มหาเศรษฐีจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Jul 2024 06:15:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ฮ่องกง’ ปูพรมแดงรอรับ ‘เศรษฐีจีน’ กลับประเทศ หลัง ‘สิงคโปร์’ เริ่มตรวจสอบเงินชาวต่างชาติจากคดีการ ‘ฟอกเงิน’ https://positioningmag.com/1481939 Tue, 09 Jul 2024 05:51:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481939 จากที่รัฐบาลจีนกำลังเข้มงวดกับการปราบปรามการ หนีภาษี ของบรรดา เศรษฐี รวมถึงการป้องกันทรัพย์สินจากนโยบาย Common Prosperity เพื่อลดความไม่เท่าเทียม ทำให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีนจึงย่องออกนอกประเทศ โดย สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในปลายทางยอดนิยม

โดยจากรายงานของ Henley & Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนและการย้ายถิ่นฐาน เผยว่า ในปีที่ผ่านมา เศรษฐีจีน ที่มีรายได้อย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 36.7 ล้านบาท) อพยพออกนอกประเทศถึง 13,800 คน ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนเศรษฐีไหลออกนอกประเทศมากสุดในโลก และในปี 2024 นี้ คาดว่าจะพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 15,200 คน

โดย สิงคโปร์ ถือเป็นปลายทาง Top 3 ที่เศรษฐีจีนย้ายไปอยู่มากที่สุด นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากรัฐออกมาตรการดึงดูดหลายประการ เช่น การลดหย่อนภาษีสำนักงานครอบครัว, โปรแกรมวีซ่าและจัดหาถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ยังเป็นคนเชื้อสายจีนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคดีฟอกเงินมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมีความผิดฐานพัวพันกับการพนันออนไลน์ ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับสำนักงานธุรกิจครอบครัว (Family Office) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินของครอบครัวที่สิงคโปร์ในอนาคต ทำให้มีมาตรการคุมเข้มเพื่อป้องกันการฟอกเงิน ส่งผลให้ลูกค้าบางส่วนไม่อยากมาใช้บริการสำนักงานธุรกิจครอบครัว เพราะหงุดหงิดกับกระบวนการและคำถามที่ถูกถาม

“สำหรับมหาเศรษฐีบนแผ่นดินใหญ่หลายคน เพราะพวกเขาไม่ชอบการแทรกแซงของรัฐบาลตามอำเภอใจ การตรวจสอบของรัฐบาล หรือการคุกคามต่อความมั่งคั่งส่วนบุคคลของพวกเขา นั่นคือเหตุผลที่พวกเขาต้องการย้ายเงินออกจากจีน หากสิงคโปร์จะตรวจสอบและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นดินใหญ่ แล้วทำไมพวกเขาถึงอยากไปที่นั่น?” Zhiwu Chen ศาสตราจารย์ด้านการเงินของมหาวิทยาลัยของฮ่องกง กล่าว

ส่งผลให้คาดว่า ฮ่องกง จะได้อ้าแขนรับเศรษฐีจีนกลับมาประมาณ 200 คนในปีนี้ เนื่องจาก ธุรกิจในฮ่องกงกำลังฟื้นตัว โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของฮ่องกงเติบโต 2.1% เป็น 31 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง (5.4 ล้านล้านดอลลาร์สิงคโปร์)

“ผมเริ่มเห็นมหาเศรษฐีที่เริ่มเข้าไปสร้างธุรกิจสำนักงานครอบครัวในฮ่องกงมากขึ้น หลังธุรกิจของธนาคารเอกชนในจีนฟื้นตัวขึ้น ในขณะที่การเติบโตของกลุ่มเดียวกันในสิงคโปร์ชะลอตัวลง ซึ่งหมายความว่าเงินจะย้ายไปสิงคโปร์น้อยลง”

อีกจุดที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าเงินของเศรษฐีจีนที่จะไปสิงคโปร์ตอนนี้มุ่งหน้าไปยังฮ่องกงก็คือ ยอดขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ยอดนิยมของชาวจีนผู้มั่งคั่งจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% เป็น 1.56 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023

ขณะที่ พอล ชาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในเดือนนี้ว่า ในปีที่ผ่านมา กระแสเงินไหลเข้าสุทธิของกองทุนพุ่งสูงขึ้น มากกว่าสามเท่า เป็นเกือบ 3.9 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง จากที่ในปี 2022 กระแสเงินไหลเข้าของกองทุนความมั่งคั่งและธนาคารส่วนตัวลดลงประมาณ 80%

 

Source

]]>
1481939
คาด “เศรษฐี” 13,500 คนอพยพออกจาก “จีน” ขณะที่ “ออสเตรเลีย” รับอานิสงส์เป็นถิ่นตั้งรกรากใหม่ https://positioningmag.com/1434436 Fri, 16 Jun 2023 10:07:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434436 งานวิจัยพบเมื่อปี 2022 มี “เศรษฐี” 10,800 คนอพยพออกจากประเทศ “จีน” และคาดว่าปี 2023 จะมีการอพยพออกเพิ่มอีก 13,500 คน ถือเป็นเทรนด์ที่เติบโตต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี ฟากประเทศที่จะได้ต้อนรับกลุ่มเศรษฐีในปีนี้คาดว่า “ออสเตรเลีย” จะมาแรงเป็นอันดับ 1 แทนที่ “UAE”

Henley & Partners ที่ปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อย้ายถิ่นฐาน เปิดเผยรายงานที่พบว่า ปีนี้ “จีน” จะยังคงเป็นประเทศที่มีเศรษฐีย้ายออกนอกประเทศมากที่สุดในโลก

โดยในปี 2022 ผู้มีความมั่งคั่งสูง (High Net-Worth Individual: HNWI) อพยพออกจากจีนไป 10,800 คน และคาดว่าปี 2023 น่าจะย้ายออกอีก 13,500 คน

การย้ายถิ่นฐานของเศรษฐีในจีนไม่ได้มีผลโดยตรงจากโรคระบาดโควิด-19 แต่เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมานาน 10 ปี

“การย้ายออกในช่วงหลังนี้อาจจะเป็นผลเสียกับจีนมากกว่าปกติ โดยระหว่างปี 2000-2017 เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างแข็งแรง แต่ความมั่งคั่งและเศรษฐีในประเทศมีเพิ่มขึ้นน้อยมากในช่วงเดียวกัน” Andrew Amoils หัวหน้าฝ่ายวิจัย New World Wealth ผู้ช่วยศึกษาวิจัยรายงานฉบับนี้กล่าว

 

เศรษฐีย้ายออกจากอินเดีย-อังกฤษสูงเช่นกัน

อันดับ 2 ประเทศที่เศรษฐีเลือกย้ายออกมากที่สุดในปี 2023 คือ “อินเดีย” ซึ่งคาดว่าผู้มีความมั่งคั่งจะย้ายถิ่นฐานถึง 6,500 คน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ลดลงจากปี 2022 ไปประมาณ 1,000 คน

อินเดียมีอุปสรรคสำคัญต่อกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งคือเรื่องภาษี และกฎเกณฑ์การนำเงินโยกย้ายออกนอกประเทศที่สามารถตีความได้ตามวิจารณญาณของเจ้าหน้าที่

อย่างไรก็ตาม Amoils ชี้ให้เห็นว่ากรณีของอินเดียอาจไม่น่าเป็นห่วงมากนักเพราะในแต่ละปีก็จะมีเศรษฐีใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากเช่นกัน

ภาพจาก Shutterstock

ขณะที่อันดับ 3 ในปีนี้ตกเป็นของ “อังกฤษ” ซึ่งคาดว่าจะมีเศรษฐีย้ายถิ่นฐานออก 3,200 คน เพิ่มขึ้นสูงมากจากปีก่อนที่มีเศรษฐีย้ายออก 1,600 คน เป็นผลโดยตรงจาก Brexit ที่ทำให้การอยู่อาศัยในอังกฤษเกิดความยุ่งยากเมื่อจะเดินทางเข้าออกสหภาพยุโรป (EU) ประเด็นนี้ทำให้ประเทศใหญ่ใน EU คือ เยอรมนี และ ฝรั่งเศส ได้อานิสงส์ เป็นประเทศต้อนรับเศรษฐีที่ต้องการเดินทางสะดวกในทวีปนี้

ส่วนอันดับที่ 4 คือ “รัสเซีย” คาดจะมีเศรษฐีย้ายออกนอกประเทศ 3,000 คน ถือว่าตัวเลขลดลงแรงจากปีก่อนที่มีเศรษฐีย้ายออกจากรัสเซียไปแล้วถึง 8,500 คน เห็นได้ว่าปัจจัยความไม่มั่นคงทางการเมืองและสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน น่าจะส่งผลต่อผู้มีความมั่งคั่งสูงไปมากแล้ว และเริ่มจะคลายตัวลง

ประเทศในทวีปเอเชียอื่นๆ ที่เป็นแหล่งผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายประเทศก็เริ่มเห็นเทรนด์การย้ายออกของเศรษฐีเช่นกัน เช่น เขตปกครองพิเศษฮ่องกง คาดจะมีเศรษฐีอพยพออก 1,000 คนในปีนี้ ขณะที่เกาหลีใต้น่าจะอพยพไป 800 คน ตามด้วยญี่ปุ่นที่คาดจะย้ายออก 300 คน

โดยในกรณีของฮ่องกง ค่อนข้างชัดเจนว่าผู้มีความมั่งคั่งสูงรู้สึกไม่มั่นใจกับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับโควิด-19 และวัตรปฏิบัติด้านประชาธิปไตยที่เริ่มเปลี่ยนไป

 

“ออสเตรเลีย” มีสิทธิ์แซง UAE ในฐานะถิ่นฐานใหม่ของเศรษฐี

ปี 2023 นี้ ผลวิจัยมองว่า “ออสเตรเลีย” น่าจะได้ต้อนรับการอพยพของผู้มีความมั่งคั่งสูงประมาณ 5,200 คน ขณะที่ “UAE” น่าจะมีเศรษฐีอพยพเข้าไปราว 4,500 คน ตามด้วย “สิงคโปร์” เป็นอันดับ 3 ที่น่าจะมีเศรษฐีตั้งถิ่นฐานประมาณ 3,200 คน

ออสเตรเลีย
(Photo : Shutterstock)

อย่างไรก็ตาม ถ้ามองภาพรวมแล้ว แนวโน้มการอพยพของเศรษฐีมักจะมีปลายทางมุ่งเป้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศตะวันตกมากที่สุด โดยในสหรัฐฯ คาดจะได้ต้อนรับเศรษฐีอพยพ 2,100 คน สวิตเซอร์แลนด์อีก 1,800 คน และแคนาดาประมาณ 1,600 คน

“ในภาพรวมแล้ว เศรษฐีมีการย้ายถิ่นฐานสูงขึ้นเรื่อยๆ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา โดยปี 2023 นี้คาดว่าจะมีการย้ายถิ่น 122,000 คน และปี 2024 ย้ายถิ่นอีก 128,000 คน” Juerg Steffen ซีอีโอ  Henley & Partners กล่าว

Source

]]>
1434436
จำนวน ‘เศรษฐีพันล้าน’ ทั่วโลกลดลง 8% กว่าครึ่งเป็น ‘เศรษฐีจีน’ หลังเจอพิษศก. ทำความมั่งคั่งหด https://positioningmag.com/1424752 Fri, 24 Mar 2023 08:23:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1424752 จำนวนของมหาเศรษฐีโลกลดลงกว่า 400 คน และกว่าครึ่งเป็นการหายไปของ มหาเศรษฐีจีน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรัฐบาลของจีนที่เริ่มหันมาลงดาบเหล่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งผลกระทบ ทำให้ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีลดลงจนไม่ติดอันดับลิสต์มหาเศรษฐีโลก

จากการจัดอันดับ มหาเศรษฐีโลกที่มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป (ราว 3.4 หมื่นล้านบาท) ในปี 2566 พบว่ามีมหาเศรษฐีที่หลุดจากลิสต์ถึง 445 คน และในจำนวนนี้ เป็นมหาเศรษฐีจีนถึง 229 คน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีเหล่านี้ลดลงเป็นผลมาจากการคุมเข้มทางการเงินทั่วโลก การหยุดชะงักของ COVID-19 และการปราบปรามบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของรัฐบาล

“จำนวนมหาเศรษฐีในโลกลดลง 8% ขณะที่ความมั่งคั่งรวมลดลง 10% โดยจำนวนมหาเศรษฐีในปีนี้ลดลงเหลือ 3,112 คน จากจำนวน 3,381 คนนปีที่ผ่านมา” Rupert Hoogewerf ผู้ก่อตั้งและประธาน Hurun Report กล่าว

ชื่อมหาเศรษฐีเด่น ๆ ที่หลุดจากลิสต์มหาเศรษฐีโลก อาทิ Sam Bankman-Fried ซึ่งสูญเสียทรัพย์สมบัติมูลค่า 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์หลังจากการล่มสลายของการแลกเปลี่ยน crypto FTX หรือ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งอาลีบาบา บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีน ก็ร่วงลงมาอยู่ที่อันดับ 52 จากอันดับ 34 ในปีก่อนหน้า

“การขึ้นอัตราดอกเบี้ย การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ฟองสบู่บริษัทเทคโนโลยี และผลกระทบต่อเนื่องของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั้งหมดนี้รวมกันสร้างความเสียหายต่อตลาดหุ้น โดยดัชนี S&P 500 (SPX ) ดิ่งลงมากกว่า 14% ขณะที่ในประเทศจีน ดัชนี Shanghai Composite (SSEC) ร่วงลงเกือบ 11%”

ในขณะเดียวกัน เงินหยวนของประเทศก็สูญเสียมูลค่าประมาณ 8% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ที่พุ่งสูงขึ้นในปี 2565 ซึ่งเป็นการลดลงประจำปีที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2537 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว

ทั้งนี้ จีนในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ปัจจุบันมีมหาเศรษฐีราว 969 คน มากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีประมาณ 691 คน

Source

]]>
1424752
COVID-19 ดันความรวย ประเทศจีน มีจำนวน ‘เศรษฐีพันล้าน’ เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1321490 Tue, 02 Mar 2021 09:38:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321490 โรคระบาดไม่ได้ฉุดความรวยของเศรษฐีจีน’ เเต่กลับเป็นตัวส่งเสริม’ ทรัพย์สินของพวกเขาให้เพิ่มพูนมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวยร้าวลึก

ในปี 2020 ที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ-Billionaire’ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 259 คน ด้วยอานิสงส์ธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ เเละเกมออนไลน์ที่ความนิยมพุ่งกระฉูด รวมถึงตลาดหุ้นที่เฟื่องฟูเเละการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของหลายบริษัท ช่วยชดเชยหายนะจาก COVID-19

จากรายงานของ Hurun Global Rich List พบว่า จำนวนของเศรษฐีของจีนในปี 2020 รวมกันเเล้วมากกว่าของทั้งโลกรวมกัน โดยจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านกว่า 1,058 คน นับเป็นประเทศแรกในโลกที่มีตัวเลขเกิน 1,000 คน ทั้งห่างอันดับ 2 อย่างสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นอีก 70 คน รวมเป็น 696 คน

โดยผู้ครองเเชมป์มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนตามรายงานนี้ คือจง สานส่านเจ้าของกิจการน้ำดื่มหนงฟู สปริง’ (Nongfu Spring) ที่เพิ่งโค่นมูเกช อัมบานีนักธุรกิจอินเดียไปหมาดๆ ด้วยทรัพย์สินรวม 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีรวยที่สุดในเอเชีย เเละติด 1 ใน 10 ของโลกไปหมาดๆ

จง สานส่าน เจ้าของน้ำดื่ม Nongfu Spring

เขาได้รับว่าฉายาว่าหมาป่าเดียวดายเนื่องจากเป็นคนชอบเก็บตัว ต่างจากผู้นำธุรกิจรายใหญ่อื่นๆ ของจีน และเขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนในจีน ที่สามารถสร้างบริษัทมูลค่ามากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ถึง 2 บริษัท

ความรุ่งเรืองของจง สานส่านในปีที่ผ่านมา สวนทางกับเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างแจ็ค หม่าที่อันดับความรวยลดลง หลังมีข้อขัดเเย้งกับรัฐบาลจีนในประเด็นผูกขาดทางการค้า อีกทั้งยังโดนสกัดการเสนอขายหุ้นครั้งแรกแก่ประชาชน (IPO) ของบริษัทฟินเทคในเครืออย่าง Ant Group ซึ่งเคยถูกประเมินว่าจะเป็นหุ้น IPO ที่ระดมทุนได้สูงสุดในโลก 

ในการสำรวจนี้ ยังพบว่า มหาเศรษฐี Elon Musk ซีอีโอของ Tesla , Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งของ Amazon และ Colin Huang จาก Pinduoduo หนึ่งในอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุดของจีน มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปีเดียว

Elon Musk ซีอีโอของ Tesla / Photo by Kevork Djansezian/Getty Images

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เเซงหน้าหลายประเทศ อีกทั้งในปีที่ผ่านมาก็สกัดความเสียหายจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้รวดเร็วทำให้มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ด้านรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

 

 

ที่มา : AFP

]]>
1321490
ชาวเน็ตถามหา “เเจ็ค หม่า” หายไปไหน? ท่ามกลางมรสุม Ant Group กับรัฐบาลจีน https://positioningmag.com/1312991 Tue, 05 Jan 2021 11:27:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312991 การหายหน้าหายตาไปนานกว่า 2 เดือนของมหาเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างเเจ็ค หม่ากลายเป็นประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตเเละสำนักข่าวทั่วโลกกำลังถามหา

เเจ็ค หม่า สร้างชื่อจากการปลุกปั้นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ “Alibaba” เรื่องราวชีวิตของเขา เป็นเเรง
บันดาลใจให้ผู้คน จากครูยากจนสู่คนรวยระดับท็อป 20 ของโลก มีทรัพย์สินกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

แม้ในปี 2019 เขาจะลาออกจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba ไปแล้ว พร้อมทยอยเทขายหุ้นเรื่อยๆ เพื่อเดินหน้าไปทำงานการกุศล เเต่ก็ยังไม่ได้วางมือจากการดูเเล Ant Group ฟินเทคเจ้าของ ‘Alipay’ แอปพลิเคชันชำระเงินและบริการออนไลน์สุดฮิตของคนจีนที่มีผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน

อนาคตของ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ป) ดูเหมือนจะไปได้สวย เคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จนกระทั่งกลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังถูกรัฐบาลจีน “เบรก” กะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

ความชุลมุนวุ่นวายระหว่าง Ant Group เเละรัฐบาลจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิงจุดประเด็นข้อสงสัยในการไม่ปรากฏตัวของเเจ็ค หม่าในตอนนี้

Ant Group กับการหายตัวของตัวแจ็ค หม่า 

สำนักข่าวต่างประเทศโยงเหตุการณ์ IPO ตกสวรรค์ เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์บนเวทีการประชุมในเมืองเซี่ยงไฮ้ เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีน” อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลไปในพริบตา

โดย แจ็ค หม่า บอกว่าระบบการเงินและกฎระเบียบด้านการเงินของทางการจีนในปัจจุบัน ขัดขวางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีการ “ปฏิรูป” เพื่อให้มีการเติบโตไปได้

เขายังบอกอีกว่า ธนาคารจีนเป็นเหมือน “โรงรับจำนำ” ที่ต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ใหญ่เกินและต้องห้ามล้มเหลว

มีข่าวลือว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไม่ค่อยพอใจที่เเจ็ค หม่าพูดในแง่ลบถึงระบบการเงินของประเทศจีน

เเต่หลายสื่อเห็นว่าคำพูดของเเจ็ค หม่า “ไม่ได้เกินจริง” เพราะธนาคารจีนมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้รายย่อย ทำให้ SMEs จีนไม่ค่อยมีโอกาสลงทุนแบบสมตัวนัก 

นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ความเคลื่อนไหวของทางการจีน ตีความได้ว่าเป็นการ “สั่งสอน” มหาเศรษฐีแจ็ค หม่า ให้รู้ว่าอำนาจรัฐในการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ  ซึ่งข่าวนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนไม่น้อย เเละอาจมีผลต่อการพิจารณาซื้อหุ้นทั้งของ Ant Group เเละ IPO อื่นๆ ของจีนด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปทางการจีนก็อาจเข้ามาเเทรกเเซงเช่นนี้ได้อีก 

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg เคยคาดการณ์ว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อย ที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์ม อย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆ ของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 2 ปีนี้)

ก่อนสิ้นปี 2020 ยังไม่วายที่ Ant Group จะถูกรัฐบาลจีนซัดอีกรอบ เมื่อรายงานหน่วยงานการเงิน ต้องการจะมากำกับธุรกิจ Ant Group โดยอาจจะถึงขั้นยกเลิกบริการให้เงินกู้และอื่นๆ ให้เหลือเพียงธุรกิจรับชำระเงินเท่านั้น

เมื่อ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศสอบสวนบริษัทเเม่ของ Ant Group อย่าง Alibaba ในข้อกล่าวหาว่ามีแนวโน้มผูกขาดอีคอมเมิร์ซในจีน เเละการปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันผ่านระบบออนไลน์ของ Ant Group อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารจีน 

ด้าน Ant Group ยืนยันว่ากำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยกับทางหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของจีน เพื่อให้ธุรกิจทำตามหลักการ และเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ในอนาคต

การหายตัวไปจากพื้นที่สาธารณะของเเจ็ค หม่าถูกจุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม หลังเขาไม่ได้ไปเข้าร่วมรายการธุรกิจที่เป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน ตามกำหนดออกอากาศเดิม

โดยโฆษกของ Alibaba ชี้แจ้งกับสำนักข่าว Reuters ถึงกรณีที่ไม่ได้มาออกรายการนั้นว่า เป็นเพราะมีปัญหาด้านตารางงานที่ไม่ตรงกัน

หลายคนมองว่า การหายไปของมหาเศรษฐีจีนผู้นี้ อาจเป็นการเก็บตัวเงียบเพื่อต่อรองอะไรบางอย่างกับรัฐบาลจีน หรืออาจจะมีอะไรที่พูดไม่ได้ หรืออาจไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น

และนี่คือคืออัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าที่กำลังเป็นปริศนาอยู่ตอนนี้

 

 

ที่มา : Aljazeeranytimes , Reuters , ibtimes 

 

]]>
1312991
รู้จัก “Zhong Ming” มหาเศรษฐีจีนคนใหม่ รับอานิสงส์เครื่องมือแพทย์โตกระฉูด! https://positioningmag.com/1287018 Wed, 08 Jul 2020 15:32:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287018 Zhong Ming เป็นประธานบริษัทใหม่ที่เพิ่งเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทดาวรุ่งน้องใหม่นี้เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์สัญชาติจีน ซึ่งปรากฏว่ากระแสตอบรับดีเยี่ยมจนทำให้เกิดเป็นเศรษฐีคนใหม่ล่าสุดของประเทศไปเรียบร้อยโรงเรียนจีน

บริษัทนี้มีชื่อว่า Kangji Medical Holding หุ้นของบริษัทก้าวกระโดดเกือบ 2 เท่าในการซื้อขายช่วงแรกจากราคาเปิด IPO ที่ 13.88 เหรียญฮ่องกง (ราว 55.88 บาท) โดยปีนขึ้นไปที่ 26.60 เหรียญหรือ 107 บาท สัดส่วนการถือหุ้นเกือบ 1 ใน 3 ส่งให้ท่านประธาน Zhong Ming มีทรัพย์สินมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,900 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือ 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัท Kangji นั้นเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องมือผ่าตัดและอุปกรณ์จับดึงเนื้อเยื่อที่ออกแบบให้ผู้ป่วยเป็นแผลน้อยที่สุด Minimally invasive surgeries (MIS) ผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ trocar และ forcep

ตลาดเครื่องมือแพทย์จีนโตแรง

การผ่าตัดที่มีการบุกรุกน้อยที่สุดหรือ MIS ที่ดำเนินการในประเทศจีนนั้นถือว่ายังไม่แพร่หลายมากเท่าสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับประชากรของประเทศ ดังนั้นตลาดนี้จึงถูกมองว่ามีช่องว่างให้ขยายตัวอีกมาก และจะเป็นเทรนด์ที่เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจจีน

สถิติชี้ว่าตลาด MIS ในประเทศจีนช่วงปี 2019 นั้นมีการดำเนินการที่ 38.1% เท่านั้น ถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับ 80.1% ในสหรัฐอเมริกา โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวเลขจากบริษัทที่ปรึกษาอุตสาหกรรมเชิงลึกของจีน ที่ตีพิมพ์รายงานวิเคราะห์ภาพรวมธุรกิจของบริษัท Kangji

นอกจากนี้ Kangji ยังมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักเรื่องการจำนวนการผ่าตัดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดแบบ MIS ที่จะเพิ่มขึ้นและแพร่หลายมากกว่าเดิมในประเทศจีน เบื้องต้นคาดว่าตลาด MIS จะมีอัตราใช้บริการ หรือ penetration rate ทะลุ 49.0% ในปี 2024

สิ่งที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ตลาดเครื่องมือผ่าตัดและอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง มีการเติบโตขึ้น 17% ต่อปีเริ่มตั้งแต่ปี 2019 มีโอกาสถึงระดับ 40,800 ล้านหยวนภายในปี 2024 

ปัจจุบันตลาด minimally invasive surgical instruments and accessories หรือ MISIA ของจีนถูกครอบครองโดยแบรนด์ต่างชาติ โดยเฉพาะในแง่ของรายได้จากการขาย แต่บริษัท Kangji เชื่อว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้ ท่ามกลางคู่แข่งในตลาด forcep ทั่วโลก

สำหรับยอดขายของ Kangji ในปี 2019 นั้นเพิ่มขึ้นเป็น 503 ล้านหยวนจาก 354 ล้านหยวนในปีที่แล้ว กำไรสุทธิอยู่ที่ 206 ล้านหยวนเมื่อเทียบกับ 147 ล้านหยวนในปี 2018 

ความน่าสนใจในการผงาดของ Kangji คือแนวโน้มตลาดการแพทย์จีนที่จะร้อนแรงชัดเจนในช่วงนับจากนี้ เพราะหุ้นด้านเภสัชกรรมและธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพของจีนนั้นได้รับความสนใจจากนักลงทุนสูงในช่วงการระบาดของ Covid-19 ก่อนหน้านี้ ธุรกิจเฮลท์แคร์ยังได้รับประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในประเทศ ท่ามกลางรายได้ที่เพิ่มขึ้น และการชราภาพของประชากรในประเทศจีน

และหากบริษัทจีนสามารถพัฒนาวัคซีน Covid-19 ได้ อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์จีนจะยิ่งเติบโตกระฉูดขึ้นไปอีก โดยปัจจุบัน มีหลายบริษัทจีนพยายามเดินหน้าพัฒนาวัคซีนด้วยตัวเอง ทั้ง Xiamen Innovax Biotech ซึ่งทำงานร่วมกับ GlaxoSmithKline ขณะที่บริษัท CanSino Biologics ทำงานร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์การทหารของจีน Chinese Academy of Military Sciences ยังมีบริษัท Sinopharm ซึ่งเป็นพันธมิตรกับสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพหวู่ฮั่น Wuhan Institute of Biological products รวมถึงบริษัท Sinovac และ Clover Biopharmaceuticals ซึ่งนอกเหนือจาก GSK แล้วยังทำงานร่วมกับ Dynamax Technologies ของสหรัฐอเมริกาด้วย

บทสรุปอีกอย่างของปรากฏการณ์นี้ คือประเทศจีนยังคงเป็นที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ที่เป็นดินแดนซึ่งมีมหาเศรษฐีจำนวนมากที่สุดในโลก.


ที่มา : 

https://www.forbes.com/sites/russellflannery/2020/06/28/china-mints-new-billionaire-as-growth-in-surgeries-lifts-sales-of-medical-instruments/#143bbd2057dc

]]>
1287018
“แจ็ค หม่า” มหาเศรษฐีรวยที่สุดในจีน 3 แสนล้านหยวน รายได้เฉลี่ย 9.13 ล้านหยวน/ชั่วโมง https://positioningmag.com/1278456 Wed, 13 May 2020 15:33:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278456 แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งกลุ่มอาลีบาบาครองอันดับหนึ่งใน 500 มหาเศรษฐีในแผ่นดินใหญ่ที่ร่ำรวยที่สุด ด้วยความมั่งคั่งสะสมกว่า 3 แสนล้านหยวน

นิตยสาร New Fortune เผยผลสำรวจอันดับ 500 มหาเศรษฐีในประเทศจีน ปี 2019 อันดับหนึ่งของผู้มั่งคั่งที่สุดในจีนปีที่แล้วคือ แจ็ค หม่า เพิ่มขึ้น 8 หมื่นล้านหยวนในปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่าเขาสร้างรายได้เฉลี่ยชั่วโมงละ 9.13 ล้านหยวน ซึ่งมากกว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง

หวง เจิ้ง ประธาน และซีอีโอ พินตัวตัว อิงก์ (Pinduoduo Inc) ติดรายชื่อ 10 อันดับแรกเป็นครั้งแรก โดยอยู่อันดับ 8

จาง หยง และภรรยาชูปิง เจ้าของกิจการหม้อไฟ ไห่ตี้เหลา (Haidilao) ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 10 ด้วยความมั่งคั่ง 1.172 แสนล้านหยวนเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 20 เมื่อปีที่แล้ว

รูปจาก valcan post

ซุน เพี่ยวหยาง ประธานบริษัท เจียงซู เหิงรุ่ย (Jiangsu Hengrui Medicine Co Ltd) และภรรยาของเขา จ้ง หุยจวน (Zhong Huijuan) ประธานกลุ่ม Hansoh Pharmaceutical Group Company Limited หรือ “Hansoh Pharma” บริษัทชีวเภสัชกรรมชั้นนำในประเทศจีน ยังอยู่ใน 10 อันดับแรก ด้วยความมั่งคั่งที่พุ่งเร็วที่สุดที่ 1.10 แสนล้านหยวน

มหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งของจีนที่ร่ำรวยที่สุด 500 คน มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 10 ล้านล้านหยวน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศจีน

ในบรรดา 500 คนจีนที่รวยที่สุดนั้น มี 96 คนมาจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สื่อและเทคโนโลยี ซึ่งมีจำนวนมากกว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ 50%

เมื่อยุค 5G ใกล้เข้ามาคาดว่าจะมีบุคคลที่ร่ำรวยขึ้นในการพัฒนาอินเทอร์เน็ต จะเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมใหม่ในด้านปัญญาประดิษฐ์ คอมพิวเตอร์คลาวด์ หุ่นยนต์และบล็อกเชน

ทั้งนี้การจัดอันดับ 500 มหาเศรษฐีจีนครั้งนี้เป็นปีที่ 18 โดยนิตยสาร New Fortune ซึ่งเริ่มจัดสำรวจมาตั้งแต่ปี 2003

Source

]]>
1278456