ครัวเรือน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Apr 2022 01:36:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ธนาคารโลกเตือน ราคาอาหาร-พลังงาน พุ่งครั้งใหญ่สุดรอบ 50 ปี กลุ่มยากจนกระทบหนัก https://positioningmag.com/1383142 Wed, 27 Apr 2022 10:50:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383142 ธนาคารโลก เตือนผลกระทบสงครามรัสเซียยูเครน จะทำให้เกิดวิกฤตราคาอาหารพลังงานพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970

โดยการหยุดชะงักในภาคการผลิตจากในพื้นที่ความขัดแย้ง จะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ก๊าซธรรมชาติ ข้าวสาลี น้ำมันพืชเเละฝ้าย

การปรับขึ้นของราคา กำลังเริ่มส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและด้านมนุษยธรรมอย่างมหาศาล ครัวเรือนทั่วโลกต่างกังวลถึงวิกฤติค่าครองชีพ Peter Nagle นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกระบุ

ครัวเรือนยากจนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากพวกเขาต้องแบ่งรายได้มาใช้สำหรับค่าอาหารและพลังงานมากขึ้น

ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ราคาพลังงานอาจจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50% ในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

โดยราคาพลังงานที่จะเพิ่มมากที่สุด คือราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรป ซึ่งอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เเละคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องในปีหน้าและปี 2024 แต่ก็ยังจะสูงกว่าระดับราคาในปี 2021 ถึง 15% ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อในวงกว้าง

สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวม คาดว่าราคาจะสูงสุดในปี 2021 แต่ก็ยังคงสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มากโดยสินค้าเกษตรและโลหะ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 20% ในปีนี้ ก่อนจะค่อยๆ ลดลงในปีถัดไป

รัสเซียและยูเครน นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชหลักของโลก โดยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลักหลายรายการ อย่างเช่น ข้าวสาลี น้ำมันพืช และข้าวโพด

 

ที่มา : BBC 

]]>
1383142
ครัวเรือนไทย กลุ่ม ‘รายได้ต่ำ’ เสี่ยงเจอพิษ ‘เงินเฟ้อ’ เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า https://positioningmag.com/1381616 Fri, 15 Apr 2022 10:20:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381616 ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้นจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ดันเงินเฟ้อไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 13 ปี กระทบต้นทุนธุรกิจ ครัวเรือนรายได้ต่ำเจอหนักเร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่าจากปีก่อน สวนทางกับกลุ่มรายได้สูง 

อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี สร้างความกังวลต่อค่าครองชีพของครัวเรือน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมอยู่ที่ 5.73% YOY เพิ่มขึ้นจาก 5.28% เดือนกุมภาพันธ์

วิจัยกรุงศรี ระบุถึงสาเหตุสำคัญว่ามาจาก ราคาพลังงานในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับสูงขึ้นมาก (+31.4% YOY)

นอกจากนี้ ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ไข่ไก่ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ที่ 2.0% จาก 1.80% ในเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 4.75% และ 1.43% ตามลำดับ

ประชาชนเเบกค่าใช้จ่าย ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 และอยู่เหนือกรอบของเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยการปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่มาจากราคาพลังงาน แม้ว่าราคาไม่ได้เพิ่มขึ้นในทุกชนิดสินค้า แต่กลับสร้างความกังวลให้แก่สังคมเกี่ยวกับผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายและกำลังซื้อ

ทำให้ยอดค้นหาของคำว่า ‘เงินเฟ้อ’ ใน Google แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคมร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ 42.0 จาก 43.3 เดือนกุมภาพันธ์

Photo : Shutterstock

กลุ่มรายได้ต่ำ เงินเฟ้อเร่งตัว 6 เท่า

วิจัยกรุงศรี คาดอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% จากแรงหนุนของราคาอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและราคายานพาหนะ อีกทั้งราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยยืนอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย และอาจใช้เวลาถึงไตรมาสสุดท้ายของปีกว่าที่จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
 
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของวิจัยกรุงศรีพบว่า จากตะกร้าการบริโภคสินค้าที่มีความแตกต่างกัน กลุ่มคนรายได้ต่ำจะมีสัดส่วนการใช้จ่ายในหมวดอาหารเพื่อบริโภคที่บ้านและการขนส่ง รวมกันราวสองเท่าของกลุ่มคนรายได้สูง จึงมีโอกาสเผชิญเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นกว่า 6 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อน สวนทางกับกลุ่มคนรายได้สูงที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับปี 2564

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ลากยาว กระทบเศรษฐกิจโลก 

ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมมีสัญญาณฟื้น แต่ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันการเติบโตในระยะข้างหน้า

ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ 89.2 จาก 86.7 ปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด

รวมถึงการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจากหลาย ๆ ประเทศทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการมีการเร่งการผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์

วิจัยกรุงศรีประเมินว่า แม้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงต้นปีจะมีสัญญาณเชิงบวก จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ แต่ในระยะถัดไปปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่มีความเสี่ยงอาจลากยาวมากขึ้นกระทบเศรษฐกิจโลกและการค้าชะลอลง ส่งผลต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย ขณะที่ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจะส่งผลต้นทุนการผลิตและการขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะชะงักงันของอุปทานของโลก หากสถานการณ์การล็อกดาวน์ของจีนเพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ระลอกล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อและเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากมีการประเมินว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการใช้ input จากจีนคิดเป็นสัดส่วนเมื่อเทียบกับมูลค่าผลผลิตรวมทั้งหมด (gross value added) สูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจากเวียดนาม และฮ่องกง

 

 

]]>
1381616
ครัวเรือนไทย กังวลรายได้ลด-ไร้งานทำ เเบกหนี้หนัก ค่าครองชีพพุ่ง เข้าไม่ถึงโครงการรัฐ https://positioningmag.com/1346077 Tue, 10 Aug 2021 10:20:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346077 ล็อกดาวน์โควิดระลอก 3 ซัดหนัก ประชาชนกังวลรายได้ลด-ไม่มีงานทำ เเบกหนี้หนักเเถมค่าครองชีพพุ่ง ดัชนี KR-ECI ลดฮวบ ‘ต่ำกว่าล็อกดาวน์ทั่วประเทศ’ เมื่อปีที่เเล้ว ท่องเที่ยวเจ็บยาว ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์น้อยกว่าเป้า คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการช่วยเหลือของรัฐ 

ครัวเรือนไทย ‘วิตกกังวล’ ต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพต่อเนื่อง จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังรุนเเรง จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ในระดับสูง และยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ประจำเดือนก.ค. 64 ปรับลงต่อเนื่องอยู่ที่ 34.7 ซึ่งเป็น ระดับต่ำกว่าช่วงเดือนเม.ย. 63 ที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ที่ 35.1 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 36.6 จาก 38.9 ในเดือนมิ.ย.

เเบกหนี้หนัก ราคาอาหารสดเเพงขึ้น 

ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ ระดับราคาสินค้า โดยในเดือนก.ค.ดัชนีปรับลดลงอยู่ที่ 31.5 จาก 37.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับระดับอัตราเงินเฟ้อของไทย ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 0.45% ซึ่งหากไม่รวมผลจากมาตรการภาครัฐในเรื่องของการบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำค่าไฟ ระดับอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.8%

“ปัจจัยหนุนเงินเฟ้อ นอกจากราคาน้ำมันแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์” 

ขณะที่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนยังคงถูกกดดันจากความเปราะบางของฐานะการเงินที่สะสมมาจากการแพร่ระบาดในปีก่อนและปัจจุบัน ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้สะท้อนผ่านหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงที่ 90.5% ของจีดีพีในไตรมาสแรกของปี 2564 นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้และจ้างงานเพิ่มขึ้น 

รายได้ลด ไร้งานทำ ท่องเที่ยวไม่ฟื้น 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการล็อกดาวน์ใน 10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงพบว่า 64.2 % ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ (64.2%) มีรายได้จากการจ้างงานลดลง

ขณะที่บางส่วน (14.3%) ธุรกิจปิดกิจการและถูกเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมตลาดแรงงานที่มีภาวะเปราะบาง

ล่าสุด ในไตรมาส 2/2564 จำนวนผู้ว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 7.3 แสนคน โดยทิศทางการฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังมีความไม่แน่นอนสูงเช่นกัน

โดยเฉพาะแรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในภาคท่องเที่ยว ที่แม้ในเดือนก.ค. 64 จะมีการนำร่องเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่ได้ต้องกักตัวตามเงื่อนไข

แต่สถานการณ์การระบาดทั้งในและนอกประเทศที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ในเดือนก.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาภูเก็ต 14,055 คน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันอยู่ที่ 5,400 บาท (ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน) ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าวยังมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ภาครัฐเคยประเมินไว้ (ไตรมาส 3 จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 1 แสนคน)

ขณะนี้ในภูเก็ตก็ได้มีมาตรการคุมเข้มการระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรม รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถเปิดได้เต็มที่

Photo : Shutterstock

คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการรัฐ 

ด้านมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจจากภาครัฐ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาช่วยประคับประคองการดำรงชีพของครัวเรือน ซึ่งช่วงที่สำรวจภาครัฐได้มี 2 โครงการคือ โครงการคนละครึ่งระยะที่สาม และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมมาตรการพบว่า มีครัวเรือนถึง 30.6% ที่ไม่ได้เข้าร่วมทั้งสองโครงการ เนื่องจากมองว่าขั้นตอนการสมัครมีความยุ่งยาก อีกทั้งโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้มีเงินออมมีผู้เข้าร่วมเพียง 2.9%

ทั้งนี้ โครงการทั้งสองโครงการได้ออกมาในช่วงก่อนที่สถานการณ์การระบาดจะเผชิญความรุนแรงและมีมาตรการคุมเข้มการระบาดอย่างในปัจจุบัน ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดไม่ได้รุนแรงมาก อาจทำให้โครงการต่าง ๆ จูงใจประชาชนให้เข้าร่วมได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ล่าสุดภาครัฐได้มีมาตรการเยียวยา 9 กลุ่มอาชีพใน 13 พื้นที่เสี่ยงที่ถูกล็อกดาวน์ ซึ่งน่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้บางส่วน

“ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง สถานการณ์การระบาดที่ยืดเยื้อและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นจะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดแรงงานต่อเนื่อง ไปจนถึงกำลังซื้อของภาคครัวเรือน” 

ดังนั้น ภาครัฐควรออกมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการจัดหา จัดสรร และแจกจ่ายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเร่งควบคุมสถานการณ์ เช่น การตรวจเชิงรุกเพราะทุกเวลาที่ผ่านไปคือความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ภาคประชาชนและประเทศ

สรุป :

ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในระดับปัจจุบัน (ก.ค. 64) และ 3 เดือนข้างหน้าบ่งชี้ถึงความกังวลของครัวเรือนต่อรายได้และการจ้างงาน ขณะที่ในเดือนส.ค.มีมาตรการล็อกดาวน์ใน 13 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจะยิ่งเพิ่มขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายพร้อมกับเร่งเข้าควบคุมสถานการณ์ รวมถึงในเรื่องของวัคซีนเพื่อให้สถานการณ์การระบาดบรรเทาลง

 

]]>
1346077
จับตา ‘หนี้ครัวเรือน’ ปี 2564 จ่อทะลุ 91% ต่อจีดี​พี​ คนไทยติดวังวน ‘เเบกหนี้เพิ่ม’ เเต่รายได้ลด https://positioningmag.com/1312956 Tue, 05 Jan 2021 07:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312956 ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุด จะส่งผลอันใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเเละสังคมในช่วงต่อไป เมื่อหนี้สินเพิ่มพูนเเต่รายได้กลับลดลง ทำให้คนไทยต้องติดอยู่ในวังวนเเบกหนี้ไม่มีวันจบสิ้น

โดยหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต

จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 3 ปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี (จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563) โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์และบัตรเครดิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2564 หนี้ครัวเรือนไทยอาจพุ่งไป 91% ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่านั้น หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่หนักกว่าที่ประเมินไว้ เเละฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2564 จะเติบโตน้อยกว่ากรณีพื้นฐานที่ 2.6%

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ในภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2563 โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ ยังคงขยับขึ้นอีกประมาณ 1.60 แสนล้านบาท คิดเป็น 88% ของการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ซึ่งในไตรมาส 3/2563 หนี้ครัวเรือนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นราว 1.82 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 13.77 ล้านล้านบาท

ส่วนสัญญาณการก่อหนี้ในส่วนอื่นๆ ทั้งหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็กลับมาเร่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3/2563 อีกครั้ง จากที่มีทิศทางชะลอลงในไตรมาส 2/2563 ซึ่งมีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก

คนรายได้น้อยไม่ถึง 5 พัน/เดือน เเบกหนี้สูง 84% ต่อรายได้

ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ทรุดตัวรุนแรงจาก COVID-19 และหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 ได้เพิ่มความเปราะบางทางการเงินให้กับครัวเรือนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างตึงตัวอยู่แล้วก่อนจะเกิดโรคระบาด

เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยทั้งประเทศอยู่ที่ 27% เเต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนกลับมี DSR อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยหลายเท่า

โดยเฉพาะครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้ สูงถึง 84% ขณะที่ครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้  40%

สะท้อนให้เห็นว่า ความเปราะบางทางการเงินในภาคครัวเรือนของไทย ปรากฏชัดเจนมากขึ้นตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

โดยภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของค่าใช้จ่ายต่อเดือน สวนทางกับภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ระดับการออมของครัวเรือนไทยอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอลง มาตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19

โควิดรอบใหม่ต้องมีมาตรการช่วยลูกหนี้

ความเสี่ยงการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2564 และน่าจะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่รวมๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 10.68 ล้านบัญชี คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ธปท. ณ เดือน ต.. 2563)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ข้อมูลเบื้องต้นก่อน COVID-19 ระลอกใหม่จะสะท้อนว่าลูกหนี้รายย่อยส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์น่าจะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการฯ และลูกหนี้บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว

แต่ต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2564 อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีนัยโดยตรงต่อกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวสูงต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในเครื่องชี้ที่ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย และความเปราะบางของฐานะทางการเงินในภาคครัวเรือนที่เป็นโจทย์รอการแก้ไข ต่อเนื่องจากการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

โดยโจทย์เฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า คือ การเตรียมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับลูกหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปให้ได้

 

]]>
1312956