ผู้ผลิตวัคซีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 27 Sep 2021 10:19:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ซีอีโอ ‘ไฟเซอร์-โมเดอร์นา’ มองโลกจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ใน 1 ปี อาจต้องฉีดวัคซีนทุกปี https://positioningmag.com/1353450 Mon, 27 Sep 2021 08:12:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353450 ซีอีโอของสองบริษัทผู้ลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลกอย่างไฟเซอร์เเละโมเดอร์นามีความเห็นตรงกันถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่าภายใน 1 ปี สังคมโลกจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ เเต่อาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี

Albert Bourla ซีอีโอของไฟเซอร์ (Pfizer) ให้สัมภาษณ์ในรายการ This Week ของ ABC ว่า ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ภายใน 1 ปีนับจากนี้ แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่ เเละไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องฉีดวัคซีนอีก เพราะยังมีตัวแปรอื่นๆ อีกมาก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเป็นประจำทุกปี เพื่อรองรับไวรัสกลายพันธุ์

อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่า นี่เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น โดยต้องรอดูสถานการณ์และข้อมูลให้ชัดเจนมากขึ้น

ด้าน Stephane Bancel ซีอีโอของโมเดอร์นา (Moderna) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Neue Zuercher Zeitung ว่า การระบาดของโควิด-19 อาจจะสามารถสิ้นสุดลงได้ภายใน 1 ปีนับจากนี้ หากยังคงมีการผลิตเเละฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

โดยหากดูถึงอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรม ในด้านกำลังการผลิตวัคซีนเมื่อช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่ามีวัคซีนเพียงพอ’ ในกลางปีหน้า ซึ่งจะทำให้ทุกคนบนโลกสามารถเข้าถึงการฉีดวัคซีน เเละยังสามารถฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เป็นบูสเตอร์ช็อตได้หากมีความจำเป็น

ขณะเดียวกัน เขามองว่า กลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ก็จะได้รับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ จากมีตัวแปรสำคัญอย่างสายพันธ์ุเดลตาที่ติดต่อได้ง่าย ผู้ได้รับวัคซีนเเล้วอาจมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ เเต่กับคนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน จะมีความเสี่ยงติดเชื้อและอาจป่วยถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลมากกว่า

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เพิ่งจะอนุมัติให้สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของ Pfizer-BioNTech เป็นเข็มบูสเตอร์ช็อตได้ สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีอายุ 18-64 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ที่ทำงานในที่เสี่ยงภัย ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มมาแล้วเกิน 6 เดือน

ท่ามกลางข้อถกเถียงเรื่องการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเป็นข้อได้เปรียบของประเทศร่ำรวยเเละยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรก

ซีอีโอไฟเซอร์ ตอบคำถามถึงประเด็นนี้ว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สุดในตอนนี้คือความจำเป็นของเข็มกระตุ้น ซึ่งถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ต้องใช้

ก่อนหน้านี้ ไฟเซอร์คาดการณ์ยอดขายวัคซีนของบริษัทในปีนี้มากกว่า 2.6 หมื่นล้านเหรียญ เเละกำลังมองหาวิธีที่จะเพิ่มการผลิต โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ได้ 3 พันล้านโดสภายในปีนี้ และ 4 พันล้านโดสในปีหน้า

จากข้อมูลของ IQVIA Holdings ระบุว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก และวัคซีนเข็มต่อไปเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อาจมีมูลค่ารวมสูงถึง 1.57 เเสนล้านเหรียญในปี 2025

 

 

ที่มา : CNBC , Fox Business

]]>
1353450
ผู้ผลิตวัคซีน อาจโกยรายได้ปีนี้ เกือบ 6 ล้านล้านบาท ‘ซิโนฟาร์ม-ซิโนแวค’ สัดส่วน 25% https://positioningmag.com/1334373 Fri, 28 May 2021 08:30:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334373 ในปีนี้ บริษัทวิจัยประเมินว่า บรรดาผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลก อาจทำรายได้สูงสุดเเตะ 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 6 ล้านล้านบาท โดยสองบริษัทจีนอย่าง Sinopharm (ซิโนฟาร์ม) เเละ Sinovac (ซิโนเเวค) โกยสัดส่วนรายได้ไปถึง 25%

Airfinity บริษัทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ รายงานตัวเลขคาดการณ์รายได้จากการจำหน่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19’ ของ 9 บริษัทใหญ่ เช่น Pfizer (ไฟเซอร์) เเละ Moderna (โมเดอร์นา) ของสหรัฐฯ Sinovac Biotech และ Sinopharm Group ของจีน

โดยระบุว่า กรณีการผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้ผลิตวัคซีนทั้งหลายจะทำรายได้ราวสูงสุดถึง 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ สองบริษัทจากประเทศจีน จะมีสัดส่วนรายได้อย่างน้อย 1 ใน 4 (ราว 25%)

เเต่หากเกิดข้อจำกัดด้านการผลิตและปัญหาการขาดแคลน อาจทำให้ตัวเลขรายได้ของปีนี้ ลดลงมาอยู่ที่ 115,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.59 ล้านล้านบาท)

วัคซีนโควิด-19 ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนของรัฐบาลต่างๆ เพื่อฟื้นฟูสังคม และหลีกเลี่ยงต้นทุนทางเศรษฐกิจที่จะเสียหายหลายล้านล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงวัคซีนของประเทศยากจนหลายแห่ง ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากภาระค่าใช้จ่าย และการกักตุนวัคซีนในประเทศร่ำรวย

Rasmus Bech Hansen ซีอีโอของ Airfinity ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่านี่เป็นตลาดที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตัวเลขเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถจัดหาวัคซีนที่จำเป็นได้ เพราะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากเพื่อฉีดวัคซีนให้ประชากรทั้งหมด

Photo : Shutterstock

Airfinity ย้ำว่า การคาดการณ์รายได้ ขึ้นอยู่กับราคาและการที่บริษัทต่างๆ จะบรรลุเป้าหมายการผลิตและการจัดส่งหรือไม่ โดยขณะนี้มีบางบริษัทกำลังเผชิญปัญหานี้อยู่

ปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้จำนวนวัคซีนที่ผลิตได้จริงในปีนี้ น้อยกว่าที่เหล่าผู้ผลิตคาดการณ์ไว้ถึง 42% เเละอาจทำให้รายได้รวม ลดลงเหลือเพียง 97,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ยกตัวอย่าง เช่น การผลิตวัคซีนของ Novavax (โนวาเเวกซ์) ในสหรัฐฯ ที่ประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 2,000 ล้านโดสในปีนี้ แต่ทาง Airfinity ประเมินว่าจะสามารถผลิตได้เพียง 400 ล้านโดส

จีนกำลังมีบทบาทสำคัญในการกระจายวัคซีนทั่วโลก หลังคู่เเข่งอย่างอินเดียต้องเจอกับวิกฤตการระบาดขั้นสาหัสทำให้ต้องระงับการส่งออกวัคซีนไปต่างประเทศชั่วคราว

Airfinity ประเมินว่า บริษัทจีนอย่าง Sinovac อาจทำรายได้จากการจำหน่ายวัคซีนมากถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Sinopharm จะทำได้ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองบริษัท ทำรายได้ไปแล้วอย่างน้อยแห่งละ 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่ผ่านมา เราเคยมองว่าการส่งออกวัคซีนของจีนเป็นเครื่องมือนโยบาย ทำให้ตัวเลขรายได้ที่เเท้จริงกลับถูกมองข้ามไปจริงๆ เเล้วราคาวัคซีนของจีนไม่ได้ถูกขนาดนั้น” Bech Hansen กล่าวว่า 

(Photo by Andressa Anholete/Getty Images)

ด้านรายได้ของ Pfizer และ Moderna บริษัทวิจัยประเมินว่า อาจทำรายได้ถึง 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ แต่ตัวเลขจริงอาจจะลดลงกว่านั้น

โดย Pfizer เองตั้งเป้าจะจำหน่ายวัคซีนที่ร่วมพัฒนากับ BioNTech ของเยอรมนีได้ราว 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Moderna ตั้งเป้าว่าจะทำรายได้ราว 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับราคาของวัคซีนเเต่ละเจ้า ตามรายงานของ Airfinity ระบุว่า

  • Sinovac และ Sinopharm อยู่ที่โดสละ 12-23 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-720 บาท) 
  • Pfizer อยู่ที่โดสละ 12-14.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 375-453 บาท)
  • Moderna อยู่ที่โดสละ 18-32 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 563 – 1,000 บาท)
  • AstraZeneca อยู่ที่โดสละ 3.50-5.25 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 109 – 164 บาท)

ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขายวัคซีนที่เเตกต่างกันทำให้คาดการณ์ตัวเลขยอดขายได้ยาก เนื่องจากผู้ผลิตจะกำหนดราคา ตามระดับรายได้ของประเทศนั้นๆ เช่นกลุ่มลูกค้าประเทศร่ำรวย บริษัทจะขายให้เเพงกว่าประเทศรายได้ต่ำหรือปานกลางนั่นเอง

 

 

ที่มา : Bloomberg

 

]]>
1334373
‘Sanofi’ เตรียมทุ่ม 400 ล้านยูโร ตั้งโรงงานผลิตวัคซีนใน ‘สิงคโปร์’ รองรับโรคระบาดในอนาคต https://positioningmag.com/1327778 Tue, 13 Apr 2021 08:43:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327778 ‘Sanofi’ บริษัทยายักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศส ลงทุนหนักหลังตามไม่ทันคู่เเข่ง เตรียมทุ่ม 400 ล้านยูโร (ราว 1.5 หมื่นล้านบาท) สร้างโรงงานเเห่งใหม่ในสิงคโปร์ภายในช่วง 5 ปีนี้ เพื่อผลิตวัคซีนหลายชนิด รองรับโรคระบาดในอนาคต

Sanofi ระบุว่าการขยายโรงงานดังกล่าว เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตวัคซีนจำนวนมหาศาลในเอเชีย พร้อมตอบสนองต่อความเสี่ยงจากการเเพร่ระบาดเเบบใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก

คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ พร้อมดำเนินการได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2026 โดยส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อนำมาใช้ในเอเชีย เเละเสริมกำลังการผลิตที่มีอยู่ของบริษัทในยุโรปและอเมริกาเหนือ

จุดเด่นของโรงงานใหม่ในสิงคโปร์เเห่งนี้ คือจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 3-4 ชนิด ด้วยต้นทุนที่ลดลง ขณะที่
โรงงานอื่นๆ ของ Sanofi ผลิตวัคซีนได้เเห่งละชนิดเท่านั้น

อีกทั้งยังจะสามารถผลิตวัคซีนชนิดพิเศษขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ตามสถานการณ์เเละความจำเป็นด้านสาธารณสุข จากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดเซลล์ที่แตกต่างกัน 

การดึงดูดลงทุนของภาคเอกชนต่างชาติ เป็นหนึ่งในนโยบายการตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ก่อนหน้านี้ ประกาศตัวเตรียมเป็น ‘จุดศูนย์กลาง’ ขนส่งวัคซีนไปทั่วภูมิภาค โดยชูความพร้อมทางด้านดิจิทัล

ขณะเดียวกัน Sanofi กำลังสู้กับการเเข่งขันที่ดุเดือดในวงการผู้ผลิตวัคซีน ที่ถูกคู่เเข่งอย่าง Pfizer-BioNTech , Moderna , Johnson & Johnson เเซงหน้าเรื่องการผลิตวัคซีน COVID-19 ไปจึงมีความพยายามที่จะกลับมาชิงตลาดอีกครั้งด้วยการทุ่มลงทุนครั้งใหญ่ ซึ่ง Sanofi เผยว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาของบริษัทจะพร้อมใช้ได้เร็วที่สุดในช่วงปลายปี 2021

 

ที่มา : CNA , Straitstimes

]]>
1327778
‘อินเดีย’ ท็อปฟอร์ม กำลังก้าวสู่ประเทศผู้ผลิต ‘วัคซีนโควิด’ เบอร์ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1319499 Tue, 16 Feb 2021 06:59:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319499 อินเดียกำลังจะก้าวสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตวัคซีน รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยจะมีกำลังผลิตที่สูงมาก ครอบคลุมทั้งประชากรในประเทศ 1.3 พันล้านคน เเละยังส่งต่อไปยังประเทศกำลังพัฒนาด้วย

ความเห็นจากนักวิเคราะห์มองไปในทิศทางเดียวกันว่าอินเดียมีเเนวโน้มจะขึ้นตัวท็อปในการผลิตวัคซีน COVID-19 ของโลก ทั้งในด้านการคิดค้นวัคซีนและผลิตเอง หรือเป็นโรงงานรับจ้างผลิตให้กับต่างชาติ

นักวิเคราะห์จาก JPMorgan ระบุว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤต COVID-19 ‘วัคซีนกว่า 60% ที่ใช้กันทั่วโลกนั้นมีการผลิตจากอินเดีย เเละมีต้นทุนต่ค่อนข้างต่ำกว่าประเทศอื่น จนได้รับฉายาว่าเป็นโรงงานวัคซีนของโลก

ด้านนักวิเคราะห์จาก Deloitte ประเมินว่าในปีนี้ อินเดียจะสามารถผลิตวัคซีน COVID-19 ได้มากกว่า 3.5 พันล้านโดส เป็นรองเเค่สหรัฐอเมริกา ที่มีกำลังผลิตอยู่ที่ 4 พันล้านโดส 

อินเดีย อนุมัติใช้วัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับ วัคซีนโควิชีลด์ (Covishield) ของ AstraZeneca-Oxford จากสหราชอาณาจักร พร้อมกับอนุมัติใช้ วัคซีนโควาซิน (COVAXIN) ของ “ภารตะไบโอเทค” หนึ่งในผู้ประกอบการด้านชีวเภสัชภัณฑ์รายใหญ่ของอินเดีย โดยประกาศเริ่มกระจายวัคซีนให้ประชากรกว่า 1,300 ล้านคน ตั้งเเต่ 16 .เป็นต้นไป

บรรดาบริษัทยาในอินเดีย กำลังเร่งกำลังการผลิตวัควีนออกมาให้ทันความต้องการ โดยบริษัทภารตะไบโอเทค ซึ่งร่วมมือสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย (ICMR) ประกาศตั้งเป้าจะเร่งผลิตวัคซีนให้ได้ 700 ล้านโดส 

ขณะที่วัคซีน Covishield ของ AstraZeneca-Oxford ซึ่งสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (SII) รับหน้าที่ผลิตนั้น เริ่มผลิตได้เดือนละ 50 ล้านโดส และตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตให้ได้เดือนละ 100 ล้านโดส ตั้งแต่เดือน มี.. เป็นต้นไป 

(Photo by Yawar Nazir/Getty Images)

นอกจากนี้ เอกชนอินเดียอีกหลายเจ้า ได้ตกลงรับจ้างผลิตวัคซีนให้กับบริษัทต่างชาติ อย่างเช่น วัคซีน Sputnik จากกองทุน RDIF ของรัสเซีย และวัคซีนของ Johnson & Johnson ซึ่งยังต้องรอการอนุมัติในอินเดียเสียก่อน

นักวิเคราะห์มองว่า วัคซีนที่ผลิตในอินเดีย เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาเพราะง่ายต่อการขนส่งและราคาต่ำกว่า เมื่อเทียบกับวัคซีนในตลาดอย่าง Pfizer-Biontech เเละ Moderna

ด้านรัฐบาลอินเดีย’ คว้าโอกาสในยามวิกฤต ด้วยการส่ง ‘วัคซีนไมตรี’ เป็นของขวัญเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้วัคซีน COVID-19 มาเป็นพระเอกของ ‘การทูตเเบบใหม่’ เพื่อยกระดับบทบาทในเวทีโลก ไปพร้อมๆ กับการ ‘ต่อต้านจีน’ ที่กำลังขยายอิทธิพลในเอเชียใต้

โดยได้ประกาศโครงการบริจาควัคซีน ที่มีชื่อ ‘VaccineMaitr’ (วัคซีนไมตรีหรือ ‘Vaccine friendship’ ให้กับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อฟื้นฟูผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ท่ามกลางกระเเสความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนของประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศยากจน

Sreeram Chaulia นักวิเคราะห์จาก Jindal School of International Affairs ให้ความเห็นว่า การที่อินเดียนำวัคซีน COVID-19 มาใช้ในเเนวทางการทูตเเบบใหม่นี้ เป็นไปเพื่อเสริมภาพลักษณ์และขยายอำนาจบนเวทีโลก เเละทำให้อินเดียเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาวัคซีน

PHOTO: AFP/EMBASSY OF INDIA, YANGON

Chaulia มองว่า การส่ง ‘วัคซีนไมตรี’ เเสดงให้เห็นว่าอินเดียอยู่เหนือจีนได้ ในเรื่องการผลิตวัคซีนและสาธารณสุข แม้ว่าจะเป็นรองในด้านการทหารและเศรษฐกิจ

ด้านจีน ก็กำลังขยายอิทธิพลด้วย ‘วัคซีน COVID-19’ เช่นกัน โดยเริ่มมีการบริจาควัคซีนให้กับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และตุรกี เเละมีแผนจะบริจาคให้อีกหลายประเทศในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ เเต่ก็ยังมีข้อกังขาในประสิทธิภาพของวัคซีน เช่นในวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) 

อินเดียเป็นผู้ผลิตยารายใหญ่ของโลกอยู่เเล้ว เเละจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านการจัดหาวัคซีนต้าน COVID-19 ซึ่งขณะนี้มีวัคซีนจากสองบริษัทที่ผ่านการรับรองจากรัฐบาลอินเดีย พร้อมที่จะนำไปใช้ในการปกป้องมวลมนุษยชาติแล้วนเรนธรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ระบุ

อ่านต่อ : มองเกมการทูตใหม่ของอินเดีย ส่ง ‘วัคซีนไมตรี’ เป็นของขวัญให้เพื่อนบ้าน ต้าน ‘อิทธิพลจีน’

 

 

ที่มา : CNBC , RT 

]]>
1319499