ผู้ผลิตรถยนต์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 18 Mar 2022 11:35:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส” ประกาศเป้าอีก 2 ปี รถยนต์นั่งผลิต-จำหน่ายในไทยจะเป็น “xEV” ทั้งหมด https://positioningmag.com/1378093 Fri, 18 Mar 2022 10:14:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378093 ถึงมาช้ากว่าแต่มาแน่! ค่ายรถญี่ปุ่น “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส” ประกาศเป้าหมายปี 2567 รถยนต์นั่งที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย จะเป็นรถ “xEV” ทั้งหมด โดยยังไม่เร่งก้าวกระโดดเข้ารถยนต์ประเภทใช้ไฟฟ้า 100% เชื่อว่าประเทศไทยต้องปรับฐานแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้านรถรุ่นเรือธงของปีนี้ส่ง “New Xpander” ลุยตลาด ปรับโฉมใหม่และพัฒนาประสิทธิภาพ พร้อมเปิดจอง 22 มีนาคมนี้

ปล่อยให้รถยนต์ไฟฟ้าจีนเข้ามาตีตลาดไทยก่อน แต่ค่ายรถญี่ปุ่นที่ตั้งฐานในเมืองไทยมามากกว่า 3 ทศวรรษอย่าง “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส” กำลังขยับเข้าตลาดเช่นกัน โดย “เออิอิชิ โคอิโตะ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยแผนในงานแถลงข่าวประจำปี 2565 บริษัทเตรียมบุกตลาดรถอีวีอย่างเต็มที่

เป้าหมายในปี 2567 รถยนต์นั่งที่ผลิตและจำหน่ายในไทยของ “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส” จะเป็นรถประเภท xEV ทั้งหมด โดยหมายรวมทั้งรถประเภท PHEV (Plug-in Hybrid EV รถยนต์ที่ใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและสันดาป) และรถประเภท BEV (Battery EV รถยนต์ไฟฟ้า 100%) ทั้งนี้ รถประเภทอื่น เช่น ปิกอัพ และรถยนต์นั่งที่ผลิตเพื่อส่งออก อาจจะยังมีรถประเภทสันดาปที่ผลิตอยู่

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
Mitsubishi Motors Outlander รุ่นนำร่องบุกตลาด PHEV ตั้งแต่ปี 2564

โดยมิตซูบิชิ มอเตอร์สชิมลางตลาดรถอีวีไทยไปแล้วด้วยรุ่น “Outlander” ซึ่งเป็นรถ PHEV ออกจำหน่ายเมื่อเดือนมกราคม 2564

ปัจจุบันสายการผลิตรถ xEV ในไทยของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส เออิอิชิกล่าวว่ามีไลน์แพ็กเกจจิ้งแบตเตอรี่แล้วที่โรงงานในแหลมฉบัง ส่วนการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าส่วนอื่นๆ มีเป้าหมายจะผลิตและใช้ซัพพลายในไทยให้มากที่สุดที่ทำได้ หากมีดีมานด์สูง อาจจะพิจารณาก่อสร้างโรงงานใหม่สำหรับรถอีวีโดยเฉพาะได้ในอนาคต

 

ขอสร้างฐานด้วย PHEV ก่อน

เออิอิชิกล่าวว่า บริษัทไม่กังวลแบรนด์ที่เริ่มบุกตลาดด้วย BEV แล้ว เนื่องจากการศึกษาตลาดของบริษัทเองกับผู้ทดลองใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทย พบว่า แม้รถยนต์ BEV ที่วางคุณสมบัติให้สามารถขับขี่พิสัยไกลได้ถึง 400 กม. จะทำได้จริงตามที่โฆษณา แต่ไฟฟ้าเกือบจะหมดจนเหลือศูนย์ ท่ามกลางระบบนิเวศไทยที่ยังมีสถานีชาร์จไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ใช้ยังไม่มั่นใจนักหากจะขับรถ BEV ทางไกล

เรามองว่าการสร้างฐานตลาดจากรถ PHEV ก่อน เป็นการทำให้ฐานตลาดเข้มแข็งกว่าการกระโดดเข้าสู่ BEV เลยทีเดียว

มิตซูบิชิ มอเตอร์สจึงเห็นว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน รถยนต์ประเภท PHEV ยังมีความสำคัญ เพราะทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการใช้ไฟฟ้าเมื่อขับขี่ในเมือง และใช้เครื่องยนต์สันดาปสำหรับการขับขี่ระยะไกล คาดว่าในระยะแรก รถยนต์ BEV จะยังมีลักษณะเป็น “รถคันที่สอง” ของครอบครัว ไม่ใช่รถคันหลัก

“เรามองว่าการสร้างฐานตลาดจากรถ PHEV ก่อน เป็นการทำให้ฐานตลาดเข้มแข็งกว่าการกระโดดเข้าสู่ BEV เลยทีเดียว และขณะนี้รัฐบาลไทยก็เริ่มส่งเสริมตลาดแล้ว” เออิอิชิกล่าว

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส
ศึกษาการใช้งานรถ BEV ในไทย ผ่านการจับมือพันธมิตร ไปรษณีย์ไทย และ OR

ด้านการพัฒนารถ BEV ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัทเพิ่งเซ็น MOU กับ “ไปรษณีย์ไทย” และ บมจ. ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก หรือ “OR” นำเข้ารถ “มินิแวน” รุ่น “มินิแค็บ มีฟ” ที่ใช้ไฟฟ้า 100% มาใช้ในการขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทยจำนวน 2 คัน เพื่อทดลองการใช้งานในเส้นทางประจำระหว่างกรุงเทพฯ-ปทุมธานีเป็นเวลา 1 ปี ส่วน OR จะติดตั้งสถานีชาร์จ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 2 แห่ง

โดยบริษัทเริ่มทดลองกับการใช้รถเชิงพาณิชย์ก่อนเพราะเห็นว่าจะเป็นตลาดที่สำคัญ และบริษัทจะมีโอกาสเก็บข้อมูลไปพัฒนารถให้เหมาะกับเมืองไทยซึ่งมีความต่างจากญี่ปุ่นหลายด้าน เช่น สภาพอากาศ

 

เรือธงปีนี้ส่ง “New Xpander” ลงตลาด

เออิอิชิกล่าวต่อถึงการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ของปีนี้ โดยต่อยอดจากความสำเร็จของรถรุ่น Xpander ที่สามารถครองตลาดรถประเภท MPV ได้ 60-70%

“เออิอิชิ โคอิโตะ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เผยโฉมใหม่ “New Xpander” เปิดขายจริงกลางเดือนเมษายน 2565

ปีนี้จะมีการออกรุ่น New Xpander ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ 2 ต่อจากอินโดนีเซียที่มีการเปิดขาย รุ่นนี้จะมีการปรับปรุงใหม่หลายๆ ด้าน ดังนี้

  • มีการปรับรูปลักษณ์ภายนอกและภายในให้มีความสปอร์ตสูงขึ้นในสไตล์รถ SUV เพิ่มอุปกรณ์ใหม่ทันสมัยกว่าเดิม
  • ปรับช่วงล่างให้ศักยภาพดีขึ้น โช้กอัพปรับให้เท่ากับรุ่น Pajero Sport ใช้ล้อแมกซ์ 17 นิ้ว รับน้ำหนักได้ดีขึ้น
  • ปรับ Ground Clearance (ความสูงจากพื้นถนน) สูงขึ้นเป็น 220 มม. แต่จะไม่โคลงเคลงในการขับขี่ โดยรวมแล้วทำให้การขับขี่แบบ off-road ทำได้ดี ตาม DNA ของมิตซูบิชิ มอเตอร์สที่เป็นรถสำหรับแข่งแรลลี่ ลุยได้แม้เป็นทางขรุขระ
  • เปลี่ยนจากเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เป็นเกียร์ Eco Dynamic CVT รอบเครื่องหมุนน้อยลงเพื่อทำความเร็วเท่าเดิม ซึ่งทำให้ประหยัดพลังงานได้ 13% และยังทำให้การเร่งเครื่องจาก 0-100 กม./ชม. ลดเวลาลง 2 วินาที

ขณะนี้มิตซูบิชิ มอเตอร์สยังไม่ประกาศราคา New Xpander แต่จะเปิดให้สัมผัสและทดลองขับคันจริงที่งานมอเตอร์โชว์ประจำปี 2565 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน 2565 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี อย่างไรก็ตาม จะเปิดจองผ่านดีลเลอร์ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคมนี้ และเริ่มจำหน่ายจริงช่วงกลางเดือนเมษายน 2565 บริษัทยังแย้มด้วยว่า ผู้ที่สนใจและต้องการรถด่วนควรรีบจองก่อน เนื่องจากปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ยังส่งผลต่อการผลิตอยู่ในขณะนี้

จำนวนการผลิตและการส่งออกของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ปี 2564

ปิดท้ายที่ผลการดำเนินงานของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เมื่อปี 2564 เออิอิชิรายงานว่า ปีก่อนสถานการณ์ตลาดเริ่มดีขึ้นจากดีมานด์ต่างประเทศ ทำให้การผลิตและการส่งออกดีขึ้น โดยการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น 41.3% เป็น 318,000 คัน และการส่งออกเพิ่ม 54% เป็น 285,000 คัน

ฐานผลิตมิตซูบิชิ มอเตอร์สในไทยถือเป็นฐานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกของแบรนด์ มีกำลังผลิต 400,000 คันต่อปี และมีการส่งออกสะสมแล้ว 4 ล้านคัน เป้าหมายต่อไป บริษัทต้องการจะส่งออกสะสมให้ได้ 5 ล้านคันเร็วๆ นี้

]]>
1378093
‘ชิปขาดตลาด’ ทำผู้ผลิตรถยนต์เสียหาย 2.1 แสนล้านเหรียญ ลุ้น ‘โช้คอัพ’ ของขาดชิ้นต่อไป https://positioningmag.com/1353994 Wed, 29 Sep 2021 10:30:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353994 ปัญหาการขาดแคลนชิปถือเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยปัญหาดังกล่าวเกิดจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ยอดขายรถยนต์ลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ได้ลดคำสั่งซื้อชิปในอนาคต เพราะคาดว่าความต้องการรถยนต์ใหม่จะยังคงตกต่ำเป็นระยะเวลานาน

อย่างไรก็ตาม เมื่อยอดขายรถยนต์ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ ผู้ผลิตรถยนต์พบว่าพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนคำสั่งซื้อชิปของได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างมากเพราะผู้คนส่วนใหญ่อยู่บ้านมากขึ้น ทำให้สินค้าไอทีไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป แท็บเล็ต โทรศัพท์ ได้มาแย่งซัพพลายไปใช้ ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้โรงงานผลิตรถยนต์บางแห่งต้องปิดตัวลง การขนส่งรถยนต์ล่าช้า และส่งราคารถทะลุเพดาน แต่ดูเหมือนปัญหาขาดแคลนชิปจะไม่ใช่แค่ปัญหาเดียว

Mark Wakefield ที่ปรึกษาทางธุรกิจ จาก AlixPartners กล่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์ประสบปัญหาในการรับชิ้นส่วนและวัตถุดิบทุกประเภทด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงการปิดโรงงานของซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้องจากการระบาดของ COVID-19 ปัญหาด้านโลจิสติกส์ที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนเรือส่งสินค้า การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และคนขับรถบรรทุก

ปัญหาต่าง ๆ ส่งผลให้ต้นทุนที่เกิดจากวิกฤตด้านซัพพลายเชนในปัจจุบันใหญ่กว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มาก ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนที่สูงขึ้นมากสำหรับผู้ผลิตรถยนต์และผู้ซื้อรถยนต์เช่นกัน โดยคาดว่าปัญหาทั้งหมดทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ผลิตรถยนต์ลดลงถึง 7.7 ล้านคันทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดไว้ในเดือนพฤษภาคมที่ 3.9 ล้านคัน

จากจำนวนการผลิตที่ลดลง ส่งผลให้อุตสาหกรรมสูญเสียเงินกว่า 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากที่เคยประมาณการไว้ที่ 1.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มประมาณ 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากราคารถยนต์ที่พุ่งสูงขึ้นราว 2,000 ดอลลาร์ต่อคัน ซึ่งเมื่อเทียบยอดขายที่หายไปแล้ว ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องสูญเงินกว่า 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

Photo : AFP

แม้ปัญหาการขาดแคลนชิปคาดว่าจะหมดไปในช่วงไตรมาส 2 ของปี แต่เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่พุ่งสูงขึ้นทำให้เกิดการขาดแคลนรอบใหม่ เนื่องจากโรงงานชิปถูกบังคับให้ปิดตัวลงชั่วคราวในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น มาเลเซีย นอกจากนี้ยังส่งผลถึงวัตถุดิบอื่น ๆ อีกด้วยโดยเฉพาะโลหะและเรซิ่น

Dan Hearsch กรรมการผู้จัดการของ AlixPartners กล่าวว่า เมื่อพูดถึงการผลิตหรือการจัดหาวัสดุ การขาดแคลนหรือการหยุดชะงักของการผลิตในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกส่งผลกระทบต่อบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก และขณะนี้ผลกระทบก็เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนอื่น ๆ ทั้งหมด อย่างตอนนี้ไม่มีโช้คอัพเหลืออยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว

Source

]]>
1353994
‘โตโยต้า’ ปรับลดการผลิต ‘รถยนต์’ ทั่วโลกลง 40% ในเดือน ก.ย. เซ่นวิกฤต ‘ขาดเเคลนชิป’ https://positioningmag.com/1347976 Fri, 20 Aug 2021 12:04:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347976 วิกฤตขาดเเคลนชิปผสมกับวิกฤตโควิดทำให้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ทั่วโลกสะดุด ล่าสุดยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า’ ต้องปรับลดการผลิตลงถึง 40% จากเเผนเดิมในเดือนก.นี้

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป (Toyota Motor Corp) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากญี่ปุ่น จะปรับกำลังการผลิตในช่วงเดือนก..ลดลง 40% จากแผนเดิม เนื่องจากปัญหาการขาดเเคลนเซมิคอนดักเตอร์

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงประมาณการยอดขายและกำลังผลิตทั้งหมดของปีนี้ ไว้ตามเป้าหมายเดิม โดยโตโยต้า คาดว่าจะสามารถผลิตรถยนต์ทั่วโลกได้ตามเป้าหมายที่ 9.3 ล้านคัน เเละหวังจะทำยอดขายให้ได้ 8.7 ล้านคัน ในปีงบประมาณนี้ (เม.. 2021 – มี.. 2022) 

ในช่วงที่ผ่านมา นับว่าโตโยต้าสามารถจัดการปัญหาขาดเเคลนชิปได้ดีกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ เพราะมีการสต็อกของไว้จำนวนมาก เเต่เมื่อสถานการณ์ยังยืดเยื้อ บวกวิกฤตโควิดที่ทวีความรุนเเรงขึ้น ความเสี่ยงในภาคการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

โตโยต้า ระบุว่า การลดการผลิตในเดือนก..นี้ จะครอบคลุมโรงงาน 14 แห่งในญี่ปุ่น และโรงงานในต่างประเทศ และบริษัทจะลดการผลิตตามแผนทั่วโลกในเดือนเดียวกันนี้ ลงประมาณ 360,000 คัน

Photo : Shutterstock

บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต่างปรับลดการผลิตลงในช่วงนี้ หลังจากภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ประกอบกับยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงขึ้นในประเทศที่เป็นฐานการผลิตอย่าง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย ซึ่งมีมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด

โดย Volkswagen ของเยอรมนี เพิ่งประกาศว่า อาจต้องลดการผลิตเพิ่มเติมและคาดว่าซัพพลายของชิปในไตรมาส 3 จะผันผวนและตึงตัวมากเช่นเดียวกัน Ford Motor Co ที่จะปิดทำการโรงงานประกอบรถยนต์ในเมืองแคนซัสซิตี้ สหรัฐฯ ชั่วคราว เนื่องจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์

ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia รายงานว่า โตโยต้า ได้ระงับสายการผลิตที่โรงงานในญี่ปุ่นเเล้วเป็นบางแห่ง ในช่วงปลายเดือนก..ถึงต้นเดือนส.. เพราะขาดแคลนชิ้นส่วนจากเวียดนาม

เเหล่งข่าวในวงการรายหนึ่ง บอกกับ Reuters ว่า โตโยต้า ได้ระงับการผลิตในโรงงานแห่งหนึ่งที่เมืองกวางโจวประเทศจีนด้วย

เมื่อปลายเดือนก..ที่ผ่านมาโตโยต้าต้องหยุดการผลิตโรงงานประกอบรถยนต์ 3 แห่งในไทยชั่วคราว เนื่องจากผู้ป้อนอะไหล่ในท้องถิ่นหยุดการผลิตเพราะสถานการณ์โควิด

ทั้งนี้ โรงงาน 3 แห่งในไทย นับเป็นโรงงานหลักของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นฐานการผลิตในต่างประเทศที่ใหญ่รองจากจีน และสหรัฐฯ สามารถผลิตรถยนต์ได้ราว 750,000 คันต่อปี 

 

ที่มา : Reuters , kyodonews

]]>
1347976
TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน ประกาศทุ่มลงทุน 3 ล้านล้านบาท แก้วิกฤต ‘ชิปขาดตลาด’ https://positioningmag.com/1326515 Sun, 04 Apr 2021 10:45:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326515 วิกฤตชิปขาดตลาด’ ที่สะเทือนหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกในตอนนี้ มีเเนวโน้มจะลุกลามต่อไปในระยะยาว

ล่าสุด TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกจากไต้หวัน ที่มีลูกค้าสำคัญอย่าง Apple ประกาศทุ่มเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 ล้านล้านบาท) ในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตชิปที่กำลังขาดตลาดอยู่มาก

ในปีนี้ TSMC จะวางแผนจะใช้งบลงทุนราว 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.7 แสนล้านบาท) เพื่อขยายการผลิตและพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนไมโครชิปให้ทันกับความต้องการ’ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ TSMC ยังไม่เปิดเผยว่าจะมีการตั้งโรงงานเเห่งใหม่ที่ใดบ้าง

การที่เซมิคอนดักเตอร์เกิดปัญหาขาดตลาดดังกล่าว ส่งผลต่อการผลิตสินค้าหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฟน เเละอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

โดยอุตสาหกรรม ‘ยานยนต์’ ถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งเจ้าใหญ่อย่าง Volkswagen, Honda, Toyota และ General Motors ต่างก็ต้องลดจำนวนการผลิตลง

ขณะเดียวกัน ฝ่ายผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เจ้าใหญ่ ก็ตัดสินใจส่งสินค้าให้กับบรรดาบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ก่อนที่จะผลิตให้กับค่ายรถยนต์

เพราะช่วงวิกฤต COVID-19 การเดินทางที่น้อยลง ทำให้ตลาดรถยนต์ซบเซา เเละความต้องการซื้อรถยนต์ก็ลดลงตามไปด้วย เเต่สินค้าแกดเจ็ตเเละเครื่องเล่นเกม กลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะผู้คนต้องอยู่บ้าน ทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือออกกำลังกายที่บ้านกันมากขึ้น

TSMC ประเมินว่า ความต้องการของสินค้าเซมิคอนดักเตอร์จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกระเเส ‘megatrends’ ในโลกเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเเละการมาของ 5G ขณะเดียวกันการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ก็เป็นตัวเร่งให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลเร็วยิ่งขึ้นในทุกๆ ด้าน

ฝั่ง ‘Intel’ ก็ได้ประกาศว่าจะทุ่มเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปใหม่ 2 แห่งในสหรัฐฯ และยุโรปเพิ่มอีก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ รวมไปถึงเพื่อแข่งขันให้ได้มากขึ้นในตลาดที่จะมีมูลค่าถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2025

“Intel เป็นและจะยังคงเป็นผู้พัฒนาชั้นนำของเทคโนโลยีผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่และเป็นผู้ให้บริการชั้นของโลก” ‘Pat Gelsinger CEO คนใหม่ของ Intel ระบุ

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตชิปของไต้หวัน โดยรวมมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากอเมริกา ถือเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ เเต่ปัญหาการจัดการน้ำ ไฟฟ้าเเละเเรงงาน ยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ต้องจับตาในระยะยาว

 

 

ที่มา : BBC , CNN

]]>
1326515
รถยนต์ไฟฟ้า “ตามจีบ” อินโดนีเซีย ขุมทรัพย์เเร่นิกเกิล Tesla เจรจาขอลงทุน “เเบตเตอรี่” https://positioningmag.com/1300217 Tue, 06 Oct 2020 11:49:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300217 ดาวรุ่งเเห่งรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla กำลังตามหาเเหล่งขุมทรัพย์เเบตเตอรี่โดยเริ่มเจรจาลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย ประเทศผู้ผลิตแร่นิกเกิลมากที่สุดในโลก

มีกระเเสข่าวก่อนหน้านี้ว่า Tesla กำลังเจรจากับบริษัท Giga Metals และ Vale ในแคนาดาเพื่อจัดหาเเร่นิกเกิล วัตถุดิบสำคัญของการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เเละคราวนี้ก็มาถึงการเจรจาลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล บอกกับ Reuters ว่าเป็นการหารือในช่วงแรก และตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียด จะต้องมีการคุยกับ Tesla เพิ่มเติมต่อไป โดยอินโดนีเซียมีสิ่งจูงใจหลายอย่างสำหรับการลงทุนของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า

อินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตเเร่นิกเกิลรายใหญ่ที่สุดของโลก เเละมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 46% เป็น 550,000 ตันต่อปี

ไม่นานมานี้ รัฐบาลมีคำสั่งห้ามส่งออกแร่นิกเกิลเพื่อหันมาส่งเสริมให้อุตสาหกรรมในประเทศ ดังนั้นหาก Tesla ต้องการจะได้เเร่นิกเกิลของอินโดนีเซีย ก็ต้องมีการลงทุนเพื่อแปรรูปในประเทศนั่นเอง

ที่ผ่านมา Tesla ว่าจ้างให้บริษัทผู้ผลิตหลายรายทำแบตเตอรี่ให้ ทั้ง Panasonic ของญี่ปุ่น เเละ Contemporary Amperex Technology (CATL) ของจีน เเต่เเผนต่อไปของ Tesla ว่าคือการหันมาผลิตแบตเตอรี่เอง เพราะมองว่าจะเป็นผลประโยชน์ของบริษัทในระยะยาวมากกว่า เเละจะทำให้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าถูกลงในอนาคต

การร่วมลงทุนกับรัฐบาลอินโดนีเซีย จึงเป็นเหมือนการจองวัตถุดิบเพื่อผลิตแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมหาศาล

ในขณะที่ยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก แต่นักเคลื่อนไหวบางกลุ่มกังวลว่า การผลิตชิ้นส่วนและการขุดเเร่ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจทำลายสิ่งแวดล้อม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้บรรลุข้อตกลงกับ LG Chem ของกาหลีใต้ และ CATL ของจีนเพื่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมนี้ของอินโดนีเซียเริ่ม เนื้อหอมขึ้นมาทันที ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศของการผลิตแบตเตอรี่ ที่จะดึงดูดบรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อีกหลายเจ้าเข้ามาลงทุนต่อไป

 

ที่มา : Reuters , Electrek

]]>
1300217
Renault ระส่ำ เตรียมเลิกจ้างเกือบ 15,000 ตำเเหน่งทั่วโลก ลดกำลังผลิตรถยนต์ https://positioningmag.com/1281255 Fri, 29 May 2020 12:34:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281255 Renault ปรับองค์กรครั้งใหญ่ เตรียมปลดพนักงานทั่วโลกกว่า 14,600 คน โดย 1 ใน 3 เป็นการเลิกจ้างในฝรั่งเศส เพื่อรักษาสถานภาพของบริษัทในช่วงที่ยอดขายรถยนต์ตกต่ำ ซึ่งเป็นไปตามเเผนการลดค่าใช้จ่าย 2,000 ล้านยูโรให้ได้ภายใน 3 ปีข้างหน้า

โดย Renault เตรียมจะลดกำลังการผลิตรถยนต์จากปีละ 4 ล้านคันในปี 2019 ให้เหลือ 3.3 ล้านคันภายในปี 2024

ตลาดยานยนต์ทั่วโลกซบเซาต่อเนื่องมาหลายปี เเละการที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ประกอบกับปัญหาภายในองค์กรของ Renault เริ่มระส่ำหลัง Carlos Ghosn อดีตซีอีโอที่เป็นผู้บริหารคนสำคัญถูกตั้งข้อหาประพฤติมิชอบทางการเงินในญี่ปุ่นเเละกำลังอยู่ระหว่างการหลบหนี

โดยก่อนหน้าที่ Carlos Ghosn จะมีปัญหาคดีความ Renault เคยตั้งเป้าที่จะขายรถยนต์ให้ได้มากกว่า 5 ล้านคันภายในปี 2022

ทางบริษัทระบุว่า เพื่อให้เเผนการปรับองค์กรดำเนินไปได้ ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 โรงงานบางแห่งจากทั้งหมด 6 เเห่งในฝรั่งเศส อาจต้องยุติการผลิตรถยนต์ ทำให้พนักงานส่วนหนึ่งต้องพ้นจากตำเเหน่ง โดยตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงหารือกับสหภาพเเรงงาน ซึ่งจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เบื้องต้นประเมินไว้ที่ 4,600 ตำเเหน่งในฝรั่งเศส

พร้อมกันนั้นจะมีเเผนการปรับลดพนักงานในต่างประเทศ อีกราว 10,000 ตำแหน่ง ซึ่งจะมีการระงับการขยายการผลิตในโมร็อกโกเเละโรมาเนีย รวมถึงจะนำเเผนกิจการในรัสเซียมาทบทวนใหม่ด้วย

Photo : Shutterstock

Renault เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่มีส่วนเเบ่งในตลาดรถยนต์โลกประมาณ 4% มีพนักงานทั่วโลกราว 1.8 เเสนคน เป็นพนักงานในฝรั่งเศสราว 4.8 หมื่นคน มีผู้ถือหุ้น 15.01% คือรัฐบาลฝรั่งเศสเเละพันธมิตรอย่าง Nissan Motor ที่ถือหุ้นอยู่ 15%

ความเคลื่อนไหวของ Renault ครั้งนี้เกิดขึ้นหลัง Nissan Motor ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่นหุ้นส่วนสำคัญ เพิ่งประกาศขาดทุน 6.7 เเสนล้านเยน (ราว 1.9 เเสนล้านบาท) ซึ่งถือเป็นการขาดทุนรายปีครั้งเเรกในรอบ 11 ปี นับตั้งเเต่ช่วงวิกฤตการเงินโลก โดยเตรียมจะปิดโรงงานในเมืองบาร์เซโลนาของสเปน เเละย้ายสายการผลิตจากอินโดนีเซียมาไทย

นอกจากนี้ Nissan จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงการลดจำนวนโรงงานและธุรกิจที่ไม่ทำกำไรให้น้อยลง ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้ต้องปรับกำลังการผลิตรถยนต์ เหลือ 5.4 ล้านคันต่อปี ลดลงราว 20% ลดจำนวนรุ่นจาก 69 รุ่นเหลือเพียง 55 รุ่น เป็นต้น

โดย Renault กำลังเจรจาเงื่อนไขขอเงินกู้ช่วยเหลือมูลค่า 5,000 ล้านยูโร (ราว 1.76 เเสนล้านบาทจากรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงพิจารณา 

เมื่อวันที่ 27 ..ที่ผ่านมา Emmanuel Macron ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประกาศเเผนทุ่มเงินกว่า 8,000 ล้านยูโร (ราว 2.8 เเสนล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ หวังขึ้นเป็นผู้นำผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของยุโรป

อ่านเพิ่มเติม : เปิดเเผนฝรั่งเศสอัดงบฟื้นอุตฯยานยนต์ หวังพลิกวิกฤตสู่เบอร์ 1 รถยนต์ไฟฟ้าเเห่งยุโรป

Renault , Citroen เเละ Peugeot มียอดขายรถยนต์เเละรายรับลดลงถึง 80% ซึ่งเป็นผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ 2 เดือนเพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ในฝรั่งเศส เเละภายในสิ้นเดือนมิ..จะมีรถยนต์ราว 5 เเสนคันที่ยังขายไม่ออก

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมรถยนต์ในฝรั่งเศส มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 4,000 แห่ง มีพนักงานโดยตรงกว่า 4 เเสนคน เเละมีการจ้างงานรวมทั้งวงการกว่า 9 เเสนคน

 

ที่มา : financial times , Reuters , nytimes

]]> 1281255