ยุโรป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 01 Mar 2024 13:25:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEO ของ ‘เรโนลต์’ เผย “ถ้าจะสู้ศึก EV กับบริษัทจีน ผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ในยุโรปจะต้องร่วมมือใกล้ชิดกันมากกว่านี้” https://positioningmag.com/1464634 Fri, 01 Mar 2024 10:29:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464634 หัวเรือใหญ่ของเรโนลต์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของทวีปยุโรป ได้กล่าวในงาน Geneva International Motor Show ว่า ผู้ผลิตและซัพลลายเออร์ในยุโรปจะต้องร่วมมือใกล้ชิดกันมากกว่านี้ เพื่อที่จะต่อสู้ศึกรถยนต์ไฟฟ้ากับผู้ผลิตจากประเทศจีนที่กำลังตีตลาดในตอนนี้

Luca de Meo ซึ่งเป็น CEO ของเรโนลต์ (Renault) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของทวีปยุโรป ได้กล่าวว่า ผู้ผลิตและซัพลลายเออร์ในยุโรปไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า จะต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากกว่านี้ ถ้าหากจะสู้ศึกรถยนต์ไฟฟ้ากับผู้ผลิตจากจีน

หัวเรือใหญ่ของ Renault ได้กล่าวในงาน Geneva International Motor Show ว่า มีพื้นที่สำหรับความร่วมมือภายในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตต้นน้ำถึงปลายน้ำที่เกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยเขาชี้ว่าผู้ผลิตจากยุโรปนั้นเสียเปรียบผู้ผลิตจากจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของกำลังการผลิตที่จีนมีกำลังกว่ามาก

เขาได้พูดเชิงเปรียบเทียบให้ผู้ผลิตรวมตัวเหมือนกับ Airbus ซึ่งเป็นผู้ผลิตอากาศยานรายใหญ่ของยุโรปที่ได้รวมผู้ผลิตหลายรายเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะต่อสู้กับ Boeing ซึ่งเป็นคู่แข่งจากสหรัฐอเมริกา

การบุกตลาดยุโรปของผู้ผลิต EV จากจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชูจุดเด่นด้านราคา ทำให้ผู้ผลิตหลายรายในยุโรปเริ่มส่งสัญญาณในการต่อสู้ไม่ไหว จนทำให้สหภาพยุโรปเองเตรียมที่จะเข้ามาสอบสวนว่าผู้เล่นจากจีนได้รับเงินอุดหนุน ซึ่งถือเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด จนทำให้การแข่งขันนั้นไม่เป็นธรรมหรือไม่

ตัวเลขล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ สัดส่วนการครองตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศจีนนั้นครองตลาดทั่วโลก สัดส่วนมากถึง 68% ตรงข้ามกับผู้ผลิตจากยุโรปเริ่มออกอาการไม่ดี มีสัดส่วนแค่ 20.8% ซึ่งถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา

เขาชี้ว่ายุโรปนั้นมีหลายประเทศกระจัดกระจาย ซึ่งถือว่าเป็นแง่ดี แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องความล่าช้าถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง

นอกจากนี้ CEO ของ Renault ยังเรียกร้องให้ทางการยุโรปผลักดันผู้ให้ผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ผลิตรถยนต์ให้ร่วมมือกันเพื่อช่วยเร่งการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานการชาร์จ และใช้ EV เพื่อกักเก็บพลังงานสำหรับโครงข่ายไฟฟ้า เนื่องจากพวกเขาสามารถทำหน้าที่เป็นซัพพลายเออร์ด้านพลังงานได้เมื่อจำเป็น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมายุโรปมีปัญหาด้านพลังงานจนส่งผลต่อการผลิต

ที่มา – Reuters, Forbes, Carscoop

]]>
1464634
EU เตรียมสืบสวนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีน ชี้อาจบิดเบือนกลไกราคาจากการสนับสนุนของรัฐบาล https://positioningmag.com/1458738 Wed, 17 Jan 2024 05:45:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458738 สหภาพยุโรป (EU) เตรียมเข้าสืบสวนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีน ไม่ว่าจะเป็น BYD และ Geely รวมถึง SAIC ซึ่งก่อนหน้านี้ EU มองว่า แบรนด์รถไฟฟ้าจากจีนอาจบิดเบือนกลไกราคาจากการสนับสนุนของรัฐบาล

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า สหภาพยุโรป (EU) เตรียมเข้าสืบสวนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มาจากประเทศจีนหลายแบรนด์ หลังจากที่มีข้อกล่าวหาว่าแบรนด์เหล่านี้อาจได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ทำให้การแข่งขันเกิดความไม่ยุติธรรม

การตรวจสอบของ EU จะพุ่งเป้าไปยังผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีน ได้แก่ BYD และ Geely รวมถึง SAIC ขณะที่แบรนด์จากตะวันตกที่มีฐานการผลิตในประเทศจีนอย่าง Tesla และ Renault หรือแม้แต่ BMW จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเข้าตรวจสอบ

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวต่อยอดมาจากเมื่อเดือนตุลาคมของปี 2023 ที่ผ่านมา EU ได้เตรียมที่จะเข้าสอบสวนประเด็นดังกล่าว โดยคาดว่าการสอบสวนจะใช้เวลาไม่เกิน 13 เดือน

ราคารถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนถือว่ามีราคาถูก เมื่อเทียบกับราคารถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายยุโรป ส่งผลทำให้ผู้ผลิตหลายรายในยุโรปเองประสบปัญหาความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์รถยนต์จากเยอรมันหลายรายเริ่มประสบปัญหาดังกล่าวแล้ว

ไม่เพียงเท่านี้อุตสาหกรรมยานยนต์ในยุโรปเองถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเป็นจำนวนที่สูงมาก และถ้าหากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจยุโรปในหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งออกหรือแม้แต่การบริโภค

]]>
1458738
“รถจีน” กำลังบุกหนักในตลาดยุโรป กดดันเจ้าตลาดอย่าง Mercedes-Benz, BMW และ Volkswagen https://positioningmag.com/1443927 Mon, 11 Sep 2023 06:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443927 สารพัดค่าย “รถจีน” กำลังตั้งเป้าบุกตลาดระดับโลก โดยมีตลาดยุโรปเป็นหน้าด่านแรก ส่งผลกดดันต่อเจ้าตลาดเก่าอย่าง Mercedes-Benz, BMW และ Volkswagen ค่ายรถสัญชาติยุโรป ในอนาคตรถจีนจะเร่งบุกต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ไล่ชิงมาร์เก็ตแชร์จาก Ford และ GM

อุตสาหกรรมรถยนต์จีนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จนทำให้ค่าย “รถจีน” น่าจะเติบโตแซงหน้าแบรนด์รถยนต์ต่างชาติที่เคยเป็นแบรนด์ฮิตในจีน เช่น Ford, GM ได้ภายในปี 2023 และเมื่อรถจีนสามารถเอาชนะต่างชาติได้ในประเทศบ้านเกิด เป้าหมายต่อไปที่แบรนด์รถจีนกำหนดคือการเดินหน้าสู่อนาคตตลาดโลก

แม้ว่าตลาดรถอีวีในจีนจะเริ่มชะลอตัวลงด้วยดีมานด์การซื้อในประเทศที่ลดลง แต่โรงงานผลิตรถยนต์ของจีนก็ยังเดินเครื่องเต็มกำลังเพื่อขยายตลาดสากล โดยมี “ยุโรป” เป็นตลาดแรกที่จีนจะเจาะเข้าไปให้ได้

มีการรายงานล่าสุดจากงานแสดงโชว์รถยนต์ Munich Auto Show พบว่า บรรดาผู้บริหารค่ายรถยนต์ยุโรปเจ้าตลาดเดิมหลายรายรู้สึกกังวลกับการเข้าสู่ตลาดของค่ายรถยนต์จากจีน เพราะปีนี้แบรนด์รถยนต์จากจีนได้รับความสนใจสูงมากในงาน จากปกติแล้วค่ายรถยนต์เยอรมันมักจะเป็นดาวเด่นของงาน

รถจีน
BYD Seal และ Dolphin สองรุ่นแรกที่ใช้บุกยุโรป

งานครั้งนี้มีแบรนด์รถยนต์จีนอย่าง BYD ที่ส่งรถยนต์ประเภท SUV ขนาดกลางและรถเก๋งซีดานขนาดกลางเข้าไปโชว์ตัวเพื่อจะเริ่มขายในยุโรปปลายปีนี้ ขณะที่ XPeng ซึ่งเริ่มขายในยุโรปแล้ว 4 ประเทศก็ประกาศแล้วว่าจะเริ่มเจาะตลาดเยอรมนีภายในปี 2024 ส่วนค่ายรถ Leapmotor อีกหนึ่งแบรนด์จากจีนก็จะเริ่มเข้าตลาดยุโรปภายในปี 2024 เช่นกัน

“เยอรมนีกำลังเสียความสามารถในการแข่งขันไป” Hildegard Mueller ประธาน สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งเยอรมนี กล่าวกับสำนักข่าว Reuters ระหว่างร่วมงาน Munich Auto Show

 

“รถจีน” มีรถอีวีที่ล้ำหน้ากว่า

จุดอ่อนสำคัญที่ทำให้ “รถจีน” เจาะเข้าตลาดยุโรปได้ง่ายขึ้น เกิดจากการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของค่ายรถยุโรปที่ค่อนข้างจะช้ากว่า

KPMG บริษัทที่ปรึกษาชื่อดัง คาดการณ์ว่า บริษัทรถจากจีนจะสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในยุโรปได้ 15% ภายในเวลา 2 ปี

ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่า รถยนต์อีวีของจีนนั้นล้ำหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่ากลุ่มค่ายรถยนต์ที่เป็นผู้นำตลาดโลก ณ ขณะนี้ และพวกเขาจับชีพจรความต้องการของผู้บริโภคได้ดีกว่า

รถจีน
รถ SUV แบรนด์ Leapmotor รุ่น C10 ที่จะใช้เข้าตลาดยุโรปปี 2024

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้จีนมีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าเพราะจีนเป็นแหล่งซัพพลายเชนการผลิตแบตเตอรีสำหรับรถอีวี และเป็นผู้ควบคุมการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรีรถยนต์โดยส่วนใหญ่

ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจีนจึงได้เปรียบในการผลิตรถอีวีในราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างความสำเร็จในอนาคตให้กับค่ายรถ ปัจจุบันนี้ค่ายรถยนต์จีนก็กำลังตัดราคากันเองในสนามแข่งขันที่จีน ซึ่งต่อไปน่าจะเกิดขึ้นในยุโรปด้วย

 

ป้ายต่อไปบุก “สหรัฐฯ”

แม้ว่าตลาดสหรัฐฯ​ จะตั้งกำแพงกีดกันรถจีนได้มากกว่าตลาดยุโรปก็ตาม แต่ในที่สุดแล้วบริษัทรถจีนเหล่านี้จะต้องบุกเข้าตลาดสหรัฐฯ ให้ได้อย่างแน่นอน

“ในความเห็นของเรา จีนจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ไปสู่การเป็นผู้ส่งออกรถยนต์” นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley กล่าวในบทวิเคราะห์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ขณะนี้บริษัทรถจีนรวมกันสามารถส่งออกรถยนต์ได้มากกว่าบริษัทรถญี่ปุ่นรวมกันเรียบร้อยแล้ว

Source

]]>
1443927
นักวิเคราะห์เชื่อ ‘จีน’ อาจ “จำกัดการส่งออกแร่หายากเพิ่ม” แนะทั่วโลกเตรียมกระจายความเสี่ยง! https://positioningmag.com/1437678 Thu, 13 Jul 2023 07:27:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437678 ย้อนไปช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา จีน ได้ออกมาตรการ จำกัดการส่งออก สารประกอบ แกลเลียม และ เจอร์เมเนียม ซึ่งเป็นโลหะสำคัญในการใช้ ผลิตชิป ซึ่งนักวิเคราะห์ก็ได้ออกมามองถึงผลกระทบถึงมาตรการดังกล่าว พร้อมแนะให้ทั่วโลกตรียมกระจายความเสี่ยง เพราะเชื่อว่านี่จะไม่ใช่สิ่งเดียวที่จีนจะจำกัดการส่งออก

จากการควบคุมการส่งออก แกลเลียม และ เจอร์เมเนียม ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ โดยจะเริ่มบังตคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. เป็นต้นไป ทาง Stewart Randall นักวิเคราะห์จาก Intralink มองว่า นี่อาจกระตุ้นให้ บางประเทศกระจายซัพพลายเชนออกจากจีน โดยตามข้อมูลจาก Critical Raw Materials Alliance ระบุว่า จีนครองสัดส่วนในการผลิต เจอร์เมเนียมถึง 60% และ แกลเลียม 80% ของโลก 

ขณะที่ คณะกรรมาธิการยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ก็ต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับแผนการควบคุมการส่งออกของจีนว่า นี่ถือเป็นการเตือน ยุโรป และ สหรัฐฯ ในสงครามเทคโนโลยีเกี่ยวกับชิปขั้นสูง และ เราจำเป็นต้องมีซัพพลายเชนของตนเอง

แน่นอนว่าการจำกัดการส่งออกแร่ทั้ง 2 ชนิดอาจเป็นแค่ จุดเริ่มต้น โดย Luisa Moreno ประธานบริษัทเหมืองแร่ Defense Metals Corp เชื่อว่า จีนจะจำกัดการส่งออกโลหะเพิ่มเติม ซึ่งอาจรวมถึงแร่หายากด้วย เนื่องจากธาตุหายากเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง สมาร์ทโฟน รวมไปถึง อุปกรณ์ทางทหาร เช่น ระบบเรดาร์ ธาตุหายากประกอบด้วยองค์ประกอบ 17 ชนิดที่ประกอบด้วยสแกนเดียม อิตเทรียม และแลนทาไนด์

“เรามีแนวโน้มที่จะเห็นการจำกัดการส่งออกต่อไป และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อวัสดุอื่น ๆ เช่น แรร์เอิร์ธ ที่จีนควบคุมการผลิตมากกว่า 85%”

ย้อนไปในปี 2010 จีนเคย ระงับการส่งออกแร่หายากไปยังญี่ปุ่น หลังจากเกิดข้อพิพาทด้านดินแดน นอกจากนี้ จีนยังขู่ว่าจะหยุดการส่งออกแร่หายากไปยังสหรัฐฯ ในปี 2018 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการจำกัดการส่งออกแร่สำคัญของจีนจะยังไม่เป็น ปัญหาใหญ่ในระยะสั้น แต่ถ้าจีนกำหนดควบคุมวัสดุแร่โลหะสำคัญอื่น ๆ นั่นจะเป็น ปัญหาระยะยาว แต่สิ่งที่จะตามมาแน่ ๆ ก็คือ ราคาที่สูงขึ้น 

เพราะจีนแม้จะเป็นผู้ผลิตหลักของแร่แกลเลียมและเจอร์เมเนียม แต่ไม่ใช่ผู้ผลิตเพียงรายเดียว อย่างรัสเซีย ยูเครน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ก็ผลิตแกลเลียม และในปี 2021 รัฐบาลอินเดีย แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น สโลวาเกีย และสหรัฐอเมริกา ก็สามารถรีไซเคิลแกลเลียมได้

“แกลเลียมและเจอร์เมเนียมไม่ใช่โลหะเฉพาะ แต่การที่จีนเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของโลหะเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งนี้ช่วยให้ราคามันถูกลง ดังนั้น ผลกระทบที่เกิดจะเป็นเรื่องราคามากกว่าผลกระทบด้านอุปทานโดยรวม” 

ในท้ายที่สุดแล้ว นักวิเคราะห์มองว่า การที่จีนจะจำกัดการส่งออกแร่สำคัญอาจสร้างปัญหาให้ประเทศคู่แข่งได้จริง แต่จีนเองก็ได้รับผลกระทบต่อบริษัทจีนที่มีลูกค้าต่างชาติ และทำให้ประเทศต้องสูญเสียรายได้ไป

Source

]]>
1437678
ไม่จ่ายด้วยรูเบิลไม่ขาย! “รัสเซีย” ตัดการส่ง “ก๊าซธรรมชาติ” ให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ 4 ในยุโรป https://positioningmag.com/1387213 Tue, 31 May 2022 09:41:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1387213 Gazprom ผู้ขาย “ก๊าซธรรมชาติ” รัสเซียระบุ งดส่งก๊าซให้ “เนเธอร์แลนด์” แล้ว หลังผู้นำเข้าฝั่งดัตช์ไม่ยอมจ่ายด้วยเงินรูเบิลตามคำสั่งรัฐบาลรัสเซีย โดยเป็นประเทศที่ 4 ของยุโรปที่รัสเซียตัดการส่งก๊าซ คาดว่าเป้าหมายต่อไปคือ “เดนมาร์ก”

บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย “Gazprom” ประกาศเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2022 ว่า บริษัทได้ระงับการส่งก๊าซธรรมชาติให้กับบริษัท GasTerra ผู้นำเข้าก๊าซของฝั่งเนเธอร์แลนด์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากบริษัทคู่ค้า “ผิดพลาดในการชำระเงินเป็นสกุลเงินรูเบิล”

ตามคำสั่งรัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของ วลาดิเมียร์ ปูติน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2022 ปูตินออกคำสั่งให้การซื้อก๊าซธรรมชาติรัสเซียจะต้องชำระด้วยเงินรูเบิลเท่านั้น และในรายละเอียดการจ่ายเงินจะต้องเปิดบัญชีกับธนาคาร Gazprombank ในกรุงมอสโก พร้อมสำรองเงินด้วยสกุลเงินยูโรและรูเบิล

“GasTerra จะไม่ทำตามวิธีการชำระเงินที่ Gazprom เรียกร้อง” GasTerra กล่าวในแถลงการณ์ ทั้งนี้ บริษัทนี้มีรัฐบาลดัตช์ถือหุ้นอยู่บางส่วน และถือเป็นตัวแทนการค้าโดยรัฐ

“เหตุที่ไม่ทำตามเพราะเกรงว่าจะเป็นการละเมิดมติการคว่ำบาตรที่ EU กำหนด และเนื่องจากมีความเสี่ยงด้านการเงินและการปฏิบัติการที่มากเกินไป จากเส้นทางการชำระเงินที่คู่ค้ากำหนด” บริษัทระบุในแถลงดังกล่าว ซึ่งประกาศไปเมื่อวานนี้ “ในขณะนี้ การเปิดบัญชีในมอสโควตามกฎหมายรัสเซียและการปกครองของรัสเซียปัจจุบันจะสร้างความเสี่ยงมากเกินไป”

เมืองไอนด์โฮฟเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์

รัฐบาลดัตช์ระบุว่าทางภาครัฐเข้าใจการตัดสินใจของ GasTerra ที่จะไม่ทำตามข้อกำหนดการชำระเงินด้วยเงินรูเบิลของ Gazprom

“การตัดสินใจนี้จะไม่ส่งผลต่อเนื่องต่อซัพพลายก๊าซที่จะส่งให้บ้านเรือนชาวดัตช์” Rob Jetten รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและภูมิอากาศ กล่าวผ่านแพลตฟอร์ม Twitter ทั้งนี้ สำนักข่าว Reuters รายงานด้วยว่า เนเธอร์แลนด์พึ่งพิงก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15% ของการใช้ก๊าซทั้งประเทศ

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ระบุว่าประเทศยังมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติเพียงพอในระยะสั้น ส่วนในระยะยาวมีแผนจะนำเข้าก๊าซจากประเทศอื่นๆ นอกจากรัสเซียเพิ่มขึ้น

 

“เดนมาร์ก” อาจเป็นรายต่อไป

ขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “เดนมาร์ก” ก็น่าจะทำตามเนเธอร์แลนด์ เนื่องจาก Orsted บริษัทพลังงานของเดนมาร์ก เริ่มออกมาเตือนแล้วว่า Gazprom น่าจะตัดซัพพลายส่งก๊าซเพราะบริษัทเองก็ปฏิเสธจ่ายเงินในสกุลเงินรูเบิลไปแล้ว

Copenhagen City, Denmark, Scandinavia. Beautiful summer day

“เราไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายที่จะต้องทำตามที่คู่ค้ากำหนด และเราได้บอกกล่าวกับทาง Gazprom Export ไปหลายครั้งแล้วว่าเราจะไม่ทำ” Orsted กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวานนี้

Orsted คาดว่าบริษัทจะสามารถซื้อก๊าซจากตลาดก๊าซของยุโรปได้ ทั้งนี้ ทั้งเนเธอร์แลนด์และเดนมาร์กเป็นประเทศที่สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติของตัวเองได้ และรัฐบาลเดนมาร์กเองก็มองว่าประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบจากการตัดการส่งก๊าซกะทันหันของรัสเซีย รวมถึงมีแผนฉุกเฉินสำหรับประเด็นนี้แล้ว

ก่อนจะมาถึงเนเธอร์แลนด์ Gazprom เริ่มตัดการส่งก๊าซให้กับประเทศในยุโรปมาแล้ว 3 ประเทศ คือ โปแลนด์ บัลแกเรีย และฟินแลนด์ เนื่องจากทั้งหมดปฏิเสธชำระเงินเป็นเงินรูเบิล

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทั้งยุโรปจะพร้อมใจกันไม่จ่ายเป็นเงินรูเบิลได้ในขณะนี้ เพราะผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น Eni บริษัทของอิตาลี และ Uniper บริษัทของเยอรมนี ต่างก็ยอมตกลงเปิดบัญชี Gazprombank และจ่ายเงินตามข้อกำหนดที่รัสเซียต้องการไปแล้ว

Source

]]>
1387213
‘EU’ ผ่านร่างกฎหมายบังคับใช้พอร์ต ‘USB-C’ ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เพื่อลดภาระผู้บริโภค https://positioningmag.com/1382316 Thu, 21 Apr 2022 10:42:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382316 หากพูดถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนั้น หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มพัฒนาไปในรูปแบบ ‘ไร้สาย’ มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาพอร์ตการเชื่อมต่อระหว่างสายชาร์จก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น USB Type-A, USB Type-B, USB Type-B mini และ USB Type-B micro และมาตรฐานล่าสุดก็คือ USB Type-C ซึ่ง EU กำลังจะกำหนดให้เป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

คณะกรรมการตลาดภายในและการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐสภายุโรป ได้ลงมติเห็นชอบในคะแนน 43 ต่อ 2 เพื่อให้ใช้ พอร์ต USB-C เป็นพอร์ตมาตรฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กเกินไปที่จะมีพอร์ต USB Type-C เช่น สมาร์ทวอทช์ เครื่องติดตามสุขภาพ และอุปกรณ์กีฬาบางชนิด

โดยคณะกรรมการให้เหตุผลว่า กฎใหม่นี้จะทำให้แน่ใจว่า ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องใช้ที่ชาร์จและสายเคเบิลใหม่ทุกครั้งที่ซื้ออุปกรณ์ใหม่ และ สามารถใช้ที่ชาร์จอันเดียวสำหรับแกดเจ็ตอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กและขนาดกลางทั้งหมดได้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต กล้องดิจิตอล หูฟังและชุดหูฟัง คอนโซลวิดีโอเกมแบบใช้มือถือ และลำโพงแบบพกพา ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภค

ทั้งนี้ การแก้ไขนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างของสหภาพยุโรปในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดสหภาพยุโรป และเพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง MEPs เผยว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรป มีมากถึง 11,000-13,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์การชาร์จของสมาร์ทโฟนที่ต้องเปลี่ยนใหม่เมื่อซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องใหม่หรือต่างแบรนด์กัน

อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ถูกบังคับใช้ โดยในขั้นตอนถัดไป ร่างดังกล่าวจะถูกเสนอผ่านสภารวมในเดือนพฤษภาคม และเริ่มออกขั้นตอนบังคับใช้กับประเทศสมาชิกยุโรปต่อไป ซึ่งแปลว่าสินค้าของ Apple ที่จะขายในยุโรปหลังข้อกำหนดนี้บังคับใช้ จะต้องเปลี่ยนไปใช้ USB-C ทั้งหมด จากที่ปัจจุบัน iPhone, iPad รุ่นเริ่มต้น และ AirPods ยังใช้พอร์ต Lightning สำหรับเชื่อมต่ออยู่

Source

]]>
1382316
EU อนุมัติคว่ำบาตร ‘รัสเซีย’ รอบใหม่ มุ่งไปยังกลุ่มพลังงาน-เหล็ก-สินค้าฟุ่มเฟือย https://positioningmag.com/1377679 Tue, 15 Mar 2022 12:34:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377679 EU อนุมัติมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่โดยมุ่งเป้าไปยังภาคพลังงาน เหล็ก สินค้าฟุ่มเฟือยเเละกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทหาร

สหภาพยุโรป (EU) ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการให้มีการคว่ำบาตรครั้งใหม่ (รอบที่ 4) ต่อรัสเซียหลังรุกรานยูเครน ซึ่งรวมถึงการห้ามการลงทุนในภาคพลังงานของรัสเซีย การส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือย และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กจากรัสเซีย

เเหล่งข่าวเผยกับ Reuters ว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจน้ำมันของรัสเซียอย่าง Rosneft, Transneft และ Gazprom Neft อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะยังคงสามารถซื้อน้ำมันและก๊าซจากพวกเขาได้ 

พร้อมจะมีการห้ามการทำธุรกรรมกับรัฐวิสาหกิจของรัสเซียบางแห่ง ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอุตสาหกรรมการทหารของรัฐบาลเครมลิน

ทั้งนี้ การสั่งห้ามนำเข้าเหล็กจากรัสเซีย คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มูลค่า 3.3 พันล้านยูโร (ราว 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

บริษัทเอกชนในสหภาพยุโรป จะไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือยใดๆ ที่มีมูลค่ามากกว่า 300 ยูโรซึ่งรวมถึงเครื่องประดับไปยังรัสเซีย โดยแหล่งข่าวในสหภาพยุโรป กล่าวว่า จะมีการห้ามส่งออกรถยนต์ที่มีมูลค่ามากกว่า 50,000 ยูโรด้วยเช่นกัน 

นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหภาพยุโรปออกการจัดอันดับให้กับบริษัทสัญชาติรัสเซีย

พร้อมกันนั้น คณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า มาตรการจำกัดการเข้าถึงตลาดการเงินในยุโรป เเละการกีดกันออกจากระบบธนาคาร SWIFT จะยังคงดำเนินต่อไป

โดยสหภาพยุโรป จะถอดรัสเซียออกจากสถานะการค้า “most-favoured nation” เพื่อลงโทษทางภาษีสำหรับสินค้ารัสเซียหรือการห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินของเหล่ามหาเศรษฐี นักธุรกิจที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซีย ซึ่ง โรมัน อับราโมวิชผู้เป็นเจ้าของทีมฟุตบอลเชลซีของอังกฤษ ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีคว่ำบาตรนี้ด้วย

ที่มา : Reuters 

]]>
1377679
เยอรมนี ต้องการ ‘แรงงานมีทักษะ’ จากต่างประเทศ ‘4 เเสนคนต่อปี’ เเก้ปัญหาสังคมสูงวัย https://positioningmag.com/1371134 Fri, 21 Jan 2022 08:40:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1371134 รัฐบาลผสมชุดใหม่ของเยอรมนี มีความต้องการที่จะดึงดูดเเรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศ ปีละกว่า 4 เเสนคน เพื่อจัดการกับความไม่สมดุลทางประชากรเเละการขาดเเคลนเเรงงานในภาคธุรกิจสำคัญ ซึ่งเสี่ยงบั่นทอนการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด

ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทวีความรุนเเรงมากขึ้นในขณะนี้ ทำให้ชะลอเศรษฐกิจเยอรมนีลงอย่างรวดเร็ว” Christian Duerr ผู้นำพรรคร่วมรัฐบาล Free Democrats (FDP) กล่าวกับนิตยสารธุรกิจ WirtschaftsWoche

เราสามารถแก้ปัญหาแรงงานสูงวัยได้ โดยใช้นโยบายเข้าเมืองยุคใหม่ ที่จะนำแรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศ 400,000 คนเข้ามาให้ได้โดยเร็วที่สุด

รัฐบาลผสมชุดใหม่ของเยอรมนี ที่นำโดยพรรคโซเชียลเดโมแครตของนายกรัฐมนตรี Olaf Scholz เเละพรรค FDP รวมถึงพรรคกรีน มีความเห็นชอบร่วมกันในหลายประเด็นใหญ่ๆ อย่างการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากประเทศที่อยู่นอกสหภาพยุโรป และเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นชั่วโมงละ 12 ยูโร (ราว 450 บาท) เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาทำงานในเยอรมนี

ด้านสถาบันเศรษฐศาสตร์เยอรมนี ประเมินว่า ในปีนี้กำลังแรงงานจะลดลงมากกว่า 300,000 คน เนื่องจากเเรงงานในวัยเกษียณมีมากกว่าเเรงงานอายุน้อยที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน

เป็นเรื่องน่ากังวลเมื่อช่องว่างนี้ อาจจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 650,000 คนในปี 2029 เเละจะส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนคนวัยทำงานในปี 2030 มีจำนวนถึง 5 ล้านคน โดยจำนวนการจ้างงานชาวเยอรมัน เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 45 ล้านคนในปีที่แล้ว แม้จะมีการระบาดของโควิด-19

หลังจากมีอัตราการเกิดต่ำมายาวนานหลายทศวรรษและการย้ายถิ่นฐานที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้กำลังแรงงานหดตัวลงเรื่อยๆ กลายเป็น ‘ระเบิดเวลาของระบบบำเหน็จบำนาญในเยอรมนี เมื่อพนักงานหนุ่มสาวมีจำนวนลดน้อยลง เเต่ต้องแบกรับภาระในการจัดหาเงินบำนาญให้กับผู้เกษียณอายุที่มีจำนวนมากขึ้น เเละเเนวโน้มว่าจะมีอายุยืนยาวมากขึ้นด้วย 

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1371134
‘twindemic’ การกลับมาของไข้หวัดใหญ่ในยุโรป กับโควิด-19 ที่ยังยืดเยื้อ https://positioningmag.com/1370969 Thu, 20 Jan 2022 08:14:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370969 ไข้หวัดใหญ่คัมเเบ็กกลับมาระบาดหนักในยุโรปด้วยอัตราที่เร็วกว่าที่คาดในช่วงฤดูหนาว สร้างความกังวลว่าจะต้องเผชิญกับ ‘twindemic’ การแพร่ระบาดของโรคแบบทวีคูณที่ยาวนานกว่าปกติ เมื่อโควิดยังยืดเยื้อเเละไข้หวัดใหญ่ก็กลับมาอีกครั้ง

การล็อกดาวน์ สวมหน้ากาก และการเว้นระยะห่างทางสังคม กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในยุโรป ท่ามกลางการระบาดของช่วงโควิด-19 ทำให้ไข้หวัดใหญ่ที่มักจะมาในช่วงฤดูหนาวแทบไม่มีการระบาดเลยในปีก่อน

โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่มีอัตราการคร่าชีวิตผู้คนไปทั่วโลกกว่า 650,000 คนต่อปีตามตัวเลขของสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปีนี้ต่างออกไป เมื่อประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ลง หลังมีการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลาย

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนธ.. ที่ผ่านมา ไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้กลับมาแพร่ระบาดในยุโรปในอัตราสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เเละจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่ต้องอยู่ในเเผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยมีจำนวนผู้ป่วยหนัก 43 รายในสัปดาห์สุดท้ายของปี ซึ่งนับว่าน้อยกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาด เมื่อเทียบกับปี 2018 ที่มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในห้อง ICU รายสัปดาห์สูงสุดอยู่ที่กว่า 400 ราย แต่จำนวนผู้ป่วยก็ถือว่าเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2020 ที่มีผู้ป่วยหนักเพียง 1 รายตลอดทั้งเดือนธ..

การกลับมาของไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฤดูไข้หวัดใหญ่ยาวนานกว่าปกติจากเดิมที่มักจะสิ้นสุดในเดือนพ.. ก็อาจจะขยายไปถึงช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีมีการยกเลิกมาตรการควบคุมโรค

“twindemic จะสร้างแรงกดดันอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขที่ตึงตัวอยู่แล้ว” Pasi Penttinen ผู้เชี่ยวชาญจาก ECDC กล่าว

ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อาการหนักถึง 72 ราย เสียชีวิต 6 ราย

เเละยิ่งมีความตึงเครียดมากขึ้นอีก เมื่อสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่กำลังแพร่ระบาดในยุโรปช่วงปีนี้เป็นสายพันธุ์เอ ชนิด H3 ซึ่งมักจะทำให้เกิดอาการป่วยรุนเเรงในหมู่ผู้สูงอายุ เเต่วัคซีนที่ใช้ในปีนี้กลับไม่ใช่ตัวที่สามารถรับมือกับ H3 ได้ดีที่สุด ซึ่งโดยปกติเเล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะต้องมีการปรับปรุงล่วงหน้าประมาณ 6 เดือนก่อนถึงฤดูกาลของโรคในแต่ละปี

ความกังวลของ twindemic คือมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนเเรงจนต้องเข้าห้อง ICU เพิ่ม ท่ามกลางไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอนที่เเพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว อาจทำให้ระบบสาธารณสุขยุโรปไม่สามารถรับมือกับผู้ป่วยหนักจาก 2 โรคพร้อมกันได้

ล่าสุดวันนี้ (20 ..) บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ประกาศแผนการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของรัฐบาล หลังผู้เชี่ยวชาญหลายส่วนเชื่อว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนผ่านพ้นจุดสูงสุดมาแล้ว

โดยตั้งแต่วันพุธที่ 26 มกราคมเป็นต้นไป มาตรการบังคับสวมหน้ากากจะไม่จำเป็นอีกต่อไปเเละภาคเอกชนก็ไม่จำเป็นต้องเน้นการทำงานที่บ้าน ขณะที่ประชาชนถ้าถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ก็ยังคงต้องเข้ากักตัวตามมาตรการต่อไป

 

ที่มา : Reuters , AP 

]]>
1370969
‘WHO’ คาด ประชากรยุโรป 50% จะติด ‘โอมิครอน’ ในอีก 2 เดือน https://positioningmag.com/1370131 Wed, 12 Jan 2022 04:19:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370131 Dr. Hans Kluge ผู้อำนวยการ WHO ประจำภูมิภาคยุโรป อ้างข้อมูลจาก Institute for Health Metrics and Evaluation ในซีแอตเทิล ว่า ประชากรมากกว่า 50% ในยุโรปจะติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่แพร่ระบาดในวงกว้างในช่วงสองเดือนข้างหน้า ขณะที่เอเชียกลางจะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน

“โอมิครอนกำลังกลายเป็นไวรัสที่ระบาดอย่างรวดเร็วในยุโรปตะวันตกและขณะนี้กำลังแพร่กระจายไปยังคาบสมุทรบอลข่าน โดยภูมิภาคนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 7 ล้านคนในสัปดาห์แรกของปี 2022 เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในช่วงสองสัปดาห์ ด้วยความเร็วในอัตรานี้ ประชากรยุโรปมากกว่า 50% จะติดเชื้อโอไมครอนในอีก 6-8 สัปดาห์ข้างหน้า

โอมิครอนได้แพร่ระบาดในอัตราความเร็วที่น่าตกใจ ส่งผลให้บางประเทศได้ออกมาตรการการจำกัดทางสังคมอีกครั้งเพื่อพยายามควบคุม อย่างไรก็ตาม หลักฐานเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยกว่าตัวแปรเดลตา แต่ถึงอย่างนั้น ระบบสาธารณสุขของนานาประเทศก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะมีโรงพยาบาลหลายแห่งต้องประกาศสถานการณ์วิกฤติ เนื่องจากขาดแคลนพนักงานและจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

จอห์น เบลล์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตของรัฐบาลสหราชอาณาจักร กล่าวว่า โอมิครอนไม่ใช่โรคแบบเดิมกับสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ แต่จะดูเหมือนไม่รุนแรงมากนัก โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องให้ออกซิเจน และผู้ป่วยหลายคนใช้เวลาค่อนข้างสั้นในการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 วัน

“ฉากอันน่าสยดสยองที่เราเห็นเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว คือ หอผู้ป่วยหนักเต็ม ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร และเราควรประเมินในแง่ร้ายว่ามันจะเกิดขึ้นอีกได้”

ทั้งนี้ Kluge ระบุเมื่อว่า อัตราการเสียชีวิตยังคงที่และยังคงสูงที่สุดในประเทศที่มีอัตราการเกิด COVID-19 สูง

Source

]]>
1370131