ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ ที่พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายสิบปี อาทิ ญี่ปุ่นที่ตัวเลขเงินเฟ้อญี่ปุ่นทำสถิติใหม่สูงสุดในรอบ 40 ปี หรืออย่าง ตุรกี ที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงสุดในรอบ 24 ปี ทำให้รัฐบาลต้องปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อแก้ปัญหา แม้ว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มดีขึ้นแล้วบ้างก็ตาม
ตุรกี ประกาศ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 55% โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการของประเทศในขณะนี้อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 24 ปีที่ 84.4% ส่งผลให้เกิดวิกฤตค่าครองชีพที่ทำให้คนหลายล้านตกอยู่ในความยากลำบากทางการเงิน กระทบต่อธุรกิจขนาดเล็ก และทำให้หลายคนไม่สามารถซื้อสินค้าพื้นฐานได้
Recep Tayyip Erdogan ประธานาธิบดีตุรกี กล่าวว่า การเงินเดือนขั้นต่ำจะเพิ่มเป็น 8,500 ลีรา (15,700 บาท) โดยเริ่มในปี 2566 โดยคาดว่ากลุ่มแรงงานในเกณฑ์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีสัดส่วนประมาณ 30% ของแรงงาน อย่างไรก็ตาม การปรับค่าแรงขั้นต่ำถึง 55% แต่นักเศรษฐศาสตร์กังวลว่ามันจะยิ่ง เพิ่มอัตราเงินเฟ้อ และมาตรการดังกล่าวเป็นเรื่องของการเมือง เนื่องจากตุรกีกำลังจะมีการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน 2566
Timothy Ash นักยุทธศาสตร์ด้านตลาดเกิดใหม่ที่ BlueBay Asset Management กล่าวว่า “แรงจูงใจ = ชนะการเลือกตั้ง ผลกระทบ = อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น”
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของประเทศตุรกีเพิ่งชะลอตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 18 เดือน โดยอยู่ที่ 84.4% ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจาก 85.5% ในเดือนก่อนหน้า