ไทยเวียตเจ็ท – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 23 Aug 2023 13:48:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ครึ่งปีแรก 2566 “ไทยเวียตเจ็ท” รายได้พุ่ง 103% ลดการ “ดีเลย์” เที่ยวบินตรงเวลาเพิ่มเป็น 82% https://positioningmag.com/1442135 Wed, 23 Aug 2023 10:40:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442135
  • สรุปผลงาน “ไทยเวียตเจ็ท” ครึ่งปีแรก 2566 รายได้เติบโต 103% จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 10% เพิ่มอัตราเที่ยวบินตรงเวลาเป็น 82% แก้ภาพจำการ “ดีเลย์”
  • คาดการณ์ครึ่งปีหลังการท่องเที่ยวยังแข็งแกร่ง วางเป้ามีผู้โดยสารรวมทั้งปีทะลุ 5.8 ล้านคน แม้พลาดหวัง “จีน” ยังไม่เปิดท่องเที่ยวเต็มสูบ
  • แผนเพิ่มเครื่องบินในฟลีทยังเดินหน้า ปลายปีนี้รับมอบ Airbus A321 อีก 2 ลำ ขณะที่ปี 2567 จะเริ่มรีฟลีทเปลี่ยนเครื่องบินเป็น Boeing 737 MAX
  • สายการบินลูกครึ่ง “ไทยเวียตเจ็ท” ยังคงเดินหน้าตามแผนหลังโควิด-19 ในการยึดส่วนแบ่งตลาดบินในประเทศอันดับ 2 ไว้ให้มั่น พร้อมขยายฟลีทเพื่อเติบโตสู่การเป็นสายการบินระดับภูมิภาค และปรับปรุงบริการต่างๆ ให้ดีขึ้น

    “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท และ “ปิ่นยศ พิบูลสงคราม” ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ สายการบินไทยเวียตเจ็ท ร่วมให้ข้อมูลความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผน ดังนี้

    ไทยเวียตเจ็ท
    ผู้บริหารไทยเวียตเจ็ท: (ซ้าย) “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ (ขวา) “ปิ่นยศ พิบูลสงคราม” ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์

    รายได้ครึ่งปี 2566 โตพุ่ง 103% หวังปีนี้พลิกเป็นกำไร

    สำหรับรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ของไทยเวียตเจ็ทเติบโตขึ้น 103% เทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2565 และมีผู้โดยสารรวม 3.04 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

    ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นเหล่านี้ มาจากการเพิ่มเส้นทางบินทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นเกือบ 30 เส้นทาง และการมีอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยว (load factor) ดีขึ้นเป็น 81% เทียบกับปีก่อนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 77%

    Load Factor ครึ่งปีแรก 2566 (สีแดงคือเส้นทางในประเทศ สีเหลืองคือเส้นทางต่างประเทศ และสีเทาคือภาพรวมทุกเส้นทาง)

    มุมองครึ่งปีหลัง 2566 วรเนติยังมองเป็นทิศทางที่ดีด้วยการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าจำนวนผู้โดยสารทั้งปีจะไม่ต่ำกว่า 5.8 ล้านคน ทั้งนี้ ยอมรับว่าผู้โดยสารเป้าหมายหลักอย่าง “จีน” ยังไม่กลับมาตามคาด เพราะประเทศจีนยังไม่สนับสนุนการท่องเที่ยวต่างประเทศ และเศรษฐกิจจีนซบเซามีผลต่อการออกทริปต่างประเทศของคนจีน

    ย้อนกลับไปปีก่อน รายได้รวมปี 2565 ของไทยเวียตเจ็ทนั้นอยู่ที่ 9,800 ล้านบาท จากทิศทางที่ดีจึงคาดว่าปี 2566 เต็มปีน่าจะทำรายได้ขึ้นไปถึง 16,000 ล้านบาทได้ และคาดว่าจะพลิกกลับเป็นกำไร (break even) ได้ในปีนี้

     

    แก้ภาพจำ “ดีเลย์” อัตราตรงเวลาเพิ่มเป็น 82%

    ในแง่ของการบริการนั้น วรเนติกล่าวว่าก่อนหน้านี้ไทยเวียตเจ็ทมีภาพจำเชิงลบเรื่องของการ “ดีเลย์” ซึ่งบริษัทพยายามแก้ไขมาตลอดด้วยการเพิ่มจำนวนเครื่องบิน ขณะนี้มีทั้งหมด 18 ลำ

    รวมถึงแก้ไขด้วยการเริ่มทำการบริการภาคพื้น (Ground Handling Service) ที่สนามบินสุวรรณภูมิด้วยตนเองมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 จากเดิมเป็นการใช้เอาต์ซอร์สซึ่งอาจมีปัญหาจำนวนพนักงานไม่เพียงพอตั้งแต่เกิดโควิด-19 ขึ้น การทำบริการภาคพื้นเองจะทำให้การลาก-ดันเครื่องบิน ขนกระเป๋าสัมภาระ ฯลฯ ทำได้เร็วขึ้น และเที่ยวบินจะตรงเวลา

    ไทยเวียตเจ็ท
    อัตราการตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน

    ผลของการเปลี่ยนวิธีบริการทำให้อัตราการตรงต่อเวลาของไทยเวียตเจ็ทในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566 เพิ่มเป็น 82% เทียบกับเมื่อไตรมาส 4 ปี 2565 จะอยู่ที่ 60% เท่านั้น

    ปิ่นยศยังระบุถึงการบริการอีกส่วนคือระบบ Call Center ที่เคยได้รับเสียงตำหนิว่าใช้เวลารอสายนาน ปีนี้ไทยเวียตเจ็ทเริ่มนำระบบ “Amy Chatbot” มาใช้งาน ทำให้ลูกค้าติดต่อผ่านแชตบอตกันมากขึ้น ลดเวลารอสายทาง Call Center จากเดิม 10-15 นาที เหลือไม่ถึง 1 นาทีสำเร็จ

     

    รูท “ญี่ปุ่น” ไม่เปรี้ยง – บิน “อินเดีย” เลื่อนไปปีหน้า

    ด้านการเปิดเส้นทางบิน ปัจจุบันไทยเวียตเจ็ทมีการบินตรงภายในประเทศ 10 เส้นทาง และบินตรงต่างประเทศ 8 เส้นทาง สู่ 5 ประเทศ คือ สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม ไต้หวัน และญี่ปุ่น

    เส้นทางบินที่ถือว่าใหม่และท้าทายของไทยเวียตเจ็ท คือการเปิดเส้นทาง กรุงเทพ-ฟุกุโอกะ และเส้นทาง เชียงใหม่-โอซาก้า โดยเฉพาะเส้นทางเชียงใหม่-โอซาก้าที่เพิ่งเปิดใหม่ปีนี้ เดิมวางเป้าว่าจะเป็นการดึงนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นบินตรงเข้ามาเที่ยวเชียงใหม่ แต่ปรากฏว่าปัจจุบันเส้นทางนี้มี load factor เพียง 60-70% และมีชาวญี่ปุ่นโดยสารประมาณ 15% เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นชาวไทย ซึ่งอาจเกิดจากชาวญี่ปุ่นนิยมเที่ยวต่างประเทศช่วงหลังโควิด-19 น้อยกว่าที่คาดไว้

    Photo : Shutterstock

    อย่างไรก็ตาม คาดหวังว่าช่วงฤดูหนาวนี้เส้นทางญี่ปุ่นน่าจะมี load factor เพิ่มเป็น 80-85% เนื่องจากเป็นหน้าไฮซีซันที่คนไทยชอบไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น

    ขณะที่แผนเดิมที่จะเปิดเส้นทางบินตรงต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเน้นเป้าหมายหลักคือ “อินเดีย” นั้น ปิ่นยศระบุว่ายังไม่สามารถเปิดได้ทันในปีนี้ เนื่องจากยังมีการขอใบอนุญาตในฝั่งอินเดียที่ยังไม่เรียบร้อย และสายการบินต้องการรอรีฟลีทใหม่ในปีหน้าก่อน

     

    รีฟลีทเปลี่ยนเป็น Boeing 737 MAX

    ด้านแผนการเพิ่มเครื่องบินในปีนี้ยังเป็นไปตามเป้า โดยได้เครื่องบิน Airbus A321 เพิ่มมาแล้ว 2 ลำรวมเป็น 18 ลำ และจะได้ Airbus A321 เข้ามาอีก 2 ลำในช่วงปลายปี ทำให้ไทยเวียตเจ็ทจะมีฟลีทเครื่องบินสะสม 20 ลำ ณ สิ้นปี 2566

    อย่างไรก็ตาม ไทยเวียตเจ็ทจะเริ่มรีฟลีท เปลี่ยนเครื่องบินทั้งหมดเป็น Boeing 737 MAX โดยจะเริ่มก่อน 6 ลำในปี 2567 ก่อนทยอยเปลี่ยนพร้อมเพิ่มจำนวนเครื่องบินอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2571 จะมีเครื่องบินครบ 50 ลำ

    การรีฟลีทจะทำให้เครื่องบินของไทยเวียตเจ็ทพร้อมบินในระยะไกลขึ้น เพื่อไปสู่เป้าเป็นสายการบินระดับภูมิภาค (regional airline) คาดว่าในปี 2567 การเพิ่มเครื่องบินและเส้นทางจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มเป็น 6.5-7.0 ล้านคน และในจำนวนนี้จะได้ผู้โดยสารบินระหว่างประเทศ 1.5 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากปีนี้

    ]]>
    1442135
    “ไทยเวียตเจ็ท” บุกหนักต่างประเทศ เตรียมบิน “อินเดีย” ตั้งเป้าผู้โดยสารปี’66 แตะ 8 ล้านคน https://positioningmag.com/1410764 Thu, 01 Dec 2022 10:12:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410764
  • “ไทยเวียตเจ็ท” สรุปการดำเนินงานปี 2565 ปีแห่งการขยายเส้นทางบิน คาดมีผู้โดยสารรวม 6.3 ล้านคน
  • ปี 2566 บุกหนักบินข้ามพรมแดน พลิกสัดส่วนไฟลท์ระหว่างประเทศเป็น 67% มากกว่าบินในประเทศ วางแผนเปิดรูท “อินเดีย” เบาะรองรับหากจีนไม่เปิดประเทศ
  • ตั้งเป้าผู้โดยสารปี 2566 ขึ้นไปแตะ 8 ล้านคน เพิ่มฟลีทเครื่องบินอีก 3 ลำ ลดปัญหาดีเลย์
  • 2565 นับเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของธุรกิจ “สายการบิน” โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่การระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มซาลง ทำให้การท่องเที่ยวคึกคัก รวมถึงสายการบิน “ไทยเวียตเจ็ท” ก็เช่นกัน

    “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท สรุปผลการดำเนินงานช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ มีผู้โดยสารกับไทยเวียตเจ็ทไปแล้ว 5 ล้านคน และคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมีครบ 6.3 ล้านคน

    ในแง่ของการขยายเที่ยวบิน ปัจจุบันไทยเวียตเจ็ทมีการบินในประเทศ 12 เส้นทาง ทำการบินเกือบ 100 เที่ยวบินต่อวัน อัตราผู้โดยสารต่อเที่ยว (load factor) อยู่ที่ 85%

    ไทยเวียตเจ็ท
    8 เส้นทางบินต่างประเทศของไทยเวียตเจ็ทในปี 2565

    ส่วนระหว่างประเทศมีการบิน 8 เส้นทาง ได้แก่ โฮจิมินห์ซิตี้, ดานัง, ฟูโกว๊ก, ดาลัด, สิงคโปร์, ฟุกุโอกะ, ไทเป และพนมเปญ รวมทำการบินระหว่างประเทศ 92 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ อัตราผู้โดยสารต่อเที่ยว (load factor) อยู่ที่ 75-80%

    เป็นปีที่ไทยเวียตเจ็ทกลับมาขยายตลาดอย่างรวดเร็ว เฉพาะเที่ยวบินระหว่างประเทศที่มีการเพิ่มเส้นทางและความถี่ขึ้นถึง 7 เท่าในระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา และเที่ยวบินในประเทศนั้นเพิ่มเที่ยวบินจนเป็นสายการบินที่ครองมาร์เก็ตแชร์อันดับ 2 ของตลาด ด้วยสัดส่วน 20%

     

    เส้นทางบิน “ต่างประเทศ” หัวใจการทำกำไร

    วรเนติกล่าวต่อว่า การเน้นหนักเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศนั้นเป็นกลยุทธ์ที่ไทยเวียตเจ็ทจะทำต่อเนื่อง จากขณะนี้มีสัดส่วน 40% ในการทำการบินทั้งหมด จนถึงสิ้นปี 2566 เที่ยวบินระหว่างประเทศจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 67% พลิกสัดส่วนมากกว่าการบินในประเทศ และทำให้จำนวนผู้โดยสารบินระหว่างประเทศเติบโตมากกว่า 3 เท่า

    ไทยเวียตเจ็ท
    สัดส่วนไฟลท์บินระหว่างประเทศเทียบกับในประเทศ ปี 2565-66

    “ปิ่นยศ พิบูลสงคราม” ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ สายการบินไทยเวียตเจ็ท อธิบายเพิ่มว่าทำไมไทยเวียตเจ็ทต้องปั้นพอร์ตเที่ยวบินระหว่างประเทศให้มากขึ้น

    การบินต่างประเทศคือการทำให้เครื่องบิน 1 ลำได้ใช้งานอย่างคุ้มค่า เพราะน้ำมันเครื่องบินจะใช้เยอะที่สุดคือช่วงเทกออฟและแลนดิ้ง รวมถึงค่าเสื่อมอะไหล่ของการบิน 1 ชม. กับ 5 ชม. ไม่ต่างกัน การได้บินนานๆ ต่อ 1 ไฟลท์จึงคุ้มค่ากว่า นอกจากนี้ การบินระยะไกลยังทำให้เครื่องบินมีโอกาสได้ใช้บินช่วงกลางคืนด้วย ต่างจากการบินสั้นในประเทศ ไม่มีผู้โดยสารต้องการมาขึ้นเครื่องดึกๆ แน่นอน ดังนั้น เราต้องทำไฟลท์ระหว่างประเทศให้ได้เยอะกว่านี้ เพื่อเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบินต่อวัน” ปิ่นยศกล่าว

    เหตุผลรองอีกส่วนหนึ่งคือการแข่งขันในประเทศค่อนข้างสูง ปิ่นยศกล่าวว่าช่วงหลังเปิดประเทศ แม้แต่สายการบินฟูลเซอร์วิสก็ลดระดับราคาลงมาแข่งขันกับโลว์คอสต์ แต่ถ้าเป็นรูทต่างประเทศ การลดราคาแข่งจะยากกว่า และบางเส้นทางที่ไทยเวียตเจ็ทเลือก มีดีมานด์สูง และเป็นเส้นทางบินของนักธุรกิจที่มีกำลังซื้อ ทำราคาได้ เช่น กรุงเทพฯ-สิงคโปร์, กรุงเทพฯ-พนมเปญ จึงมีโอกาสทำกำไรมากกว่า

     

    ปี’66 เชียงใหม่-โอซาก้ามาแน่ เตรียมเพิ่ม “อินเดีย” เข้าแผนที่

    นอกจากจะเพิ่มเที่ยวบินในเส้นทางเดิม เช่น กรุงเทพฯ-ไทเป, กรุงเทพฯ-พนมเปญ ยังจะมีเส้นทางใหม่ๆ เพิ่มมาในแผนของไทยเวียตเจ็ทด้วย ที่แน่นอนแล้วคือ กรุงเทพฯ-ดาลัด จะกลับมาบินวันพรุ่งนี้ (2 ธันวาคม 2565) เป็นวันแรกนับตั้งแต่เผชิญโควิด-19

    อีกเส้นทางที่จะเริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2566 คือ เชียงใหม่-โอซาก้า เป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่เคยบินมาก่อน วางราคาไม่เกิน 8,000 บาทต่อคนต่อเที่ยว (ไม่รวมน้ำหนักกระเป๋า)

    “เชื่อว่าเส้นทางนี้จะได้ทราฟฟิกคนโอซาก้าหรือคนญี่ปุ่นมาเที่ยวเชียงใหม่เป็นหลักราว 80% อีก 20% จะเป็นคนไทยภาคเหนือออกไปเที่ยวญี่ปุ่น” วรเนติกล่าว

    Photo : Shutterstock

    สำหรับเส้นทางบินอื่นๆ ที่เป็นเป้าหมายของไทยเวียตเจ็ท ได้แก่ ประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน อินเดีย และเกาหลีใต้

    ปิ่นยศกล่าวว่า ที่คาดว่าน่าจะได้บินเร็วๆ นี้แน่นอนคือ “อินเดีย” อยู่ระหว่างรอรับใบอนุญาตสิทธิการบินจากทางอินเดีย โดยเตรียมรูทบินไว้ 3-4 เส้นทาง บินสู่เมืองมุมไม, อาห์เมดาบัด, ชัยปุระ และลัคเนา

    เส้นทางบินอินเดียนี้ถือเป็นเป้าหมายสำคัญ เพราะอาจได้เป็นตลาดทดแทน “จีน” ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าจะเปิดประเทศได้เมื่อไหร่ แม้จะคาดการณ์กันว่าน่าจะเปิดประเทศได้ภายในไตรมาส 2 ปีหน้าก็ตาม

    ไทยเวียตเจ็ท
    ผู้บริหารไทยเวียตเจ็ท: (ซ้าย) “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ (ขวา) “ปิ่นยศ พิบูลสงคราม” ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์

     

    ปีหน้าขอแตะ 8 ล้านคน สั่งเครื่องเพิ่ม 3 ลำ

    วรเนติสรุปเป้าหมายปี 2566 จะดันจำนวนผู้โดยสารเพิ่มเป็น 8 ล้านคน และจากการเพิ่มเที่ยวบิน ทำให้สายการบินมีการเพิ่มจำนวนเครื่องบินอีก 3 ลำ รวมเป็น 20 ลำในฟลีท

    ช่วงที่ผ่านมา 2-3 สัปดาห์ วรเนติยอมรับว่าไทยเวียตเจ็ทมีปัญหาการดีเลย์กลับมาอีกครั้งเพราะจำนวนเครื่องบินไม่เพียงพอ หลังจากมี 1 ลำต้องพักซ่อมแซมเครื่อง และอีก 1 ลำที่คาดว่าจะเติมฟลีทได้กลับได้รับอนุญาตบินล่าช้ากว่ากำหนด แต่เมื่อได้เครื่องบินกลับมาเต็มพอร์ต น่าจะทำให้ปัญหาดีเลย์หมดไป

    ถ้าหากทำได้ตามแผน ทั้งการขยายเส้นทางและดึงผู้โดยสารได้ตามเป้า วรเนติเชื่อว่าสายการบินจะพลิกมาทำกำไรได้ในปีหน้า!

    ]]>
    1410764
    “ไทยเวียตเจ็ท” เปิด 7 เส้นทางบินในประเทศ-ไทเป-สิงคโปร์ หวังโอกาสจาก “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” https://positioningmag.com/1349485 Tue, 31 Aug 2021 12:02:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349485 “ไทยเวียตเจ็ท” เปิดเส้นทางบิน 7 เส้นทางใน-นอกประเทศ เชื่อม “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” เข้าเชียงใหม่ เชียงราย อุดรธานี และสิงคโปร์ ปักหมุดรูทต่างประเทศ กรุงเทพฯ-ไทเป และ กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การปิดสนามบินพื้นที่สีแดงเข้มทำให้บริษัทปรับลดเป้าผู้โดยสารปีนี้เหลือ 3.5 ล้านคนเท่านั้น

    “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท ประกาศการเปิดเส้นทางบินเพิ่มเติม 7 เส้นทาง

    แบ่งเป็น เส้นทางในประเทศ 4 เส้นทาง ได้แก่

    ภูเก็ต-เชียงใหม่ เริ่ม 15 กันยายน 2564
    ภูเก็ต-เชียงราย (*) เริ่ม 1 ตุลาคม 2564
    ภูเก็ต-อุดรธานี เริ่ม 10 พฤศจิกายน 2564
    หาดใหญ่-เชียงราย (*) เริ่ม 1 ตุลาคม 2564
    (*) คือเส้นทางบินเดิมที่กลับมาเปิดให้บริการ ส่วนอีก 2 เส้นทางเป็นรูทเปิดใหม่

    และอีก 3 เส้นทางเป็นเส้นทางบินระหว่างประเทศใหม่จากไทยเวียตเจ็ท ได้แก่

    ภูเก็ต-สิงคโปร์ เริ่ม 21 ตุลาคม 2564
    กรุงเทพฯ-ไทเป เริ่ม 20 ตุลาคม 2564
    กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ เริ่ม 20 ตุลาคม 2564

    โดยบริษัทได้ลงทุนเช่าเครื่องบินเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ลำที่ 16 กำลังจะมาถึงเมืองไทยวันที่ 11 กันยายนนี้ และตลอดปี 2564 นี้จะมีเข้ามาเพิ่มฝูงบินเป็น 18 ลำ (ลดจากเป้าเดิม 20 ลำ) ซึ่งจะช่วยให้ไทยเวียตเจ็ทลดการดีเลย์ลงได้

     

    สนับสนุน “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” แม้ยังไม่สำเร็จเท่าที่ควร

    จะเห็นได้ว่าเส้นทางบินของไทยเวียตเจ็ท เชื่อมต่อเข้าภูเก็ตโดยตรงถึง 4 เส้นทาง และเส้นทางกรุงเทพฯ-ไทเปนั้น วรเนติกล่าวว่า ต้องการจะให้เป็นเส้นทาง ไทเป-กรุงเทพฯ-ภูเก็ต คือจัดให้เป็น Sealed Route ผู้โดยสารที่เดินทางเส้นทางนี้กับไทยเวียตเจ็ทไม่จำเป็นต้องกักตัวเมื่อถึงภูเก็ต เข้าระบบเดียวกับภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ได้

    วรเนติกล่าวว่า แม้สถานการณ์ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ไม่ได้ประสบความสำเร็จ 100% เท่าที่คาดหวังกันไว้ แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในช่วงที่ผ่านมา

    Photo : Shutterstock

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มเป้าหมายเฟสแรกของภูเก็ตซึ่งเน้นไปทางนักท่องเที่ยวยุโรป บัดนี้เริ่มมีความกังวลเพราะสหราชอาณาจักรบรรจุไทยลงในกลุ่มประเทศเสี่ยงสูง เมื่อนักท่องเที่ยวกลับจากประเทศไทยแล้วจะต้องกักตัว ซึ่งอาจทำให้นักท่องเที่ยวมาเยือนไทยลดลงได้

    “ต้องหวังกับเฟสสองคือนักท่องเที่ยวเอเชีย แต่จะมากันเมื่อไหร่อยู่ที่รัฐบาลและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อเปิด Travel Bubble ได้สำเร็จ โดยชี้ให้เห็นชัดเจนว่าภูเก็ตไม่ใช่ทั้งประเทศไทย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาสำเร็จ เป็นไปได้ว่าการท่องเที่ยวภูเก็ตต้องรอให้ทั้งประเทศสถานการณ์ดีขึ้น ก่อนจะเปิด Travel Bubble กันได้ ซึ่งเรามองความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นเดือนตุลาคม แต่ทั้งนี้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อต้องลดลงอย่างต่อเนื่องด้วย” วรเนติกล่าว

    “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท

    การประเมินไทม์ไลน์เปิดการเดินทางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เส้นทางต่างประเทศของไทยเวียตเจ็ท เช่น กรุงเทพฯ-สิงคโปร์ หรือ ภูเก็ต-สิงคโปร์ จะเริ่มต้นช่วงปลายเดือนตุลาคม เพราะขณะนี้สิงคโปร์ยัง ‘ยกการ์ดสูง’ กลุ่มเป้าหมายการท่องเที่ยวและการเดินทางธุรกิจคือ ‘expat’ ต่างชาติในสิงคโปร์ยังไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์จะยกเลิกใบอนุญาตทำงาน (work permit) หากเดินทางออกนอกประเทศในเวลานี้

    แม้สถานการณ์ไม่มีความแน่นอน แต่วรเนติระบุว่า ไทยเวียตเจ็ทมีโชคดีอยู่บ้างที่ก่อนหน้าเกิดวิกฤตยังเป็นสายการบินหน้าใหม่ มีฝูงบินเพียง 15 ลำ ทำให้ผลกระทบไม่สูงเท่าสายการบินอื่น และยังมีโอกาสขยายเส้นทางและฝูงบินได้ จึงยังเดินหน้าขยายตัวต่อไปตามยุทธศาสตร์ระยะยาว

     

    ลดเป้าผู้โดยสารเหลือ 3.5 ล้านคน

    แม้ว่าจะเปิดเส้นทางบินเพิ่ม แต่วรเนติมองว่าผู้โดยสารของไทยเวียตเจ็ทปีนี้น่าจะมีเพียง 3.5 ล้านคน จากเดิมเคยประเมินว่าจะถึง 5 ล้านคน เพราะการปิดเส้นทางบินในเขตพื้นที่สีแดงกว่า 1 เดือน และหลังจากนี้ต้องใช้เวลากว่าที่กลุ่มนักท่องเที่ยวไทยจะมั่นใจพอที่จะกลับมาบิน อัตราผู้โดยสารต่อที่นั่งทั้งหมด (Load Factor) จะกลับมาถึง 80% ได้อาจจะเป็นช่วงพฤศจิกายนเป็นต้นไป

    แต่ตัวเลขนี้ยังดีกว่าปี 2563 เล็กน้อย เพราะปีก่อนมีผู้โดยสารเพียง 3 ล้านคน ทำให้รายได้ปี 2564 น่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ

    วรเนติยังมองยาวไปถึงอนาคตด้วย นั่นคือกลุ่ม “นักท่องเที่ยวจีน” ลูกค้ากลุ่มใหญ่ของไทยเวียตเจ็ทและการท่องเที่ยวไทย ความคืบหน้าการเปิดประเทศให้ชาวจีนเดินทางออกได้เสรี ความเป็นไปได้อย่างเร็วที่สุดคือเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่มีโอกาสเพียง 25%

    หากพ้นช่วงนั้นไปน่าจะต้องหวังกับเทศกาลตรุษจีนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2565 และถ้าจีนยังไม่เปิดประเทศอีก ก็อาจจะขยับไปเปิดช่วงกลางปี 2565 เลยทีเดียว

    ]]>
    1349485
    “ไทยเวียตเจ็ท” ลุ้นตลาดเอเชียปลดล็อก เพิ่มฝูงบิน 7 ลำ เตรียมเปิดเส้นทางบินใหม่ 2 จุด https://positioningmag.com/1340506 Fri, 02 Jul 2021 11:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340506
  • สถานการณ์ “ไทยเวียตเจ็ท” หลังผู้ติดเชื้อพุ่ง อัตราผู้โดยสารต่อที่นั่งทั้งหมด (Load Factor) ลดเหลือ 72% แต่ประเมินระยะสั้นกระทบน้อย ผู้โดยสารในประเทศ ณ ขณะนี้ เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องเดินทางอยู่แล้ว
  • ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ปัจจุบันยังไม่ได้อานิสงส์ เพราะนักท่องเที่ยวมาจากโซนยุโรป ขณะที่เส้นทางบินของบริษัทอยู่ในเอเชีย
  • รอลุ้นประเทศในเอเชียเปิดให้นักท่องเที่ยวขากลับเข้าประเทศไม่ต้องกักตัว หรือเปิด Travel Bubble กับภูเก็ต
  • ปีนี้เตรียมเพิ่มฝูงบิน 7 ลำ และเพิ่มเส้นทางบินใหม่ 2-3 จุดในเอเชีย แก้ปัญหาเที่ยวบินดีเลย์ และเตรียมรับท่องเที่ยวบูมช่วงไตรมาสสุดท้าย
  • “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท เปิดเผยสถานการณ์ของบริษัทหลังจำนวนผู้ติดเชื้อในไทยพุ่งขึ้นอีกครั้ง ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราผู้โดยสารต่อที่นั่งทั้งหมด (Load Factor) ลดเหลือ 72% จากก่อนหน้านี้อยู่ที่ 78%

    วรเนติมองว่า ตัวเลขดังกล่าวลดลงไม่มาก เนื่องจากเที่ยวบินในประเทศขณะนี้มีผู้โดยสารหลักเป็นกลุ่มที่ ‘จำเป็น’ ต้องเดินทางอยู่แล้ว เช่น เดินทางเพื่อเยี่ยมญาติ เดินทางเชิงธุรกิจ มีกลุ่มเดินทางเพื่อท่องเที่ยวไม่สูง

    ภาพระยะสั้นการเดินทางในประเทศน่าจะทรงตัวระดับนี้ จนกว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเริ่มนิ่งอีกครั้ง และมีผู้ที่ได้รับวัคซีนเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้นักท่องเที่ยวกลับมามั่นใจในการเดินทาง

     

    ยังไม่ได้อานิสงส์ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์”

    ด้านการเริ่มเปิดประเทศโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” วรเนติระบุว่า ไทยเวียตเจ็ทยังไม่ได้ประโยชน์ ณ ขณะนี้ เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้ามายังมาจากฝั่งยุโรปเป็นหลัก ขณะที่บริษัทเป็นสายการบินแถบทวีปเอเชีย มีเส้นทางบินเข้า-ออกภูเก็ตจาก 2 ประเทศคือ เวียดนาม (โฮจิมินห์และญาจาง) และจีน (เจิ้งโจว, ฉางชา, จี้หนาน, ซีหนิง, อี้ชาง และฮูฮอต) (*ปัจจุบันยังไม่กลับมาบินเส้นทางต่างประเทศ)

    แม้ว่าภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์จะเปิดให้ชาวจีนและเวียดนามเดินทางเข้าได้ แต่เนื่องจากทั้งสองประเทศยังไม่เอื้ออำนวยให้คนของประเทศตนออกท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยประเทศจีนยังไม่อนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ส่วนเวียดนาม นักท่องเที่ยวที่เดินทางออกจะต้องกักตัว 7 วันเมื่อกลับเข้าประเทศ ทำให้ยังไม่มีดีมานด์เข้ามา

     

    ลุ้นสัญญาณประเทศแถบเอเชีย

    อย่างไรก็ตาม วรเนติมองว่ามีสัญญาณที่ดีที่บางประเทศในแถบเอเชียอาจปลดล็อกให้นักท่องเที่ยวออกเดินทางต่างประเทศได้สะดวกขึ้น

    ยกตัวอย่าง เวียดนาม กำลังจับตามองความสำเร็จของภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ เพื่อนำไปใช้กับบางแหล่งท่องเที่ยวของตนด้วย เช่น ฟูก๊วก ฮาลองเบย์ และอาจจะมีการเจรจา Travel Bubble กับภูเก็ต เพื่อให้มีนักท่องเที่ยวไปมาระหว่างกัน

    ส่วนประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งมีแผนจะฉีดวัคซีนให้ประชากรครบ 100% ภายในเดือนตุลาคมนี้ หรือ เกาหลีใต้ ซึ่งคืบหน้าไปมากในการฉีดวัคซีนให้ประชากร ประเทศกลุ่มนี้อาจเปิดให้ออกต่างประเทศได้เร็วหลังฉีดวัคซีน

    ในขณะที่ ไต้หวัน นั้นยังติดปัญหาการรับวัคซีนที่ค่อนข้างช้า หรือสิงคโปร์แม้จะฉีดวัคซีนไปถึง 50% ของประชากรแต่แนวโน้มยังตั้งการ์ดสูงในการเปิดประเทศ และเป็นไปได้ที่จะพิจารณาคู่ค้ากับดินแดนที่ได้ประโยชน์ซึ่งกันและกันก่อน เช่น ฮ่องกง ออสเตรเลีย ส่วน จีน ยังคาดเดานโยบายได้ยาก แม้ว่าวันนี้จีนจะส่งสัญญาณ ‘ถอดหน้ากากอนามัย’ แล้วแต่เป็นไปได้ว่าจีนอาจให้ความสำคัญกับการฟื้นท่องเที่ยวในประเทศก่อน

     

    เพิ่มฝูงบิน 7 ลำแก้ดีเลย์ เพิ่มคอลเซ็นเตอร์

    วรเนติคาดหวังว่า การเดินทางในประเทศน่าจะปรับตัวดีขึ้นช่วงเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนเส้นทางต่างประเทศน่าจะเริ่มดีขึ้นช่วงตุลาคมเป็นต้นไป โดยหวังว่าการเปิดประเทศภายใน 120 วันจะเป็นผลสำเร็จ

    ไทยเวียตเจ็ทได้เตรียมรองรับการเดินทางที่น่าจะเป็นขาขึ้นแล้ว โดยเช่าเครื่องบินจากบริษัทแม่เพิ่มอีก 7 ลำ จากเดิมมีอยู่ 15 ลำ ซึ่งน่าจะได้รับมอบภายในปีนี้ (เริ่ม 1 ลำแรกที่เข้ามาแล้วในเดือนกรกฎาคม)

    การเพิ่มจำนวนเครื่องบินนี้เป็นกลยุทธ์เพื่อแก้ปัญหาการดีเลย์ของเที่ยวบิน และเตรียมเพิ่มเส้นทางบินในอนาคต

    “เรายอมรับว่าเราเคยมีปัญหาเรื่องการดีเลย์ ทำให้คนจดจำเราในทางนี้ แต่ขอเรียนว่าปัญหาหนักได้เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายมีนาคมถึงต้นเมษายนที่ผ่านมา ปัจจุบันเรามีอัตราการบินตรงเวลา 90% แล้ว และพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อเนื่องโดยการนำเครื่องบินเข้ามาเพิ่ม” วรเนติกล่าว

    นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุง “คอลเซ็นเตอร์” ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกลูกค้าตำหนิสูงในช่วงที่ผ่านมาเช่นกัน โดยมีการเพิ่มจำนวนพนักงานแล้ว และเปิดระบบ self-service manage booking เพื่อลดภาระคอลเซ็นเตอร์ จนปัจจุบันลดเวลาการรอสายคอลเซ็นเตอร์เหลือ 3 นาที จากเดิมมากกว่า 10 นาที

     

    เปิดรูทใหม่ 2-3 เส้นทาง

    ส่วนการเปิดเส้นทางบินใหม่นั้นอยู่ระหว่างขออนุญาต โดยวรเนติแย้มว่าจะมี 2-3 เส้นทางใหม่ภายในปีนี้ ทั้งหมดเป็นเส้นทางต่างประเทศในแถบเอเชีย (ยังไม่ระบุว่าเป็นประเทศใดและเป็นประเทศใหม่ที่ยังไม่เคยเปิดบินมาก่อนหรือไม่)

    “วรเนติ หล้าพระบาง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยเวียตเจ็ท

    ภาพรวมจนถึงสิ้นปี 2564 วรเนติประเมินว่าจะดีขึ้นจากปีก่อน โดยไทยเวียตเจ็ทมีผู้โดยสารรวมปีก่อน 3 ล้านคน ปัจจุบันครึ่งปีแรก 2564 มีผู้โดยสารแล้วเกือบ 2 ล้านคน เชื่อว่าจนถึงสิ้นปีน่าจะมีผู้โดยสารแตะ 5 ล้านคนได้ โดยความหวังอยู่ที่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

    “ทุกอย่างอยู่ที่วัคซีน ถ้าคนฉีดได้เยอะและเร็วก็จะฟื้นเร็ว ถ้าไม่แก้ตรงนี้ปัญหาก็จะเป็นงูพันหาง รัฐบาลจะได้แต่ใช้เงินถมลงไป” วรเนติให้ความเห็น

    เขายังแนะด้วยว่า การผ่อนคลายกิจการปัจจุบันควรให้คนที่ได้รับวัคซีนแล้วเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนแล้วมักจะมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีการเดินทางท่องเที่ยว หรือกรณีร้านอาหาร มองว่าถ้าสามารถเปิดโมเดลให้ร้านที่พนักงานฉีดวัคซีนแล้วและรับเฉพาะผู้ที่รับวัคซีนแล้วเข้ามารับประทาน อย่างน้อยน่าจะทำให้ร้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องปิดทั้งหมด เศรษฐกิจเดินหน้าได้

    ]]>
    1340506