ยอดติดเชื้อ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 02 Sep 2021 10:52:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คลายล็อกดาวน์ ‘ไทย-อินโด’ เสี่ยงยอดติดโควิดกลับมาพุ่งสูง เพราะฉีดวัคซีนช้า รุกตรวจน้อย https://positioningmag.com/1349909 Thu, 02 Sep 2021 10:17:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349909 ไทยเเละอินโดนีเซีย สองประเทศใหญ่ในอาเซียน เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์โควิด-19 หลังจำนวนผู้ป่วยใหม่ลดลง เเต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข เตือนว่ายอดผู้ติดเชื้ออาจจะกลับมาพุ่งได้อีกเพราะอัตราการฉีดวัคซีนยังอยู่ในระดับต่ำ เเละการรุกตรวจหาเชื้อยังน้อย

Reuters เสนอประเด็นวิเคราะห์ที่น่าสนใจในการผ่อนปรนมาตรการสกัดโควิด-19 ครั้งนี้ว่า ช่วงปีที่ผ่านมา อาเซียนสามารถคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาได้ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ เเต่ในปีนี้ กลับกลายเป็นศูนย์กลางของการเเพร่ระบาด จากการมาของสายพันธุ์เดลตา

ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาค อินโดนีเซียและไทย ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ในอาเซียน ได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการนั่งรับประทานอาหารในร้านและห้างสรรพสินค้าเพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายด้านเศรษฐกิจ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (31 ..64) อินโดนีเซียมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 10,534 คน ต่ำกว่าเมื่อช่วงกลางเดือนก.. ถึง 5 เท่า ขณะที่ไทยมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 14,802 คนเมื่อวันพุธ (31 . 64) ลดลง 37% จากระดับสูงสุดในช่วงกลางเดือนส..

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญ มองว่า การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ครั้งนี้มีความเสี่ยงเนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดยังต่ำและมีการตรวจหาเชื้อน้อย

ที่สำคัญคือ อินโดนีเซียมีอัตราผู้ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิดที่ 12% ส่วนไทยอยู่ที่ 34% สูงกว่าอัตราที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ที่ 5%

Photo : Shutterstock

Abhishek Rimal ผู้ประสานงานฉุกเฉินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ กล่าวกับ Reuters ว่า ตัวเเปรสำคัญอย่างไวรัสสายพันธุ์เดลตา ที่สามารถแพร่เชื้อได้เร็ว และอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ ทำให้เราอาจได้เห็นการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ด้าน Tri Yunis Miko Wahyono นักระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ให้ความเห็นว่า “การเฝ้าระวังที่มีอยู่ยังไม่ได้ดีขนาดนั้น เรายังคงต้องระวัง”

ล่าสุด อินโดนีเซียมีจำนวนผู้ป่วยโควิดสะสมมากกว่า 4 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 133,000 ราย นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด ส่วนประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมที่ราว 1.2 ล้านราย รายงานผู้เสียชีวิต 11,841 ราย

ทั้งสองประเทศ มีอัตราการฉีดวัคซีนให้ประชาชนเข็มเเรกที่ประมาณ 30% โดยอินโดนีเซีย มีการฉีดวัคซีนครบโดสไปแล้ว 17% และไทยอยู่ที่ 11% ที่น่าสนใจคือ พื้นที่เมืองหลวงอย่างจาการ์ตาและกรุงเทพฯ มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงกว่าต่างจังหวัดมาก

Photo : Shutterstock

ในกรุงจาการ์ตาและพื้นที่อื่นๆ ในเกาะชวา ที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 50% ห้างสรรพสินค้าเปิดทำการได้ถึงเวลา 21.00 . ขณะที่โรงงานได้รับอนุญาตให้เปิดทำการได้เต็มรูปแบบ 100%

ในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่สีเเดงที่มีการระบาด 28 จังหวัด รัฐมีการผ่อนคลายให้ร้านอาหาร สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 50 – 75% ร้านอาหารและห้างสรรพสินค้าเปิดทำการได้ถึงเวลา 20.00 .

ลูกค้าที่กำลังต่อคิวซื้ออาหารในกรุงเทพฯ รายหนึ่งบอกว่ารู้สึกว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น เพราะคนจำนวนมากได้รับการฉีดวัคซีนและพวกเขาก็ระมัดระวังตัวมากขึ้น

Dale Fisher ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของ National University Hospital สิงคโปร์ ระบุว่า ประโยชน์ที่ได้ทางเศรษฐกิจจากการคลายล็อกดาวน์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้แต่รัฐก็ต้องเร่งฉีดฉีดวัคซีนให้ประชาชนเร็วขึ้นด้วย

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1349909
วิจัยกรุงศรี ประเมิน ยอดติดเชื้อโควิด สูงสุด 26,000 คน/วัน ในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย อาจเสียชีวิตพุ่ง 250-300 คน/วัน https://positioningmag.com/1347391 Tue, 17 Aug 2021 11:34:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347391 วิจัยกรุงศรี ประเมินยอดติดเชื้อโควิด เเตะสูงสุด 26,000 คนต่อวัน ภายในต้นเดือนก.ย.นี้ กรณีเลวร้าย ยอดเสียชีวิตอาจพุ่ง 250-300 คนต่อวัน มองรัฐขยายมาตรการล็อกดาวน์เข้มงวด ยาวถึงกลางเดือนต.ค. 

ศูนย์วิจัยกรุงศรี เผยแบบจำลองวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโควิดระลอก 3 ในไทย ล่าสุด ณ วันที่ 15 ส.ค. 64 จากสมมติฐานที่ผลของการล็อกดาวน์และวัคซีน มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันการแพร่ระบาดที่ลดลง

โดยระบุว่า ในกรณีฐาน (Base Case) ที่ถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงต้นเดือนก.ย. (จากเดิมช่วงกลางเดือนส.ค.) อัตราการติดเชื้อรายวัน จะเเตะ ‘จุดสูงสุด’ ในต้นเดือนก.ย. ที่จะมีผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 26,000 คนต่อวัน จากนั้นยอดผู้ติดเชื้อจะทยอยปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ ในกรณีฐาน ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 ประสิทธิภาพวัคซีนอยู่ที่ 50% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้ 40% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

ส่วนกรณีเลวร้าย (Worst Case) อัตราการติดเชื้อต่อวันจะเพิ่มสูงกว่า 26,000 คน เเละจำนวนผู้เสียชีวิตต่อวัน จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงประมาณต้นถึงกลางเดือนก.ย. สูงถึง 250-300 คนต่อวัน

ทั้งนี้ ในกรณีเลวร้าย ประเมินภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไทยสามารถฉีดวัคซีนได้อย่างน้อย 250,000 โดสต่อวัน หรือ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี 64 แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 40% และการล็อกดาวน์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดได้เเค่ 25% ของการล็อกดาวน์ในเดือนเม.ย. 63

จากข้อมูลทางสถิติพบว่า แม้วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็สามารถป้องกันอัตราการเสียชีวิตได้พอสมควร ดังนั้นในระยะต่อไป จำนวนผู้ติดเชื้ออาจจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่อัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงได้ หากมีผู้ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว

ทางวิจัยกรุงศรี คาดว่า การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเข้มงวดของภาครัฐ อาจจะยังคงมีต่อไปจนกว่าจะพ้นกลางเดือนต.ค. ที่อัตราการเสียชีวิตเริ่มจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะต้องติดตามปัจจัยเพิ่มเติมในช่วงหลังจากนี้อีกครั้ง

หากมาตรการล็อกดาวน์ขยายเวลาต่อไปจนถึงเดือนต.ค. วิจัยกรุงศรีจะคงประมาณการ GDP ไทยปีนี้ไว้ที่ 1.2% ลดลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 2%

เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มอ่อนแอลงจากครึ่งปีแรกอย่างชัดเจน เเละประมาณการ GDP ปีนี้ ที่วิจัยกรุงศรีคาดไว้ว่าจะเติบโตที่ 1.2% นั้น ยังเผชิญความเสี่ยงขาลงมากขึ้น หากมาตรการทางการคลังและการเงินที่กำลังจะออกมาไม่มากเพียงพอที่จะบรรเทาผลเชิงลบได้

 

 

]]>
1347391
สรุป : ประเมินสถานการณ์โควิด-19 ในไทย กรณี ‘เเย่ที่สุด’ ยอดผู้ติดเชื้ออาจทะลุ 3 หมื่นราย/วัน เยียวยาล็อกดาวน์ ‘ยังไม่เพียงพอ’  https://positioningmag.com/1343138 Mon, 19 Jul 2021 11:41:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343138 ศบค. ประเมินสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย กรณีเเย่ที่สุดยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อาจทะลุ 3.1 หมื่นรายต่อวัน ส่วนกรณีดีที่สุดยังแตะหมื่นรายต่อวัน หลายฝ่ายมอง ‘ล็อกดาวน์’ กระทบหนัก มาตรการเยียวยา ‘ยังไม่เพียงพอ’ 

19 .. 64 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถาการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เเถลงตอนหนึ่งโดยกล่าวถึง ผลการศึกษาเเละประเมินความเป็นไปได้ของการติดเชื้อโควิด-19 ในไทย โดยมีการคาดการณ์ 2 รูปเเบบ ดังต่อไปนี้

1) งานวิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.นวลจันทร์ สิงห์คราญ โดยใช้ข้อมูลถึง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 มีการคาดการณ์โรคระบาดถึงช่วงสิ้นเดือนต.. ว่า

สถานการณ์แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้น หากไม่มีการทำอะไร หรือหรือไม่มีมาตรการไม่ได้ช่วยกันและปล่อยให้การติดเชื้อไปเรื่อยๆ คาดว่า การติดเชื้อสูงสุดจะอยู่ที่ 31,997 รายต่อวัน

เเละเเม้ว่าจะดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เเละทุกคนช่วยกัน กรณีดีที่สุด ก็ยังจะอยู่ที่ 9,018-12,605 รายต่อวัน ส่วนค่ากลางจะอยู่ที่ 9,695 – 24,204 รายต่อวัน

2) การคาดการณ์ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้นำไปอ้างอิง ซึ่งประเมินโดยอิงจากเเนวโน้มการฉีดวัคซีนที่จะเกิดขึ้นถึงช่วงปลายปีนี้ ระบุว่า

ถ้าหากฉีดวัคซีนได้ดี เเละวัคซีนมาได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด ในไตรมาสที่ 4  ‘Best case’ กรณีที่ดีที่สุด จำนวนยอดผู้ติดเชื้อจะค่อยๆ ลดลง ตั้งเเต่ช่วงเดือนส..เเละก.. จากที่ ณ ตอนนี้ กำลังไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ เเละจะสูงกว่า 15,000 รายต่อวัน 

แต่ถ้าในกรณีที่เเย่ที่สุด เเละมีการฉีดวัคซีนน้อย คาดว่ายอดผู้ติดเชื้อรายใหม่จะสูงถึงถึง 22,000 รายในเดือนส..และก..

โดยโฆษก ศบค. กล่าวว่าวันนี้เราไปแตะหมื่นอยู่หลายวันแล้ว สิ่งที่เราอยากจะเห็นคือลดลงไปกว่านี้ได้ไหม คนใดคนหนึ่งทำไม่ได้ ทุกคนต้องช่วยกัน เป็นอย่างนี้ทุกประเทศ ความสามัคคีเท่านั้นที่จะช่วยกันได้ เราจะผ่านความทุกข์ยากนี้ไปด้วยกัน” 

ทั้งนี้ ณ วันที่ 19 .. 64 ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย ที่ยังรักษาตัวอยู่ มีจำนวน 122,097 ราย เป็นการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 71,635 ราย รพ.สนาม 50,462 ราย ในจำนวนนี้อาการหนัก 3,595 ราย และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 856 ราย

ส่วนผู้รับการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 18 .. 64 มีเข็มที่ 1 จำนวน 69,667 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 5,167 ราย และระหว่างวันที่ 28 .. – 18 .. 64 มีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งหมด จำนวน 14,298,596 โดสคิดเป็นราว 21.6% ของสัดส่วนประชากร

ด้านความเห็นจากหอการค้าไทยระบุว่า หากมาตรการล็อกดาวน์ 14 วันเอาไม่อยู่ อาจจะต้องขยายล็อกดาวน์เพิ่มเติม จะทำให้เศรษฐกิจเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยปรับการประเมินผลกระทบเศรษฐกิจสูญเสียต่อวันเพิ่มจาก 3,000 ล้านบาท เป็น 4,000 ล้านบาท จากการล็อกดาวน์เพิ่ม 13 จังหวัดซึ่งมองว่ามาตรการเยียวยาในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอ

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 2564 ของไทย เหลือเพียง 1.0% จากเดิมที่ 1.8% หลังการระบาดรุนเเรงกว่าที่คาด ซึ่งมาตรการ ‘ล็อกดาวน์’ ที่เกิดขึ้น กระทบธุรกิจเเละจ้างงานต่อเนื่อง พร้อมฉุด ‘กำลังซื้อ–ความเชื่อมั่นผู้บริโภค’ ให้ลดลง โดยประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้จะมีเเค่ 2.5-6.5 แสนคน ส่วนเงินบาทนั้นจะอ่อนค่ายาว

แม้มีมาตรการเยียวยา แต่ชดเชยผลกระทบเศรษฐกิจไม่ได้ ฉีดวัคซีนอาจต่ำกว่าเป้าหมาย

ขณะเดียวกันเเนวโน้ม ‘หนี้ครัวเรือน’ ยังเพิ่มต่อเนื่อง ทำนิวไฮเเตะ 90.5% ไทยเสี่ยงเผชิญภาวะ ‘Debt Overhang’ เมื่อคนตกงาน-สูญเสียรายได้ ดิ้นรนหา ‘เงินกู้-เงินด่วน’ มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางส่วนหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ช้า
 
ศูนย์วิจัย Economic Intelligence Center (EIC) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 แตะระดับ 90.5% ต่อ GDP สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และ ‘สูงสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน’

 

 

 

]]>
1343138
อเมริกัน ‘วัยผู้ใหญ่’ ครึ่งประเทศ ฉีดวัคซีนโควิดเเล้ว ท่ามกลางยอดติดเชื้อพุ่งทั่วโลก https://positioningmag.com/1328304 Mon, 19 Apr 2021 14:54:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328304 ภายในระยะเวลา 4 เดือนกว่าๆ สหรัฐฯ สามารถฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้ประชาชนไปเเล้ว 209 ล้านโดส โดยกว่า 50% ของกลุ่มวัยผู้ใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดทั่วโลกที่ยังเลวร้าย พบผู้ติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์สูงสุดนับตั้งแต่การระบาด ยอดเสียชีวิตสะสมทะลุ 3 ล้านคน

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) รายงานว่า ชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป จำนวนกว่า 130 ล้านคน หรือราว 50.4% ของประชากรกลุ่มผู้ใหญ่ทั้งหมด ได้รับการได้ฉีดวัคซีนอย่างน้อยคนละหนึ่งโดส เเละอีกประมาณ 84 ล้านคน หรือมากกว่า 25% ของประชากรทั้งหมดได้รับวัคซีนครบทั้ง 2 โดสแล้ว 

การเร่งฉีดวัคซีนเป็นความพยายามในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ท่ามกลางสถานการณ์ที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ หลังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกในช่วง 7 วันที่ผ่านมา พุ่งสูงสุดถึง 5.2 ล้านคน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตสะสมทั่วโลกพุ่งเกิน 3 ล้านคน

Photo : Shutterstock

สหรัฐฯ มียอดผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 สะสมมากกว่า 5.67 เเสนราย นับเป็นประเทศที่มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก โดยข้อมูล ณ วันที่ 19 เม.. 2020 ระบุว่า สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ราว 4 หมื่นราย ส่งผลให้ยอดติดเชื้อสะสมในประเทศรวม 32 ล้านราย จากจำนวนประชากรทั้งหมดราว 332 ล้านราย

ทั้งนี้ วัคซีนที่ฉีดไปเเล้วในสหรัฐฯ กว่า 209 ล้านโดสนั้น ตามข้อมูลของ CDC เเบ่งเป็นวัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech อย่างน้อย 109 ล้านโดส เป็นของ Moderna อีก 92 ล้านโดส และ Johnson & Johnson อีก 7.9 ล้านโดส

อย่างไรก็ตาม กรณีที่พบเคสลิ่มเลือดอุดตัน ในประชาชนที่ฉีดวัคซีนของ Johnson & Johnson และ AstraZeneca ได้สร้างความสงสัยในประสิทธิภาพของวัคซีน โดยวัคซีนแบบฉีดเข็มเดียวของ Johnson & Johnson ถูกทางการสหรัฐฯ ระงับใช้ชั่วคราวไปเมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้ว

แม้อัตราการติดเชื้อในสหรัฐฯ เเละสหราชอาณาจักรจะชะลอลง เเต่เหล่าประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอินเดียและบราซิล กลับกำลังเผชิญจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังต้องเจอกับไวรัสโคโรนากลายพันธุ์

ตอนนี้ อินเดียและบราซิล มีอัตราการกระจายวัคซีนคิดเป็น 4.5% และ 8.3% ของจำนวนประชากร ตามลำดับ ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ 33% และสหราชอาณาจักร 32%

Photo : Shutterstock

ด้านอิสราเอลเพิ่งประกาศยกเลิกมาตรการบังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากในที่สาธารณะเเล้วแต่ยังคงกำหนดให้สวมหน้ากากเวลาอยู่ในอาคารหรือพื้นที่ปิดหลังประสบความสำเร็จอย่างมากในการกระจายวัคซีน

ประชาชนอิสราเอลเกือบ 60% ได้รับวัคซีน COVID-19 ไปเเล้วอย่างน้อยหนึ่งโดสทำให้รัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าสามารถควบคุมการระบาดได้ เเละเตรียมตัวจะเป็นประเทศเเรกที่กำลังเข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ หลังฉีดวัคซีนคิดตามอัตราประชากรได้เร็วที่สุดในโลก โดยเลือกใช้วัคซีนของ Pfizer-BioNTech

 

 

ที่มา : CBS , ABCnews , Bloomberg

]]>
1328304