ญี่ปุ่น ปรับขึ้นค่าประกันสังคม ผู้สูงอายุ 75 ปีขึ้นไปจ่าย 2 เท่า เพื่อลดภาระคนรุ่นใหม่

Photo : Shutterstock

รัฐบาลญี่ปุ่น เคาะเเผนปรับขึ้นค่าประกันสังคมสำหรับกองทุนรักษาพยาบาลของผู้ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไปที่มีรายได้เกิน 2 ล้านเยนต่อปี เพื่อเเบ่งเบาภาระของคนรุ่นใหม่ เเละต่อสู้กับวิกฤตประชากรขั้นรุนเเรง

นโยบายนี้จะทำให้ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไปที่มีรายได้เกิน 2 ล้านเยนต่อปี (ราว 5.8 เเสนบาท) เเละคู่สมรสอายุ 75 ปีขึ้นไปที่มีรายได้รวมกันเกิน 3.2 ล้านเยนต่อปี (9.2 เเสนบาท) จะต้องเสียค่าประกันสังคมเพิ่มเป็น 20% ของรายได้ทั้งหมด จากเดิมที่เคยต้องจ่ายเพียง 10%

โดยคาดว่าโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2022 ซึ่งจะมีคนญี่ปุ่นราว 3.7 ล้านคนได้รับผลกระทบ 

โยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ ที่เพิ่งขึ้นรับตำเเหน่งไปเมื่อช่วงเดือน ก.. ระบุว่า รัฐบาลต้องการจะ
ลดภาระของคนรุ่นใหม่ วัยทำงานที่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นจากปัญหาประชากร โดยต้องการสร้างระบบประกันสังคมที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน

การที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มขั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายสวัสดิการของรัฐด้านประกันสังคมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ขณะเดียวกัน เมื่ออัตราการเกิดใหม่ลดลงก็ทำให้มีประชากรวัยเเรงงานที่เป็นส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจจ่ายภาษีลดลง อีกทั้งคนหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ต้องเเบกรับภาระทางสังคมเพิ่มขึ้น

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการผลักดันกฎหมายให้ภาคเอกชนขยายระยะเวลาทำงาน หรือขยายเวลาเกษียณอายุให้กับลูกจ้างไปจนถึงอายุ 70 ปี จากเดิมที่บริษัทญี่ปุ่นมีภาระผูกพันที่จะต้องให้พนักงานทำงานจนถึงอายุ 65 ปี

เเม้ในขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องรักษาสภาพพนักงานไปจนถึงอายุ 70 ปี เเต่ก็ให้เป็นตัวเลือกมาลองใช้ 5 เเบบ ได้เเก่ การขยายเวลาเกษียณอายุ การปลดลูกจ้างต่อเมื่อไม่สามารถทำงานได้ เเละการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานเกินอายุที่กำหนด

เเละมีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำงานยุคใหม่อีก 2 เเบบคือ การให้บริษัทจ้างงานลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วในรูปแบบฟรีแลนซ์เเละให้จ้างงานลูกจ้างให้ทำงานเป็นการกุศลของบริษัท โดยคาดว่าจะบังคับใช้ให้ได้ภายในเดือนเมษายน ปี 2021

 

 

ที่มา : JapanTimes , JapanToday