พื้นฐานของโรงพยาบาลคือมาตรฐานการรักษาได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่ “รพ.กรุงเทพ” ขอตั้งเป้าไปไกลกว่านั้น เพราะนอกจากความเชี่ยวชาญของแพทย์แล้ว ยังต้องการเป็นโรงพยาบาลที่สามารถบริการคนไข้ได้อย่างรอบด้าน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล ทำให้โรงพยาบาลกรุงเทพประกาศสร้าง ‘Digital Transformation’ พัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรมใหม่เพื่อผู้ป่วย การพบแพทย์ของผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายและอุ่นใจมากขึ้น จากแคมเปญ “Your Healthcare Intelligence” ปีนี้
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล แม้แต่ธุรกิจสุขภาพก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน “พญ.เมธินี ไหมแพง” รองประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 1 และผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึงที่มาของการสร้าง Digital Transformation ในโรงพยาบาลกรุงเทพ ว่าองค์กรเล็งเห็นความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้มารับบริการ ประกอบกับนโยบายหลักของโรงพยาบาลกรุงเทพ คือ “การให้ความสำคัญกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการเป็นที่ตั้ง” (Patient Centric Approach) ทำให้โรงพยาบาลกรุงเทพมีเป้าหมายในการปรับตัวไปสู่โลกดิจิทัลมานาน 4-5 ปีแล้ว แต่ช่วงที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นเข้มข้นขึ้นเพราะแรงขับเคลื่อนจากสถานการณ์โควิด-19
“เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะเป็นสิ่งที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้พวกเราทุกคน” พญ.เมธินีกล่าว
“องค์กรของเราจึงเริ่มเน้นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนในยุคปัจจุบัน เช่น ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ผู้ป่วยสามารถค้นหาข้อมูลสุขภาพและติดต่อแพทย์หรือโรงพยาบาลได้ผ่านทางอุปกรณ์ดิจิทัล หรือในกรณีที่ต้องมารับการรักษาในโรงพยาบาล ก็สามารถนัดหมายวันเวลาที่ตรงใจได้ผ่านทางดิจิทัลเช่นกัน”
แนวคิดเหล่านี้ทำให้ปีนี้โรงพยาบาลกรุงเทพมีแคมเปญ “Your Healthcare Intelligence” เกิดขึ้น และสร้างนวัตกรรมต่างๆ ทั้งหมด 5 หัวข้อที่ผู้รับบริการจะได้สัมผัส ดังนี้
1) นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตรวจวินิจฉัยโรคขั้นสูง
ปัจจุบันเราได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยทางการแพทย์ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น AI หรือ Robot ในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ เรามั่นใจในความชำนาญและประสบการณ์ของทีมแพทย์ แต่หากมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาและความสะดวกสบายให้กับลูกค้าหรือผู้รับบริการ เราพร้อมที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น Inspectra CXR เทคโนโลยีนี้สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติจากภาพรังสีทรวงอกได้ละเอียด รวดเร็ว ชัดเจน ไม่เพียงช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ตรงจุด ยังช่วยให้ผู้ป่วยมั่นใจในคุณภาพการตรวจรักษาที่มีประสิทธิภาพ
2) B At Home Services ไม่ว่าที่ไหนเราพร้อมดูแลคุณ บริการนี้เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดแนวทางการบริการผู้ป่วยผ่านดิจิทัลหรือบริการถึงบ้าน ได้แก่
– บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์
– บริการจัดส่งยาทั่วประเทศไทย
– บริการเจาะเลือดที่บ้าน
– บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน โดยบริการวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบในผู้ใหญ่ และอื่นๆ
– บริการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19 ที่บ้าน
3) B With You มั่นใจทุกความเคลื่อนไหวการผ่าตัด
เพื่อความสบายใจของผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยเมื่อจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ระบบ B With You จะทำให้ครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดสามารถติดตามสถานะการผ่าตัดของผู้ป่วยได้ผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่การเตรียมตัวเข้าห้องผ่าตัด อยู่ระหว่างทำหัตถการ เข้าสู่ห้องพักฟื้น และสิ้นสุดกระบวนการผ่าตัด รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการเตรียมตัวผ่าตัดและข้อควรระวังหลังผ่าตัดเสร็จสิ้น พร้อมทั้งติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านระบบนี้ได้ทันทีหากมีข้อสงสัย
4) B In Touch อุ่นใจทุกการดูแลจากโรงพยาบาลกรุงเทพ เช่นเดียวกับการติดตามการผ่าตัด หากผู้ป่วยต้องพักรักษาในโรงพยาบาล B In Touch จะทำให้ผู้ป่วยในและผู้ใกล้ชิดสามารถติดตามสถานะการรักษาได้ แสดงรายละเอียดกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยในและสามารถเลือกเวลางดเยี่ยมเองได้ ในระบบยังมีรายชื่อทีมแพทย์และพยาบาลที่ดูแลทั้งหมดโดยสามารถให้คะแนนแสดงความเห็นได้ รวมถึงสามารถตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ในระบบ
5) My B+ Application คลิกเดียวครบทุกข้อมูลสุขภาพของคุณ
แอปพลิเคชันรวมทุกข้อมูลสุขภาพไว้ในมือถือ ทำให้ผู้รับบริการของ โรงพยาบาลกรุงเทพ สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเองได้ทั้งหมด เช่น ประวัติสุขภาพ ข้อมูลผลแล็บ ผลตรวจโควิด-19 ข้อมูลยา การนัดหมายแพทย์ด้วยตนเอง ใบรับรองแพทย์ เป็นต้น รวมถึงคนไข้สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ผ่านแอปฯ และชำระเงินด้วยระบบ e-Payment
แคมเปญ Your Healthcare Intelligence ยังสร้างสรรค์หนังโฆษณาชุดนี้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้บริการจะช่วยอำนวยความสะดวกอย่างไร
พญ.เมธินีกล่าวต่อว่า สำหรับอนาคตของ โรงพยาบาลกรุงเทพ ก็จะยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาการดูแลและบริการให้ “ไปไกลกว่าการรักษา” ต่อไป เพื่อให้เป็น “บริการที่ไร้รอยต่อ สะดวก รวดเร็ว แต่ยังอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย”
“เราอยากสร้างความประทับใจและอยากให้ลูกค้าได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับบริการ เราจึงไม่หยุดที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเข้ามาพัฒนาบริการทางการแพทย์ในทุกมิติ มีการวางแผนอย่างรอบคอบ มีกระบวนการที่พิถีพิถันและผ่านการคิดมาเพื่อลูกค้าและผู้รับบริการของเราอย่างรอบด้าน” พญ.เมธินีกล่าว
เมื่อถามถึง “เทรนด์อนาคต” ที่ทางโรงพยาบาลกรุงเทพเล็งเห็น พญ.เมธินีกล่าวถึง “การดูแลเชิงป้องกัน” (Proactive Care/Predictive Care) ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพก่อนจะเจ็บป่วย เทรนด์นี้จะเป็นสิ่งที่ทางโรงพยาบาลมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อดูแลผู้รับบริการให้มากขึ้น
“เราจะมุ่งเน้นการดูแลเชิงป้องกันเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดีในระยะยาว ตรงนี้เป็นโจทย์ของเราที่จะต้องค้นหาว่าวิธีการใดที่จะช่วยให้ลูกค้ามีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงในทุกมิติและทุกช่วงวัย ไม่ควรรอให้เจ็บป่วยแล้วถึงมารักษา แต่คือการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในทุกช่วงของชีวิต” พญ.เมธินีกล่าวปิดท้าย
]]>ธุรกิจสุขภาพกลายเป็นกลุ่มธุรกิจเนื้อหอมในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รวมถึงยักษ์ใหญ่รีเทลอย่าง บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ก็เริ่มเข้าสู่ธุรกิจนี้ โดยตั้งเป็น Business Unit ใหม่ภายในเครือเมื่อปีก่อน
ดร.มลฤดี เลิศอุทัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่าย New Business, Health&Wellness CRC ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันธุรกิจเฮลธ์แอนด์เวลเนสของเครือ มีแบรนด์ร้านค้าแล้ว 3 แบรนด์ ได้แก่
โดยเฉพาะร้าน Tops Vita และ Tops Care นั้นจะปูพรมทั่วประเทศในระยะยาว ภายใน 5 ปีข้างหน้า Tops Vita มีเป้าหมายจะเปิดบริการ 700 สาขา และ Tops Care จะเปิดบริการ 300 สาขา
ที่สามารถเปิดได้มากและเร็วเพราะโมเดลธุรกิจจะเน้นพ่วงไปกับซูเปอร์มาร์เก็ตของเครือ CRC ไม่ว่าจะเป็น Tops Market หรือ Central Food Hall ก็ตาม ลักษณะเป็น Shop-in-shop ที่ใช้พื้นที่ไม่มาก
เรียกได้ว่าในอนาคต Tops Vita ซึ่งเป็นร้านขายอาหารเสริมและวิตามินจะเข้าไปอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตเครือ CRC ทุกแห่ง รวมถึงพ่วงเข้าไปอยู่ในร้านขายยา Tops Care ที่อาจจะเปิดได้ทั้งในซูเปอร์มาร์เก็ต, โซนอื่นๆ ของศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัล และมีกลยุทธ์อนาคตจะไปเปิดในศูนย์ฯ ของเครืออื่นด้วย
การค้นหาน่านน้ำใหม่เพิ่มเติมของเซ็นทรัล รีเทล มาลงตัวที่ธุรกิจสุขภาพ ดร.มลฤดีกล่าวว่าเป็นเพราะตลาดนี้เติบโตได้ดี ถ้ามองภาพรวมธุรกิจเฮลธ์แอนด์เวลเนสทั้งหมดมีมูลค่าถึง 2 แสนล้านบาท (รวมกลุ่มโรงพยาบาล ร้านขายยา สปา ฯลฯ) ทั้งตลาดนี้โตปีละ 8%
แต่ถ้ามองเฉพาะธุรกิจขายอาหารเสริมและวิตามิน มูลค่าจะอยู่ที่ 64,000 ล้านบาท โตปีละ 10% คือโตมากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรม
จุดพลิกผันสำคัญที่ทำให้คนไทยหันมาสนใจเวชศาสตร์เชิงป้องกัน (Preventive Care) มีการทานอาหารเสริม วิตามินกันมากขึ้น เพราะโรคระบาด COVID-19 ทำให้คนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ
จากแต่เดิมคนที่ทานอาหารเสริมมักจะเป็นคนวัย 40 ปีขึ้นไป เน้นการป้องกันโรคไขข้อและกระดูก ปัจจุบันคนวัย 25-40 ปีซึ่งยังเป็นคนวัยหนุ่มสาว ก็เริ่มหันมาทานวิตามิน-อาหารเสริม คนในวัยนี้จะเน้นทานเพื่อหาตัวช่วยเรื่องการผ่อนคลายอารมณ์ ทำให้นอนหลับดีขึ้น และทานเพื่อความงาม โดยเฉพาะอาหารเสริมที่ทำให้ผิวพรรณดี ผ่องใสขึ้น
สำหรับแบรนด์ที่จะเป็นหัวหอกให้ BU นี้อย่าง Tops Vita ดร.มลฤดีบอกว่า ร้านแบรนด์ใหม่นี้จะใช้จุดขาย คือ
1.เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก เพราะจะใช้กลยุทธ์ Omnichannel หน้าสาขาออฟไลน์ตั้งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ลูกค้าหาซื้อง่าย ขณะที่บนออนไลน์ก็มีเช่นกัน สามารถซื้อหาได้ทุกช่องทาง
2.มีสินค้าครบที่สุด ปัจจุบัน Tops Vita มีสินค้ามากกว่า 1,000 SKUs เชื่อว่าเป็นร้านขายอาหารเสริมที่มีสินค้ามากชนิดที่สุดในประเทศ ลูกค้าซื้อครบจบในที่เดียว
3.มองหา Exclusive Brand เติมพอร์ต ขณะนี้ร้านมีสินค้าที่ร้านเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในไทยอยู่ราว 5% ของพอร์ต เช่น แบรนด์ Nature’s Truth จากสหรัฐฯ แต่อนาคตจะเติมสินค้า Exclusive Brand ให้มากขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าเรื่องนี้จะเป็นปัจจัยแข่งขันสำคัญในอนาคต ทุกร้านจะแข่งกันมี Exclusive Brand ให้มากที่สุด
ในส่วนของการขายออนไลน์ ขณะนี้จะมีทางหน้าเว็บไซต์ www.topsvita.com และ LINE Official ด้านการขายผ่านมาร์เก็ตเพลสต่างๆ จะทยอยเปิดจนครบภายในปี 2566
ไฮไลต์ที่จะชวนคนให้เข้าสู่เว็บไซต์คือจะมี “แบบประเมินสุขภาพอัจฉริยะ” ที่ออกแบบโดยแพทย์ ลูกค้าเพียงตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพร่างกายตนเอง ไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพ และเป้าหมายสุขภาพ ใช้เวลา 2-3 นาทีในการตอบแล้วระบบจะแนะนำวิตามินและอาหารเสริมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลให้
ดร.มลฤดีระบุว่า บริษัทตั้งเป้าทำยอดขายในกลุ่มร้านขายวิตามินและอาหารเสริมที่ 1,500 ล้านบาทในปี 2570 ส่วนกลุ่มร้านยาและสินค้าสัตว์เลี้ยงยังไม่สามารถเปิดเผยเป้าหมายได้
]]>ชั้น 1 ของศูนย์การค้า mPlaza กลางเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ เป็นที่ตั้งคลินิกแห่งแรกของ Jio Health (จีโอ เฮลธ์) สตาร์ทอัพด้าน HealthTech ในเวียดนาม สตาร์ทอัพรายนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2018 เริ่มจากการเป็นแพลตฟอร์มปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ก่อนจะมาก่อตั้งคลินิกออฟไลน์แห่งแรกเมื่อปี 2020
“รากู ไร” ซีอีโอ Jio Health ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย เขาเลือกเข้ามาก่อตั้งสตาร์ทอัพในเวียดนามเพราะเห็นโอกาสการเติบโต รากูเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังระหว่างทัวร์ชมคลินิกว่า โอกาสของ HealthTech ในเวียดนาม เกิดจากระบบสาธารณสุขที่ไม่สะดวกสำหรับ ‘ชนชั้นกลาง’ ที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น คนกลุ่มนี้แม้จะพร้อมจ่ายเพื่อรับการรักษาในขั้นตอน ‘จ่ายเอง’ ของโรงพยาบาลรัฐ ไม่ใช้สิทธิประกันสังคม ก็ยังต้องรอพบแพทย์ 3-4 ชั่วโมง เพื่อได้คุยกับแพทย์แค่ไม่กี่นาที
ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพุ่งทะยาน แม้แต่ในช่วง COVID-19 ระบาดซึ่งทำให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ในโลกติดลบ แต่เศรษฐกิจเวียดนามก็ยังโต 2% ทางธนาคารกสิกรไทยยังประเมินด้วยว่า ช่วงปี 2021-2030 เศรษฐกิจเวียดนามจะโตเฉลี่ยปีละ 7% นั่นหมายความว่า ชนชั้นกลางเวียดนามจะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และเป็นประเทศคนหนุ่มสาวที่พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีอีกด้วย
พื้นฐานตลาดเช่นนี้ทำให้ Jio Health เกิดขึ้น โดยเป็นระบบปรึกษาแพทย์ผ่านทางวิดีโอแชท สามารถจองนัดและเข้าพบออนไลน์ จากนั้นแพทย์จะออกใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ให้ในแอปพลิเคชัน ซึ่งคนไข้จะเลือกรับยาเดลิเวอรีหรือสามารถนำไปรับยาได้ตามคลินิกที่เป็นพันธมิตรก็ได้
รากูอธิบายต่อว่า หลังจากเริ่มก่อตั้งและฟัง feedback จากลูกค้า แม้ว่าการพบแพทย์ทางไกลจะสะดวกแต่โรคบางโรคนั้นคนไข้ก็ต้องการ end-to-end service เพราะต้องมีการใช้เครื่องมือตรวจโรคบางอย่างที่ทำออนไลน์ไม่ได้ เช่น เอ็กซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจสายตา ทำฟัน รวมถึงการปรึกษาแพทย์แบบตัวต่อตัวเป็นบางครั้งที่จำเป็น ทำให้เริ่มก่อตั้งคลินิก Jio Health สาขาแรกในโฮจิมินห์ คลินิกแห่งนี้จะมีเฉพาะการตรวจโรค เน้นคนไข้ OPD จะต่างจากโรงพยาบาลที่รับคนไข้ IPD ได้
ปัจจุบัน Jio Health มีกลุ่มการรักษาหลักๆ ที่ลูกค้าใช้บริการคือ การตรวจโรคทั่วไป กุมารเวช การผดุงครรภ์ การตรวจสุขภาพตามวงรอบ และ การรักษาโรคเรื้อรัง
เป้าหมายการขยายคลินิกปี 2022 รากูระบุว่าจะมีการขยายไปอีก 3 สาขา ให้ครบ 4 สาขา เพราะพบว่าการมีบริการคลินิกออฟไลน์ร่วมด้วยทำให้บริการได้ดีขึ้นจริง
Jio Health นั้นเพิ่งระดมทุนรอบ Series B ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้รับเงินลงทุนรวม 20 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 706 ล้านบาท) มีผู้ร่วมลงทุน ได้แก่ Heritas Capital จากสิงคโปร์, Monk’s Hill Venture จากสิงคโปร์, Fuchsia Venture ในเครือเมืองไทย กรุ๊ป และ KVision จากธนาคารกสิกรไทย
รากูกล่าวว่า คาดว่าภายในปลายปี 2023 บริษัทน่าจะเริ่มขยายตัวเข้าสู่ประเทศไทยและอินโดนีเซียได้ โดยเลือกทั้งสองตลาดนี้เพราะมองว่าตลาดมีความต้องการ และประชากรมีความคล่องแคล่วทางเทคโนโลยีสูงแล้ว
บริษัทยังไม่เปิดเผยว่าจะเข้าสู่ตลาดอย่างไรและจับมือกับใครหรือไม่ แต่ถ้าดูจากโมเดลธุรกิจในเวียดนามนั้น Jio Health จะทำงานในลักษณะ B2B2C คือเน้นหาดีลกับบริษัท/องค์กรที่ต้องมีสวัสดิการให้กับพนักงาน ให้หันมาเลือกใช้สวัสดิการสุขภาพผ่านทางแพลตฟอร์มของตน จากนั้นเมื่อพนักงานทดลองใช้และชื่นชอบก็จะมีการใช้งานต่อและบอกต่อกัน ทำให้เติบโตได้ในกลุ่มรายย่อยทั่วไป
ในไทยนั้นตลาด HealthTech ในกลุ่มบริการ Telemedicine นับว่าเป็นธุรกิจที่กำลังบูมเช่นกัน มีสตาร์ทอัพหรือบริษัทต่างๆ ที่เริ่มทำตลาดแล้ว เช่น Good Doctor แอปจาก GDTT บริษัทร่วมทุนระหว่าง Ping An, Grab และ Softbank หรือแอปฯ MorDee ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มทรู Raksa แอปฯ ที่ก่อตั้งโดยคนไทยแต่ปัจจุบันกลุ่มทุนสิงคโปร์ Doctor Anywhere เข้าซื้อแล้ว หรือเครือโรงพยาบาลบางแห่งก็มีบริการพบแพทย์ออนไลน์ให้กับคนไข้แล้ว เช่น รพ.สมิติเวช, รพ.ศิริราช เป็นต้น
]]>โรงพยาบาลวิมุตเปิดบริการ “วิมุต เวลเนส” โรงพยาบาลขนาดเล็ก 50 เตียงเป็นแห่งแรกแล้วในย่านชุมชนพฤกษา อเวนิว บางนา-วงแหวน ตามแผนงานกระจายบริการทางการแพทย์ไปให้ใกล้บ้าน เพื่อหวังจะเป็น ‘แม่เหล็ก’ ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกหมู่บ้านพฤกษามากขึ้น
ภายในวิมุต เวลเนสสาขาแรกจะมีแพทย์ตรวจโรคทั่วไป เป็นหวัด ไม่สบาย เจ็บป่วยเล็กน้อย หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรค สามารถพบแพทย์ที่นี่ได้ และที่เน้นเป็นพิเศษคือแผนกกายภาพบำบัด ธาราบำบัด เหมาะกับคนทำงานที่มักป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม รวมถึงแผนกเนิร์สเซอรีสำหรับผู้สูงอายุ บริการรรับดูแลผู้สูงวัยทั้งแบบไปกลับ (day care) และแบบค้างคืน
แนวคิดของรพ.วิมุตในการกระจายศูนย์บริการการแพทย์ขนาดเล็กมาตามชุมชน เพราะมองว่าการเป็นโรคทั่วไปนั้น คนไข้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเข้าเมืองเพื่อมาพบแพทย์ และการมีศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุยังเหมาะกับสังคมไทยที่เริ่มเป็นสังคมผู้สูงอายุ หลายครอบครัวอาศัยอยู่รวมกันหลายวัย (multi-generation) และลูกหลานจำเป็นต้องหาผู้ดูแลคุณพ่อคุณแม่หรือปู่ย่าตายาย
ทำเลที่จะเปิดวิมุต เวลเนส แน่นอนว่าต้องเน้นพื้นที่ชุมชนขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่มีหมู่บ้านของพฤกษาตั้งอยู่ โดยหวังว่าจะเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าเลือกซื้อ ขณะเดียวกันก็สร้างรายได้จากธุรกิจสุขภาพด้วยฐานลูกค้าชุมชนที่แวดล้อม
“นพ.กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุตโฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า การลงทุนวิมุต เวลเนสวางแผนจะลงทุนปีละ 3-4 สาขา ใช้งบลงทุน 90-150 ล้านบาทต่อแห่ง แล้วแต่จำนวนเตียงและค่าเช่าที่ดิน
โดยแห่งที่สองนั้นมีการลงทุนไปแล้วที่ Senera Vimut Health Center อยู่ติดกับคอมมูนิตี้ มอลล์ “JAS Green Village” ถ.คู้บอน ซึ่งแห่งนี้เป็นการร่วมทุน 50:50 กับ บมจ.เจเอเอส แอสเซ็ท โดยทางเจเอเอสเป็นเจ้าของพื้นที่และอาคาร สาขาสองคาดว่าจะเปิดบริการได้ช่วงปลายไตรมาส 4/2565
ส่วนสาขาต่อๆ ไปนั้นกำลังศึกษาทำเล แต่นพ.กฤตวิทย์แย้มว่า บริษัทกำลังเจรจาจับมือกันต่อกับทางเจเอเอสซึ่งมีแผนลงทุนคอมมูนิตี้ มอลล์ JAS Green Village แห่งใหม่ในย่านบางบัวทอง อาจได้เห็นวิมุต เวลเนสอีกในย่านดังกล่าว
ขณะที่การลงทุนเองทั้งหมดนั้นกำลังเล็งพื้นที่ย่านพัฒนาการซึ่งพฤกษามีที่ดินเหลือ ในบริเวณนั้นพฤกษามีการพัฒนาหมู่บ้านไปแล้วหลายแบรนด์ ทำให้มีฐานลูกค้าจำนวนมากเหมือนกับที่บางนา-วงแหวน
นอกจากนี้ วิมุตจะมีการลงทุนเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน จะเพิ่มจำนวนเตียงอีก 100 เตียงในปีนี้ จากเดิมมีอยู่ 100 เตียง เนื่องจากเห็นดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีอัตราครองเตียง 78% แล้ว
ด้านผลการดำเนินงานของ บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง ในช่วงไตรมาส 2/2565 ทำยอดขาย 6,342 ล้านบาท ลดลง -12% YoY ยอดโอนรวมอยู่ที่ 5,101 ล้านบาท ลดลง -19% YoY พฤกษาทำกำไรสุทธิ 527 ล้านบาท ลดลง -16% YoY
สำหรับผลประกอบการรอบครึ่งปีแรก 2565 พฤกษามีรายได้รวม 11,370 ล้านบาท ลดลง -14.4% และกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 1,002 ล้านบาท ลดลง -5.0%
หากแยกเป็นรายผลิตภัณฑ์พบว่าสัดส่วนใหญ่ในการทำยอดขายของพฤกษายังมาจาก “ทาวน์เฮาส์” รองมาคือ “บ้านเดี่ยว” และปิดท้ายที่ “คอนโดฯ” แต่กลุ่มสินค้าทาวน์เฮาส์กับคอนโดฯ นั้นทำรายได้ลดลง -21.7% และ -30.2% ตามลำดับ มีเพียงบ้านเดี่ยวที่ยังเติบโตได้โดยโตขึ้น 1.9%
“อุเทน โลหชิตพิทักษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง เปิดเผยว่า แผนงานด้านธุรกิจที่อยู่อาศัยนั้น ครึ่งปีแรก 2565 พฤกษามีการเปิดตัวไปเพียง 8 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 3,600 ล้านบาท แต่ในครึ่งปีหลังนี้ บริษัทมีแผนจะเปิดตัวถึง 23 โครงการ มูลค่ารวม 12,700 ล้านบาท ในจำนวนนี้มี 3 โครงการที่จะเป็นอาคารชุดภายใต้แบรนด์พลัมและเดอะ ไพรเวซี่ เปิดตัวในทำเลรามอินทรา เตาปูน และพระราม 2
ด้านปัจจัยลบที่เพิ่มเข้ามาล่าสุดคืออัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับเพิ่มขึ้นแล้ว 0.25% อุเทนมองว่าเริ่มมีผลกับความกังวลของลูกค้าแล้ว แต่ในแง่กำลังซื้อในการผ่อนสินเชื่อบ้าน ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยังช่วยดูดซับ ตรึงอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านรายย่อยให้ แต่เป็นไปได้ว่าปี 2566 อาจจะเริ่มปรับขึ้นจริง ซึ่งการปรับดอกเบี้ยขึ้นทุกๆ 0.25% จะทำให้กำลังผ่อนของลูกค้าลดลง 3-4%
อุเทนกล่าวต่อว่า ขณะนี้บริษัทกำลังหารือวางกลยุทธ์เพื่อรับมือต่อไป แต่เบื้องต้นเริ่มมีการทดลองโปรโมชันเพื่อช่วยลูกค้าแล้วในแคมเปญ ‘Pruksa Pass ผ่อนตรงกับเรา’ คือให้ลูกค้าที่กู้สินเชื่อบ้านไม่ผ่าน สามารถเช่าอยู่กับพฤกษาไปก่อน 1-3 ปี โดยค่าเช่าทั้งหมดจะคิดเป็นเงินดาวน์ เมื่อถึงเวลากู้สินเชื่อกับธนาคารอีกครั้ง ยอดเงินกู้ที่เหลือจะต่ำลง โอกาสกู้ผ่านมากขึ้น แคมเปญนี้มีทดลองในคอนโดฯ 4 แห่งเท่านั้น คือ พลัมคอนโด ราม 60 อินเตอร์เชนจ์, พลัมคอนโด สุขุมวิท 97.1, เดอะ ไพรเวซี่ เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ และเดอะทรี หัวหมาก อินเตอร์เชนจ์ รวมทั้งหมดมากกว่า 100 ยูนิตที่เปิดโปรโมชันมีผู้สนใจเช่าซื้อ
ในแง่การสร้างความหลากหลายธุรกิจ พฤกษาก็ยังทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ภายใต้งบ CVC ที่จะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพ 3,500 ล้านบาทในรอบ 3 ปี ขณะนี้ลงทุนไปแล้ว 400-500 ล้านบาท และเมื่อเร็วๆ นี้ มีการจับมือกับ บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดตั้งบริษัทด้านโซลาร์รูฟ “ปัน นิวเอนเนอจี” เบื้องต้นจะบริการติดตั้งให้กับลูกบ้านพฤกษาทั้งรายใหม่และรายเก่า
]]>บริษัทแม่ของ TikTok เข้าลงทุน 100% ใน Amcare เชนโรงพยาบาลแม่และเด็กระดับไฮเอนด์ และถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลรายใหญ่ของจีนที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ โดยใช้เงินลงทุนไป 10,000 ล้านหยวน (ประมาณ 52,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลได้รับการยืนยันจากโฆษกของ Xiaohe Health ในเครือ ByteDance ว่ามีการเข้าซื้อจริง แต่ขอสงวนความเห็นต่อมูลค่าดีลดังกล่าว
การลงทุนครั้งนี้ทำให้คนในวงการเทคโนโลยีประหลาดใจพอสมควร ประการแรกเป็นเพราะจีนมีนโยบายควบคุมการขยายกิจการของเทคคัมปะนีมานาน 2 ปี โดยจะห้ามไม่ให้บริษัทเทคซื้อกิจการที่นับเป็นดีลขนาดใหญ่ เพราะต้องการไม่ให้เกิดการกินรวบของเทคคัมปะนีรายใหญ่เหล่านี้ โดยเฉพาะการข้ามสายอุตสาหกรรมไปยังธุรกิจใหม่ผ่านการควบรวมกิจการ ดีลนี้จึงนับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่อนุญาตให้เทคคัมปะนีซื้อกิจการขนาดใหญ่ในประเทศ
อีกประการหนึ่งคือ ความเชี่ยวชาญของ Amcare ซึ่งก็คือธุรกิจโรงพยาบาล ดูเหมือนจะไม่อยู่ในวงโคจรธุรกิจของ ByteDance สักเท่าไหร่ ดังที่ทราบกันว่าธุรกิจหลักของ ByteDance คือแพลตฟอร์มคอนเทนต์ และมีการลงทุนในธุรกิจเกม รวมถึงแอปพลิเคชันต่างๆ ทำให้การฉีกแนวมาลงทุนกับธุรกิจสุขภาพเป็นเรื่องน่าแปลกใจในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ความพยายามเข้าสู่ธุรกิจสุขภาพของบริษัทเทคขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นฝั่งจีนหรือสหรัฐฯ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยมี เพราะมักจะอยู่ในแผนการสร้างความหลากหลายทางธุรกิจ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีแกนหลักสำคัญคือ “ฐานลูกค้า” จากการใช้แอปฯ ในจีนเอง Tencent พยายามจะเปิดคลินิกตรวจโรคแบบมีหน้าสาขาออฟไลน์ ส่วน Alibaba และ JD.com ก็มีร้านขายยาออนไลน์
สำหรับ ByteDance นั้น เท่าที่มีข้อมูลสาธารณะ บริษัทนี้เริ่มเข้าสู่วงการ HealthTech ในปี 2020 จากการเข้าซื้อบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลด้านสุขภาพแก่คนทั่วไป ซึ่งต่อมาถูกตั้งชื่อว่า Xiaohe Health และจริงๆ แล้วบริษัทมีการลงทุนในบริษัทด้านไบโอเทคอื่นๆ ด้วย
สำนักข่าว Techcrunch คาดการณ์ว่าบริษัทจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับการบริหารเดิมของ Amcare ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงในกลุ่มอีลีทและคนระดับบนของจีน แต่น่าจะหาทางหาจุดร่วมระหว่างแพลตฟอร์มความบันเทิงที่เป็นธุรกิจหลัก กับธุรกิจสุขภาพและไบโอเทคเหล่านี้
ธุรกิจสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการทำงานมากเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ครั้งหนึ่งบริษัท Baidu เสิร์ชเอ็นจิ้นยักษ์ใหญ่ของจีนก็เคยพลาดมาแล้วกับเรื่องนี้ เมื่อปี 2016 บริษัทถูกโจมตีจากประชาชนจีน เพราะพบว่าเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่เป็นมะเร็งไปเห็นโฆษณารักษามะเร็งบน Baidu จากนั้นจึงไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อรักษาโรคแต่ก็ไม่หายและเสียชีวิตไปในที่สุด
Source: Techcrunch, The Standard HK
]]>“อุเทน โลหชิตพิทักษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานของบริษัทช่วงไตรมาส 1/65 เฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สร้างยอดขาย 5,344 ล้านบาท ลดลง -23% YoY รายได้ 5,679 ล้านบาท ลดลง -17.6% YoY แต่กำไรสุทธิอยู่ที่ 639 ล้านบาท เติบโตขึ้น 9.9% YoY
สาเหตุที่ยอดขายและรายได้ลดลง เนื่องจากไตรมาสแรกพฤกษาเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง ทำให้การก่อสร้างเพื่อเปิดโครงการใหม่และเพื่อส่งมอบบ้านให้ได้ตามเป้า ไม่สามารถทำได้ตามแผน
อย่างไรก็ตาม บริษัทสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้นเพราะมีการประหยัดต้นทุนในหลายด้าน ใช้ระบบวิศวกรรมการก่อสร้างที่ช่วยประหยัดปริมาณใช้ซีเมนต์ จัดวางเส้นทางขนส่งให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนพลังงาน และใช้ระบบงานออนไลน์แทนกระดาษ
การเปิดตัวโครงการในไตรมาส 2/65 จะมีทั้งหมด 9 โครงการ มูลค่ารวม 5,900 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์ 8 โครงการ มูลค่ารวม 5,200 ล้านบาท และบ้านเดี่ยว “ภัสสร จตุโชติ-รามอินทรา” มูลค่าโครงการ 700 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะทำให้เห็นการปรับตัวตามกลยุทธ์ใหม่ของพฤกษา ที่จะเสริมเรื่องการออกแบบบ้านด้วย Universal Design เหมาะกับคนสูงวัย และมีระบบไฟฟ้าพร้อมสำหรับ EV Charger ต้อนรับโลกยุคใหม่
อุเทนกล่าวว่า เป้าหมายทั้งการเปิดตัว ยอดขาย รายได้ของพฤกษาตลอดปีนี้ยังคงเป้าเดิม แม้จะมีการชะลอตัวไปในช่วงไตรมาสแรก โดยปีนี้พฤกษาจะมีการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมถึง 7 แห่งที่จะสร้างเสร็จใหม่ มูลค่าแบ็กล็อกจากคอนโดฯ เหล่านี้รวม 15,200 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะโอนในช่วงไตรมาส 3 นี้
กลยุทธ์ของพฤกษานับตั้งแต่การก่อตั้งโรงพยาบาลวิมุต คือการ ‘synergy’ ระหว่างธุรกิจอสังหาฯ และสุขภาพให้ได้ ซึ่งตามแผนแล้วจะมีการตั้งศูนย์สุขภาพย่อยไปตามชุมชนเพื่อให้บริการกลุ่มโรคประจำตัว และการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเดือนสิงหาคมนี้ รพ.วิมุตจะพร้อมเปิดบริการ Vimut Wellness Services ด้านหน้าพฤกษา อเวนิว บางนา-วงแหวน จำนวน 50 เตียง เป็นศูนย์สุขภาพแห่งแรก
ดีมานด์ของพื้นที่นี้ เฉพาะหมู่บ้านของพฤกษาเอง อุเทนระบุว่าบริษัทมีการโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว 370 หลัง จากที่เปิดขาย 1,577 ยูนิต และพฤกษายังมีพื้นที่เหลือในการเปิดเฟสใหม่ได้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้มีชุมชนอาศัยอยู่บริเวณนี้มากกว่า 2,000 ครัวเรือน
ส่วนศูนย์สุขภาพแห่งที่ 2 นั้น มีการร่วมทุนกับ JAS ASSET ก่อตั้งบริษัท Senera Vimut Health Service เพื่อสร้างโครงการ SENERA Senior Wellness ขึ้นบนถ.คู้บอน ติดกับโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ Jas green village โดยจะเป็นศูนย์เมดิคอลบนอาคาร 4 ชั้น 78 เตียง คาดว่าจะเปิดบริการได้ในเดือนธันวาคมนี้
ด้านสภาวะตลาดช่วงนี้ อุเทนกล่าวถึงปัจจัยลบคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาวัสดุก่อสร้างกลุ่มปูนและเหล็ก คาดว่าจะกระทบกับต้นทุนการสร้างโครงการแนวราบ ขณะที่การสร้างคอนโดฯ บริษัทได้มีการทำสัญญาล็อกราคาล่วงหน้าไว้จึงไม่น่ากังวลมาก
“ถ้าสภาวะเงินเฟ้อยังอยู่เท่านี้เราก็จะยังตรึงราคาบ้านได้ถึงสิ้นปี แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อขึ้นไปมากกว่านี้ก็คงต้องปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ขณะนี้เป็นตลาดของผู้ซื้ออย่างมาก คนที่อยากได้บ้านควรจะรีบตัดสินใจก่อนที่ผู้ประกอบการจะขึ้นราคา” อุเทนกล่าว
ส่วนปัจจัยบวกนั้น อุเทนมองว่าต้องตั้งความหวังไว้กับสถานการณ์โควิด-19 หากคลี่คลายมากขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐและเอกชนมั่นใจในการลงทุน มีการสร้างงาน ก็จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
รวมถึง “อัตราดอกเบี้ย” ที่หวังว่ารัฐบาลจะไม่ปรับขึ้น แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วก็ตาม เพราะหากอัตราดอกเบี้ยขึ้น จะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อน้อยลงในการซื้อบ้าน ซึ่งจากที่ได้พูดคุยกับหลายฝ่ายในวงการการเงิน อุเทนเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยไทยจะถูกตรึงไว้ก่อนในระยะนี้
]]>“นพ.โอฬาริก มุกสิกวงศ์” ผู้อำนวยการส่วนการแพทย์และนวัตกรรม บริษัท ที อาร์ เอช โกลบอล ในนาม โรงพยาบาลเทพธารินทร์ เปิดเผยถึงนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของโรงพยาบาล เป็นความร่วมมือแบบ “เมดิเทล” คือ Medical+Hotel กับ โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ จัดโปรแกรม Sleepless Society วินิจฉัยและช่วยปรับพฤติกรรมแก้ปัญหาโรคนอนไม่หลับ (insomnia) ภายในโรงแรม ไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาล เพื่อให้คนไข้ได้ผ่อนคลายระหว่างการวินิจฉัย และตอบรับกับ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) ที่กำลังเป็นเทรนด์
โดยโปรแกรมนี้จะจัดระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ผู้เข้าร่วมจะได้รับแพ็กเกจห้องพักที่ชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ห้องพักเริ่มต้น 60 ตร.ม. เป็นห้องพักแบบ Grand Room รับวิวแม่น้ำเจ้าพระยา มีอุปกรณ์ตรวจ Sleep Test จากทางโรงพยาบาลติดตั้งให้ ตามด้วยการวินิจฉัยจากทีมแพทย์และนักจิตบำบัด เพื่อหาสาเหตุการนอนไม่หลับของแต่ละบุคคล พร้อมอาหาร 3 มื้อที่ออกแบบโดยนักโภชนาการ และมีคลาสโยคะ โยคะร้อน แอโรบิกในน้ำ ให้เข้าร่วม ทั้งหมดเพื่อปรับพฤติกรรมที่ทำให้นอนไม่หลับ ราคาแพ็กเกจเริ่มต้น 27,500 บาท
นพ.โอฬาริกเชื่อว่าโปรแกรมนี้จะได้รับความสนใจมาก เพราะคน 2 ใน 3 ของประชากรโลกเผชิญปัญหานอนไม่หลับหรือหลับไม่เพียงพอ สำหรับในประเทศไทย คาดว่ามีประชากรถึง 30-40% เท่ากับ 19 ล้านคนที่มีปัญหานอนไม่หลับ และปัญหาการนอนไม่พอเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไปจนถึงความสามารถด้านการจำ
“ดีมานด์น่าจะเยอะมากแต่ห้องทำ Sleep Test ในโรงพยาบาลมีไม่เพียงพอ ไม่ใช่แค่ที่เรา โรงพยาบาลอื่นๆ ก็มีคิวต่อกันยาวไปถึงครึ่งปีเพราะห้องไม่พอ” นพ.โอฬาริกกล่าว โดยเสริมว่าคนกลุ่มใหญ่ที่สุดที่มีปัญหานอนไม่หลับคือคนวัยทำงาน และหนักที่สุดคือคนที่ทำงานเป็นกะ
เป็นเหตุให้การจับมือกับโรงแรมเป็นทางออกที่ดี นอกจากเพิ่มซัพพลายตอบรับดีมานด์แล้ว ยังทำให้ผู้เข้ารับวินิจฉัยผ่อนคลายกว่าในตอนนอนและเป็นการพักผ่อนไปในตัวได้
ดาน “ทักษอร คงคาประเสริฐ” รองประธานกรรมการ โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กล่าวถึงที่มาการร่วมมือกับชาเทรียม เดิมพูดคุยกันเพื่อจะร่วมมือสร้างสถานที่กักกันโรคทางเลือก (Alternative State Quarantine : ASQ) แต่หารือแล้วมองว่าการพัฒนาสถานที่กักกันโรคอาจจะเปิดได้แค่ชั่วคราว เมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายหรือรัฐมีการเปลี่ยนนโยบายก็จะไม่มี ASQ อีก ทำให้โมเดลธุรกิจนี้ไม่ยั่งยืน
ขณะที่รพ.เทพธารินทร์มีเป้าหมายต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อจะเป็นผู้นำด้านเวชศาสตร์เชิงป้องกัน จึงเลือกหยิบเรื่องปัญหาการนอนไม่หลับมาจัดเป็นโปรแกรม และทำให้ความร่วมมือนี้เกิดขึ้นได้ยาว ปัจจุบันมีดีลระหว่างกันถึงเดือนพฤศจิกายน 2563
เบื้องต้นยังเน้นเจาะกลุ่มคนไทยหรือ expat ที่อาศัยในไทยก่อนเพราะรัฐยังไม่เปิดให้ชาวต่างชาติเข้าประเทศ แต่อนาคต ทักษอรมองว่ามีโอกาสเนื่องจากกลุ่มต่างชาตินิยมแพ็กเกจรีทรีตอยู่แล้ว เป็นการมาท่องเที่ยวด้วยและเข้าโปรแกรมเพื่อสุขภาพด้วย โดยอยู่ยาว 2-3 สัปดาห์เพื่อปรับพฤติกรรม
ด้าน “พาที สารสิน” ผู้ก่อตั้ง Really Really Cool Global Platform เอเย่นต์ออนไลน์ (OTA) ที่เข้ามาช่วยเป็นช่องทางโปรโมตและขายแพ็กเกจ Sleepless Society มองว่า “ชาวจีน” ให้ความสนใจมาก หากไม่มี COVID-19 จะมีคนจีนจำนวนมากเข้ามาทัวร์สุขภาพในไทยตั้งแต่ต้นปี
ฝั่งโรงแรมก็ได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้แน่นอน ดังที่ทราบกันดีว่าช่วงการท่องเที่ยวชะงักงันเช่นนี้คือวิกฤตของโรงแรมทุกแห่ง รวมถึงชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ด้วย โดยขณะนี้โรงแรมกลับมาให้บริการแล้ว ล่าสุดมีอัตราเข้าพักช่วงวันธรรมดา 10-20% และวันหยุดสุดสัปดาห์ 55% เทียบกับช่วงก่อน COVID-19 โรงแรมริมน้ำอย่างชาเทรียมมีอัตราเข้าพักสูง 70-80% ในช่วงไฮซีซั่น
“เราต้องมองหาตลาดใหม่หลัง COVID-19 การเป็นเมดิเทลคือการจับคู่ที่สมบูรณ์แบบ เพราะเราสามารถให้ความสบายในการพักผ่อนในโรงแรมนี้ได้อย่างเต็มที่” เรอเน่ บาลเมอร์ ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มชาเทรียม ฮอสพิทัลลิตี้ กล่าว
เป็นครั้งแรกของชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ที่จัดโปรแกรมแบบเมดิเทลกับโรงพยาบาล ทำให้ต้องจัดระบบบุคลากรและฟังก์ชันในโรงแรมขึ้นมารองรับเพิ่มเช่นกัน เช่น บุคลากรโรงแรมจะต้องดูแลแขกอย่างละเอียดมากขึ้นเพราะมีเรื่องอาหาร customized รายบุคคล ทำให้โรงแรมจะใช้บุคลากรมากขึ้นสำหรับโปรแกรมนี้ หรือมีการจัดหาเทรนเนอร์กิจกรรมอย่างโยคะหรือแอโรบิกในน้ำเข้ามาเพิ่มเติม จากเดิมที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นต้น
เรียกได้ว่านาทีนี้ทุกธุรกิจต้องหาทางรอดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้ผ่านพ้น COVID-19 และไม่แน่ว่าอาจค้นพบโอกาสใหม่จากดีมานด์ที่รออยู่ในตลาดก็ได้!
]]>โดยความร่วมมือของแอมะซอนนั้นเกิดขึ้นจากการจับมือกับเบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ (Berkshire Hathaway) และเจพี มอร์แกน (JP Morgan) ขณะที่ AC Wellness ตั้งขึ้นเพื่อรองรับพนักงานและครอบครัวของชาวแอปเปิล โดยบริษัทมีแผนจะเปิดเฮลท์แคร์เซนเตอร์สองแห่งในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ที่ซานตาคลาราเคาท์ตี้ แคลิฟอร์เนีย ใกล้ ๆ กับคูเปอร์ติโน ที่ตั้งของแอปเปิลพาร์ค (Apple Park) และสำนักงานใหญ่อย่าง Infinite Loop
โดยในตอนนี้ ทางแอปเปิลได้มีการประกาศรับสมัครแพทย์ นางพยาบาล นักกายภาพบำบัด และอีกหลายตำแหน่ง ผ่านทางเว็บไซต์ acwellness.com ที่เปิดขึ้นมาแบบเงียบ ๆ แต่จุดที่น่าสังเกตคือตำแหน่งแพทย์นั้น ได้มีการเน้นย้ำว่าต้องเคยผ่านประสบการณ์ในการป้องกันโรคแห่งอนาคต (แอปเปิลใช้คำว่า Preventing Future Disease) และมีความกระตือรือร้นที่จะนำเสนอแนวทางในการรักษาใหม่ ๆ โดยใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ ตำแหน่งงานที่ AC Wellness ประกาศรับสมัครนั้น ก็ได้ไปปรากฏอยู่บนเว็บไซต์หางานอย่าง Glassdoor และ Indeed.com แล้วด้วย
รายงานจาก CNBC ยังเผยด้วยว่า มีอดีตทีมงานจากสแตนฟอร์ด เฮลท์ แคร์ (Standford Health Care) ได้เข้ามาทำงานที่ AC Wellness แล้วอย่างน้อยห้าเดือน
นอกจากนั้น แอปเปิลยังเปิดรับสมัครดีไซน์เนอร์ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบโปรแกรมสำหรับพนักงานเพื่อโปรโมตวิถีแห่งการมีสุขภาพดี และปลอดจากโรคด้วย โดยดีไซน์เนอร์จะต้องทำงานร่วมกับทีมเทคโนโลยี และทีมจากฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท
แหล่งข่าวจาก CNBC เผยด้วยว่า คลินิคสุขภาพแห่งนี้อาจใช้เป็นที่ทดสอบบริการด้านสุขภาพ และโปรดักซ์ใหม่ๆ ที่อาจพัฒนาออกมาวางขายในอนาคต ซึ่งปัจจุบัน แอปเปิลเองก็มีการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพื่อหาทางให้แอปเปิลวอทช์ (Apple Watch) สามารถตรวจจับการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจอยู่
ทั้งนี้ บนเว็บไซต์ของแอปเปิลได้อธิบายถึงธุรกิจของ AC Wellness ว่าเป็นบริษัทในเครือของแอปเปิล
โดยปัจจุบัน แอปเปิลมีพนักงานมากกว่า 120,000 คน และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับองค์กร ซึ่งไม่เฉพาะแอปเปิล แต่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพปีหนึ่ง ๆ สูงถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (2016) หรือคิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี (อ้างอิงจาก the US Centers for Medicare and Medicaid Services)
แม้ว่าบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี แต่ต้นทุนดังกล่าวก็เริ่มสูงมากขึ้นจนกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทไปตาม ๆ กัน นี่จึงอาจเป็นการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสของบริษัทยักษ์ใหญ่ก็เป็นได้.
]]>