อินไซต์การตลาด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 May 2024 11:34:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 6 ความผิดพลาดที่ควรเลี่ยงเมื่อต้องการ “สร้างแบรนด์” ให้ปัง! https://positioningmag.com/1472578 Wed, 08 May 2024 06:10:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472578 ยุคนี้ใครๆ ก็ต้องการ “สร้างแบรนด์” ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ สตาร์ทอัพ จนถึงการสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้เป็นแบรนด์ แต่ในโลกที่ทุกคนเริ่มสร้างแบรนด์เองได้ง่ายๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย “ความผิดพลาด” ระหว่างทางในการสร้างแบรนด์ก็ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

Kelly Conkright ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่กลยุทธ์ด้านแบรนด์ของ The Brand Terminal เอเยนซีด้านการสร้างแบรนด์ระดับโลก ผู้มีประสบการณ์ด้านนี้มากว่า 25 ปีและทำงานร่วมกับบริษัทระดับ Fortune 500 มาแล้ว เธอได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานว่า นักการตลาดที่กำลังสร้างแบรนด์มักจะเกิดความผิดพลาดเหล่านี้ขึ้น

โดยเธอสรุปมาเป็น “6 ความผิดพลาดที่ควรเลี่ยงเมื่อต้องการสร้างแบรนด์ให้ปัง” ดังนี้

 

1.การสร้างแบรนด์ไม่ใช่แค่การสร้างโลโก้ขึ้นมาแล้วจบ

Conkright บอกว่า แม้การสร้างสรรค์โลโก้สวยๆ ใช้รูปที่สื่อความหมาย ใช้สีสันสร้างแรงบันดาลใจ จะเป็นเรื่องที่ดี แต่นั่นไม่ใช่การสร้างแบรนด์ เพราะแบรนด์คือการสร้างไลฟ์สไตล์ที่รวบรวมทั้งตัวตน คุณค่า และเป้าหมายของบริษัทไว้ในทุกอณูที่ผู้บริโภคจะได้สัมผัส แบรนด์ที่มีจุดดึงดูดจะมีคุณค่าที่ลึกซึ้งกว่าแค่โลโก้ที่ให้สุนทรียะทางการมองเห็นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น GOOP เป็นแบรนด์ที่สร้างมาได้ชัดเจนมากว่าเป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่เกี่ยวกับโลกเวลเนสทั้งหมด

Gwyneth Paltrow ดาราดังเจ้าของแบรนด์ Goop
2.อย่าเปลี่ยนคาแรกเตอร์ในการสื่อสาร

ยุคนี้สิ่งที่สร้างความต่างให้แบรนด์มากที่สุดคือ “โทนเสียงและข้อความ” โทนเสียงในการสื่อสารจะต้องสรุปได้ว่าจะไปทางไหนภายในคำจำกัดความแค่ 3-5 คำเท่านั้น และต้องอิงตามคาแรกเตอร์และบุคลิกของแบรนด์ของคุณ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณมีพื้นฐานคาแรกเตอร์ไว้แล้ว สิ่งนี้จะต้อง “ไม่เปลี่ยน” ไม่ว่าจะในการสื่อสารช่องทางไหน ตัวอย่างเช่น Oatly แบรนด์นมข้าวโอ๊ต จะสื่อสารด้วยคาแรกเตอร์กวนๆ และเฉลียวฉลาดเสมอ

ตัวอย่างโฆษณากวนๆ ในการสื่อสารแบบคาแรกเตอร์ Oatly
3.อย่าเดินออกนอกเส้นทางที่วางกลยุทธ์หลักไว้

การสร้างแบรนด์อาจจะทำให้คุณรู้สึกอยากจะใจเร็วด่วนได้ แต่ถ้าคุณทำตามแผนที่วางไว้จะให้ผลที่ดีกว่าในระยะยาว ในกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมีคัมภีร์ที่ยึดถือกันคือให้ “ทดลอง, เรียนรู้, ปรับใช้, ทำซ้ำ” เพราะนักการตลาดมักต้องการรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์แล้วปรับใช้ทันที แต่แผนระยะยาวในการสร้างแบรนด์ต้องยึดถือ “แบรนด์ DNA” ที่วางไว้แต่แรกให้มั่นด้วย ไม่ลืมว่าอินไซต์ที่ศึกษาไว้แต่แรกคืออะไร และอะไรทำให้ตนเองแตกต่างจากคู่แข่ง

4.เราไม่ได้ขายแค่สินค้าแต่เราขายคำสัญญา

แน่นอนว่าสุดท้ายแล้วทุกคนมาขายสินค้าหรือบริการ แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความต่างจากคู่แข่ง คือ การสร้างความเชื่อมั่น และนั่นทำให้บางแบรนด์สามารถจะตั้งราคาเองได้ แบรนด์จะต้องก้าวให้พ้นจากการขายแค่สินค้า แต่เป็นการขายโซลูชัน ขายว่าแบรนด์นี้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าอย่างไร ส่งผลต่อสังคมอย่างไร สร้างความรู้สึกและประสบการณ์กับแบรนด์ที่มากกว่าตัวสินค้า

ตัวอย่างเช่น Patagonia สร้างความเป็นแบรนด์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกิจกรรมทั้งหมดที่ทำ หรือ Starbucks ไม่ได้ขายแค่กาแฟแต่ขายประสบการณ์และคอมมูนิตี้ในร้าน

Starbucks

5.อย่าทำงานในพื้นที่สุญญากาศ ไม่รับรู้โลกภายนอก

หลายแบรนด์เมื่อสร้างไปสักพักจะตกกับดักของการอยู่ในสุญญากาศ คือไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้บริโภคและวัฒนธรรมในสังคมอีกต่อไป แบรนด์จึงต้องคอยถามตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่าสิ่งที่นำเสนอให้กับลูกค้ายังจำเป็นและมีคุณค่ากับเขาอยู่ไหม แบรนด์ต้องเข้าไปอยู่ในชุมชนของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และตามให้ทันพฤติกรรม-วัฒนธรรมของพวกเขา

แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจะพาตัวเองไปเป็นส่วนหนึ่งและปรับตัวตามได้ทันกระแสเสมอ ตัวอย่างเช่น Nike และ Lululemon ที่สามารถปรับตาม เข้าใจลูกค้า จึงหาสินค้าใหม่มาได้ตรงตามความต้องการ

Lululemon_Yoga
เสื้อผ้าโยคะเป็น Hero Product ของแบรนด์ Lululemon
6.อย่าดูถูกพลังแห่งวัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรคืออาวุธลับ ไม่ใช่แค่เรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงาน แต่เป็นเรื่องการสร้างแบรนด์มาตั้งแต่ข้างใน ทำให้วิสัยทัศน์และคุณค่าของแบรนด์ถูกฝังเข้าไปในทุกการกระทำและการตัดสินใจของพนักงาน ในระหว่างที่แบรนด์กำลังโต การคัดสรรเลือกทีมงานและสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมาก ยิ่งในยุคที่ทุกอย่างถูกอัปโหลขึ้นโซเชียล วัฒนธรรมองค์กรของคุณมีสิทธิ์ที่จะเล็ดรอดออกไปให้คนภายนอกเห็นได้สูงมาก จึงจำเป็นต้องสร้างให้แกร่งจากภายใน

ทั้งหมดคือ 6 ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น แต่เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว นักการตลาดจะได้คอยตรวจสอบกลยุทธ์ของตัวเองเพื่อที่จะไม่ผิดซ้ำกับรุ่นพี่ที่เคยผ่านมาแล้ว

Source

]]>
1472578
#dupe ค่านิยมใหม่วัยรุ่น “Gen Z” นิยมซื้อของ “เทียบแท้” ไม่รู้สึกผิดที่ใช้ของเลียนแบบ https://positioningmag.com/1463265 Mon, 19 Feb 2024 11:43:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463265 กระแสใหม่ในกลุ่มวัยรุ่น “Gen Z” อเมริกันไม่รู้สึกผิดกับการใช้ของลอกเลียนแบบ และภูมิใจกับการหาของ “เทียบแท้” หรือ #dupe มาใช้ได้สำเร็จ กระแสนี้จุดติดได้อย่างไร และแบรนด์ควรมองมุมไหนกับปรากฏการณ์นี้?

#dupe คืออะไร?

  • #dupe ศัพท์ใหม่วัยรุ่นคำนี้หมายถึงสินค้าตัวหนึ่งที่เป็น “คู่แฝด” กับสินค้ายี่ห้อดัง แต่มาในราคาถูกกว่า พูดง่ายๆ คือสินค้าเลียนแบบ
  • สินค้าส่วนใหญ่ที่ถูก #dupe มักจะไม่ใช่แบรนด์เนมลักชัวรีแต่เป็นแบรนด์ระดับกลางๆ ซึ่งอาจจะมีทั้งการทำมาให้คล้ายคลึง หรือตัวที่ตั้งใจทำให้เป๊ะแบบแยกแทบไม่ได้ (ยกเว้นการปั๊มตราโลโก้ที่ไม่เหมือน เพราะจะเสี่ยงละเมิดเครื่องหมายการค้า)
  • ประเภทสินค้าที่ #dupe กันก็หลากหลาย มีตั้งแต่เสื้อผ้า เครื่องสำอาง น้ำหอม เครื่องประดับ ของใช้ทั่วไป ฯลฯ อะไรก็ได้ที่กำลังฮิต
#dupe
ตัวอย่างการ #dupe แบบทำสินค้าเครื่องสำอางมาคล้ายคลึง และรีวิวว่าใช้แทนกันได้

TikTok จุดกระแสในกลุ่ม Gen Z

  • จากกระแสสุดฮิตนี้ “Gen Z” เป็นกลุ่มที่เห็นได้ชัดว่าชอบการซื้อของเลียนแบบที่สุด อ้างอิงจาก “YouGov” มีการสำรวจเจาะกระแส #dupe ในแต่ละกลุ่มเจนเนอเรชันของคนอเมริกัน พบว่า คน Gen Z (18-26 ปี) 71% ตอบว่าซื้อของเลียนแบบบ้างหรือซื้อเป็นประจำ ถือเป็นเจนที่ซื้อของเลียนแบบเป็นประจำมากที่สุดในทุกเจน
  • ในกลุ่มคน Gen Z กลุ่มนี้มี 61% ที่ตอบว่าใช้ TikTok เป็นแหล่งค้นหาของเลียนแบบ เห็นได้ว่านี่คือแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลมากกับกระแสนี้
  • ใน TikTok ผู้ใช้มักจะหาของ #dupe มาเปรียบเทียบให้เห็นกันจะๆ ว่าเหมือนมาก คุณภาพดีแบบใช้แทนกันได้ แต่ราคาถูกกว่าเกินครึ่ง
  • ส่วนแหล่งซัพพลายของเทียบแท้พวกนี้ก็หาได้ง่ายๆ ผ่านยักษ์อีคอมเมิร์ซ “Amazon” และแพลตฟอร์มขายเสื้อผ้า “Shein” ที่วัยรุ่นกำลังฮิตซื้อกัน หรือบางทีก็ขายผ่าน “TikTok Shop” จบครบในที่เดียว
  • เมื่อใครๆ ก็รีวิวใช้ของเทียบแท้กันโจ่งแจ้ง ทำให้วัยรุ่นเริ่มมีทัศนคติใหม่ว่าของพวกนี้ใช้ได้เปิดเผย ไม่ต้องรู้สึกผิดอะไร และรู้สึก ‘เจ๋ง’ ที่หาของแทนกันได้โดยไม่ต้องจ่ายแพง ต่างจากสมัยก่อนที่คนใช้ ‘ของก๊อป’ จะถือว่าน่าอาย ทำให้ต้องแอบซ่อนไม่ให้ใครจับได้
#dupe
ของเลียนแบบหาได้ในราคาถูกกว่ามาก

ประหยัดเงิน + ได้ทดลองใช้ของเทียบแท้ก่อนว่าชอบไหม

  • บริษัทวิจัย Morning Consult มีการสำรวจกระแส #dupe เหมือนกัน โดยพบว่า 67% ของคนที่ซื้อของเลียนแบบบอกเหตุผลว่าซื้อเพราะ “อยากประหยัดเงิน”
  • แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อของก๊อปเพราะถูกกว่า เหตุผลรองลงมาที่ทำให้คนซื้อเพราะ “อยากลองใช้ดูก่อน” มุมคิดของ Gen Z ในเรื่องนี้คือการซื้อ #dupe เป็นการเสียเงินน้อยกว่าเพื่อซื้อของมาลองก่อนว่าจะชอบสินค้าตัวนี้ไหม ใช้ไปนานๆ จะเบื่อไหม ถ้าชอบจริงต่อไปก็มีโอกาสขยับไปซื้อของแท้ได้

 

แบรนด์ (ยัง) ไม่เครียด เพราะลูกค้าคนละกลุ่มเป้าหมาย

  • จากผลสำรวจข้างต้นบอกได้ว่า คนซื้อของเลียนแบบส่วนใหญ่มักจะ ‘ไม่ใช่เป้าหมาย’ ของแบรนด์อยู่แล้ว เพราะพวกเขาไม่ต้องการจ่ายมากกว่าเพื่อให้ได้แบรนด์มาครอบครอง
  • ในทางกลับกัน Morning Consult กลับมองเรื่องนี้เป็นเรื่องดีต่อแบรนด์ด้วย เพราะยิ่งมีคนพยายาม #dupe แบรนด์หนึ่งเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการโฆษณาว่ายี่ห้อนี้หรือสินค้านี้เป็นตัวดังที่คนอยากจะเลียนแบบ
  • รวมถึงบางแบรนด์ยังเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส แทนที่จะไล่ฟ้องของเลียนแบบ แบรนด์เหล่านี้เลือกเล่นกับกระแส โฆษณาแบรนด์เพื่อให้คนมาลองใช้ของแท้ดีกว่า
  • ตัวอย่างเช่น “Lululemon” แบรนด์ขายเสื้อผ้าโยคะที่ถูกเลียนแบบสินค้าหนักมาก จนออกไอเดียทำอีเวนต์ “Dupe Swap” 2 วันในลอสแอนเจลิส ให้คนนำกางเกงเลกกิ้งที่เลียนแบบแบรนด์มา “แลกฟรี” เลกกิ้งของแท้จาก Lululemon ไปได้เลย เป้าหมายเพื่อให้คนที่เคยซื้อของปลอมได้ “สัมผัสความแตกต่าง” จากของแท้
แคมเปญของ Lululemon ให้นำเลกกิ้งของปลอมมาแลกรับของจริงไปใช้ฟรี
  • อีกหนึ่งตัวอย่างคือ “Olaplex” เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์เส้นผมชื่อดังที่เจอของเลียนแบบมามาก แบรนด์จึงแอบทำแคมเปญส่งสินค้าชื่อ “Oladupé” ไปให้อินฟลูฯ รีวิวลง TikTok ว่าเป็นของ #dupe ที่เหมือน Olaplex มาก ก่อนจะเฉลยทีหลังว่าของในขวดก็คือ Olaplex นั่นแหละ แค่เปลี่ยนฉลากมา ‘อำเล่น’ เฉยๆ ผลจากแคมเปญนี้คือ Olaplex ตัวจริงได้ยอดรีชไปสูงมาก
แคมเปญอำเล่น สร้างของเลียนแบบตัวเองขึ้นมาของแบรนด์ Olaplex
  • สรุปคือ กระแสในหมู่ Gen Z ที่ชอบซื้อของเลียนแบบอาจจะยังไม่ใช่เรื่องน่ากังวลต่อแบรนด์มากนัก แต่แบรนด์ก็ต้องหาทางโฆษณาให้คนรุ่นนี้เปลี่ยนใจมาซื้อของแท้ในอนาคต…เมื่อพวกเขามีกำลังซื้อสูงขึ้น

 

ที่มา: Business Insider

อ่านบทความอื่นๆ

]]>
1463265
สรุป 15 อินไซต์การใช้ ‘โซเชียลฯ’ ของ ‘ภาคธุรกิจ’ ปี 66 ปีแห่งการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่าน “เรียลไทม์คอนเทนต์” https://positioningmag.com/1455076 Mon, 11 Dec 2023 01:51:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455076 ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลและสถิติการใช้งาน Facebook, X, Instagram, YouTube และ TikTok ของภาคธุรกิจกว่า 2,000 แบรนด์ชั้นนำจาก 20 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลกว่า 3 ล้านข้อความ ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2566 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2566 ผ่าน “INSTANT REPORT BUSINESS USAGE ภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียเชิงธุรกิจไตรมาส 1-3 2566” โดยมีสรุป 15 สาระสำคัญ ดังนี้

1. ภาคธุรกิจได้รับเอ็นเกจเมนต์ (Engagement) โดยรวมมากถึง 421 ล้านครั้ง และจากการโพสต์ (Post) รวมมากกว่า 1 ล้านครั้ง โดยที่ 66% ของแบรนด์เน้นใช้พื้นที่บน Facebook เป็นหลัก รองลงมาคือ Instagram ที่มีสัดส่วนประมาณ 20%

2. ช่องทาง TikTok วิดีโอที่มียอดไลก์ (Like) สูง ส่วนมากจะเป็นวิดีโอสั้น เช่น คอนเทนต์โปรโมตสินค้าจากทางแบรนด์และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของแบรนด์

3. ช่องทาง TikTok มีจำนวนการรับชม (View) และจำนวนคอนเทนต์สูงกว่า YouTube แต่แนวโน้มการเพิ่มขึ้น-ลดลงตลอดทั้งปีของทั้ง 2 แพลตฟอร์มมีทิศทางเหมือนกัน คือ ยอดการรับชมเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ในเดือนมีนาคม และลดลงเรื่อย ๆ ทุกเดือน ในขณะที่การโพสต์คอนเทนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาพจาก Pexels

4. พื้นที่บนโซเชียลมีเดียของบัญชีทางการ มีการใช้ Facebook เป็นหลัก โดยแบรนด์เลือกใช้ Facebook มากที่สุด (99%) รองลงมาคือ Instagram (73%), YouTube (50%), TikTok (38%) และ X (34%) ซึ่ง 95% ของแบรนด์ มีบัญชีทางการอย่างน้อย 2 แพลตฟอร์ม โดยใช้ Facebook เป็นหลัก มีเพียงแค่ 5% ของแบรนด์เท่านั้น ที่ยังคงใช้เพียงแค่ 1 แพลตฟอร์มในการทำการตลาดกับผู้บริโภค

5. ในภาพรวมแบรนด์เน้นทำคอนเทนต์สร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาที่ตลกและสนุกสนานให้ดูเข้าถึงง่าย, เรียลไทม์คอนเทนต์ รวมถึงการเกาะกระแสไวรัลต่าง ๆ สร้างความรู้สึกเป็นกันเอง และทำให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์เพิ่มขึ้น

6. ช่องทาง Facebook Reaction ถูกใช้เป็นฟังก์ชันในการโหวตเพื่อร่วมกิจกรรม และใช้แสดงความรู้สึก โดย Love คือรู้สึกดีชื่นชอบ, Haha คือขำขัน, Wow คือประหลาดใจ, Sad คือแสดงความเสียใจ ต่อการสูญเสีย, Angry คือไม่พอใจการให้บริการ

ภาพจาก Unsplash

7. ช่วงเวลาในการโพสต์คอนเทนต์ของแบรนด์ในทุกแพลตฟอร์ม คือ วันจันทร์-ศุกร์ โพสต์ตามเวลาทำการ (Working Hours) โดยเฉพาะก่อนเวลาพักเที่ยง และก่อนเลิกงาน ส่วนเสาร์-อาทิตย์จะเน้นโพสต์ช่วงครึ่งเช้า

8. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram มากที่สุดคือ Department Store แต่เอ็นเกจเมนต์ที่สูงที่สุดอยู่ในกลุ่มธุรกิจ Cosmetics & Skincare

9. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม X มากที่สุดคือ Bank แต่เอ็นเกจเมนต์ที่สูงที่สุดไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจ Marketplace & E-Commerce Platform

10. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม YouTube มากที่สุดคือ Hospital, Mobile & Consumer Electronics และ Bank ตามลำดับ

11. กลุ่มธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์ม TikTok มากที่สุดคือ Shopping Center & Department Store, Cosmetics และ Skincare ตามลำดับ

ภาพจาก Shutterstock

12. กลุ่มธุรกิจที่เน้นโปรโมตโดยใช้ศิลปิน คือ กลุ่มธุรกิจ Marketplace & E-Commerce Platform โดยจะใช้แพลตฟอร์ม X และ Instagram ควบคู่กัน

13. แพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้ถัดจาก Facebook จะเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในธุรกิจนั้น เช่น Skincare จะใช้ TikTok ควบคู่กับ Facebook ในขณะที่ Hospitality & Travel Agency และ Restaurant จะใช้ Instagram ควบคู่กับ Facebook ไปด้วย

14. กลุ่มธุรกิจที่ได้รับยอดเข้าชมรวม (View) สูงสุดบน TikTok 5 อันดับ คือ 1. Skincare, 2. Marketplace & E-Commerce Platform, 3. Beverage, 4. Cosmetics และ 5. Food & Snacks

15. กลุ่มธุรกิจที่ได้รับยอดเข้าชมรวม (View) สูงสุดบน YouTube 5 อันดับ คือ 1. Beverage, 2. Marketplace & E-Commerce Platform, 3. Personal Care & Skin Care, 4. Mobile & Consumer Electronics และ 5. Food & Snacks โดยกิจกรรมส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การโปรโมทคลิปโฆษณาที่มีความยาว 15-30 วินาที

]]>
1455076
เจาะอินไซต์ ‘ผู้บริโภคยุคดิจิทัล’ ชี้ ‘คูปองส่วนลด’ ตกลูกค้าง่ายกว่า ‘ส่งฟรี’ https://positioningmag.com/1384458 Mon, 09 May 2022 11:11:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384458 นีลเส็น ประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ Nielsen media talk ในหัวข้อ Digital Consumer: Insights, Trends and Challenges ซึ่งเปิดเผยข้อมูล 3 เทรนด์หลักของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในประเทศไทยหลัง COVID-19 โดย รัญชิตา ศรีวรวิไล ผู้อำนวยการธุรกิจมีเดีย บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย

ส่วนลดจูงใจกว่าส่งฟรี

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดสุดของผู้บริโภคตลอดช่วง COVID-19 ที่ผ่านมาก็คือ การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ที่หันไปใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น จากการสำรวจของ Nielsen CMV พบว่า 1 ใน 3 ของคนไทยปัจจุบัน ช้อปออนไลน์ และมีอัตราเพิ่มขึ้นจากปี 2019 ถึง 190% ที่น่าสนใจคือ เมื่อมีผู้ซื้อมากขึ้น ร้านคือก็เติบโต โดย ร้านค้าออนไลน์ เพิ่มขึ้น 44% โดยเฉพาะธุรกิจใหม่ ๆ อย่างการเปิดตลาด ขายบัตร ชมคอนเสิร์ตออนไลน์ผ่านกรุ๊ปต่าง ๆ เป็นต้น

คนกรุงมีอัตราช้อปออนไลน์ที่ 49% ส่วนหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด 39% และชนบท 31% และคนไทยกว่า 60% เลือกช้อปผ่าน E-marketplace รองลงมาคือ Social media (27%) และ แพลตฟอร์มของห้างและร้านค้า (13%) ขณะที่โปรโมชั่นที่ถูกใจขาช้อปออนไลน์มากที่สุด คือ คูปองส่วนลด ตามมาด้วยส่วน ลดค่าจัดส่ง และโปรโมชันประจำเดือน อย่าง 7.7, 8.8 เป็นต้น

สำหรับยอดการใช้จ่ายในการช้อปออนไลน์เฉลี่ยอยู่ที่ 500-1,000 บาท ความถี่เฉลี่ย 2-3 เดือนต่อครั้ง โดยการจ่ายเงินสดหรือเก็บเงินปลายทางมีสัดส่วนมากสุด อย่างไรก็ตาม การผ่านบัตรเครดิต เดบิต และโมบายแบงกิ้ง มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

ด้านสินค้าขายดี ได้แก่ สินค้าแฟชั่นเติบโตถึง 206% ตามด้วยของสด เครื่องสำอาง และเครื่องใช้ไฟฟ้า และในช่วง COVID-19 ระบาด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สินค้าสุขภาพ เติบโตถึง 798% นอกจากนี้ บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ เติบโตก้าวกระโดดถึง 2,683%

โฆษณาถูกจุด ผลลัพธ์เกินคาด

ในส่วนของโฆษณาพบว่า มาร์เก็ตเพลสเจ้าใหญ่อย่าง Shopee, Lazada อัดงบอย่างหนักหน่วง โดย Lazada อัดงบโตขึ้น 36% โดยใช้งบผ่านทีวีเพิ่มขึ้น 72% สื่อดิจิทัล 28% ส่วน Shopee อัดงบเพิ่ม 158% ผ่านทีวี 38% สื่อดิจิทัล 42% และสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ 20%

ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า 38% ของคนไทยซื้อสินค้าทันทีหลังจากเห็นโฆษณาในอินเทอร์เน็ต ในขณะเดียวกันการโฆษณาผ่าน Influencer หรือเน็ตไอดอลก็มีการเติบโตขึ้น โดยคนไทย 14% จะซื้อสินค้าตามที่เน็ตไอดอลแนะนำหรือโฆษณา

ทั้งนี้ เว็บไซต์ของแบรนด์เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด (33%) รองลงมาคือสื่อทีวี และการเป็นสปอนเซอร์ ในขณะที่ SMS หรือการโฆษณาผ่านข้อความมือถือ มีผู้บริโภคถึง 44% ที่ไม่เชื่อถือการโฆษณาจากช่องทางนี้ เนื่องจากผู้บริโภคกลัวข้อความสแปม หรือข้อความหลอกลวง

จากรายงานของ Trust in Advertising พบข้อมูลเพิ่มเติมว่าธีมของการโฆษณามีผลต่อผู้บริโภค โดยธีมที่ถูกใจคนไทยมากที่สุดคือ อิงชีวิตจริง (Real-life situations) โดยเฉพาะชาวมิลเลนเนียลที่ถูกใจโฆษณาประเภทนี้เป็นพิเศษ ในขณะที่ธีมที่ขายความเซ็กซี่หรือล่อแหลมจะได้รับความนิยมน้อยในทุกกลุ่มวัย

คนไทยยังหวงข้อมูลส่วนตัว

ที่น่าสนใจคือ คนไทยให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ โดยผู้บริโภคเพียง 19% ที่เต็มใจให้ทุกแอป/เว็บไซต์ติดตามพฤติกรรมของตนเอง ขณะที่ 57% อนุญาตให้บางแอปติดตามได้บ้าง และ 20% ที่ไม่อนุญาตให้แอปหรือเว็บไซต์ติดตามหรือแทร็กพฤติกรรมเลย

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งยินดีที่จะให้ข้อมูลแก่แบรนด์ ซึ่งหมายถึง Personalized Marketing ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในปัจจุบัน ผู้บริโภคยังต้องการความรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ อยากให้แบรนด์เอาใจ นักการตลาดต้องสามารถตอบสนองต่อข้อเสนอใหม่ ๆ ได้ ซึ่งความท้าทายของนักการตลาดในปัจจุบันคือการทำอย่างไรที่จะเข้าใจและรู้ใจผู้บริโภค ภายใต้เงื่อนไขที่ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคต้องมาอันดับแรก

]]>
1384458
“Facebook Group” ขุมทองของ “แบรนด์” พื้นที่เก็บอินไซต์ลูกค้า-ดินแดนแห่งการ ‘ป้ายยา’ https://positioningmag.com/1356213 Tue, 12 Oct 2021 10:26:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356213 ใครยังไม่อยู่ในกลุ่ม “งานบ้านที่รัก” หรือ “จัดโต๊ะคอม” อยากให้ลองเข้าไป ‘ส่อง’ การสนทนาใน Facebook Group เหล่านี้ เพราะชุมชนในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้ากันอย่างจริงจัง จริงใจ ทำให้เห็นอินไซต์ของผู้ใช้จริง และเป็นดินแดนแห่งการ ‘ป้ายยา’ อะไรว่าดีจะมีคนซื้อตามกันจำนวนมาก มาฟังความเห็นจากที่ปรึกษาด้านการตลาด “วันเดอร์แมน ธอมสัน” และ “Kantar” กันว่า “แบรนด์” จะทำอะไรได้บ้างในพื้นที่นี้

ระยะหลัง Facebook จัดอัลกอริทึมให้โพสต์ใน Facebook Group เป็นโพสต์ที่จะถูก ‘ดัน’ ขึ้นมาแสดงเป็นหลักทั้งในหน้า News Feed และส่งแจ้งเตือนใน Notification ด้วย ทำให้การสนทนาใน Group เฟื่องฟู ถูกมองเห็นมาก และกลายเป็นชุมชนที่โตเร็ว

ปีนี้ Group ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นจะเป็นกลุ่มที่แลกเปลี่ยนความรู้และสินค้ากันในเรื่องเฉพาะเจาะจง เช่น “งานบ้านที่รัก” เปิดให้สมาชิกมาพูดคุยกันเรื่องเทคนิคการทำงานบ้าน หรือกลุ่ม “จัดโต๊ะคอม” แชร์ไอเดียการจัดโต๊ะทำงานให้สวยงาม ซึ่งบูมสุดๆ ในช่วง Work from Home ที่ทำให้หลายคนต้องจัดมุมหนึ่งหรือห้องหนึ่งในบ้านไว้ทำงานแบบจริงจัง

ตัวอย่าง Facebook Group ยอดฮิตขณะนี้ “งานบ้านที่รัก” และ “จัดโต๊ะคอม”

ทั้งสองกลุ่มนี้มีพลังอย่างมาก “งานบ้านที่รัก” ขณะนี้มีสมาชิกกว่า 302,000 คน ขณะที่ “จัดโต๊ะคอม” มีสมาชิกกว่า 228,000 คน มีบทสนทนากันทุกวัน

เสน่ห์ของ Facebook Group จะคล้ายกับเว็บบอร์ด คือทุกคนมีสิทธิ์ตั้งโพสต์เล่าเรื่องหรือตั้งคำถาม และทุกคนมีสิทธิ์ตอบความเห็นของตัวเอง ภายใต้กฎร่วมกันของกลุ่มที่ ‘แอดมิน’ คนก่อตั้งเป็นผู้ดูแล

ทำให้แต่ละกลุ่มมีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป บางกลุ่มตั้งมาเพื่อขายของโดยเฉพาะ แต่กลุ่มที่กำลังฮิตอย่างงานบ้านที่รักและจัดโต๊ะคอม จะเน้นเรื่องการแชร์ประสบการณ์มากกว่าขายสินค้าเพื่อรักษาบรรยากาศ

เมื่อมีการรีวิว สิ่งที่คนคุยกันแน่นอนคือตัว “สินค้า” ทำให้ Facebook Group เป็นพื้นที่ที่ “แบรนด์” ไม่ควรมองข้าม เพราะนี่คือขุมทองในการรับฟังผู้บริโภคและทำการตลาด

 

“อินไซต์” คนใช้จริงที่ Focus Group ก็ให้ไม่ได้

ความเห็นจาก “ฐิติรัตน์ ตันติฤทธิศักดิ์” ผู้จัดการทั่วไปของ Digital Acceleration วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย มองว่า ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ Facebook Group คือการเข้าไปเก็บ “อินไซต์” จากผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของตัวเอง หรือสินค้าคู่แข่งในหมวดเดียวกัน

ตัวอย่างโพสต์รีวิว “เครื่องอบผ้า” ในกลุ่มงานบ้านที่รัก ทำให้เกิดกระแสฟีเวอร์ในกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน มีทั้งคอมเมนต์สอบถามการใช้งาน และ ‘กองหนุน’ ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีในบ้าน

“ยกตัวอย่างในกลุ่มงานบ้านที่รัก เคยมีคนรีวิวเครื่องอบผ้า ปรากฏว่ามีคนมาคอมเมนต์เกิน 300 ความเห็น เวลาเราทำ Focus Group เรายังไม่ได้กลุ่มตัวอย่างใหญ่ขนาดนี้มาก่อนเลย และแต่ละคนมีความต้องการละเอียดมาก” ฐิติรัตน์กล่าว “หลายอย่างเรานึกไม่ถึง ฟังก์ชันบางอย่างของสินค้าในมุมผู้ขายมองเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ปรากฏว่าเป็นเรื่องใหญ่มากของผู้ใช้”

จากข้อมูลที่คนมาแสดงความเห็นกัน จะทำให้แบรนด์รู้ว่าผู้บริโภคมี pain point อะไร และถ้าสินค้าเราตอบโจทย์เขาได้ ก็ควรสื่อสารประเด็นนั้น หรือถ้าพบว่าผู้บริโภคมีคำถามซ้ำๆ เกี่ยวกับสินค้าของเรา แสดงว่าแบรนด์ยังไม่ได้สื่อสารประเด็นนั้นดีพอ ก็ต้องกลับไปทำการตลาด การสื่อสารให้ตรงจุด

 

ดินแดน “ป้ายยา” ความน่าเชื่อถือสูง

ด้าน “ชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด Kantar Worldpanel ประเทศไทยและมาเลเซีย อธิบายความน่าสนใจของ Facebook Group คือมีลักษณะการสื่อสารแบบ C2C ผู้บริโภคที่สนใจเรื่องเดียวกันมาพูดคุยกันเอง มีทั้งประสบการณ์ที่ดีและแย่ของแบรนด์ จะต่างจากระบบ Facebook Page ที่สื่อสารแบบ B2C มากกว่า ทำให้ผู้บริโภคเกิด “ความเชื่อถือ” ในข้อมูลที่แชร์กันผ่าน Facebook Group

กิจกรรมอวดโต๊ะทำงานในกลุ่ม “จัดโต๊ะคอม” พร้อมชี้เป้าป้ายยาแหล่งซื้อหาไอเท็มต่างๆ

สอดคล้องกับฐิติรัตน์ วันเดอร์แมนฯ ที่มองว่า คนในกลุ่มพร้อมรับฟัง และพร้อมที่จะ ‘ซื้อตาม’ เพราะเห็นว่าผู้รีวิวเป็นคนที่ใช้สินค้าจริง ตามด้วยคอมเมนต์ที่มีทั้งข้อดีข้อเสียให้ชั่งน้ำหนัก จากเดิมผู้บริโภคหากคิดจะซื้อสินค้าอย่างหนึ่งอาจจะต้อง search แหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ใช้เวลานาน แต่ใน Facebook Group อ่านโพสต์เดียวก็ตัดสินใจได้เลย conversion ไปสู่ยอดขายจึงสูงมาก

 

สร้าง ‘user’ ที่มีความจริงใจ

ในกรณีของการทำการตลาด จะทำอย่างไรให้เข้าถึงผู้บริโภคใน Facebook Group ชีวานนท์จาก Kantar มองว่า แบรนด์ควรจะเข้าไป “เป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา” หรือเรียกว่า “พูดภาษาลูกค้า” โดยอาจจะให้มีตัวแทนจากแบรนด์ไปเป็น user หนึ่งในกลุ่มเพื่อคอยให้ข้อมูลสินค้า ส่งเสริมการขาย คอยปกป้องแบรนด์หรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องหากเกิดวิกฤตแบรนด์ขึ้น แต่ที่สำคัญคือแบรนด์จะต้องมีความจริงใจในการสื่อสาร

ด้านฐิติรัตน์มองในลักษณะการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการทำการตลาด เพราะปกติแบรนด์อาจจะมีการจ้าง KOL ให้รีวิวสินค้าในแหล่งต่างๆ อยู่แล้ว เช่น Pantip.com หรือทำคลิปลงใน YouTube แบรนด์ก็สามารถเปลี่ยนพื้นที่ให้ KOL มารีวิวลงในกลุ่มเหล่านี้ด้วยก็ได้ แต่โทนการขายต้องรู้จักวัฒนธรรมของกลุ่ม นั่นคือพื้นที่เหล่านี้จะไม่เหมาะกับการ ‘hard sale’ เสนอโปรโมชัน แต่ต้องแนะนำสินค้าแบบที่อ่านแล้วได้ความรู้

 

จุดขายไม่แกร่งจริง อาจเป็นดาบสองคม

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดในพื้นที่ Facebook Group ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน ด้วยลักษณะแบบเดียวกับเว็บบอร์ด ฐิติรัตน์ชี้ให้เห็นว่า แบรนด์หรือสินค้านั้นๆ จะถูกเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นตลอดเวลา ซึ่งถ้าแบรนด์ของเราด้อยกว่าจะกลายเป็นผลลบแทนได้

ดังนั้น จึงแนะนำว่า แบรนด์ที่มุ่งเข้าไปทำตลาดในพื้นที่นี้ ต้องสร้างจุดขาย สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองให้ชัดเจนมาก่อน ถ้าแบรนด์แข็งแกร่งจริง โอกาสจะเปิดกว้างมาก เพราะผู้บริโภคที่ใช้จริงแล้วพอใจจะแนะนำต่อในกลุ่ม

ต้องยอมรับว่าจะมีการเปรียบเทียบแบรนด์อยู่ตลอดเวลา

 

สรุป : ประโยชน์สูงมากถ้าใช้ให้เป็น

ฐิติรัตน์สรุปว่านักการตลาดสามารถใช้ Facebook Group ให้เป็นประโยชน์ได้ ในกรณีเข้าไปเก็บอินไซต์ ต้องรู้จัก “เปิดใจ” รับฟังจุดเด่นจุดด้อยของตัวเองให้เป็น และพร้อมจะปรับแก้

ส่วนการทำการตลาด ควรจะเตรียมช่องทางอี-คอมเมิร์ซไว้ให้พร้อม เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มมี conversion rate สูง พร้อมซื้อออนไลน์ แม้เป็นสินค้าชิ้นใหญ่ราคาสูงก็ตัดสินใจซื้อได้เร็ว แบรนด์ที่ไม่พร้อมบนอี-คอมเมิร์ซจะแพ้ในสมรภูมินี้ เพราะถ้าผู้บริโภคซื้อทันทีไม่ได้ อาจจะเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์อื่นเมื่อเจอรีวิวชิ้นอื่นอีก

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์ ฐิติรัตน์มองว่าเป็นไปได้ทุกกลุ่มสินค้า แต่ที่จะได้เปรียบกว่าคือสินค้า ‘high involvement’ เพราะการอธิบายวิธีใช้งาน การรีวิวฟังก์ชัน จะช่วยจูงใจได้ดี และมองว่าพื้นที่ Facebook Group คือ “เวทีแจ้งเกิด” ให้กับแบรนด์ใหม่ๆ หรือสินค้าของ SMEs เพราะผู้บริโภคในพื้นที่นี้พร้อมจะรับฟังสิ่งใหม่อยู่เสมอ

]]>
1356213
เปิดอินไซต์ พฤติกรรม ‘Contactless’ ของคนไทย ใช้จ่ายโดยไม่พึ่ง ‘เงินสด’ ได้นานถึง 8 วัน https://positioningmag.com/1324731 Thu, 25 Mar 2021 09:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324731 วิกฤตโรคระบาด กระตุ้นให้ผู้คนปรับไลฟ์สไตล์เข้ากับดิจิทัลมากขึ้น หลายคนได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดเเละมีทัศนคติในการชำระเงินที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ผลสำรวจล่าสุดจากวีซ่า’ (VISA) ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society ได้ในปี 2026 หรือเพียง 4-5 ปี นับจากนี้ ถือว่าเร็วขึ้น’ จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เวลานานถึง 10 ปี หรือปี 2030

จากความเห็นของผู้บริโภคจำนวน 1,000 คน อายุระหว่าง 18-65 ปี รายได้ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน พบว่ากว่า 4 ใน 5 หรือประมาณ 82% ของกลุ่มตัวอย่างได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด โดยเฉลี่ยคนไทยเห็นว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างไร้เงินสดได้นานถึง 8.1 วัน เพราะสามารถสั่งอาหารเเบบเดลิเวอรี่ รถเมล์เเละร้านสะดวกซื้อก็แตะบัตรจ่ายได้ 

เมื่อเจาะลึกลงไป เห็นได้ชัดว่าการมาของ COVID-19 มีผลต่อการใช้จ่ายอย่างมาก โดยสัดส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตโดยไร้เงินสด 1 สัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 19% จากปีก่อนที่ 17% และเมื่อเพิ่มระยะเวลาเป็น 1 เดือนจะมีสัดส่วนที่ 4% จากปีก่อนหน้าที่ 3%

โดยมีคนไทยพกเงินสดน้อยลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51% จากเดิมอยู่ที่ 30% เนื่องจากหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเห็นว่ามีความสะดวก ไม่ต้องต่อคิว เช็กความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่าย เเละที่สำคัญกว่า 61% มองว่าช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ด้วย


ไทยเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของวีซ่า สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ระบุ

วีซ่าเป็นผู้ให้บริการชำระเงินรายใหญ่ ครอบคลุม 200 ประเทศทั่วโลก ที่มีฐานลูกค้า 3,500 ล้านบัญชี ทั้งบัตรเครดิต เดบิต และพรีเพด มีธนาคารพาณิชย์พันธมิตร 15,300 แห่ง ร้านค้า 70 ล้านร้านค้า จำนวนธุรกรรมกว่า 1 แสนล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจุบัน ประเทศไทย มีจำนวนผู้ถือบัตรทั้งเครดิตเเละเดบิตกว่า 70-80 ล้านใบ และมีประชากรที่เข้าถึงบัญชีธนาคารสัดส่วนค่อนข้างสูงถึง 83% ทำให้สัดส่วนการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สูงตามไปด้วยที่ 72% และใช้เงินสดเพียง 28%

ปัจจัยที่สนับสนุนต่อ Cashless Society หลักๆ มาจากความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีเเละการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 78% มีสมาร์ทโฟน 134% และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 79%

พร้อมๆ กับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กระตุ้นการใช้ผ่านบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อพร้อมเพย์ให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ผู้บริหารวีซ่า บอกว่า จุดเด่นการใช้จ่ายของคนไทย คือ ชื่นชอบการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุดถึง 94% ตามด้วยวิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92% และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless) 89%

ส่วนในด้านของการใช้งานจริงนั้น 45% ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด ตามมาด้วยการสแกนชำระผ่านคิวอาร์โค้ด 42% และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร 41%

คนไทยคุ้นเคยกับการจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด หรือโอนเงินเพื่อจ่าย มากกว่าในต่างประเทศที่นิยมแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร เพราะคิดว่าการพกบัตรก็ไม่ได้ลำบากมากนัก ขณะเดียวกันช่วงอายุของลูกค้าก็มีผลต่อการเลือกใช้ โดยกลุ่มผู้ใหญ่ยังนิยมพกบัตร ส่วนคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีก็จะถนัดจ่ายทางสมาร์ทโฟนมากกว่า

ส่วนในอนาคตนั้นมองว่า การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน จะเข้ามาเเทนที่การใช้จ่ายผ่านบัตรในทึ่สุด เเต่ยังไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ โดยบัตรที่ทำจากพลาสติกจะยังคงมีต่อไปอีกสักระยะ เเต่จะค่อยๆ ลดลง ตามเจเนอเรชันที่เปลี่ยนไปของสังคม

Photo : Shutterstock

เตรียมบุก ‘เเตะเพื่อจ่าย’ ทางเรือ ส่วน MRT ยังต่อรอไปก่อน 

เหล่านี้ ทำให้กลยุทธ์ของวีซ่าในปี 2021 จะมุ่งไปที่การเพิ่มสัดส่วนธุรกรรมการจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลสเป็น 20% ของธุรกรรมทั้งหมด จากเดิมที่อยู่ราว 15% เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 1 ปี จากก่อนหน้าที่มีแค่ 0.1% เท่านั้น

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกรรมนั้น มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนบัตรเดบิตเครดิตที่หมดอายุของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบัตรรุ่นใหม่จะมีฟังก์ชันการใช้งานเเบบคอนแทคเลสได้ทันที รวมไปถึงความก้าวหน้าของเครื่องรับบัตร (EDC) ที่สามารถรับชำระได้ 4 in 1 ได้ โดยล่าสุดยอดการใช้ธุรกรรมการใช้ผ่านคอนแทคเลสในไทยมีมากกว่า 2 ล้านรายการต่อเดือน

นอกจากนี้ วีซ่าจะมีแคมเปญส่งเสริมการใช้จ่ายเเบบคอนแทคเลส โดยการร่วมมือกับพันธมิตรเช่น ผู้ให้บริการทางเรือและรถไฟฟ้าใต้ดิน เเละจับมือกับธุรกิจ e-Wallet รวมไปถึงการทำโปรเจกต์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะนำข้อมูล Big Data อย่างพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้จ่ายต่างๆ มาพัฒนาร่วมกัน โดยจะเริ่มใน 2-3 เดือนนี้

บริการเเตะเพื่อจ่ายในบริการขนส่งทางเรือ คาดว่าจะได้เห็นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ส่วนการเเตะเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น ยังต้องรอการเจรจาจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐเเละเอกชน ซึ่งมีความพยายามจะทำมานานเเล้ว เเต่ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุระยะเวลาได้ว่าจะใช้ได้จริงเมื่อใด

โดยที่ผ่านมา หลังจากมีบริการเเตะเพื่อจ่ายบนรถเมล์ในไทยกว่า 3,000 คันนั้น พบว่ามีกระเเสตอบรับที่ดี เเต่เมื่อต้องเจอกับการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การเดินทางต้องมีช่วงหยุดชะงักชั่วคราว ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน เเต่ก็หวังว่าประชาชนจะกลับมาใช้เพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเเละมีการกระจายวัคซีนทั่วถึง

เเม้จะมีปัจจัยหนุนมากมายที่จะทำให้ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นตามยุคสมัย เเต่ในอีกมุมเมื่อถามว่าอะไรเป็นอุปสรรคบ้าง สุริพงษ์มองว่าคือปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตก็ยิ่งมีผลต่อการใช้จ่ายของผู้คนด้วย

 

 

]]>
1324731
ส่องอินไซต์ลูกค้า “บัตรกรุงศรี” กลยุทธ์นำ Data มา “ทำมาหากิน” ใช้ AI ทำการตลาดเเบบใหม่ https://positioningmag.com/1264867 Wed, 19 Feb 2020 07:36:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264867 ส่องอินไซต์พฤติกรรมผู้ใช้ “บัตรเครดิตกรุงศรี” กลยุทธ์พลิกเกมธุรกิจของ “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” ที่ประกาศจะนำ Data มา “ทำมาหากิน” พัฒนา AI ทำการตลาดเเบบใหม่ ต่อยอด Face Payment สู้คู่เเข่งทั้งวงการธนาคารเเละ Non-Bank  พร้อมเเผนขยายธุรกิจตีอาเซียน ในช่วงตลาดไทย “อิ่มตัว” รวมถึงโครงการปั้นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นในไทย 

จากผลการดำเนินงานของ “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” ในปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทได้อนุมัติบัญชีใหม่ไป 9.78 แสนบัญชี (จากจำนวนใบสมัครทั้งหมด 2.2 ล้านใบ) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 24% โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวม 3.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 10% มียอดสินเชื่อใหม่ 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% และมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%

ขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต ของปี 2562 มีการขยับขึ้นเล็กน้อย เเละมีเเนวโน้มขยับขึ้นอีกในปีนี้ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สู้ดีนัก

สำหรับปีนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ตั้งเป้าหมายยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปีนี้เพิ่มขึ้น 8% มาอยู่ที่ 3.55 แสนล้านบาท น้อยกว่าปีที่เเล้ว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เเละตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ไว้ที่ 1.11 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% พร้อมตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างไว้ที่ 1.59 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%

“ตั้งเเต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา เรายังไม่มีข่าวดีต่อเศรษฐกิจไทยเลย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์” ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ กล่าว

จากแนวโน้มนี้ กรุงศรี คอนซูมเมอร์จึงวางเป้าอนุมัติบัญชีใหม่ลดลง 10% มาอยู่ที่ 8.9 แสนบัญชี ซึ่งผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน และผู้ที่มีภาระหนี้ต่อรายได้มากกว่า 70% จะเป็นกลุ่มเเรกที่ถูกปฏิเสธคำขออนุมัติบัญชีใหม่ออกไปก่อน

“ขณะที่รูปแบบธุรกิจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ยังกระจุกตัวอยู่ที่ธุรกิจสินเชื่อและบัตรเครดิต ส่วนรายได้ก็มีความเสี่ยงที่จะลดลงจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นของภาครัฐ ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานยังสูง”

อย่างไรก็ตาม เเม้ปีนี้ต้องเผชิญเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้ที่มีแนวโน้มภาระหนี้สูงกำลังซื้อลดลงเเละไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ เเต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ก็ตั้งเป้าที่จะเติบโตต่อเนื่อง ด้วย 5 กลยุทธ์ Game Changer ทั้งเดินหน้าลงทุนในอาเซียน ใช้ข้อมูลของผู้ใช้บัตรเครดิตมาต่อยอดพัฒนา AI เเละ Face Payment รวมถึงปั้นสตาร์ทอัพของไทยให้ไปสู่ระดับยูนิคอร์น

เรามาเจาะพฤติกรรมผู้ใช้ “บัตรกรุงศรี” เเละเเอปพลิเคชั่น UCHOOSE พร้อมเเผนกลยุทธ์ในปี 2563 ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ที่ต้องสู้กับทั้งภาวะเศรษฐกิจ การเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รวมไปถึงต้องเเข่งขันกับคู่เเข่งใหม่จากกลุ่มที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่กำลังลงทุนเรื่องสินเชื่อออนไลน์อย่างหนัก

ปรับโฉมใหม่ UCHOOSE

ตั้งเเต่ 3 มีนาคมเป็นต้นไป ลูกค้าจะได้เปิดให้บริการแอปพลิเคชั่น UCHOOSE เวอร์ชั่นใหม่ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น ฟีเจอร์ U manage ที่ผู้ใช้สามารถล็อกไม่ให้ใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศหรือซื้อของออนไลน์ได้ ฟีเจอร์ U insure สามารถเปรียบเทียบประกันได้บนแอป เเละฟีเจอร์ U card เปิดบัญชีธนาคารกรุงศรี ผ่านแอปได้เลย เป็นต้น

บัตรเครดิตกรุงศรีมีฐานลูกค้าราว 6 ล้านบัญชี ปัจจุบันมีลูกค้าใช้งานแอปพลิเคชั่น UCHOOSE 4.8 ล้านราย เเบ่งเป็นในกรุงเทพฯ 50 % เเละต่างจังหวัด 50 % เป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบ Android ราว 61% เเละระบบ iOS ราว 39% โดยปีนี้ตั้งเป้าจะดึงผู้ใช้ UCHOOSE ใหม่ให้ได้ 6 ล้านราย

ในสัดส่วนผู้ใช้ตามวัยต่าง ๆ เเบ่งเป็นอายุ 31-40 ปีราว 36% อายุ 41-50 ปี 24 % อายุต่ำกว่า 30 ปี 24 % เเละอายุเกิน 50 ปี 16 %

ด้านโครงสร้างฐานลูกค้าเเยกตามช่วงรายได้ เเบ่งเป็น ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท 32% รายได้ 2-3 หมื่นบาท 23% รายได้ 3-5 หมื่นบาท 21% รายได้ 5 หมื่น – 1 เเสนบาท 15% เเละมากกว่า 1 เเสนบาท 10%

ขณะที่ 5 จังหวัดที่มีการอนุมัติบัตรเครดิตมากที่สุด ได้เเก่ 1) กรุงเทพฯ 2) ชลบุรี 3) นนทบุรี 4) สมุทรปราการ เเละ 5) ปทุมธานี

โดย 12 อันดับภาคธุรกิจที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของกรุงศรีมากที่สุด ได้เเก่ 
อันดับ 1 : ประกันภัย 134,000 ล้านบาท
อันดับ 2 : ซูเปอร์มาร์เก็ต 82,000 ล้านบาท
อันดับ 3 : น้ำมัน 71,000 ล้านบาท
อันดับ 4 : บ้าน 60,000 ล้านบาท
อันดับ 5 : หมวดเดินทางท่องเที่ยว 58,000 ล้านบาท
อันดับ 6 : ห้างสรรพสินค้า 44,000 ล้านบาท
อันดับ 7 : แฟชั่น 39,000 ล้านบาท
อันดับ 8 : ร้านอาหาร 36,000 ล้านบาท
อันดับ 9 : แกดเจ็ตไอที 32,000 ล้านบาท
อันดับ 10 : โรงพยาบาล 31,000 ล้านบาท
อันดับ 11 : ออนไลน์ช้อปปิ้ง 24,000 ล้านบาท
อันดับ 12 : รถยนต์ 23,000 ล้านบาท

“เรายังเห็นว่าคนรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า 30 ปีเเละคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ก็ต่างมีการซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้นเช่นกัน” ฐากรระบุ

ส่วนพฤติกรรมการใช้งาน UCHOOSE จะเพิ่มมากขึ้นในช่วงต้นเดือนเเละปลายเดือน ซึ่งเป็น “วันเงินเดือนออก” ส่วนเวลาที่ใช้บ่อยที่สุดคือช่วง 11.00 น. เเละ 16.00 น.

สำหรับฟีเจอร์ที่ผู้ใช้เเอปชอบมากที่สุดคือ E- Coupon Redeemed ที่มีคนแลกคูปองไปแล้ว 9 แสนคูปอง รวมถึงฟีเจอร์แลกแต้มที่มีการแลกแต้มไปแล้วกว่า 300 ล้านแต้ม

นอกจากนี้ยังมีการขอเพิ่มวงเงินชั่วคราว (Temp Line request) ถึง 1.3 ล้านครั้ง ส่วนอัตราหนี้เสียจากแคมเปญผ่อน 0% หมวดรถยนต์เเละเครื่องประดับยนต์ ยังมีมากที่สุด

ด้านตั๋วชมภาพยนตร์ก็มีการเเลกเเต้มไปแล้วกว่า 2 เเสนเเต้ม โดย Avengers: Endgame ได้รับการเเลกเเต้มมากที่สุดที่ 10,778 ที่นั่ง ตามมาด้วย Spider-Man: Far From Home 5,913 ที่นั่งเเละตุ๊ดซี่ส์แอนด์เดอะเฟค ที่ 5,495 ที่นั่ง

“สินค้าที่ซื้อ หนังที่ดู อาหารที่กิน ทำให้เรารู้จักลูกค้ามากขึ้น นำไปสู่การออกโปรโมชั่น การนำเสนอบริการที่ตรงกับความต้องการ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่จะมีการสุ่มโทรไปหาลูกค้า โดยที่พวกเขาไม่อยากได้บริการเหล่านั้นเเละก็จะรู้สึกรำคาญ จึงเป็นที่มาของหลักมาร์เก็ตติ้งใหม่ที่เราใช้อย่าง Right Offer to the Right Customer at the Right Time though the Right Channel

การตลาดเเบบใหม่ นำ Data มา “ทำมาหากิน” 

กลยุทธ์ต่อไปคือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงศรี ที่มีฐานลูกค้าราว 6 ล้านบัญชี มีวงเงินพร้อมใช้ราว 500,000 ล้านบาท ในปี 2562

“เราจะทำ Data Monetization เรียกง่ายๆ ว่าเราจะทำมาหากินกับข้อมูลที่เรามีอยู่ นี่คือข้อได้เปรียบของเราเพราะข้อมูลบัตรเครดิตจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมลูกค้า เราจะรู้จากการใช้จ่ายได้ว่าพวกเขาเข้าโรงพยาบาลหรือเปล่า ชอบสินค้าเเนวไหน ออกกำลังกายที่ไหน สั่งอาหารออนไลน์อะไรบ้าง ”

ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปใช้ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือใน “เเคมเปญการตลาด” ซึ่งกรุงศรี คอนซูมเมอร์ได้แคมเปญไปมากกว่า 6,000 แคมเปญในปีที่ผ่านมา จากนี้ไปรูปแบบการทำการตลาดจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

โดยแคมเปญการตลาดจะถูกสร้างขึ้นมา แล้วนำ AI มาวิเคราะห์ว่าข้อเสนอถัดไปที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าคืออะไร ซึ่งผู้บริหารกรุงศรีบอกว่า ระบบใช้เวลาคิดแคมเปญที่เร็วที่สุดเพียง 3 วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกค้าอะไรสักอย่างในเเอปแล้ว AI จะมีข้อเสนอให้ว่าอะไรเป็น Next Best Offer” 

ยกตัวอย่าง ในกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตจ่ายค่าจองที่พัก AI ก็จะประมวลผลและส่งข้อเสนอประกันการเดินทางมาให้กับลูกค้าภายใน 3 วินาที นอกจากนี้ยังมีการโปรโมตผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ลูกค้าใช้ด้วย

ต่อยอด Face Payment

กลยุทธ์ที่สำคัญอีกอย่างของกรุงศรี คอนซูมเมอร์  คือการนำ ใช้ A.I. Manow (มะนาว) มายกระดับการให้บริการเป็น ผู้ช่วยส่วนตัว (personal assistance) ให้กับผู้ใช้ สามารถโทรศัพท์หาลูกค้าเพื่อเสนอวงเงินเพิ่ม ช่วยจองตั๋วหนัง หรือเตือนการชำระเงินให้ลูกค้า รวมถึงจะพัฒนาให้จำเสียงลูกค้าได้

โดยปีที่ผ่านมา A.I. Manow ให้บริการลูกค้าผ่านระบบ Call Center ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ไปเเล้ว 1.3 ล้านครั้ง ช่วยลดระยะเวลาคุยลงได้ 60% เเละสามารถตอบคำถามลูกค้าได้เองโดยไม่ต้องโอนสายไปให้เจ้าหน้าที่ถึง 22% ซึ่งทางบริษัทกำลังวางเเผนจะนำ  A.I. Manow ไปใช้กับระบบ Call Center หลักของธนาคารกรุงศรีด้วย

ขณะเดียวกันยังต่อยอดเทคโนโลยีการชำระเงินด้วยการสแกนใบหน้า หรือ Face Payment ซึ่งกำลังอยู่ในการพัฒนาระบบ และจะเริ่มทดสอบได้ในไตรมาส 3 เเต่จะใช้จ่ายเงินได้เฉพาะกับพาร์ตเนอร์บางราย เช่น โฮมโปร ก่อน

ขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ในอาเซียน

ในขณะที่ตลาดในเมืองไทยอิ่มตัวเเล้ว เเต่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นเหมือน “ขุมทรัพย์” กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงกำลังการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่

ที่ผ่านมากรุงศรี คอนซูเมอร์ ได้เริ่มธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ในลาว (asset รวมอยู่ที่ 6 พันล้านบาท) เเละและธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ในกัมพูชา (asset รวมอยู่ที่ 3.3 พันล้านบาท) โดยในไตรมาส 2/63 บริษัทจะเข้าไปขยายธุรกิจสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อส่วนบุคคล ประกันชีวิต และบัตรเครดิตในประเทศฟิลิปปินส์ ในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) นอกจากนี้กำลังศึกษาโอกาสในการขยายธุรกิจสินเชื่อรายย่อยในประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และอินโดนีเซีย

“เราตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีจะมีรายได้จากตลาดต่างประเทศเป็นสัดส่วนราว 10% จากปัจจุบันอยู่ที่ไม่ถึง 5% เท่านั้น” 

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์

ปั้นสตาร์ทอัพ “ยูนิคอร์น” ในไทย 

กรุงศรี เป็นอีกหนึ่งธนาคารที่ลงทุนกับโปรเจกต์ “ปั้นสตาร์ทอัพ” สัญชาติไทยให้เป็นระดับยูนิคอร์น (มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญขึ้นไป)

ฐากร เปิดเผยว่า เบื้องต้นวางงบไว้ที่ 20 ล้านบาท เพื่อคัดเลือก 8 ทีม (ทีมละ 3 คน) เฉลี่ยให้ทุนทีมละ 3 ล้านบาทในการพัฒนาโปรเจกต์ มีที่ปรึกษาเเละโค้ชคอยให้คำเเนะนำ ซึ่งจะให้โอกาสกับ “พนักงานของกรุงศรีฯ” สมัครมาก่อน ตอนนี้มียอดสมัครมาเเล้วถึง 600-700 คน ส่วนใหญ่เป็นไอเดียการทำแอปพลิเคชั่น

สำหรับโครงการนี้ จะเเบ่งเป็น 3 ช่วง คือ Pony ในระยะ 4 เดือนเเรก เป็นการนำเสนอไอเดีย ถ้าผ่านการตัดเลือกมา 8 ทีม จะเข้าช่วง Centaur ในระยะ 8-12 เดือนถัดมา เพื่อเริ่มพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และโมเดลธุรกิจ มีการนำไปขายงานจริง

“หากสตาร์ทอัพรายไหนมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นบริษัทได้ก็จะแยกออกมา มีเจ้าของไอเดียเป็นซีอีโอ ส่วนกรุงศรีเป็นผู้ถือหุ้น หรือถ้าโปรดักต์นั้นเกี่ยวข้องกับกรุงศรีก็สามารถตั้งเป็นเเผนกใหม่ขึ้นมาเป็นหัวหน้าได้ “

นี่คือก้าวสำคัญของธุรกิจ “เเบงก์” ที่จะไม่ได้เป็นเพียงธนาคารอีกต่อไป ด้วยต้องก้าวทันเทคโนโลยี ต่อสู้คู่เเข่ง ตอบสนองผู้บริโภค รวมถึงสู้กับพิษเศรษฐกิจด้วย

อ่านเพิ่มเติม : กางเเผน 2563 “กรุงศรี” เจาะลูกค้าด้วยดิจิทัล จ่อหั่นเป้าสินเชื่อ พิษไวรัสฉุด GDP ไม่ถึง 2.5%

]]>
1264867
มองเศรษฐกิจรอบด้าน เปิดวิเคราะห์ SCB EIC ครัวเรือนไทยรายได้-ใช้จ่ายลดในรอบ 10 ปี หนี้สูง https://positioningmag.com/1261075 Fri, 17 Jan 2020 11:32:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261075 EIC ปรับลด GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.7% คาดส่งออกฟื้นเพียงแค่ 0.2% เงินบาทยังเเข็งค่าต่อ มองเจรจาสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก การลงทุนภาคเอกชนในไทยยังชะลอตามกำลังซื้อ ภาครัฐจะประคับประคองเศรษฐกิจมากขึ้น คาดประมูล 5G กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนภาคครัวเรือนไทย รายได้-การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic Intelligence Center : EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2020 ว่าจะเติบโตที่ 2.7% จากเดิมที่ 2.8% ฟื้นตัวเล็กน้อยจากปี 2019 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 2.5% ตามภาคส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากภาวะการค้าโลกที่น่าจะปรับดีขึ้นบ้าง
เเต่ปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังเป็นปัจจัยที่กดดันผู้ส่งออกเเละการท่องเที่ยวไทยอยู่

“เงินบาทที่แข็งค่าสะสมกว่า 24% เมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่องจะยังเป็นปัจจัยกดดันต่อรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกไทย

รวมถึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังขยายตัวได้แต่ก็เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน

“คาดว่าปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 41.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.7% เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่ขยายตัวได้ 4.3%”

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า การส่งออกไทยในปีนี้ จะเป็นบวกได้เล็กน้อยที่ 0.2% (ปีก่อนติดลบที่ -3.3%) เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เเละสหรัฐฯ และจีนสามารถมีข้อตกลงร่วมกันได้ในเฟสแรก ทำให้คลายความกังวลเรื่องสงครามการค้าลงไปได้ แต่การส่งออกที่แม้จะฟื้นตัว เเต่ก็ยังมีข้อจำกัดจากเงินบาทที่ยังแข็งค่าในปีนี้

มองเศรษฐกิจโลก

ประเด็นสงครามการค้า มองว่าการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน เฟส 1 ที่จะนำไปสู่การยกเลิกและลดภาษีสินค้านำเข้าบางส่วนที่ขึ้นไปก่อนหน้า รวมถึงแนวนโยบายการเงินและการคลังของหลายประเทศทั่วโลกที่มีทิศทางผ่อนคลายเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่แม้จะบรรลุข้อตกลงระยะแรกได้ แต่ต้องติดตมการปฎิบัติตามข้อตกลง รวมทั้งยังมีข้อขัดแย้งพื้นฐานในหลายมิติที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและเสี่ยงที่จะกลับมาปะทุได้อีก

EIC คาดว่าภายในปี 2020 ข้อตกลงจะบรรลุได้เพียงเฟส เพราะการเจรจา เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนในประเด็นโครงสร้าง เศรษฐกิจเชิงลึกของจีนที่ต่างกัน เช่น 1) นโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2) นโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และ 3) เงื่อนไขการยกเลิกภาษีในช่วงก่อนหน้า

โดยรวมเศรษฐกิจโลกจะส่งสัญญาณดีขึ้นจากกการส่งออกและดัชนี PMI ภาคการผลิตที่เริ่มพ้นจุดต่ำสุดในหลายประเทศ จากอานิสงส์ของการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า

ขณะที่ผลสำรวจความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 12 เดือนข้างหน้าของ McKinsey ที่สอบถามผู้บริหารทั่วโลก 1,881 ราย เห็นว่าความเสี่ยงที่น่าจับตามองที่สุดคือ

อันดับ 1 ความตึงเครียดทางการค้า 65%
อันดับ 2 ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ 54%
อันดับ 3 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า 35%
อันดับ 4 การประท้วง 20%
อันดับ 5 การเปลี่ยนผ่านผู้นำทางการเมือง 17%

ด้านเศรษฐกิจจีน ในปีนี้คาดว่าโตต่ำกว่า 6% ซึ่งโตต่ำสุดตั้งแต่ปี 1990 จากปัจจัยนโยบายในประเทศเเละสงครามการค้า ขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Markets : EM) อย่างลาตินอเมริกา แอฟริกา จะเติบโตได้ดี

ในภาพรวม สัดส่วนการค้าโลกที่เผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ยังมีการใช้มาตรการทางการค้าสำหรับคู่ค้าอื่นๆ รวมถึงไทยด้วย ทั้งนี้ สินค้าไทยที่โดนตัดสิทธิ GSP คิดเป็น 0.5% ของการส่งออกรวมของไทย โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สุขภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อาหาร และเครื่องประดับ

ความตึงเครียดสหรัฐฯ-อิหร่าน หากรุนเเรงเเละขยายวงกว้างมากขึ้นอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผ่านช่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การผันผวนในตลาดเงิน และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่จะปรับแย่ลง

“ในปี 2020 EIC คาดว่าน้ำมันเฉลี่ยจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน จากภาวะตลาดที่ค่อนข้างสมดุล แต่มีความเสี่ยงสูงจากประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน”

การเงินในไทย : ค่าเงินบาทเเข็งค่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำตลอดปี

ค่าเงินบาท

มีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่ในช่วง 29.50-30.50 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงกดดันของดุลบัญชีเดินสะพัดไทยที่ยังจะเกินดุลในระดับสูง

“เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในปีนี้ ด้วยแรงกดดันต่อเนื่อง อีกทั้งไทยยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ประกอบกับเมื่อเวลาเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าเพราะความต้องการดอลลาร์ลดลงนอกจากนี้ยังมีแนวโน้มเงินของทุนไหลเข้าในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย” ยรรยงระบุ

เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว

อัตราดอกเบี้ย 

SCBEIC คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังใช้นโยบายการเงินในระดับผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดย กนง.มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% ตลอดทั้งปี 2563 และอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 1 ครั้งหากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด

“เชื่อว่าธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันน่าจะต่ำเพียงพอแล้ว หากลดดอกเบี้ยลงไปมากกว่านี้ อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินต่างๆ แต่ก็ยังมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะลงได้ หากเศรษฐกิจแย่กว่าคาด”

ขณะที่ธนาคารกลางที่สำคัญของโลก อย่างธนาคากลางสหรัฐฯ (FED) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ไว้ แต่ก็พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้

 

อุปสงค์ในประเทศของภาคเอกชน

มีแนวโน้มขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยแม้ว่าภาคส่งออกจะมีโอกาสฟื้นตัว แต่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องตามหลายปัจจัยกดดัน ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของการจ้างงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่าต่อเนื่อง รายได้นอกภาคเกษตรที่เริ่มหดตัว

ส่วนรายได้ภาคเกษตรก็มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ล้วนส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนในระยะต่อไป

“กรมอุตุฯ พยากรณ์ปริมาณฝนใน Q1 ลดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งภัยเเล้งปีนี้จะกระทบเกษตรภาคกลางมากที่สุด คาดการณ์ผลผลิตรายสินค้าในปี 2020 ว่าอ้อยจะ -16% เเละข้าวเปลือก -10% ” 

การลงทุนภาคเอกชน

นอกจากจะมีแนวโน้มชะลอลงตามกาลังซื้อในประเทศแล้วอัตราการใช้กาลังการผลิต (CapU) ที่อยู่ในระดับต่ำและระดับสินค้าคงคลัง (inventory) ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับสูง ก็จะส่งผลต่อการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์เพื่อการบริโภคและการพาณิชย์ที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
รวมถึงการก่อสร้างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ในช่วงก่อนหน้าก็จะเป็นอีกปัจจัยกดดันภาคอุปสงค์ในประเทศในระยะต่อไป

ภาครัฐจะมีบทบาทประคองเศรษฐกิจปี 2020 มากขึ้น

โดยจะมีส่วนในรูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจและดูแลกลุ่มเปราะบางระยะสั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการกำหนดแนวนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน (Enabler) โดยเฉพาะการเปิดประมูลโครงการ 5G ที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนภาคโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ประกอบกับการจัดทางบประมาณที่ล่าช้าจากเมื่อปลายปี 2019 จึงทำให้หลายโครงการมีการเลื่อนเบิกจ่ายมาในปี 2020

“การประมูล 5G ในเดือนหน้าคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาประมาณ 93,000 ล้านบาท รวม 4 ปี น่าจะได้ประมาณ 4 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้” 

ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีนี้

มี 3 ปัจจัยหลัก ได้เเก่

  • ความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ด้านสงครามการค้า แม้ล่าสุดจะมีข้อตกลงการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจกระทบต่อการค้าโลกได้ อาทิ การเจรจากับจีนในระยะต่อไป การตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป และการพิจารณาของสหรัฐฯ ในการตัดสิทธิ GSP ของหลายประเทศ
  • ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ
    การประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกง และประเด็น Brexit ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว
    ของเศรษฐกิจโลก
  • ความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีหนี้ในระดับสูงและการสร้างรายได้ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (Technology Disruption) และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

ครัวเรือนไทย : รายได้ – การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ครัวเรือนไทยลดการใช้จ่ายลง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ครัวเรือนไทยใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,236 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนลดลง -0.9% จาก 21,437 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนในปี 2017 ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง

ทั้งนี้การลดลงของการใช้จ่ายยังอาจมีสาเหตุมาจากความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น รวมถึงภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ครัวเรือนไทยเป็นหนี้มากขึ้น ภาระหนี้ต่อรายได้แตะระดับสูงสุด

ครัวเรือนไทยมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ (46.3% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด) พบว่า ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 353,210 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 362,373 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น2.6% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (หารเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้) เพิ่มขึ้นจาก 96.1% มาเป็น 97.7% จากการที่หนี้ยังเติบโตสูงกว่ารายได้

ทั้งนี้สัดส่วนหนี้ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 และถือเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ต่างจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่มีการลดลง (deleverage) ในช่วงปี 2015 ถึงปี 2017 แล้วจึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลังจากนั้น

สาเหตุหลักเป็นเพราะในช่วงดังกล่าวสัดส่วนรายได้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลง ขณะที่สัดส่วนของกำไรภาคธุรกิจ (ซึ่งส่วนมากน่าจะมาจากกำไรของธุรกิจขนาดใหญ่) ต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้น

ครัวเรือนไทยก่อหนี้เพิ่มในด้านที่อยู่อาศัย การบริโภค และการเกษตร แต่ลดการก่อหนี้ธุรกิจนอกภาคเกษตรลง เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในด้านการก่อหนี้ในครึ่งแรกปี 2019 เทียบกับปี 2017 พบว่า

การก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ของครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 128,287 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 135,312 บาท ต่อครัวเรือนในช่วงเเรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น 5.5% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่อยู่อาศัยต่อหนี้ครัวเรือนทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก36.3% มาเป็น 37.3% ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009

หนี้เพื่อการบริโภคเพิ่ม ในส่วนของหนี้เพื่อการบริโภค (รวมหนี้รถยนต์) ซึ่งเป็นหนี้ที่มีสัดส่วนสูงที่สุดของครัวเรือนในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 137,678 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 139,904 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 1.0% สำหรับหนี้เพื่อการบริโภคนี้ถือเป็นหนี้ที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โดยเติบโตเฉลี่ย 7.0% ต่อปี ขณะที่หนี้ส่วนอื่น ๆ เติบโตเฉลี่ยเพียง 3.7% ต่อปี ทำให้หนี้เพื่อการบริโภค
มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 30.8% ในปี 2009 มาเป็นที่ 38.4% ในปัจจุบัน (2019)

การก่อหนี้เพื่อทำกิจการเกษตร ยังคงเพิ่มขึ้น จาก 49,273 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่
51,574 บาทต่อครัวเรือนคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 4.7% ทั้ง ๆ ที่กำไรจากกิจการการเกษตรลดลงในช่วงเดียวกัน คาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากการก่อหนี้เพื่อ ประคับประคองธุรกิจและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในช่วงที่ต้องเผชิญปัจจัยลบ รวมถึงอาจมีผลส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรต่อเนื่อง

ในทางกลับกัน การก่อหนี้เพื่อทำธุรกิจนอกภาคเกษตรลดลง จาก 30,120 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 ลดลงมาอยู่ที่ 29,478 บาทต่อครัวเรือนในปัจจุบัน คิดเป็นการลดลง -2.1% สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกำไรกิจการนอกภาคเกษตร

ทั้งนี้ หนี้ในส่วนนี้มีสัดส่วนมีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเคยมีสัดส่วนสูงถึง 16.3% ในปี 2009 ลดลงมาเหลือเพียง 8.1% ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากการที่จนวนครัวเรือนที่ทำกิจการ นอกภาคเกษตรลดลงจาก 30.5% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 25.2% ในปัจจุบัน อีกทั้งในบรรดาครัวเรือนที่ทำธุรกิจนอกภาคเกษตร สัดส่วนครัวเรือนที่กู้ก็ลดน้อยลงเช่นกันจาก 14.2% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 10.0% ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลด Outlook ไตรมาส 1/2020 ฉบับเต็ม ได้ที่ : SCB EIC 

]]>
1261075
“เอพี” ผ่อนคันเร่ง “คอนโดฯ” ปี’63 เปิดใหม่น้อยลง-งดพัฒนาห้องชุดหรูเวอร์ใจกลางเมือง https://positioningmag.com/1260452 Tue, 14 Jan 2020 09:51:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260452 ดูเหมือนว่าปี 2563 จะยังไม่สดใสนักสำหรับตลาดคอนโดฯ ทำให้ “เอพี” เลือกพัฒนาแบบระมัดระวัง เบื้องต้นวางแผนเปิด 4 โครงการ มูลค่ารวม 12,100 ล้านบาท ลดลงถึง 55% จากปีก่อน โดยเลือกเจาะกลุ่มเรียลดีมานด์ ขึงเพดานราคาไม่เกิน 1.8 แสนบาทต่อตร.ม. พร้อมปรับวิธีวิจัยตลาดใหม่ให้ลึกและเฉพาะกลุ่มมากขึ้น

“วิทการ จันทวิมล” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยถึงแผนการลงทุนพัฒนาคอนโดมิเนียมของบริษัทปีนี้ว่า เบื้องต้นวางแผนเปิดทั้งหมด 4 โครงการ มูลค่ารวม 12,100 ล้านบาท แบ่งเป็นคอนโดฯ ร่วมทุนกับมิตซูบิชิ เอสเตท 2 โครงการ และที่เอพีลงทุนเอง 2 โครงการ

มูลค่าดังกล่าวลดลง 55% จากการเปิดคอนโดฯ ปี 2562 ที่เอพีเปิดตัว 6 โครงการ มูลค่ารวม 27,100 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปีก่อน คอนโดฯ ที่เปิดตัวเป็นโครงการขนาดใหญ่หรือมูลค่าสูง เช่น The Address สยาม-ราชเทวี หรือ Life สาทร-เซียร์ร่า

เหตุที่ปีนี้เอพีลดการเปิดตัวโครงการแนวสูงเนื่องจากมี “ความไม่แน่นอน” ของตลาด ทั้งจากเศรษฐกิจซึ่งกระทบกำลังซื้อลูกค้า และดิสรัปชันทางเทคโนโลยีทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน และมีความต้องการแบบใหม่ในการอยู่อาศัย

อย่างไรก็ตาม วิทการกล่าวว่าเอพียังมีแผนสอง สามารถปรับเพิ่มหรือลดการเปิดตัวโครงการได้ตามจังหวะตลาด

ทีมผู้บริหารเอพี: (จากซ้าย) กมลทิพย์ บำรุงชาติอุดม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจคอนโดมิเนียม, พัชร ชยาสิริ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์คอนโดมิเนียม และ วิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์

“ปีนี้เป็นปีแห่งการปรับตัวสู้กับความไม่แน่นอน และไม่ยึดติดกับสิ่งที่เราเคยประสบความสำเร็จในอดีต” วิทการกล่าว “แต่โอกาสยังมีในกลุ่มเรียลดีมานด์ ทำให้เราเลือกทำคอนโดฯ ราคาเฉลี่ยไม่เกิน 1.8 แสนบาทต่อตร.ม.”

เพดานราคา 1.8 แสนบาทต่อตร.ม. มาจากศักยภาพของลูกค้าอยู่จริงส่วนใหญ่ผสมกับสภาพเศรษฐกิจที่เอพีประเมิน มองว่านี่จะเป็นราคาที่เหมาะสม เทียบกับที่ผ่านมา เอพีเปิดคอนโดฯ ราคา 2-3 แสนบาทต่อตร.ม. ในบางทำเล เช่น Rhythm เอกมัย เป็นทำเลที่ดึงดูดนักเก็งกำไรมากกว่า ซึ่งมาถึงวันนี้ นักเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดแทบไม่เหลืออยู่แล้ว

สำหรับ 4 โครงการดังกล่าว วิทการแย้มว่าส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ Life และแบรนด์ Aspire ซึ่งเป็นคอนโดฯ ตลาดกลางถึงกลางล่างของบริษัท ทำเลที่เปิดโครงการจะมีทั้งแนวรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วและแนวรถไฟฟ้าที่ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยเอพีหลีกเลี่ยงการลงตลาดเรดโอเชียน ซึ่งส่วนใหญ่คือพื้นที่ใกล้รถไฟฟ้ากลางใจเมือง

 

วิจัยตลาด 6 ไลฟ์สไตล์คนเมือง “ล็อกเป้า” ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม

วิทการยังกล่าวถึงการปรับวิธีคิดการทำวิจัยตลาดหาอินไซต์ของลูกค้าด้วย โดยขั้นตอนหลังจากตั้งเพดานราคาไม่เกิน 1.8 แสนบาทต่อตร.ม. เมื่อมองหาที่ดินต้องได้ในราคาที่พัฒนาเป็นห้องชุดแล้วราคาไม่เกินเพดาน จากนั้นที่ดินจะออกแบบโครงการอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการ Dynamic Personalized Model

จากยุคก่อนที่วิธีวิจัยตลาดคือการทำโฟกัสกรุ๊ปในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ใช้วิธีพูดคุยถามตอบ วิธีใหม่จะใช้เวลาและกำลังคนมากกว่า เพราะต้องลงพื้นที่จริงและติดตามดูวิถีชีวิต (Living Pattern) ของลูกค้า ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นโครงการที่มีองค์ประกอบและรายละเอียดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากกว่าเดิม

เอพี คอนโดฯ
6 กลุ่มไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคนเมือง วิจัยโดย เอพี ดีไซน์ แล็บ

ทั้งนี้ หลังจากปีก่อนที่ เอพี ดีไซน์ แล็บ เริ่มศึกษาตลาดด้วยวิธีใหม่ทำให้พบว่าคนเมืองมีพฤติกรรมการอยู่อาศัย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลัก คือ

1.Serenity Series คนเมืองที่หลีกหนีความวุ่นวาย มีโลกส่วนตัว ต้องการพื้นที่เพื่อผ่อนคลาย
2.Wellness Series คนเมืองที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ ต้องการพื้นที่ออกกำลังกายและกิจกรรมกลางแจ้ง
3.Experience Series คนเมืองที่ต้องการสีสันชีวิต ต้องการพื้นที่ที่ปรับเปลี่ยนให้ทันเทรนด์ตลอดเวลา
4.Naturality Series คนเมืองที่ต้องการธรรมชาติ บรรยากาศร่มรื่น
5.Co-Generations Series คนเมืองที่อาศัยร่วมกันหลายเจนเนอเรชั่น เช่น ครอบครัว Gen X ที่มีลูก Gen Alpha จึงต้องการพื้นที่ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวและพัฒนาการเด็ก
6.Co-Creation Series คนเมืองที่ต้องการพื้นที่ที่สาม เพื่อใช้ประชุม เรียนรู้ ต้องการ Co-Working Space

เอพี คอนโดฯ
คอนโดฯ Rhythm เจริญกรุง พาวิลเลียน

วิธีทำงานแบบนี้เริ่มนำมาใช้แล้วตั้งแต่ปีก่อน ยกตัวอย่างโครงการ Rhythm เจริญกรุง พาวิลเลียน ที่เปิดตัวเมื่อเดือนพ.ย. 62 ทำเลโครงการตรงข้ามโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ กรุงเทพ-ริเวอร์ไซด์ บนถนนเจริญกรุง เมื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายพบว่าเป็นไลฟ์สไตล์ Co-Generation ทั้งกลุ่มครอบครัวที่มีลูกแล้ว และกลุ่มผู้บริหารอายุน้อย

ดังนั้นโครงการจึงออกแบบมาให้ตอบโจทย์การเลี้ยงลูกแต่ต้องมีพื้นที่สงบส่วนตัว สำหรับผู้บริหารด้วย เช่น พื้นที่สระว่ายน้ำแบ่งบริเวณสระผู้ใหญ่และสระเด็กชัดเจน ทั้งเพื่อความปลอดภัยของเด็กและเพื่อให้ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้มากับลูกมีความเป็นส่วนตัว หลังเปิดขาย 2 เดือน ปัจจุบันมียอดขายแล้ว 42% ซึ่งเป็นไปตามเป้า

วันนี้การขาย (คอนโดฯ) ได้ 100% ตั้งแต่วันแรกไม่มีแล้วครับ แต่ควรจะทำยอดขายได้อย่างน้อย 40% ภายใน 3 เดือนแรก

— วิทการ จันทวิมล —

“วันนี้การขายได้ 100% ตั้งแต่วันแรกไม่มีแล้วครับ แต่ควรจะทำยอดขายได้อย่างน้อย 40% ภายใน 3 เดือนแรก” วิทการกล่าว “เนื่องจากเราขายเรียลดีมานด์ จะค่อยๆ ทยอยขายไปได้จนตึกเสร็จ แต่ตัวโครงการต้องติด Top of mind ของลูกค้าอย่างน้อย 5 อันดับแรก ทำให้แต่ละทำเลต้องลงลึกต่างกันไป เพราะแต่ละทำเลก็มีลูกค้าคนละแบบกัน”

]]>
1260452
5 อินไซต์การตลาด 5.0 ยุคที่ต้องสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ https://positioningmag.com/1205907 Mon, 31 Dec 2018 06:58:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205907 ต้องยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้นักการตลาดต้องเรียนรู้ให้ไว เพื่อรับมือให้ทัน

ถ้าย้อนเวลากลับไปจะพบว่า วันนี้การตลาดได้เข้าสู่ยุคที่ 5.0 แล้ว โดยยุค 1.0 คนส่วนใหญ่รับรู้ผ่านหนังสื่อพิมพ์และนิตยสาร ถัดมา 2.0 เริ่มไม่อยากอ่านเอง จึงให้ความสนใจกับวิทยุและโทรทัศน์ ยุค 3.0 เกิดขึ้นมาพร้อมกับการก่อตัวของยุคดิจิทัล จึงสนใจรับรู้ผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นยุค 4.0 เริ่มให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ในมือ ทั้งโทรศัพย์มือถือและโซเชียลมีเดีย

หลายคนยังเข้าใจว่า วันนี้พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในยุค 4.0 แต่แท้จริงแล้วปี 2018 เริ่มเห็นทิศทางเข้าสู่ยุค 5.0 ซึ่งเป็นยุคของการใช้สื่อและแพลตฟอร์มหลากหลาย (Omni-Channel) เพื่อสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ (Customer Experience)

และนี่คือ 5 อินไซต์การตลาด 5.0 กรุงศรี ออโต้ได้เผย 5 อินไซต์ของคนซื้อรถที่จะเป็นหัวใจในการมัดใจลูกค้า และเป็นเทรนด์การตลาดสินเชื่อยานยนต์ที่น่าจับตา ซึ่งยังสามารถนำไปปรับกับผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ ได้เช่นกัน

1. ฉันมีภาพลักษณ์

ด้วยราคาหลักแสนไปจนถึงหลักล้าน หลายคนจึงมองว่าการตัดสินใจซื้อรถยนต์สักหนึ่งคัน ผู้บริโภคต้องใช้เหตุผลเป็นหลัก และอาจลืมไปว่ารถส่วนตัวไม่ได้เป็นแค่ยานพาหนะที่ช่วยให้เดินทางสะดวกสบายขึ้นเท่านั้น แต่ดีไซน์และรูปแบบของรถยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ และสะท้อนตัวตนของผู้ขับขี่ได้ด้วย

เช่นดียวกัน ผู้ใช้บริการสินเชื่อยานยนต์ก็ไม่ได้มองหาแค่ แผนการผ่อนชำระที่ตอบโจทย์เท่านั้น แต่ยังมองหาบริการที่ช่วยลดความกังวล และเสริมความมั่นใจว่า สามารถครอบครองรถในฝันที่เข้ากับภาพลักษณ์ของตนเองได้

2. ฉันเลือกเอง

ยุคการตลาด 5.0 ถือเป็นยุคที่ผู้บริโภค มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นอย่างชัดเจน เพราะพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลมากมายได้ทุกที่ทุกเวลา และหลายครั้งก็ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าก่อนจะได้เห็นของจริงด้วยซ้ำ

จากการสำรวจของ Bain & Company พบว่า ผู้บริโภคกว่า 60% หาข้อมูลเกี่ยวกับรถบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และตัดสินใจเลือกแบรนด์ รุ่น ราคา ก่อนแวะไปโชว์รูม และแน่นอนว่า พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะเลือกผลิตภัณฑ์สินเชื่อยานยนต์ก่อนด้วยเช่นกัน

ดังนั้น บริการด้านสินเชื่อยานยนต์จึงต้องเข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ดิจิทัลของลูกค้า รวมถึงให้คำแนะนำที่เหมาะสม และให้ลูกค้าได้เลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดด้วยตนเอง

3. ฉันจะไม่ทน

ในยุคที่สมาธิของผู้บริโภคลดเหลือเพียง 8.25 วินาที ระยะเวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่างๆ จึงยิ่งหดสั้นลงตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ การเน้นให้ข้อมูลดอกเบี้ยและแผนการผ่อนชำระหลังลูกค้าตัดสินใจซื้อรถแล้วจึงอาจไม่เพียงพอ และเสี่ยงต่อการที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปเลือกแบรนด์อื่นได้

หากจะมัดใจลูกค้าในยุคการตลาด 5.0 ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ต้องสร้างความผูกพันกับผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนเริ่มกระบวนการซื้อรถ รวมถึงสร้างการจดจำ เพื่อให้พวกเขานึกถึงแบรนด์ทุกครั้งที่กำลังมองหารถคันใหม่

4. ฉันมีหลายร่าง

ด้วยโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ผู้บริโภคในยุคการตลาด 5.0 จึงมีโจทย์ในชีวิตได้มากกว่าหนึ่ง นั่นหมายความว่าเกณฑ์การแบ่งกลุ่มลูกค้าแบบเดิมอาจไม่สามารถเข้าถึงตัวตนแท้จริงของลูกค้าได้อีกต่อไป

ตัวอย่างเช่น สาวออฟฟิศอาจไม่ได้ต้องการใช้สินเชื่อเพื่อคนมีรถ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในชีวิตประจำวันเสมอไป แต่อาจกำลังมองหาเงินทุนเพื่อขยายกิจการส่วนตัว ดังนั้น คำถามสำคัญที่ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ต้องตอบให้ได้ก็คือ จะหาข้อมูลจากแหล่งใดเพื่อรู้จักลูกค้าให้ชัด และจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อย่างไร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบรับกับมิติการใช้ชีวิตที่หลากหลายขึ้นได้

5. ไม่ว่าทางไหน ฉันต้องได้มา

แม้ผู้บริโภคในยุคการตลาด 5.0 จะเสพข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียเป็นหลัก แต่ช่องทางออฟไลน์ยังมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประสบการณ์การซื้อรถ ลูกค้าอาจเริ่มจากการหาข้อมูล อ่านรีวิว เปรียบเทียบราคา และหาข้อมูลสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

แต่พวกเขาก็ยังคงต้องเดินเข้าโชว์รูมเพื่อทดลองขับ และพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงินก่อนยื่นเอกสาร ผู้ให้บริการสินเชื่อยานยนต์จึงต้องมีบริการครอบคลุมทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้สามารถมอบประสบการณ์ไร้รอยต่อให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง

ทีนี้เมื่อได้อินไซต์มาแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์จะนำไปปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน แม้ว่าข้อมูลทั้งหมดอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ แต่อย่างน้อยการเข้าใจผู้บริโภค ก็ทำให้เราก้าวนำคู่แข่งไปหนึ่งก้าวแล้ว.

]]>
1205907