อัตราการเกิดต่ำ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Aug 2024 08:09:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนจีนหันมา ‘เลี้ยงสัตว์’ มากขึ้นจนจำนวนกำลังจะแซง ‘ทารก’ หลังคนไม่อยากมีลูก แถมแต่งงานน้อยลง https://positioningmag.com/1485379 Wed, 07 Aug 2024 04:07:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485379 อย่างที่รู้ว่าหลายประเทศในเอเชีย รวมไป จีน ที่มี อัตราการเกิดลดลง อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่แค่ลดลง เพราะดูเหมือนว่าปีนี้ จำนวนสัตว์เลี้ยง ของจีนมีแนวโน้มที่จะ มีจํานวนมากกว่าทารก และเด็กวัยหัดเดินในปีนี้

เนื่องจากคนจีนไม่อยากมีลูกมากขึ้น และการลดลงของจำนวนผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ อัตราการ แต่งงาน ปีนี้ ยังดิ่งลงสู่ระดับ ต่ำสุดในรอบเกือบ 45 ปี ในปี 2024 ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

ไม่ใช่แค่อัตราการเกิดที่ลดลง แต่ Valerie Zhou นักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs ได้ประเมินว่า จํานวนสัตว์เลี้ยง ภายใน 10 ปีนี้ จะมีจำนวนเกือบ สองเท่า เมื่อเทียบกับจํานวน เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ

“เราคาดว่าจะเห็นโมเมนตัมที่แข็งแกร่งขึ้นในการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงท่ามกลางแนวโน้มอัตราการเกิดที่ค่อนข้างอ่อนแอและการรุกของสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น” 

ในช่วง 6 เดือนแรก จีนมีจำนวนการขดทะเบียนสมรสประมาณ 3.43 ล้านคู่ ซึ่ง ลดลงเกือบ 5 แสนคู่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามข้อมูลของกระทรวงกิจการพลเรือน และจํานวนการจดทะเบียนสมรส คาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้ และจะถึงจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970

ตามรายงานสถานะการดําเนินงานอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงของจีนและการติดตามตลาดผู้บริโภคที่เผยแพร่โดยที่ปรึกษาตลาด iiMedia Research ตั้งแต่ปี 2023-2024 ขนาดเศรษฐกิจสัตว์เลี้ยงของจีนคาดว่าจะสูงถึง 811.4 พันล้านหยวน (113.6 พันล้านดอลลาร์) ภายในปี 2025 เพิ่มขึ้นจาก 592.8 พันล้านหยวนในปี 2023 และ 295.3 พันล้านหยวนในปี 2020

ในแง่ของอาหารสัตว์เลี้ยง นักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs คาดว่าอุตสาหกรรมจะเติบโตจนมีมูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีที่ 8% โดย อาหารแมว จะเติบโตมากที่สุดเฉลี่ย 10% ต่อปี แซงหน้ายอดขาย อาหารสุนัข ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในจีนจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ถือว่ายังมีจำนวนต่ำกว่า อย่างในญี่ปุ่น จํานวนสัตว์เลี้ยงคิดเป็นประมาณ 4 เท่า เมื่อเทียบกับจํานวนเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 4 ปี 

ทั้งนี้ ในปี 2023 จีนมีอัตรการเกิดเพียง 9.02 ล้านราย ซึ่งคิดเป็นยอดรวมที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ย้อนหลังไปถึงปี 1949 ขณะที่ Goldman Sachs  คาดการณ์ในรายงานว่า อัตราการเกิดใหม่ในประเทศจีนคาดว่าจะหดตัวในอัตราเฉลี่ย 4.2% จนถึงปี 2030 เนื่องจากการลดลงของผู้หญิงอายุ 20-35 ปี และคนรุ่นใหม่ที่อยากมีลูกน้อยลง

ปัจจุบัน ประชากรจีนลดลงเหลือ 1.4097 พันล้านคน โดยถือเป็นการลดลง 2 ปีติดต่อกัน

Source

]]>
1485379
ไทยเอาด้วยไหม? ‘เซี่ยงไฮ้’ ใส่บริการช่วย ‘ผู้มีบุตรยาก’ ในประกันสุขภาพ หวังช่วยเพิ่มอัตราการเกิด https://positioningmag.com/1476964 Thu, 06 Jun 2024 09:27:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476964 การกระตุ้นอัตราการเกิดอาจไม่ใช่แค่ ให้เงิน เพื่อจูงใจให้คนมีลูก แต่บางครั้งปัญหาการ มีลูกยาก ก็ทำให้คนที่อยากมีลูกจริง ๆ ไม่สามารถมีได้ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการมีลูกก็ค่อนข้างมีราคาสูง ทำให้ เซี่ยงไฮ้ เป็นเมืองแรกของจีนที่นำเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ ใส่ไว้ในโครงการประกันสุขภาพ

หลังจากที่ จีน เผชิญกับปัญหาอัตราการเกิดต่ำที่สุด ทำให้ประเทศต้องพยายามหามาตรการมากระตุ้นอัตราการเกิด โดยล่าสุด เซี่ยงไฮ้ ได้นำร่องในการ รวมบริการเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) ไว้ในโครงการประกันสุขภาพตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป 

โดยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ที่อยู่ภายใต้โครงการประกันสุขภาพจะมีทั้งหมด 12 ประเภท ซึ่งจะช่วยให้คู่รักที่ต้องการใช้บริการดังกล่าว ลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ได้ถึง 70% จากการขยายสิทธิของโครงการประกันสุขภาพเพื่อสนับสนุนการมีบุตร

ปัจจุบัน เซี่ยงไฮ้มีประชากรเกือบ 25 ล้านคน โดยในปี 2023 ที่ผ่านมา อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรอยู่ในระดับ ต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 0.6 หรือ เฉลี่ยผู้หญิงแต่ละคนมีลูกเพียง 0.6 คน ในช่วงชีวิตการเจริญพันธุ์ ขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์เฉลี่ยควรอยู่ที่ระดับ 2.1 และถือว่าต่ำกว่า เกาหลีใต้ ที่เป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์เฉลี่ยต่ำสุดของโลกที่ 0.72% 

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาไม่มีการเปิดเผยถึงตัวเลขอัตราการเจริญพันธุ์ทั้งหมดของจีน แต่นักวิเคราะห์ประเมินว่าอยู่ที่ประมาณ 1.0 ส่วน ฮ่องกง คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 0.8 ตามรายงานของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติที่เผยแพร่ในเดือนเมษายน

ย้อนไปในปี 2022 ที่ผ่านมา ประชากรของจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี เนื่องจากจํานวนผู้เสียชีวิตมีจํานวนมาก กว่าการเกิด และแนวโน้มยังคงดําเนินต่อไปในปีที่แล้ว และทำให้จีนได้เสียตำแหน่งเบอร์ 1 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกให้กับอินเดีย

โดยจำนวนทารกแรกเกิดที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อจำนวนเด็กก่อนวัยเรียนทั่วประเทศจีน เนื่องจากจํานวน ครูอนุบาลลดลงกว่า 170,000 คนในปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2010 ตามรายงานที่ออกโดยสถาบันวิจัย Sunglory Education ในปักกิ่ง

“จํานวนเด็กที่ลดลงมาเร็วมากจนส่งผลต่ออุตสาหกรรมการศึกษาก่อนวัยเรียน” Zhang Shouli ผู้ก่อตั้งสถาบันกล่าว

มีการคาดการณ์ว่า จํานวนเด็กที่โรงเรียนอนุบาล ระหว่างปี 2026-2030 ของจีนจะ ลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับปี 2020

Source

]]>
1476964
“ประชากรจีน” หดตัว 2 ปีติดเหลือ 1.409 พันล้านคน อัตราเกิดลดเหลือ 6.39/1,000 คน ทำสถิติต่ำสุดใหม่นับตั้งแต่ปี 1949 https://positioningmag.com/1459151 Wed, 17 Jan 2024 07:11:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459151 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจที่น้อยสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่เยาวชนอายุน้อยก็ตกงานกันเพียบ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ดูเหมือนจะส่งผลให้คนจีนเลือกที่จะมีลูกน้อยลง ทำให้อัตราการเกิดต่ำลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ประชากรจีนหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

สํานักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยว่า ปี 2023 ที่ผ่านมา จำนวนประชากรจีนลดลงเหลือ 1.409 พันล้านคน ลดลงประมาณ 2.08 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2022 โดยถือเป็นการ หดตัวต่อเนื่องสองปีติดต่อกัน ซึ่งยิ่งเกิดความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ที่อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจของที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

ขณะที่ อัตราการเกิด ยังลดลงสู่ระดับต่ำสุดใหม่ที่ 6.39 ต่อ 1,000 คน ลดลงจาก 6.77 คน ในปีก่อนหน้า ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การก่อตั้งคอมมิวนิสต์จีนในปี 1949 ที่มีทารกเกิดใหม่ประมาณ 9.02 ล้านคน เทียบกับปี 2022 ที่มีทารกเกิดใหม่ 9.56 ล้านคน

ทั้งนี้ จำนวนประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในปี 2022 ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า เป็นการลดลงครั้งแรกของประเทศนับตั้งแต่ปี 1961 ที่มีแผน Great Leap Forward หรือแผนห้าปีฉบับที่สอง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการรณรงค์ทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนของอดีตผู้นํา เหมา เจ๋อตง ส่งผลให้ปี 2023 จีนได้ถูก อินเดีย แซงหน้าในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

ที่ผ่านมา แรงงานของประเทศจีนประกอบด้วยคนใน กลุ่มอายุ 16-59 ปี ซึ่งลดลง 10.75 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2022 ในขณะที่จํานวน ผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพิ่มขึ้น 16.93 ล้านคน โดยจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นสวนทางกับกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เป็นแรงงานที่หดตัว ซึ่งอาจทําให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตกต่ำลงอย่างมาก

ส่งผลให้รัฐบาลจีนได้ยกเลิกนโยบาย ลูกคนเดียว ที่มีมานานหลายหลายทศวรรษ พร้อมทั้งออกนโยบายกระตุ้นให้คู่รักมีลูกกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาก็ไม่สามารถช่วยให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นได้ ปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญความท้าทาย ส่งผลให้ปีที่ผ่านมาเติบโต 5.2% ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผลประกอบการทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดของประเทศในรอบกว่า 30 ปี

Source

]]>
1459151
เท่าไหร่ก็ไม่พอ! อัตราเกิดใน ‘สิงคโปร์’ ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้รัฐฯ อัดฉีดกว่า 3 แสนบาทเพื่อจูงใจ https://positioningmag.com/1444549 Mon, 18 Sep 2023 04:13:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1444549 แม้ว่า สิงคโปร์ จะถือเป็นประเทศที่มีความสุขสูงสุดในเอเชียและตะวันออกกลาง ตามรายงาน World Happiness Report จากสหประชาชาติ (U.N.) ก็ตาม แต่อัตราการเกิดของสิงคโปร์กลับลดต่ำลงเรื่อย ๆ โดยสาเหตุหลัก ๆ เลยก็คือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ภาครัฐจะออกนโยบายกระตุ้น พร้อมให้สิทธิพิเศษมากมายก็เหมือนจะยังไม่สามารถจูงใจได้

ปี 2022 อัตราการเกิดของสิงคโปร์แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.05 โดยลดลงถึง 7.9% หลังจากลดลงต่อเนื่องมาหลายปี ยกเว้นแค่ในปี 2021 ที่เกิดการระบาดของโควิดที่อัตราเกิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.1 เป็น 1.12 โดยสาเหตุที่ทำให้อัตราการเกิดลดลงนั้นหนีไม่พ้นเรื่อง ค่าครองชีพที่สูง ทำให้หลาย ๆ คนไม่อยากขยายครอบครัว

การมีลูกนั้นเชื่อมโยงกับหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น ความสามารถในการซื้อบ้าน คู่สมรส และความพร้อมของตลาดงาน ซึ่งถ้ารู้สึกพร้อมทั้งหมด คุณก็จะรู้สึกปลอดภัยพอที่จะมีลูก ซึ่งความน่าดึงดูดใจของการอยากมีลูกลดลงอย่างมากจริง ๆ” Jaya Dass กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Ranstad กล่าว

ปัจจุบัน สิงคโปร์กำลังเผชิญกับอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยข้อมูลจาก สถาบันการศึกษานโยบายในสิงคโปร์ แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 2024 ปี มีโอกาสคลอดบุตรน้อยกว่าผู้หญิงอายุระหว่าง 3539 ปี แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงเลือกที่จะมีบุตรในภายหลังหรือ ไม่มีเลย

ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลต้องทุ่มสิ่งจูงใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีลูก โดยคู่รักที่มีบุตรตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ พ่อ-แม่จะได้รับเงินคนละ 11,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 290,000 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 8,000 สิงคโปร์ สำหรับลูกคนแรกและคนที่สอง และเพิ่มเป็น 13,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 3440,000 บาท) สำหรับลูกคนที่สามและต่อ ๆ ไป ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 30%-37% นอกจากนี้ คุณพ่อยังสามารถลางานเพิ่มได้จาก 2 สัปดาห์เป็น 4 สัปดาห์ สำหรับพ่อของเด็กที่เกิดในปี 2024

อย่างไรก็ตาม เวิน เหว่ย ตัน นักวิเคราะห์จาก Economist Intelligence Unit มองว่า ต่อให้ทุ่มเงินมหาศาลก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะการแก้ปัญหาอัตราการเจริญพันธุ์จะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับจุดอ่อนของระบบที่ซ่อนอยู่ ซึ่งไม่เพียงแต่หมายถึงการจัดการกับความท้าทายด้านประชากรศาสตร์เท่านั้น

ทั้งนี้ ในปี 2022 EIU จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นเมืองที่ ค่าครองชีพแพงที่สุด โดยครองตำแหน่งสูงสุดร่วมกับนิวยอร์กซิตี้ ขณะที่ ราคาบ้านก็แพงสุดในเอเชียแปซิฟิก โดยเพิ่มขึ้น 7.5% ดังนั้น การเป็นเจ้าของบ้านก็ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคู่รักหนุ่มสาวเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูบุตรในสิงคโปร์ ส่งผลให้ชาวสิงคโปร์มีความรู้สึกว่า ไม่มั่นคงพอจะมีลูก แม้แต่กับกลุ่มคู่รักที่มีรายได้สองทาง แต่ก็เลือกจะไม่มีลูก

“ความไม่มั่นคงกำลังดึงผู้คนให้ห่างไกลจากการมีลูก” Mu Zheng ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว

นอกจากเรื่องค่าครองชีพแล้ว เรื่อง หน้าที่การงาน ก็เป็นอีกส่วน เนื่องจากกรอบความคิดคนเปลี่ยนแปลงไป โดยคู่รักจำนวนมากขึ้นเต็มใจที่จะ ให้ความสำคัญกับอาชีพการงานมากกว่าการแต่งงานและการมีลูก นอกจากนี้ การชะลอการแต่งงานหมายความว่าผู้คนอาจได้รับโอกาสมากขึ้นในการ ศึกษาต่อในระดับสูง ส่งผลให้บางคน เลือกมากขึ้น และ คาดหวังกับคู่ครองในอนาคตมากขึ้น

เมื่อผู้หญิงมีลูก พวกเธอจะเห็นการชะลอตัวในความก้าวหน้าในอาชีพการงาน หลายคนตัดสินใจที่จะรอจนกว่าพวกเขาจะรู้สึกมั่นคงและมั่นคงในงานของตน เพื่อไม่ให้ครอบครัวลำบากหากพวกเขาลาออกจากงาน” ตัน โปห์ ลิน นักวิจัยอาวุโสของ Lee Kuan Yew School of Public กล่าว

แน่นอนว่า สาเหตุที่รัฐบาลต้องกระตุ้นให้การเกิดเพิ่มมากขึ้นเป็นเพราะ จำนวนประชากรสูงวัย เพิ่มมากขึ้น แต่การเกิดลดลงจะมีผลกระทบต่อกำลัง แรงงานของสิงคโปร์ และจำนวนพนักงานที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ ภาษีของรัฐบาล

คุณกำลังรวบรวมเงินน้อยลงจากพนักงานที่มีขนาดเล็กลง ดังนั้น รัฐบาลจึงมีทรัพยากรทางการคลังน้อยลงเพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศอาจต้องการ ต่อไป คนงานต้องจ่ายภาษีมากขึ้น และมีภาระทางการเงินในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น และหากใครแต่งงานและมีลูก ก็มีข้อพิจารณาทางการเงินมากขึ้น”

]]>
1444549
‘จีน’ อัดฉีดเงิน 5 พันบาทให้คู่ ‘บ่าว-สาว’ ป้ายแดง หลังอัตราการแต่งงานลดลงต่อเนื่อง 9 ปี https://positioningmag.com/1443200 Fri, 01 Sep 2023 08:30:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443200 ดูเหมือนว่าวิกฤตเรื่องอัตราการเกิดที่ต่ำของจีนจะหนักขึ้นทุกที เพราะแม้ว่าจะยกเลิกมาตรการ ลูกคนเดียวก็แล้ว ให้เงินสนับสนุนเด็กเกิดใหม่ก็แล้ว จนตอนนี้มาถึงการให้เงินสนับสนุนคู่บ่าวสาวอายุไม่เกิน 25 ปี เนื่องจากอัตราการแต่งงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

มณฑลฉางซานในจังหวัดเจ้อเจียง ได้ประกาศว่า ทางมณฑลจะ ให้เงินสนับสนุนคู่บ่าวสาวที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี จำนวน 1,000 หยวน (ราว 5,000 บาท) ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศจีน ผู้ชายต้องมีอายุ 22 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงต้องมีอายุ 21 ปีขึ้นไป ถึงจะสามารถแต่งงานตามกฎหมาย

นโยบายดังกล่าวคาดว่าออกมาเพื่อกระตุ้นให้คนหนุ่มสาวแต่งงานกันมากขึ้น เนื่องจากในปี 2022 ที่ผ่านมา การจดทะเบียนสมรสในประเทศจีนลดลงเหลือ 6.83 ล้านครั้ง นับเป็นการ ลดลงติดต่อกัน 9 ปี และตัวเลขดังกล่าวก็อยู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 และไม่ใช่แค่ปริมาณที่น้อยลง แต่อายุของบ่าวสาวก็สูงขึ้นอีกด้วย

ไม่ใช่แค่กับมณฑลฉางซาน แต่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมืองเช่าซิง ของเจ้อเจียง ก็มีนโยบายที่กระตุ้นอัตราการเกิด เช่น การให้เงินสนับสนุน การให้สิทธิพิเศษวันหยุดเพื่อเลี้ยงดูบุตร รวมถึงการเสนอเงินมูลค่า 1,000 หยวนให้กับคู่บ่าวสาว โดยไม่จำกัดอายุ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีมาตรการออกมากระตุ้นมากแค่ไหน แต่นักประชากรศาสตร์ยอมรับว่า ผลกระทบในทันทีนั้นไม่น่าเป็นไปได้ และจีนควรยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับบรรทัดฐานใหม่ โดยมีการคาดการณ์ว่า อัตราการเกิดของเด็กในประเทศจีนอาจลดลง ต่ำกว่า 8 ล้านคนในปี 2023 นี้

โดยในปีที่แล้ว ประชากรของจีนหดตัวลง 850,000 เหลือ 1.4118 พันล้าน นับเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1961 โดยปีที่แล้วอัตราการเกิดในประเทศจีนมีเพียง 9.56 ล้านคน ซึ่งลดลง 9.98% จาก 10.62 ล้านคนในปี 2021

วิกฤตด้านประชากรศาสตร์จากจํานวนการเกิดที่ลดลงและประชากรสูงอายุอย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในความท้าทายที่ร้ายแรงที่สุดสําหรับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของจีน โดยมีผลกระทบกระเพื่อมรวมถึงความต้องการที่อยู่อาศัยที่ลดลงและตลาดผู้บริโภคที่อ่อนแอ ตลอดจนกลุ่มแรงงานที่หดตัว และความท้าทายต่อกองทุนบํานาญของรัฐ

]]>
1443200
ประเทศพัฒนาแล้ว “อัตราการเกิด” ลดฮวบ ยิ่งล็อกดาวน์ยิ่ง “เครียด” มากกว่าได้ใช้เวลาดีๆ https://positioningmag.com/1319661 Tue, 16 Feb 2021 11:48:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319661 ผ่าน 9 เดือนหลังจากช่วงล็อกดาวน์เมื่อปีก่อน ฝรั่งเศสเผชิญภาวะ “อัตราการเกิด” ต่ำกว่าปกติราว 10-25% ผิดจากที่คาดว่าการล็อกดาวน์จะทำให้คู่รักได้ใช้ช่วงเวลาดีๆ ด้วยกันมากขึ้น และมีบุตรสูงขึ้น เทรนด์นี้เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง สาเหตุก็คือ แทนที่จะเป็นช่วงเวลาอบอุ่นของครอบครัว การล็อกดาวน์กลับเป็นตัวการความกังวลด้านเศรษฐกิจและความเครียดของคน

ฝรั่งเศส ประเทศซึ่งมีประชากรมากกว่า 64 ล้านคน เข้าสู่ช่วง 9 เดือนหลังการล็อกดาวน์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 รอบแรก โดยฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการล็อกดาวน์เข้มงวดมากที่สุดในโลก จนมีการคาดการณ์ว่า การล็อกดาวน์น่าจะนำไปสู่อัตราการเกิดที่สูงขึ้นเพราะทุกคนติดอยู่ในบ้านเดียวกัน

แต่กลับกลายเป็นว่า อัตราการเกิดของฝรั่งเศสลดต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากความกังวลด้านเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ความเครียด และบางกรณีคือความกังวลเกี่ยวกับไวรัสอาจจะมีอันตรายต่อเด็ก ทำให้ครอบครัวจำนวนมากเลื่อนแผนหรือยกเลิกแผนการมีลูกไปก่อน

ยกตัวอย่างจำนวนทารกเกิดใหม่ที่ โรงพยาบาล Saint-Denis ชานเมืองปารีส ในช่วงระหว่างกลางเดือนธันวาคม 2020 ถึงกลางเดือนมกราคม 2021 กลับลดลงกว่าช่วงปีก่อนหน้าถึง 20% และยังคาดการณ์ด้วยว่า ตัวเลขทารกเกิดใหม่ของปีนี้น่าจะยังคงต่ำกว่าปีก่อน อย่างน้อยก็ในช่วงครึ่งปีแรก

 

ล็อกดาวน์ยิ่งเข้มงวด การมีลูกยิ่งน้อยลง

ไม่เพียงแต่ชานเมืองปารีส เทรนด์นี้เกิดขึ้นในเมืองอื่นๆ ของฝรั่งเศส มีอัตราการเกิดลดลงระหว่าง 10-25% ในช่วงเดือนมกราคม 2021 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (ข้อมูลจาก University Hospital in Nancy) ซึ่งการเกิดที่ลดลงเท่านี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างมาก

17 ตุลาคม 2020 : บรรยากาศร้านอาหารแห่งหนึ่งในปารีส ต้องเก็บร้านก่อนเวลาเนื่องจากการประกาศเคอร์ฟิวของภาครัฐ เพื่อควบคุมการระบาดระลอกสอง (Photo: Adnan Farzat/NurPhoto via Getty Images)

รวมถึงใน “อิตาลี” และ “สหรัฐอเมริกา” เกิดเทรนด์แบบเดียวกัน ข้อมูลจาก สำนักสถิติแห่งชาติอิตาลี ระบุว่าเมืองหลัก 15 เมืองของอิตาลีมีอัตราการเกิดต่ำลงมากกว่า 21% ทั้งนี้ บางเมืองในประเทศพัฒนาแล้วก็ไม่เกิดผลกระทบมากนัก เช่น เบอร์ลิน มีอัตราการเกิดต่ำลงไม่มาก แต่เปรียบเทียบกันแล้ว ความเข้มงวดในการล็อกดาวน์ของเยอรมนียังไม่หนักหนาเท่าฝรั่งเศสและอิตาลี

สะท้อนให้เห็นว่า COVID-19 จะมีผลโดยอ้อมต่ออัตราการเกิด และทำให้ภูมิประชากรของประเทศเปลี่ยนแปลง ซึ่งเทียบได้กับเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ที่มีผลกับภูมิประชากร เช่น สงคราม วิกฤตเศรษฐกิจ หายนะภัยครั้งใหญ่ หรือแม้แต่ภาวะโลกร้อนก็สามารถมีผลได้

อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ประเทศกำลังพัฒนากลับมีอัตราการเกิดสูงขึ้น เพราะโรคระบาดทำให้รัฐลดงบที่เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น ยาคุมกำเนิด บริการวางแผนครอบครัว (อ่านเพิ่มเติม: สิงคโปร์งัดนโยบาย “มีลูกเพื่อชาติ” ขณะที่ฟิลิปปินส์-อินโดฯ การเกิดพุ่งจนน่ากังวล)

 

กังวลเรื่องรายได้-เครียดจนไม่อยากมีลูก

สำนักข่าว Independent รายงานว่าปัจจัยใหญ่ที่ทำให้คนในประเทศพัฒนาแล้วมีลูกลดลง คือปัจจัย “ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ” เพราะคนที่กำลังพิจารณามีบุตรในช่วงที่โรคระบาดเพิ่งเริ่มขึ้น อาจจะประสบปัญหาตกงานหรือรายได้ลดลงพอดี

แม้ว่ารัฐบาลฝรั่งเศสหรือประเทศในยุโรปอื่นๆ ต่างมีเงินช่วยเหลือให้กับคนตกงาน แต่แน่นอนว่าเงินช่วยเหลือจะมีให้เพียงชั่วคราว และความจริงที่ว่าอุตสาหกรรมหรือธุรกิจจะไม่ฟื้นตัวเร็ว ประชาชนจึงไม่รู้สึกมั่นคงพอที่จะมีลูก

การล็อกดาวน์ไม่ได้ช่วยให้เกิดช่วงเวลาดีๆ ของครอบครัว แต่เป็นในทางตรงกันข้าม คนในครอบครัวเครียดมากขึ้น

ลำดับต่อมาคือ “ความเครียด” การติดอยู่บ้านในช่วงล็อกดาวน์ไม่ใช่ช่วงเวลาดีๆ ของคู่สามีภรรยาอย่างที่คิด แต่หลายๆ ครอบครัวเครียดหนักขึ้นเพราะสามีภรรยาอยู่ตัวติดกันมากเกินไป หรือบางครอบครัวมีลูกที่โตพ้นวัยทารกแล้ว ปกติเด็กๆ จะอยู่ที่โรงเรียนในเวลากลางวัน ช่วยผ่อนบรรเทาภาระพ่อแม่ แต่เมื่อเกิดล็อกดาวน์ ทั้งพ่อแม่และเด็กต้องมาติดอยู่ในบ้านเดียวกันตลอดวันตลอดคืน

ความเครียดเหล่านี้ร้ายแรงกว่าที่คิด เพราะกลายเป็นตัวนำไปสู่ความรุนแรงในครอบครัว

“มีผู้หญิงจำนวนมากกว่าปกติที่มาที่โรงพยาบาลเพื่อขอทำแท้ง พวกเธอจะบอกว่า ‘ฉันมีลูกกับคนที่กลายเป็นคนใช้ความรุนแรงในช่วงล็อกดาวน์แบบนี้ไม่ได้หรอก'” Ghada Hatem-Gantzer สูตินรีแพทย์ประจำโรงพยาบาล Saint-Denis กล่าว อย่างไรก็ตาม จำนวนการทำแท้งที่แท้จริงไม่ได้สูงขึ้น แต่เหตุผลเรื่องความรุนแรงในครอบครัวมีสัดส่วนที่สูงขึ้นจริง

น่าสนใจว่า COVID-19 จะทำให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยิ่งมีประชากรจำนวนน้อยลงหรือไม่ จากที่หลายประเทศมีภาวะสังคมสูงวัยอยู่ก่อนแล้ว ส่วนประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขเพิ่งเปิดสถิติเด็กเกิดใหม่ปี 2563 ที่ลดต่ำกว่า 6 แสนคนต่อปีเป็นครั้งแรก เนื่องจากคนไทยมีค่านิยมอยู่เป็นโสดและไม่มีบุตรมากขึ้น

Source

]]>
1319661
สิงคโปร์ งัดวิธี “เพิ่มโบนัส” จ่ายเงินกระตุ้นให้ประชาชน “มีลูก” ช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1300225 Tue, 06 Oct 2020 13:28:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300225 รัฐบาลสิงคโปร์ หาสารพัดวิธีแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ เตรียมเพิ่มเงินโบนัสกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกในช่วงวิกฤต COVID-19 สวนทางกับอินโดนีเซียฟิลิปปินส์ที่มีปัญหาตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงล็อกดาวน์ 

หนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลในช่วงนี้ คือ ชาวสิงคโปร์จำนวนมากเลื่อนแผนการมีลูกของออกไป เพราะมีความเครียดทางการเงิน จากรายได้ลดน้อยลง และบางคนถึงขั้นตกงาน เพราะบริษัทจำเป็นต้องลดต้นทุนด้วยการปลดพนักงาน

Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ ระบุว่า โครงการกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกมากขึ้นดังกล่าว กำลังอยู่ในช่วงพิจารณา โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเงินและวิธีการจ่ายเงินโบนัส จะแจ้งให้ประชาชนทราบในเร็ว ๆ นี้

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลก และปีนี้มีอัตราการเกิดต่ำสุดในรอบ 8 ปี ซึ่งอัตราการเกิดในปี 2018 คือ 1.14 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน

ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามส่งเสริมให้คนในประเทศมีลูก ตามนโยบายมีลูกเพื่อชาติด้วยการจ่ายเงินให้ประชาชนมาหลายทศวรรษ ซึ่งปัจจุบันมีการจ่ายเงินโบนัสให้ประชาชนที่มีบุตรสูงถึง 10,000 เหรียญสิงคโปร์ (ราว 2.2 เเสนบาท)

หลายประเทศในเอเชีย กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง เเละอาจเลวร้ายลงไปอีกในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่มีอัตราการเกิดต่ำมากอยู่เเล้ว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาอัตราการเกิดต่ำของสิงคโปร์เเละญี่ปุ่น กลับตรงกันข้ามกับเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ 

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) คาดการณ์ว่า หากมาตรการการล็อกดาวน์ในฟิลิปปินส์ ยังต่อเนื่องไปถึงสิ้นปีนี้ จะทำให้มีการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจเพิ่มขึ้นเกือบ 50% หรือจำนวน 2.6 ล้านคน

ฟิลิปปินส์ เป็นประเทศมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 108.4 ล้านคน เเละมีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 รุนเเรงในอาเซียน โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 307,000 คนเเล้ว

วุฒิสมาชิก Risa Hontiveros หัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านสตรี ให้ความเห็นกับ BBC ว่าปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจในฟิลิปปินส์ถูกมองข้ามไปในช่วงที่ประเทศเจอวิกฤต COVID-19 รัฐบาลควรจะเเก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังเเละควรเพิ่มเจ้าหน้าที่หญิงเพื่อทำงานนี้ด้วย

 

ที่มา : BBC , Telegraph

 

]]>
1300225