โบนัส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Feb 2024 12:29:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 JobsDB เปิดข้อมูลตลาดงานปี 2566 พนักงานไทยได้ “เงินเดือน” เพิ่มขึ้นชนะเงินเฟ้อ…แต่ “โบนัส” ลดลง https://positioningmag.com/1464294 Wed, 28 Feb 2024 10:51:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464294
  • JobsDB สำรวจตลาดงานไทยปี 2566 พบผู้ประกอบการ 80% ขึ้น “เงินเดือน” ให้พนักงาน ปรับขึ้นเฉลี่ย 6.69% เอาชนะเงินเฟ้อ แต่ลดโบนัสลงเหลือเฉลี่ย 1.5 เดือน
  • ตลาดงานปี 2567 มีแนวโน้มที่ดี 51% ของผู้ประกอบการมีแผนจะรับพนักงานเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรกนี้ และมีเพียง 1% ที่มีแผนปรับลดพนักงาน
  • JobsDB เปิดรายงานการจ้างงาน ผลตอบแทน และสวัสดิการปี 2567 โดยมีการสำรวจไปในช่วงเดือนกันยายน ปี 2566 มีการสำรวจผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการจ้างงานในไทย 758 ราย และแบ่งการสำรวจตามขนาดบริษัทได้ดังนี้ บริษัทขนาดเล็ก (ไม่เกิน 50 คน) สัดส่วน 35% บริษัทขนาดกลาง (51-99 คน) สัดส่วน 16% และบริษัทขนาดใหญ่ (100+ คน) สัดส่วน 49%

    ภาพรวมพบว่าเมื่อปีก่อน 99% ของบริษัทที่สำรวจมีการจ้างพนักงานใหม่อย่างน้อย 1 อัตรา ที่น่าสนใจคือ  เทรนด์รูปแบบวิธีการจ้างงานพบว่า บริษัททุกขนาดมีการจ้าง “พนักงานตามสัญญาจ้าง / พนักงานชั่วคราวแบบเต็มเวลา” เพิ่มขึ้นมากกว่ารูปแบบการจ้างงานแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนได้ว่าบริษัทต้องการความยืดหยุ่น และมีโปรเจกต์พิเศษที่ต้องการตำแหน่งรับผิดชอบชั่วคราว

    JobsDB

    ฟากการลดจำนวนพนักงานนั้น ปี 2566 มีผู้ประกอบการ 19% ที่ลดจำนวนพนักงานไป เทรนด์เลิกจ้างชะลอตัวเล็กน้อยจากปี 2565 ที่มีบริษัท 20% ที่ลดพนักงาน

    ด้าน 5 อันดับแรกประเภทงานที่มีการจ้างงานเพิ่มมากที่สุดเมื่อปี 2566 ได้แก่ 1) ธุรการและทรัพยากรบุคคล 2) บัญชี 3) การขาย/พัฒนาธุรกิจ 4) การตลาด/การสร้างแบรนด์ และ 5) วิศวกร

     

    นายจ้างขึ้น “เงินเดือน” ให้มากกว่าเงินเฟ้อ

    สำหรับเทรนด์ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ JobsDB พบว่า เมื่อปี 2566 มีนายจ้าง 80% ที่ “ขึ้นเงินเดือน” ให้กับพนักงาน และในกลุ่มบริษัทที่ขึ้นเงินเดือนมีการปรับขึ้นเฉลี่ย 6.69% ซึ่งถ้าเทียบกับอัตราเงินเฟ้อประเทศไทยในปี 2565 ที่ปรับขึ้นมา 6.08% ทำให้การขึ้นเงินเดือนเมื่อปีก่อนเอาชนะเงินเฟ้อที่พนักงานเคยเสียเปรียบไปได้ (*อัตราเงินเฟ้อเมื่อปี 2566 อยู่ที่ 1.2% ข้อมูลจากสภาพัฒน์)

    ทว่า การให้ “โบนัส” นั้นปรับลดลง โดยเมื่อปี 2566 บริษัทมีการให้โบนัสเฉลี่ย 1.5 เดือนเท่านั้น เทียบกับปี 2565 ที่ให้เฉลี่ย 1.8 เดือน

    ด้านการ “เลื่อนขั้น” ให้พนักงาน ปีก่อนมีบริษัท 62% ที่เลื่อนตำแหน่งให้พนักงาน และกลุ่มพนักงานที่ได้เลื่อนขั้นจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเฉลี่ย 10.6%

     

    เทรนด์ปี 2567 ส่วนใหญ่ยังรับพนักงานเพิ่ม

    มาถึงแนวโน้มของปี 2567 ผลสำรวจนี้พบว่า 51% ของบริษัทที่สำรวจมีนโยบายรับพนักงานเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรกนี้ 48% เน้นการดูแลพนักงานที่มีอยู่หรือไม่มีแผนจะรับเพิ่ม มีแค่ 1% เท่านั้นที่วางแผนจะลดจำนวนพนักงาน

    เงินเดือน

    น่าสนใจว่าบริษัทที่มีแนวโน้มจะรับพนักงานใหม่มากที่สุดนั้นคือ “บริษัทขนาดเล็ก” มี 54% ที่จะเปิดรับเพิ่ม ในทางกลับกัน “บริษัทขนาดใหญ่” นั้นมี 4% ที่วางแผนจะปลดพนักงานซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด

    JobsDB มองว่าเทรนด์การรับพนักงานประเภทสัญญาจ้างหรือชั่วคราวจะยังมาแรง เพราะบริษัทมองเหตุผล 3 อันดับแรกที่ทำให้ต้องการพนักงานรูปแบบการจ้างแบบนี้คือ 1) เหมาะกับช่วงขยายธุรกิจ 2) การจัดการจำนวนพนักงานสามารถเพิ่มหรือลดได้ และ 3) เป็นการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน

    ]]>
    1464294
    ‘IBM’ ฟ้องอดีตผู้บริหารประเทศไทยเรียก ‘โบนัส’ มูลค่า 15 ล้านบาทคืน เหตุย้ายไปอยู่กับคู่แข่ง https://positioningmag.com/1419176 Tue, 14 Feb 2023 06:52:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419176 หากพูดถึงชื่อหญิงแกร่งของวงการไอทีไทย ชื่อของ ปฐมา จันทรักษ์ ต้องขึ้นมาเป็นชื่อแรก ๆ แน่นอน เพราะคร่ำวอดอยู่ในวงการมานานกว่า 30 ปี ได้ร่วมงานกับทั้ง ไมโครซอฟท์, IBM และล่าสุด Accenture แต่เพราะการย้ายไปร่วมงานกับ Accenture ก็ทำให้เกิดเรื่องราวฟ้องร้อง เนื่องจากถือเป็นบริษัทคู่แข่งของ IBM

    IBM (ไอบีเอ็ม) บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลกกำลัง ฟ้องร้อง ปฐมา จันทรักษ์ อดีตผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย โดย IBM ต้องการเรียกคืนโบนัสมูลค่า 4.7 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 15 ล้านบาท เนื่องจากเธอนั้นทำผิดสัญญา โดยย้ายไปทำงานกับบริษัท Accenture ซึ่งเป็นคู่แข่งกับ IBM โดยตรง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นคู่แข่งรายใหญ่ที่สุด

    “หน่วยงานของ IBM และ Accenture แข่งขันกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านข้อมูล การช่วยทรานส์ฟอร์มองค์กรให้เป็นดิจิทัล และการให้คำปรึกษา ทั้งในระดับโลกและภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” ทนายความของ IBM เขียนไว้ในคำฟ้อง

    สำหรับ ปฐมา จันทรักษ์ ได้ร่วมงานกับ IBM ตั้งแต่ปี 2018 ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทั่วไป หรือ MD ของบริษัท และลาออกในช่วงต้นปี 2022 และหลังจากที่ลาออกไปได้ 1 เดือน ปฐมาก็ได้ร่วมงานกับ Accenture ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยในเดือน เม.ย. 2022

    ซึ่งการที่ปฐมาลาออกไปร่วมงานกับ Accenture ถือเป็นการฝ่าฝืนสัญญาของ IBM เนื่องจากโบนัสมูลค่า 4.7 แสนดอลลาร์สหรัฐนั้น ถือเป็น เงินพิเศษเพื่อไม่ให้เธอเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัท และห้ามไม่ให้ไปมีส่วนร่วมกับองค์กรคู่แข่งจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด โดยทาง IBM ระบุว่า บริษัทได้เจรจาขอเงินคืนจากปฐมาแล้ว แต่เธอเลือกปฏิเสธที่จะคืนเงิน จนนำไปสู่การฟ้องร้องดังกล่าว

    อย่างไรก็ตาม ทางปฐมา และ Accenture ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ

    Source

    ]]>
    1419176
    ‘Google’ เลื่อนจ่าย ‘โบนัส’ บางส่วน เนื่องจากต้องรัดเข็มขัดสู้วิกฤตศก. https://positioningmag.com/1416146 Fri, 20 Jan 2023 06:28:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416146 ต้องยอมรับว่าปีที่ผ่านมาไม่ใช่ปีที่ดีนักของเหล่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก ทำให้ต้องมีการปรับลดจำนวนพนักงาน รวมถึงบางบริษัทเองต้องลดการจ่ายโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือน เช่นเดียวกับ Google บริษัทลูกของ Alphabet ที่ต้องเลื่อนจ่ายโบนัสบางส่วนให้กับพนักงาน

    โดยปกติแล้ว กูเกิล (Google) จะจ่ายโบนัสให้พนักงานภายในวันที่ 15 มกราคม อย่างในปี 2021 บริษัทก็แจกโบนัสพนักงานทั่วโลกถึงคนละ 1,600 ดอลลาร์ หรือกว่า 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 ที่ผ่านมา จากภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้บริษัทต้องรัดเข็มขัด ส่งผลให้พนักงานบางส่วนจะได้รับโบนัสที่ 80% ในเดือนมกราคมนี้ ส่วนอีก 20% เลื่อนจ่ายไปก่อน โดยคาดว่าจะได้อีกทีในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

    “เราได้แจ้งพนักงานล่วงหน้าตั้งแต่ปีที่แล้ว ว่าเราจะจ่ายโบนัสล่วงหน้า 80% และส่วนที่เหลือจะจ่ายในช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน”

    ที่น่าสนใจคือ กูเกิลประกาศถึงนโยบายการจ่ายโบนัสใหม่ โดยนับตั้งแต่ปี 2024 การจ่ายโบนัสจะถูกเลื่อนไปภายในเดือนมีนาคมแทน ซึ่งนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากบริษัทพยายามที่จะจำกัดการใช้จ่ายท่ามกลางความต้องการที่ชะลอตัวในวงกว้างและสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

    นโยบายลดการใช้จ่ายเริ่มเห็นตั้งแต่ปีก่อน Sundar Pichai CEO ของ Google ที่จำต้องลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คนในแผนกวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ยกเลิกการพัฒนา Google Pixelbook รุ่นใหม่ และเลิกให้บริการเกมดิจิทัล Stadia โดยทั้งหมดที่ทำเพื่อให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น 20%

    ทั้งนี้ Alphabet มีกำหนดจะรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยนักวิเคราะห์คาดว่ารายได้จะเติบโตน้อยกว่า 2% จากปีก่อนหน้า ตามรายงานของ Refinitiv ขณะที่กำไรต่อหุ้นคาดว่าจะลดลงเหลือ 1.18 ดอลลาร์จาก 1.53 ดอลลาร์ จากที่มูลค่าหุ้นของบริษัทได้ลดลง 31% ในปีที่ผ่านมา

    CNBC / Reuters

    ]]>
    1416146
    ผลสำรวจปี 64 เผย ‘ซีอีโอ’ ได้ค่าตอบแทนมากกว่าพนักงานทั่วไป 254 เท่า 85% มาจากโบนัส! https://positioningmag.com/1382092 Wed, 20 Apr 2022 14:53:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382092 ย้อนไปในปี 2019-2020 ที่การระบาดของ COVID-19 ได้เริ่มระบาด ในช่วงปีนั้นค่าตอบแทนของ CEO ลดลงเพียง 1.6%  จาก 15.7 ล้านดอลลาร์เป็น 15.5 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากเหล่าผู้บริหารยอมลดหรือไม่รับเงินเดือนเพื่อพยุงบริษัทจากผลกระทบของการระบาด แต่เพียงปีเดียวช่องว่างของค่าตอบแทน CEO ก็กว้างขึ้นอีกครั้ง

    จากปีแรกที่เกิดการระบาดระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องลดค่าตอบแทนที่ได้ แต่พอสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ รายได้ก็กลับมามากกว่าที่หายไป โดยจากผลสำรวจของ Equilar 100 พบว่าในปี 2021 CEO จากบริษัทใหญ่ ๆ ทำรายได้มากกว่าพนักงานทั่วไปเฉลี่ย 254 โดยเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

    ในปี 2021 ค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทน CEO อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 31% จากปีก่อน โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ค่าตอบแทนสูงขึ้นเนื่องมากจากโบนัสและรางวัลหุ้นตามผลประกอบการของตลาดและผลิตภาพของบริษัท ซึ่งคิดเป็น 85% ของค่าตอบแทน อีก 15% เป็นเพียงเงินเดือนเท่านั้น

    ขณะที่ค่าตอบแทนพนักงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 68,935 ดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 71,869 ดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นประมาณ 4% เท่านั้น โดย Equilar ระบุว่า การเติบโตส่วนหนึ่งมาเกิดจากบริษัทที่เสนอโบนัส แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่แพร่ระบาดที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและอุปทานแรงงานที่ตึงตัวขึ้น

    ช่องว่างที่กว้างขึ้นแสดงให้เห็นว่าผลกำไรขององค์กรอยู่ที่จุดสูงสุด แต่ในขณะที่ คนงานซึ่งหลายคนอยู่ในแนวหน้าของวิกฤตยังไม่ได้รับผลตอบแทน Sarah Anderson ผู้เชี่ยวชาญด้านค่าตอบแทนผู้บริหารของ  สถาบัน Think Thank กล่าว

    “ในปี 2564 บริษัทมุ่งเน้นไปที่การรักษาผู้บริหารให้มีความสุขและไม่ต้องกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนงาน แต่ในระยะยาว และแม้ในระยะสั้น มันจะไม่เป็นผลดีต่อผลประกอบการ”

    ทั้งนี้ สถาบันนโยบายเศรษฐกิจ ประเมินค่าตอบแทนของ CEO เพิ่มขึ้น 1,322% ตั้งแต่ปี 1978 เทียบกับการเพิ่มขึ้น 18% สำหรับคนทำงานทั่วไปในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ที่ค่าจ้างคนงานทั่วไปไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วเท่ากับที่ CEO นั้นมีเหตุผลหลายประการ ทั้งอัตราการว่างงานสูง การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล การพังทลายของสหภาพแรงงาน มาตรฐานแรงงานต่ำ การเพิ่มขึ้นของเงื่อนไขการไม่แข่งขันและการเอาท์ซอร์สในประเทศ

    ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ พบว่า ข้อมูลค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ในปีที่แล้ว เป็น 31.58 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่การเติบโตของค่าจ้างดูเหมือนจะชะลอตัวลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยที่ประมาณ 8.5% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

    Source

    ]]>
    1382092
    ส่องรายได้ ‘ทิม คุก’ หลังพา ‘Apple’ ขึ้นแท่นบริษัทแรกของโลกที่มูลค่าทะลุ 3 ล้านล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1369741 Fri, 07 Jan 2022 06:26:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369741 หากพูดถึงชื่อของ Apple ชื่อของตำนานอย่าง ‘สตีฟ จ็อบส์’ ผู้ก่อตั้งบริษัทคงเป็นชื่อแรกที่หลายคนนึกถึง แต่ผู้มาสานต่อความยิ่งใหญ่และพา Apple ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดก็คือ ‘ทิม คุก’ ที่รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) มาตั้งแต่ปี 2011 หรือก่อนที่สตีฟ จ็อบส์ จะเสียชีวิตไม่นาน ดังนั้น มาส่องรายได้ของซีอีโอบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกกันว่าแต่ละปีมีรายรับมหาศาลแค่ไหน

    เผลอแป๊บเดียว ทิม คุก ก็บริหาร Apple มาเป็นเวลา 10 ปีเต็ม แม้ในช่วงแรกอาจมีข้อกังขาว่า เขาจะสามารถแทนที่สตีฟ จ็อบส์ได้ดีแค่ไหน โดยเฉพาะความสามารถในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทิม คุก ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเขาไม่ใช่แค่สานต่อ แต่ยังพา Apple เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดโดยไม่ต้องพึ่งพาแค่ iPhone

    ภายใต้การบริหารของ ทิม คุก Apple ทำรายได้จากส่วนของการบริการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสตรีมวิดีโอและเพลง ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถลดการพึ่งพิงยอดขาย iPhone จากกว่า 60% ของรายได้รวมในปี 2018 เหลือราว 52% ในปีการเงินที่ผ่านมา และทิม คุก ยังพา Apple ขึ้นเป็นบริษัทแห่งแรกที่มีมูลค่าตลาด 1 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2018 และขึ้นเป็น 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2020 ก่อนจะทำลายสถิติเดิมในมกราคมปี 2022 ที่มูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์

    โดยในปี 2021 รายได้ของ Apple เติบโตขึ้น 33% มียอดขายกว่า 3.65 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้น ผลงานดีขนาดนี้ หลายคนคงอยากรู้ว่า CEO ของ Apple จะมีรายได้เท่าไหร่ ซึ่งก็มีการเปิดเผยจาก CNBC ว่า ในปี 2021 ทิม คุก มีรายได้อยู่ราว 98.73 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3,300 ล้านบาท เลยทีเดียว โดยแบ่งเป็น

    • เงินเดือน 3 ล้านดอลลาร์ (ราว 100.7 ล้านบาท)
    • โบนัส 12 ล้านดอลลาร์ (ราว 402.7 ล้านบาท) 
    • ค่าตอบแทนอื่น ๆ 1.39 ล้านดอลลาร์ (ราว 46.7 ล้านบาท) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนตัว 712,488 ดอลลาร์ ค่ารักษาความปลอดภัย 630,630 ดอลลาร์ การช่วยเหลือ 17,400 ดอลลาร์ สำหรับแผน 401(k) ของเขา เบี้ยประกันชีวิต 2,964 ดอลลาร์ และเงินชดเชย 23,077 ดอลลาร์ สำหรับวันหยุดพักผ่อน
    • Stock Awards หรือ การได้รับหุ้นของบริษัทตามข้อตกลงที่ทำไว้ 82.35 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,763.7 ล้านบาท)

    ในส่วนของผลตอบแทนที่เป็นหุ้นนั้น ทิม คุก จะได้รับการทยอยส่งมอบภายใน 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2020 – 2025 โดย Apple พิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ มูลค่าของบริษัทที่เติบโตขึ้น, ผลประกอบการ, บทบาทและประสิทธิภาพการทำงานในฐานะ CEO รวมถึงการทำกำไรเมื่อเทียบกับคู่แข่งในระดับใกล้เคียงกัน

    อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมหุ้นที่ ทิม คุก ได้รับ ในปี 2020 เขาได้รับค่าตอบแทนอยู่ที่ 14.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 493.3 ล้านบาท) ส่วนปี 2019 อยู่ที่ 11.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 385.9 ล้านบาท)

    ทั้งนี้ ค่าตอบแทนในปี 2021 ของ ทิม คุก มากกว่าพนักงานทั่วไป 1,447 เท่า หากคำนวณจากค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่ 68,254 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ในปี 2015 ทิม คุก เคยเปิดเผยว่า เขามีแผนจะบริจาคทรัพย์สมบัติของเขาเพื่อการกุศล

    Source

    ]]>
    1369741
    ‘Evergreen’ แจกโบนัสสูงสุด 40 เดือน แม้ปีที่แล้วมีปัญหา ‘เรือเอเวอร์ กีฟเวน’ ขวางคลองสุเอซ https://positioningmag.com/1369319 Tue, 04 Jan 2022 07:51:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369319 ในช่วงเดือนมีนาคมปี 63 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะจำกรณีของ ‘เรือเอเวอร์ กีฟเวน (Ever Given)’ เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ของบริษัท เอเวอร์กรีน มารีน คอร์ป (Evergreen) บริษัทขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน ได้ขวาง คลองสุเอซ จนทำให้การขนส่งสินค้าล่าช้า โดยมีรายงานว่าบริษัทได้แจกจ่ายโบนัสสูงสุด 40 เดือนให้กับพนักงาน

    แม้ปีที่ผ่านมา บริษัทจะเจอปัญหาที่ เรือเอเวอร์ กีฟเวน มีที่เกยตื้นขวางคลองสุเอซ ส่งผลให้เรือลำอื่นไม่สามารถแล่นผ่านบริเวณดังกล่าวได้ แต่ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีบริษัทเอเวอร์กรีนก็ยังมีกำไรสุทธิ 158,270 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1,347.32% ต่อปี โดยมีรายได้ต่อหุ้น 30.27 ดอลลาร์ไต้หวัน

    โดยมีรายงานว่า บริษัทได้แจกโบนัสพนักพนักงานถึง 40 เดือน โดยบางคนได้รับโบนัสรายบุคคลประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน และบางรายได้โบนัสสิ้นปีรวมมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์ไต้หวันจากฐานเงินเดือนพื้นฐาน 60,000 ดอลลาร์ไต้หวันและทำงานที่บริษัทมานานกว่า 10 ปี อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ยืนยันจำนวนโบนัสส่วนบุคคล โดยระบุเพียงว่าพนักงานแต่ละคนได้รับการชดเชยตามผลงาน

    Yang Ming Marine Transport Corp บริษัทในเครือที่ใหญ่เป็นอันดับถัดไปของ Evergreen ให้โบนัสพนักงานด้วยเงินเดือนสูงสุด 8 เดือน โดยบริษัทรายงานกำไรสุทธิ 109,8800 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 3 ไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 5,839% จากปีก่อนหน้า กำไรต่อหุ้นของบริษัทแตะ 32.73 เหรียญไต้หวัน ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาบริษัทใกล้เคียง

    ทั้งนี้ บริษัทเดินเรือกล่าวว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นผลมาจาก อัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางปัญหาการ ขาดแคลนแรงงานและความแออัดของท่าเรือทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 โดยข้อมูลตลาดหุ้นไต้หวันเปิดเผยว่าตลอดทั้งปี หุ้นของบริษัทเอเวอร์กรีนเพิ่มขึ้น 253.81% ส่วน Yang Ming Marine Transport Corp เพิ่มขึ้น 325.64% ตามลำดับ

    Source

    ]]>
    1369319
    ขาดเเรงงาน บริษัทในออสเตรเลีย ทุ่ม ‘โบนัส-ขึ้นเงินเดือน’ เเย่งชิงพนักงานทักษะสูง https://positioningmag.com/1361613 Thu, 11 Nov 2021 11:11:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361613 หลายธุรกิจในออสเตรเลีย ประสบปัญหาขาดเเคลนเเรงงานอย่างหนัก หลังต้องปิดประเทศมานานเกือบ 2 ปี บริษัทต่างๆ เริ่มใช้กลยุทธ์เสนอโบนัสเเละปรับขึ้นเงินเดือนเพื่อเเย่งชิงพนักงานทักษะสูงที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาด

    บรรดาบริษัทด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบรวมกิจการ ถึงกับต้องเสนอโบนัสให้กับพนักงานใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี เเละใช้งบในการสรรหาบุคลากรเพิ่มขึ้นถึง ‘สองเท่า

    โดยต้องออกนโยบายใหม่ ให้มีการพิจารณาเพิ่มเงินเดือนปีละสองครั้ง และปรับเพิ่มฐานเงินเดือนขึ้นถึง 15% เพื่อแย่งตัวพนักงานใหม่และรักษาพนักงานเดิม เพราะสายงานนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงวิกฤตโควิด

    เช่นเดียวกับ บริษัทวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงธุรกิจภาคบริการต่างๆ ที่กำลังเจอปัญหาไม่มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน หลังออสเตรเลียปิดพรมแดนเป็นเวลานานเกือบ 2 ปี ตามมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด

    พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาทำธุรกิจออนไลน์ เเละความต้องการเเรงงานด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

    SEEK เว็บไซต์จัดหางานชื่อดังของออสเตรเลีย เผยว่า โฆษณารับสมัครงานใหม่ตอนนี้ เพิ่มขึ้นถึง 54% จากช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด เเต่จำนวนคนที่มาสมัครงานกลับลดลง

    ในกลุ่มสายงานการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ ความปลอดภัยไซเบอร์ และการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ อาจเรียกเงินเดือนเพิ่มได้ถึง 20% เพราะกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด

    โดยบริษัทซอฟต์แวร์เเห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ เสนอ ‘Sign-on Bonus’ กว่า 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 2.4 เเสนบาท) เงินก้อนให้เปล่ากับพนักงานใหม่ที่ได้ตกลงเซ็นสัญญาทำงานด้วย

    ขณะที่การเพิ่มค่าจ้างเป็นวิธีหลักในการดึงดูดและรักษาพนักงาน แต่การยืดหยุ่นให้ทำงานที่บ้านหรือ ‘Work from Home’ ได้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยจูงใจคนทำงาน

    แม้ว่าออสเตรเลียจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการเเละเตรียมเปิดพรมแดน หลังประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครอบคลุม เเต่บริษัทจัดหางานในออสเตรเลีย เตือนว่า ภาวะขาดแคลนเเรงอาจจะรุนเเรงกว่าเดิมในปีหน้า เนื่องจากคนทำงานจำนวนมากที่ทนการปิดประเทศมายาวนานไม่ไหวจึงพากันออกไปหางานทำในต่างประเทศเเทน

    ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า ระบุว่า ชาวออสเตรเลีย 2 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 25 ล้านคน ได้เลื่อนการยื่นขอหรือต่ออายุหนังสือเดินทางมา ตั้งแต่ต้นปี 2020 จากสถานการณ์โรคระบาด แต่ปัจจุบันจำนวนผู้สมัครเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสองเท่าทุก ๆ สองเดือน

    ความเคลื่อนไหวนี้ สะท้อนให้เห็น ‘ภาวะสมองไหล’ ของเเรงงานทักษะสูง ไปยังตลาดสำคัญๆ ทั่วโลก อย่างเช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของชาวออสเตรเลียที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศ

     

    ]]>
    1361613
    แจกแล้วแจกอีก ‘Amazon’ อัดฉีด ‘โบนัส’ แก่พนักงานช่วงคริสต์มาสอีกคนละ 300 ดอลลาร์ https://positioningmag.com/1308168 Sun, 29 Nov 2020 07:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308168 ถือเป็นปีทอง ‘Amazon’ อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของโลกที่ได้อานิสงส์ COVID-19 ดันยอดใช้งานพุ่งกระฉูดจนต้องเปิดรับพนักงงานเพิ่มอีกมหาศาล พร้อมทั้งขึ้นค่าแรงและโบนัสกระจายตั้งแต่ช่วงครึ่งปีแรก และในช่วงปลายปีที่มี ‘วันขอบคุณพระเจ้า’ และ ‘วันคริสต์มาส’ ที่เป็นวันหยุดแถมยังเป็นช่วงช้อปปิ้งของชาวอเมริกัน Amazon เลยต้องอัดฉีดเพิ่มสักหน่อย

    เพราะ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการไปห้าง Amazon ก็เลยเลื่อนวันจัดโปรโมชัน ‘Amazon Prime Day’ วันช้อปปิ้งลดราคาครั้งใหญ่ประจำปีจากเดือนกรกฎาคมเป็น 13-14 ตุลาคมที่ผ่านมาแทน และเพื่อเป็นการขอบคุณพนักงานที่ต้องทำงานในช่วงวันหยุด โดย Dave Clark รองประธานอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการค้าปลีกของ Amazon กล่าวว่า พนักงานปฏิบัติงานเต็มเวลาที่ทำงานกับบริษัทตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม จะได้รับโบนัส 300 ดอลลาร์ (ราว 9,300 บาท) ส่วนพนักงานพาร์ตไทม์ที่ทำงานในช่วงเวลาเดียวกันจะได้รับโบนัส 150 ดอลลาร์ (ราว 4,650 บาท)

    “ฉันอยู่ที่ Amazon มา 22 ช่วงเทศกาลวันหยุดและเทศกาลครั้งนี้ไม่เหมือนใครอย่างแน่นอน ฉันรู้สึกขอบคุณทีมของเราที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการรับใช้ชุมชนของพวกเขา” Clark กล่าว

    (Photo by Sean Gallup/Getty Images)

    ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Amazon ได้เคยอนุมัติงบ 500 ล้านดอลลาร์ให้เป็นโบนัสแก่พนักงานระดับแนวหน้าที่ยังคงทำงานต่อไปท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19  นอกจากนี้ บริษัทยังใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนมีนาคมในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการลดการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในการทำงาน ซึ่งรวมถึงการขึ้นค่าจ้างอุปกรณ์ความปลอดภัยและมาตรการทำความสะอาดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจ่ายค่าจ้างชั่วคราวและจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าในช่วงที่เกิดการระบาดใหญ่

    อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ Amazon แต่ร้านค้าปลีกอื่น ๆ อาทิ  Walmart และ Target ได้จ่ายโบนัสให้กับคนงานของพวกเขาเมื่อช่วงเทศกาลช้อปปิ้งในช่วงวันหยุดเริ่มขึ้นเช่นกัน

    Source

    ]]>
    1308168
    ญี่ปุ่นลด “โบนัสข้าราชการ” ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ลดช่องว่างรายได้กับคนที่เดือดร้อนจากไวรัส https://positioningmag.com/1305068 Sat, 14 Nov 2020 15:04:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305068 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจลดการจ่ายเงินพิเศษหรือเงินโบนัสแก่ข้าราชการในปีงบประมาณ 2020 เพื่อลดช่องว่างรายได้ระหว่างข้าราชการ และพนักงานบริษัทเอกชนที่เดือดร้อนจากการระบาดใหญ่ของโรค COVID-19

    มติข้างต้นจะถูกเสนอสู่ที่ประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ซึ่งจะสิ้นสุดในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ เพื่อขออนุมัติอย่างเป็นทางการ โดยมตินี้สอดคล้องกับคำแนะนำของสำนักข้าราชการพลเรือน (NPA) เนื่องจากเงินโบนัสของภาคเอกชนต่ำกว่าของภาครัฐ

    หากที่ประชุมฯ ผ่านมติดังกล่าว ถือเป็นการลดเงินโบนัสของข้าราชการครั้งแรกในรอบ 10 ปี จะส่งผลให้เงินโบนัสฤดูร้อน และฤดูหนาวประจำปีของข้าราชการทั่วประเทศในปีงบประมาณ 2020 อยู่ที่ 4.45 เดือน ลดลง 0.05 เดือน เมื่อเทียบกับเงินโบนัสของปีงบประมาณก่อน

    ขณะเดียวกันรายได้ต่อปีของข้าราชการจะเฉลี่ยอยู่ที่ 6.73 ล้านเยน (ราว 2 ล้านบาท) ลดลง 21,000 เยน (ราว 6,300 บาท)

    สื่อท้องถิ่นรายงานว่าตั้งแต่ข้าราชการญี่ปุ่นถูกห้ามนัดหยุดงาน หรือดำเนินการเจรจาต่อรอง ต้นสังกัดของข้าราชการเหล่านั้นได้เสนอฐานเงินเดือนอันเหมาะสมต่อคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาทุกปี เพื่อรับรองว่าฐานเงินเดือน และเงินโบนัสของข้าราชการเท่ากับของพนักงานบริษัทเอกชน

    ]]>
    1305068
    สิงคโปร์ งัดวิธี “เพิ่มโบนัส” จ่ายเงินกระตุ้นให้ประชาชน “มีลูก” ช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1300225 Tue, 06 Oct 2020 13:28:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300225 รัฐบาลสิงคโปร์ หาสารพัดวิธีแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ เตรียมเพิ่มเงินโบนัสกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกในช่วงวิกฤต COVID-19 สวนทางกับอินโดนีเซียฟิลิปปินส์ที่มีปัญหาตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงล็อกดาวน์ 

    หนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลในช่วงนี้ คือ ชาวสิงคโปร์จำนวนมากเลื่อนแผนการมีลูกของออกไป เพราะมีความเครียดทางการเงิน จากรายได้ลดน้อยลง และบางคนถึงขั้นตกงาน เพราะบริษัทจำเป็นต้องลดต้นทุนด้วยการปลดพนักงาน

    Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ ระบุว่า โครงการกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกมากขึ้นดังกล่าว กำลังอยู่ในช่วงพิจารณา โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเงินและวิธีการจ่ายเงินโบนัส จะแจ้งให้ประชาชนทราบในเร็ว ๆ นี้

    สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลก และปีนี้มีอัตราการเกิดต่ำสุดในรอบ 8 ปี ซึ่งอัตราการเกิดในปี 2018 คือ 1.14 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน

    ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามส่งเสริมให้คนในประเทศมีลูก ตามนโยบายมีลูกเพื่อชาติด้วยการจ่ายเงินให้ประชาชนมาหลายทศวรรษ ซึ่งปัจจุบันมีการจ่ายเงินโบนัสให้ประชาชนที่มีบุตรสูงถึง 10,000 เหรียญสิงคโปร์ (ราว 2.2 เเสนบาท)

    หลายประเทศในเอเชีย กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง เเละอาจเลวร้ายลงไปอีกในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่มีอัตราการเกิดต่ำมากอยู่เเล้ว

    อย่างไรก็ตาม ปัญหาอัตราการเกิดต่ำของสิงคโปร์เเละญี่ปุ่น กลับตรงกันข้ามกับเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ 

    กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) คาดการณ์ว่า หากมาตรการการล็อกดาวน์ในฟิลิปปินส์ ยังต่อเนื่องไปถึงสิ้นปีนี้ จะทำให้มีการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจเพิ่มขึ้นเกือบ 50% หรือจำนวน 2.6 ล้านคน

    ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 108.4 ล้านคน เเละมีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 รุนเเรงในอาเซียน โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 307,000 คนเเล้ว

    วุฒิสมาชิก Risa Hontiveros หัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านสตรี ให้ความเห็นกับ BBC ว่าปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในฟิลิปปินส์ถูกมองข้ามไปในช่วงที่ประเทศเจอวิกฤต COVID-19 รัฐบาลควรจะเเก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังเเละควรเพิ่มเจ้าหน้าที่หญิงเพื่อทำงานนี้ด้วย

     

    ที่มา : BBC , Telegraph

     

    ]]>
    1300225