คนรวย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 04 Mar 2024 05:10:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ต้องรวยแค่ไหนถึงจะได้เป็น Top 1% !! เปิดรายชื่อ 10 ประเทศที่เข้าสมาคม “คนรวย” ยากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1464850 Sun, 03 Mar 2024 16:15:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464850 รายงาน Wealth Report 2024 จากไนท์แฟรงค์เปิดรายชื่อประเทศที่ต้องมีสินทรัพย์ส่วนตัวสูงที่สุดเพื่อจะได้เข้าสมาคม “คนรวย” ระดับ Top 1% ของประเทศ โดยแชมป์ปีนี้ตกเป็นของเจ้าเก่า “โมนาโก” ขณะที่ในเอเชียคือ “สิงคโปร์”

Wealth Report 2024 จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ “ไนท์แฟรงค์” มีการประเมินสินทรัพย์ของประชากรใน 17 เขตการปกครอง และมูลค่าสินทรัพย์ที่ประชากรในประเทศนั้นๆ จะต้องมีเพื่อจะเป็น “คนรวย” ในระดับยอดปีรามิด Top 1% ของประเทศ

การประเมินนี้พบว่าประเทศที่เข้าสู่สมาคมคนรวยได้ยากที่สุดในโลกคือ “โมนาโก” ประเทศขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ส่วนในทวีปเอเชียของเรามี “สิงคโปร์” เป็นประเทศที่การขึ้นสู่ยอดปีรามิดต้องมีสินทรัพย์สูง (*ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในการสำรวจตามรายงานชิ้นนี้)

สำหรับ 10 อันดับแรกประเทศ/เขตการปกครองที่ต้องใช้สินทรัพย์สูงสุดเพื่อเข้าสู่ Top 1% ได้แก่

  • อันดับ 1 โมนาโก ต้องมีสินทรัพย์ 12.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 460 ล้านบาท)
  • อันดับ 2 ลักเซมเบิร์ก ต้องมีสินทรัพย์ 10.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 385 ล้านบาท)
  • อันดับ 3 สวิตเซอร์แลนด์ ต้องมีสินทรัพย์ 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 303 ล้านบาท)
  • อันดับ 4 สหรัฐอเมริกา ต้องมีสินทรัพย์ 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 207 ล้านบาท)
  • อันดับ 5 สิงคโปร์ ต้องมีสินทรัพย์ 5.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 185 ล้านบาท)
  • อันดับ 6 สวีเดน ต้องมีสินทรัพย์ 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 171 ล้านบาท)
  • อันดับ 7 ออสเตรเลีย ต้องมีสินทรัพย์ 4.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 168 ล้านบาท)
  • อันดับ 8 นิวซีแลนด์ ต้องมีสินทรัพย์ 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 164 ล้านบาท)
  • อันดับ 9 ไอร์แลนด์ ต้องมีสินทรัพย์ 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 153 ล้านบาท)
  • อันดับ 10 เยอรมนี ต้องมีสินทรัพย์ 3.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 121 ล้านบาท)

สินทรัพย์ที่ใช้ในการประเมินของไนท์แฟรงค์นั้นรวมทุกประเภท ได้แก่ เงินสด การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์

ประเทศโมนาโก (Photo: Ty DG / Pexels)

รายงานชิ้นนี้ยังบอกด้วยว่า การเข้าสู่สมาคมคนรวย Top 1% ของประเทศนั้นยังง่ายกว่าการเป็นมหาเศรษฐีระดับ “UHNWI” หรือ ultra-high net worth individual ซึ่งไนท์แฟรงค์หมายถึงการเป็นเศรษฐีที่มีสินทรัพย์อย่างน้อย 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,070 ล้านบาท)

ปี 2023 ที่ผ่านมาจำนวนมหาเศรษฐี UHNWI ทั่วโลกมีทั้งหมด 627,000 คน เพิ่มขึ้น 4.2% จากปีก่อนหน้า โดยปีก่อนนั้นทวีปที่น่าจับตามองคือ “อเมริกาเหนือ” ซึ่งมีจำนวนมหาเศรษฐี UHNWI เพิ่มขึ้น 7.2% เกินค่าเฉลี่ยโลก ทั้งนี้ ไนท์แฟรงค์มีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จำนวนมหาเศรษฐีระดับนี้ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสะสม 28% โดยมีประเทศที่มีคนรวยเพิ่มสูงขึ้นมากคือ “จีน” และ “อินเดีย”

อีกประเด็นที่น่าจับตาเกี่ยวกับสังคม “คนรวย” คือ ไนท์แฟรงค์คาดว่า “เจนเนอเรชันวาย” จะกลายเป็นเจนที่ร่ำรวยที่สุดที่เคยมีมา เพราะสินทรัพย์มูลค่ารวม 90 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,210 ล้านล้านบาท) ทั่วโลกจะถูกส่งต่อจากรุ่นพ่อแม่เจนเบบี้บูมเมอร์และรุ่นปู่ย่าจากไซเลนต์เจนเนอเรชันมาสู่ลูกหลานคนเจนวายภายใน 2 ทศวรรษข้างหน้านี้

ข้อมูลจากธนาคารโลกยังคาดการณ์ด้วยว่า “ความเหลื่อมล้ำ” ก็จะยังคงเกิดขึ้นต่อไประหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศที่ยากจน ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดอย่างโมนาโกจะยังดึงดูดให้คนรวยเข้าไปอาศัยอยู่เพิ่มขึ้นเพราะสิทธิประโยชน์ทางภาษี

Source

]]>
1464850
10 เมืองที่มี “เศรษฐี” อาศัยอยู่มากที่สุดในโลก ปี 2023 https://positioningmag.com/1444100 Wed, 13 Sep 2023 08:04:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444100 รายงาน World Ultra Wealth Report 2023 จัดทำโดย Wealth-X วิเคราะห์ประชากรบนโลกที่เป็นกลุ่ม “เศรษฐี” ผู้มีความมั่งคั่งสูง (Ultra-High Net Worth Individuals) นิยามจากผู้ที่มีสินทรัพย์มากกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 1,000 ล้านบาท) โดยจากการสำรวจในปี 2022 พบว่ามีเศรษฐีกลุ่มนี้อยู่ 395,070 คนทั่วโลก ทั้งหมดนี้มีสินทรัพย์รวมกันมากกว่า 45 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 1,600 ล้านล้านบาท)

เศรษฐีไม่ถึง 4 แสนคนนี้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 0.005% ของประชากรโลกที่มีอยู่ 8 พันล้านคน

ในจำนวนเศรษฐี 4 แสนคนนี้มีไม่ถึง 1% หรือไม่เกิน 4,000 คนที่เป็นเศรษฐีระดับ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ​ (กว่า 35,000 ล้านบาท) รวมถึงมีเพียง 11% เท่านั้นที่เป็น “ผู้หญิง”

ด้านถิ่นพำนักของกลุ่มเศรษฐี 15% ของเศรษฐีอาศัยกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองเพียง 10 เมืองในโลก

โดยมีถึง 5 เมืองที่อยู่ในสหรัฐฯ รองลงมา 3 เมืองอยู่ในทวีปเอเชีย และมี 2 เมืองในทวีปยุโรป

ปัจจุบันเมืองที่มีเศรษฐีอาศัยอยู่มากที่สุดยังคงเป็น “ฮ่องกง” แต่อัตรากำลังลดลงแบบดับเบิลดิจิต ขณะที่อันดับ 2 ซึ่งกำลังไล่ตามมาคือ “นิวยอร์ก” นั้นมีจำนวนเศรษฐีพำนักเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อปีก่อน

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1444100
COVID-19 ทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างออกทั่วโลก “คนรวย” เพิ่มจำนวน “คนจน” ก็เช่นกัน https://positioningmag.com/1386234 Mon, 23 May 2022 08:41:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386234 Oxfam รายงานว่า “คนรวย” ทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้น 573 คนหลัง COVID-19 โดยกลุ่มมหาเศรษฐีมีสินทรัพย์รวมกันกว่า 12.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 14% ของจีดีพีโลก ขณะที่คน 263 ล้านคนเสี่ยงที่จะเข้าสู่ระดับ “ยากจนสุดขีด” ภายในปีนี้ แนะเก็บ “ภาษี” เศรษฐีเพิ่มและนำไปช่วยบรรเทาค่าครองชีพคนจน

วันแรกของการประชุม World Economic Forum ที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ องค์กรไม่แสวงหากำไร “Oxfam” รายงานสถิติพบว่า หลังจากโลกเผชิญโรคระบาด COVID-19 ทุกๆ 30 ชั่วโมงจะมี “มหาเศรษฐีพันล้าน” เพิ่มขึ้น 1 คน ในขณะที่มี “คนจน” เกือบ 1 ล้านคนเสี่ยงเข้าสู่ภาวะยากจนสุดขีดในช่วงเวลาเดียวกัน

หรือเท่ากับมีคนรวยเพิ่มขึ้น 573 คนนับตั้งแต่เกิด COVID-19 (ข้อมูลเก็บสถิติเมื่อเดือนมีนาคม 2022) ขณะที่มีคน 263 ล้านคนกำลังจะยากจนสุดขีด

ณ เดือนมีนาคม 2021 (หลังผ่านโรคระบาดมาแล้ว 1 ปี) มหาเศรษฐีทั่วโลกมีสินทรัพย์รวมกันกว่า 12.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 14% ของจีดีพีโลก

สาเหตุเป็นเพราะเศรษฐกิจตกต่ำหลังจากเผชิญโรคระบาด ซ้ำร้ายยังมีสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูง ความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างออก

Photo : Shutterstock

กาเบรียลล่า บูเชอร์ ผู้อำนวยการบริหาร Oxfam International กล่าวว่า เศรษฐีทั่วโลกมารวมกันที่ดาวอสเพื่อ “เฉลิมฉลองให้กับสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ของตนเอง”

“โรคระบาด และราคาพลังงาน-อาหารที่พุ่งสูงขึ้นกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์สำหรับพวกเขา” บูเชอร์กล่าว “ขณะที่หลายทศวรรษแห่งความพยายามที่จะกำจัดความยากจนสุดขีดกลับเดินถอยหลัง และกำลังเผชิญค่าครองชีพที่พุ่งสูงจนแทบเป็นไปไม่ได้แม้เพียงแค่จะมีชีวิตรอด”

 

บุญหล่นทับจากโรคระบาด

Oxfam กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์มากที่สุดคือกลุ่มอาหาร พลังงาน และยา มหาเศรษฐีในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 4.53 แสนล้านเหรียญในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับมีสินทรัพย์เพิ่ม 1 พันล้านเหรียญทุกๆ 2 วัน

ตัวอย่างเช่น Cargill ยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมอาหาร เป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ควบคุมตลาดเกษตรกรรมทั่วโลกมากกว่า 70% บริษัทนี้ยังบริหารโดยครอบครัว Cargill สามารถทำกำไรสุทธิเกือบ 5 พันล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว เป็นกำไรที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ ทำให้ครอบครัว Cargill มีมหาเศรษฐีพันแล้วถึง 12 คน เพิ่มจากจำนวน 8 คนเมื่อก่อนเกิดโรคระบาด

Cargill Food

ส่วนอุตสาหกรรมยา มีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้น 40 คน เพราะเป็นผู้ควบคุมผูกขาดการผลิตวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อจากบริษัทของตัวเอง

เพื่อป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำมากไปกว่านี้ Oxfam แนะนำให้รัฐบาลแต่ละประเทศเก็บภาษีเพิ่มจากกำไรที่ได้เพิ่มพิเศษเพราะโรคระบาด และนำไปช่วยเหลือคนจนที่ต้องประสบปัญหาค่าครองชีพสูงทั้งจากค่าพลังงานและอาหาร

 

จุดจบการทำกำไรจากวิกฤต?

องค์กรไม่แสวงหากำไรรายนี้ยังแนะให้รัฐบาล “หยุดการทำกำไรจากวิกฤต” โดยให้เก็บภาษีกำไรส่วนเกินที่ได้มาเพราะวิกฤต COVID-19 เป็นการชั่วคราว โดยเน้นเก็บกับองค์กรขนาดใหญ่ทุกอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์

ส่วนกรณีมหาเศรษฐี ผู้กุมอำนาจผูกขาดคลาด และกลุ่มคนรวยที่ปล่อยคาร์บอนสูง แนะนำให้เก็ฐภาษีเพิ่มแบบถาวร

องค์กรระบุว่าการเก็บภาษีคนรวยโดยเริ่มต้นเพียง 2% สำหรับกลุ่มเศรษฐีร้อยล้าน (สินทรัพย์ประมาณ 3 พันล้านบาท) และ 5% สำหรับกลุ่มเศรษฐีพันล้าน (สินทรัพย์ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) จะทำให้โลกนี้เก็บภาษีคนรวยเพิ่มได้ 2.52 ล้านล้านเหรียญต่อปี

เมื่อนำภาษีไปช่วยคนจน จะทำให้คน 2.3 พันล้านคนทั่วโลกพ้นขีดความยากจน สามารถแจกจ่ายวัคซีนได้เพียงพอแก่คนทั้งโลก และสร้างระบบสาธารณสุขให้กับคนที่อาศัยในประเทศยากจนและประเทศระดับกลางล่างได้ทั้งหมด

Source

]]>
1386234
พิษโควิด 2 ปีทำ ‘คนจน’ ทั่วโลกพุ่งแตะ 100 ล้านคน เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี https://positioningmag.com/1368872 Mon, 27 Dec 2021 06:41:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368872 ธนาคารโลกประมาณการว่าประชากรกว่า 97 ล้านคนทั่วโลกตกอยู่ในความยากจนอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ในปี 2020 โดยมีรายได้ไม่ถึง 2 ดอลลาร์หรือราว 70 บาทต่อวัน โดยถือเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ขณะที่เหล่ามหาเศรษฐียิ่งทวีความร่ำรวย

ตั้งแต่ทั่วโลกได้เผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ความยากจนก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการระบาดยังคงอยู่ โดยในปี 2564 นี้มีจำนวนประชากรถึง 97 ล้านคน โดยมีจำนวนคนจนที่สุดในโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีตามการระบุของธนาคารโลก

Carolina Sánchez-Páramo ผู้อำนวยการระดับโลกด้านความยากจนและความเสมอภาคของ World Bank เปรียบว่าโรคระบาดใหญ่กับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วกว่าสึนามิที่มีศูนย์กลางในเอเชียตะวันออก ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมกันยิ่งเพิ่มขึ้น

ในขณะที่ผู้คนหลายสิบล้านกำลังตกต่ำลง คนรวยมากก็ร่ำรวยขึ้น โดยเหล่าเศรษฐีกว่า 1,000 คน ใช้เวลาเพียง 9 เดือนในการฟื้นคืนความมั่งคั่งในช่วงการระบาดใหญ่ แต่กับคนจน พวกเขาอาจต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีเพื่อฟื้นตัว ตามรายงานความไม่เท่าเทียมกันประจำปีของ Oxfam International ที่เผยแพร่ในเดือนมกราคม

ชาเมรัน อาเบด กรรมการบริหารของ BRAC International ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานเพื่อบรรเทาความยากจนทั่วทั้งเอเชียและแอฟริกา ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างความมั่งคั่งที่กว้างขึ้น โดยกล่าวว่า

“คนที่ร่ำรวยที่สุด 3 คนของโลก อาจยุติความยากจนข้นแค้นบนโลกได้”

“แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ความรับผิดชอบของพวกเขาอย่างเดียว แต่แค่บอกว่าพวกเขามีทรัพยากรเพียงพอในการจัดการกับปัญหา”

Carolina Sánchez-Páramo กล่าวต่อว่า หนึ่งในทางที่จะช่วยได้ก็คือ ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงวัคซีนหรือการรักษาบางอย่างสำหรับการระบาดใหญ่ได้อย่างเท่าเทียม เพราะจนกว่าคุณจะควบคุมการระบาดได้ มันยากมากที่จะคิดถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีนได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายแห่งได้กักตุนซื้อปริมาณมากพอที่จะฉีดวัคซีนให้กับประชากรของพวกเขาหลายครั้ง

นอกจากนี้ เหล่ามหาเศรษฐีที่มี 1% อยู่ภายใต้แรงกดดันในประเด็นด้านมนุษยธรรม โดยในเดือนพฤศจิกายน ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกขององค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คนคือ เจฟฟ์ เบซอส และ อีลอน มัสก์ ตระหนักถึงปัญหา โดยกล่าวว่า การให้เงิน 6 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2% ของมูลค่าสุทธิของ อีลอน มัสก์ สามารถช่วยแก้ปัญหาความหิวโหยของโลกได้

“6 พันล้านเพื่อช่วย 42 ล้านคนที่จะตายอย่างแท้จริง”

โดยการเรียกร้องดังกล่าวได้รับการตอบสนองโดยตรงจาก อีลอน มัสก์ ซึ่งเขาทวิตบน Twitter ว่า “หากองค์กรสามารถจัดวางวิธีการที่เงินทุนจะแก้ปัญหาได้ เขาจะขายหุ้นของ Tesla ทันทีเพื่อช่วยเหลือ”

Source

]]>
1368872
5 ล้านคนทั่วโลก ขึ้นแท่น ‘เศรษฐีเงินล้าน’ จากเเรงหนุนตลาดหุ้น ราคาบ้าน-ที่ดิน ‘เเพงขึ้น’ https://positioningmag.com/1338449 Thu, 24 Jun 2021 08:42:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338449 ผู้คนทั่วโลกกว่า 5 ล้านคน ขึ้นเเท่นเป็นเศรษฐีท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนเเรงที่สุดในรอบศตวรรษ ด้วยเเรงสนับสนุนของตลาดหุ้น บ้านเเละที่ดิน ปรับราคาเเพงขึ้น

งานวิจัยความมั่งคั่งของประชากรโลก หรือGlobal Wealth Reportฉบับล่าสุด โดย Credit Suisse ระบุว่า ปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนเศรษฐีเงินล้าน (Millionaires) เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านคน เป็น 56.1 ล้านคนทั่วโลก ขณะที่คนยากจนยิ่งจนลงเรื่อยๆ ในช่วงโรคระบาดโควิด-19

โดยประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่า 1% ก้าวสู่สังคมเศรษฐีเงินล้านเป็นครั้งแรก จากปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดหุ้นและราคาบ้านและที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินให้คนเหล่านี้

Anthony Shorrocks นักเศรษฐศาสตร์และผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อตลาดมั่งคั่ง

โดยเห็นได้ว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ตลาดหุ้นตกอยู่ในภาวะขาลงก่อนที่จะพลิกกลับมาเติบโตได้ในช่วงครึ่งปีหลัง นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา

ไม่ใช่เเค่ทรงตัวได้เมื่อยามเผชิญวิกฤต เเต่ตลาดมั่งคั่งทั่วโลก กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีเศรษฐีเพิ่มมากขึ้น แต่งานวิจัยก็พบว่า หากตัดปัจจัยด้าน ‘อสังหาริมทรัพย์’ ออกไปความมั่งคั่งของครัวเรือนทั่วโลกก็อาจจะลดลง โดยคนที่รวยเเค่ระดับมีกินมีใช้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเท่าเดิมเเละหลายรายน้อยลงกว่าเดิม

การกระตุ้นเศรษฐกิจของบรรดาธนาคาร ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และตลาดหุ้นขยับขึ้น เเต่หากต่อไปมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย มูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ก็จะลดลงตามไปด้วย

จากผลวิจัยโดยรวม พบว่า ในปี 2020 ความมั่งคั่งทั่วโลก เติบโตที่ 7.4% และนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 ประชาชนผู้ถือครองทรัพย์สิน ระหว่าง 10,000-100,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจาก 507 ล้านคนในปี 2000 มาอยู่ที่ 1,700 ล้านคนในช่วงกลางปี 2020

การขยายตัวนี้ สะท้อนให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน ที่มีการขยายตัวของชนชั้นกลางมากที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ขณะเดียวกัน นโยบายเเละกฎระเบียบของภาครัฐ เเละการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงโรคระบาด ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการกระจายรายได้ทั่วถึงมากขึ้น

Nannette Hechler-Fayd’herbe หัวหน้าสายงานด้านการลงทุนของ Credit Suisse ให้ความเห็นว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ เเม้จะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้เดินหน้าในช่วงวิกฤต เเต่ก็มีราคาที่ต้องจ่ายเเละต้องระมัดระวัง โดยขณะนี้ ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ในหลายประเทศทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 20%

 

ที่มา : BBC , Global Wealth Report

]]>
1338449
‘คนรวย’ ควักเงินซื้อ ‘ซูเปอร์ยอชต์’ สุดหรู เพราะอยากหนีโควิด ทำยอดขายพุ่งเป็นประวัติการณ์ https://positioningmag.com/1333254 Thu, 20 May 2021 16:33:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333254 ปี 2021 ดำเนินมาไม่กี่เดือน บรรดามหาเศรษฐีทุ่มซื้อซูเปอร์ยอชต์สุดหรู ไปเเล้วกว่า 1,000 ล้านปอนด์ (4.4 หมื่นล้านบาท) เพราะอยากหลีกหนีจากมาตรการล็อกดาวน์สกัดโควิด เเละข้อจำกัดการเดินทางต่างๆ

Boat International ระบุว่า ความต้องการซื้อเรือยอชต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนของปีที่แล้ว หลังเกิดวิกฤตโรคระบาด เเละความนิยมยังพุ่งต่อเนื่องมาถึงปีนี้ โดยคาดว่าจะเป็นปีที่มีการซื้อขายเรือยอชต์มือสองมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ด้วย

สำหรับคำนิยามของซูเปอร์ยอชต์’ (superyacht) คือเรือสำราญที่มีขนาดความยาว 24 เมตรขึ้นไป (บางลำอาจมีความสูงถึง 180 เมตร) มีลูกเรือประจำเรือ เเละเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ครบครัน

ปกติเเล้วราคาซูเปอร์ยอชต์ลำเล็กมือสองจะอยู่ที่ราว 1-5 ล้านยูโร (ราว 38-191 ล้านบาท) เเละต้องจ่ายค่าบริการของลูกเรือ ค่าท่าจอดเรือและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ตกเฉลี่ยปีละประมาณ 2 เเสนยูโร (ราว 7.6 ล้านบาท)

โดยสามารถตกแต่งเพิ่มเติมให้มีทั้งสระน้ำ สปา ลานอาบแดด ห้องออกกำลังกาย หรืออื่นๆ ได้ตามที่เจ้าของเรือต้องการ

Stewart Campbell บรรณาธิการของนิตยสาร Boat International บอกว่า

ยอดขายเรือยอชต์ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากความต้องการของมหาเศรษฐีที่ต้องการหลีกหนีจากมาตรการล็อกดาวน์เเละข้อจำกัดการเดินทางในเมืองต่างๆ ซึ่งโรคระบาดก็มีส่วนทำให้การนั่งเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวไปยังเเถบเมดิเตอร์เรเนียนยุ่งยากขึ้น คนรวยหลายคนจึงหันมาเดินทางทางน้ำเเบบหรูหราเเทน

Photo : Shutterstock

เจ้าของเรือยอชต์หลายรายบอกว่า ตอนนี้พวกเขายังไม่ต้องการเข้าฝั่งเนื่องจากสถานการณ์เเพร่ระบาดยังไม่เเน่นอน

กว่า 50% ของซูเปอร์ยอชต์ที่ขายได้อยู่ในสหรัฐฯ โดยเรือยอชต์มือสองที่ใหญ่ที่สุด 3 ลำที่ขายในปีนี้ ได้เเก่ Solo มีราคาสูงกว่า 54 ล้านปอนด์ (ราว 2.3 พันล้านบาท) ตามมาด้วย Elixir มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 33.5 ล้านปอนด์ (ราว 1.4 พันล้านบาท) และ Lady Sheridan มีราคาเสนอขายที่ 24.7 ล้านปอนด์ (ราว 1.1 พันล้านบาท)

ว่ากันว่า ซูเปอร์ยอชต์สุดพิเศษของเจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซอย่าง Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon มีราคาสูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.5 หมื่นล้านบาท) เลยทีเดียว

ในอีกมุมหนึ่ง โรคระบาดก็เป็นตัวเร่งทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมร้าวลึกมากขึ้น คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง โดยมหาเศรษฐี TOP 10 ของโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันกว่า ‘5 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ผู้คนหลายร้อยล้านคนมีรายได้ลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้นเเละต้อง ‘ตกงาน

องค์การ Oxfam เเสดงความคิดเห็นว่า เงินกว่า 1 พันล้านปอนด์ที่เหล่าเศรษฐีใช้ไปกับการซื้อซูเปอร์ยอชต์มือสองในปีนี้นั้น เพียงพอที่จะซื้อวัคซีนฉีดให้คนทั้งประเทศ โดยยกตัวอย่างประเทศเนปาล ที่กำลังเสียหายอย่างหนักจากพิษโควิด

โดยทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

 

ที่มา : BBC (1) , (2)

]]>
1333254
จัดการเงิน ‘กงสี’ ยุคใหม่อย่างไร ? KBank ปรับทิศทางบริหารพอร์ตครอบครัวเศรษฐี 1.2 แสนล้าน  https://positioningmag.com/1333029 Thu, 20 May 2021 13:28:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333029 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไทย ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจครอบครัวหรือที่เรามักเรียกว่า ‘ธุรกิจกงสีคิดเป็นรายได้กว่า 80% ของจีดีพี มูลค่ารวมกว่า 3 เเสนล้านบาท

ปัจจัยเร่งจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงด้านสุขภาพจากโรคระบาด ทำให้ครอบครัวผู้มีสินทรัพย์สูง เริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนรับมืออย่างเป็นระบบเเละให้ทายาทรุ่นถัดไปเข้ามาจัดการธุรกิจเร็วขึ้น 

เหล่านี้ ทำให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Service) ได้รับความสนใจจากลูกค้ามั่งคั่ง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กว่า 3 ใน 4 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นธุรกิจครอบครัว

จากสถิติพบว่า 75% เป็นธุรกิจครอบครัวไทย ที่อยู่ในการบริหารของรุ่นที่ 2 และมีเพียง 4% เท่านั้น ที่อยู่ในการบริหารของรุ่นที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ธุรกิจครอบครัวไทยส่วนใหญ่ ยังจัดตั้งมาไม่นานและกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในการเริ่มวางแผนเพื่อบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

จากผลสำรวจของ Lombard Odier พบว่า 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวมีความสนใจที่จะเริ่มวางแผนบริหารทรัพย์สินครอบครัวในอนาคต 

ขณะเดียวกัน PWC Family Business Survey 2019 พบว่า 64% ของธุรกิจครอบครัวยังไม่ได้เตรียมการรับมือกับการวางแผนการส่งต่อธุรกิจ รวมทั้งเรื่อง Technology Disruption

หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาโควิด-19 ทำให้ต้องเร่งปรับตัวเข้ากับ ‘New Economy’ ที่จะเปลี่ยนเเปลงไปหลังผ่านวิกฤต เป็นความท้าทายครั้งสำคัญที่จะต้องเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เเละผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ เข้ามา โดยไม่ต้องรอให้ถึงการส่งต่อสู่รุ่นที่ 3-4

Photo : Shutterstock

ความท้าทายของ ‘กงสี’ ในธุรกิจยุคใหม่ 

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Chief – Wealth Planning, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย ให้ข้อมูลว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ ยังคงเน้นไปที่การขยายธุรกิจมากกว่าการวางแผนและจัดการอย่างเป็นระบบ

โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการล่มสลายของธุรกิจครอบครัว มาจากหลายสาเหตุ เช่น ความขัดเเย้งของสมาชิก การบริหารที่ไม่เป็นระบบ การไม่มีเเผนส่งต่อธุรกิจให้ทายาท

ธุรกิจครอบครัวไทย จึงมีความท้าทายและมีความต้องการที่คล้ายคลึงกัน 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1) มองหาความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการความเสี่ยง จากการดำเนินธุรกิจและการถือครองทรัพย์สิน โดยเฉพาะการวางแผนด้านภาษีเเละต้นทุนทางภาษีที่ต้องแบกรับ

ปัจจัยเร่งสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเพื่อการเก็บภาษีที่เข้มงวดขึ้น อย่างกฎหมาย Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA) ของสหรัฐอเมริกา หรือระบบ Common Reporting Standard 

2) บริหารจัดการระบบกงสีแบบดั้งเดิมมีความท้าทายมากขึ้นในบริบทปัจจุบัน

ความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมในการตัดสินใจเป็นหลัก หลายครอบครัวจึงเร่งปรับกติกาของกงสีให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ของครอบครัว เช่น การจัดตั้งโครงสร้างที่เป็นระบบโดยใช้กลุ่มบริษัทโฮลดิ้งของครอบครัว หรือการใช้ทรัสต์ที่จัดตั้งในต่างประเทศ เพื่อจัดเก็บและบริหารจัดการกงสีอย่างยั่งยืน

พร้อมทั้งวางแผนการด้านอื่นๆ ไปพร้อมกัน เช่น ในกรณีที่สมาชิกคนใดประสบปัญหาด้านการเงินส่วนตัว ยังมีทรัพย์ที่ได้รับจากกองทรัสต์ เพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวต่อไป รวมถึงระบบสวัสดิการสำหรับสมาชิกในครอบครัวได้อีก

3) ทัศนคติและเป้าหมายที่แตกต่างกันของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะทายาทรุ่นที่ 2 และ 3 ที่มีโอกาสได้ไปศึกษาและใช้ชีวิตในต่างประเทศ แนวความคิดใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านได้

สิ่งที่สำคัญที่แนะนำแก่ลูกค้าคือ การเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่และการเปิดให้พวกเขามีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องสำคัญ ส่วนการวางกติกาครอบครัวที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทุกรุ่น ก็มีความจำเป็นที่ต้องอาศัยคนกลางที่มีประสบการณ์ในการวางแผนอย่างมีระบบ

จับทางพอร์ตครอบครัวเศรษฐี 1.2 แสนล้าน 

ปัจจุบัน KBank Private Banking ให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวแก่ลูกค้ามาเเล้วทั้งสิ้น 3,600 ราย คิดเป็น 720 ครอบครัว ครอบคลุมทรัพย์สินครอบครัว มีธุรกิจและที่ดินรวมมูลค่าราว 1.2 แสนล้านบาท ชี้ให้เห็นโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมาก

เราตั้งเป้าว่าภายใน 3 ปีจะให้บริการแก่ลูกค้าอย่างน้อย 6,000 ครอบครัว หรือประมาณ 50% ของพอร์ตจากตอนนี้ที่ให้บริการลูกค้า Family Wealth Planning ไปแล้วประมาณ 32%” 

ปัจจุบัน KBank Private Banking มีจำนวนลูกค้ารวมประมาณ 12,000 ราย สินทรัพย์ภายใต้การจัดการทั้งหมดประมาณ 8 แสนล้านบาท

KBank Private Banking วางกลยุทธ์ใหม่เพื่อยกระดับบริการทั้งในด้านกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบติดตามผล ช่วยให้ครอบครัวสามารถวางแผนและดำเนินการบริหารสินทรัพย์ได้อย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง

ต้องมีเตรียมเสริมบริการในด้านการทำสาธารณกุศลของครอบครัว และการอำนวยความสะดวกในเรื่องบริการสำนักงานครอบครัวด้วย

โดยปัจจุบันมีบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ครอบคลุม 6 ด้าน ได้แก่ 

  • การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินของครอบครัว (Asset Holding Structures)  
  • การบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของครอบครัว (Financial Asset, Liability and Risk Management)
  • การสร้างกติกาของครอบครัวและการสืบทอดธุรกิจ อย่างเป็นระบบ (Family Continuity Planning)  
  • การวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น (Inheritance and Wealth Transfer)  
  • การทำสาธารณกุศล (Philanthropy)
  • การทำหน้าที่เป็นสำนักงานของครอบครัว (Family Office)  

โดยความยากง่ายของบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ก็ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของครอบครัวนั้นๆ รวมไปถึงโครงสร้างของธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่ด้วย

ในช่วงที่ผ่านมา ครอบครัวระดับมหาเศรษฐีที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตโควิด-19 อย่างกลุ่มโรงแรมท่องเที่ยว ยังมีสายป่านยาวพอจะประคับประคองธุรกิจไปได้ ในบางธุรกิจก็ใช้ช่วงนี้กลับมาปรับปรุง เปลี่ยนเเปลงเเละหันมาดูแลระบบโครงสร้างภายในของธุรกิจตนเองมากขึ้น

บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ต้องใช้เวลาและความละเอียดในการกำหนดแผนการและข้อกำหนดของแต่ละครอบครัว เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกคน เห็นพ้องต้องกัน

 

]]>
1333029
IMF เเนะประเทศร่ำรวย ปรับ ‘ขึ้นภาษี’ เพื่อลดปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำ’ จากวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1326430 Fri, 02 Apr 2021 11:59:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326430 IMF เเนะประเทศร่ำรวยขึ้นภาษี’ นำงบมาพัฒนาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ’ ที่รุนเเรงขึ้นจากวิกฤต COVID-19

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุถึงรายงานของ Fiscal Monitor เผยเเพร่ในเดือนเมษายน 2021 ที่ชี้ให้เห็นว่า การเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ลุกลามไปทั่วโลกนั้น ทำให้ความไม่เท่าเทียมในสังคม ทวีความรุนเเรงขึ้น

โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการดูเเลสุขภาพ การศึกษา เเละโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ ที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นรัฐบาลในประเทศต่างๆ จึงต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านี้ หลังผ่านพ้นวิกฤตไปเเล้ว

IMF เเนะนำว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือประเทศร่ำรวย อาจจะต้องใช้มาตรการปรับเพิ่มอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้เพิ่มการเก็บภาษีมรดกให้สูงขึ้นรวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย

ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นั้น ควรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาด้านสังคม เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประชาชนมีความสามารถจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น

Photo : Getty Images

ด้านมูลนิธิ Oxfam ระบุว่า ในช่วงเดือนมี.. – .. 2020 มหาเศรษฐีทั่วโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คนจนมีรายได้ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวขึ้น

โดยเมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาดมารวมกัน จะพบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

อ่านเพิ่มเติม : COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง

ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงินเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมาฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย

Oxfam ให้ความเห็นว่า ทั้ง IMF และรัฐบาลประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงดำเนินนโยบายทางการเงินที่จะซ้ำรอยกับวิกฤตการเงินปี 2008-2009 ด้วยการผลักภาระภาษีจากคนรวยและบริษัทยักษ์ใหญ่ไปสู่ครัวเรือน

 

ที่มา : Reuters , IMF

]]>
1326430
ตลาด Wealth โตพุ่ง SCB ปั้น Private Banking สู่เป้าพอร์ต 1 ล้านล้านบาท โอกาสทองจับ ‘เศรษฐีไทย’  https://positioningmag.com/1321958 Fri, 05 Mar 2021 13:10:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321958 สถาบันการเงิน เร่งเครื่องดันธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง เเย่งลูกค้าเศรษฐีกันดุเดือด ด้วยความที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการออกสินเชื่อ เเถมยังมีการเติบโตสูง สร้างรายได้ดี เเม้จะเจอวิกฤตเศรษฐกิจ

SCB เป็นอีกหนึ่งเจ้าใหญ่ในไทยที่ประกาศจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาด Private Banking โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปีจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาทให้ได้

สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ธุรกิจ Wealth Management ดูเเลพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าผู้มั่งคั่งเติบโตขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางโรคระบาด

ด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาดทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก การออมเงินฝากหรือพันธบัตร ไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต้องหาทางลงทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะความผันผวนในตลาดสูง

โดยกลุ่มผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ HNWIs (มีสินทรัพย์ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป) มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้คำเเนะนำการดูเเลพอร์ตมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ Private Banking ขยายตัวตามไปด้วย

ตลาด Wealth โตพุ่ง โอกาสจับ ‘เศรษฐีไทย’ 

SCB ประเมินว่า ภาพรวม Wealth ทั่วโลกในปี 2024 จะเติบโต 7% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยจะขยายตัวมากที่สุดในจีน เเละเอเชียแปซิฟิก

สำหรับตลาด Wealth ในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโต 5% สูงกว่า GDP ไทยถึง 2 เท่า โดยจำนวนลูกค้า Wealth ทั้งหมดในไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 8.86 แสนคน เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2018 ที่อยู่ราว 7.1 แสนคน

ประชากร 1% ของคนไทย ถือครองทรัพย์สิน 80% ของทั้งประเทศ

ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-10 ‘เศรษฐีหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ เพราะการเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย เเละล่าสุด HSBC จากอังกฤษ ก็เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย

ข้อมูลจาก HSBC ระบุว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะเพิ่มขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

นี่จึงเป็นโอกาสทอง เเละการเเข่งขันที่สูงมากเช่นนี้ ทำให้ธุรกิจ Private Banking ต้องงัดหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาเพื่อครองใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด

บริหารความมั่งคั่ง คือ New S-Curve 

ปัจจุบันธุรกิจ Wealth ของไทยพาณิชย์ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) ราว 8.5 แสนล้านบาท เเละในปี 2024 ตั้งเป้าจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้แนวคิด BEAT THE BENCHMARK

โดยมีฐานลูกค้า Wealth จำนวนกว่า 3 เเสนราย (จากราว 7 เเสนรายทั้งประเทศ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • ลูกค้า SCB Prime มีสินทรัพย์ 2-10 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB First มีสินทรัพย์ 10-50 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB Private Banking มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

ธนาคารได้เริ่มแผน Wealth Transformation มาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งปีนั้นสร้างรายได้ให้ธนาคารคิดเป็น 7% ของรายได้รวม และ 31% ของรายได้ค่าธรรมเนียม จากนั้นก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2020 สามารถทำรายได้ถึง 15% ของรายได้รวม และ 56% ของรายได้ค่าธรรมเนียม

ธุรกิจ Wealth Management จึงกลายมาเป็น New S Curve ของไทยพาณิชย์

โดยคาดว่า AUM ลูกค้ากลุ่ม Wealth ของไทยพาณิชย์จะโตเฉลี่ยปีละ 10-12% และปี 2566 คาดว่าจะมี AUM 1 ล้านล้านบาท ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมคาดว่าจะเติบโตได้ในอัตราสองหลัก 

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของธนาคาร เติบโตกว่า 25% แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต COVID-19

ณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า เมื่อ 4 ปีก่อน ธนาคารได้เฟ้นหาพนักงานหัวกะทิที่โดดเด่นที่สุดของสาขา 1,100 คน มาร่วมทีม Wealth Management โดยมีการจัดเทรนนิ่งอย่างเข้มข้น จนตอนนี้ธนาคารมี RM (Relationship Manager) ที่มีใบรับรองมากที่สุดในไทย

หลักๆ จะเน้นการสร้างขีดความสามารถในการให้คำปรึกษา (Advisory Capability) ควบคู่ไปกับการปรับ ‘Operating Model’ พัฒนาโซลูชันด้านการลงทุนเเบบ Open Architecture คือการมีผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเลือกลงทุนจากบริษัทพันธมิตรเเละประกัน (ตอนนี้มีอยู่ 35 แห่ง) ไม่ได้มีเเค่ผลิตภัณฑ์ของ SCB เท่านั้น รวมทั้งมีการนำระบบ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพอร์ต สร้างเเพลตฟอร์มเฉพาะมาบริการเพื่อช่วยให้ลูกค้าเห็นการลงทุนของตัวเองชัดเจนขึ้น

โดยทิศทางของกลุ่มธุรกิจ SCB Wealth ในปี 2021 จะโฟกัสและมุ่งเน้นการเติบโตของเซ็กเมนต์ Private Banking เพื่อจับลูกค้าใหม่ที่มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า กลุ่มลูกค้า Wealth ของไทยพาณิชย์ เมื่อดู Investment AUM (ไม่รวมเงินฝาก) จะมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท จาก AUM ทั้งหมดที่ 8.5 แสนบาท สามารถสร้างผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าได้ 14.9% ในระยะเวลา 1 ปี (1 .. – 31 .. 2020) 

มธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

โดยในปี 2021 นี้ SCB Private Banking จะดำเนินธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

  • Investment Solutions for Wealth Preservation ต่อยอดความมั่งคั่งให้ลูกค้า โดยจะมีลงทุนทั้งในและต่างประเทศในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภท กว่า 10,000 หลักทรัพย์และกองทุน ทั้ง Public assets หรือ Private assets
  • Business Solutions for Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอย่างรอบด้าน เปิดโอกาสการลงทุนแบบใหม่ๆ เช่น สินเชื่อ SCB Property Backed Loan ที่เปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ให้ลูกค้านำไปเพิ่มกระแสเงินสด
  • SCB Financial Business Group ประสานกับธุรกิจส่วนต่างๆ ทั้งหมดในธนาคารไทยพาณิชย์ให้ครบวงจรเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

สำหรับข้อเเนะนำในการลงทุนในปีนี้ ผู้บริหาร SCB บอกว่า ควรจะกระจายความเสี่ยงในต่างประเทศ โดยเน้นธุรกิจที่เติบโตในยุค New Normal อย่าง อีคอมเมิร์ซ การขนส่งเเละธุรกิจคลาวด์

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการลงุทนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม พลังงานหมุนเวียน ตามที่จะเห็นรัฐบาลใหญ่ๆ ของโลกทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ต่างออกนโนบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งนี้

ขณะเดียวกันภาวะดอกเบี้ยต่ำที่จะดำเนินต่อเนื่องผู้ลงทุนก็ต้องมองหาผลตอบแทนที่มากกว่า เช่น ตราสารหนี้ , หุ้น เป็นต้น

โดยในปีนี้เเนะนำแบ่งพอร์ตการลงทุนเป็น 60% ลงทุนในหุ้น และ 40% ลงทุนในตราสารหนี้ เเละช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ให้ปรับตราสารหนี้เป็น 50-60% เเละเมื่อการกระจายวัคซีนได้ผลดีจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ได้เเล้ว เเนะให้ถือตราสารหนี้ลดลงเหลือ 30% พร้อมกับการติดตามข่าวสารเเละนโนบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด

 

 

]]>
1321958
เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

“จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

“แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

  • บริการด้านสินเชื่อ
  • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1320828