กันดั้ม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Jan 2019 03:29:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.11 เจนใหม่กุมบังเหียน https://positioningmag.com/1209221 Sun, 20 Jan 2019 06:53:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209221 Ep.11 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

ถึงปี 1980 ยามาชินะ นาโอฮารุ ผู้ก่อตั้งบริษัท ก็ก้าวลงจากตำแหน่งประธาน ผู้ที่ขึ้นมาแทนเขาคือ ยามาชินะ มาโคโตะ วัย 35 ปี ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน นำคนหนุ่มสาวเข้ามาบริหารบริษัท และปลดพนักงานเก่ารุ่นพ่อออกเป็นจำนวนมาก ช่วงนี้แหละที่บันไดเริ่มเปิดการผลิต กันพลา” 

ภายใต้การนำของมาโกโตะ บันไดเริ่มตั้งสาขาในต่างประเทศ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศสอิตาลี หรือที่ออสเตรเลีย และยังมีการวางแผนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า เช่น การเปิดโรงงานแห่งที่สองในฮ่องกง และร่วมทุนเปิดโรงงานผลิตของเล่นในจีน และร่วมมือกับบริษัท Imperial Toys (ของกลุ่มบริษัท .เจริญ ผู้ค้าของเล่นรายใหญ่ของไทยที่เป็นคู่ค้ากันอยู่ตั้งบริษัท Bandai and K.C. เพื่อผลิตของเล่น

ช่วงต้นยุค 80 ในญี่ปุ่นตลาดอะนิเมะบูมมาก มีการผลิตอะนิเมะแบบส่งตรงลงม้วนวิดีโอออกมามากมาย (มีชื่อเรียกว่า OVA-Original Video Animation) บันไดที่ช่วงนั้นมีรายได้จากของเล่นลดลง ก็หันเข้าหาตลาดนี้ด้วยเช่นกัน โดยก่อตั้งบริษัท Bandai Visual ขึ้นผลิตอะนิเม และ Emotion เป็นบริษัทจัดจำหน่าย พร้อมทั้งเปิดเชนร้านวิดีโอในชื่ออีโมชั่นด้วย ซึ่งบริษัทนี้เคยได้ดีลเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังของวอลท์ ดิสนี่ย์ในญี่ปุ่นด้วย

ยุค 80 บันไดมีสินค้าจากอะนิเมฮิทที่สร้างจากบิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ โชเน็น จัมป์ไม่ว่าจะเป็น ดราก้อนบอลคินนิคุแมน (ตุ๊กตุ่น), เซนต์เซย์ย่า (ฟิกเกอร์ชุดคลอธ) ที่ทุกวันนี้ก็ยังทำเงินให้บันไดได้ 

ของเล่นคินนิคุแมน
ของเล่นเซนต์เซย์ย่า

ของเล่นอีกชุดที่ได้รับความนิยมก็ตือ DXโชโกคิน ที่ช่วงนี้ผลิตออกมาในชื่อของบันได โดยซีรีส์ที่ได้รับความนิยมก็คือเหล่าหุ่นแปลงร่างจากหนังขบวนการ (Super Sentai) 

DXโชโกคิน หุ่นขบวนการ

เข็มขัดแปลงร่างก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง พร้อมกับการกลับตืนจอทีวีของไรเดอร์ ในชุด Kamen Rider Black 

เข็มขัดแปลงร่างRiider Black

สินค้าอีกชิ้นที่บันไดออกวางตลาดและได้รับความนิยมในช่วงที่โมเดลได้รับความนิยมอีกชนิดก็คือ High Complete Model (H.C.M.) มันคือฟิกเกอร์หุ่นยนต์พลาสติกเสริมชิ้นส่วนโลหะบางจุดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ในขนาด 1/144 ที่โดดเด่นที่สุดตคือมือที่สามารถขยับนิ้วได้เพื่อใช้ในการจับอาวุธชนิดต่างๆ ออกวางตลาดตั้งแต่ปี 1984 ในซีรีส์มีทั้งหุ่นจากกันดั้ม และหุ่นจากอะนิเมะหุ่นยนต์เรื่องอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น ทั้งไวฟามแอลไกลม์ซาบุงกุลมาครอส 

H.C.M.

และไม่รู้เพราะมาโกโตะมีพื้นฐานในธุระกิจการพิมพ์หรือเปล่า ทำให้บันไดออกสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีพื้นฐานมาจากการพิมพ์ นั่นก็คือ การ์ดดัส มันเป็นการ์ดสำหรับสะสมที่มีต่าต่างๆ บนการ์ดเอามาเล่นแบบประลองกันได้ (ก่อนที่จะมีการ์ดเกมเชิงยุทธวิธีอย่าง Yu-Gi-Ohจะออกมาวางขาย) การ์ดดัสเริ่มออกวางตลาดตั้งแต่ปี 1988 โดยขายผ่านเครื่องขายการ์ดแบบหยอดเหรียญโดยชุดแรกคือเซนต์เซย์ย่า ก่อนจะตามด้วย ดราก้อนบอล และ SD Gundam หลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีเรื่องดังๆ เรื่องไหนจะไม่ได้ออกเป็นการ์ดดัสมาให้สะสมกันเลย เมืองไทยก็มีคนเอามาพิมพ์ขายเหมือนกัน และแน่นอนการ์ดสะสมนี้ก็ต้องมีใบหายาก พวกพิมพ์พิเศษอย่างการ์ดปริซึ่มด้วยเช่นกัน พวกนี้ก็จะมีราคาสูงขึ้นในหมู่นักสะสม ทุกวันนี้การ์ดดัสก็ก็ยังมีออกมาเรื่อยและพัฒนาตัวเองไปเป็นการ์ดเกมสไตล์ยูกิโอไปได้ ทำให้เท่าที่มีบันทึกไว้ บันไดขายการ์ดดัส ไปได้มากกว่า 11.5 พันล้านใบแล้ว (แค่ปี 1998 เฉพาะการ์ดดัสดราก้อนบอลก็ทำยอดขายไปได้กว่าพันล้านใบแล้ว 

การ์ดดัส
ตู้ขายการ์ดดัส

เมื่อถึงยุค 90 บันไดจะก้าวไปเติบโตในตลาดอเมริกาได้อย่างเหลือเชื่อ.

การ์ดปริซึ่มการ์ดพิเศษ

ที่มา : facebook.com/Power-Up-Mag

]]>
1209221
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.9 อนิเมะซีรีส์กันพลา-ที่มา Gundam Front https://positioningmag.com/1192572 Sat, 13 Oct 2018 04:59:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1192572 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Bandai Ep.9

ปี 2001 บันไดปล่อย Master Grade นอกยุค U.C. ตัวแรก G-Gundam โดยออกระบบใหม่มาใช้กับหุ่นที่มีขนาดเล็กลง แต่ต้องเคลื่อนไหวได้มากขึ้นเรียกว่า Action Frame

ปี 2002 กันดั้มกลับมามีซีรีส์อนิเมะทางทีวีอีกครั้ง คราวนี้โด่งดังเหนือความคาดหมาย เด็กรุ่นใหม่ตื่นเต้นกับเรื่องราว แต่แฟนเก่ากลับรู้สึกว่า นี่คือกันดั้มภาคแรกที่เอามายกเครื่องใหม่เพิ่มคู่จิ้น (คิระ-อัสลัน) ปรับหุ่นให้หน้าตาทันสมัยขึ้น (แต่หลายๆ ตัวก็คล้ายๆ เดิม)

MG G-Gundam

แต่ที่สำคัญเปิดตัวมากันดั้มก็มี 5 ตัว แถมตัวพระเอกมี 3 แบบ ขายโมกันสนุกไปเลย โมจากซีรีส์นี้แบ่งออกเป็น 1/144 กับ 1/100 ทั้งสองรุ่นไม่ติดเกรดแบบที่บันไดใช้เป็นมาตรฐานอยู่ แต่ก็เข้าใจได้ว่า 1/100 ก็จะมีรายละเอียดและการเคลื่อนไหวที่ดีกว่า 1/144 ก่อนที่จะมีรุ่น HG ในสเกล 1/144 ตามมาบางตัว รวมทั้ง MG ในสเกล 1/100 ในภายหลัง อันนี้ก็จะคงไว้ต่อเนื่องไปถึงภาคต่อ Gundam Seed Destiny (2004) ด้วย ที่แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าภาคแรก แต่ก็ยังมี OVA ตอนพิเศษ Stargazer ออกมาอีกตอน แต่ที่แน่ๆ ภาคนี้มีหุ่นชื่อกันดั้ม หรือหน้าตาออกเป็นกันดั้มมากกว่าเดิม

Gunpla Series Seed/Seed Destiny
Gunpla Series Seed/Seed Destiny

แต่ที่ซีรีส์นี้ประสบความสำเร็จมากคือ Side Story ที่ฮิตไม่น้อยกว่าเรื่องหลัก แถมมีหลายภาคอีกด้วย นั่นก็คือ Gundam Astray ทั้งที่มีแค่คอมมิค และนิยายประกอบภาพถ่ายจากโมเดลเท่านั้น แต่ 5 ยูนิตก็เปลี่ยนเฟรมไปเรื่อยจนมีเป็นสิบแบบ ถึงทุกวันนี้ยังมีโมจากซีรีส์นี้ออกวางขายอยู่เลยทั้งแบบ HG และ MG

เทียบขนาด RX-78-2

ในปี 2002 ยังเป็นครั้งแรกที่บันไดเริ่มออก Master Grade Ver Ka. ที่เอาหุ่นเก่ามาให้คาโตกิ ฮาจิเมะมาดีไซน์ใหม่ จะถือว่าเป็นสายย่อยของ MG ก็ได้ครับ และแน่นอนครับตัวแรกก็ต้องเป็น RX-78-2 (ซึ่งจริงก็ออกแบบมานานแล้วล่ะ เคยทำทั้งการาจคิท และตัวสำเร็จ แต่เพิ่งเอามาออกเป็นชุดคิทที่ทำง่ายเป็นมาตรฐานก็ตอนนี้เอง)

MG RX-78-2 Ver Ka.

ปี 2005 บันไดออก OVA ออกมา 2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นของเก่าเอามาแก้ (ไปเพื่อ?) ขายอีกรอบอย่าง Z-Gundam A New Translation ที่โทมิโนะเจ้าของเรื่องเอาภาคเซต้ามาแก้ (แบบโคตรหยาบอย่างหันซ้ายเป็นของเดิม แต่พอหันหน้ามาดันวาดใหม่ ก็ขนาดเจ้าตัวออกปากทีหลังว่าทำไปทำไม) แถมแก้ตอนจบจนมีปัญหากับความคงอยู่ของภาค ZZ กับอีกเรื่องคือ MS Igloo ที่เนื้อหาประมาณไซด์สตอรี่ของกันดั้ม ที่ดูจริงจังขึ้น เรื่องนี้มีออกโมจากในเรื่องเป็น HG ด้วย ปีนี้MGปรับปรุงโมและออก Z-Gundam Ver 2.0 หลังจากที่อัพเกรดแต่ RX-78-2 มาหลายรอบแล้ว (ก่อนหน้านี้ก็อัพเกรด Gundam Mk.II เป็น 2.0 ไปก่อนแล้ว)

MS Igloo
Z-Gudam Ver 2.0

ปี 2006 บันไดออก MG Gundam F91 เป็นตัวแรกที่ไม่ใช้โพลี่แค็ปในนการประกอบ และในปีนี้เริ่มจัดงาน Gunpla Expo ซึ่งเป็นงานเปิดตัวกันพลารุ่นใหม่ๆเป็นครั้งแรก

MG Gundam F91 Ver 1.0

ปี 2007 กันดั้มกลับลงจอทีวีอีกครั้งด้วย Gundam OO ที่ประสบความสำเร็จไม่น้อยจนได้สร้างติดต่อกัน 2 ซีซั่น แถมด้วยหนังใหญที่เป็นบทสรุปอีก 1 ภาค โมเดลของซีรีส์นี้สเกล 1/144 จะเริ่มเปลี่ยนจุดเชื่อมกระโปรงจากจอยนท์เบ้ากับบอลล์จอยนท์ เป็นแบบใหม่ ส่วน 1/100 มีแบบ ไม่ระบุเกรดออกมา ก่อนจะคัดบางตัวไปออกเป็น MG และในปีนี้ซีรีส์ MG ก็ออกวางตลาดสินค้าตัวที่ 100 และผู้ได้รับเกียรตินั้นคือ Turn A Gundam

Gundam OO

ในปีถัดไปบันไดจะออกผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้ กันพลาสวยงามง่ายขึ้น (หรือจะไม่แบ่งให้ใครกินเลยก็ไม่รู้) Gunpla Marker ที่ใช้ได้ทั้งตัดเส้นและทำสี รูปแบบปากกา

MG Turn A

ปี 2009 ในวาระครบ 30 ปีของกันดั้ม บันไดจัดงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ เปิดจุดท่องเที่ยวใหม่ที่เขต โอไดบะ ชื่อ Gundam Front ที่มีจุดเด่นคือ Gundam RX-78-2 ขนาดเท่าตัวจริง ยืนเด่นเป็นสง่าอยู่ข้างหน้า (เจ้าตัวนี้ผลิตในเมืองไทยเองครับ ก่อนจะส่งไปประกอบที่ญี่ปุ่น) มีการออกอนิเมะขายกันพลาแบบเต็มตัว อย่าง Model Suit Gunpla Builder Beginning G ในรูปแบบ OVA เรื่องของเจ้าหนูที่ประทับใจกันดั้ม 1:1 แล้วเลยซื้อกันพลามาต่อ

Beginnig G

ก่อนจะเข้าร่วมการต่อสู้ในกันพลาแบทเทิ่ลที่ผู้เล่นจะได้บังคับกันพลาที่ตัวเองต่อ เรื่องนี้มีภาคนิยายประกอบภาพ และคอมิคด้วย และจะเป็นจุดเริ่มต้นของอะนิเมซีรีส์ต่อกันพลามาสู้กันต่อไป และยังมีไลน์ HG ของตัวในชื่อ HG Gunpla Builders เพื่อออกหุ่นจากในเรื่อง ไลน์ HGUC ร่วมฉลองด้วยการออกกันดั้ม RX-78-2 เวอร์ชั่น G30th ที่สร้างตามแบบเจ้าตัว 1:1 ปีนี้ไลน์ HGUC ออกตัวที่ 100 เป็น Gundam Unicorn (Destroy Mode) จากนิยายที่กำลังจะออก OVA ในปีถัดไป

G30th

ในวาระฉลอง 30 ปีกันพลาในปี 2010 บันไดเปิดไลน์ใหม่ RG (Real Grade) ในขนาด 1/144 ที่ต้องสร้างโครงในก่อน ประกอบเกราะภายนอกแบบเดียวกับ MG (ปัญหาของซีรีส์นี้จะมีกับนักเล่นกันพลาสูงวัยเพราะ ชิ้นส่วนเล็กและยิบย่อยเหลือเกิน) อีกซีรีส์เป็นไซส์ยักษ์ สเกล 1/48 เป็นซีรีส์ Mega Size ที่มีจุดเด่นคือการแกะพาร์ตออกจากเกทที่ง่ายมากๆ แบบไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย หรือการพับเกทเพื่อประกบชิ้นส่วน

โดยทั้งสองไลน์เปิดด้วย RX-78-2 ที่ใช้ต้นแบบจากตัวเท่าจริง และในปีนี้เช่นกัน ที่ไลน์ HGUC แตกไปออกโมเดลจากซีรีส์ในจักรวาลอื่นของกันดั้ม กลายเป็น High Grade After Colony (HGAC) ภาค Wing, High Grade After War (HGAW) ภาค Gundam X, High Grade Future Century (HGFC) ภาค G-Gundam, High Grade Correct Century (HGCC) ของ Turn A และ High Grade Cosmic Era (HGCE) ของถาค Gundam Seed และ Seed Destiny (และถึงบนกล่องจะเขียนสเกล 1/144 แต่โมจริงๆ มีสเกลประมาณ 1/132 มากกว่า) ปีนี้บันไดยังผลิตกันพลาจากพลาสติครีไซเคิลโดยใช้แม่พิมพ์จาก HGUC และ SD Gundam ออกมาเป็นโมสีดำในชื่อ Ecopla

ExpandHG
ExpandHG
Gundam Marker

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1192572