สังคม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Feb 2021 16:03:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KBank ห่วงไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน โรงแรม 40% เสี่ยงหายจากตลาด https://positioningmag.com/1320011 Thu, 18 Feb 2021 13:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320011 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ห่วงเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้าสุด’ ตามหลังเพื่อนบ้านในอาเซียน เหตุพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง จับตาเร่งกระจายวัคซีน วิกฤตยื้อยาวอาจทำโรงเเรม 30-40% ‘ไม่รอด’ หายออกจากตลาด หนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจ SMEs อ่วมสารพัดปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้

‘วัคซีน’ คือตัวเเปรสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า KBank ยังคงคาดการณ์เป้าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 2.6%

มีหลายประเด็นที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัวช้า’ ตามหลังประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 10% ของ GDP

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดการคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 2-4.5 ล้านคน จากเดิมที่คาดไว้ 4.5-7 ล้านคน

ตัวเเปรหลักของเศรษฐกิจไทยคือ ‘วัคซีน’ ต้องติดตามการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ตลอดจนการ
กระจายวัคซีนในประชากรหมู่มากจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแนวทางการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว ณ ขณะนี้มองไว้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2564

Photo : Shutterstock

ณัฐพร คาดว่า กว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปเท่าที่ระดับก่อนโรคระบาดได้คงใช้เวลาจนถึงปี 2565-2566 เพราะปัญหาจาก COVID-19 ในรอบนี้ กระทบภาคธุรกิจจริงตรงๆ ต่างจากปี 2540 ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจการเงิน

“การฟื้นตัวของธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วง COVID-19 คงไม่ทั่วถึง และยังมีโจทย์เชิงโครงสร้างที่รออยู่ อีกทั้งสังคมสูงอายุ ตลาดผู้บริโภคเล็กลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ”

โรงแรม 40% เสี่ยงหายออกจากตลาด

ด้าน เกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เสริมว่า ภาคท่องเที่ยวในไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ ‘เปราะบางที่สุด’ ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมในจังหวัดที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก เช่นใน 6 จังหวัดอย่าง ภูเก็ต, กระบี่, พังงา, สุราษฎร์ธานี, ชลบุรี เเละกรุงเทพฯ ที่ต้องติดตามเป็นพิเศษ ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง และการปิดพื้นที่ชั่วคราว

“ปัญหาโควิดในครั้งนี้คงทำให้โรงแรม 30-40% อาจต้องออกจากตลาดไป เน้นไปที่โรงแรมในกลุ่มราคาประหยัด (Budget) หรือราคาระดับกลาง (Midscale) รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีก อย่างร้านค้า SMEs ในห้างที่มีสัดส่วนกว่า 30% ของผู้ประกอบการรายย่อยไทยในภาคการค้าทั่วประเทศ” 

เเม้ช่วงที่ผ่านมา คนไทยจะหันมา ‘เที่ยวในประเทศ’ กันมากขึ้น โดยคาดว่า ปี 2564 จะอยู่ที่ราว 90-120 ล้านคนต่อครั้ง แต่ยังไม่สามารถทดแทนการหายไปของรายได้ที่พึ่งพิงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เคยสร้างรายได้ให้ธุรกิจในภาคโรงเเรมไทยถึง 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 70%

Photo : Shutterstock

สำหรับประเด็นเรื่อง ‘Vaccine Passport’ มองว่า ยังไม่อาจคาดหวังได้มากในขณะนี้ เพราะยังไม่มีหลักฐานการศึกษาว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออีกครั้ง ประโยชน์ในเรื่องนี้คงเกิดกับเฉพาะบางประเทศที่รับความเสี่ยงได้ มากกว่าจะเป็นประโยชน์ในระดับโลก

ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ‘โจทย์เฉพาะหน้าคือ การดูแลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและครัวเรือน’

“ภาคการเงินต้องติดตามสภาพคล่องภาคธุรกิจ SMEs มีปัญหาไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ แม้ว่าตอนนี้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) จะยังไม่สะท้อนมาก เพราะยังอยู่ในช่วงมาตรการผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธปท.ก็ตาม” 

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าว เห็นได้จากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินที่คงไต่ระดับขึ้นจากปลายปี 2563 ที่ 27.6% และ 14.7% ของสินเชื่อสำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีและลูกค้าบุคคลรายย่อยตามลำดับ

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางนั้น คาดว่าภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น Asset Warehousing แต่อาจไม่เร็วพอ เพราะยังต้องรอรายละเอียดในหลายประเด็น ด้านลูกค้าหากมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ ก็แนะนำให้รีบคุยกับสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องรอให้เป็น NPL ก่อน

“ธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป เเต่คาดว่าตลาดจะเล็กลง จากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากปีก่อนที่ 86% ปีนี้น่าจะแตะ 90-91% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อลดลง เเละการเข้าสู่สังคมสูงอายุของไทยที่กำลังใกล้เข้ามา ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่มองข้ามไม่ได้”

 

 

]]>
1320011
จับตา ‘หนี้ครัวเรือน’ ปี 2564 จ่อทะลุ 91% ต่อจีดี​พี​ คนไทยติดวังวน ‘เเบกหนี้เพิ่ม’ เเต่รายได้ลด https://positioningmag.com/1312956 Tue, 05 Jan 2021 07:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312956 ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุด จะส่งผลอันใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเเละสังคมในช่วงต่อไป เมื่อหนี้สินเพิ่มพูนเเต่รายได้กลับลดลง ทำให้คนไทยต้องติดอยู่ในวังวนเเบกหนี้ไม่มีวันจบสิ้น

โดยหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต

จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ในไตรมาส 3 ปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ที่ 86.6% ต่อจีดีพี (จากระดับ 83.8% ต่อจีดีพีในไตรมาส 2/2563) โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์และบัตรเครดิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2564 หนี้ครัวเรือนไทยอาจพุ่งไป 91% ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่านั้น หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่หนักกว่าที่ประเมินไว้ เเละฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2564 จะเติบโตน้อยกว่ากรณีพื้นฐานที่ 2.6%

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ในภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3/2563 โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งสินเชื่อบ้านปล่อยใหม่ ยังคงขยับขึ้นอีกประมาณ 1.60 แสนล้านบาท คิดเป็น 88% ของการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ซึ่งในไตรมาส 3/2563 หนี้ครัวเรือนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นราว 1.82 แสนล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 13.77 ล้านล้านบาท

ส่วนสัญญาณการก่อหนี้ในส่วนอื่นๆ ทั้งหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็กลับมาเร่งสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3/2563 อีกครั้ง จากที่มีทิศทางชะลอลงในไตรมาส 2/2563 ซึ่งมีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก

คนรายได้น้อยไม่ถึง 5 พัน/เดือน เเบกหนี้สูง 84% ต่อรายได้

ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ทรุดตัวรุนแรงจาก COVID-19 และหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 ได้เพิ่มความเปราะบางทางการเงินให้กับครัวเรือนหลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างตึงตัวอยู่แล้วก่อนจะเกิดโรคระบาด

เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า ภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยทั้งประเทศอยู่ที่ 27% เเต่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย หรือมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนกลับมี DSR อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยหลายเท่า

โดยเฉพาะครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้ สูงถึง 84% ขณะที่ครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มีภาระหนี้ต่อรายได้  40%

สะท้อนให้เห็นว่า ความเปราะบางทางการเงินในภาคครัวเรือนของไทย ปรากฏชัดเจนมากขึ้นตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

โดยภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของค่าใช้จ่ายต่อเดือน สวนทางกับภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ระดับการออมของครัวเรือนไทยอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอลง มาตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19

โควิดรอบใหม่ต้องมีมาตรการช่วยลูกหนี้

ความเสี่ยงการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวะการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปี 2564 และน่าจะมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่รวมๆ แล้วมีอยู่ประมาณ 10.68 ล้านบัญชี คิดเป็นภาระหนี้ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ธปท. ณ เดือน ต.. 2563)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ข้อมูลเบื้องต้นก่อน COVID-19 ระลอกใหม่จะสะท้อนว่าลูกหนี้รายย่อยส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์น่าจะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติหลังหมดมาตรการฯ และลูกหนี้บางส่วนได้รับการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว

แต่ต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2564 อย่างใกล้ชิด เพราะจะมีนัยโดยตรงต่อกระแสรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวสูงต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในเครื่องชี้ที่ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย และความเปราะบางของฐานะทางการเงินในภาคครัวเรือนที่เป็นโจทย์รอการแก้ไข ต่อเนื่องจากการควบคุมการระบาดของ COVID-19 และการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

โดยโจทย์เฉพาะหน้าที่สำคัญกว่า คือ การเตรียมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้กับลูกหนี้ทั้งธุรกิจและครัวเรือน ให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปให้ได้

 

]]>
1312956