แบรนด์สินค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 Jun 2022 05:40:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาม่า เนสกาแฟ ดัชมิลล์ คอลเกต ติดโผ “แบรนด์แห่งทศวรรษ” จัดโดย Kantar https://positioningmag.com/1388496 Mon, 13 Jun 2022 03:19:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388496 รางวัล Brand Footprint Awards 2022 ประเทศไทย ทำการคำนวณจากมาตรวัด Consumer Reach Points (อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค) ซึ่งเป็นวิธีคำนวณเฉพาะของ Kantar ครอบคลุม 570 แบรนด์ FMCG สำหรับประเทศไทย สะท้อนเสียงจากผู้บริโภค 26.2 ล้านครัวเรือน โดยปีนี้มีการมอบรางวัล 4 แบรนด์ในดวงใจผู้บริโภค “มาม่า เนสกาแฟ ดัชมิลล์ คอลเกต” เป็นแบรนด์แห่งทศวรรษ

Brand Footprint Awards 2022 ประเทศไทย โดย Kantar ปีนี้รางวัลจะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

  • Brands of The Decade รางวัลแบรนด์แห่งทศวรรษ ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด ต่อเนื่อง 10 ปีซ้อน
  • Most Chosen Brands รางวัลแบรนด์ยืนหนึ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด
  • Top Growing Brands รางวัลแบรนด์ดาวรุ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตสูงสุด
  • Top Outstanding Brands รางวัลแบรนด์ม้ามืด ที่มีความโดดเด่น
  • Top Outstanding Retailer รางวัลค้าปลีก ที่มีความโดดเด่น

การวัดจะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG ได้แก่ กลุ่มอาหาร, กลุ่มเครื่องดื่ม, กลุ่มผลิตภัณฑ์นม, กลุ่มทำความสะอาดบ้าน, กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล และ กลุ่มบิวตี้ รวมไปถึง กลุ่มร้านค้าปลีก ด้วย

Brands of The Decade รางวัลแบรนด์แห่งทศวรรษ

มอบให้กับแบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุดในปี 2021 และต่อเนื่อง 10 ปีซ้อน ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG

  • กลุ่มอาหาร – มาม่า อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 172 ล้านครั้ง
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์นม – ดัชมิลล์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 168 ล้านครั้ง
  • กลุ่มเครื่องดื่ม – เนสกาแฟ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 126 ล้านครั้ง
  • กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล – คอลเกต อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 106 ล้านครั้ง

 

Most Chosen Brands รางวัลแบรนด์ยืนหนึ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด

แบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุดในปี 2021 ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG

  • กลุ่มทำความสะอาดบ้าน – ไฮยีน อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 106 ล้านครั้ง
  • กลุ่มบิวตี้ – การ์นิเย่ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 29 ล้านครั้ง

(ทั้งสองแบรนด์เป็นแชมป์เก่าตั้งแต่ปีก่อนในหมวดสินค้าของตนเอง)

 

Top Growing Brands รางวัลแบรนด์ดาวรุ่ง ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตสูงสุด

แบรนด์ที่มีผู้บริโภคเลือกซื้อเติบโตมากที่สุดในปี 2021 ในแต่ละกลุ่มและหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ FMCG

  • กลุ่มเครื่องดื่ม – วิตอะเดย์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 35 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 12.6 ล้านครั้ง
  • กลุ่มอาหาร – เลย์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 159 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 10.4 ล้านครั้ง
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์นม – นมตราหมี อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 25 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 6.2 ล้านครั้ง
  • กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล – เทพไทย อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 17 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 4.4 ล้านครั้ง
  • กลุ่มทำความสะอาดบ้าน – ไฟน์ไลน์ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 53 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านครั้ง
  • กลุ่มบิวตี้ หมวดหมู่สกินแคร์สำหรับใบหน้า – จุฬาเฮิร์บ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 10 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านครั้ง
  • กลุ่มบิวตี้ หมวดหมู่เครื่องสำอางเมกอัพ – Merrezca อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 4.5 แสนครั้ง เพิ่มขึ้น 2.3 แสนครั้ง

(เทพไทย เคยได้รางวัลทั้งกลุ่มแบรนด์ดาวรุ่งและแบรนด์ม้ามืดเมื่อปี 2020 มาแล้ว)

 

Top Outstanding Brands รางวัลแบรนด์ม้ามืด ที่มีความโดดเด่น

รางวัลนี้จะอิงโดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้บริโภคในปี 2021 ซึ่ง Kantar มองเห็น 5 เทรนด์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน, การทำอาหารทานเองที่บ้าน, สุขอนามัย, การปรับเปลี่ยนให้เกิดความเรียบง่ายและเลอค่า และการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยแบรนด์ที่โดดเด่นที่สุดในแต่ละหมวด มีดังนี้

  • หมวดหมู่บิสกิตและเค้กรสชาติหวาน – ยูโร่ อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 29 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 5 ล้านครั้ง
  • หมวดหมู่อาหารแช่เย็นและแช่แข็ง – อีซี่โก อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 12 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 8 ล้านครั้ง
  • หมวดหมู่ทำความสะอาดพื้น – มาจิคลีน อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 14 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 1 ล้านครั้ง
  • หมวดหมู่บิวตี้ระดับพรีเมียม – Estee Lauder อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 2.1 แสนครั้ง
  • หมวดหมู่บิวตี้ประเภทเวชสำอาง – Eucerin อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 1 ล้านครั้ง
  • ประเภท E-retailer ค้าปลีกออนไลน์ – 7-eleven Online อัตราการเข้าถึงผู้บริโภค 3 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2.5 ล้านครั้ง

แบรนด์แห่งทศวรรษ

สำหรับเทรนด์ FMCG ในประเทศไทยนั้น “โฮวาร์ด ชาง” กรรมการผู้จัดการประเทศไทยและมาเลเซีย Kantar, Worldpanel Division กล่าวว่า กำลังใช้จ่ายต่อครัวเรือนนั้นเริ่มเล็กลงเพราะขนาดครัวเรือนที่เล็กลง อีกทั้งนักช้อปยังลดจำนวนแบรนด์ FMCG ที่เลือกซื้อจาก 25 แบรนด์ เหลือ 22 แบรนด์ต่อครัวเรือน ซึ่งทำให้โอกาสเติบโตของแต่ละแบรนด์ยากขึ้น ยกตัวอย่างในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีเพียง 2 ใน 50 แบรนด์ระดับโลกที่ยังสามารถเติบโตได้

กลยุทธ์การตลาดที่สำคัญของ FMCG จึงเป็นการหา “นักช้อปหน้าใหม่” ให้เข้ามาเลือกซื้อแบรนด์ตนเองมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความเข้าใจอินไซต์ของผู้บริโภคและนำมาดึงดูดให้เกิดการซื้อจริง

งานประกาศรางวัล Brand Footprint Awards 2022 ประเทศไทย มีเวทีเสวนา โดยมีตัวแทนจากแบรนด์ต่างๆ ที่น่าสนใจเข้าร่วมให้ความรู้ เช่น คอลเกต ที่ระบุถึงการเติบโตได้แม้เป็นช่วง COVID-19 เนื่องจากการมุ่งเน้นการขายออนไลน์ และเข้าใจการใช้กลยุทธ์ Personalized ในช่องทางนี้

ขณะที่ทาง Kao เจ้าของแบรนด์ “มาจิคลีน” ระบุถึงการรับมือกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อว่า แบรนด์จะเน้นเรื่องความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ เน้นทำโปรโมชันที่ดึงดูดลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์เพื่อรักษาฐานตลาดเดิมไว้ มากกว่าจะลงไปเล่นสงครามราคา เป็นจุดสำคัญที่บริษัทจะยังรักษาไว้

 

อ่านข่าวเกี่ยวกับสินค้า FMCG ที่น่าสนใจ

]]>
1388496
The Future 100 เทรนด์อนาคตปี 2022 ที่แบรนด์ต้องศึกษาและไล่ให้ทัน! https://positioningmag.com/1371065 Fri, 21 Jan 2022 07:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371065 “วันเดอร์แมน ธอมสัน” เปิดรายงานประจำปี The Future 100 คาดการณ์เทรนด์ที่น่าสนใจ 100 เรื่องใน 10 หมวดประจำปี 2022 โดย Positioning ขอคัด 10 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคชาวไทยหรือเราอาจนำมาปรับใช้ได้ ดังนี้

(สำหรับรายงานฉบับเต็ม ดาวน์โหลดได้ที่นี่)

วัฒนธรรม Virtual genuinfluencer

Virtual genuiunfluencer คำนี้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกโดยบริษัทวิจัยและคาดการณ์ตลาด WGSN ยกระดับจาก “อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง” เป็น “อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริงที่จริงใจและจับต้องได้สำหรับผู้ติดตาม”

Angie อินฟลูฯ เสมือนจริงที่โด่งดังในประเทศจีน

เทรนด์ของอินฟลูฯ เสมือนจริงนั้นโด่งดังมาจาก “จีน” และท่ามกลางอินฟลูฯ แนวใหม่นี้ “Angie” อินฟลูฯ โลกเสมือนที่ดังในแอปฯ Douyin มีความโดดเด่นกว่าเพื่อนเพราะเลือกที่จะนำเสนอ “ความไม่สมบูรณ์แบบ” เช่น งานผิวที่บางวันก็ผิวแห้งบ้าง มีรอยสิวบ้าง หรือรูปหน้าที่ไม่สมมาตรเท่ากัน ฟันไม่สวย การแต่งตัวเลือกที่จะใส่เสื้อยืดขาวธรรมดามากกว่าเสื้อผ้าแบรนด์เนม

เมื่อเดือนธันวาคม 2021 Angie มีฟอลโลเวอร์มากกว่า 3 แสนคนแล้ว และคนที่ติดตามชื่นชอบ Angie เพราะเห็นว่าเธอ “เรียล” ยิ่งกว่าคนจริงๆ เสียอีก

The Guardian รายงานเมื่อเดือนสิงหาคม 2021 ว่า การเป็นอินฟลูฯ ในยุคนี้เริ่มเปลี่ยนไป “เพราะการเป็นแรงบันดาลใจนั้นเริ่มถูกตีตัวออกห่างเสียแล้ว” คนต้องการความจริงมากขึ้น และแม้แต่อินฟลูฯ เสมือนจริงก็ต้องล้อตามแนวคิดแบบใหม่นี้เช่นกัน

 

เทคโนโลยี – “ซูเปอร์แอปฯ” เรืองอำนาจ

จีนกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนา “ซูเปอร์แอปฯ” ไปแล้ว ทำให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างฝันที่จะดันแอปฯ ของตัวเองให้เป็นซูเปอร์แอปฯ ให้สำเร็จ โดยรวมสารพัดฟังก์ชันไว้ในแอปฯ เดียว ตั้งแต่อีคอมเมิร์ซ บริการเรียกรถ แชท ชำระเงิน จนถึงบริการทางการเงิน

Robinhood Travel

ยกตัวอย่างปี 2021 แอปฯ เรียกรถและเดลิเวอรี Gojek ควบรวมกิจการกับ Tokopedia มาร์เก็ตเพลสที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย และมีบริการด้านการเงินและโลจิสติกส์เสริมไว้อยู่แล้ว การรวมกันครั้งนี้ทำให้เกิดแอปฯ ใหม่ชื่อ GoTo และมีผู้ใช้บริการกว่า 100 ล้านราย รายได้จากแอปฯ นี้คิดเป็น 2% ของขนาดเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของอินโดฯ

Grab ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ก็กำลังพยายามเป็นซูเปอร์แอปฯ เช่นกัน โดยขยายจากการเป็นแอปฯ เรียกรถและเดลิเวอรี มามีบริการทางการเงินร่วมด้วย โดยได้ใบอนุญาตเป็นดิจิทัลแบงก์ร่วมกับพาร์ทเนอร์ SingTel

ในประเทศไทยเราได้เห็นวิสัยทัศน์ของหลายแอปฯ ที่กำลังกรุยทางไปสู่ซูเปอร์แอปฯ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Line, AirAsia, Robinhood ที่ต่างประกาศศึกเรื่องนี้กันหมด

 

ท่องเที่ยว – ผจญภัยเชิงวิชาการ

การท่องเที่ยวที่ผสมผสานการผจญภัยเข้ากับความรู้วิชาการโดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นไกด์ให้ เทรนด์นี้กำลังเริ่มเป็นที่นิยมในภาคธุรกิจฮอสพิทาลิตี้ และเชื่อมโยงกับแบรนด์ที่ต้องการวางภาพลักษณ์มีสาระความรู้

กิจกรรมดูดาวที่ Hyatt Regency Maui Resort and Spa เกาะฮาวาย ร่วมกับ NASA

ยกตัวอย่างเมื่อปี 2021 โรงแรม Hyatt Regency Maui Resort and Spa บนเกาะฮาวาย ร่วมมือกับ NASA จัดโปรแกรมดูกลุ่มดาว 80 กลุ่ม โดยมี Edward Mahoney แอมบาสเดอร์ของ NASA เป็นไกด์แนะนำการดูดาว ซึ่งทำให้แขกได้ประสบการณ์แบบใหม่ไม่เหมือนใคร

ประสบการณ์เหล่านี้สามารถเลือกหัวข้อได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ดนตรี ไปจนถึงเรื่องสุดเฉพาะเจาะจงอย่างสถานีวิทยุสาธารณะ

 

แบรนด์และการตลาด – สร้างแบรนด์ใน “เกม”

สำหรับคนรุ่นใหม่ “เกม” คือสิ่งที่จะมาทดแทนพื้นที่อย่างสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ เพราะเกมคือที่ที่พวกเขาใช้ชีวิต ทำให้การโฆษณาผ่านเกมจะเติบโตสูงมาก โดย Technavio รายงานว่าโฆษณาในเกมจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 3,540 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 และแบรนด์ที่เข้าโลกแห่งเกมก่อนจะเป็นผู้ชนะ

Vans World ในเกม Roblox

เกมที่เป็นผู้นำในการผสานแบรนด์เข้าสู่เกมได้อย่างแนบเนียนคือ Roblox ซึ่งมีผู้เล่นเฉลี่ยถึงวันละ 46 ล้านคน ดึงดูดให้สารพัดแบรนด์เข้ามาทำแคมเปญ เช่น

  • Ralph Lauren เปิดเทศกาลฤดูหนาวในเกมและมีคอลเล็กชันดิจิทัลให้ซื้อจริงๆ ด้วย
  • Nike เปิด Nikeland ให้ผู้เล่นมาลองสวมใส่สินค้า Nike และมีมินิเกมให้เล่นในเทศกาล
  • Vans เปิดสเก็ตพาร์คในเกมให้ผู้เล่นมาลองเล่นสเก็ตบอร์ด ออกแบบลายสเก็ตบอร์ดและรองเท้า Vans เองได้
  • Hyundai เปิดพาร์คในเกมให้ผู้เล่นมาแข่งรถ เล่นมินิเกม และจะได้รู้จักกับเทคโนโลยีของ Hyundai ไปในตัว

แบรนด์อื่นๆ ก็เคยสร้างเกมผสมผสานกับโลกเสมือนจริง เพื่อให้คนรู้จักแบรนด์และสนุกไปกับองค์ประกอบต่างๆ มาแล้ว เช่น โลกเสมือนของ P&G, Joytopia ของ BMW, เมืองเสมือนจริงของ SK-II เป็นต้น

 

อาหารและเครื่องดื่ม – ทานอาหารแบบคน Blue Zones

Blue Zones กำลังเป็นกระแส นิยามของ Blue Zones คือ พื้นที่บนโลกที่ประชากรมีอายุยืนเป็นพิเศษ ทำให้นักวิจัยพยายามถอดรหัสว่าทำไมคนแถบนั้นจึงอายุยืน เช่น โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น, อิคาเรีย ประเทศกรีซ, โอกลิอัสตรา แคว้นซาร์ดิเนีย, โลมา ลินดา รัฐแคลิฟอร์เนีย, นิโคยา เพนนินซูลา ประเทศคอสตาริกา

แบรนด์ใช้แรงบันดาลใจจาก Blue Zones มาพัฒนาเมนูสินค้า

หนึ่งในปัจจัยสุขภาพดีของ Blue Zones ถูกมองว่าเกิดจาก “อาหาร” ทำให้แบรนด์เริ่มนำเอาเคล็ดลับอาหารจาก Blue Zones มาใช้พัฒนาสูตรสินค้าและโปรโมต เช่น Bush’s Beans โปรโมตถั่วและพืชปรุงสำเร็จรสชาติแบบคน Blue Zones ใช้สำหรับทานกับข้าวหรือใส่ในซุป

เพราะคนเราย่อมอยากจะมีอายุยืนและมีสุขภาพดีแบบองค์รวม ทำให้กระแส Blue Zones กำลังมา ทั้งในด้านอาหาร และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่มีความสุข ใส่ใจชุมชน สิ่งแวดล้อมด้วย

 

บิวตี้ – จุดสิ้นสุดของคำว่า “ปกติ”

คอนเซ็ปต์ One-size-fit-all สำหรับตลาดบิวตี้นั้นถูกโยนลงถังขยะไปแล้ว เป็นอีกปีที่ตอกย้ำกระแสนี้เมื่อผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Unilever ออกแถลงเมื่อเดือนมีนาคม 2021 ว่า บริษัทจะเลิกใช้คำว่า “Normal” หรือ ปกติ ในการอธิบายคุณสมบัติของสินค้า เพราะแบรนด์ต้องการจะต่อสู้กับการสเตอริโอไทป์ การสร้างบรรทัดฐานความงาม และตอบรับความงามในทุกๆ รูปแบบมากขึ้น

แบรนด์เครื่องสำอางและสกินแคร์ Pleasing โฆษณาถึงจุดยืนของแบรนด์ ไม่มีการแบ่งแยกเพศ

ตัวอย่างแบรนด์ใหม่ๆ ที่เปิดตัวมาด้วยคอนเซ็ปต์การทลายสเตอริโอไทป์ เช่น Pleasing แบรนด์ใหม่จากนักร้องดัง Harry Styles ออกสินค้ามาด้วยคอนเซ็ปต์ที่ใช้ได้ทุกเพศ มีการใช้ทั้งนายแบบนางแบบโฆษณาสินค้า ซึ่งมีทั้งยาทาเล็บ ลิป เซรั่มรอบดวงตา เซรั่มสำหรับใบหน้า

ตลาดบิวตี้ปีนี้น่าจะได้เห็นการสร้างความเป็นตัวของตัวเอง การโอบรับความงามในทุกๆ รูปแบบมากยิ่งขึ้น

 

รีเทล – Chat Commerce

ไทยและเวียดนามถือเป็นตลาดผู้นำของการใช้ Chat Commerce หรือการขาย/ติดต่อกับลูกค้าผ่านแอปฯ แชทต่างๆ และเทรนด์นี้กำลังขยายตัวในทุกประเทศ พร้อมกับการหาเทกนิกใหม่ๆ มาดึงดูดลอยัลตี้ของลูกค้า

เมื่อเป็นเพื่อนกันบน WeChat อินฟลูฯ เสมือนจริงจะส่งข้อความโปรโมชันมาให้ และโพสต์เทกนิกแต่งหน้าให้ชมเรื่อยๆ (Photo: Jing Daily)

ยกตัวอย่างเช่น Perfect Diary แบรนด์เครื่องสำอางที่กำลังมาแรงในจีน มีกลุ่มเป้าหมายเป็น Gen Z ทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในทุกช่องทางโซเชียลมีเดีย และในแง่ของแอปฯ แชท แบรนด์ก็เปิดบัญชี WeChat ให้อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริงของแบรนด์  “Xiao Wanzi” โดยตั้งเป็นกรุ๊ปแชท มีฟอลโลเวอร์ที่ชื่นชอบในแบรนด์เข้ามาคุยพร้อมกัน คนที่เข้ากรุ๊ปนี้จะได้เห็นสินค้าใหม่และโปรโมชันใหม่ก่อนใคร และจะได้แรงบันดาลใจการแต่งหน้าจากคนที่อยู่ในกรุ๊ปด้วยกัน

หลายแบรนด์เริ่มโฟกัสกับการทำ Chat Commerce มากขึ้น แม้แต่ลักชัวรีแบรนด์ก็เริ่มแล้วเช่นกัน ในประเทศไทย ทั้งแบรนด์ Chanel, Burberry, Louis Vuitton มีการเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่าน Line พัฒนาสติ๊กเกอร์แบบพิเศษ จัดไลฟ์แฟชั่นโชว์ให้ชม รวมถึงลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่าน Line Shopping ได้ด้วย

 

ลักชัวรี – ผู้ถือ “คริปโต” คืออีลีทกลุ่มใหม่ของโลก

ยุคก่อนหน้านี้ การแสดงฐานะของเศรษฐีอาจมาพร้อมกับกระเป๋าแบรนด์เนม นาฬิกาหรู หรือรถสปอร์ต แต่ยุคนี้ “อีลีท” กลุ่มใหม่แสดงออกถึงความร่ำรวยด้วยการถือครอง “NFT” เซเลปดารา นักกีฬา นักธุรกิจ เศรษฐีต่างพุ่งตัวเข้าซื้องานศิลปะ NFT ชิ้นดังๆ พร้อมกับความ ‘บูม’ ของตลาดเมื่อปี 2021

NFT
ผลงาน HUMAN ONE จาก Beeple

การนำชิ้นงาน NFT ราคาแพงมาตั้งเป็นรูปโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดีย เหมือนกับการประกาศความเป็นเศรษฐีคริปโต แสดงสถานะในแบบใหม่ และการได้เป็นเจ้าของ NFT บางชิ้นจะทำให้เจ้าของมีสิทธิเข้าสู่เครือข่ายเศรษฐีคริปโต ได้เข้าคลับเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับนักสะสม

คริปโตและ NFT จึงทำงานในโลกเสมือนจริงเหมือนๆ กับในโลกที่จับต้องได้ นั่นคือการเป็นเจ้าของบางอย่างคือการแสดงฐานะ ในอนาคต เมื่อโลกเมตาเวิร์สบูมมากกว่านี้ “อวาตาร์” ของคนในเมตาเวิร์สจะเป็นจุดสนใจของทุกๆ คน เพราะนั่นคือสิ่งบ่งบอกสถานะความร่ำรวย เป็นความลักชัวรีแบบใหม่ที่เริ่มมีการลงทุนกันแล้ว

 

สุขภาพ – ดูแลสุขภาพจิตของ “เด็กๆ”

ภาวะฉุกเฉินของ “สุขภาพจิตในกลุ่มเยาวชน” ทำให้แพลตฟอร์มต่างๆ ต้องปฏิรูปข้อจำกัดการเข้าถึงการใช้งานแอปฯ และเกมต่างๆ

(Photo Illustration by Ajay Kumar/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

ในช่วงเกิดโรคระบาด ปัญหานี้ยิ่งหนักข้อขึ้น ยกตัวอย่างในสหราชอาณาจักร พบว่า เคสการเข้าพบจิตแพทย์ของเด็กเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเป็นกว่า 2 แสนเคส หรือในสหรัฐฯ พบว่า มีเด็กเข้าห้องฉุกเฉินเนื่องจากสภาวะทางจิตเพิ่มขึ้น 24% ในกลุ่มเด็กวัย 5-11 ปี และเพิ่มขึ้น 31% ในกลุ่มเด็กวัย 12-17 ปี (เทียบปี 2019 กับ 2020)

จากเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ยกตัวอย่างโปรเจ็กต์ Instagram Kids ภายใต้บริษัท Meta ต้องหยุดการพัฒนาชั่วคราวเมื่อเดือนกันยายน 2021 เพื่อรับฟังพ่อแม่ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้กำหนดนโยบายรัฐให้มากขึ้น ก่อนจะเปิดตัว แพลตฟอร์มนี้ที่มุ่งหมายจะให้เป็นโซเชียลมีเดียของเด็กวัย 10-12 ขวบโดยเฉพาะ เพื่อให้การกลั่นกรองเนื้อหาทำได้ง่ายขึ้น ผู้ปกครองควบคุมสิ่งที่เด็กๆ รับรู้ได้ดีขึ้น

ในประเทศจีนจะยิ่งเห็นได้ชัด เพราะจีนเริ่มจำกัดเวลาเล่นเกมของเยาวชนมากขึ้นไปอีก และทำให้ ByteDance บริษัทแม่ของ Douyin ต้องทำระบบให้เด็กๆ วัยต่ำกว่า 14 ปี ใช้แอปฯ ได้ไม่เกินวันละ 40 นาทีเท่านั้น

 

การงาน – รับสมัครงานเพื่อลุย “เมตาเวิร์ส”

จากเทรนด์ทั้งหมดที่พูดถึง สิ่งหนึ่งที่คุณคงเห็นได้ชัดคือ โลกเสมือนจริง หรือ เมตาเวิร์ส กำลังมาถึง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ AR, เกม, ร้านค้าดิจิทัล, สินค้าดิจิทัล ทุกสิ่งที่เข้าไปอยู่ในเมตาเวิร์สต้องการคนทำงานเบื้องหลังเพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

ภาพจาก virtualspatialsystems.com

นั่นทำให้การรับสมัครตำแหน่งงานมาพัฒนาด้านนี้โดยเฉพาะเริ่มขึ้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่น Nike เริ่มรับสมัครดีไซเนอร์สินค้าเสมือนจริง เพื่อมาอยู่ในทีมครีเอทีฟสินค้าดิจิทัล ตำแหน่งนี้ถูกบรรยายหน้าที่ว่าจะต้องมา “ริเริ่มการปฏิวัติดิจิทัลและโลกเสมือนจริงที่ Nike”

เป็นไปได้สูงว่าสถานการณ์การรับสมัครคนทำงานเกี่ยวกับเมตาเวิร์สจะกลับไปเหมือนช่วงที่โซเชียลมีเดียบูม เพราะคนทำงานด้านนี้ยังมีจำกัด และบริษัทต่างๆ ต้องเปิดศึกแย่งตัวพนักงานกัน

]]>
1371065
สุดยอดแบรนด์ FMCG ยอดนิยมในไทย ปี 2021 โดย Kantar https://positioningmag.com/1337966 Mon, 21 Jun 2021 12:07:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337966 Kantar จัดทำรายงาน Brand Footprint ปี 2021 โดยในประเทศไทยมีการสำรวจข้อมูลจาก 26 ล้านครัวเรือน แบ่งรางวัลแบรนด์ยอดนิยมเป็น 3 ประเภท ครอบคลุม 6 กลุ่มสินค้า ดังนี้

(หมายเหตุ: CRPs คือ Consumer Reach Points หรืออัตราการเข้าถึงผู้บริโภค)

“แบรนด์ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด ปี 2021”

กลุ่มอาหาร – “มาม่า” – 170 ล้าน CRPs
กลุ่มเครื่องดื่ม – “เนสกาแฟ” – 135 ล้าน CRPs
กลุ่มผลิตภัณฑ์นม – “ดัชมิลล์” – 177 ล้าน CRPs
กลุ่มทำความสะอาดบ้าน – “ไฮยีน” – 112 ล้าน CRPs
กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล – “คอลเกต” – 117 ล้าน CRPs
กลุ่มบิวตี้ – “การ์นิเย่” – 30 ล้าน CRPs

Highlights: ทุกแบรนด์เป็นแชมป์เก่าในกลุ่มสินค้าของตนเองต่อเนื่องจากปี 2020 ขณะที่กลุ่มบิวตี้นั้นเป็นครั้งแรกที่ Kantar จัดทำสำรวจ

“แบรนด์ดาวรุ่ง ผู้บริโภคเลือกซื้อเพิ่มขึ้นสูงสุด ปี 2021”

กลุ่มอาหาร – “อร่อยดี” –37 ล้าน CRPs (+9 ล้าน)
กลุ่มเครื่องดื่ม – “C-vitt” – 22 ล้าน CRPs (+11 ล้าน)
กลุ่มผลิตภัณฑ์นม – “ดีมอลต์” – 27 ล้าน CRPs (+6 ล้าน)
กลุ่มทำความสะอาดบ้าน – “โอโม” – 68 ล้าน CRPs (+4 ล้าน)
กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล – “เบนเนตต์” – 37 ล้าน CRPs (+6 ล้าน)
กลุ่มบิวตี้ – “นีเวีย” – 15 ล้าน CRPs (+1 ล้าน)

Highlights: แบรนด์ C-vitt เคยติดโผแบรนด์ “ม้ามืด” เมื่อปี 2020 เห็นได้ว่าเป็นสินค้าที่กำลังมาแรงอย่างต่อเนื่อง

“แบรนด์ ‘ม้ามืด’ แห่งปี 2021”

  • “มรกต” – 70 ล้าน CRPs
    เข้าถึงผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 5 ล้าน CRPs เป็นแบรนด์เบอร์ 1 ในกลุ่มน้ำมันพืช ได้อานิสงส์หลักจากการทำอาหารทานเองที่บ้าน
  • “วิตอะเดย์” – 3 ล้าน CRPs
    เบอร์ 1 ในกลุ่มสินค้าน้ำดื่มเพิ่มวิตามิน ได้อานสิงส์จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ต้องการน้ำดื่มที่เสริมภูมิคุ้มกันให้ตนเอง
  • “ช้อปปี้” – 8 ล้าน CRPs
    เบอร์ 1 ในกลุ่มอีคอมเมิร์ซ มีการเข้าถึงเพิ่มถึง 4 ล้าน CRPs ในปีเดียว
]]>
1337966
Top 10 แบรนด์ที่โดนใจคนไทย ในปี 2561 https://positioningmag.com/1167527 Thu, 26 Apr 2018 09:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167527 Y&R ประเทศไทย เอเจนซี่โฆษณา ได้สำรวจทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์จำนวน 1,220 แบรนด์ ครอบคลุมสินค้า 120 หมวด จากกลุ่มตัวอย่าง คนไทย 13,380 คน อายุ 18-65 ปี พบว่า คนไทยรู้จักและรับรู้ 10 แบรนด์แรก ดังนี้ 

ปี 2560 มีแบรนด์ใหม่ จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ 35,809 แบรนด์ เพิ่มจาก 2 ปีก่อน ที่มี 20,000 แบรนด์

เวิร์คพอยท์ เป็นแบรนด์ไทยแบรนด์เดียวในจำนวน 10 แบรนด์ ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี 

ที่น่าสนใจ คือ 7 ใน 10 แบรนด์โดนใจ คือ แบรนด์สินค้าเทคโนโลยี เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค

ปัจจุบัน แบรนด์ที่ท็อปฟอร์มก้าวขึ้นมาโดดเด่นในตลาด กลายเป็นแบรนด์ที่แจ้งเกิดไม่นานต่ำกว่า 20 ปี มีสัดส่วนมากถึง 50% อีก 50 เป็นแบรนด์เก่าแก่ในตลาดนานกว่า 40 ปี สะท้อนว่า ถึงเป็นแบรนด์หน้าใหม่แต่ถ้ามีสปีดในการทำตลาด ก็มีโอกาสเติบโตได้ ในขณะที่แบรนด์อยู่นานจึงไม่ใช่สิ่งการันตีว่าจะได้รับการรับรู้ในระยะยาว.

]]>
1167527
ถอดบทเรียน ออเจ้ามาร์เก็ตติ้ง เมื่อบุพเพอาละวาดจับ “คู่แข่ง” มาช่วยปั่นกระแสละครฟีเวอร์ https://positioningmag.com/1160748 Thu, 08 Mar 2018 23:15:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160748 นาทีนี้ ใคร ๆ ก็พูดประโยค “ออเจ้า” กล่าวขวัญถึงละคร “บุพเพสันนิวาส” ที่ออกอากาศทางช่อง 3 ซึ่งสร้างปรากฏการณ์ให้วงการทีวี แวดวงการตลาดหลายด้านจริง ๆ

ปรากฏการณ์แรก เป็นละครที่ชุบชีวิต และกระชากเรตติ้งของช่องให้พุ่งขึ้นทะลุทะลวงทุกพื้นที่ อย่างวันที่ 7 มีนาคม 2561 เรตติ้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ขึ้นไป 16 เรตติ้งทั่วประเทศอยู่ที่ 11.4 ไหนแฮชแท็กละคร #บุพเพสันนิวาส จะติดเทรนด์ทวิตเตอร์ขึ้นอันดับ 1 ของโลก ด้วยยอดการทวีต (Tweets) มากกว่า 6 แสนทวีต และยอดยังเพิ่มขึ้นแตะ “ล้านทวีต” ด้วย

ไม่ใช่แค่ช่อง 3 ที่ได้ประโยชน์เต็ม ๆ แต่ยังมีแบรนด์สินค้าและบริการจำนวนมาก ตบเท้าเข้ามาเกาะแสละคร แทรกตัวสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) และทำการตลาดกันอย่างคึกคักแบบ Realtime เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น หยิบมะม่วงแบรนด์ 7selected มาขาย, ไทวัสดุ ขายกระทะ, ท็อปส์ขายน้ำจิ้มสุกี้, บาร์บีคิวพลาซ่า ขายปิ้งย่าง, Pentel ขายดินสอ เป็นต้น

ยังมีเบอร์ลี่ยุคเกอร์ (บีเจซี) ยังเบียดตัวมาทำตลาดเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ด้วย ทั้งที่ไม่ค่อยได้เห็นเครื่องมือทางการแพทย์เข้ามาเกาะเทรนด์มากนัก  

และน่าสนใจมากขึ้น วิธีการคิดทำตลาดเปลี่ยนไป จากเดิมห้ามคู่แข่งนำคอนเทนต์ใช้ หวงลิขสิทธิ์ แต่กลับกลายเป็นช่องเปิดกว้างให้ผู้บริโภค คู่แข่งนำไปใช้เยอะ ๆ ช่วยปั่นกระแสให้ช่อง 3 ดังพลุแตกกว่าเดิม เช่น สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส GMMTV นำไปเรียกแขกเรียกคนดูบนโลกออนไลน์

นอกจากนี้ ในอดีตยากมากที่จะเห็นคู่แข่งช่วยโปรโมตทำตลาดให้อีกฝ่าย เพราะนั่นหมายถึงการกระตุ้นให้ศัตรูการค้ามีการเติบโตขึ้น

“ความสำเร็จของช่อง 3 ไม่ได้มีแค่การวัดผลจากยอดไลก์ แชร์ คอมเมนต์ การสร้างเอ็นเกจเมนต์มหาศาล แต่เป็นการเปลี่ยนคู่แข่ง และลูกค้าให้มาช่วยเป็นกระตุ้นให้ดังมาก เป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่ามากขึ้น จากเดิมแบ่งชัดธุรกิจเธอธุรกิจชั้น” ดร.เอกก์ ภทรธนกุล” อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์

อย่างไรก็ตาม การเกาะเทรนด์เป็นเรื่องดี เพื่อไม่ให้แบรนด์ตกขบวน ขณะเดียวกันช่วยสร้างการรับรู้ได้อีกทางหนึ่งด้วย เพราะผู้บริโภคที่อาจไม่เคยรู้จักแบรนด์ก็ได้รู้จักจากละคร อย่างเครื่องมือทางการแพทย์ของบีเจซี แต่สิ่งสำคัญที่นักการตลาด แบรนด์สินค้าและบริการต้องไม่ลืมก็คือ จะอิงกระแสไหน จะต้องดูดีเอ็นเอของแบรนด์ด้วย ว่ามีความเกี่ยวข้องกับกับคอนเทนต์นั้น ๆ หรือเปล่า อย่างละครมีความน่ารัก สนุกสนาน แต่แบรนด์สินค้าต้องใช้ความน่าเชื่อถือในการทำตลาด หากเข้าไปเล่นกับกระแส อาจสร้างผลลัพธ์เชิงลบกับแบรนด์ได้

นอกจากการสร้างแบรนด์ให้เกิดพร้อมกระแส สิ่งที่ต้องทำคือให้ความรู้ (Knowledge) ของแบรนด์แก่ผู้บริโภคด้วยว่าเป็นสินค้าอะไร และรุกต่อให้ถึงขั้นเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ (Brand Preference) สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รัก (Brand Love) ไปจนถึงขั้นสุดแบรนด์ที่ผู้บริโภคหลงใหล (Passion) ให้ได้

เพราะยุคนี้ การตลาดบางอย่างฟีเวอร์ก็จริง แต่ทุกอย่างมาเร็วและไปเร็วมาก จนบางครั้งทำให้แบรนด์ชะงักทำการตลาดอยู่แค่ขั้นสร้าง Brand Awareness เพราะมัวแต่เล่นกับกระแสจนเกินไป

แบรนด์ต้องไม่ย่ำอยู่กับที่ แต่ต้องทำการตลาดให้แบรนด์ได้ใจผู้บริโภคใน State ต่าง ๆ ที่สำคัญอย่าติดหล่มกับยอดไลก์ แชร์ คอมเมนต์ที่เห็นผลเพียงข้ามคืน

]]>
1160748
เปิดโผ 10 แบรนด์คนไทยชื่นชอบ ปี 2017 iPhone-LINE-Facebook 3 อันดับแรก Uniqlo ติดด้วย https://positioningmag.com/1152124 Fri, 29 Dec 2017 06:11:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152124 YouGov หน่วยงานวิจัยการตลาดและวิเคราะห์ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลคะแนนประจำปีของ YouGov Brandindex ได้ทำการรวจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยเกี่ยวกับแบรนด์ที่ชื่นชอบประจำปี 2560 (Thailand 2017 Top 10 Brand Advocacy Ranking) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึง ตุลาคม 2560 พบว่า

Apple iPhone เป็นแบรนด์ที่คนไทยเทใจให้เป็นแบรนด์อันดับ 1 ในใจ  โดยมีคะแนน 75.2 จะเห็นว่าทุกครั้งที่ไอโฟนออกสินค้าใหม่ สาวกไม่ใช่ทั่วโลกที่รอคอย แต่ไทยก็ไม่น้อยหน้า

ส่วนแบรนด์อันดับ 2 ที่ครองใจคนไทยคือ LINE จะเห็นว่าแอปพลิเคชั่นแชทสุดฮิตอย่าง LINE นั้น คนไทยใช้มากสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น

อันดับ 3 คือ Facebook โซเชียลมีเดียอันดับ 1 ที่คนไทยใช้มากสุดกว่า 47 ล้านคน แต่เมื่อแยกเป็นเมืองที่ใช้เฟซบุ๊กมากสุด “กรุงเทพฯ” นำโด่งเป็นที่ 1 ด้วยเฟซบุ๊กตอบจริตคนไทยมากกว่าทั้งการใช้งานง่าย สื่อสาร โพสต์รูปได้จำนวนมาก ไม่จำกัดเหมือนทวิตเตอร์ โพสต์ข้อความได้เพียงหลักร้อยคำ หรืออินสตาแกรมที่เน้นโชว์รูปมากกว่า

อันดับ 4 คือ Apple Store หากใช้สมาร์ทโฟนไอโฟนแล้ว แน่นอน Apple store เป็นแอปพลิเคชั่นที่ต้องพ่วงการใช้งานอยู่ด้วย อันดับ 5 และอันดับ 6 คือรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น TOYATO และ HONDA (cars) ตามลำดับ โดยทั้ง 2 แบรนด์ เป็นรถยนต์เบอร์ 1 และ 2 ยี่ห้อแรก ๆ ที่คนไทยตัดสินใจเลือกซื้อขับบนท้องถนน

โตโยต้า ยังเป็นบริษัทที่ทำรายได้สูงสุดติดท็อป 100 ของประเทศไทยด้วย ในปี 2559 โตโยต้า มอเตอร์ส (ประเทศไทย) โกยรายได้รวมกว่า 419,094 ล้านบาท กำไรสุทธิกว่า 30,860 ล้านบาท ส่วนฮอนด้า โอโต้โมบิล (ประเทศไทย) กวาดรายได้กว่า 169,666 ล้านบาท กำไรสุทธิกว่า 2,248 ล้านบาท

อันดับ 7 Uniqlo (ยูนิโคล่) ฟาสต์แฟชั่นเบอร์ 3 ของโลกจากประเทศญี่ปุ่น รองจากซาร่า (ZARA) และเอชแอนด์เอ็ม (H&M) โดยยูนิโคล่ ถือเป็นแฟชั่นแบรนด์เดียวที่ติดท็อป 10 ที่ชาวไทยเทใจให้ ปัจจุบันยูนิโคล่ยังได้รับความนิยมสูงสุดจาก 3 ประเทศในทวีปเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง สิงคโปร์ ส่วนในมาเลเซียรั้งเบอร์ 2

อันดับ 8 และ 9 คือแบรนด์กีฬาอย่าง Nike และ Adidas ตามลำดับ

ขณะที่ Youtube อยู่อันดับ 10 จะเห็นว่าพฤติกรรมการผู้บริโภคชาวไทยรับชม Youtube สูงสุดติด 1 ใน 10 ประเทศทั่วโลกด้วย

อย่างไรก็ตาม การสำรวจแบรนด์ที่ชื่นชอบดังกล่าว ใช้เกณฑ์คะแนนวัดจากคำถามที่ว่า

  1. คุณจะแนะนำแบรนด์นี้ให้กับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวหรือไม่
  2. คุณจะแนะนำให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวเลี่ยงที่จะเลือกซื้อแบรนด์นี้หรือไม่

ผลคะแนนที่ได้จะคำนวณโดยการหักลบจากผลตอบรับทางด้านลบออกจากผลตอบรับในทางบวก เพื่อให้ได้คะแนนสุทธิของแต่ละแบรนด์ขึ้นมานั่นเอง.

]]>
1152124