ว่างงาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Aug 2024 10:00:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ศก. จีนยังโตช้า ทำอัตราว่างงาน ‘เด็กจบใหม่’ เดือนก.ค.พุ่งเป็น 17.1% แตะระดับสูงสุดของปี https://positioningmag.com/1486756 Mon, 19 Aug 2024 04:40:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486756 การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ยังคงทำได้ไม่ดีเท่าที่คาดการณ์ ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ก.ค. 67 ยังคงอยู่ที่ระดับ 5.2% สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.1% และถ้าเจาะลงไปในกลุ่ม เด็กจบใหม่ ถือเป็นการทำสถิติว่างงานสูงสุดของปี

สํานักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) ได้เปิดเผยถึง อัตราการว่างงานของเยาวชน อายุ 16-24 ปี ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นจาก 13.2% ในเดือนมิถุนายน เป็น 17.1% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็น ระดับสูงสุดในปีนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราสูงสุดดังกล่าวยังน้อยกว่าอัตราสูงสุดในปี 2023 ที่อัตราว่างงานของเยาวชนสูงถึง 21.3% ในเดือนมิถุนายน

ปัจจัยที่อัตราว่างงานของเยาวชนค่อย ๆ สูงขึ้นต่อเนื่อง เกิดจากเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกเผชิญกับอุปสรรคที่เพิ่มขึ้น อาทิ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหนี้หนัก และปัญหาการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้นกับตะวันตก ขณะที่มีจำนวนนักศึกษาเกือบ 12 ล้านคน ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของจีนในเดือนมิถุนายน ทําให้การแข่งขันในตลาดงานที่สูงอยู่แล้ว ยิ่งสูงขึ้นไปอีก 

ทั้งนี้ เยาวชนอายุ 25-29 ปี มีอัตราว่างงานอยู่ที่ 6.5% เพิ่มขึ้นจาก 6.4% ของเดือนที่แล้ว ส่วนอัตราว่างงานของแรงงานโดยรวมอยู่ที่ 5.2% โดย ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ย้ำว่า ปัญหาการว่างงานของเยาวชนถือเป็น ความสําคัญสูงสุด

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของ NBS นั้นอ้างอิงเฉพาะการจ้างงานโดยเฉพาะใน เขตเมือง เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในเมืองใหญ่ ๆ ของจีน อาทิ ปักกิ่ง โดยเฉพาะการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตที่ลดลง โดยขยายตัวเพียง 5.1% ลดลงจาก 5.3% ในเดือนมิถุนายน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ ในเมืองใหญ่ของจีนยังปรับ ลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณของอุปสงค์ที่ซบเซา นอกจากนี้ ความต้องการสินเชื่อธนาคารก็หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปี ขณะที่ ความท้าทายระหว่างประเทศก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้กําหนดอุปสรรคทางการค้ามากขึ้นเพื่อปกป้องตลาดของตนจากผลิตภัณฑ์จีนที่มีต้นทุนต่ำและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

Source

]]>
1486756
ปัญหาใหม่เศรษฐกิจจีน: วัยรุ่น 1 ใน 5 คน​ “ว่างงาน” เรียนจบสูงแต่ไม่มีตำแหน่งรองรับ https://positioningmag.com/1432267 Mon, 29 May 2023 05:08:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432267 อีกหนึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมจีนในยุคหลังโควิด-19 คือ “วัยรุ่น” มีอัตรา “ว่างงาน” ถึง 20.4% เนื่องจากเรียนจบมาในสายงานหรืออุตสาหกรรมที่ถูกรัฐบาลสกัดความร้อนแรงหรืออยู่ในช่วงตกต่ำพอดี เช่น ไอที กวดวิชา อสังหาริมทรัพย์ ขณะที่โรงงานเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน แต่วัยรุ่นที่จบสูงย่อมไม่ต้องการทำงานที่ต่ำกว่าระดับการศึกษาของตน

Goldman Sachs วิเคราะห์ปัญหาการ “ว่างงาน” ในกลุ่มวัยรุ่นจีนอายุ 16-24 ปีที่พุ่งสูง 20.4% ของประชากรวัยนี้ว่า เป็นเพราะการจบการศึกษามาไม่ตรงกับความต้องการในตลาดงาน

ย้อนไปในปี 2021 ผู้ที่จบการศึกษาด้านศึกษาศาสตร์และกีฬาเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปี 2018 แต่ในช่วงเดียวกันนั้นเอง ตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมการศึกษากลับตกต่ำลงอย่างมาก เหตุเพราะการเปลี่ยนแปลงระเบียบทางกฎหมาย กวาดล้างบรรดาโรงเรียนกวดวิชาในปี 2021

ในช่วงเวลาเดียวกัน รัฐบาลจีนยังเริ่มทลายความร้อนแรงของบริษัทไอที-เทคโนโลยี เริ่มจากบริษัทยักษ์ใหญ่ Alibaba จากนั้นจึงถึงคิวของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์

นักวิเคราะห์ Goldman Sachs มองว่าแค่เพียง 3 อุตสาหกรรมนี้ก็ทำให้ตำแหน่งงานหายไปจากตลาดพอสมควร และยังกระทบมากในกลุ่มวัยรุ่น เพราะ 3 อุตสาหกรรมดังกล่าวปกติแล้วมักจะจ้างเด็กจบใหม่จำนวนมาก

ในทางกลับกัน ฝั่งโรงงานอุตสาหกรรมมีดีมานด์ความต้องการแรงงานสูงขึ้นมากระหว่างปี 2018-2021 จนโรงงานเกิดภาวะขาดแคลนบุคลากร

คนรุ่นใหม่ที่เรียนจบมาสูงจึงเกิดทางแยกในชีวิต เพราะทุกคนถีบตัวเองให้เรียนจบถึงปริญญาตรีเพื่อจะหลีกเลี่ยงการใช้แรงงาน แต่วันนี้เมื่อตลาดงานไม่เอื้ออำนวย พวกเขาจึงติดกับดักว่าจะถอดชุดครุยไปทำงานแรงงานเพื่อให้มีกิน หรือพยายามหางานออฟฟิศและเสี่ยงว่างงานไปอีกยาว

ภาวะนี้ไม่ใช่แค่ปัญหาส่วนบุคคล แต่เป็นกงล้อหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เพราะวัยรุ่นที่ว่างงานจะขาดรายได้ และทำให้ต้องลดการใช้จ่าย ไม่สามารถช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนเศรษฐกิจจากภายใน โดย Goldman Sachs รายงานว่า ปกติวัยรุ่นจะใช้จ่ายคิดเป็นสัดส่วน 20% ของการบริโภคในประเทศ

หากคิดเป็นจำนวนคนแล้ว ปัจจุบันวัยรุ่นที่ยัง “ว่างงาน” มีเพิ่มขึ้น 3 ล้านคนเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด และในหลายปีต่อจากนี้ปัญหาจะหนักข้อมากขึ้น เพราะแค่เพียงปีนี้ปีเดียวจะมีนักศึกษาจีนจบใหม่เข้าสู่ตลาดงานอีก 11.6 ล้านคน

รัฐบาลจีนเล็งเห็นปัญหานี้และพยายามวางนโยบายแก้ไข เช่น เริ่มออกมาตรการให้รัฐวิสาหกิจเปิดตำแหน่งงานให้นักศึกษาจบใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงเปิดคอร์สฝึกอาชีพเพื่อจะให้นักศึกษาที่จบไม่ตรงความต้องการตลาดได้เปลี่ยนสายงาน

อีกหนึ่งนโยบายที่กำลังพิจารณาคือ สนับสนุนภาคบริการให้เติบโตเพื่อสร้างตำแหน่งงาน ที่เลือกภาคธุรกิจนี้เพราะจีนเห็นว่าในประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา ภาคบริการเป็นธุรกิจที่จ้างงานคนเป็นสัดส่วนถึง 80% ของตลาดงานทั้งหมด ขณะที่ในจีนภาคบริการมีตำแหน่งงานยังไม่ถึง 50% ของตลาดงาน ธุรกิจนี้จึงน่าจะยังขยายการจ้างงานได้

จีนมองว่าปัญหาวัยรุ่นตกงานนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้าวัยทำงานในวันนี้ไม่มีงานทำ จะยิ่งกระทบหนักต่อสังคมจีนที่เข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยอีกด้วย

ที่มา: CNBC, CNN

]]>
1432267
โควิดปี 2020 ทำให้ชาวอาเซียนกว่า 4.7 ล้านคน ‘ยากจนขั้นรุนเเรง’ ตกงาน-ไม่มีรายได้ https://positioningmag.com/1377981 Thu, 17 Mar 2022 08:25:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377981 การเเพร่ระบาดของโควิด-19 ในปีที่เเล้ว มีส่วนทำให้ประชาชนในอาเซียนเข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง’  (Extreme Poverty) เพิ่มขึ้นกว่า 4.7 ล้านคน เเละสูญเสียงานถึง 9.3 ล้านตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโรคระบาด

การระบาดใหญ่นำไปสู่การว่างงานเป็นวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำที่เลวร้ายลง และความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิง เเรงงานที่อายุน้อยและผู้สูงอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” Masatsugu Asakawa ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าว

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนา เนื่องจากยังคงต้องต่อสู้กับโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่า ADB คาดว่าการเติบโต 5.1% ในปี 2022 จากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ทำให้เศรษฐกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง แต่ก็เตือนว่าหากเกิดไวรัสกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ ก็สามารถลดการเติบโตได้มากถึง 0.8%

ภาพรวมเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงเปราะบางเเละหลายครัวเรือน กำลังเผชิญการสูญเสียรายได้เเละต้องเเบกรับหนี้สินจำนวนมาก

โดยประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 มากที่สุดในภูมิภาคนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ ได้แก่ เวียดนาม 6.55 ล้านคน , อินโดนีเซีย 5.91 ล้านคน และมาเลเซีย 3.87 ล้านคน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้งหมด ซึ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานไร้ทักษะผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจนอกระบรายย่อยตลอดจนธุรกิจที่ไม่ได้ใช้ดิจิทัล

ผลกระทบของการระบาดใหญ่ส่งผลต่อความยากจนและการว่างงาน ทำให้การเข้าถึงโอกาสของคนยากจนยิ่งแย่ลงไปอีก” ADB ระบุ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น ความเหลื่อมล้ำอย่างรุนเเรงจะส่งต่อไปยังรุ่นต่อรุ่น

ภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมากในการเติบโต อย่างเช่น ประเทศไทย โดยคาดว่าจะค่อยๆ เห็นการฟื้นตัวขึ้น เมื่อมีการเปิดพรมแดนเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น เป็นโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมจะเพิ่มขึ้น 58% ในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับปี 2019 ถึง 64%

ในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการขนส่ง ที่พัก นันทนาการและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ ยังคงอ่อนแอ เพราะการเดินทางยังคงถูกจำกัดและมีการบังคับเว้นระยะห่างทางสังคม

โดย ADB เรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียนจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมในระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังโรค และตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ในอนาคต การเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาจเพิ่มขึ้นอีก 1.5% หากการใช้จ่ายด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้มีมูลค่าเเตะ 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 3%

 

ที่มา : CNBC , ADB 

]]>
1377981
อัปเดต : คนไทย ‘ว่างงาน’ ลดลงเหลือ 6.3 แสนคน เด็กรุ่นใหม่ 15-24 ปี ตกงานยาวมากสุด https://positioningmag.com/1373142 Mon, 07 Feb 2022 14:18:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373142 อัปเดตอัตราการ ‘ว่างงานของคนไทย มีเเนวโน้มลดลงเหลือ 6.3 แสนคน เเต่ต้องระวังผู้เสมือนว่างงานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมงเเละ1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ยังมีมากถึง 5.3 แสนคน ขณะที่คนรุ่นใหม่ 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่ตกงานระยะยาวมากที่สุด

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 4 ปี 2564 ระบุว่า โครงสร้างตลาดแรงงานไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงโควิด-19 พร้อมๆ กับการที่ผู้ประกอบการได้ลดการจ้างแรงงานลงและเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีมากขึ้น 

แรงงานถูกเลิกจ้างหรือถูกพักงาน โดยไม่มีรายได้หรือลดรายได้ จากการลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน รวมถึงแรงงานที่จบการศึกษาใหม่ มีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น

เเนวโน้มว่างงานลดลง 

จากผลสำรวจพบว่า โครงสร้างกำลังแรงงานไตรมาส 4 ปี 2564 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 57.2 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 38.6 ล้านคน และในจำนวน 38.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 37.9 ล้านคน (ไตรมาส 3 จำนวน 37.7 ล้านคน)

  • ผู้ไม่มีงานทำ 6.3 แสนคน (ไตรมาส 3 จำนวน 8.7 แสนคนและเป็นผู้รอฤดูกาลประมาณหนึ่งแสนคน
  • ผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวน 18.5 ล้านคน โดยอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานไตรมาส 4 ปี 2564 คือ 67.6%

ทั้งนี้ ผู้ชายมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานมากกว่าผู้หญิง (76.0% เเละ 59.7%) และเมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานอายุ 55-64 ปี คือ 68.8% ในขณะที่อายุ 65 ปีขึ้นไป คือ 27.1%

สถานการณ์แรงงานไตรมาส 4 ปี 2564 มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2564 ภายหลังจากมาตรการด้านโควิดของรัฐบาลเริ่มผ่อนคลายขึ้น แรงงานมีงานทำมากขึ้น และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับเข้ามาสู่ภาคการบริการและการค้า และภาคการผลิต

อัตราการมีงานทำอยู่ที่ 66.3% โดยส่วนใหญ่ทำงานในภาคการบริการและการค้า (45.1%) รองลงมาคือ ภาคเกษตรกรรม และภาคการผลิต ตามลำดับ (33.2% และ 21.6%)

อาชีพกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตรป่าไม้ และประมงเป็นกลุ่มอาชีพที่มีอัตราการมีงานทำมากที่สุด รองลงมา คือพนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้า

Photo : Shutterstock

5.3 แสนคน ยังมีชั่วโมงการทำงานที่น้อยมาก 

เมื่อวิเคราะห์เชิงลึก พบว่า อาชีพกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง มีอัตราการมีงานทำสูงที่สุด

ประเด็นที่น่าสนใจคือ การทำงานที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานในรอบสัปดาห์ที่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง (49.3%) และน้อยกว่า 1 ชั่วโมง (39.8%) คิดเป็นจำนวนแรงงานกว่า 5.3 แสนคนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพกลุ่มอื่น

สำหรับกลุ่มอายุที่มีงานทำสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-54 ปี 35-44 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ

โดยอัตราการมีงานทำอยู่ระหว่าง 21 – 24% ในขณะที่การมีงานทำของเยาวชนหรือผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี อัตราการมีงานทำประมาณ 9%

ผู้มีงานทำในไตรมาส 4 ปี 2564 ที่มีจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ 35-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณาชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ของผู้มีงานทำน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พบว่า มีจำนวน 6.95 ล้านคน เป็นกลุ่มไม่ประสงค์ทำงานเพิ่ม 6.51 ล้านคน และประสงค์ทำงานเพิ่ม 0.44 ล้านคน สำหรับผู้ที่มีจำนวนชั่วโมงทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และประสงค์ที่จะทำงานเพิ่มนั้น เรียกว่า ผู้ทำงานต่ำระดับด้านเวลา คิดเป็น 1.2 % ส่วนผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (โอกาสเป็นผู้ว่างงานแฝง) คิดเป็น 1.9%

คนรุ่นใหม่ ตกงานยาว 1 ปีขึ้นไป 

สถานการณ์การว่างงานมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น ผลสำรวจพบว่า ผู้ว่างงานลดลงจาก 8.7 แสนคน ในไตรมาส 3 เหลือ 6.3 แสนคนในไตรมาส 4 เป็นผลต่อเนื่องมาจากมาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆรวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศในพื้นที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสำคัญๆ

โดยระยะการว่างงานของผู้ว่างงาน ประมาณ 62% เป็นการว่างงานระยะกลาง และเป็นการว่างงานของเยาวชนมากที่สุด ในจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมด แบ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 3.8 แสนคน และไม่เคยทำงานมาก่อน 2.5 แสนคน ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน มีแนวโน้มว่าจะเป็นนักศึกษาจบใหม่

จากสถิติการศึกษาในแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาในทุกระดับประมาณสามแสนคน และเมื่อสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมในการหางาน หรือสมัครงานของ ผู้ว่างงานทั้งที่เคยทำงานก่อน และไม่เคยทำงานมาก่อน พบว่าในช่วง 8-30 วันที่ผ่านมา มีการหางานและสมัครงาน ประมาณร้อยละ 50 (ไม่เคยทำงานมาก่อน 54.5% เคยทำงานมาก่อน 46.9%)

ปัญหาการว่างงานระยะยาว หรือ การว่างงานที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สะท้อนระดับปัญหาการว่างงานของประชากร

โดยในไตรมาส 4 อัตราการว่างงานระยะยาวในสัดส่วนที่สูง คือ 0.4 % ในขณะที่ไตรมาส 3 อยู่ที่ 0.2 % นอกจากนี้ ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่การว่างงานระยะยาวเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี รองลงมา คือ ผู้ที่มีอายุ 25-34 ปี

Photo : Shutterstock

จับตา ‘ผู้เสมือนว่างงาน’ เพิ่มขึ้น 

ขณะเดียวกัน ผู้เสมือนว่างงานก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มผู้ที่มีงานทำภาคเกษตรกรรม 0-20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และกลุ่มผู้ที่มีงานทำนอกภาคการเกษตรกรรม 0-24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เรียกว่าผู้เสมือนว่างงาน

จากผลสำรวจในไตรมาส 4 ปี 2564 มีจำนวน 2.6 ล้านคน เพิ่มจากไตรมาส 3 ปี 2564 2.6 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอาชีพในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นผู้ว่างงานในอนาคตได้

 

]]>
1373142
สิงคโปร์ เริ่มใช้มาตรการคุมเข้ม เเรงงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด เสี่ยง ‘ตกงาน’ https://positioningmag.com/1370513 Sun, 16 Jan 2022 10:26:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370513 เเรงงานในสิงคโปร์ที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด กำลังจะตกอยู่บนความเสี่ยงที่จะตกงาน หลังรัฐบาลเริ่มใช้มาตรการคุมเข้มที่ประกาศใช้ตั้งเเต่วันที่ 15 .. เป็นต้นไป

Bloomberg รายงานว่า ช่วงเวลาผ่อนปรนที่รัฐเคยอนุญาตให้ผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือผู้ที่ตรวจพบเชื้อเป็นลบสามารถเข้าไปในที่ทำงานได้จะถูกยกเลิก ตั้งเเต่วันที่ 15 ..64

โดยนายจ้างมีสิทธิ์ที่จะโยกย้ายพนักงานที่ไม่ฉีดวัคซีนไปทำงานที่ทำได้จากบ้าน หรือให้พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง  หรือทางเลือกสุดท้ายคือให้ออกจากงาน หากพวกเขาไม่สามารถที่จะทำงานโดยไม่เข้าออฟฟิศได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์ จะยังคงได้รับอนุญาตให้อยู่ในสำนักงานได้ เเต่นายจ้างควรพิจารณาอนุญาตให้พวกเขาทำงานจากที่บ้านหากสามารถทำได้ และไม่ควรมีผลต่อการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาด้วย

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุดในโลกที่ 87% ของประชากรทั้งหมด และได้ใช้แนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

โดยมีการห้ามไม่ให้เข้าใช้บริการในร้านอาหาร หรือเข้าไปซื้อของในห้างสรรพสินค้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงการแพร่ระบาด ที่จะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ เเละใช้นโยบายอยู่ร่วมกับโควิด’ เปิดให้ผู้คนใช้ชีวิตตามเป็นปกติแบบค่อยเป็นค่อยไป

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสิงคโปร์ ออกกฎเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เลือกไม่ฉีดวัคซีน หลังยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาพุ่งสูง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

ด้านเอกชนสหรัฐฯ ก็มีความเคลื่อนไหวที่เข้มงวดมากขึ้น อย่าง Citigroup สถาบันการเงินรายใหญ่ของโลก ที่ประกาศใช้มาตรการเข้มงวด ‘no-jab , no job’ เลิกจ้างพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด ตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้พนักงานทุกคนที่ทำงานภายใต้โครงการที่มีการทำสัญญากับรัฐ จะต้องฉีดวัคซีนโควิดให้ครบโดส ท่ามกลางความเสี่ยงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว 

 

ที่มา : Bloomberg

]]>
1370513
อัปเดต : คนไทยว่างงาน 8.7 แสนคน หนี้ครัวเรือนพุ่ง 14.27 ล้านล้าน ระวังหนี้เสียบัตรเครดิต https://positioningmag.com/1363146 Mon, 22 Nov 2021 07:38:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363146
อัปเดตตัวเลขผู้ว่างงาน Q3/64 มีมากกว่า 8.7 แสนคน สูงสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด-19 เด็กจบใหม่หางานยาก หนี้ครัวเรือนไทยยังพุ่งต่อเนื่อง เเม้สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP จะปรับลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ต้องเฝ้าระวังหนี้เสียจากบัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคลที่เพิ่มขึ้น

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/64 พบว่า การว่างงาน เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่มีการระบาดของโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25%

ผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงสุด 3.63% รองลงมาเป็น ปวส. 3.16% ซึ่ง ผู้ว่างงานส่วนใหญ่จบในสาขาทั่วไป (บริหารธุรกิจ การตลาด) จึงมีแนวโน้มประสบปัญหาการว่างงานยาวนานขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างจำกัด และคนกลุ่มนี้ที่มีทักษะไม่ต่างกัน จึงหางานได้ยากขึ้น

เด็กจบใหม่ หางานยาก

โดยแรงงานที่มีอายุ 15-19 ปี มีอัตราการว่างงานสูงสุด 9.74% รองลงมาเป็นอายุ 20-24 ปี ที่ 8.35% สะท้อนว่าโควิดส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการที่เคยชะลอการเลิกจ้างบางส่วนไม่สามารถรับภาระต่อได้และจำเป็นต้องเลิกจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น

“เด็กจบใหม่ยังไม่มีตำแหน่งรองรับ เนื่องจากผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบและรอดูสถานการณ์ จึงชะลอการขยายตำแหน่งงาน” 

ทั้งนี้ การว่างงานของแรงงานในระบบ มีสัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนอยู่ที่ 2.47% ลดลงจากช่วงไตรมาสก่อนหน้าและปีก่อน เนื่องจากช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและผู้ประกันตนในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ประกอบกับสถานประกอบการมีการหยุดกิจการชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัยแทนการเลิกจ้าง ซึ่งมีจำนวนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 2.1 แสนคน ในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มขึ้นจาก 0.9 แสนคน ณ สิ้นไตรมาสก่อน

ภาพรวมการจ้างงาน ผู้มีงานทำ มีจำนวนทั้งสิ้น 37.7 ล้านคน ลดลง 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้ ซึ่งมีการจ้างงาน 12.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.0% เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูการเพาะปลูกข้าว

การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลง 1.3% โดยสาขาที่มีการจ้างงานลดลงมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ที่ลดลงถึง 7.3% และ 9.3% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลของมาตรการควบคุมการเปิดปิดสถานประกอบการ ทั้งการปิดแคมป์คนงาน และจำกัดการขายอาหาร

สำหรับสาขาที่ขยายตัวได้ ประกอบด้วย สาขาการผลิต ขายส่ง/ขายปลีก และสาขาขนส่ง/เก็บสินค้า ขยายตัวได้ 2.1% 0.2 และ 4.6% ตามลำดับ สาขาการผลิตที่มีการจ้างงานขยายตัวได้ดี อาทิ การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตรถยนต์ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ทางการแพทย์

สำหรับ ชั่วโมงการทำงานหลักโดยเฉลี่ยของภาคเอกชนอยู่ที่ 43.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีชั่วโมงการทำงานอยู่ที่ 44.0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีผู้ว่างงานชั่วคราวสูงถึงเกือบ 9 แสนคน (ผู้มีงานทำที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์แห่งการสำรวจ หรือทำงาน 0 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาทิ ลาหยุด ลาป่วย ถูกพักงาน หรือสถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราว) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนเพียง 4.7 แสนคน เท่านั้น

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ได้แก่

1.การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อการจ้างงานในภาคการท่องเที่ยว และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศยังต้องมีมาตรการเพิ่มเติม คือ การควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดที่ต้องเข้มงวดขึ้น

“การหามาตรการช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็ก การอำนวยความสะดวกในการจ้างงานให้กับภาคท่องเที่ยวซึ่งอาจมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการดำเนินมาตรการอื่นควบคู่เพื่อฟื้นฟู่เศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเฉพาะจากโครงการ พ.ร.ก.กู้เงินฯ ฉบับใหม่ ซึ่งต้องเน้นให้เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น”

2.ผลกระทบของอุทกภัยต่อแรงงานภาคเกษตรและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาเบื้องต้นจากความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ทั้งนี้ อาจต้องมีมาตรการสนับสนุนด้านการเงินเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซมบ้านเรือนและเป็นทุนในการทำการเกษตรอีกทางหนึ่ง

3.ภาระค่าครองชีพที่อาจปรับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะผู้ว่างงานชั่วคราวที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 7.8 แสนคน ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีปัญหาในการดำรงชีพ

4.การจัดการปัญหาการสูญเสียทักษะจากการว่างงานเป็นเวลานานและการยกระดับทักษะให้กับแรงงาน โดยในระยะถัดไป ภาครัฐอาจส่งเสริมให้แรงงานโดยเฉพาะกลุ่มผู้ว่างงานเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะให้เพิ่มขึ้น

5. การส่งเสริมให้แรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการช่วยเหลือเยียวยาให้เป็นผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง

หนี้ครัวเรือนพุ่งไม่หยุด ระวังหนี้บัตรเครดิต

ด้าน ‘หนี้สินครัวเรือน’ ไตรมาส 2 ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.27 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 90.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วกว่าหนี้สินครัวเรือน

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ด้านคุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวังหนี้บัตรเครดิตที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น

แม้ว่าสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อบัตรเครดิตต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน จากร้อยละ 3.04 ในไตรมาสก่อนมาเป็นร้อยละ 3.51 รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เสียจากบัตรเครดิต 1 ใน 3 เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี

หนี้สินครัวเรือน ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุจาก

  • ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ แม้ว่าทั้งปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว แต่เป็นการขยายตัวจากฐานต่ำ สะท้อนว่ารายได้ครัวเรือนยังคงไม่ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะกระทบต่อสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน
  • ผลกระทบของอุทกภัย ทำให้ครัวเรือนต้องก่อหนี้เพื่อนำมาซ่อมแซมบ้านเรือนและเครื่องใช้ที่ได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค

ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระยะถัดไป ได้แก่

1. หนี้เสียโดยเฉพาะบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งหากลูกหนี้ผิดนัดชำระจะต้องเสียดอกเบี้ยปรับในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหนี้ประเภทอื่น

2. การส่งเสริมให้ลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากปัจจุบันที่หนี้เสียของครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงแม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดจากการไม่รับรู้ถึงมาตรการช่วยเหลือ จึงควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้

3. การก่อหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในรอบครึ่งปี 2564 พบว่า มีมูลค่าหนี้นอกระบบรวม 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีเพียง 5.6 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 1.5 เท่าจากปี 2562

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม : ภาวะสังคมไทยไตรมาส 3/2564

]]>
1363146
แรงงานสหรัฐฯ แห่ ‘ลาออก’ แม้ประกาศงานลดลง เพราะยังกลัว ‘โควิด’ https://positioningmag.com/1356380 Wed, 13 Oct 2021 08:03:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356380 กรมแรงงานของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคมพบอัตราการลาออกเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 ล้านคน ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2543 และเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคนในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเทียบเท่ากับเกือบ 3% ของแรงงาน และแม้จะมีการลาออกจำนวนมากขึ้น แต่จำนวนการจ้างงานยังชะลอตัวลง โดยจำนวนงานว่างลดลงเหลือ 10.4 ล้านตำแหน่ง จากระดับสูงสุดที่ 11.1 ล้านในเดือนก่อนหน้า

มีการคาดการณ์ว่า การลาออกที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประชาชนมีความกลัวเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลตา ที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนสิงหาคม ทำให้เกิดการลาออกเพิ่มมากขึ้นในสายงานร้านอาหารและโรงแรม รวมถึงงานบริการอื่น ๆ อาทิ พนักงานร้านขายของและห้างสรรพสินค้า นอกจากนี้ คนจำนวนมากที่ตกงานก็ไม่กล้าที่จะหางานทำ

แรงงานเกือบ 900,000 คนออกจากงานในร้านอาหาร บาร์ และโรงแรมในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้น 21% จากเดือนกรกฎาคม ส่วนแรงงานจากฝั่งค้าปลีกเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิต การก่อสร้าง การขนส่ง และคลังสินค้า มีการลาออกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนงานที่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ อาทิ กฎหมาย วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรม นั้นแทบไม่มีการลาออก

นอกจากปัจจัยด้านความกลัว COVID-19 แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ค่าแรงที่สูงขึ้น ทำให้นายจ้างจำนวนมากไม่สามารถขึ้นเงินเดือนได้ตามที่เรียกร้อง ทำให้พนักงานเลือกจะย้ายงาน

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลระบุเมื่อวันศุกร์ว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในเดือนกันยายน แต่ก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่ง แม้ว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 4.8% จาก 5.2% และจากรายงานจากการสำรวจการเปิดงานและการหมุนเวียนแรงงานหรือ JOLTS แสดงให้เห็นว่า การจ้างงานทั้งหมดในเดือนสิงหาคมลดลงอย่างรวดเร็วเป็น 6.3 ล้านจาก 6.8 ล้านในเดือนกรกฎาคม

แม้การที่คนงานลาออกจำนวนมากมักถูกมองว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาดงาน เนื่องจากคนมักจะออกจากงานเมื่อมีตำแหน่งอื่นอยู่แล้วหรือมั่นใจว่าสามารถหางานได้ แต่ความจริงคือ การลาออกที่เพิ่มขึ้นนั้นกระจุกตัวอย่างหนักในภาคส่วนที่มีการติดต่อใกล้ชิดกับสาธารณชนเป็นสัญญาณว่าความกลัวต่อ COVID-19 ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน หลายคนอาจจะลาออกแล้วทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีงานทำ

ทั้งนี้ การลาออกก็เพิ่มขึ้นมากที่สุดในภาคใต้และมิดเวสต์ โดยรัฐบาลกล่าวว่า ทั้งสองภูมิภาคมีการระบาดของ COVID-19 รุนแรงที่สุดในเดือนสิงหาคม

Source

]]>
1356380
ยอดว่างงานพุ่ง 7.3 แสนคน ซ้ำเติม ‘อาชีวะ-ป.ตรี’ จบใหม่ คนตกงาน ‘ยาวเป็นปี’ เพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1348525 Wed, 25 Aug 2021 08:32:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348525 สภาพัฒน์ เผยตัวเลขอัตราว่างงานของคนไทย ไตรมาส 2 เเตะ 7.3 แสนคน ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ซ้ำหนักนักศึกษาจบใหม่ตกงานลากยาวเป็นปีเพิ่มขึ้น เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลกลุ่มคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เเถลงถึงภาวะสังคมไทยในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอย่างการว่างงานของประชาชนคนไทยยังอยู่บนความเสี่ยง

โดยล่าสุด อัตราการว่างงาน อยู่ที่ระดับ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาส 1 ของปี 2564 คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง

สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือกลุ่มผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อนหรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10.04% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 4.4 แสนคน ลดลง 8.38%  

เเรงงานทักษะสูง หางานยาก-ตกงานยาว 

เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น โดยผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน มีจำนวน 1.47 แสนคน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของไตรมาสที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า การว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง

ภาพรวมตลาดแรงงานเเม้จะปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

โดยไตรมาสสอง ปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้น 2.4% จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้าง และราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ

ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.8% โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากได้แก่

  • สาขาก่อสร้าง 5.1%
  • สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร 5.4%
  • สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า 7.1%

ด้านสาขาการผลิต และการขายส่ง/ขายปลีก การจ้างงานหดตัว’ ลง 2.2% และ 1.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ การจ้างงานที่หดตัวในสาขาการผลิต ซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นเป็นหลัก ขณะที่สาขาการผลิตเพื่อการส่งออกมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สาขาเครื่องคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง และยานยนต์ 

Photo : Shutterstock

ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 8.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแรงงานที่ทำงานล่วงเวลามีจำนวน 6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 32%

การว่างงานในระบบ ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตน 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ

ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน

ผลกระทบจากการระบาดที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้ของแรงงาน

กลุ่มที่ทำงาน WFH ได้ยังมีน้อย 

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงและมีแนวโน้มจะลดลงมากกว่าการระบาดในปี 2563 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อการจ้างงาน/การมีงานทำและรายได้ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มที่ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

ทั้งนี้ ลูกจ้างภาคเอกชนที่สามารถทำงานที่บ้านได้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด มีเพียง 5.5% หรือมีจำนวน 5.6 เเสนคน จาก 10.2 ล้านคนเท่านั้น และมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 7.3 ล้านคน ที่จะได้รับผล
กระทบ  

Photo : Shutterstock

“ธุรกิจส่วนใหญ่พยายามคงการจ้างงานเอาไว้ แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจทำให้มีจำนวนผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง”

เเนะรัฐหนุนค่าจ้าง ดูเเลคนเเห่กลับภูมิลำเนา 

การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานจะส่งผลให้แรงงานมีความเปราะบางมากขึ้น ทางสภาพัฒน์เเนะนำว่า ภาครัฐจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือที่ เข้มข้นกว่า การช่วยเหลือจากการระบาดในระลอกที่ผ่านมา เช่น

ช่วยสนับสนุนค่าจ้างบางส่วนให้กับผู้ประกอบการเพื่อรักษาการจ้างงาน

ให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่แรงงานผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากมาตรการควบคุมการระบาด หรือมีความจำเป็น ต้องกักตัว เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการปรับตัวของแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน และผู้จบการศึกษาใหม่ 

จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายกลับสู่ภูมิลำเนา ซึ่งมีทั้งแรงงานถูกเลิกจ้างและกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่งผลให้ผู้ว่างงานในแต่ละภูมิภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันพบว่า ผู้ที่ว่างงานหางานลดลง เนื่องจากมีความกังวลต่อสถานการณ์และแรงงานที่กลับไปทำงานในภูมิลำเนา มีแนวโน้มประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมทักษะอาชีพอิสระที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้สะดวก และฝึกฝนได้ด้วยตนเอง

 

]]>
1348525
ครัวเรือนไทย กังวลรายได้ลด-ไร้งานทำ เเบกหนี้หนัก ค่าครองชีพพุ่ง เข้าไม่ถึงโครงการรัฐ https://positioningmag.com/1346077 Tue, 10 Aug 2021 10:20:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346077 ล็อกดาวน์โควิดระลอก 3 ซัดหนัก ประชาชนกังวลรายได้ลด-ไม่มีงานทำ เเบกหนี้หนักเเถมค่าครองชีพพุ่ง ดัชนี KR-ECI ลดฮวบ ‘ต่ำกว่าล็อกดาวน์ทั่วประเทศ’ เมื่อปีที่เเล้ว ท่องเที่ยวเจ็บยาว ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์น้อยกว่าเป้า คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการช่วยเหลือของรัฐ 

ครัวเรือนไทย ‘วิตกกังวล’ ต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพต่อเนื่อง จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังรุนเเรง จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ในระดับสูง และยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ประจำเดือนก.ค. 64 ปรับลงต่อเนื่องอยู่ที่ 34.7 ซึ่งเป็น ระดับต่ำกว่าช่วงเดือนเม.ย. 63 ที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ที่ 35.1 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 36.6 จาก 38.9 ในเดือนมิ.ย.

เเบกหนี้หนัก ราคาอาหารสดเเพงขึ้น 

ครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ ระดับราคาสินค้า โดยในเดือนก.ค.ดัชนีปรับลดลงอยู่ที่ 31.5 จาก 37.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับระดับอัตราเงินเฟ้อของไทย ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 0.45% ซึ่งหากไม่รวมผลจากมาตรการภาครัฐในเรื่องของการบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำค่าไฟ ระดับอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.8%

“ปัจจัยหนุนเงินเฟ้อ นอกจากราคาน้ำมันแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการล็อกดาวน์” 

ขณะที่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนยังคงถูกกดดันจากความเปราะบางของฐานะการเงินที่สะสมมาจากการแพร่ระบาดในปีก่อนและปัจจุบัน ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้สะท้อนผ่านหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงที่ 90.5% ของจีดีพีในไตรมาสแรกของปี 2564 นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้และจ้างงานเพิ่มขึ้น 

รายได้ลด ไร้งานทำ ท่องเที่ยวไม่ฟื้น 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการล็อกดาวน์ใน 10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงพบว่า 64.2 % ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ (64.2%) มีรายได้จากการจ้างงานลดลง

ขณะที่บางส่วน (14.3%) ธุรกิจปิดกิจการและถูกเลิกจ้าง ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาซ้ำเติมตลาดแรงงานที่มีภาวะเปราะบาง

ล่าสุด ในไตรมาส 2/2564 จำนวนผู้ว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 7.3 แสนคน โดยทิศทางการฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังมีความไม่แน่นอนสูงเช่นกัน

โดยเฉพาะแรงงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในภาคท่องเที่ยว ที่แม้ในเดือนก.ค. 64 จะมีการนำร่องเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่ได้ต้องกักตัวตามเงื่อนไข

แต่สถานการณ์การระบาดทั้งในและนอกประเทศที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ในเดือนก.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาภูเก็ต 14,055 คน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันอยู่ที่ 5,400 บาท (ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน) ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าวยังมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ภาครัฐเคยประเมินไว้ (ไตรมาส 3 จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 1 แสนคน)

ขณะนี้ในภูเก็ตก็ได้มีมาตรการคุมเข้มการระบาดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรม รวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ไม่สามารถเปิดได้เต็มที่

Photo : Shutterstock

คนไทยบางส่วน ‘เข้าไม่ถึง’ โครงการรัฐ 

ด้านมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจจากภาครัฐ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาช่วยประคับประคองการดำรงชีพของครัวเรือน ซึ่งช่วงที่สำรวจภาครัฐได้มี 2 โครงการคือ โครงการคนละครึ่งระยะที่สาม และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมมาตรการพบว่า มีครัวเรือนถึง 30.6% ที่ไม่ได้เข้าร่วมทั้งสองโครงการ เนื่องจากมองว่าขั้นตอนการสมัครมีความยุ่งยาก อีกทั้งโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่เป็นโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้มีเงินออมมีผู้เข้าร่วมเพียง 2.9%

ทั้งนี้ โครงการทั้งสองโครงการได้ออกมาในช่วงก่อนที่สถานการณ์การระบาดจะเผชิญความรุนแรงและมีมาตรการคุมเข้มการระบาดอย่างในปัจจุบัน ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดไม่ได้รุนแรงมาก อาจทำให้โครงการต่าง ๆ จูงใจประชาชนให้เข้าร่วมได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ล่าสุดภาครัฐได้มีมาตรการเยียวยา 9 กลุ่มอาชีพใน 13 พื้นที่เสี่ยงที่ถูกล็อกดาวน์ ซึ่งน่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้บางส่วน

“ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังเผชิญความไม่แน่นอนสูง สถานการณ์การระบาดที่ยืดเยื้อและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นจะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดแรงงานต่อเนื่อง ไปจนถึงกำลังซื้อของภาคครัวเรือน” 

ดังนั้น ภาครัฐควรออกมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการจัดหา จัดสรร และแจกจ่ายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเร่งควบคุมสถานการณ์ เช่น การตรวจเชิงรุกเพราะทุกเวลาที่ผ่านไปคือความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ภาคประชาชนและประเทศ

สรุป :

ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในระดับปัจจุบัน (ก.ค. 64) และ 3 เดือนข้างหน้าบ่งชี้ถึงความกังวลของครัวเรือนต่อรายได้และการจ้างงาน ขณะที่ในเดือนส.ค.มีมาตรการล็อกดาวน์ใน 13 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจะยิ่งเพิ่มขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาที่ตรงจุดและเข้าถึงง่ายพร้อมกับเร่งเข้าควบคุมสถานการณ์ รวมถึงในเรื่องของวัคซีนเพื่อให้สถานการณ์การระบาดบรรเทาลง

 

]]>
1346077
ผลศึกษาชี้ ยุคโควิด ‘Gen X’ ยิ่งหางานยาก เหตุปรับตัวตาม ‘เทคโนโลยี’ ไม่ทัน และเข้ากับ Gen อื่นยาก https://positioningmag.com/1344390 Thu, 29 Jul 2021 08:41:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344390 คนทำงาน Gen X หรือคนอายุระหว่าง 38-53 ปี อาจกำลังเผชิญกับวิกฤตการว่างงานทั่วโลก เนื่องจากการระบาดใหญ่ได้เพิ่มความท้าทายที่มีอยู่สำหรับแรงงานที่มีอายุมาก โดยเฉพาะการที่โลกนำเทคโนโลยีดิจิทัลและออโตเมชั่นมาปรับใช้เร็วขึ้น เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19

รายงานจาก Generation ซึ่งเป็นองค์กรจัดหางานที่ไม่แสวงหาผลกำไรระบุว่า การนำดิจิทัลไปใช้อย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดได้เร่งการทำงานอัตโนมัติทำให้การหางานของคน Gen X ยิ่งยากขึ้น โดยในการศึกษาระดับโลกเรื่อง Meeting the world’s midcareer challenge” พบว่าพนักงานระดับเริ่มต้นและกลางที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี ต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความลำเอียงในหมู่ผู้จัดการการจ้างงาน รวมถึงการไม่เต็มใจในหมู่คนงานที่จะเรียนรู้ ทักษะใหม่

“เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อคุณอายุถึงเกณฑ์หนึ่ง การเข้าถึงโอกาสในการทำงานจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาก” Mona Mourshed ซีอีโอ Generation กล่าว

การศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2564 ได้ทำการสำรวจผู้จ้างงานและผู้ว่างงานจำนวน 3,800 คนที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี และผู้จัดการการจ้างงาน 1,404 คนใน 7 ประเทศพบว่า แม้ในแต่ละประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อินเดีย และ อิตาลี จะมีตำแหน่งงานที่หลากหลาย แต่ผลการวิจัยก็เหมือนกันหมด คือ คนวัย 45-60 ปี เป็นกลุ่มพนักงานที่ถูกมองข้ามมากที่สุด

ขณะที่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ผู้ว่างงานระยะยาวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานระดับกลาง โดยสัดส่วนของกลุ่มนี้ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มมีความพร้อมน้อยที่สุดในการสมัครงาน ทั้งความฟิต และประสบการณ์ที่มี

ความกังวลอันดับต้น ๆ ขององค์กรในการรับคน Gen X คือ การรับรู้ถึงความไม่เต็มใจในการที่จะลองใช้เทคโนโลยีใหม่ (38%) การไม่สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ (27%) และความยากลำบากในการทำงานกับคนรุ่นอื่น ๆ (21%)

แม้การฝึกอบรมสามารถให้แนวทางแก้ไขปัญหาได้หนึ่งวิธี แต่รายงานยังเน้นย้ำถึงความ ไม่เต็มใจ ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมในหมู่ผู้หางานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยมากกว่าครึ่ง (57%) ของผู้หางานระดับเริ่มต้นและระดับกลางแสดงความต่อต้านต่อทักษะใหม่ มีเพียง 1% เท่านั้นที่กล่าวว่าการฝึกอบรมช่วยเพิ่มความมั่นใจในการหางาน

ภาพจาก CNBC

อย่างไรก็ตาม เธอยืนยันว่าการฝึกอบรมสามารถให้ประโยชน์อย่างแท้จริง ในการศึกษานี้ เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของผู้เปลี่ยนอาชีพที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปกล่าวว่าการเข้าร่วมการฝึกอบรมช่วยให้พวกเขาได้รับตำแหน่งใหม่ ดังนั้น หากหลายองค์กรที่ขาดแคลนแรงงานหรืออยากจะช่วยให้ Gen X ยังสามารถทำงานได้ องค์กรควรมีโซลูชั่นดังนี้

  • เชื่อมโยงโปรแกรมการฝึกอบรมเข้ากับโอกาสการจ้างงานโดยตรง และให้เงินช่วยเหลือแก่พนักงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปที่ลังเลในการเข้ารับการฝึกอบรม
  • การเปลี่ยนแปลงแนวทางการจ้างงานเพื่อลดอคติด้านอายุที่อาจเกิดขึ้น พร้อมกับประเมินศักยภาพของผู้สมัครงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นการลงมือทำ

Source

]]>
1344390