ Statista ที่มองว่าตลาด Food Delivery ทั่วโลกในปี 2024 นั้นมีขนาดของรายได้ใหญ่ถึง 1.22 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่ารายได้จากปี 2024 ถึง 2029 จะเติบโตราวๆ 9.49% ต่อปี โดยตลาดที่ใหญ่สุดในโลกยังเป็นประเทศจีน

ทางด้าน Momentum Works ที่ได้ออกบทวิเคราะห์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาชี้ว่าในปี 2023 ผู้เล่นในตลาดบริการส่งอาหารมีผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 47% และ LINE MAN ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 36%

ขณะเดียวกันผู้เล่นรายรองลงมาอย่าง foodpanda ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 8% และ Shopee Food ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 6% ที่เหลืออีก 3% เป็นของ Robinhood เท่านั้น ก่อนที่จะปิดตัวลง

นอกจากนี้ขนาดตลาดของธุรกิจ Food Delivery ในไทยของ Momentum Works เมื่อใช้ตัวเลขยอดขายสินค้าออนไลน์รวมในแพลตฟอร์ม (GMV) ของไทยนั้นปี 2022 มีขนาด 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2023 เติบโตเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

ถ้าหากมองออกมาในหลายๆ ประเทศในอาเซียนแล้วนั้น ตลาดของธุรกิจ Food Delivery กลับกลายเป็นว่าเวียดนามนั้นมีอัตราการเติบโตมากที่สุด แต่สำหรับ ไทย สิงคโปร์ นั้นธุรกิจดังกล่าวเติบโตช้าลงเรื่อยๆ

Robinhood เป็นอีกผู้เล่นที่ต้องปิดตัวลงไปในอุตสาหกรรม Food Delivery ที่แข่งขันรุนแรง – ภาพจากบริษัท

ธุรกิจใหม่ๆ เพื่อหารายได้เพิ่มเติม สร้างความได้เปรียบ

ผู้ให้บริการ Food Delivery หลายรายเริ่มมองลู่ทางหารายได้ใหม่ๆ นอกจากธุรกิจส่งอาหารเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในไทย หรือต่างประเทศ

ถ้าหากมองกรณีของผู้ให้บริการ Food Delivery ในทวีปยุโรปหลายรายเองก็ขยายธุรกิจออกไปไม่ว่าจะเป็นการรับส่งอาหารสด เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความใกล้เคียงกัน ใช้พนักงานส่งสินค้าเหมือนกัน และต้นทุนในการบริหารงานแทบจะไม่แตกต่างกันนัก

การโฆษณาภายในตัวแอปฯ หรือแม้แต่บนพาหนะที่ไว้ขนส่งอาหาร ซึ่งผู้เล่นทั้งในไทย อาเซียน หรือแม้แต่ผู้เล่นในธุรกิจนี้ทั่วโลกต่างงัดการหารายได้ในส่วนนี้แทบทั้งสิ้น

หรือแม้แต่การเข้าสู่โลก FinTech ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการทางการเงินแบบง่ายๆ อย่าง Wallet ไว้จ่ายเงิน การขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นประกัน การให้บริการด้านสินเชื่อ จนถึงด้านการลงทุน หรือแม้แต่การเข้าสู่ธุรกิจ Buy Now Pay Later อย่างเช่นในกรณีของ GoTo (หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อเดิมอย่าง Gojek) ก็ลงมาเล่นในตลาดนี้เหมือนกัน

ไม่เว้นแม้แต่ผู้เล่น Food Delivery บางรายอย่าง Deliveroo ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในทวีปยุโรป ที่เริ่มรุกเข้ามาในตลาด E-commerce มากขึ้น โดยบริษัทมองถึงขนาดตลาดดังกลล่าวใหญ่มากถึง 700,000 ล้านปอนด์ และเริ่มนำสินค้าหลากหลายประเภท ตั้งแต่ ดอกไม้ เครื่องสำอาง ไปจนถึงสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

การหารายได้ทางใหม่ๆ ยังถือเป็นการสร้างป้อมปราการให้กับธุรกิจของตัวเอง เนื่องจากปัจจุบันบริษัทเทคโนโลยีที่ไม่ได้ทำธุรกิจ Food Delivery ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคฯ อย่าง TikTok หรือแม้แต่ Shopee รวมถึงผู้เล่นรายใหม่ๆ ที่อาจรุกเข้ามาในธุรกิจดังกล่าว ส่งผลต่อบริษัทได้ในระยะยาว

บริการส่งอาหารทั่วโลก ในแต่ละประเทศนั้นแต่ละบริษัทต่างมีคู่แข่งรายสำคัญอยู่ – ข้อมูลจาก Presentation ของ Delivery Hero

เมื่อแอปฯ ล้มหายตายจาก หรือขายกิจการนั้นถือเป็นเรื่องปกติ

ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นการเกิดใหม่ของแพลตฟอร์มส่ง Food Delivery ลดลงบ้างแล้ว เนื่องจากผู้เล่นหน้าเก่าสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดได้ และตัวเลขสัดส่วนในการครองตลาดนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีในบางประเทศในอาเซียนที่มีผู้เล่นหลายราย เช่น เวียดนาม ที่ตลาดดังกล่าวยังมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก

ที่ไทยเองนั้นตลาด Food Delivery เริ่มทรงตัวมากขึ้น เนื่องจากผู้เล่นทั้ง Grab และ LINE MAN เองครองตลาดส่วนใหญ่ไว้ได้ ขณะเดียวกันในส่วนของ Foodpanda และ Grab นั้นบริษัทตั้งเป้าที่จะทำกำไรให้ได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ดีในบางตลาดนั้นกลับมีการซื้อและขายกิจการ อย่างเช่นกรณีของ ไต้หวัน ที่ Delivery Hero ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Foodpanda ประกาศขายธุรกิจให้กับ Uber ทำให้ผู้เล่นจากสหรัฐอเมริกาแทบจะครองตลาด Food Delivery แทบทั้งหมดในไต้หวัน

เทรนด์ในการซื้อกิจการหรือควบรวมกิจการธุรกิจ Food Delivery นั้นยังคงไม่หมดไป แต่เทรนด์ดังกล่าวนั้นจะไปอยู่ในประเทศที่ตลาดดังกล่าวยังคงเติบโต และมีผู้เล่นจำนวนมาก เช่น อินเดีย หลายประเทศในตะวันออกกลาง เป็นต้น หรือแม้แต่ Foodpanda พิจารณาการขายกิจการธุรกิจในอาเซียน ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวยังสร้างความกังวลให้กับหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศสิงคโปร์ด้วย

อีกเทรนด์ที่น่าสนใจคือผู้เล่นในประเทศจีนอย่าง Meituan ที่มีข่าวลือว่าอาจมีการขยายกิจการออกมานอกประเทศจีนนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา บริษัทมีข่าวลือว่าเป็นผู้เล่นอีกรายที่สนใจซื้อกิจการของ Foodpanda

นอกจากธุรกิจ Food Delivery นั้นจะมีการควบรวมกิจการ ซื้อกิจการคู่แข่งแล้ว ธุรกิจเหล่านี้ยังสนใจที่จะซื้อการควบรวมกิจการแนวดิ่ง (Vertical Integration) เช่น กรณีในไทย LINE MAN ลงทุนในกิจการของ FoodStory และ Rabbit Line Pay เพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพของธุรกิจในอนาคต

ต้องมาลุ้นกันว่าธุรกิจส่งอาหารจากประเทศจีนอย่าง Meituan เองนั้นจะมีการรุกตลาดนอกประเทศจีนหรือไม่ – ภาพจาก Shutterstock

เส้นทางสู่กำไรที่ยังต้องพิสูจน์ตัวเอง (หรือตั้งคำถาม)

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ผู้เล่น Food Delivery หลายรายเองทั่วโลกยังประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากอุปสรรคสำคัญคือเรื่องของค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายของเหล่า Rider ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบไอทีต่างๆ ซึ่งจุดคุ้มทุนของแต่ละบริษัทนั้นมีความแตกต่างกันไป

บทความของ Financial Times ได้คำนวณตัวเลขของผู้เล่น Food Delivery ในยุโรปและสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่เข้า IPO บริษัทเหล่านี้ขาดทุนรวมกันแล้วมากกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันอันดุเดือดของธุรกิจนี้

ขณะเดียวกันหลายบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ อย่างเช่น Sea​ บริษัทแม่ของ Shopee Food รวมถึงผู้เล่นในตลาด Food Delivery อย่าง Uber Grab Deliveroo Doordash รวมถึง Delivery Hero ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Foodpanda เป็นต้น ต่างโดนเหล่านักลงทุนบีบให้บริษัทต่างทำกำไรให้ได้ไวที่สุด ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่เน้นการขยายธุรกิจกินส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด

สิ่งที่นักลงทุนต้องการไม่ใช่แค่กำไรเท่านั้น แต่ยังต้องเลิกเผาเงินสด หรือเลิกยึดครองตลาดที่นักลงทุนมองว่าไม่สามารถทำกำไรต่อไป

การบีบของนักลงทุนนั้นยังทำให้แผนธุรกิจของผู้เล่น Food Delivery หลายรายเริ่มเปลี่ยนจากการหารายได้ที่เน้นการส่งอาหาร การรับส่งลูกค้า ซึ่งรายได้ 2 ส่วนนี้นั้นมากกว่า 50% ของรายได้รวม เริ่มทำให้หลายผู้เล่นต้องปรับตัวให้คล้ายกับซุปเปอร์แอปฯ (Super App) มากขึ้น

คำถามคือในระยะยาวแล้ว การที่แอปเหล่านี้ปรับตัวคล้ายกับ Super App จะสามารถแข่งกับผู้เล่นดั้งเดิม เช่น  การเข้าไปยังธุรกิจ E-commerce หรือแม้แต่ FinTech นั้นแต่ละบริษัทสามารถสร้างจุดแข็งหรือแม้แต่ความได้เปรียบจากผู้เล่นเดิมในธุรกิจเหล่านี้ได้อย่างไร

ไม่เพียงเท่านี้บริษัทเหล่านี้ยังโดนจับตามองจากหน่วยงานกำกับดูแลถึงเรื่องของการแข่งขันด้านธุรกิจ เนื่องจากหลายประเทศ ผู้เล่นในธุรกิจเหล่านี้กำลังเหลือน้อยราย และยังรวมถึงเรื่องของการดูแลสวัสดิภาพของเหล่า Rider รับส่งอาหาร (หรือแม้แต่ Rider คนขับ) โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่เรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นใหญ่

ในอนาคตอันใกล้นี้เรากำลังเห็นผู้เล่นในอุตสาหกรรม Food Delivery ต่างเหลือผู้เล่นน้อยรายลงเรื่อยๆ ซึ่งในบางประเทศการต่อสู้ระหว่างผู้เล่นในธุรกิจนี้เหลือไม่เกิน 3-4 รายแล้ว ภายใต้การแข่งขันที่ยังคงดุเดือดทั้งคู่แข่งทางตรง หรือแม้แต่คู่แข่งทางอ้อม

]]>
1480493
ย้อนรอยเส้นทาง Robinhood แอปฯ เพื่อคนตัวเล็ก พร้อมวิเคราะห์เหตุผลก่อนที่ SCBX ประกาศปิดตัวในท้ายที่สุด https://positioningmag.com/1479825 Thu, 27 Jun 2024 11:19:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479825 พาไปย้อนรอยเส้นทางของแอปพลิเคชันส่งอาหารรวมถึงบริการอื่นๆ อย่าง Robinhood โดยชูจุดเด่นว่าเป็นแอปฯ เพื่อคนตัวเล็ก ก่อนในท้ายที่สุดบริษัทแม่เจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง SCBX จะประกาศปิดตัวแอปฯ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้

ถือเป็นข่าวที่สร้างความตกใจไม่น้อย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา SCBX ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ทางคณะกรรมการบริษัทได้แจ้งถึงการยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งจะมีผลภายในวันที่ 31 กรกฎาคมที่จะถึงนี้

ซึ่งการปิดตัวแอปพลิเคชัน Robinhood ทำให้ผู้บริโภคหลายคนใจหายไม่น้อย เนื่องจากเป็นอีกแพลตฟอร์มที่สามารถสั่งอาหารหรือบริการอื่นๆ ได้

Positioning พาไปย้อนรอยแอปฯ ดังกล่าว และวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าทำไมถึงต้องปิดตัวลง

เปิดตัวแอปฯ เพื่อช่วยคนตัวเล็ก

ในช่วงปี 2020 บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันโรบินฮู้ด (Robinhood) โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นทางกลุ่ม SCB มองว่าเป็นโครงการ CSR เพื่อคืนกำไรให้สังคม ให้ทั้งส่วนของ คนซื้อ คนขาย และคนส่งสินค้าได้ประโยชน์อย่างเต็มที่และเป็นธรรม

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่ต้องกักตัวในช่วงการระบาดโควิด และต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

จุดเด่นสำคัญคือ Robinhood จึงไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ เช่น ไม่มีค่าสมัคร ไม่คิดค่า GP (Gross Profit) ร้านอาหารจะได้เงินเต็มทุกบาททุกสตางค์ รวมถึงยังช่วยให้ร้านค้ามีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย

และในช่วงเวลาดังกล่าวทางแอปฯ มองว่ามีช่องทางในการเจาะตลาดลูกค้า โดยมองว่าถ้าหากมีการสั่งอาหารที่ยอด 300 บาทขึ้นไป แอปฯ ดังกล่าวถือว่าตอบโจทย์มากกว่า

ขยายบริการ

นอกจากบริการส่งอาหารแล้ว ในปี 2022 ทาง Robinhood ได้เปิดบริการเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นบริการ จองโรงแรม บริการการท่องเที่ยว บริการจัดส่งเอกสารและพัสดุ หรือแม้แต่บริการเรียกรถ ซึ่งบริษัทได้ขยายธุรกิจเพื่อที่จะหารายได้เพิ่มเติมให้กับแพลตฟอร์ม

ไม่เพียงเท่านี้ในช่วงเวลาดังกล่าว เพอร์เพิล เวนเจอร์ส มีแผนที่จะมีการระดมทุน Series A จากนักลงทุนภายนอกด้วย รวมถึงวางเป้าในการเป็น Super App ในอาเซียน

ขณะเดียวกันทาง Robinhood เองมองว่าในเมื่อทางแอปฯ เองไม่ได้ต้องการที่จะเก็บค่า GP จากทั้งร้านค้า หรือแม้แต่คนขับ ทำให้เกิดไอเดียในการหากำไรเพิ่มเติม เพื่อที่จะทำให้แอปฯ อยู่รอดได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการโฆษณาภายในแอปฯ หรือแม้แต่การปล่อยสินเชื่อ หรือการทำลีซซิ่ง มอเตอร์ไซค์และรถยนต์ไฟฟ้า

ถ้าหากแผนการดังกล่าวเป็นไปตามคาดจะทำให้ผลประกอบการของ Robinhood นั้นกลับมามีกำไรได้ภายในปี 2025 

Robinhood Ride

การแข่งขันสูง ภายใต้อุตสาหกรรมที่เติบโตช้าลง

อย่างไรก็ดีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การแข่งขันระหว่างบริการส่งอาหารภายในประเทศไทยนั้นมีความดุเดือดไม่น้อย แม้ว่าในช่วงของการแพร่ระบาดโควิดธุรกิจส่งอาหารจะได้รับความนิยมก็ตาม เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนไป

ข้อมูลจาก Momentum Works ที่ได้ออกบทวิเคราะห์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาชี้ว่าในปี 2023 ผู้เล่นในตลาดบริการส่งอาหารมีผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Grab ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 47% และ LINE MAN ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 36%

ขณะเดียวกันผู้เล่นรายรองลงมาอย่าง foodpanda ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 8% และ Shopee Food ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 6% ที่เหลืออีก 3% เป็นของ Robinhood เท่านั้น

ถ้าหากเทียบส่วนแบ่งการตลาดในปี 2022 นั้น Robinhood มีส่วนแบ่งตลาด 6% แต่ปี 2023 กลับมีส่วนแบ่งตลาดเหลือแค่ 3% ในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจส่งอาหารในไทยยังมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาคือ Shopee Food ทำให้การแข่งขันนั้นเพิ่มมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อเทียบตัวเลขของ Momentum Works จะเห็นว่าขนาดตลาด เมื่อใช้ตัวเลขยอดขายสินค้าออนไลน์รวมในแพลตฟอร์ม (GMV) ของไทยนั้นปี 2022 มีขนาด 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2023 เติบโตเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

จะเห็นได้ว่าตลาดในประเทศไทยนั้นการเติบโตเริ่มช้าลง แต่ผู้เล่นรายใหญ่นั้นยังมีการแข่งขันที่ดุเดือด ไม่เพียงเท่านี้สภาวะเศรษฐกิจไทยที่เติบโตช้า โดยบทวิเคราะห์ของ Bernstein ชี้ว่าอุตสาหกรรมส่งอาหารในอาเซียน อย่างเช่นในประเทศไทย (รวมถึงสิงคโปร์) นั้นเติบโตช้าลง

ปัจจัยข้างต้นยิ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมแพลตฟอร์มส่งอาหาร ส่งผลทำให้ผู้เล่นระดับรองๆ นั้นอาจไปต่อไม่ได้ภายใต้สภาวะเช่นนี้

ผู้เล่นในตลาดส่งอาหารในไทยมีหลายราย ภายใต้การเติบโต GMV ที่เริ่มโตช้าลง – ภาพจาก Shutterstock

ประกาศปิดตัว

ถ้าหากไปย้อนดูผลประกอบการของบริษัทแม่เจ้าของแอปฯ Robinhood นี้ โดยปี 2022 บริษัทมีผลขาดทุนราวๆ 1,900 ล้านบาท และปี 2023 มีผลขาดทุนราวๆ 2,100 ล้านบาท  ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้  เพอร์เพิล เวนเจอร์ส ต้องปิดตัวแอปฯ ดังกล่าวลง

ในบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด ชี้ว่า ถ้าหาก SCBX ได้เลิกกิจการของแอปพลิเคชัน Robinhood จะช่วยทำให้บริษัทสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 800 ล้านบาทในปี 2024 นี้ และมองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นการให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก

ขณะที่บทวิเคราะห์จาก UBS ยังชี้ว่าการยุติการให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood คาดว่าจะมีการตั้งด้อยค่าเพียง 1 ครั้งในช่วงไตรมาส 3 หรือไตรมาส 4 ของปี 2024 นี้และมองว่าการปิดตัวของแอปฯ ยังช่วยยุติการเผาเงินของบริษัท ช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ SCBX ในปี 2025 ลงได้

UBS ยังมองว่าในปี 2023 นั้น เพอร์เพิล เวนเจอร์ส มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานถึง 2,900 ล้านบาท และเมื่อประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ทำให้ SCBX สามารถนำเงินไปลงทุนในส่วนอื่น หรือแม้แต่ทำให้สามารถมีเงินจ่ายปันผลได้อย่างยั่งยืนขึ้น

และนี่ถือเป็นอีกหนึ่งการปิดฉากแอปฯ ส่งอาหารชื่อดังของไทย ภายใต้สภาวะอันท้าทายเช่นนี้

ที่มา – Tech In Asia, ข้อมูลจาก Momentum Works, บทวิเคราะห์จาก Bernstein, Tisco, UBS

]]>
1479825
KResearch มอง Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทย แนะภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ https://positioningmag.com/1479287 Sun, 23 Jun 2024 13:53:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1479287 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่า Clean Tech และ EV เป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยแนะนำให้ภาครัฐสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นี้จะเติบโตได้ราวๆ 2.6% ท่ามกลางความเสี่ยงในหลายปัจจัย

บุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้กล่าวถึงเรื่องสภาวะแวดล้อมโลกจากเดิมที่ไม่ค่อยมีความผันผวนมากนัก แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีความผันผวนอย่างมาก ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจาก

เขาได้เกริ่นถึงสาเหตุโลกร้อน ซึ่งอุณภูมิโลกเปลี่ยนแปลงตามจำนวนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยจุดเปลี่ยนสำคัญคือการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษทำให้เกิดการเผาถ่านหิน ขณะเดียวกันโลกในยุคปัจจุบันเองพื้นที่ป่าตอนนี้เหลือน้อยมาก ตอนนี้อาจทำให้สัตว์หรือพืชบางชนิดสูญพันธุ์อย่างถาวร เนื่องจากป่าทำให้เก็บคาร์บอน และมีความหลากหลายทางชีววิทยาเยอะมาก 

ปัจจุบันบุรินทร์ได้กล่าวว่าโลกตอนนี้กำลังมีการลดคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ปัญหาคือการเลี้ยงสัตว์หรือแม้แต่เรื่องของการทำเกษตรกรรม ทำให้มีการใช้พื้นที่จำนวนมาก รวมถึงการทำเกษตรแบบเดิมๆ

ข้อมูลจาก KResearch

จีนหันมารุก Clean Tech มากขึ้น

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ จีนเน้นเทคโนโลยีสะอาด (Clean Tech) เยอะมาก โดยบุรินทร์ชี้ถึงหลังปี 2008 นั้นอากาศในจีนดีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับอดีตที่อากาศในประเทศจีนนั้นถือว่าไม่ได้สะอาดมากนัก และจีนเองยังส่งออกรถยนต์มากกว่าเยอรมันแล้วในปัจจุบัน

เขายังชี้ว่า การที่จีนทำ Clean Tech เพราะเม็ดเงินลงทุน และได้กำไรเข้าประเทศ เนื่องจากจีนมีอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ซึ่งประเทศอื่นไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะมองว่าโลกหลังจากนี้เดินหน้าไปยัง Clean Tech แน่นอน

อย่างไรก็ดีกลุ่มประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป นั้นไม่ต้องการสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากจีนกินรวบอยู่คนเดียว จึงมีการออกมาตรการขัดขวางออกมา เช่น กำแพงภาษี เป็นต้น

ขณะเดียวกันบุรินทร์ชี้ว่าสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ในการตั้งประเทศดีมาก และในอดีตนั้นเป็นประเทศเดิผู้นำเข้าพลังงานรายใหญ่ แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แล้ว แตกต่างกับจีนที่ยังเป็นประเทศที่ต้องการพลังงานจำนวนมาก การที่หันมาสู่ Clean Tech เองนั้นถือว่าดีกับประเทศจีนไปในตัว

ข้อมูลจาก KResearch

ความขัดแย้งระหว่างประเทศเป็นประโยชน์กับไทยในเรื่อง Clean Tech และ EV

Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ยังกล่าวถึง ภาษีนำเข้าสินค้าในช่วงที่ผ่านมาทำให้บริษัทจีนย้ายฐานการผลิต ไม่ว่าจะเป็น แผงโซลาร์ อย่างไรก็ดีเขาได้กล่าวว่าถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจมีการขึ้นภาษีสินค้าบริษัทที่มีจีนเป็นเจ้าของ

ฉะนั้นแล้ว กลยุทธ์ของจีนอย่าง China+1 ที่มีการขยายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีทางการค้า ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทันทีถ้าหาก โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ

แต่เขายังชี้ว่าถ้าหากสหรัฐฯ มีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากบริษัทจีนจริง คาดว่ารัฐบาลจีนจะทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนอีก 20% ถ้าหากมีการประกาศภาษี ซึ่งการลดค่าเงินหยวนนั้น ปัญหาที่ตามมานั้นอาจทำให้สินค้าจากจีนทะลักเข้ามาในอาเซียนซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ส่งผลทำให้เกิดความวุ่นวายด้านการผลิตในไทย และยอดขาดดุลการค้าของไทยเพิ่มมากขึ้น 

อย่างไรก็ดี เขามองว่า Clean Tech และ EV จะเป็นโอกาสใหม่ของไทย และกลยุทธ์ China+1 อาจไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงต่อไป  เขายังชี้ว่าอาเซียนจะต้องรวมพลังกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง รวมถึงการมีบทบาทในตลาด เขตเศรษฐกิจ และศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญของโลกหลังจากนี้

ขณะเดียวกันเขายังชี้ว่าไทยยังมีจุดแข็งเช่น พลังงานสะอาด หรือกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นโอกาสดึงภาคการผลิตใหม่ๆ หรือดึงคนเก่งๆ เข้ามา แต่เขาเองก็มองว่าเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่เหนื่อยมากเช่นกัน

ข้อมูลจาก KResearch

เศรษฐกิจไทย ภายใต้การกีดกันทางการค้า

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่าความกังวลในการกีดกันทางการค้าทำให้จีนเร่งส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งไทยได้ประโยชน์จำกัด นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และในช่วงที่ผ่านมาไทยมีตัวเลขส่งออกสินค้าแย่กว่าในอาเซียน  

ปัจจัยที่กระทบเศรษฐกิจไทยในช่วงข้างหน้า คือเรื่องการเบิกจ่ายภาครัฐ สินค้านำเข้าจากผลสงครามการค้า และต้นทุนสินค้าเพิ่มจากผลกระทบจากเอลนีโญ จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงที่ว่าภาคการผลิตอุตาหกรรมไทยอาจหดตัวได้อีก

สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น KResearch มองว่า ภาครัฐควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ กวดขันสินค้านำเข้าและสนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมถึงเติมสภาพคล่องให้กับ SMEs และเน้นวางแผนการจัดการน้ำ ขณะเดียวกัน ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนจะต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกมิติ ทำให้รายได้เติบโตเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุน

โดยในปี 2024 นี้ KResearch คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราวๆ 2.6% สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่านั้นมองว่ามาจากปัญหาเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า รวมถึงการขายพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นไทยจากนักลงทุนชาวต่างชาติ

]]>
1479287
SCB EIC มองเศรษฐกิจไทย “ฟื้นช้า เปราะบาง ไม่แน่นอน” คาดแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 1 รอบช่วงปลายปี https://positioningmag.com/1478717 Wed, 19 Jun 2024 13:55:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478717 SCB EIC ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโต 2.5% เท่านั้น อย่างไรก็ดียังมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยนั้น “ฟื้นช้า เปราะบาง ไม่แน่นอน” และเปรียบเหมือนเศรษฐกิจไทยนั้นเหมือนกับป่วยเป็นมะเร็ง และมองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ 1 ครั้ง

SCB EIC ได้มองถึงเศรษฐกิจโลกเติบโตดีกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข GDP จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เติบโตดีส่งผลทำให้มีการลดดอกเบี้ยเลื่อนออกไปอีก

อย่างไรก็ดีสำหรับมุมมองเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลาง SCB EIC ชี้ว่าปัญหาของเศรษฐกิจจีนรวมถึงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างโลกลดลง การจ้างงานน้อยลง ในท้ายที่สุดปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเติบโตได้น้อยลง

เศรษฐกิจไทย “ฟื้นช้า เปราะบาง ไม่แน่นอน”

สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยเปรียบได้กับคนที่ป่วยค่อยๆ ซึมลง เหมือนกับการป่วยเป็นโรคมะเร็ง

เขายังเปรียบว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้เหมือนกับร่างกายอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ ถ้าเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงชัดเจน หรือเกิดวิกฤตอะไรเกิดขึ้น ไทยจะเกิดวิกฤตหรือไม่ก็ผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยจะหนักมากขึ้นกว่าเดิม เปรียบได้เหมือนติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจจะยากมากขึ้น

สมประวิณ มองว่าเศรษฐกิจหลายประเทศมีตัวช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แตกต่างกับไทยที่มีตัวเลือกน้อยลง และเขามองปัญหาเศรษฐกิจไทยจากที่ผ่านมานั้นเป็นปัญหาจากนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน EIC ยังมองว่าไทยนั้นเหลือเครื่องจักรสำคัญก็คือภาคการท่องเที่ยว ทั้งที่ได้ปัจจัยนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือแม้แต่การส่งเสริมให้มีการเที่ยวเมืองรองที่ยังช่วยเศรษฐกิจไทยได้ ขณะที่เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็น ภาคการส่งออก ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก หรือแม้แต่การเบิกจ่ายภาครัฐ

สำหรับในปี 2024 นี้ SCB EIC คาดว่า GDP ของไทยจะเติบโตได้แค่ 2.5% เท่านั้น ซึ่งปรับลดลงจากคาดการณ์เดิมที่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ 3% โดยมองว่าปัจจัยสำคัญที่เศรษฐกิจไทยแตกต่างจากเศรษฐกิจโลกนั้นมาจากภาคการบริโภคในประเทศถือว่าอ่อนแอ ต่างกับหลายประเทศ

ข้อมูลจาก SCB EIC

SCB EIC มองว่าต้องลดดอกเบี้ย

สมประวิณยังเล่าถึงความเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินไทยกับภาคเศรษฐกิจจริงๆ โดยยกตัวอย่างผลกระทบจากตลาดรถยนต์มือสองขึ้นมา โดยมองว่าตลาดรถยนต์มือสองมีราคาลดลง ส่งผลทำให้มีการรับซื้อรถยนต์มือสองในราคาที่ถูกลง ทำให้ขายรถยนต์ได้ยากขึ้น

ผลกระทบคือสถาบันการเงินเองขายรถยนต์มือสองได้ยากขึ้น หรือไม่ก็ต้องขาดทุนจากผลกระทบ ทำให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อยานยนต์ลดลง

ขณะเดียวกัน สมประวิณ ยังมองว่าความเปราะบางของครัวเรือนจะส่งผลต่อเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน หรือแม้แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยจะส่งผลมากขึ้น อย่างในกรณีของภาคธุรกิจไทยมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยดังกล่าวนั้นจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย

SCB EIC มีการศึกษาว่าถ้าหากมีการลดดอกเบี้ยจะทำให้คนก่อหนี้เพิ่มหรือไม่ โดยมุมมองธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาจะทำให้เกิดการก่อหนี้ในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น แต่สมประวิณมองว่าจริงๆ แล้วธนาคารอาจไม่ปล่อยสินเชื่อให้ก็ได้ (ซึ่งไม่ทำให้อัตราส่วนหนี้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น) ซึ่งเรื่องใหญ่กว่านั้นคือการหารายได้ของครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น

สมประวิณยังกล่าวเสริมว่าธนาคารแห่งประเทศไทยยังสามารถที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงมาได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจผ่อนคลาย คนมีรายได้มากขึ้น กล้าลงทุนมากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะกลับมาส่งผลต่อเรื่องหนี้ในครัวเรือนไทย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ SCB EIC มองว่าช่วงปลายปี 2024 จะมีการลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง และในปี 2025 อีก 1 ครั้ง

เมื่อโลกเปลี่ยนไป ภาคการผลิตของไทยก็ต้องเปลี่ยนตาม

ปราณิดา ศยามานนท์ ผู้อำนวยการฝ่าย Industry Analysis ของ SCB EIC ได้กล่าวถึงภาคการผลิตของไทย สามารถที่จะคว้าโอกาสท่ามกลางโลกแบ่งขั้วรุนแรงขึ้นได้ แต่ต้องมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกและการปรับตัวธุรกิจเชิงรุก ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะต้องออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของสินค้าแต่ละประเภทที่อาจได้หรือเสียประโยชน์แตกต่างกัน แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง แต่แข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรเน้นพัฒนาความสามารถในการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และความได้เปรียบในการแข่งขัน ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวชูจุดแข็งของสินค้าและเจาะตลาดเป้าหมาย รวมถึงวางกลยุทธ์เพิ่มส่วนแบ่งตลาด และปรับสินค้าให้ทันเทรนด์โลก

2) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตเก่ง และการแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกเปิดตลาดใหม่กระจายความเสี่ยง และยกระดับกระบวนการผลิตตามมาตรฐานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่ภาคธุรกิจต้องปรับตัวลดความเสี่ยงจาก Climate change และลงทุนพลังงานหมุนเวียน

3) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง แต่การแข่งขันไม่สูง : นโยบายภาครัฐควรให้สิทธิประโยชน์จูงใจให้ดำเนินธุรกิจเดิม แต่ลงทุนเพิ่มศักยภาพการผลิต มุ่งตลาดส่งออกที่มีอยู่ ขณะที่ภาคธุรกิจควรปรับตัวเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีการผลิตและสร้างความเข้าใจในตลาดขั้วสหรัฐฯ และขั้วจีนเพื่อเข้าถึงความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น

4) กลุ่มสินค้าที่ไทยผลิตไม่เก่ง และแข่งขันสูง : นโยบายภาครัฐควรช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านไปยังภาคการผลิตที่มีศักยภาพในการเติบโตบนห่วงโซ่การผลิตใหม่ได้ ขณะที่ภาคธุรกิจควรเร่งปรับตัวสู่ห่วงโซ่การผลิตใหม่และหาพันธมิตรด้านเทคโนโลยีสนับสนุน

SCB EIC มองว่าในช่วงเวลาในเรื่องการค้าโลกที่เปลี่ยนไป 2 มหาอำนาจมีความขัดแย้งกันนั้น ไทยเองควรที่สอดแทรกโอกาสดังกล่าวเข้าไป และจะต้องคิดเรื่องดังกล่าวใหม่ทั้งหมดแบบกลับหัวกลับหาง เช่น ในอดีตไทยส่งสินค้าไปประกอบที่จีน แต่ปัจจุบันจีนกลับส่งสินค้ามาให้ไทยประกอบแล้วส่งออกไปยังประเทศอื่น

]]>
1478717
Meta เผยผลสำรวจ “ผู้บริโภคชาวไทย 7 ใน 10 คนซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์ขายของ และชอบสอบถามข้อมูลจากผู้ขาย” https://positioningmag.com/1477798 Tue, 18 Jun 2024 05:47:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477798 เมตา (Meta) เผยผลสำรวจผู้บริโภคชาวไทย พบว่า 7 ใน 10 รายมีการซื้อสินค้าผ่านไลฟ์ขายของ และมีการรับชมไลฟ์ขายของอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งประเทศไทยถือเป็นอีกประเทศที่การไลฟ์ขายของนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอันดับต้นๆ ของโลก

แพร ดำรงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta กล่าวถึงแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมของบริษัทปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 3,240 ล้านคนต่อวันผ่าน Facebook, Instagram, WhatsApp รวมถึง Messenger

เธอได้กล่าวว่าการนำเทคโนโลยี AI เข้ามานั้นเป็นข้อดีที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นพบคอนเทนต์ใหม่ๆ หรือแม้แต่การลงโฆษณาในแพลตฟอร์ทำให้มีกิจกรรมใด ๆ ก็ตามของลูกค้าหรือ Conversion เพิ่มขึ้น 20% ลดต้นทุนการลงโฆษณาลดลง เพิ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

มองตลาดไลฟ์ช้อปปิ้งในไทย

เธอได้กล่าวถึงผลสำรวจที่ Meta ได้สำรวจชาวไทยอายุ 18 ถึง 53 ปีจำนวน 1,400 ราย พบว่า 8 ใน 10 ของผู้บริโภคที่สำรวจพบว่าดูไลฟ์ขายของ 1 อาทิตย์ต่อครั้ง และยังพบว่า 7 ใน 10 คนซื้อของผ่านการไลฟ์ขายของ โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในการไลฟ์ขายของคือ Facebook โดยเหตุผลหลักคือระหว่างดูไลฟ์ต้องการพูดคุยกับธุรกิจหรือเจ้าของร้านได้เลย

ผลสำรวจที่น่าสนใจจาก Meta เช่น

  • 50% ของผู้บริโภคกล่าวว่า ประสบการณ์ของลูกค้ามีความสำคัญต่อพวกเขามากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
  • 41% ของนักช้อปชาวไทยกล่าวว่า พวกเขาจะซื้อสินค้าเดิมในราคาที่สูงกว่า หากได้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวจากผู้ขายที่ดี
  • การสอบถามผ่านการส่งข้อความคือช่องทางที่นักช้อปไทยใช้มากที่สุดเมื่อต้องการสอบถามข้อมูลสินค้ากับผู้ขายในระหว่างการรับชมไลฟ์ขายของ
แพร ดำรงค์มงคลกุล – Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta / ภาพจากบริษัท

การส่งช้อความทางธุรกิจของไทย

แพร ยังเปิดเผยว่าประเทศไทยถือเป็นผู้นำเทรนด์ด้านการส่งข้อความเชิงธุรกิจอันดับต้น ๆ ของโลก จากข้อมูลผลการสำรวจที่บริษัทได้จัดทำ เผยว่ามีผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 9 ใน 10 คน ติดต่อกับธุรกิจผ่านแอปพลิเคชันแชทต่าง ๆ ในระหว่างขั้นตอนการซื้อสินค้า นอกจากนี้ผลสำรวจ 69% ของชาวไทยยังพบว่าพอใจในการพูดคุยกับแชตบอท

ผลสำรวจยังชี้ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้ Facebook และ Messenger ในการคุยกับธุรกิจหรือผู้ประกอบการต่างๆ โดยเหตุผลใหญ่ๆ บน Facebook คือความสะดวกสบายถึง 64% รองลงมาคือเรื่องการได้รับความนิยมของแพลตฟอร์ม 34%

โดยเรื่องหลักๆ ที่ผู้บริโภคชาวไทยได้พูดคุยกับธุรกิจร้านค้าต่างๆ เรียงตามลำดับได้แก่ ข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ราคา สต็อกสินค้า โปรโมชั่น หรือแม้แต่การส่งสินค้า

แต่ถ้าหากเป็น Instagram นั้นผลสำรวจส่วนใหญ่ชี้ว่าคือเรื่องของการรีวิวและการแนะนำสิ่งต่างๆ โดย 45% ของ Gen Z ชาวไทย พร้อมแชร์ความสนใจส่วนตัวกับธุรกิจต่างๆ ผ่านทาง Instagram Direct อีกด้วย

ภาพจาก Meta

เพิ่มบริการใหม่ให้กับชาวไทย

Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta ยังกล่าวว่าตอนนี้ผู้ที่ไลฟ์ขายของสามารถ Boost ตัวไลฟ์และสามารถหาลูกค้าที่มีโอกาสที่ต้องการซื้อสินค้าได้ ในขณะที่ไลฟ์สดยังสามารถเลือกดูแคตตาล็อคสินค้าได้เลย

ขณะเดียวกัน Meta ยังเตรียมเชื่อมต่อบริการกับ Shopee ทำให้ผู้บริโภคสามารถดูแคตตาล็อคสินค้าผ่านตัว Messenger ได้เลยถ้าหากธุรกิจร้านค้าดังกล่าวมีร้านค้าอยู่บนแพลตฟอร์มของ Shopee ซึ่งระบบดังกล่าวได้เปิดให้ใช้บริการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

สำหรับการพัฒนา Solution เหล่านี้ แพรได้กล่าวว่า เนื่องจากปัญหา Pain Point ต่างๆ ที่คนไทยพบ ทำให้มีการพัฒนาการสั่งซื้อสินค้าให้ราบรื่นมากขึ้น ส่งผลทำให้ธุรกิจปิดการขายได้มากขึ้น นอกจากนี้เธอยังกล่าวว่าแม้จะมี Facebook Shop แต่ก็มองว่าเปิดทางเลือกให้กับธุรกิจสามารถลงสินค้าได้ทุกช่องทาง

นอกจากนี้เธอยังกล่าวว่าปัญหา Pain Point ต่างๆ ที่คนไทยพบนั้นแตกต่างกับหลายประเทศ บางปัญหาถึงขั้นให้นักพัฒนาของบริษัทต้องมาพัฒนาบริการดังกล่าวด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ Meta เพิ่งมีการเปิดตัว Solutions Theme ตอนนี้มองเรื่องมากกว่าแชตแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Tools ในการจัดการลูกค้าที่เข้ามา (Lead Center) สามารถ Integrate เข้ามาดูแลลูกค้าได้ ธีมในเรื่องการพัฒนาเรื่องประสิทธิภาพของโฆษณา นอกจากนี้ยังรวมถึงการทำแชตบอทโดย AI ให้กับภาคธุรกิจ ตอนนี้กำลังทดสอบภาษาไทยอยู่

]]>
1477798
UOB เผย “โอนย้ายลูกค้า Citi เป็นไปด้วยดี มองปัญหาการจ่ายเงินเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าคนละแบบ แต่แก้ปัญหาแล้ว” https://positioningmag.com/1478242 Fri, 14 Jun 2024 14:30:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478242 ในช่วงที่ผ่านมาลูกค้าของ Citi ที่ได้โอนย้ายมาเป็นลูกค้า UOB ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นทั้งการไม่สามารถติดต่อกับ Call Center ได้ หรือแม้แต่ปัญหาระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ ซึ่งล่าสุดสถาบันการเงินรายนี้ได้กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวได้กำลังทยอยแก้ปัญหาอยู่

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย (UOB) ได้ชี้แจงเรื่องราว รวมถึงการแก้ไขปัญหา หลังจากไม่กี่วันที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ทางธนาคารเร่งให้ทางธนาคารแก้ไขปัญหาการถ่ายโอนบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ (Citi) มายังธนาคาร และกำชับให้ธนาคารเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก UOB ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยของซิตี้แบงก์ในประเทศไทย ประกอบไปด้วยกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย ในปี 2022 และยังรวมถึงประเทศอื่นไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม

Positioning รวบรวมประเด็นสำคัญจากผู้บริหารของ UOB หลังจากมีการย้ายลูกค้าจากเดิมที่อยู่ Citi มายังระบบของ UOB ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนเป็นต้นมา

การย้ายระบบเป็นไปได้ด้วยดี

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่า ธนาคารได้ดำเนินการโอนย้ายบัญชีลูกค้าจากซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จำนวนกว่า 1.2 ล้านราย มายังระบบของธนาคารยูโอบี โดยเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมาและในขั้นตอนการโอนย้ายมีความปลอดภัยที่ดี

เขายังชี้ว่าการย้ายลูกค้าจากแพลตฟอร์มหนึ่งมาอีกแพลตฟอร์มหนึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ และมีความขลุกขลั่กหลายเรื่อง

ในขณะที่ วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า การโอนย้ายสำเร็จทั้งลูกค้ารายย่อยรวมถึงลูกค้า Wealth ซึ่งทางธนาคารรับทราบว่าทุกการเปลี่ยนแปลง ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกสบาย ทางธนาคารขออภัยในความไม่สะดวก

ปัญหาเรื่อง Call Center

กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า UOB ได้เพิ่มจำนวน Call Center มากถึง 1,000 คน (จากเดิม 500 คน) และเรื่องดังกล่าวมีการเตรียมพร้อมหลายเดือนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพนักงาน เป็นต้น

แต่เนื่องจากปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม นั้นเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า แม้จะเพิ่มพนักงานแล้วเท่าตัว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เธอได้ให้รายละเอียดเป็นเพราะว่าระยะเวลาการพูดคุยเฉลี่ยของลูกค้านั้นเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยต่อลูกค้า 1 รายอยู่ที่ 700 วินาที ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ที่ 350 วินาที เนื่องจากลูกค้าต้องการให้ช่วยสมัคร บริการ UOB TMRW ซึ่งลูกค้ามากกว่า 90% ของ Citi ได้สมัครบริการ UOB TMRW แล้ว

นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น เธอได้กล่าวว่าได้แบ่งกลุ่มของ Call Center ให้แยกรับปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น การสมัคร UOB TMRW การรับปัญหาเรื่อง Statement ซึ่งลูกค้าบางคนไม่ได้เก็บไว้ รวมถึงปัญหาเรื่องระบบการ กระจายยอดชำระอัตโนมัติ (Payment Apportionment)

(จากซ้าย) วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand / ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ / ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย / ภาพจาก UOB Thailand

เปิดบริการในหลายช่องทาง

วีระอนงค์ ยังได้กล่าวว่า ปัญหาของ Call Center ในช่วงแรกนั้นได้แก้ปัญหาโดยการฝึกพนักงาน Call Center เพิ่มเติม และยังมีการนำพนักงานที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ มาช่วยในเรื่องนี้ด้วย ขณะเดียวกันทาง UOB ได้เปิดช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ทั้งมีการส่งอีเมล หรือเปิดรับปัญหาจาก Social Network ต่างๆ สามารถส่งข้อความเข้ามาได้ และยังรวมถึงการให้บริการของสาขาได้มีการขยายเวลาทำการในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีพอสมควร

ในเดือนเมษายน กรรมการผู้จัดการ Retail & Brand ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวว่าธนาคารได้รับคำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการรายงานกลับไปเป็นระยะๆ และทุกสัปดาห์มีการประชุมร่วมกันด้วย และปัญหาที่เกิดขึ้นเธอซาบซึ้งธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาลูกค้า

สำหรับการแก้ปัญหาระยะสั้น วีระอนงค์ ได้กล่าวว่า หากลูกค้าโทรเข้ามาที่ UOB จะต้องรับสายได้ สามารถมีการส่ง Statement ได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มที่ลดลงแล้วแต่เธอยังจับตามองอยู่ และพยายามทำให้ลูกค้าสบายใจมากขึ้น

ในส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางคือปรับปรุงกระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องของระบบการจ่ายเงิน เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป เลยต้องรีบแก้ไข ทำให้ดีมากกว่านี้ และยังรวมถึงก็สิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้า ตอบโจทย์ลูกค้า มีแคมเปญต่างๆ ไม่หยุดทำแคมเปญ

เธอยังมองว่า ที่ผ่านมาธนาคารได้เน้นสื่อสารเรื่องการโอนย้ายลูกค้าเลยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสิทธิประโยชน์หายไป แต่หลังจากนี้ธนาคารจะสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริหารของ UOB Thailand ชี้ว่าปริมาณการโทรเข้ามาของลูกค้าลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า / ข้อมูลจาก UOB Thailand

ปัญหาเรื่องของระบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ

ยุทธชัย เตยะราชกุล กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงปัญหาของระบบ Payment Apportionment ซึ่งทำให้ลูกค้าหลายรายเกิดความไม่พอใจ นั้นเขามองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมลูกค้าของ Citi และ UOB ที่แตกต่างกัน

เขาได้กล่าวถึงพฤติกรรมลูกค้า UOB คือจะจ่ายครั้งเดียวจบ แต่สำหรับลูกค้า Citi กลับเลือกจ่ายทีละบัตรเครดิต ซึ่งบางบัตรนั้นลูกค้าจ่ายเต็ม บางบัตรเครดิตลูกค้าจ่ายขั้นต่ำ ในการแก้ปัญหาตอนนี้คือทางธนาคารกำลังพัฒนาระบบให้เลือกจ่ายได้ตามปกติ

ซึ่งปัญหาดังกล่าว กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มองว่าส่งผลทำให้การพูดคุยกับ Call Center ยาวนานมากขึ้น

ตอนนี้เวฟดอกเบี้ยให้หมด จะไม่เกิด Late Charge และถ้าขึ้นในเครดิตบูโร จะช่วยอัปเดต ลูกค้าที่กระทบนั้นหลักพันราย ตอนนี้แทบไม่เหลือแล้ว และตอนนี้ทยอยปรับประวัติลูกค้าแล้ว และดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี จากปัญหาการกระจายยอด

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เขาได้กล่าวว่าจะแก้ปัญหาให้ โดยธนาคารจะดำเนินการยกเลิก Payment Apportionment ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชีวันที่ 24 มิถุนายน เป็นต้นไป สำหรับการใช้งานบัตรเครดิต

กรรมการผู้จัดการ บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังกล่าวว่า สำหรับลูกค้าที่สมัครบัตรเครดิตใบใหม่ของ UOB อาจมีความล่าช้าไปบ้าง ซึ่งตอนนี้ทางธนาคารกำลังปรับปรุงระบบให้ดีมากขึ้น นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตในเดือนเดือนพฤษภาคมมีลดลงบ้าง แต่เดือนมิถุนายนนั้นยอดการใช้จ่ายได้กลับมาปกติแล้ว

]]>
1478242
สรุปเทรนด์การเงินและฟินเทคที่น่าสนใจจากงาน Money20/20 Asia เมื่อตลาดเอเชียยังน่าสนในมุมมองต่างชาติ https://positioningmag.com/1469745 Fri, 07 Jun 2024 17:00:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469745 สรุปเทรนด์และฟินเทค (FinTech) ที่น่าสนใจจากงาน Money20/20 Asia ซึ่งได้มาจัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงตลาดด้าน FinTech ในทวีปเอเชียยังคงน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

สำหรับงาน Money20/20 Asia นั้นเป็นงานรวมฟินเทคชั้นนำที่จัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงาน 3,000 คน มาจากกว่า 85 ประเทศ โดยมีทั้งผู้บริหารทั้งสถาบันการเงินในเอเชีย หรือแม้แต่ผู้บริหารของบริษัทฟินเทคต่างๆ เข้าร่วมงาน

Positioning จะพาไปสรุปสิ่งที่น่าสนใจในงานไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ด้านการเงิน หรือแม้แต่สตาร์ทอัพสาย FinTech เอง

เทรนด์ด้านการเงิน

Scarlett Sieber ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการเติบโตของ Money20/20 ผู้จัดงาน ได้กล่าวถึงเทรนด์ เทคโนโลยีการเงินที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น

  • Cross Border Payment การจ่ายเงินระหว่างประเทศ เป็นเทรนด์ที่กำลังมา ซึ่งในโซนลาตินอเมริกากำลังได้รับความนิยม
  • Financial Inclusion ทำให้คนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น ซึ่งทวีปเอเชียเป็นผู้นำในเรื่องดังกล่าว
  • Open Banking ทำให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น ตอนนี้ผู้ใช้งานเป็นเจ้าของข้อมูลต่างๆ ตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล
  • ความปลอดภัยของด้านการเงิน เธอกล่าวถึงสถาบันการเงินจากอินเดียพูดถึงเรื่องของการฉ้อโกงด้วย และ การโจรกรรม ต้องตามเรื่องเทคโนโลยีเรื่อยๆ และตัวของแอปพลิเคชันก็ต้องป้องกันในเรื่องดังกล่าว
  • Super App เธอกล่าวว่าในทวีปเอเชีย เรื่องดังกล่าวอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ในทวีปยุโรปและอเมริกานั้นกำลังเป็นเทรนด์อย่างมาก

นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และการเติบโตของ Money20/20 ยังกล่าวถึงในงานว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินเริ่มสื่อสารกับภายนอกเพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่มาเป็นผู้พูดในงาน ไปจนถึงการบอกกล่าวนโยบายด้านการกำกับดูแลใหม่ๆ ด้วย ซึ่งแตกต่างกับในอดีต

ส่องสตาร์ทอัพที่น่าสนใจ

Money20/20 Asia ได้เลือกสตาร์ทอัพสาย FinTech เหล่านี้เข้ามาโชว์ในงาน เนื่องทางงานมองว่าบริษัทเหล่านี้กำลังเติบโตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกหลังจากนี้ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินหรือบริษัทใหญ่ๆ ได้ซื้อกิจการหรือมีความร่วมมือด้วยกันผ่านงาน Money20/20 เป็นต้น

สตาร์ทอัพสาย FinTech ที่เข้ามาร่วมงาน Money20/20 Asia เช่น

Bitazza เป็น FinTech ผู้ให้บริการนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีใบอนุญาตจากหน่วยงาน ก.ล.ต. โดยผู้บริหารในงานกล่าวว่าอยากให้ทุกคนเข้าถึงการลงทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล ขณะที่บริษัทได้เงินลงทุนแบบ Seed 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ตอนนี้มีกำไรแล้ว

Pluang เป็น FinTech ลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น ฯลฯ โดยล่าสุดแอปมีคนใช้งาน 20 ล้านคนในอินโดนีเซีย ตอนนี้คนใช้เทคโนโลยีมากขึ้น หรือมีบริการอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น

Fairbanc เป็น FinTech ให้บริการไฟแนนซ์สินเชื่อให้กับเหล่า SME โดยนำสินค้าจากบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Unilever และ Nestle หรือแม้แต่ Danone ไปวางขาย ซึ่งบริษัทใหญ่เหล่านี้อยากได้ข้อมูลของเหล่า SME และมองว่าธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย

Mula-x เป็น FinTech ที่มีสำนักงานในประเทศไทย โดยชื่อของแอปมาจากคำว่า Mula ซึ่งแปลว่า เงิน ซึ่งตัวแอปพยายาม Disrupt สินเชื่อนอกระบบ และพบว่าปัญหาในไทยคือไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ซึ่งล่าสุดทางแอปเองได้จับมือกับ Prepay Nation เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าแรงงานต่างด้าวสามารถโอนเงินก้อนเล็กๆ หรือเติมเงินโทรศัพท์มือถือให้กับญาติได้

Cepat เป็น FinTech มีสำนักงานอยู่ฟิลิปปินส์ ให้บริการการเงินกับแรงงานชาวฟิลิปปินส์ที่ทำงานนอกประเทศ สามารถส่งเงินกลับเข้าประเทศได้ หรือแม้แต่ให้บริการกู้ยืม ซึ่งผู้บริหารชี้ว่าตลาดดังกล่าวมีแรงงานจำนวนมากถึง 2.4 ล้านคน 

Heymax.ai เป็น FinTech ที่รวบรวม Loyallty Program เข้ามาเป็นอันเดียว และตั้งเป้าว่าลูกค้าที่ใช้งานแอปฯ นี้ภายใน 1 ปีจะสามารถเดินทางได้ 1 ทริป ตอนนี้ให้บริการในสิงคโปร์ และออสเตรเลีย

Paysquad เป็น FinTech จากประเทศนิวซีแลนด์ โดยมีไอเดียหลักคือการแบ่งกันจ่าย เช่นการชวนเพื่อนซื้อของขวัญชิ้นใหญ่ให้เพื่อน โดยผู้บริหารได้กล่าวว่าตลาดในนิวซีแลนด์ ไม่ใช่ตลาดใหญ่สุด แต่ได้ทำตลาดที่ออสเตรเลียเนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่กว่า และหลังจากนี้อีก 12 เดือนกำลังจะขยายมาอาเซียนด้วย

สำหรับงาน Money20/20 Asia จะมีการกลับมาจัดอีกครั้งที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 22-24 เมษายน 2025 ซึ่งจะเห็นว่าศักยภาพของเหล่า FinTech ในทวีปเอเชีย ยังมีความน่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะเหล่า FinTech ในอาเซียน

]]>
1469745