เเจ็ค หม่า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Jan 2021 13:23:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชาวเน็ตถามหา “เเจ็ค หม่า” หายไปไหน? ท่ามกลางมรสุม Ant Group กับรัฐบาลจีน https://positioningmag.com/1312991 Tue, 05 Jan 2021 11:27:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312991 การหายหน้าหายตาไปนานกว่า 2 เดือนของมหาเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างเเจ็ค หม่ากลายเป็นประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตเเละสำนักข่าวทั่วโลกกำลังถามหา

เเจ็ค หม่า สร้างชื่อจากการปลุกปั้นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ “Alibaba” เรื่องราวชีวิตของเขา เป็นเเรง
บันดาลใจให้ผู้คน จากครูยากจนสู่คนรวยระดับท็อป 20 ของโลก มีทรัพย์สินกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

แม้ในปี 2019 เขาจะลาออกจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba ไปแล้ว พร้อมทยอยเทขายหุ้นเรื่อยๆ เพื่อเดินหน้าไปทำงานการกุศล เเต่ก็ยังไม่ได้วางมือจากการดูเเล Ant Group ฟินเทคเจ้าของ ‘Alipay’ แอปพลิเคชันชำระเงินและบริการออนไลน์สุดฮิตของคนจีนที่มีผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน

อนาคตของ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ป) ดูเหมือนจะไปได้สวย เคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จนกระทั่งกลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังถูกรัฐบาลจีน “เบรก” กะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

ความชุลมุนวุ่นวายระหว่าง Ant Group เเละรัฐบาลจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิงจุดประเด็นข้อสงสัยในการไม่ปรากฏตัวของเเจ็ค หม่าในตอนนี้

Ant Group กับการหายตัวของตัวแจ็ค หม่า 

สำนักข่าวต่างประเทศโยงเหตุการณ์ IPO ตกสวรรค์ เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์บนเวทีการประชุมในเมืองเซี่ยงไฮ้ เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีน” อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลไปในพริบตา

โดย แจ็ค หม่า บอกว่าระบบการเงินและกฎระเบียบด้านการเงินของทางการจีนในปัจจุบัน ขัดขวางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีการ “ปฏิรูป” เพื่อให้มีการเติบโตไปได้

เขายังบอกอีกว่า ธนาคารจีนเป็นเหมือน “โรงรับจำนำ” ที่ต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ใหญ่เกินและต้องห้ามล้มเหลว

มีข่าวลือว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไม่ค่อยพอใจที่เเจ็ค หม่าพูดในแง่ลบถึงระบบการเงินของประเทศจีน

เเต่หลายสื่อเห็นว่าคำพูดของเเจ็ค หม่า “ไม่ได้เกินจริง” เพราะธนาคารจีนมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้รายย่อย ทำให้ SMEs จีนไม่ค่อยมีโอกาสลงทุนแบบสมตัวนัก 

นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ความเคลื่อนไหวของทางการจีน ตีความได้ว่าเป็นการ “สั่งสอน” มหาเศรษฐีแจ็ค หม่า ให้รู้ว่าอำนาจรัฐในการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ  ซึ่งข่าวนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนไม่น้อย เเละอาจมีผลต่อการพิจารณาซื้อหุ้นทั้งของ Ant Group เเละ IPO อื่นๆ ของจีนด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปทางการจีนก็อาจเข้ามาเเทรกเเซงเช่นนี้ได้อีก 

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg เคยคาดการณ์ว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อย ที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์ม อย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆ ของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 2 ปีนี้)

ก่อนสิ้นปี 2020 ยังไม่วายที่ Ant Group จะถูกรัฐบาลจีนซัดอีกรอบ เมื่อรายงานหน่วยงานการเงิน ต้องการจะมากำกับธุรกิจ Ant Group โดยอาจจะถึงขั้นยกเลิกบริการให้เงินกู้และอื่นๆ ให้เหลือเพียงธุรกิจรับชำระเงินเท่านั้น

เมื่อ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศสอบสวนบริษัทเเม่ของ Ant Group อย่าง Alibaba ในข้อกล่าวหาว่ามีแนวโน้มผูกขาดอีคอมเมิร์ซในจีน เเละการปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันผ่านระบบออนไลน์ของ Ant Group อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารจีน 

ด้าน Ant Group ยืนยันว่ากำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยกับทางหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของจีน เพื่อให้ธุรกิจทำตามหลักการ และเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ในอนาคต

การหายตัวไปจากพื้นที่สาธารณะของเเจ็ค หม่าถูกจุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม หลังเขาไม่ได้ไปเข้าร่วมรายการธุรกิจที่เป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน ตามกำหนดออกอากาศเดิม

โดยโฆษกของ Alibaba ชี้แจ้งกับสำนักข่าว Reuters ถึงกรณีที่ไม่ได้มาออกรายการนั้นว่า เป็นเพราะมีปัญหาด้านตารางงานที่ไม่ตรงกัน

หลายคนมองว่า การหายไปของมหาเศรษฐีจีนผู้นี้ อาจเป็นการเก็บตัวเงียบเพื่อต่อรองอะไรบางอย่างกับรัฐบาลจีน หรืออาจจะมีอะไรที่พูดไม่ได้ หรืออาจไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น

และนี่คือคืออัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าที่กำลังเป็นปริศนาอยู่ตอนนี้

 

 

ที่มา : Aljazeeranytimes , Reuters , ibtimes 

 

]]>
1312991
Ant Group หืดขึ้นคอ อาจเสนอขาย IPO ไม่เสร็จก่อนปี 2022 หลังทางการจีนเพิ่มกฎคุม “ฟินเทค” https://positioningmag.com/1308322 Mon, 30 Nov 2020 13:09:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308322 IPO ตกสวรรค์อย่าง Ant Group ต้องเหนื่อยยาว เสี่ยงขายไม่ทันปีหน้า เเถมยังอาจต้องรอถึงปี 2022 หลังทางการจีน สั่งยกระดับกฎระเบียบธุรกิจฟินเทคใหม่เกือบทั้งหมด

เเหล่งข่าวของ Bloomberg ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีน ให้ข้อมูลว่า รัฐบาลกำลังพิจารณากฎระเบียบใหม่สำหรับฟินเทค เเละจะยังไม่ได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ของ Ant Group ไม่น่าจะแล้วเสร็จก่อนปี 2022 

ก่อนหน้านี้ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ปบริษัทเทคโนโลยีการเงิน เจ้าของ ‘Alipay’ ในเครือ Alibaba ของมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าเคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก ก่อนจะถูกทางการจีนเบรกกะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

เเต่สำนักข่าวต่างประเทศ โยงเหตุการณ์นี้เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีนอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลครั้งนี้ไปในพริบตา

อ่านต่อ : ทำไม Ant Group ของเเจ็ค หม่า กลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังจีนเบรกระดมทุนสูงสุดในโลก

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group ก็คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg ระบุว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อยที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.. อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์มอย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ในเรื่องนี้

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 1-2 ปีนี้)

 

ที่มา : bloomberg , techinasia

]]>
1308322
ทำไม Ant Group ของเเจ็ค หม่า กลายเป็น “IPO ตกสวรรค์” หลังจีนเบรก “ระดมทุน” สูงสุดในโลก https://positioningmag.com/1304436 Wed, 04 Nov 2020 10:30:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304436 ช็อกนักลงทุนทั่วโลก หลัง Ant Group ฟินเทคในเครือ Alibaba ของเเจ็ค หม่าต้องกลายเป็น “IPO ตกสวรรค์โดนเบรกจนต้องระงับแผนเปิดขายหุ้นให้กับสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในตลาดหลักทรัพย์ของเซี่ยงไฮ้กับเขตปกครองพิเศษฮ่องกง จากเดิมที่มีกำหนดในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้

Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ปเป็นบริษัทเทคโนโลยีการเงิน (ฟินเทค) เจ้าของ ‘Alipay’ ในเครือของ Alibaba ที่คาดว่าจะสามารถระดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก

การตัดสินใจเบรก IPO ครั้งประวัติศาสตร์ มีขึ้นหลังจากที่ทางคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีน ได้เรียกตัวทีมผู้บริหารระดับสูงของ Ant Group อย่าง แจ็ค หม่าอีริค จิง และไซมอน หู่ “เข้าพบเพื่อสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดเเละเงื่อนไขของแผน IPO ดังกล่าว

จากนั้นไม่นาน ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ ออกเเถลงการณ์ว่า มีคำสั่งระงับแผน IPO ของ Ant Group ในตลาด STAR Market เนื่องจากทีมผู้บริหารได้ชี้แจงกับทางคณะกรรมการว่ามีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการกำกับดูแลเทคโนโลยีทางการเงิน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ Ant Group จะไม่ผ่านเกณฑ์การเปิดขายหุ้น และการเปิดเผยข้อมูลตามระเบียบข้อบังคับที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่

ตามมาด้วยความเคลื่อนไหวของ Ant Group ที่ออกมากล่าวขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงตลาดหุ้นของฮ่องกงก็ต้องยกเลิกการเข้าซื้อขายหุ้นวันแรกด้วย พร้อมให้คำมั่นว่า บริษัทจะเดินหน้าจัดการปัญหาที่ทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ในเซี่ยงไฮ้และฮ่องกง “วิตกกังวล” ต่อไป

การถูกระงับ IPO ในนาทีสุดท้าย สร้างผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัทเเม่อย่าง Alibaba ทันที หลังมีกระเเสข่าวนี้ออกมา ทำให้ราคาหุ้นร่วงถึง 9% ในช่วงเปิดตลาดหุ้นของสหรัฐฯ โดย Alibaba เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Ant Group มากถึง 33% 

Bloomberg Billionaires Index ระบุว่า แจ็ค หม่า ต้องสูญเสียความมั่งคั่งเป็นวงเงินสูงเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.3 หมื่นล้านบาท) เลยทีเดียว

ด้าน Alibaba ออกมาชี้เเจงว่า บริษัทจะให้การสนับสนุนทุกทางกับ Ant Group เพื่อเดินหน้าปรับเปลี่ยนและปฏิบัติตามกฎของทางคณะกรรมการฯ เเละเชื่อมั่นว่า Ant Group จะสามารถเเก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

แม้เหตุผลที่ถูกเปิดเผยคือ IPO ของ Ant Group มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสำหรับการซื้อขายที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และฮ่องกงตามกฎระเบียบที่เพิ่งปรับใหม่ 

เเต่สำนักข่าวต่างประเทศ โยงเหตุการณ์นี้เข้ากับคำพูดของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับระบบธนาคารจีน” บนเวทีฟอรัมการเงินในเซี่ยงไฮ้ เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ว่าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลครั้งนี้ไปในพริบตา

(Photo by Sean Gallup/Getty Images)

โดย แจ็ค หม่า บอกว่าระบบการเงินและกฎระเบียนด้านการเงินของทางการจีนในขณะนี้ ขัดขวางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้มีการเติบโตไปได้

เขายังบอกอีกว่า ธนาคารจีนเป็นเหมือนโรงรับจำนำที่ต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ใหญ่เกินและต้องห้ามล้มเหลว

หลายสื่อเห็นว่าคำพูดของเเจ็ค หม่าไม่ได้เกินจริงเพราะธนาคารจีนมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้รายย่อย ทำให้ SMEs จีนไม่ค่อยมีโอกาสลงทุนแบบสมตัวนัก 

นักวิเคราะห์บางส่วน มองว่า ความเคลื่อนไหวของทางการจีน อาจตีความได้ว่าเป็นการสั่งสอนมหาเศรษฐี
แจ็ค หม่า ให้รู้ว่าอำนาจรัฐในการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ  ซึ่งกระเเสข่าวนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนไม่น้อย เเละอาจมีผลต่อการพิจารณาซื้อหุ้นทั้งของ Ant Group เเละ IPO อื่นๆ ของจีนด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปทางการจีนก็อาจเข้ามาเเทรกเเซงเช่นนี้ได้อีก 

ด้านนักวิเคราะห์อีกส่วนหนึ่งมองว่า ความเคลื่อนไหวของทางคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์จีนไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาลปักกิ่ง ที่ไม่ค่อยสบายใจกับการที่ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ในจีน เริ่มหันมาปล่อยกู้ให้รายย่อยมากขึ้น รวมไปถึงกลุ่ม Non-Bank ที่เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีอย่าง Ant Group ด้วย เพราะหวั่นว่าจะเกิดหนี้เสีย ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน หลังวิกฤต COVID-19

 

 

ที่มา : CNBC , Reuters , financial times, BBC

 

]]>
1304436
รวยเเล้วรวยอีก! วิกฤต COVID-19 ดัน “มหาเศรษฐีจีน” มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1302773 Thu, 22 Oct 2020 05:19:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302773 มหาเศรษฐีจีนรวยขึ้นสวนเศรษฐกิจโลก รับอานิสงส์ความมั่งคั่งจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซเกมออนไลน์ที่ความนิยมพุ่งกระฉูด ในช่วงล็อกดาวน์สกัด COVID-19

Huran Report จัดอันดับความร่ำรวยของเศรษฐีจีนล่าสุด พบว่า เหล่ามหาเศรษฐีจีน มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  (ราว 47  ล้านล้านบาท) ในปี 2020 มากกว่าตัวเลขรายได้จาก 5 ปีที่ผ่านมารวมกัน

ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ยังทำให้เกิดมหาเศรษฐีจีนหน้าใหม่ ที่มีความมั่งคั่งระดับพันล้านเพิ่มขึ้นอีก 257 คน เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากจำนวนเศรษฐีพันล้านรายใหม่ไม่เพิ่มขึ้นมา 2 ปีติดกัน

จีนเป็นชาติมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ปัจจุบันมีมหาเศรษฐีพันล้านอยู่ 878 คน ขณะที่สหรัฐฯ มีมหาเศรษฐีพันล้านอยู่ที่ 626 คน ตามจัดอันดับมหาเศรษฐีพันล้านทั่วโลก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

อีกประเด็นที่น่าสนใจใน Huran Report ฉบับล่าสุด คือชาวจีนราว 2,000 คนมีทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่า 2,000 ล้านหยวน (ราว 9,450 ล้านบาท) โดยทรัพย์สินของคนกลุ่มนี้รวมกันจะอยู่ที่ราว 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 126 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

Photo : Shutterstock

แจ็ค หม่าผู้ก่อตั้งอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ “Alibaba” กลับมาคืนตำเเหน่งอันดับ 1 อีกครั้ง โดยมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นถึง 45% มาอยู่ที่ 5.88 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หลังการระบาดของ COVID-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมาช้อปปิ้งออนไลน์กันอย่างคึกคัก

อันดับ 2 ตามมาติดๆ คือโพนี หม่าเจ้าของอาณาจักรเทคโนโลยี “Tencent” บริษัทเกมรายใหญ่และเเอปพลิเคชัน Wechat มีทรัพย์สินอยู่ที่ 5.74 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ รวยขึ้นไปอีก 50% เเม้จะมีความกังวลกับกรณีการถูกเเบนในสหรัฐฯ หลังถูกรัฐบาลทรัมป์กล่าวหาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติก็ตาม 

หม่า ฮั่วเถิง หรือ โพนี หม่า ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tencent

ขณะที่อันดับ 3 เป็นการติดอันดับครั้งเเรกของ “จง ชานชานผู้โด่งดังมาจากน้ำดื่มบรรจุขวดตราหนงฟู่หลังจากทำไอพีโอที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อเดือน ก.. ทำให้ความมั่งคั่งของเขาพุ่งอยู่อันดับ 3 ทันที ด้วยสินทรัพย์ราว 5.37 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

“จง ชานชาน” ผู้ก่อตั้งบริษัท “หนงฟู่ สปริง” น้ำแร่บรรจุขวดในประเทศจีน

เมื่อเหล่าเศรษฐีกำลังรวยขึ้นไปอีกจากสถานการณ์ COVID-19 เเต่ปัญหาการว่างงานเเละเศรษฐกิจที่หดตัว ทำให้ธนาคารโลกเตือนว่าการระบาดใหญ่ อาจเพิ่ม “ความไม่เท่าเทียมกัน” ของรายได้ และผลักดันให้ผู้คนมากถึง 115 ล้านคนเข้าสู่ความยากจนในปีนี้

โดยเศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวได้ดี รอดพ้นภาวะถดถอย ขณะที่หลายประเทศทั่วโลก ยังคงต้องหาทางออกจากความวุ่นวายของผลกระทบจาก COVID-19 โดย GDP ในไตรมาส 3 เติบโต 4.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่อเนื่องไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากไตรมาส 2/2020 ขยายตัว 3.2% เเต่ในไตรมาสแรกของปีนี้ติดลบ 6.8% ทำให้ GDP โดยรวมงวด 9 เดือนแรกของปีนี้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวอยู่ที่ 0.7%

อย่างไรก็ตาม การขยายตัว 4.9% ของ GDP จีน ก็เป็นการขยายตัวที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของเหล่านักวิเคราะห์ที่ประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 5.2% ในไตรมาส 3 สะท้อนว่าจีนยังต้องจัดการกับปัญหาที่ท้าทายเเละมีปัจจัยไม่แน่นอนจำนวนมาก

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า จีนจะเป็นเศรษฐกิจใหญ่ของโลกเพียงแห่งเดียวที่ GDP เป็นบวกได้ในปีนี้ โดยประเมินว่าจะขยายตัวที่ 1.9% ก่อนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 26.8% ในปี 2021

 

ที่มา : CNBC , AFP

 

]]>
1302773
“แจ็ค หม่า” ลาออกจากบอร์ด SoftBank หลังร่วมบริหาร 13 ปี ขณะที่บริษัทกำลังขาดทุนหนัก https://positioningmag.com/1279248 Mon, 18 May 2020 14:28:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279248 “เเจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังของจีนอย่าง “Alibaba” ประกาศลาออกจากบอร์ดบริหารของ “SoftBank Group” ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีของญี่ปุ่น หลังร่วมบริหารมายาวนานกว่า 13 ปี ขณะที่ SoftBank กำลังเผชิญภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท

ความสัมพันธ์ของ “มาซาโยชิ ซัน” ประธานเเละผู้ก่อตั้ง SoftBank กับ “เเจ็ค หม่า” นั้นถือว่าเเน่นเเฟ้นมาหลายสิบปี ด้วยการเป็นนายทุนใหญ่ที่ตัดสินใจลงทุนใน Alibaba เมื่อปี 2000 กลายเป็นหนึ่งในดีลที่ประสบความสำเร็จที่สุด
ในโลกธุรกิจ

โดยปัจจุบัน Alibaba เป็นหนึ่งในบริษัทรายใหญ่ ด้วยมูลค่าตลาด 5.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 17.5 ล้านล้านบาท) ซึ่งมี SoftBank ร่วมถือหุ้นอยู่ 25%

ก่อนหน้านี้ แจ็ค หม่า ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งในบอร์ดบริหารของ SoftBank Group เป็นระยะเวลา 13 ปีเต็ม
เเละกำลังจะพ้นตำเเหน่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค.นี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทไม่ได้เปิดเผยสาเหตุการลาออกของเขา โดยปีที่ผ่านมาหม่าได้เกษียณตัวเองจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba เพื่อหันมาทำงานการกุศล

ด้าน SoftBank ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัทเพิ่มอีก 3 คน
ได้เเก่ โยชิมิสึ โกโตะ รองประธานอาวุโสของบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน SoftBank,
ลิปปู-ตัน ซีอีโอของ Cadence Design Systems และผู้ก่อตั้งบริษัท Walden International และ
ยูโกะ คาวาโมโตะ อาจารย์จาก Waseda Business School

นอกจากนี้ SoftBank ยังได้ประกาศแผนซื้อหุ้นคืนอีก 5 แสนล้านเยน (4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในเดือนมี.ค.ปีหน้า เพิ่มเติมจากแผนซื้อหุ้นคืนในวงเงิน 4.1 หมื่นล้านเหรียญที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน SoftBank กำลังเผชิญภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท สาเหตุหลักๆ มาจากการลงทุนอย่างหนักในธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วโลก ซึ่งตอนนี้กำลังเดือดร้อนจากการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 หนึ่งในนั้นคือ WeWork สตาร์ทดาวรุ่งผู้ให้บริการ Co-Working Space

ทั้งนี้ SoftBank Group เปิดเผยว่าบริษัทมียอดขาดทุนสุทธิในปีงบการเงิน 2019 อยู่ที่ 9.6158 แสนล้านเยน
(ราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 15 ปี สวนทางกับงบการเงินปี 2018 ที่บริษัทเคยมีกำไรสุทธิถึง 1.41 ล้านล้านเยน

ขณะที่บริษัทมียอดขาดทุนจากการดำเนินงานในปีงบการเงิน 2019 อยู่ที่ระดับ 1.36 ล้านล้านเยน ลดลงจากงบการเงินปี 2018 ที่บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 2.07 ล้านล้านเยนจากยอดขาย 6.19 ล้านล้านเยน โดยทาง SoftBank Group ไม่ได้เปิดเผยการคาดการณ์ผลประกอบการในปี 2020 เนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ

 

ที่มา : softbank , asia.nikkei , kyodonews

]]>
1279248