สินค้าลักชัวรี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 17 Oct 2024 05:49:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แม้แต่ “LVMH” ยังกระทบ! ยอดขายตกลง 3% หลังลูกค้าจีน-ญี่ปุ่นหดตัวต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1494697 Wed, 16 Oct 2024 10:44:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1494697 ยักษ์ใหญ่แบรนด์เนม “LVMH” รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2024 ยอดขายหดตัว 3% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยทำรายได้ไป 1.9 หมื่นล้านยูโร

Reuters รายงานว่าผลประกอบการครั้งนี้ถือเป็นสภาวะยอดขายหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2020 สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่า LVMH จะยังคงแข็งแรงต่อต้านสภาพเศรษฐกิจหดตัวได้ และน่าจะยังเติบโตได้อีก 2% ในไตรมาสที่ผ่านมา

Jean-Jacques Guiony ซีเอฟโอ LVMH กล่าวว่าเหตุที่ผลประกอบการบริษัทสินค้าลักชัวรีตกต่ำลงหลักๆ เป็นเพราะกลุ่มลูกค้า “จีน” ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากช่วงเกิดโรคระบาด โดยยอดขายกลุ่มประเทศในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) นั้นยอดตกถึง 16% หนักขึ้นจากไตรมาส 2/2024 ที่ยอดตก 14%

ส่วนตลาดญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ดีเช่นกัน LVMH เปิดผลประกอบการว่ายอดขายตลาดญี่ปุ่นตกลง 20% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เพราะค่าเงินเย็นแข็งขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวจีนที่ปกติจะช้อปสินค้าแบรนด์เนมที่ญี่ปุ่น เลือกที่จะลดหรือไม่ซื้อกันมากขึ้น

เมื่อเจาะตามหมวดสินค้าแล้วจะเห็นว่าแผนกสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนัง ซึ่งมีแบรนด์หลักคือ Louis Vuitton และ Dior คือหมวดที่ยอดขายตกหนักกว่าค่าเฉลี่ยบริษัท โดยยอดขายลดลง 5% และหมวดนี้คือหมวดสำคัญของ LVMH เพราะคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของยอดขายรวม และมีสัดส่วนเกือบ 3 ใน 4 ของผลกำไรบริษัท

ก่อนหน้านี้มีช่วงหนึ่งที่บริษัทสินค้าลักชัวรีสามารถโกยรายได้ได้สูงมาก เพราะลูกค้าเน้นซื้อสินค้าแบบ ‘ช้อปล้างแค้น’ หลังจากโรคระบาดทำให้คนต้องติดอยู่กับบ้าน ไม่ได้ใช้เงินมานาน แต่เมื่อปี 2023 ตลาดเริ่มเห็นสัญญาณว่าการช้อปล้างแค้นเริ่มจะเสื่อมความนิยมไป โดยเฉพาะในตลาดใหญ่อย่างจีนที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบหนัก ปัจจุบันต้องหวังพึ่งว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนจะสามารถหมุนเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และดีจนทำให้ลูกค้ากลับมาต้องการสินค้าไฮเอนด์อีกครั้ง

เฉพาะในตลาดจีนนั้นเห็นได้ชัดว่ากลุ่มลักชัวรีกำลังเผชิญความท้าทายอย่างหนัก การขายบนอีคอมเมิร์ซมีอัตราการยกเลิกสินค้าและขอคืนสินค้าสูงขึ้น เริ่มมีการแข่งขันลดราคา และมีการแข่งขันจากแบรนด์ท้องถิ่นที่ทำราคาถูกกว่า

สำนักข่าว Bloomberg ยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า สาวจีนวัย 35 ปีคนหนึ่งที่ทำงานด้านการเงินในเมืองกวางโจว ที่ผ่านมาเคยมีงบช้อปปิ้งกระเป๋ารองเท้าหรูขั้นต่ำ 300,000 บาทต่อปี แต่เมื่อปีที่แล้วบริษัทของเธอตัดโบนัสลง 50% ทำให้เธอต้องลดงบช้อปปิ้งลง และไม่ซื้ออะไรที่ราคาเกินกว่า 25,000 บาทมานานแล้ว แต่เธอจะหันไปให้รางวัลตัวเองด้วยการท่องเที่ยวแทน

ที่มา: Reuters, Bloomberg

]]>
1494697
“เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า” ขยายพื้นที่ช้อป “แบรนด์เนม” อีก 4 เท่า! ขึ้นแท่นแหล่งรวม “ลักชัวรี” เทียบชั้นสิงคโปร์ https://positioningmag.com/1477665 Wed, 12 Jun 2024 02:43:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477665
  • ครบรอบ 6 ปี “เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า” วางเป้าขยายพื้นที่ร้านค้า “ลักชัวรี” เพิ่มอีก 4 เท่า เพิ่มแบรนด์ลักชัวรีในศูนย์ฯ เป็น 30 แบรนด์ภายในปี 2569 เทียบชั้น “สิงคโปร์-ฮ่องกง” แหล่งช้อปแบรนด์เนมชั้นนำในภูมิภาค
  • แรงหนุนการเติบโตเกิดจาก “ภูเก็ต” กลายเป็นแหล่งพักผ่อนตากอากาศระดับโลกของมหาเศรษฐี ทำให้มีความต้องการช้อปปิ้งแบรนด์เนมมากขึ้น
  • ศูนย์การค้าเครือ “เซ็นทรัลพัฒนา” (CPN) เข้ามาลงทุนบนเกาะภูเก็ตครั้งแรกเมื่อปี 2547 เปิดตัว “เซ็นทรัล ภูเก็ต เฟสติวัล” เสนอไลฟ์สไตล์คนเมืองให้กับชาวภูเก็ต ก่อนที่จะขยายพื้นที่ฝั่งตรงข้ามเมื่อปี 2561 เปิดตัวศูนย์การค้า “เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า” เน้นกลุ่มเป้าหมายใหม่ไลฟ์สไตล์ “ลักชัวรี” รวบรวมช็อป “แบรนด์เนม” มาไว้บนเกาะภูเก็ตเป็นครั้งแรก

    “6 ปีก่อนกับตอนนี้ถือว่าต่างกันมาก เมื่อ 6 ปีก่อนที่เราไปเชิญร้านค้าแบรนด์เนมมาลง เขาก็สงสัยว่ามันจะไปได้หรือ” ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการผู้จัดการ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าว “แต่ CPN เรามีวิสัยทัศน์ว่าภูเก็ตสามารถพัฒนาไปเทียบชั้นกับรีเวียร่าในประเทศฝรั่งเศสหรือฮาวายของสหรัฐฯ คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศชายทะเลระดับไฮเอนด์ รองรับเศรษฐีระดับโลกได้เลย”

    “วิไลพร ปิติมานะอารี” ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มงานปฏิบัติการสาขาภูเก็ต บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา และ “ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา” กรรมการผู้จัดการ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา

    ด้าน “วิไลพร ปิติมานะอารี” ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มงานปฏิบัติการสาขาภูเก็ต บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เสริมว่า ในปีแรกที่ เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า เปิดตัว มีแบรนด์เนมที่กล้าลงทุนพร้อมกับ CPN เพียง 7 แบรนด์ แบรนด์แรกที่มาเปิดช็อปคือ “Hermès”

    แต่ผ่านมา 6 ปีขณะนี้มีแบรนด์เนมเข้าศูนย์ฯ แล้วทั้งหมด 14 แบรนด์ และหลายแบรนด์ต้องการขยายพื้นที่ร้าน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้เช่าต่อการเติบโตของภูเก็ตและการทำงานของศูนย์ฯ

    14 แบรนด์ลักชัวรีในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า

     

    ดึงเพิ่มเป็น 30 แบรนด์ ขยายพื้นที่ 4 เท่า

    วิไลพรกล่าวต่อว่า ปัจจุบันพื้นที่ร้านค้าระดับลักชัวรีหรือ “Luxury Zone” มีทั้งหมด 2,000 ตารางเมตร แต่ศูนย์ฯ ตั้งเป้าจะขยายเป็น 4,000 ตารางเมตรภายในสิ้นปี 2567 และเพิ่มเป็น 8,000 ตารางเมตรภายในปี 2569 หรือขยายเพิ่มขึ้น 4 เท่า

    แน่นอนว่าจำนวนแบรนด์จะเพิ่มจาก 14 แบรนด์เป็น 30 แบรนด์ ประเดิมเดือนสิงหาคมนี้ต้อนรับการมาของ “PRADA” ส่วนแบรนด์อื่นๆ อยู่ระหว่างเจรจา แต่แย้มว่าจะมีแบรนด์หรูหมวด “เครื่องประดับ” เข้ามาแน่นอนเพราะปัจจุบันยังเป็นหมวดที่ขาดไปในศูนย์ฯ

    เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า

    การขยายพื้นที่ร้านลักชัวรีของเซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้าจะมีการ ‘relocate’ ปรับการวางร้านค้าในศูนย์ฯ​ โดยขยับแบรนด์ที่เป็นกลุ่ม ‘Accessible Luxury’ เช่น COACH, Kate Spade ขึ้นไปที่ชั้น 2 ทั้งหมด เพื่อทำให้ชั้น 1 เป็นพื้นของสินค้าระดับลักชัวรีเท่านั้น รวมถึงจะมีการปรับขยายพื้นที่เช่าในศูนย์ฯ ให้ใหญ่ขึ้นด้วย

     

    70% เป็น “ต่างชาติ” บินมาพักผ่อนพร้อมช้อปปิ้ง

    วิไลพรกล่าวถึงทราฟฟิกของเซ็นทรัล ภูเก็ตรวม 2 ฝั่งมีลูกค้าใช้บริการ 80,000-100,000 คนต่อวัน เฉพาะฝั่งฟลอเรสต้ามีทราฟฟิกถึงวันละ 50,000 คน

    เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า

    ฝั่งฟลอเรสต้าจะเน้นกลุ่มลูกค้าต่างชาติมากกว่า โดย 70% ของยอดขายมาจากต่างชาติที่บินมาพักผ่อนและที่อาศัยอยู่ประจำ (expat) สัญชาติหลัก ได้แก่ รัสเซีย ตะวันออกกลาง จีน ยุโรป อเมริกัน

    ส่วนอีก 30% เป็นคนไทย ครึ่งหนึ่งคือคนภูเก็ตเอง และอีกครึ่งหนึ่งคือคนกรุงเทพฯ ที่มีธุรกิจในภูเก็ตหรือมีบ้านพักตากอากาศทำให้บินมาพักบ่อยครั้ง

    ถ้าถามว่าทำไมต้องมาช้อปแบรนด์เนมถึงภูเก็ต? นอกจากเป็นกิจกรรมระหว่างพักผ่อนของเศรษฐีแล้ว ทางเซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้ายังมีการเสริมบริการที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดกลุ่ม “วีไอพี” ให้เลือกช้อปกันศูนย์ฯ มากกว่าบินไปกรุงเทพฯ หรือไปประเทศอื่น เช่น มีพนักงาน “Personal Assistant” คอยบริการถือถุงช้อปปิ้ง ช่วยจองสินค้าที่ต้องการไว้ให้ก่อน มีเลาจน์ไว้บริการ ทำให้ได้ประสบการณ์ที่ดี

    ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าวีไอพีของ เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า มีประมาณ 2,300 คน มีทั้งลูกค้าที่ได้รับเชิญจากการคัดเลือกโปรไฟล์ และลูกค้าที่เป็น “Top Spender” บางรายมียอดซื้อหลักล้านบาทต่อปี

    เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า
    บรรยากาศใน เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า เดือนมิถุนายน 2567 อยู่ระหว่าง relocate ร้านเพื่อให้ชั้น 1 เปลี่ยนเป็น Luxury Zone ทั้งหมด

     

    สัญญาณ “ภูเก็ต” เป็นแหล่งรวม “เศรษฐี” ทั่วโลก

    ตั้งแต่หลังโควิด-19 สงบลง “ภูเก็ต” กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เนื้อหอมยิ่งกว่าที่เคย วิไลพรกล่าวว่าภูเก็ตทำรายได้จากการท่องเที่ยวไป 3.8 แสนล้านบาทเมื่อปี 2566 และตั้งเป้าจะเพิ่มเป็น 4.5 แสนล้านบาทในปี 2567 ถือเป็นแหล่งทำเงินด้านการท่องเที่ยวอันดับ 2 ของไทยรองจากกรุงเทพฯ

    ในแง่อสังหาริมทรัพย์คือตัวชี้วัดว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามานั้นเน้น “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” เพราะระยะหลังภูเก็ตยิ่งเต็มไปด้วย “พูลวิลล่า” ราคาระดับร้อยล้านบาทต่อหลัง สนามกอล์ฟระดับโลก โรงเรียนนานาชาติ ท่าจอดเรือยอชต์ ฯลฯ ที่มีขึ้นเพื่อรองรับกำลังซื้อของมหาเศรษฐี

    ดร.ณัฐกิตติ์มองว่า เสน่ห์ของภูเก็ตจะทำให้เอาชนะแหล่งช้อปปิ้งแบรนด์เนมอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ได้เพราะภูเก็ตครบครันกว่าในแง่ความเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีทั้งธรรมชาติ ไนต์ไลฟ์ สนามกอล์ฟ อาหาร บริการแบบไทย การมีศูนย์การค้าที่รวมแบรนด์เนมไว้ให้จึงช่วยเติมประสบการณ์ได้เหนือกว่า

    หากมองภาพรวมตลาดสินค้าลักชัวรีทั้งประเทศไทย ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.6 แสนล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 5.62% จนถึงปี 2571 ซึ่งจะทำให้ไทยแซงหน้าสิงคโปร์ในกลุ่มตลาดสินค้าลักชัวรีได้

    ]]>
    1477665
    อัปเดต 10 รสนิยมแบบใหม่ของ “เศรษฐีจีน” เจนวาย นิยามความลักชัวรีในสไตล์ที่ต่างจากรุ่นพ่อแม่ https://positioningmag.com/1474600 Tue, 21 May 2024 09:18:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474600 “เศรษฐีจีน” รุ่นใหม่ “เจนวาย” ในวัย 20 ปลายๆ จนถึง 40 ต้นๆ เริ่มขึ้นมาเป็นกำลังซื้อสำคัญในโลกสินค้าและบริการลักชัวรี แต่คนจีนรุ่นนี้มีรสนิยมและไลฟ์สไตล์ที่ต่างจากคนจีนรุ่นพ่อแม่ที่เป็นรุ่นสร้างตัว 10 รสนิยมของคนรวยจีนรุ่นเจนวายจะมีอะไรบ้าง ติดตามได้ที่นี่

    1.เลิกใส่เสื้อผ้าแบรนด์เนมแบบตะโกน

    เสื้อผ้าพิมพ์ลายโลโก้ Gucci หรือ Louis Vuitton พร้อยไปทั้งตัวเริ่มไม่ใช่เสื้อผ้าที่คนรวยจีนต้องการเป็นอันดับแรกๆ อีกต่อไป

    Daniel Langer ศาสตราจารย์ด้านสินค้าลักชัวรีที่ Pepperdine University เปิดเผยกับ Business Insider ว่า คนจีนรุ่นใหม่มองหาสินค้าและประสบการณ์ที่สะท้อนสไตล์และแรงบันดาลใจส่วนตัว ลูกค้าจะต้องการไอเทมที่เป็นตัวเองมากกว่าอะไรที่ใช้กันเกร่อทั่วไปเพียงเพื่อบ่งบอกว่ามีฐานะ

    2.“Quiet Luxury” กำลังเป็นกระแส

    จากข้อแรกนำมาสู่ข้อที่สอง เทรนด์การแต่งตัวแบบ “Quiet Luxury” จึงเริ่มได้รับความนิยมในจีนเช่นกัน เทรนด์นี้หมายถึงการแต่งตัวให้ “ดูรวย” แบบไม่ต้องพยายาม ให้ลุคที่ดูเหมือนเศรษฐีเก่าจากยุโรป ด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ไม่วิ่งตามแฟชั่นใหม่ เน้นไปที่ความเรียบง่าย ใส่สบาย แต่มีรายละเอียด

    เราจะได้เห็นเศรษฐีจีนยุคใหม่หันมาใส่เสื้อยืดและสนีกเกอร์แบบสบายๆ แต่เป็นของมีราคา ผสมไปกับเสื้อผ้าแบรนด์เนมแบบดั้งเดิมมากขึ้น

    3.ยอมรับสินค้าแบรนด์เนมมือสอง

    สินค้าแบรนด์เนมมือสองเป็นที่ยอมรับในโลกตะวันตกมานานแล้วเพราะถือว่าดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า แต่ในจีนสินค้ามือสองมักจะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี เพราะมีความเชื่อที่ส่งต่อกันมาว่าของมือสองจะนำมาซึ่งโชคร้าย

    อย่างไรก็ตาม คนจีนรุ่นใหม่เริ่มยอมรับสินค้ามือสองมากขึ้น และมองในแง่บวกว่าแบรนด์เนมมือสองมักจะมีของ “วินเทจ” ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมาให้ช้อปและเลือกใช้

    4.เลิกไปเที่ยวกับทัวร์ ชอบเที่ยวคนเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก

    สำหรับคนรวยเจนวายชาวจีนจะเปลี่ยนรสนิยมการท่องเที่ยวจากรุ่นพ่อแม่ เพราะหลายคนเคยไปเรียนเมืองนอกหรือเคยเดินทางมามากแล้ว ทำให้ไม่กังวลเรื่องความปลอดภัยหรือความสะดวกเหมือนพ่อแม่ พวกเขาจึงเลือกที่จะไม่ไปกับกรุ๊ปทัวร์ แต่ไปเที่ยวคนเดียวหรือไปเป็นกลุ่มเล็กมากกว่า

    นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวที่เศรษฐีจีนรุ่นใหม่เลือกก็มักจะเป็นสถานที่แปลกใหม่ที่คนไม่ค่อยไปกัน เช่น แคมป์ปิ้งหรูในซาฟารีแอฟริกา เที่ยวขั้วโลกเหนือ ล่าแสงเหนือที่ไอซ์แลนด์ เป็นต้น

    แสงออโรร่าเหนือภูเขาเคิร์กจูเฟล ประเทศไอซ์แลนด์

    5.ซื้อสินค้าที่มาพร้อมประสบการณ์

    ผู้บริโภคชาวจีน(และเอเชีย)รุ่นใหม่มักจะต้องการประสบการณ์เสริมพิเศษเข้าไปในตัวสินค้าหรูด้วย ถึงจะเป็นการแสดงฐานะได้อย่างแท้จริง

    ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารจาก Diageo ระบุว่าบริษัทมีการเปิดโรงกลั่นแห่งใหม่ที่ Port Ellen ที่สก็อตแลนด์ เพื่อให้โรงนี้เป็นพื้นที่จัด “วิสกี้ทัวร์” ได้โดยเฉพาะ เพราะลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่ซื้อเหล้าสก็อตวิสกี้ชั้นดีเท่านั้น แต่อยากจะมีเรื่องเล่าด้วยว่าพวกเขาได้บินข้ามโลกเพื่อไปเห็นวิธีการทำ และได้ลองชิมวิสกี้มาแล้วมากมายจากแหล่งกำเนิด

    6.ทานอาหารระดับ “มิชลินสตาร์” และ “แบล็กเพิร์ล”

    กิจกรรมใหม่ของเศรษฐีจีนเจนวายคือการไปลิ้มรสร้านอาหารระดับไฟน์ไดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นร้านระดับ “มิชลินสตาร์” หรือ “แบล็กเพิร์ล” (*Black Pearl เป็นการแนะนำร้านอาหารชั้นดีแบบเดียวกับมิชลินสตาร์ แต่จัดทำโดย Meituan ยักษ์ใหญ่เดลิเวอรีอาหารของจีน)

    ลูกค้ามีฐานะของจีนมักจะต้องการเก็บร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งในเมืองของตัวเองให้ครบ และไปเยือนร้านเหล่านี้ในแต่ละเมืองที่พวกเขาไปท่องเที่ยว

    Photo : Shutterstock

    7.วางแผน “ไม่มีลูก”

    เกิดความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในจีน นั่นคือแม้แต่เศรษฐีจีนรุ่นใหม่เองก็ไม่อยากจะมีลูกหรือบางคนไม่แม้แต่จะแต่งงาน

    เหตุเพราะหลายคนมองว่าการมีลูกเป็น ‘การลงทุนที่แย่’ และเจนเนอเรชันนี้ต้องการจะเป็นอิสระ เน้นเรื่องความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และหาความสุขส่วนตัวมากกว่าความสุขจากการสร้างครอบครัว

    8.แต่ถ้าคิดจะมีลูก ไลฟ์สไตล์สุดหรูจะต้องยังอยู่เหมือนเดิม

    สำหรับเศรษฐีจีนเจนวาย แม้จะมีลูกก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องประหยัดเพื่อใช้เงินเลี้ยงลูก พวกเขาจะยังคงปรนเปรอตัวเองต่อไปในฐานะพ่อแม่

    ตัวอย่างเช่น “แพ็กเกจหลังคลอด” เป็นกิจกรรมที่ฮิตมากในหมู่คนจีนเจนวายที่มีฐานะ แพ็กเกจเหล่านี้อาจมีราคาสูงถึง 200,000 หยวน (ประมาณ 1 ล้านบาท) ต่อเดือน โดยเป็นแพ็กเกจที่จะพาคุณแม่ชาวจีนบินไปยังสถานฟื้นฟูหลังคลอดในสิงคโปร์

    ในสถานฟื้นฟูที่คุณแม่จะเข้ามาพักต่อเนื่องหลายเดือน จะมีเจ้าหน้าที่ พี่เลี่ยงเด็ก และเชฟคอยดูแลเรื่องจำเป็นที่เกี่ยวกับคุณแม่และทารกตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมบุตร การอาบน้ำสมุนไพร กายภาพบำบัด และแน่นอนว่าคุณแม่จะได้รับการปรนนิบัติด้วยอาหารหรูทุกมื้อ ขณะที่มีพยาบาลคอยดูแลทารกให้

    9.แต่งบ้านแบบสุดหรู

    คนจีนเจนวายมักจะลงทุนกับการแต่งบ้านเพื่อยกระดับการอยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต ทุกห้องในบ้านจะต้องมีดีไซน์อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ การจัดไฟ หรือเครื่องประดับเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม

    10.สนใจด้าน “เวลเนส” มากขึ้น

    ชาวจีนรุ่นใหม่สนใจการบริการด้าน “เวลเนส” ในระดับลักชัวรีและสินค้าที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น สกินแคร์ อาหารเสริม เสริมความงาม เป็นสินค้าที่ขายดีในจีนตั้งแต่เกิดโควิด-19 ขึ้น

    คนจีนที่มีฐานะรุ่นเจนวายถือว่าการไปคลินิกเวลเนสต่างๆ มีความสำคัญลำดับแรกๆ ไม่ใช่แค่เพื่อความงาม แต่ยังหมายถึงการมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีด้วย

     

    Source

    ]]>
    1474600
    8 ไอเทมลักชัวรีแนวใหม่ เครื่องบอกสถานะ “ชีวิตคนรวย” ของเจนวายที่ไม่เหมือนยุคเดิม https://positioningmag.com/1440112 Mon, 07 Aug 2023 12:34:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440112 “เจนวาย” กำลังเข้าสู่ช่วงวัยสร้างครอบครัว ซื้อบ้าน เริ่มมีลูก ทำให้เจนวายที่มีกำลังซื้อสูงเริ่มเปลี่ยนความสนใจไอเทมบ่งบอกสถานะ “ชีวิตคนรวย” จากเสื้อผ้าเครื่องประดับแนวสตรีทที่ฮิตก่อนหน้านี้ มาเป็นไอเทมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบ้านและชีวิตความเป็นอยู่มากขึ้น

    ก่อนหน้านี้พฤติกรรมผู้บริโภค “เจนวาย” ที่มีกำลังซื้อมักจะนิยมซื้อสินค้าลักชัวรีกลุ่มที่สื่อถึงค่านิยมหรือประสบการณ์ส่วนตัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นต่างๆ

    แต่เมื่อพวกเขาเข้าสู่ช่วงวัยประมาณ 40 ปี ชีวิตในวัยนี้มักจะมีครอบครัว มีบ้าน มีลูก ทำให้ไอเทมที่เป็นเครื่องบ่งบอกสถานะจึงเปลี่ยนแปลงไป

    ไปพบกับ 8 ไอเทมลักชัวรีของคน “เจนวาย” ที่ต่างไปจากยุคเดิม ดังนี้

     

    1.สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

    Mintel บริษัทวิจัยทางการตลาดระบุว่า เจนวายมองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว บางครอบครัวอาจจะเลือกมีสัตว์เลี้ยงแทนการมีลูกไปก่อน ทำให้พวกเขาจะใช้จ่ายกับสินค้าสัตว์เลี้ยงสูงเหมือนกับเลี้ยงเด็กคนหนึ่ง

    ดังนั้น แบรนด์อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงจะไม่ใช้แค่เกรดทั่วไป เช่น Pedigree หรือ Purina แต่ต้องเป็นแบรนด์ระดับพรีเมียมมากขึ้น เช่น Rachael Ray’s Nutrish หรือ Simpsons Premium ซึ่งมีสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงแบบออร์แกนิกหรือไร้กลูเตนให้เลือกด้วย

    ต่อด้วยอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งหมด เช่น ที่นอน พื้นที่เล่นของสัตว์ ของเล่น เสื้อผ้า ชามอาหารและน้ำ ฯลฯ จะใช้ไอเทมที่มีราคาในระดับลักชัวรีเพื่อปรนเปรอสัตว์เลี้ยงแสนรัก เป็นการใช้จ่ายทางอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้นกว่าการซื้อสินค้าเพื่อฟังก์ชันการใช้งานเท่านั้น

     

    2.เลือกใช้รถอีวี
    Tesla Roadster 2020

    J.D.Power บริษัทวิจัยอินไซต์ผู้บริโภค พบว่า คนที่สนใจซื้อรถอีวีส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย โดย ณ สิ้นปี 2022 กลุ่มผู้ซื้อรถอีวี 72.5% เป็นเพศชาย เทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งตลาดผู้ซื้อรถ 60% เป็นเพศชาย เห็นได้ว่าผู้ชายมีแนวโน้มจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า

    ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ผู้ซื้อรถอีวีมักจะเป็นคนที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาดผู้ซื้อรถทั้งหมดด้วย ทำให้ปัจจุบันกลุ่มโปรไฟล์หลักที่จะซื้อรถอีวีคือ “ผู้ชายที่มีฐานะ”

    นั่นทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในขณะนี้เป็นเหมือนเครื่องแสดงสถานะกลายๆ ว่าคนขับเป็นผู้ที่มีฐานะ ด้วยโปรไฟล์ผู้ซื้อที่เป็นภาพจำในตลาด

     

    3.บ้านหรู

    เพราะเจนวายอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มมีบ้านเป็นของตนเองแล้ว ทำให้ยุคนี้การ ‘อวดบ้าน’ ผ่านโซเชียลมีเดียคือการแสดงฐานะที่ดีที่สุด บ้านจะต้องดูมีระดับ มีดีไซน์ มีรสนิยม

    มุมที่ผู้มีฐานะเจนวายสนใจตกแต่งมากขึ้นคือ “ห้องครัว” ที่ดูลักชัวรี ไปจนถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวอย่าง “ตู้เย็น” ที่ออกแบบมาอย่างดีให้กลมกลืนกับภายในครัว ในตู้เย็นก็จะต้องจัดเรียงวัตถุดิบอาหารและเครื่องดื่มในตู้ไว้อย่างสะอาด สวยงามเรียบร้อย

    Samsung Bespoke

    นอกจากนี้ ในโลกตะวันตกยังมีเทรนด์การอวดบ้านอีกอย่างหนึ่งที่นิยมกันคือการอวด “ห้องซักผ้า” เนื่องจากปกติห้องซักผ้าจะมีประโยชน์เรื่องการทำงานบ้านเท่านั้น ไม่ได้เป็นมุมไว้พักผ่อนใช้ชีวิตของคนในบ้าน ทำให้บ้านส่วนใหญ่ไม่ได้ตกแต่งห้องซักผ้าให้สวยงาม

    ดังนั้น เมื่อบ้านหลังไหนเนรมิตห้องซักผ้าไว้อย่างสวยงาม จึงเป็นการสื่อว่าเจ้าของบ้านไม่ได้สนใจแค่ฟังก์ชัน แต่ต้องมีความงามในทุกๆ มุมของบ้านจริงๆ

     

    4.เครื่องชงกาแฟ
    (Photo: Marta Dzedyshko / Pexels)

    ไฮไลต์อุปกรณ์ครัวมาแรงอีกชิ้นหนึ่งคือ “เครื่องชงกาแฟ” เพราะยุคนี้กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีสุนทรียะ ไม่ใช่แค่ไป Starbucks เท่านั้น แต่หลายคนนิยมสร้างสถานะด้วยความรู้ความเข้าใจเรื่องกาแฟ…ซึ่งรวมไปถึงการครอบครองเครื่องชงกาแฟราคาแพงด้วย

    ราคาเครื่องชงกาแฟทั่วไปมักจะมีราคาราวเครื่องละ 14,000 บาท แต่ถ้าต้องการเครื่องชงกาแฟที่มีระดับมากขึ้นอาจจะต้องเตรียมเงินไว้มากกว่า 200,000 บาท เมื่อราคาต่างกันมากทำให้เครื่องชงกาแฟมีสถานะคล้ายๆ กับนาฬิกาข้อมือหรือกระเป๋าถือ คือเป็นเครื่องบ่งบอกกำลังซื้อของเจ้าของ

     

    5.สปาในบ้าน
    (Photo: Ksenia Chernaya / Pexels)

    อีกหนึ่งห้องในบ้าน “ชีวิตคนรวย” เจนวาย คือการสร้างห้องน้ำในรูปแบบ “สปา” ไว้ในบ้าน เพื่อหลบลี้จากความเครียดและความวุ่นวาย

    สปาในบ้าน จึงเป็นห้องสำหรับผ่อนคลายด้วยโทนการตกแต่งสบายๆ มีเก้าอี้โซฟา พรมสวยๆ ต้นไม้ประดับ และแน่นอนว่าต้องมีอ่างแช่ตัว ให้อารมณ์สปาแบบเซ็น

    การมีห้องลักษณะนี้ในบ้านคือการสร้างความพิเศษส่วนตัวได้ทันที จะเข้าสปาตอนเช้าก่อนไปทำงานหรือหลังเลิกงานก็ได้ทั้งนั้น

     

    6.สบู่ล้างมือ

    แม้แต่รายละเอียดที่เล็กที่สุดอย่าง “สบู่ล้างมือ” ก็ต้องเป๊ะสำหรับคนเจนวาย โดยเป็นรายละเอียดของการใช้ชีวิตเหมือนกับการการไปพักโรงแรมหรือเข้าห้องน้ำในร้านอาหารสุดหรู

    แบรนด์ที่กำลังมาแรงในเทรนด์นี้คือ “Aesop” แบรนด์สกินแคร์จากออสเตรเลียที่ขายสบู่ล้างมือขวดละ 1,400 บาท การมี Aesop อยู่ในบ้านทำให้ดูมีรสนิยมที่ใส่ใจในทุกๆ ส่วนของชีวิต

     

    7.เอเย่นต์และทัวร์ท่องเที่ยว (แบบลักชัวรี)

    การจองที่พักและตั๋วเครื่องบินออนไลน์ได้ด้วยตนเองน่าจะทำให้ธุรกิจจัดทัวร์ท่องเที่ยวและบริการเอเย่นต์ต่างๆ ซบเซาลง แต่ไม่ใช่กับคนมีฐานะเจนวาย

    Flywire มีการสำรวจคนเจนวายและเจนซีวัย 18-44 ปี ที่ระบุว่าตนเองเป็นนักท่องเที่ยวระดับลักชัวรี พบว่า 90% ของคนกลุ่มนี้มองว่าทัวร์ เอเย่นต์ท่องเที่ยว และที่ปรึกษาเท่านั้นที่จะทำให้เกิดประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบลักชัวรีอย่างแท้จริงได้

    กลุ่มคนเหล่านี้จะใช้ที่บริการบริษัทท่องเที่ยวระดับลักชัวรี ซึ่งหลายบริษัทจะต้องจ่ายค่าสมาชิกเป็นค่าแรกเข้าก่อนและมีค่าสมาชิกรายปีสำหรับเป็นเครดิตไว้ใช้จ่ายค่าทัวร์และบริการต่างๆ

    Black Tomato บริษัทท่องเที่ยวลักชัวรี บอกว่า ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนเจนวายที่ไปเที่ยวกับครอบครัว และอีกกลุ่มเป็นเจนวายที่ต้องการเที่ยวคนเดียวในทริปที่ได้ผจญภัยมากขึ้น ไปที่แปลกใหม่กว่าคนอื่น

     

    8.โบท็อกซ์

    สุดท้ายแล้วคือเรื่องความงาม โดยเฉพาะเมื่อเจนวายอยู่ในวัยประมาณ 40 ปี ทำให้พวกเขาสนใจการทำโบท็อกซ์และการเสริมความงามในคลินิกมากขึ้น

    สมาคมศัลยแพทย์พลาสติกอเมริกัน รายงานว่าตั้งแต่หลังโรคระบาดคลี่คลาย 30% ของแพทย์เสริมความงามในสหรัฐฯ พบว่าตนมีคนไข้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นคือผู้หญิงวัย 31-45 ปี ซึ่งต้องการบริการเสริมความงาม เช่น โบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ ลดไขมัน ยกกระชับผิว

    เดิมคนเจนวายมีความสนใจเรื่อง “เวลเนส” มีชีวิตที่สุขภาพดีทั้งกายใจอยู่แล้ว พวกเขาใส่ใจกับอาหาร การออกกำลังกาย ทำให้การทำศัลยกรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวงจร “การดูแลตัวเอง”

    ]]>
    1440112
    ไม่แผ่ว! รายได้เครือ ‘LVMH’ ครึ่งปีแรกทะลุ 1.5 ล้านล้านบาท โต 17% ฟันกำไร 3.2 แสนล้านบาท https://positioningmag.com/1439007 Wed, 26 Jul 2023 06:12:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439007 ต่อให้เศรษฐกิจทั่วโลกจะไม่ดีแค่ไหน แต่กลุ่มเศรษฐีก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไร ซึ่งสิ่งที่สะท้อนได้เป็นอย่างดีก็คือ การเติบโตของแบรนด์เนมหรู โดยเฉพาะเครือของ LVMH ที่ผลประกอบการครึ่งปีแรกสามารถเติบโตได้ถึง 17%

    LVMH เครือลักชัวรีอันดับหนึ่งของโลก ที่มีแบรนด์ในมือ อาทิ Louis Vuitton, Christian Dior Couture, Fendi ได้เปิดเผยผลประกอบการช่วงครึ่งปีแรก โดยมีรายได้อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านยูโร (ราว 1.5 ล้านบ้านบาท) เติบโต +17% ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.48 พันล้านยูโร (ราว 3.2 แสนล้านบาท) เติบโต +30% 

    สำหรับหมวดหมู่ที่มีการเติบโตมากที่สุด ได้แก่ ร้านค้ารีเทลเฉพาะกลุ่ม (Selective Retailing) อย่าง Sephora ที่รายได้เติบโต +26% ส่วนรายได้จากกลุ่มธุรกิจแฟชั่นและเครื่องหนังมีรายได้เพิ่มขึ้น +17% เป็น 2.12 หมื่นล้านยูโร โดยมีเพียงธุรกิจ ไวน์และสุรา เท่านั้นที่มีผลประกอบการที่ลดลงประมาณ -4%

    หนึ่งในภูมิภาคสำคัญที่สร้างการเติบโตให้กับเครือ LVMH ก็คือ เอเชีย และ ยุโรป โดยยอดขายในเอเชียเพิ่มขึ้น +23% ในช่วงครึ่งปีแรก ส่วนตลาดยุโรปก็มีการเติบโต 2 หลัก ขณะที่ตลาด สหรัฐอเมริกา มีการเติบโตเพียง +3% โดยในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ยอดขายในตลาดอเมริกาลดลง -1%

    เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ผู้บริหารระดับสูงของ LVMH ยังเชื่อมั่นว่า ภาพรวมในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะยังไปได้สวย โดยมองว่าตลาด จีน จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการของบริษัทเติบโต และจีนจะมาช่วยอุดรายได้จากสหรัฐอเมริกาที่ลดลง

    “ปีที่แล้วเราชะลอตัวในตลาดจีน แต่เราได้ตลาดสหรัฐอเมริกามาช่วย แต่ปีนี้ค่อนข้างตรงกันข้าม” Jean-Jacques Guiony ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ LVMH กล่าว

    ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) คิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดขายของ LVMH ส่วน สหรัฐอเมริกาคิดเป็น 24% และยุโรป 23%

    Source

    ]]>
    1439007
    ทำไมบริษัทแม่ของ “Gucci” จึงเลือกเข้าซื้อกิจการน้ำหอมแบรนด์ “Creed” ? https://positioningmag.com/1437334 Mon, 10 Jul 2023 11:22:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437334 Kering บริษัทลักชัวรีชื่อดังเจ้าของแบรนด์ “Gucci” ประกาศดีลเข้าซื้อกิจการน้ำหอมแบรนด์ “Creed” ด้วยเม็ดเงินมูลค่า 3,500 ล้านยูโร (ประมาณ 1.35 แสนล้านบาท) จากเจ้าของเดิมคือกองทุน BlackRock Inc.

    ทำไม Kering ต้องทุ่มเงินขนาดนี้ ทั้งที่ในมือบริษัทมีพอร์ตสินค้าลักชัวรีกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่นและเครื่องหนังอยู่แล้วมากมาย ทั้ง Gucci, Bottega Veneta, Alexander Wang และ Balenciaga

    คำตอบน่าจะมาจากการวางกลยุทธ์ใหม่ล่าสุดของบริษัทที่ต้องการจะเข้าสู่สนามแข่งขันด้านสินค้า “บิวตี้” กับเขาบ้าง หลังจากคู่แข่งรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็น LVMH หรือ Hermes ต่างมีพอร์ตเครื่องสำอาง สกินแคร์ น้ำหอม ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Kering จึงตั้งหัวหน้าแผนกธุรกิจบิวตี้คนใหม่ขึ้นมาคือ “Raffaella Cornaggia” ซึ่งเธอคนนี้เป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในธุรกิจบิวตี้มากว่า 25 ปี ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำมาหมดแล้วทั้ง L’Oreal, Chanel Parfums Beaute, Estee Lauder, MAC Cosmetics ฯลฯ

    โจทย์ที่มอบให้ผู้บริหารคนใหม่ คือการพัฒนาสินค้าบิวตี้ภายใต้แบรนด์ที่ Kering มีในมือ คือ Bottega Veneta, Alexander Wang, Balenciaga, Pomellato และ Qeelin

    (ส่วนสินค้ากลุ่มบิวตี้แบรนด์ Gucci นั้นถือเป็นลิขสิทธิ์ในมือบริษัทอื่นคือ Coty Inc. และของแบรนด์ Yves Saint Laurent ก็ติดอยู่กับ L’Oreal ทำให้บริษัทนำมาพัฒนาเองไม่ได้)

    กระเป๋า Gucci Dionysus (Photo : Christian Vierig/Getty Images)

    นอกจากพัฒนาภายใต้แบรนด์ที่มีอยู่ Kering ยังเตรียมเงินสดไว้เข้าสู่สงครามการควบรวมกิจการ โดยการขายหุ้นที่บริษัทถือในแบรนด์ Puma ออกไป

    ดังที่เห็นว่าปีที่แล้ว Kering ตกเป็นข่าวว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่สนใจซื้อกิจการน้ำหอม Tom Ford (โดยบริษัทไม่เคยให้ข้อมูลชัดเจนอย่างเป็นทางการ) แต่สุดท้ายแล้ว Estee Lauder คือผู้ชนะในการซื้อกิจการกลุ่มบิวตี้และน้ำหอม Tom Ford

    ปีนี้ Kering จึงหาเป้าหมายต่อไป และมาตกลงกันได้ที่แบรนด์ “Creed” แบรนด์น้ำหอมชื่อดังที่ถือกำเนิดในอังกฤษก่อนจะย้ายที่ทำการหลักมาอยู่ในฝรั่งเศส

    เหตุที่เลือกแบรนด์นี้เพราะ Creed เป็นน้ำหอมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1760 โดยชายที่ชื่อว่า “James Henry Creed” สมัยนั้นเขาเป็นผู้ผลิตและจัดหาทั้งเครื่องแต่งกายและน้ำหอมให้กับสมาชิกราชวงศ์ทั่วทวีปยุโรป ต่อมา “น้ำหอม” กลายเป็นสินค้าเรือธงด้วยความสามารถของตระกูล Creed ในการสรรหาและสร้างสรรค์กลิ่นน้ำหอมหายากที่ไม่เหมือนใครได้

    น้ำหอม Creed
    น้ำหอมแบรนด์ Creed โด่งดังในกลุ่มลูกค้าผู้ชาย

    สูตรการปรุงน้ำหอมเหล่านี้จึงถูกส่งต่อในครอบครัวมาต่อเนื่อง 7 รุ่น จนถึงปัจจุบันรุ่นที่ 7 ของตระกูลก็ยังเป็นนักปรุงน้ำหอมผู้สรรหากลิ่นพิเศษจากทั่วโลก

    น้ำหอม Creed นับว่าเป็นน้ำหอมชื่อดังในกลุ่มผู้ชาย สามารถทำรายได้ได้มากกว่าปีละ 250 ล้านยูโร (ประมาณ 9,600 ล้านบาท) ในไทยน้ำหอมแบรนด์นี้ขายอยู่ในช่วงราคาขวดละ 7,600-12,000 บาท

    โดย Kering มองศักยภาพแบรนด์ Creed ว่ายังสามารถ “ปลดล็อก” ได้มากกว่านี้ ด้วยการผลักดันเข้าไปทำตลาด “จีน” และเน้นขายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว รวมถึงเพิ่มพอร์ตน้ำหอมสำหรับผู้หญิงให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสการขาย

    น้ำหอมที่เน้นกลิ่นสำหรับผู้หญิงจะเพิ่มมากขึ้นในพอร์ตของแบรนด์

    สำหรับภาพรวมธุรกิจ Kering ปีนี้ถือเป็นปีที่ต้องฝ่าฟัน เพราะไตรมาสแรกแบรนด์ที่เป็นหัวใจสำคัญอย่าง “Gucci” ดูเหมือนจะคลายมนตร์เสน่ห์แห่งเข็มขัดหัว GG ไขว้ไปเสียแล้ว ทำให้รายได้แทบไม่เติบโต ทั้งที่คู่แข่งอย่าง LVMH กับ Hermes ก็ยังโตได้แบบดับเบิลดิจิต

    เมื่อแบรนด์ที่เคยฮิตเริ่มจะแผ่วๆ ลงไป ทำให้ Gucci มีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (Creative Director) คนใหม่คือ Saboto De Sarno ซึ่งย้ายมาจากแบรนด์ Valentino เพื่อจะมาปั้นให้แบรนด์ Gucci กลับมาสดใหม่อีกครั้ง

    ในระหว่างการจัดทัพเหล่านี้ อีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ Kering กำลังเล็งอยู่คือการคว้าเอาลิขสิทธิ์กลุ่มสินค้าบิวตี้ของ Gucci กลับมาจาก Coty Inc. ด้วย เพียงแต่ยังไม่รู้ว่าจะทำสำเร็จเมื่อไหร่

    ที่มา: Reuters, SCMP, Premium Beauty News

    ]]>
    1437334
    เปิดพฤติกรรมช้อป “สินค้าหรู” ของคนไทย ยอมจ่ายมากขึ้นเพื่อซื้อคุณภาพ แม้ขึ้นราคารัวๆ https://positioningmag.com/1432588 Mon, 05 Jun 2023 06:13:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432588 เปิดผลสำรวจของ Milieu Insight ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มที่จะยังคงใช้จ่ายในสินค้าหรู ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอยู่ตลอดเวลา ด้วยคุณภาพที่เหนือกว่า  ความแตกต่าง และอายุการใช้งานของสินค้า เป็นเหตุผลอันดับแรกๆ ที่ทำให้ธุรกิจสินค้าหรู อาจยังคงอยู่ได้ปราศจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

    การวิจัยพบว่า 42% ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะยังคงใช้จ่ายในสินค้าหรู แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า และเกือบ 2 ใน 10 ของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายมากขึ้น สาเหตุที่สำคัญที่ผู้ร่วมตอบแบบสำรวจพิจารณาในการซื้อสินค้าหรู ได้แก่ 57% คุณภาพสินค้าที่เหนือกว่า 57% อายุการใช้งานขอสินค้า และ 56% ความแตกต่างของสินค้า เช่น ดีไซน์ งานฝีมือ

    พบว่า 5 ใน 10 ของผู้บริโภคได้กล่าวว่า ความมั่นใจ ความสง่างาม นวัตกรรม และคุณภาพงานยอดเยี่ยม/มีฝีมือ เป็นคุณค่าตราสินค้าที่สำคัญ 60% ของผู้บริโภค ยังคงชื่นชอบในการซื้อสินค้าหรูที่ร้านค้า

    ภาพจาก Shutterstock

    วิธีวิจัย ได้ใช้ข้อมูลจากการสำรวจของ มิลยู อินไซต์ โดยมีจำนวนตัวอย่าง (N) จำนวน 500 คนในแต่ละประเทศ จากประเทศสิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ จัดทำในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566

    จากผลวิจัยนี้ หมวดหมู่การบริโภคสินค้าหรูที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคนี้ คือ อุปกรณ์เทคโนโลยี (67%) สินค้าแฟชั่น (56%) สินค้าความงามและสุขภาพ (51%) เครื่องประดับ (45%) และกระเป๋า/กระเป๋าสตางค์ (43%)

    ผลวิจัยยังเปิดเผยอีกว่า 8 ใน 10 ของผู้ร่วมตอบแบบสำรวจซื้อสินค้าหรูสำหรับการใช้ส่วนตัว ในขณะที่ 2 ใน 10 คนซื้อสินค้าหรูเป็นของขวัญให้กับผู้อื่น ในประเทศฟิลิปปินส์ มีบุคคลที่มีความเป็นผู้ประกอบการจำนวน 2 ใน 10 คนที่จะซื้อสินค้าหรูเพื่อวัตถุประสงค์ในการขายต่อ

    ในทุกประเทศที่ทำการวิจัยนี้ อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ เป็นหมวดหมู่สินค้าหรูที่มีการซื้อมากที่สุดในปีที่ผ่านมา โดยประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีการซื้อมากที่สุดที่ 54% และนักช้อปในประเทศสิงคโปร์ 45% ใช้จ่ายมากที่สุดในหมวดกระเป๋า และกระเป๋าสตางค์หรู

    เมื่อถามเกี่ยวกับประเภทของสินค้าหรูที่ผู้ร่วมตอบแบบสำรวจมักจะซื้อสำหรับตัวเอง 61% ของผู้ร่วมตอบแบบสำรวจในสิงคโปร์เลือกกระเป๋า และกระเป๋าสตางค์ ทั้งในประเทศสิงคโปร์และประเทศไทย “คุณภาพงานยอดเยี่ยม/มีฝีมือ” เป็นตัวเลือกแรกสำหรับผู้ร่วมตอบแบบสำรวจมากที่สุดเมื่อพูดถึงเรื่องการเลือกคุณค่าตราสินค้า และการซื้อเครื่องประดับในทั้งสองตลาดนี้เป็นสินค้าหรู 4 ใน 10 ของผู้ร่วมตอบแบบสำรวจมักจะซื้อให้ตัวเอง

    ภาพจาก Shutterstock

    โดยรวมของทุกประเทศ หมวดหมู่ที่ผู้บริโภคมักจะใช้เงินสำหรับตัวเองมากที่สุดยังคงเป็นอุปกรณ์เทคโนโลยี โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจ 5 ใน 10 คนที่มักจะเลือกที่จะใช้เงินสำหรับการซื้อคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ และถือว่าสินค้าเหล่านี้ว่าเป็นสินค้าหรู

    การวิจัยนี้ให้ข้อมูลที่มีคุณค่าเกี่ยวกับนิสัยการบริโภคสินค้าหรูของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความชอบในนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นยอดขายของอุปกรณ์เทคโนโลยีในตลาดหรู สินค้าหรูแบบดั้งเดิม เช่น สินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับ ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคที่แสดงความชอบในคุณภาพสินค้าที่เหนือกว่า และคุณภาพงานยอดเยี่ยม/มีฝีมือ เมื่อผู้บริโภคมีการคิดถึงจริยธรรมอย่างมากขึ้น พวกเขาให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าหรู เช่น ความทนทานและอายุการใช้งานขอสินค้าที่ซื้อไว้ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะช่วยให้การส่งเสริมการใช้จ่ายสินค้าหรูยังอาจคงอยู่ได้ปราศจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

    การวิจัยของ มิลยู อินไซต์ ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในมุมมองต่อสินค้าหรูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวิจัยนี้ให้ข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับผู้ประกอบการสินค้าหรูที่ต้องการขยายธุรกิจของพวกเขาในภูมิภาคนี้ 1 ใน 4 ผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเพิ่มการใช้จ่ายในสินค้าหรู ดังนั้นแบรนด์ต่างๆ มีโอกาสแตะเข้าสู่ตลาดที่มีกำไรอย่างงามเหล่านี้

    ]]>
    1432588
    บริษัทแม่ “Cartier” ทำรายได้พุ่ง 22% จากดีมานด์ “เศรษฐีจีน” ช้อปเครื่องประดับ-นาฬิกา https://positioningmag.com/1430458 Sat, 13 May 2023 11:49:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430458 Richemont กลุ่มบริษัทสินค้าลักชัวรีที่มีแบรนด์ดัง เช่น Cartier, Van Cleef & Arpels รายงานผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2023 เติบโตพุ่ง 22% จากดีมานด์ “เศรษฐีจีน” นิยมช้อปปิ้งเครื่องประดับและนาฬิกาข้อมือหรู

    ยอดขายของแบรนด์ภายใต้บริษัท Richemont เติบโตถึง 22% ในไตรมาสแรกปี 2023 จากการเติบโตที่ดีทั้งในทวีปเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และในประเทศสหรัฐฯ

    “ยอดขายในจีนดีขึ้นอย่างมาก” Johann Rupert ประธานกรรมการ Richemont เปิดเผยกับสื่อมวลชน

    ราคาหุ้นบริษัทจึงเติบโตขึ้นมากกว่า 5% และทำสถิติเป็นประวัติการณ์ที่ราคาหุ้นละ 158.50 สวิสฟรังก์

    ไม่ใช่แค่บริษัทนี้ที่ทำยอดขายได้ดี รายใหญ่ในตลาดลักชัวรีอื่นๆ เช่น LVMH หรือ Hermes ต่างก็ได้อานิสงส์อย่างมากจากการฟื้นตัวของตลาดจีน หลังผ่านระยะดิสรัปต์ 3 ปีจากโควิด-19 มาได้ โดยยอดขายไตรมาสแรกของ LVMH โต 17% ส่วน Hermes โต 23%

    บริษัทลักชัวรีเหล่านี้ทั้งหมดเป็นหนึ่งในกลุ่มหุ้นบลูชิพของตลาดยุโรปที่สร้างผลการดำเนินงานได้ดีที่สุด

    Van Cleef & Arpels

    Jean Philippe Bertschy นักวิเคราะห์จาก Vontobel มองว่า ยอดขายของ Richemont เติบโตได้มากกว่าที่คาด และเล็งเห็นว่าในตลาดมีการแยกออกอย่างชัดเจนระหว่างผลการดำเนินงานของแบรนด์ที่แข็งแกร่งกับแบรนด์ที่อ่อนแอกว่า

    “มีการแยกออกเป็นสองขั้ว ระหว่างแบรนด์ที่แข็งแรงและมีสินค้าเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนกับแบรนด์ที่อ่อนแอกว่าในตลาด และยิ่งถีบตัวแตกต่างกันมากขึ้นในหลายเดือนมานี้เนื่องจากเงินเฟ้อ” Bertschy กล่าว

    รายงานผลประกอบการ Richemont ที่มีแบรนด์ดังทั้งเครื่องประดับจาก Cartier, Van Cleef & Arpels และกลุ่มนาฬิกาหรู เช่น IWC, Vacheron Constantin รายงานผลประกอบการรอบปี เดือนเมษายน 2022 – เดือนมีนาคม 2023 พบว่ากำไรจากการดำเนินงานสูงขึ้นถึง 34% ทำกำไรไปที่ 5,030 ล้านยูโร (ประมาณ 1.86 แสนล้านบาท) และมีอัตรากำไร 25.2% ทั้งหมดเป็นตัวเลขเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์

    สำหรับกระแสข่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่ Richemont จะถูกเทกโอเวอร์แบรนด์ Cartier ในเครือหรือซื้อกิจการทั้งบริษัท Rupert ประธานกรรมการบริษัทระบุว่ายังไม่มีการติดต่อโดยตรงจากทาง LVMH บริษัทมหาชนที่มีมูลค่าสูงที่สุดของยุโรป รวมถึงยังไม่ได้คุยกับ Kering บริษัทที่เคยยื่นข้อเสนอซื้อกิจการเมื่อปี 2021

    Source

    ]]>
    1430458
    “Quiet Luxury” เทรนด์ใหม่สินค้าแบรนด์เนม “เรียบหรูดูแพง” แทนที่การใส่โลโก้แบบตะโกน https://positioningmag.com/1429917 Tue, 09 May 2023 09:39:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429917 กระแสการดีไซน์สินค้าแบรนด์เนมถึงช่วงเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง จากยุคงานดีไซน์แบบเห็นโลโก้ชัดทั้งตัว กลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่เรียกว่า “Quiet Luxury” ไม่มีโลโก้ เน้นงานออกแบบมีสไตล์ ใช้ผ้าและการตัดเย็บคุณภาพ

    Wunderman Thompson เสนอเทรนด์ที่กำลังมาในโลกแห่งสินค้าแบรนด์เนมอย่าง “Quiet Luxury” ที่ตอบสนองแนวคิดใหม่ของลูกค้า ต้องการสินค้าลักชัวรีที่ใส่แล้วไม่ตะโกนออกมาว่า ‘ฉันใส่แบรนด์เนม’ ทำให้ห้องเสื้อแฟชั่นชั้นสูงหลายแห่งเริ่มออกแบบเสื้อผ้าที่ ‘ไม่มีโลโก้’ กันมากขึ้น

    Thomaï Serdari ผู้อำนวยการหลักสูตร MBA ด้านแฟชั่นและสินค้าลักชัวรีที่ New York University ให้คำนิยามกับ Business Insider ว่า Quiet Luxury หมายถึง เสื้อผ้าที่ผลิตด้วยคุณภาพสูงสุด และมีดีไซน์เหนือกาลเวลา มีรสนิยม และไม่เป็นจุดสนใจ

    เทรนด์นี้ถือว่าเป็นภาพมุมกลับกับกระแสสินค้าลักชัวรีก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดชื่นชอบการดีไซน์แบบหวือหวา สีสันสดใส ใส่แล้วโดดเด่น เป็นเทรนด์แรงที่นิยมกันมากในกระแสป๊อปคัลเจอร์

    แบรนด์เนม Quiet Luxury
    ฉากจากซีรีส์ Succession ตัวละครถือกระเป๋า Burberry ใบโต ลายเด่น เข้ามาในงานเลี้ยง ซึ่งเทรนด์อวดแบรนด์เนมแบบตะโกนแบบนี้ถือว่า ‘ล้าสมัย’ ไปแล้ว

    แต่ปัจจุบันเริ่มเห็นเทรนด์ที่เปลี่ยนไปซึ่งอาจเกิดจากสื่อและคนดังที่มีอิทธิพล เช่น ซีรีส์เรื่อง Succession ของค่าย HBO ซึ่งตัวละครคนรวยในเรื่องนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ตัดเย็บมาเป็นอย่างดี ใช้สีกลางๆ แต่ทำจากวัสดุและเนื้อผ้าระดับไฮเอนด์ตั้งแต่หัวจรดเท้า ซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกได้ว่านี่คือชุดจากห้องเสื้อและมีราคา โดยไม่ต้องมีโลโก้แบรนด์ใดๆ ปรากฏ

    ฉากหนึ่งในซีรีส์เรื่องนี้มีตัวละครตัวหนึ่งที่พยายามจะเข้าสู่วงสังคมครอบครัวคนรวย ทำให้เธอเลือกถือกระเป๋า Burberry ทรงโอเวอร์ไซส์เข้าไปในงานอีเวนต์ครอบครัว แม้ว่ากระเป๋าใบนี้จะไม่มีโลโก้ แต่ลายตารางที่เป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์ก็เพียงพอที่จะทำให้กระเป๋าใบนี้ ‘เด่นเกินไป’

    อีกตัวอย่างหนึ่งคือภาพของ Gwyneth Paltrow ดาราคนดังที่ขึ้นศาลเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางสกี ในการไปขึ้นศาลแต่ละครั้ง เธอจะใส่ชุดแบบ ‘มินิมอล’ ที่ไม่มีโลโก้ติดอยู่เลย แต่ดูก็รู้ว่าเป็นชุดที่มีราคา จนทำให้เกิดกระแสเรียกชุดขึ้นศาลของเธอว่า #courtcore โดยเสื้อผ้าที่เธอเลือกใส่ เช่น เสื้อเชิ้ตผ้าแคชเมียร์และรองเท้าบูทของ Prada, เสื้อสเวตเตอร์และแจ็กเก็ตจาก The Row และ Goop ที่เป็นแบรนด์ของเธอเอง, กางเกงขากว้างจาก Proenza Schouler ฯลฯ

    การรู้จักและจดจำไอเทมของแบรนด์ระดับสูงได้ มักจะเป็นความรู้ของคนที่มีฐานะอยู่แล้ว “ถ้าคุณรู้ ก็คือรู้ และนั่นก็คือประเด็นของเรื่องนี้” Robert Burke ที่ปรึกษาด้านสินค้าลักชัวรี กล่าวกับ Los Angeles Times “คนที่พวกเขาใส่ใจ คนที่อยู่ในห้องเดียวกัน คนพวกนี้จะรู้แน่นอนว่าเสื้อผ้าที่ใส่อยู่ยี่ห้ออะไร และจริงๆ ก็มีแต่กลุ่มคนระดับเดียวกันพวกนี้ที่สำคัญ”

    นิตยสาร Vogue นิยามเทรนด์ใหม่นี้ว่าเป็นแฟชั่นแบบที่ “ยกระดับรูปแบบพื้นฐาน” การดีไซน์จะเป็นเสื้อผ้าที่เรียบง่าย ใส่ได้ทุกวัน

    หนึ่งในกลุ่มผู้ซื้อที่มีอิทธิพลกับตลาดลักชัวรีคือ “ชาวจีน” ซึ่งปัจจุบันชาวจีนก็เปลี่ยนรสนิยมแล้วเช่นกัน Brunello Cucinelli เจ้าของแบรนด์ระดับลักชัวรีให้สัมภาษณ์กับ Jing Daily ว่า ผู้ซื้อชาวจีนจะตื่นเต้นกับสินค้าที่พิเศษสุด และผลิตด้วยคุณภาพสูงสุด

    “วันนี้ลูกค้าจีนคือกลุ่มลูกค้าที่ละเอียดที่สุดและมีความรู้มากที่สุดในโลก พวกเขายังพัฒนาวัฒนธรรมที่ชื่นชอบสินค้าคุณภาพมากขึ้นด้วย” Cucinelli กล่าว

    Burke ที่ปรึกษาด้านสินค้าลักชัวรี สรุปเทรนด์นี้ว่าน่าจะเกิดจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจด้วย ทำให้คนรู้สึกว่าไม่ต้องการที่จะ ‘โชว์’ มากเกินจำเป็นว่าตัวเองมีเงิน แต่ผู้ซื้อลักชัวรีก็ไม่ได้ต้องการจะหยุดซื้อสินค้า ทำให้คำตอบก็คือแบรนด์ควรจะผลิตสินค้าที่ใช้ได้นานและผลิตมาอย่างประณีต สำหรับคนมีรสนิยมเท่านั้นที่จะมองเห็นสไตล์แฟชั่นที่ถูกยกระดับและออกแบบมาให้เหนือกาลเวลา

    Source

    ]]>
    1429917
    “เบอร์นาร์ด อาโนลต์” แห่ง LVMH ขึ้นแท่นเศรษฐี “รวยที่สุดในโลก” ปี 2023 จัดอันดับโดย Forbes https://positioningmag.com/1426386 Wed, 05 Apr 2023 06:08:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426386 เศรษฐีชาวฝรั่งเศส “เบอร์นาร์ด อาโนลด์” เจ้าของอาณาจักร LVMH ขึ้นแท่นเป็นบุคคลที่ “รวยที่สุดในโลก” ปี 2023 จัดอันดับโดย Forbes ถือเป็นครั้งแรกที่อาโนลด์ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ โดยขึ้นมาแทนที่แชมป์เก่าคือ “อีลอน มัสก์” เจ้าของ Tesla และ SpaceX

    LVMH เติบโตในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นรายได้ กำไร และราคาหุ้น ซึ่งทำให้สินทรัพย์ของ “เบอร์นาร์ด อาโนลด์” เจ้าของบริษัทวัย 74 ปี เพิ่มขึ้นอีกถึง 5.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้เขามีสินทรัพย์รวม 2.11 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เป็นตัวเลขสินทรัพย์ที่สูงกว่าแชมป์เก่าเมื่อปีก่อนคือ “อีลอน มัสก์” 3.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

    ชื่อของเบอร์นาร์ด อาโนลด์ อาจจะไม่ได้มีชื่อเสียงต่อสาธารณชนเท่ากับแบรนด์ที่เขาเป็นเจ้าของภายในอาณาจักร LVMH ประกอบด้วยแบรนด์ดังอย่าง Louis Vuitton, Christian Dior, Tiffany, Sephora, Givenchy, Marc Jacobs ฯลฯ

    อาโนลด์เริ่มเข้ามาเป็นเจ้าของ LVMH เมื่อ 3 ทศวรรษก่อน และปั้นให้อาณาจักรนี้กลายเป็นบริษัทสินค้าลักชัวรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนแบรนด์ในเครือมากกว่า 70 แบรนด์ พร้อมสร้างฐานลูกค้าลอยัลตี้รอบโลก ตั้งแต่เขาเข้ามากุมบังเหียน บริษัท LVMH มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 4 พันล้านเหรียญในปี 1989 ขึ้นมาเป็น 8.6 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปี 2022 และราคาหุ้นก็เด้งขึ้นมาถึง 35% ภายในปีเดียว

    กระเป๋า Louis Vuitton (Photo : Shutterstock)

    เบอร์นาร์ด อาโนลด์ เข้ามาอยู่ในทำเนียบคนรวยที่สุดในโลกจัดอันดับโดย Forbes ครั้งแรกเมื่อปี 1997 ก่อนจะค่อยๆ ไต่อันดับขึ้นมา จนเมื่อปี 2022 เขาอยู่ในอันดับ 3 รองจากที่หนึ่งคือ อีลอน มัสก์ และที่สองคือ เจฟฟ์ เบโซส

    สินทรัพย์ความร่ำรวยของอาโนลด์นั้นขึ้นอยู่กับการรักษาสถานะความคลาสสิกของแบรนด์หลักในมืออย่าง Louis Vuitton และ Dior เอาไว้ให้ได้ ซึ่งอาโนลด์ทำสำเร็จจากการคงสถานะ “คุณค่าเหนือกาลเวลา” ไว้พร้อมกับการเป็นแบรนด์ที่ทันสมัยในสายตาผู้บริโภค

    นอกจากนี้ เขายังเพิ่มความร่ำรวยได้จากการดึงแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาในเครือ LVMH ตัวอย่างเช่น การร่วมทุนกับ Rihanna เพื่อออกไลน์สินค้าเครื่องสำอาง Fenty Beauty เมื่อปี 2017

    เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2022 อาโนลด์เริ่มประกาศแผนการปรับองค์กรและการหาผู้สืบทอดตำแหน่งในบริษัทโฮลดิ้ง โดยปัจจุบันเขาแบ่งหุ้นส่วนจำนวนเท่าๆ กันให้กับลูกทั้ง 5 คน และทั้ง 5 คนต่างมีตำแหน่งบริหารภายในบริษัท

    สำหรับ 10 อันดับแรกทำเนียบบุคคลที่ “รวยที่สุดในโลก” ปี 2023 จัดอันดับโดย Forbes ได้แก่

    1.เบอร์นาร์ด อาโนลด์ และครอบครัว
    แหล่งทำเงิน: LVMH
    มูลค่าสินทรัพย์ 2.11 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: ฝรั่งเศส

    2.อีลอน มัสก์
    แหล่งทำเงิน: Tesla และ SpaceX
    มูลค่าสินทรัพย์ 1.80 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อเมริกัน

    3.เจฟฟ์ เบโซส
    แหล่งทำเงิน: Amazon
    มูลค่าสินทรัพย์ 1.14 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อเมริกัน

    4.แลร์รี่ เอลลิสัน
    แหล่งทำเงิน: Oracle
    มูลค่าสินทรัพย์ 1.07 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อเมริกัน

    5.วอร์เรน บัฟเฟตต์
    แหล่งทำเงิน: Berkshire Hathaway
    มูลค่าสินทรัพย์ 1.06 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อเมริกัน

    6.บิล เกตส์
    แหล่งทำเงิน: Microsoft
    มูลค่าสินทรัพย์ 1.04 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อเมริกัน

    7.ไมเคิล บลูมเบิร์ก
    แหล่งทำเงิน: Bloomberg LP
    มูลค่าสินทรัพย์ 9.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อเมริกัน

    8.คาร์ลอส สลิม เฮลู และครอบครัว
    แหล่งทำเงิน: กิจการโทรคมนาคมหลากหลายบริษัทในทวีปอเมริกา
    มูลค่าสินทรัพย์ 9.30 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: เม็กซิโก

    9.มูเกช อัมบานี
    แหล่งทำเงิน: กิจการหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่น้ำมันจนถึงโทรคมนาคม
    มูลค่าสินทรัพย์ 8.34 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อินเดีย

    10.สตีฟ บาลล์เมอร์
    แหล่งทำเงิน: Microsoft
    มูลค่าสินทรัพย์ 8.07 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
    สัญชาติ: อเมริกัน

    Source: Forbes

    ]]>
    1426386