ประเทศจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 31 May 2023 05:54:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เกาะไห่หนาน” วางเป้าหยุดจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายในปี 2030 โมเดลนำร่องของ “จีน” https://positioningmag.com/1432618 Wed, 31 May 2023 05:24:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432618 ในอนาคตพลเมืองบน “เกาะไห่หนาน” ของจีนจะไม่ต้องกังวลเรื่องสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอีกต่อไป เพราะเกาะแห่งนี้มีแผนเปิดจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 75,000 จุดทั่วเกาะ เพื่อรองรับเป้าหมายการหยุดจำหน่ายรถยนต์สันดาปบนเกาะภายในปี 2030

“เกาะไห่หนาน” เกาะขนาดใหญ่เท่ากับขนาดประเทศเบลเยียมที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน และมีประชากรบนเกาะกว่า 10 ล้านคน มีแผนที่จะหยุดจำหน่ายรถยนต์สันดาปบนเกาะภายในปี 2030 ซึ่งจะทำให้ปีนั้นรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดจะคิดเป็นสัดส่วน 45% ของรถยนต์ทั้งหมดบนเกาะ

แผนของรัฐบาลท้องถิ่นเกาะไห่หนานนี้ถือเป็นท้องถิ่นแรกของ “จีน” ที่ตั้งเป้าหมายสูงในระดับนี้ และจะกลายเป็นแม่พิมพ์ของท้องถิ่นอื่นในประเทศต่อไป

การเริ่มต้นที่ไห่หนานนับเป็นโมเดลนำร่องที่ดี เพราะโครงสร้างพื้นฐานของท้องที่เป็นเกาะและมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ทำให้คนส่วนมากจะเดินทางไม่ไกลต่อหนึ่งเที่ยวเดินทาง รวมถึงมีภูมิอากาศที่ไม่หนาวจัดหรือร้อนจัดซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรีรถ ไม่เหมือนกับเมืองหลวงอย่างปักกิ่งที่ในฤดูหนาวมักจะหนาวถึงติดลบ

แผนการของรัฐบาลท้องถิ่นที่ช่วยสนับสนุนให้เป็นเกาะแห่งอีวีนั้นมีหลายนโยบาย เช่น สนับสนุนเงินช่วยเหลือในการซื้อรถอีวี เปลี่ยนรถแท็กซี่และรถเมล์เป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด

ในแง่โครงสร้างพื้นฐานก็สนับสนุนให้มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 75,000 จุดทั่วเกาะ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงจุดชาร์จได้เฉลี่ยทุกๆ 2 กิโลเมตร จึงไม่ต้องกังวลเรื่อง ‘แบตหมด’ อีกต่อไป

ปัจจุบันในเมืองไหโข่ว เมืองเอกของเกาะไห่หนาน ถือว่ามีจุดชาร์จรถอีวีกระจายอยู่ทั่ว และในกรณีของรถยี่ห้อ Nio มีการสร้างสถานีสลับแบตเตอรีตามกลยุทธ์ของแบรนด์ด้วย โดยแบรนด์มีแผนจะสร้างสถานีสลับแบตเตอรีในจีนเพิ่มอีก 1,000 จุด พร้อมกับสถานีชาร์จอีก 10,000 จุด

การจะยกเลิกขายรถยนต์สันดาปในปี 2030 มีแรงกดดันต่อผู้บริโภคหรือไม่? สำนักข่าว Bloomberg สัมภาษณ์คนจีนท้องถิ่นบนเกาะแล้วพบว่า คนจำนวนมากเริ่มตัดสินใจซื้อรถยนต์คันใหม่เป็นรถอีวีอยู่แล้ว แม้แต่บริษัท BYD เองก็เลิกผลิตรถยนต์สันดาปไปตั้งแต่ปี 2022 ทำให้เป้าหมายของรัฐที่จะให้เลิกขายรถสันดาปจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในกลุ่มผู้บริโภค

เจมส์ เฉา ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการวางแผนกลยุทธ์ IScann Group บริษัทที่ปรึกษา มองว่า ไห่หนานยังได้รับอานิสงส์อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เป้าปี 2030 เป็นจริงง่ายขึ้น นั่นคือราคาของรถยนต์ไฟฟ้าในจีนต่ำกว่าประเทศอื่นในโลกค่อนข้างมาก

“การเข้าถึงรถอีวีในยุโรปและสหรัฐฯ ยังเป็นประเด็นสำคัญ แต่ในจีนนั้นมีกำแพงเรื่องนี้น้อยกว่า ทำให้เป้าหมายการแบนรถยนต์สันดาปในไห่หนานมีโอกาสสำเร็จได้มากกว่าประเทศอื่นในโลก” เฉากล่าว

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายต่อไปที่ค่อนข้างจะยากกว่าคือ การรณรงค์ให้กลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถบรรทุก เปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าบ้าง เพราะรถกลุ่มนี้เมื่อเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้ากลับไม่ได้มีปัจจัยบวกเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากเท่ากับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

Source

]]>
1432618
“จีน” จัดอันดับ “อาคารที่น่าเกลียดที่สุด” ใช้กระแสสังคมกดดันให้ “เลิกสร้าง” ตึกไร้รสนิยม https://positioningmag.com/1429589 Fri, 05 May 2023 09:32:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429589 อาคารทรงแปลกประหลาดในเมือง “จีน” มักจะมีให้เห็นอยู่เสมอ ชวนสงสัยว่าคนออกแบบกำลังคิดอะไรอยู่ แต่ใช่ว่าคนจีนจะชื่นชอบอาคารไร้รสนิยมเหล่านี้ เว็บไซต์แห่งหนึ่งจึงจัดตั้งโพลออนไลน์ขึ้นเพื่อให้ประชาชนโหวต “อาคารที่น่าเกลียดที่สุด” โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 13 แล้ว มุ่งเป้าเพื่อให้ผู้จัดสร้างอาคารเลิกสร้างอาคารแปลกประหลาดขึ้นมาเสียที

เว็บไซต์ Archy.com จัดทำโพลสำรวจ “อาคารที่น่าเกลียดที่สุด” ในประเทศจีน ประจำปี 2022 และผลโหวตที่กำลังมาอันดับ 1 ขณะนี้ ตกเป็นของ “อาคารพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ CORPUS” ในมณฑลอันฮุย ซึ่งต้นแบบของพิพิธภัณฑ์มาจากประเทศเนเธอร์แลนด์

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ที่เนเธอร์แลนด์ออกแบบให้มีรูปปั้นมนุษย์ครึ่งซีกนั่งอยู่ติดกับอาคารกรุกระจกทรงทันสมัย ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้พิพิธภัณฑ์ที่จีนออกแบบแบบเดียวกันด้วย แต่ดูเหมือนจะสร้างมาได้ไม่เหมือนแบบเท่าไหร่ และผลตอบรับของชาวจีนไม่ค่อยดีนัก ส่วนใหญ่มองว่าอาคารแบบนี้ “แปลกประหลาด” จนถึงระดับ “น่ากลัว”

“อาคารพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ CORPUS” ในมณฑลอันฮุย

ผู้จัดโพลชิ้นนี้มีตัวเลือกเหตุผลที่นิยามคำว่า “น่าเกลียด” ของอาคารไว้หลายประการ เช่น รูปร่างประหลาดพิกล, การออกแบบไม่เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ, เลียนแบบสถาปัตยกรรมต่างประเทศจนเกินเหตุ, ลอกเลียนแบบอาคารอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว, ฟังก์ชันออกแบบการใช้งานไม่มีเหตุผลจำเป็น เป็นต้น

อาคารที่เข้ากับนิยามคำว่าน่าเกลียดจึงเรียกได้ว่ามีอยู่มากมายในประเทศจีน เป็นเหตุให้โพลนี้จัดขึ้นต่อเนื่องมาถึงปีที่ 13 ที่ผ่านมามีตึกติดอันดับต้นๆ ในโพลมากมาย เช่น อาคารราชการในเมืองฟู่หยาง มณฑลอันฮุย ที่ลอกเลียนแบบทำเนียบขาวและอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ มาทั้งดุ้น, อาคารรูปร่างเหมือนกางเกงของสำนักข่าว CCTV ในกรุงปักกิ่ง, อาคาร Raffles City ในเมืองฉงชิ่ง ที่ดูแล้วเหมือนลอกเลียน Marina Bay Sands ในสิงคโปร์มา หรืออาคารหน้าตาเหมือนเหรียญสีทองในเมืองกวางโจว เป็นต้น

อาคารรูปร่างเหมือนกางเกงของสำนักข่าว CCTV ในกรุงปักกิ่ง (Photo: Shutterstock)

ทำไมอาคารหน้าตาน่าเกลียดจึงผุดขึ้นในจีนเต็มไปหมด? “โจว ร่ง” หนึ่งในผู้ก่อตั้งโพลนี้และเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิงหัว เคยเขียนบทความไว้เมื่อปี 2020 อธิบายว่า เป็นเพราะการพัฒนาความเป็นเมืองที่รวดเร็วอย่างยิ่งใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดการก่อสร้างตึกจำนวนมากจนเกินจำเป็น ในระหว่างนั้นการออกกฎหมายควบคุมก็ยังหละหลวม ไม่สนใจความยินยอมพร้อมใจของประชาคม จนทำให้กระบวนการออกแบบและการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมจีนล่มสลาย

ผลก็คือ เกิดอาคารที่ลอกเลียนแบบอาคารในต่างประเทศ อาคารที่จงใจแสดงออกถึงความร่ำรวย อาคารที่เน้นความแปลกเพื่อให้โด่งดังดึงดูดนักท่องเที่ยว อาคารเหล่านี้เบ่งบานไปทั่วจีนก่อนจะควบคุมได้ทัน

ศูนย์การค้า Tian An 1,000 Trees ในเซี่ยงไฮ้

หนำซ้ำ เมื่อประเทศจีนพัฒนากฎมาควบคุมอาคารแปลกๆ ไม่ทัน ที่นี่จึงเป็นสวรรค์ของสถาปนิกทั่วโลกในการทดลองไอเดียพิลึกพิลั่นต่างๆ และบางโครงการสถาปนิกต่างชาติก็มักจะลืมนึกถึงกรอบวัฒนธรรมจีน จนได้อาคารที่อาจจะสวยที่อื่นแต่แปลกที่นี่ออกมา เช่น ศูนย์การค้า Tian An 1,000 Trees ในเซี่ยงไฮ้ คอนเซปต์ของผู้ออกแบบต้องการจะให้เป็นเหมือนภูเขาที่มีต้นไม้ขึ้นบนเขา สร้างธรรมชาติในเมือง แต่ผลที่ได้นั้นดูคล้าย “ฮวงซุ้ย” สุสานของคนจีนแทน

เมื่อเริ่มมีเสียงต้านจากประชาชนมากขึ้น แม้แต่ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ก็ยังต้องเอ่ยถึงเรื่องนี้บ้าง โดยในปี 2014 สีจิ้นผิงร้องขอให้ “เลิกสร้างอาคารประหลาด” ในประเทศเสียที

จนกระทั่งเมื่อปี 2022 นักวางแผนทางเศรษฐกิจเริ่มปล่อยแผนการออกแบบการขยายตัวของเมือง โดยต้องการให้เมืองในจีนสะท้อนความเป็นจีน ดังนั้น คาดว่าอาจจะมีการแบนอาคารประเภทที่ “ใหญ่เกินจำเป็น แปลก และรับวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้”

แต่ในระหว่างที่รัฐบาลจีนวางแผนเรื่องนี้ เทรนด์การออกแบบอาคารแปลกๆ ในประเทศก็ดูจะยังไม่หยุด

“ตอนที่เริ่มตั้งโพลครั้งแรก เราคิดว่าโพลของเราคงไม่ค่อยมีอะไรมาให้โหวตหลังผ่านไปสัก 2 ปี แต่จนถึงขณะนี้อาคารน่าเกลียดก็ยังโผล่ขึ้นมาไม่หยุดเลย” โจว ร่ง กล่าว “สิ่งที่เปลี่ยนไปมีแค่ความน่าเกลียดมันเปลี่ยนหน้าตาไปเท่านั้น”

ต้องติดตามต่อไปว่า แนวทางการบริหารของจีนที่จะควบคุมไม่ให้มีตึกที่อวดร่ำอวดรวยเกินไป และรับวัฒนธรรมต่างชาติมามากเกิน เพื่อกรุยทางไปสู่การสร้างอาคารที่มีความงามด้วยสัญลักษณ์วัฒนธรรมในแบบจีน จะเป็นไปได้เร็วแค่ไหน

]]>
1429589
ประกาศเปิดประเทศแล้ว…แต่การท่องเที่ยวในประเทศ “จีน” น่าจะใช้เวลาฟื้นตัวอีกนาน https://positioningmag.com/1414726 Thu, 05 Jan 2023 11:21:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414726 บทวิเคราะห์จาก South China Morning Post มองว่าการประกาศเปิดประเทศของ “จีน” ไม่น่าจะทำให้ภาคการท่องเที่ยวในประเทศจีนฟื้นตัวได้เร็ว เพราะปัญหาเศรษฐกิจ-อัตราว่างงานทำให้คนจีนเองลดงบประมาณการท่องเที่ยวลง ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ยังไม่กล้าเดินทางเข้าจีนมากนักเพราะหวั่นเกรงเรื่องการระบาดของโควิด-19 ในจีน

หลังจากจีนประกาศยกเลิกหลายมาตรการที่ใช้ในการควบคุมโควิด-19 ภาคการท่องเที่ยวจีนเริ่มมีความหวังว่าจะได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่เส้นทางการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวจีนดูจะยังอีกยาวไกล

จากช่วงเทศกาลปีใหม่ 2023 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวภายในประเทศมีการฟื้นตัวเพียงเล็กน้อย โดยมีการเดินทางทั้งหมด 52.7 ล้านครั้งทั่วประเทศ ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของเทศกาลปีใหม่ 2022 อ้างอิงข้อมูลโดย กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของประเทศจีน

จำนวนการท่องเที่ยวในประเทศนี้คิดเป็นเพียงสัดส่วน 42.8% เมื่อเทียบกับปีใหม่ปี 2019 ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ และหากคิดเป็นมูลค่า จะลดเหลือเพียง 35.1% ของปี 2019 ด้วย

ที่จริงการฟื้นตัวในเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาควรทำได้ดีกว่านี้ แต่เพราะเกิดอัตราติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงในประเทศทำให้หลายคนต้องล้มเลิกแผนท่องเที่ยวไป

ภาพจาก Shutterstock

ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา โรงแรมต่างๆ พยายามเอาตัวรอดด้วยการโปรโมตแพ็กเกจการจัดปาร์ตี้รับปีใหม่และ ‘staycation’ สำหรับคนท้องถิ่นทดแทน เนื่องจากยอดจองห้องจากต่างประเทศยังต่ำอยู่

ส่วนปี 2023 นี้ การคลายล็อกมาตรการคุมโควิด-19 น่าจะทำให้คนจีนเกิดความกระตือรือร้นที่จะท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญและเอเจนซี่ทัวร์หลายแห่งมองตรงกันว่า คนจีนน่าจะเลือกจองทริปเที่ยวสั้นลงและถูกลง เพราะการต่อสู้กับโรคระบาดมาตลอดทำให้เศรษฐกิจจีนฝืดเคือง และเกิดอัตราว่างงานสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่เน้นทริปที่มีระยะสั้นไม่เกิน 3 วัน

 

ต่างชาติเที่ยวจีนน่าจะยังซบเซา

หาก ‘จีนเที่ยวจีน’ นับว่าฟื้นตัวช้าแล้ว การท่องเที่ยวขาเข้าจากต่างประเทศเข้ามายังแดนมังกรยิ่งฟื้นตัวช้ากว่า โดยบริษัทบริหารโรงแรมหลายรายมองตรงกันว่า การคลายเข้มงวดในการควบคุมโควิด-19 ทำให้ยอดจองห้องพักในจีนดีขึ้นบ้าง แต่การที่ยังมีข่าวการระบาดในเมืองต่างๆ ทั่วแดนมังกรก็ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงลังเลที่จะเข้ามาเยือน

ภาพจาก Shutterstock

ผู้บริหารโรงแรมระดับ 5 ดาวรายหนึ่งในกรุงปักกิ่งกล่าวว่า โรงแรมของตนค่อนข้างมองบวกกับการคลายล็อกการเข้าประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมนี้ เพราะปกติปักกิ่งเคยเป็นจุดหมายหลักของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้เชื่อว่ายอดจองจะดีขึ้นบ้าง แต่ไม่คิดว่าจะเร็วนัก ในช่วงสองสามสัปดาห์แรกหลังคลายล็อกน่าจะยังไม่มียอดจองเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

รายงานจากสมาคมการท่องเที่ยวประเทศจีนที่ออกมาเมื่อเดือนธันวาคม 2022 เชื่อว่า จีนจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 20 ล้านคนภายในปี 2023 เทียบกับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 145 ล้านคนที่เดินทางเข้าจีนในปี 2019 ปีนี้การท่องเที่ยวขาเข้าของจีนน่าจะยังซบเซาอยู่มาก

จุดหมายปลายทางในจีนในระยะนี้ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมสูง คือมณฑลที่อยู่ทางใต้ซึ่งอากาศอบอุ่นกว่า เช่น ยูนนาน ไห่หนาน น่าจะเป็นจุดหมายของทั้งต่างชาติและคนจีนจากเมืองใหญ่เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ นานจิง เทียนจิน ที่อยากออกท่องเที่ยวกันแล้ว

Source

]]>
1414726
“จีนเปิดประเทศ” ข่าวดีต่อเศรษฐกิจโลก Goldman Sachs วิเคราะห์ “ไทย” ได้ประโยชน์สูง https://positioningmag.com/1414182 Wed, 28 Dec 2022 05:18:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414182 นักวิเคราะห์มอง “จีนเปิดประเทศ” ผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก จากการช่วยลดคอขวดซัพพลายเชนการผลิตสินค้า โดย Goldman Sachs เล็ง “เศรษฐกิจไทย” คือผู้ชนะตัวจริง เพราะเป็นซัพพลายเชนต่อเนื่องจากจีนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของชาวจีนด้วย

การตัดสินใจเปิดประเทศของจีน ผ่อนคลายกฎการเดินทางเข้าและออกจากประเทศ ทำให้นักวิเคราะห์มีความหวังขึ้นมาว่านี่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยถึงจังหวะชะลอตัวลงบ้าง หลังจากช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศมีการปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ รวมถึงจะเป็นปลดล็อกคอขวดในซัพพลายเชนการผลิตโลก เป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้กับเศรษฐกิจปี 2023

จีนประกาศเปิดประเทศเริ่มตั้งแต่ 8 มกราคม 2023 โดยผู้ที่เดินทางเข้าประเทศจีนไม่จำเป็นต้องกักตัวอีกต่อไป (จากเดิมต้องกักตัว 8 วัน) ถือเป็นก้าวใหญ่ในการเปิดประเทศจีน แหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ศูนย์รวมการผลิตสินค้า และมีจำนวนประชากรถึง 1,400 ล้านคน

นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs วาณิชธนกิจสัญชาติอเมริกัน เชื่อว่า แม้ว่าการเปิดประเทศจะยิ่งทำให้ระบบสาธารณสุขจีนตึงเครียดยิ่งขึ้นจากปัจจุบันที่มีจำนวนเคสผู้ป่วยโควิด-19 พุ่งสูงอยู่แล้ว แต่โดยภาพรวมแล้วการเปิดประเทศจะเป็นผลบวกกับเศรษฐกิจจีน

การผ่อนคลายให้ชาวจีนเดินทางภายในประเทศได้อิสระ และการท่องเที่ยวขาเข้าเมืองจีนที่จะขยับดีขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า จีดีพีจีนจะโตได้มากกว่า 5% ในปี 2023

กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ก่อนทันทีคือ สนามบินเซี่ยงไฮ้ คาสิโนในมาเก๊า และ สายการบินสัญชาติจีน ไม่ว่าจะทำการบินในประเทศหรือต่างประเทศ

รวมถึงเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เช่น “ประเทศไทย” จะเป็นผู้ชนะตัวจริงในการเปิดประเทศจีน เพราะไทยเป็นส่วนสำคัญในซัพพลายเชนการผลิตโลกซึ่งเชื่อมต่อกับจีน รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

การเปิดประเทศจีนจะทำให้ “ไทย” ได้อานิสงส์เต็มๆ

ข้อมูลจาก Ctrip แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวของจีนระบุว่า ทันทีที่รัฐบาลจีนประกาศเปิดประเทศ การค้นหาทริปเดินทางต่างประเทศก็พุ่งขึ้นทันที 10 เท่าภายในเวลาครึ่งชั่วโมง และประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ที่คนจีนสนใจเดินทางมา รองจากประเทศญี่ปุ่น

ล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นระบุแล้วว่า จะมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากนักท่องเที่ยวจีนก่อนเข้าประเทศ และหากพบเชื้อเป็นบวกจะต้องกักตัวไว้ก่อน มาตรการคัดกรองนักท่องเที่ยวจีนของญี่ปุ่นนี้น่าจะเป็นบวกต่อไทย เพราะรัฐไทยยืนยันว่าจะใช้มาตรการต่อนักท่องเที่ยวจีนแบบเดียวกับทุกชาติที่เดินทางเข้ามา คือไม่มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือขอเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ในแง่ของซัพพลายเชนโลกที่เคยปั่นป่วนมาตลอดเพราะมาตรการจัดการโควิด-19 ของจีน ทำให้การส่งมอบสินค้าตั้งแต่ iPhone ไปจนถึงรถยนต์ดีเลย์ไปมาก เมื่อจีนจะผ่อนคลายมาตรการเหล่านี้แล้ว ทำให้มุมมองต่อเศรษฐกิจโลกดีขึ้นไปด้วย

จากการสำรวจกลุ่มผู้จัดการกองทุน สำรวจโดย Bank of America (BofA) พบว่า ผู้จัดการกองทุนเริ่มจะมองเศรษฐกิจโลกดีขึ้นเพราะข่าวนี้ จากเมื่อเดือนก่อนมีถึง 73% ที่คิดว่าเศรษฐกิจโลกปีหน้าจะย่ำแย่ลง ขณะนี้ลดเหลือ 69% ที่ยังคิดแบบเดิม

“การประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะดีขึ้นกว่าที่คาดนั้น น่าจะเกิดจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่ดูจะดีขึ้นมาบ้างแล้ว” BofA กล่าว

ข่าวดีของจีนส่งผลดีกับตลาดทุนแล้ว โดยตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ขยับขึ้นมา 1% ส่วนดัชนี CSI 300 ดัชนีรวมหุ้นบริษัทใหญ่ที่สุดของจีน 300 แห่ง ปรับขึ้นมาแล้ว 1.15%

Source

]]>
1414182
“ตลาดหุ้นฮ่องกง” ร่วงจากสัญญาณลบ “ประท้วง” นโยบาย Zero-Covid ทั่วประเทศจีน https://positioningmag.com/1410155 Mon, 28 Nov 2022 03:49:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410155 เปิดตลาดวันจันทร์ ตลาดหุ้นฮ่องกง หุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่แดนมังกร และค่าเงินหยวน ต่างร่วงลงถ้วนหน้า รับสัญญาณลบการ “ประท้วง” ในประเทศจีนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่พอใจต่อนโยบายล็อกดาวน์ Zero-Covid ของรัฐบาล

ดัชนีฮั่งเส็ง (HSI) ดัชนีหลักทรัพย์ตัวแทนตลาดหุ้นฮ่องกง ตกลงทันที 4.2% หลังเปิดตลาดเช้าวันจันทร์นี้ (28 พ.ย. 2022) ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตในจีนแผ่นดินใหญ่ ร่วงลง 1.5% และดัชนีเสิ่นเจิ้นคอมโพเนนต์ซึ่งสะท้อนกลุ่มบริษัทเทคในจีน ก็ร่วงลง 1.6% เช่นกัน ด้านค่าเงินหยวนเทียบดอลลาร์สหรัฐเช้านี้ อัตราแลกเปลี่ยนตกลง 0.6% เหลือ 7.234 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ

ตลาดทุนตลาดเงินในจีนสะดุดเป็นภาพสะท้อนของการ “ประท้วง” ทั่วประเทศจีนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นภาพที่ไม่ค่อยได้เห็นนักในแดนมังกร การประท้วงรอบนี้เกิดจากความไม่พอใจของประชาชนต่อนโยบาย Zero-Covid อันเข้มงวด

การประท้วงในเมืองใหญ่ของจีน ตั้งแต่เมืองหลวงปักกิ่งจนถึงฮับเศรษฐกิจอย่างเซี่ยงไฮ้ มีประชาชนออกมาไว้อาลัยผู้เสียชีวิตในเหตุไฟไหม้ที่มณฑลซินเจียง และประท้วงต่อต้านนโยบาย Zero-Covid เรียกร้องอิสรภาพและประชาธิปไตย

เหตุไฟไหม้ที่เป็นต้นเหตุความโกรธของประชาชนจีน มาจากอุบัติเหตุในเมืองอุรุมชี เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ อะพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในอุรุมชีเกิดไฟไหม้ขึ้น แต่เนื่องจากอยู่ระหว่างการล็อกดาวน์ ทำให้การดับเพลิงเป็นไปอย่างล่าช้า และชาวเมืองมีการให้สัมภาษณ์ว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่อนุญาตให้ออกจากบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ สุดท้ายจึงมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย

แม้เจ้าหน้าที่อุรุมชีจะกล่าวขอโทษอย่างไม่เป็นทางการ และกล่าวว่าการดับเพลิงล่าช้าเพราะมียานพาหนะจอดขวางทาง แต่ชาวเมืองก็ยังออกมาประท้วงตามท้องถนน และแม้ว่าทางการจีนจะปิดกั้นอินเทอร์เน็ตไม่ให้พูดถึงการประท้วงในซินเจียง แต่สุดท้ายแล้วการประท้วงก็ลุกลามไปยังเมืองอื่นๆ ของจีน

เหตุการณ์ประท้วงที่โกรธเกรี้ยวและมีการปะทะกันนั้นเป็นเรื่องที่หาได้ยากมากที่ประเทศจีน และบางจุดการประท้วงยังมีอยู่ต่อเนื่องจนถึงเช้าวันจันทร์นี้

นโยบาย Zero-Covid ของจีนนั้นหมายถึงวิสัยทัศน์การควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้เป็น “ศูนย์” ทำให้ถ้าหากมีการระบาดเกิดขึ้น ทางการจีนจะกลับไปล็อกดาวน์เมือง ให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่จำกัด และมีการปูพรมตรวจโควิด-19 ทันที

ก่อนหน้านี้เอง มีการประท้วงของกลุ่มคนงานโรงงาน Foxconn ที่เจิ้งโจวมาแล้ว โดยเหตุประท้วงส่วนหนึ่งเกี่ยวเนื่องกับการล็อกดาวน์คนงานไว้ในโรงงาน และโรงงานไม่สามารถจัดการความเป็นอยู่ที่ดีได้ (อ่านเพิ่มเติมที่นี่)

Source: CNN

]]>
1410155
จากนโยบาย “ลูกคนเดียว” สู่ปีที่ “จีน” กังวลถึงภาวะ “ประชากรเกิดน้อยเกินไป” https://positioningmag.com/1333629 Mon, 24 May 2021 12:49:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333629 ปี 2020 จีนมีประชากรทั้งสิ้น 1,412 ล้านคน แต่ประชากรที่เพิ่มขึ้นเมื่อปีก่อนมีเพียงแค่ 12 ล้านคน ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1961 สถิติการเกิดที่น้อยลงเริ่มน่ากังวล เพราะจะทำให้มีประชากรวัยทำงานลดลงในอนาคต และเงินบำนาญหลังเกษียณของผู้สูงวัยจะไม่เพียงพอ อ่านข้อมูลเหล่านี้เพื่อติดตามสถานการณ์ประชากรในจีนที่อาจเปลี่ยนลักษณะสังคม-เศรษฐกิจได้ในทศวรรษหน้า

1) จีนเคยมีนโยบาย “ลูกคนเดียว” คืออนุญาตให้คู่สามีภรรยามีลูกได้แค่คนเดียว เพื่อลดจำนวนประชากรที่มากเกินไป จนกระทั่งปี 2016 จึงผ่อนผันให้มีลูกได้สองคน

2) ณ ปี 2020 จีนมีประชากรทั้งหมด 1,412 ล้านคน แต่ประชากรที่เพิ่มขึ้นในปี 2020 มีเพียง 12 ล้านคน ต่ำที่สุดที่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1961 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในจีนจนประชากรเกิดใหม่ลดฮวบ และเป็นตัวเลขที่ลดลงจากปี 2019 ที่มีเด็กเกิดใหม่ 14.65 ล้านคน

3) ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนต่อจำนวนประชากรหญิง เท่ากับค่าเฉลี่ยผู้หญิงจีนวัยเจริญพันธุ์ 1 คนจะมีลูกเพียง 1.3 คนเท่านั้นเมื่อปี 2020 นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยความต้องการของผู้หญิงจีนโดยเฉลี่ยแล้วต้องการมีลูกเพียง 1.8 คน น้อยกว่าอัตราที่ควรจะเป็นคือมีลูก 2.1 คน เพื่อจะทำให้อัตราประชากรของจีนเหมาะสม

(Photo : Shutterstock)

4) เมื่อประชากรเกิดน้อยลง ขณะที่ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 264.02 ล้านคน ทำให้ปี 2020 จีนมีอัตราส่วนผู้สูงวัยเพิ่มเป็น 18.7% เพิ่มขึ้นมา 5.44% เทียบกับปี 2010 ทั้งนี้ สมาคมธุรกิจประกันของจีนประมาณการณ์ว่า ประชากรผู้สูงอายุจะขึ้นแตะ 300 ล้านคนภายในปี 2025

5) ในทำนองเดียวกัน ประชากรวัยทำงานจึงลดลงด้วย โดยปี 2020 จีนมีประชากรวัย 15-59 ปี จำนวน 894.38 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 63.35% ลดลง 6.79% จากปี 2010

6) จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น แต่คนทำงานน้อยลงเป็นปัญหาสำคัญ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนเคยประมาณการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2019 ว่า กองทุนบำนาญของรัฐจะเริ่มขาดเงินสะสมในปี 2035 หากว่าจำนวนผู้เกษียณอายุยังคงเพิ่มขึ้น และคนทำงานที่จะส่งเงินให้กับกองทุนลดลง

7) รัฐบาลจีนตระหนักถึงปัญหานี้ โดยเคยคำนวณไว้ว่า ภายในปี 2050 เงินบำนาญของผู้สูงวัย 1 คนจะมาจากการทำงานของคนวัยทำงานเพียง 1 คน จากปัจจุบันมาจากคนวัยทำงาน 2 คน ซึ่งนั่นแปลว่า เงินบำนาญจะไม่เพียงพอ

(Photo : Shutterstock)

8) ความกังวลเกี่ยวกับอัตราประชากรนี้นำไปสู่การเปลี่ยนนโยบายให้มีลูกเพิ่มได้เป็น 2 คนเมื่อปี 2016 โดยหวังว่าจะทำให้คนจีนมีลูกเพิ่ม แต่ก็เพิ่มไม่มากเท่าที่รัฐบาลคาดหวัง โดยปี 2016 ซึ่งเป็นปีแรกที่ให้มีลูกได้ 2 คน มีเด็กเกิดใหม่ 17.86 ล้านคน เพิ่มจากปี 2015 ที่มีเด็กเกิดใหม่ 16.55 ล้านคน และในปี 2017 จำนวนเด็กเกิดใหม่ก็ตกลงอีกเหลือ 17.23 ล้านคน จากนั้นก็ยังคงลดลงต่อเนื่องทุกปี แม้ว่ารัฐจะให้นโยบายเงินอุดหนุนสำหรับการมีลูกคนที่สองแล้วก็ตาม

9) การมีลูกน้อยลงของคนจีนมาจากหลายสาเหตุ ทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเลี้ยงลูก แนวคิดทางสังคมของผู้หญิงที่ต้องการเรียนสูง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จึงไม่ต้องการมีครอบครัว รวมถึงการย้ายจากชนบทมาอยู่ในเมืองใหญ่ก็ทำให้การมีลูกและเลี้ยงลูกยากขึ้น

10) ต้องติดตามต่อว่าจากนี้จีนจะออกนโยบายอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาด้านประชากร ก่อนที่จำนวนผู้เสียชีวิตจะสูงกว่าเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปี และจะทำให้จีนประสบปัญหาแบบเดียวกับประเทศใกล้เคียงอย่าง ญี่ปุ่น หรือ เกาหลีใต้

Source

]]>
1333629
“หม่า ฮั่วเถิง” แห่ง Tencent แซง “แจ็ค หม่า” ขึ้นเป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีน https://positioningmag.com/1285423 Fri, 26 Jun 2020 16:41:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285423 หม่าหนึ่งขึ้นอีกหม่าหนึ่งลง! “หม่า ฮั่วเถิง” ซีอีโอและผู้ก่อตั้งอาณาจักร Tencent ขึ้นเป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีน จากการจัดอันดับโดย Bloomberg Billionaires Index แทนที่ “แจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้ง Alibaba ยักษ์อีคอมเมิร์ซจากแดนมังกร

ล่าสุด หม่า ฮั่วเถิง หรือ โพนี หม่า ซีอีโอ Tencent ได้รับการประเมินสินทรัพย์ไว้ที่ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แซงหน้า แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba ซึ่งมีสินทรัพย์ 4.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ฝั่งเจ้าของบริษัทอินเทอร์เน็ตกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนแทนที่แชมป์เก่า

สาเหตุที่สินทรัพย์ของหม่า ฮั่วเถิงพุ่งสูง เกิดจาก ราคาหุ้นของ Tencent ที่ทะยานขึ้นในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เคยหล่นไปสู่ราคาต่ำสุดเมื่อปี 2018 จากวันนั้นถึงวันนี้หุ้นของ Tencent ขยับขึ้นมาเกือบ 2 เท่า เฉพาะปี 2020 หุ้นของบริษัทนี้ปรับขึ้นถึง 31% เทียบกับ Alibaba ที่ขึ้นมาเพียง 6.9% อย่างไรก็ตาม บริษัท Pinduoduo ของ โคลิน หวง เศรษฐีอันดับ 3 ของจีนก็มาแรงไม่แพ้กัน โดยหุ้นของ Pinduoduo ปรับขึ้นไปแล้วเท่าตัวในปีนี้

หม่า ฮั่วเถิงนั้นยังคงถือหุ้น 7% ในบริษัท ดังนั้นเมื่อหุ้น Tencent ทะยาน มูลค่าสินทรัพย์ของเขาก็ทะยานตามไปด้วย

แจ็ค หม่า มหาเศรษฐีอันดับ 2 ของจีน

นอกจากนี้ บริษัทเพิ่งจะรายงานเมื่อเดือนก่อนว่า รายได้ไตรมาสแรกของ Tencent สูงขึ้น 26% เทียบกับปีก่อน โดย Bloomberg Intelligence วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะโรคระบาด COVID-19 ไม่กระเทือนรายได้ของ Tencent และยังส่งให้ธุรกิจเกมของบริษัทเติบโตแข็งแรงขึ้น

ประวัติของมหาเศรษฐี หม่า ฮั่วเถิง ก่อนหน้าที่จะก่อตั้งบริษัท Tencent ขึ้นในปี 1998 เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมประยุกต์ จากมหาวิทยาลัยเสิ่นเจิ้น และเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับระบบเพจจิ้งของบริษัท China Motion Telecom Development Limited ซึ่งให้บริการโทรคมนาคมและอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องในประเทศจีน

สำหรับ Tencent นั้น มีบริการที่เป็นแกนหลักและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือแอปพลิเคชันแชท WeChat จากนั้นจึงขยายอาณาจักรไปสู่สินค้า “ดิจิทัล คอนเทนต์” อื่นๆ เช่น เกมออนไลน์ สตรีมมิ่งวิดีโอ ไลฟ์สตรีมมิ่ง ข่าว สตรีมมิ่งดนตรี ฯลฯ ในกลุ่มเกมอออนไลน์นั้น Tencent มีเกมดังๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น PUBG Mobile, League of Legends หรือ Honour of Kings

Source: Business Insider, Times of India

]]>
1285423
NASDAQ เตรียมถอนร้านกาแฟ Luckin ออกจากตลาดหุ้น เซ่นคดีปั้นตัวเลขยอดขายเกินจริง https://positioningmag.com/1279559 Wed, 20 May 2020 05:18:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279559 ไม่รอด! Luckin Coffee ร้านกาแฟชื่อดังคู่แข่ง Starbucks ในประเทศจีน กำลังจะถูกถอดออกจากตลาดหุ้น NASDAQ สหรัฐฯ หลังถูกจับได้ว่าปลอมแปลงข้อมูลการเงินต่อสาธารณะ แต่งตัวเลขยอดขายเกินจริง

ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังจะถอนหุ้น Luckin Coffee ออกจากตลาด ทั้งที่เพิ่งเปิด IPO ไปเมื่อปีก่อน เนื่องจาก Luckin Coffee ถูกตรวจพบว่ามีการปลอมแปลงข้อมูลทางการเงิน

โดยบริษัทได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากตลาดหุ้น NASDAQ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2020 ความว่า “เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีความประสงค์ที่จะถอนหุ้นของบริษัทออกจากตลาด”

การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นเนื่องจากตลาดหุ้นกังวลว่าข้อมูลดังกล่าวจะเกิด “ผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ” หลังช่วงที่ผ่านมา บริษัท Luckin Coffee ถูกเปิดโปงการปลอมแปลงข้อมูลธุรกรรมทางการเงินจากพนักงานภายในของบริษัทเอง รวมกับความผิดพลาดในอดีตที่บริษัทไม่สามารถให้ข้อมูลการดำเนินงานที่เพียงพอแก่สาธารณชน

ฟากบริษัท Luckin Coffee ยังคงต่อสู้เพื่อให้ได้เป็นบริษัทมหาชนต่อไป โดยยื่นเรื่องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปแล้ว และระหว่างนี้บริษัทจะยังคงสถานะอยู่ในตลาดหุ้น แต่ไม่สามารถซื้อขายหุ้นได้มาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2020 ส่วนขั้นตอนการรับฟังคำอุทธรณ์ ปกติมักจะนัดไต่สวนภายใน 45 วันหลังยื่นเรื่อง

กาแฟพันธุ์สตาร์ทอัพที่เติบโตมาจากการทุ่มตลาด ลงทุนโฆษณาสร้างกระแส ขยายสาขาเร็วเพื่อเบียดคู่แข่ง (Photo : Luckin Coffee)

ราคาหุ้นของบริษัทร่วงหนัก 83% เหลือเพียง 4.39 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ในวันที่ 2 เมษายน 2020 หลังบริษัทประกาศปลด หลิว เจียน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ออกจากตำแหน่ง เซ่นข่าวการปลอมแปลงข้อมูลที่หลุดออกมา

ข้อมูลปลอมที่เกิดขึ้น มาจากการรายงานยอดขายเกินจริงไป 310 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 4 ปี 2019 ซึ่งเป็นตัวเลขถึงครึ่งหนึ่งจากเป้าหมายยอดขาย 732 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่บริษัทประกาศเมื่อช่วงต้นปี 2019 โดยเริ่มมีข่าวหลุดออกมาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2020 บริษัทได้ปฏิเสธข่าวไปก่อน แต่เมื่อทำการตรวจสอบภายในบริษัทแล้วพบว่ามีการปลอมแปลงจริง นำมาสู่การปลดซีโอโอและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในเวลาต่อมา

Luckin Coffee เป็นปรากฏการณ์สตาร์ทอัพที่ฮือฮาอย่างมาก เพราะเพิ่งก่อตั้งในปี 2017 และเติบโตอย่างรวดเร็วขยายไปถึง 3,500 สาขาทั่วโลก (พร้อมมีข่าวว่าจะเข้ามาเปิดในประเทศไทยด้วย) ในที่สุดบริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ ช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2019 ก่อนจะถูกตรวจพบกลโกงในเวลาไม่ถึงปี

Source: SCMP, Business Insider

]]>
1279559
รู้จัก “Bilibili” แพลตฟอร์ม “สตรีมมิ่ง” สุดฮิตในจีน เริ่มจากวงการอนิเมะสู่ตลาดแมส https://positioningmag.com/1279352 Tue, 19 May 2020 10:30:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279352 Bilibili เว็บไซต์รวมคลิปวิดีโอแบบ UGC ของจีนที่เคยเติบโตจากกลุ่มเด็กๆ กลายมาเป็นแพลตฟอร์มสุดฮิตของแดนมังกร โดยมีผู้ใช้แตะ 172 ล้านคนต่อเดือน เพิ่มขึ้น 70% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทัดเทียมคู่แข่งอย่าง Tencent Video และ iQiyi นอกจากนี้ ระยะเวลาใช้งานต่อครั้งยังเพิ่มขึ้นแตะ 87 นาที เนื่องจากการกักตัวช่วง COVID-19

Bilibili ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 ในฐานะสตาร์ทอัพ และเติบโตจนปัจจุบันเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ ที่สหรัฐฯ พร้อมรับเงินลงทุนทั้งจากฝั่ง Tencent และ Alibaba ซึ่งมีสตาร์ทอัพน้อยรายที่จะได้เงินลงทุนจากทั้งสองฝ่ายอันเป็นคู่แข่งกันเช่นนี้

การเติบโตของ Bilibili เรียกได้ว่าเป็น ‘YouTube แห่งแดนมังกร’ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นคลิปวิดีโอ UGC (User-Generated Content) และเข้าชมได้ฟรี จะต่างจากแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งคู่แข่งอย่าง Tencent Video และ iQiyi ซึ่งเป็นสตรีมมิ่งสไตล์เดียวกับ Netflix คือเป็นแหล่งคอนเทนต์ระดับมืออาชีพ และต้องชำระเงินสมัครสมาชิก

จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มนี้โด่งดังในกลุ่มเยาวชนก่อน และเริ่มติดตลาดด้วยคอนเทนต์เฉพาะทางประเภทอะนิเมชั่น การ์ตูน เกม โดยทำเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ ก่อนจะเริ่ม “แมส” ในยุค COVID-19 พร้อมกับการผลักดันของแพลตฟอร์มให้มีการทำคลิปที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น ขนาดยาวขึ้น มีคอนเทนต์ที่หลากหลาย เช่น ภาพยนตร์ สารคดี เติมเข้ามา

Screenshot วิดีโอแบบ UGC ใน Bilibili

ล่าสุด Bilibili รายงานผลประกอบการไตรมาส 1/63 พบว่าจำนวนผู้ใช้ active users พุ่งสูงถึง 70% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีผู้ใช้ถึง 172 ล้านคนต่อเดือน แซงหน้า Tencent Video ที่มีผู้ใช้ 112 ล้านคนต่อเดือน และ iQiyi ที่มีผู้ใช้ 118.9 ล้านคนต่อเดือน ขณะที่ระยะเวลาการใช้งานต่อครั้งก็เพิ่มขึ้นไปแตะ 87 นาที

ด้านจำนวน “ครีเอเตอร์” บนแพลตฟอร์มยิ่งเติบโตมากกว่า โดยมีช่องให้เลือกชม 1.8 ล้านช่อง เติบโต 146% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการเติบโตทั้งหมดคาดว่าเกิดจากการกักตัวในช่วงไวรัส COVID-19 ระบาด ทำให้ประชาชนไม่มีกิจกรรมทำมากนัก โดยเฉพาะนักเรียนที่ไม่ได้ไปโรงเรียน

ที่น่าสนใจคือ ครีเอเตอร์ท็อปฮิตที่สุดของแพลตฟอร์มนี้ ได้แก่ Communist Youth League of China หรือกลุ่มยุวชนคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน! โดยเป็นช่องที่จัดอยู่ในหมวด “รัฐบาล” มีผู้ติดตาม 96.1 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีช่องของรัฐบาลที่ติด Top 10 อีก 2 ช่อง คือ Guancha.cn ในหมวด สื่อของรัฐ อยู่ในอันดับ 2 มีผู้ติดตาม 60.4 ล้านคน และช่อง China Central Television (CCTV) เป็นสื่อของรัฐเช่นกัน อยู่ในอันดับ 6 มีผู้ติดตาม 35.6 ล้านคน

Bilibili ไม่ได้ทำรายได้จากแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพียงอย่างเดียว บริษัทนี้ยังเป็นผู้จัดจำหน่าย เกมมือถือ ควบคู่ไปด้วย เพื่อเสริมประโยชน์ซึ่งกันและกันจากฐานผู้ใช้ที่เป็นเด็กเสียส่วนมาก โดยมีวิธีหารายได้ เช่น ครีเอเตอร์สามารถเปิดร้านค้าบนแพลตฟอร์มเพื่อขายไอเทมในเกมไปจนถึงสินค้าเมอร์ชานไดซ์สำหรับแฟนๆ รับโฆษณาทั้งในคลิปแบบอัปโหลดหรือการไลฟ์สตรีมมิ่งการเล่นเกม จากนั้นแบ่งรายได้ให้กับ Bilibili ด้วย

เกมที่บริษัทร่วมเป็น publisher

อย่างไรก็ตาม บริษัทนี้ยังเป็นสตาร์ทอัพที่ใช้กระแสเงินสดทุ่มตลาดอยู่ เพราะแม้ว่าผู้ใช้จะมีจำนวนสูงขึ้นมากแต่บริษัทยังไม่ทำกำไร โดยบริษัทรายงานผลขาดทุนสุทธิ 538.6 ล้านหยวนในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา อ้างถึงสาเหตุการขาดทุนว่ามาจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้การขนส่งสินค้าเมอร์ชานไดซ์ต่างๆ ถูกชะลอการจัดส่ง นำมาสู่รายได้ที่ไม่เข้าเป้า

แต่หลายองค์กรยักษ์อาจเล็งเห็นว่า Bilibili จะทำกำไรได้ในอนาคต เพราะล่าสุด Sony เพิ่งจะเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ในแพลตฟอร์มนี้ด้วยเงินลงทุน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเข้าเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (ถือหุ้นไม่เกิน 5%) และเป็นพันธมิตรผลิตอะนิเมชันและเกมร่วมกัน

จากการลงทุนของ Sony ประเมินว่า Bilibili มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าสนใจว่าการเติบโตของแพลตฟอร์มนี้จะเป็นไปอย่างไร จะโด่งดังจากจีนสู่ทั่วโลกจนกลายเป็นโซเชียลมีเดียสุดฮิตรายต่อไปเหมือนอย่าง TikTok หรือไม่

Source: TechCrunch, Variety

]]>
1279352
“หัวเว่ย” ยังครองแชมป์ตลาดสมาร์ทโฟนในจีน 42% ส่วน iPhone รั้งอันดับ 5 https://positioningmag.com/1251666 Wed, 30 Oct 2019 15:05:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251666 หัวเว่ยขยายความเป็นผู้นำตลาดด้วยการจัดส่งสมาร์ทโฟน 41.5 ล้านเครื่อง ทำสถิติส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 42% ในไตรมาส 3 ของตลาดสมาร์ทโฟนของจีน โดยมีอัตราการเติบโต 66% ต่อปี ตามรายงานล่าสุดของบริษัทวิจัยตลาด Canalys

ตามรายงานนี้ นับเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกันของการเติบโตระดับตัวเลข 2 หลักของหัวเว่ย

นิโคล เผิง รองประธานฝ่ายการเคลื่อนไหวธุรกิจของ Canalys กล่าวว่า “หัวเว่ยทิ้งช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างตัวเองและผู้จำหน่ายรายอื่น มีส่วนแบ่งสูงกว่าอันดับสองอย่าง Vivo ถึง 25%”

“สถานะที่โดดเด่นทำให้หัวเว่ยมีอำนาจมากในการเจรจาต่อรองกับซัพพลายเชน ช่องทางของหัวเว่ยอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแกร่งในการรวมอำนาจเหนือกว่าท่ามกลางเครือข่าย 5G ที่เปิดตัว และควบคุมส่วนประกอบที่สำคัญ เช่น เครือข่ายท้องถิ่นชิปเซ็ต 5G เมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่ายท้องถิ่นรายอื่น”

หลุย หลิว นักวิเคราะห์จาก บริษัทวิจัยที่ตั้งอยู่ในเซี่ยงไฮ้กล่าวเสริมว่า “การเติบโตของหัวเว่ยสร้างแรงกดดันอย่างมีนัยสำคัญต่อ OPPO, Vivo และ Xiaomi ซึ่งการจัดส่งอยู่ในภาวะตกต่ำ แม้จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง”

“รายงานแสดงให้เห็นว่า Apple ยังคงครองตำแหน่งที่ 5 ด้วยการเปิดตัว iPhone 11 ในเดือนกันยายนซึ่งคิดเป็น 40% ของการจัดส่งในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้”

“แอปเปิ้ลเตรียมตัวมากขึ้น” หลิวกล่าวและว่า “iPhone 11 รุ่นนี้มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกล้องซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวจีน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ราคาเปิดตัวที่ลดลง และโครงสร้างช่องสัญญาณที่ยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับการจัดจำหน่ายในท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งกระตุ้นตลาดที่สำคัญสำหรับ แอปเปิล”

Source

]]>
1251666