ไห่หนาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 31 May 2023 05:54:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เกาะไห่หนาน” วางเป้าหยุดจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายในปี 2030 โมเดลนำร่องของ “จีน” https://positioningmag.com/1432618 Wed, 31 May 2023 05:24:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432618 ในอนาคตพลเมืองบน “เกาะไห่หนาน” ของจีนจะไม่ต้องกังวลเรื่องสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอีกต่อไป เพราะเกาะแห่งนี้มีแผนเปิดจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 75,000 จุดทั่วเกาะ เพื่อรองรับเป้าหมายการหยุดจำหน่ายรถยนต์สันดาปบนเกาะภายในปี 2030

“เกาะไห่หนาน” เกาะขนาดใหญ่เท่ากับขนาดประเทศเบลเยียมที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน และมีประชากรบนเกาะกว่า 10 ล้านคน มีแผนที่จะหยุดจำหน่ายรถยนต์สันดาปบนเกาะภายในปี 2030 ซึ่งจะทำให้ปีนั้นรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดจะคิดเป็นสัดส่วน 45% ของรถยนต์ทั้งหมดบนเกาะ

แผนของรัฐบาลท้องถิ่นเกาะไห่หนานนี้ถือเป็นท้องถิ่นแรกของ “จีน” ที่ตั้งเป้าหมายสูงในระดับนี้ และจะกลายเป็นแม่พิมพ์ของท้องถิ่นอื่นในประเทศต่อไป

การเริ่มต้นที่ไห่หนานนับเป็นโมเดลนำร่องที่ดี เพราะโครงสร้างพื้นฐานของท้องที่เป็นเกาะและมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ทำให้คนส่วนมากจะเดินทางไม่ไกลต่อหนึ่งเที่ยวเดินทาง รวมถึงมีภูมิอากาศที่ไม่หนาวจัดหรือร้อนจัดซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรีรถ ไม่เหมือนกับเมืองหลวงอย่างปักกิ่งที่ในฤดูหนาวมักจะหนาวถึงติดลบ

แผนการของรัฐบาลท้องถิ่นที่ช่วยสนับสนุนให้เป็นเกาะแห่งอีวีนั้นมีหลายนโยบาย เช่น สนับสนุนเงินช่วยเหลือในการซื้อรถอีวี เปลี่ยนรถแท็กซี่และรถเมล์เป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด

ในแง่โครงสร้างพื้นฐานก็สนับสนุนให้มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 75,000 จุดทั่วเกาะ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงจุดชาร์จได้เฉลี่ยทุกๆ 2 กิโลเมตร จึงไม่ต้องกังวลเรื่อง ‘แบตหมด’ อีกต่อไป

ปัจจุบันในเมืองไหโข่ว เมืองเอกของเกาะไห่หนาน ถือว่ามีจุดชาร์จรถอีวีกระจายอยู่ทั่ว และในกรณีของรถยี่ห้อ Nio มีการสร้างสถานีสลับแบตเตอรีตามกลยุทธ์ของแบรนด์ด้วย โดยแบรนด์มีแผนจะสร้างสถานีสลับแบตเตอรีในจีนเพิ่มอีก 1,000 จุด พร้อมกับสถานีชาร์จอีก 10,000 จุด

การจะยกเลิกขายรถยนต์สันดาปในปี 2030 มีแรงกดดันต่อผู้บริโภคหรือไม่? สำนักข่าว Bloomberg สัมภาษณ์คนจีนท้องถิ่นบนเกาะแล้วพบว่า คนจำนวนมากเริ่มตัดสินใจซื้อรถยนต์คันใหม่เป็นรถอีวีอยู่แล้ว แม้แต่บริษัท BYD เองก็เลิกผลิตรถยนต์สันดาปไปตั้งแต่ปี 2022 ทำให้เป้าหมายของรัฐที่จะให้เลิกขายรถสันดาปจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในกลุ่มผู้บริโภค

เจมส์ เฉา ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการวางแผนกลยุทธ์ IScann Group บริษัทที่ปรึกษา มองว่า ไห่หนานยังได้รับอานิสงส์อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เป้าปี 2030 เป็นจริงง่ายขึ้น นั่นคือราคาของรถยนต์ไฟฟ้าในจีนต่ำกว่าประเทศอื่นในโลกค่อนข้างมาก

“การเข้าถึงรถอีวีในยุโรปและสหรัฐฯ ยังเป็นประเด็นสำคัญ แต่ในจีนนั้นมีกำแพงเรื่องนี้น้อยกว่า ทำให้เป้าหมายการแบนรถยนต์สันดาปในไห่หนานมีโอกาสสำเร็จได้มากกว่าประเทศอื่นในโลก” เฉากล่าว

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายต่อไปที่ค่อนข้างจะยากกว่าคือ การรณรงค์ให้กลุ่มรถเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถบรรทุก เปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าบ้าง เพราะรถกลุ่มนี้เมื่อเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้ากลับไม่ได้มีปัจจัยบวกเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากเท่ากับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

Source

]]>
1432618
“ฮ่องกง” เสียตำแหน่งแหล่งช้อป “แบรนด์เนม” แห่งเอเชีย ร้านค้าเลือกขยายในจีนแผ่นดินใหญ่ https://positioningmag.com/1422142 Tue, 07 Mar 2023 10:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422142 “ฮ่องกง” หนึ่งในแหล่งช้อปปิ้ง “แบรนด์เนม” สุดหรูระดับโลก ไม่น่าจะหวนคืนตำแหน่งนั้นได้อีกแล้ว หลังแบรนด์ลักชัวรีหลายรายเลือกการขยายตัวในจีนแผ่นดินใหญ่แทน ทำให้หน้าร้านบนถนนช้อปปิ้งดังของฮ่องกงว่างลงกว่าครึ่ง!

ฮ่องกงเคยเป็นแหล่งช้อปปิ้งแบรนด์เนมยอดฮิตของเอเชีย สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ถึงปีละ 56 ล้านคนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาค่าเช่าในย่านจิมซาจุ่ยกลับดิ่งลงถึง 41% เทียบกับก่อนเกิดโรคระบาด ตามข้อมูลของ Cushman & Wakefield บริษัทอสังหาฯ จนทำให้เมื่อปี 2022 ย่านนี้เสียบัลลังแชมป์ย่านรีเทลที่แพงที่สุดในโลกให้กับถนน Fifth Avenue ในเมืองนิวยอร์ก

Savills บริษัทที่ปรึกษาอสังหาฯ อีกรายหนึ่งรายงานว่า Canton Road ถนนช้อปปิ้งชื่อดังในย่านจิมซาจุ่ย มีอัตราพื้นที่ว่างสูงถึง 53%

“ค้าปลีกลักชัวรีส่วนใหญ่ไม่คิดว่าฮ่องกงจะกลับไปสู่จุดสูงสุดเมื่อปี 2014 อีกแล้ว” Simon Smith ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการวิจัยและที่ปรึกษาของ Savills Hong Kong กล่าว

“ถ้าคุณไปเดินย่านช้อปปิ้งวันนี้ในฮ่องกง คุณจะไม่เห็นคนมารอต่อคิวเข้าร้านแบรนด์เนมกันอีกแล้ว หรือถ้ามีก็น้อยมากๆ” Smith กล่าว

Photo : Shutterstock

หลายแบรนด์เลือกปิดหน้าร้านในจิมซาจุ่ยไปแล้ว เช่น Tiffany, Valentino, Burberry ร้านเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยแบรนด์อีกแบบหนึ่ง เช่น Adidas แบรนด์กีฬา

การปิดหน้าร้านแบรนด์เนมเกิดขึ้นหลังเหตุประท้วงเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยและการปราบปรามของภาครัฐ หลังจากนั้นยอดขายแบรนด์เนมเริ่มตกต่ำลง เพราะจีนสั่งห้ามการเดินทางของคนจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังฮ่องกง ซึ่งปกติกำลังซื้อจากจีนคือแรงขับเคลื่อนหลักของตลาดลักชัวรี และสถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อเผชิญกับโควิด-19 เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติอื่นๆ ก็ไม่สามารถเข้ามาช้อปปิ้งได้

 

ทางเลือกใหม่ของแบรนด์เนม: จีนแผ่นดินใหญ่

ลักชัวรีแบรนด์มากมายขยายตัวเข้าไปเปิดร้านในจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงที่เกิดโควิด-19 โดยเฉพาะเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น “เกาะไห่หนาน” หรือเกาะข้างเคียงอย่าง “มาเก๊า” ก็กลายเป็นปลายทางใหม่ของแบรนด์เนม ทั้งสองหมุดหมายนี้ยังได้ประโยชน์จากนโยบายของจีนที่พัฒนาให้เป็นเกาะ “ปลอดภาษี”

“ฮ่องกงไม่น่าจะกลับไปสู่จุดที่เคยเป็นในทศวรรษที่แล้วได้อีก เพราะขณะนั้นฮ่องกงแทบจะเป็นจุดหมายเดียวที่คนจีนเลือกไปเพื่อช้อปแบบดิวตี้ฟรี” Nicolas Hieronimus ซีอีโอ L’Oreal กล่าวกับ Reuters “วันนี้พวกเขามีทางเลือกอีกมากมาย”

ศูนย์การค้าดิวตี้ฟรีบนเกาะไห่หนาน (Photo : Shutterstock)

เมื่อโควิด-19 ปิดประเทศจีน และมีการพัฒนาดิวตี้ฟรีขึ้นมาทดแทน ทำให้ร้านค้าดิวตี้ฟรีในเกาะไห่หนานทำยอดขายพุ่งถึง 84% ในปี 2021 จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษา Bain & Co ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยยอดขายลักชัวรีทั้งประเทศจีนซึ่งเติบโต 36%

ปี 2021 ประเทศจีนจึงมียอดขายสินค้าลักชัวรีในประเทศแตะ 4.71 แสนล้านหยวน (ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มเป็นเท่าตัวจากปี 2019 เทียบแล้วยังมากกว่ายอดขายรีเทลในฮ่องกงที่เคยขึ้นไปสูงสุดเมื่อปี 2013 ด้วยมูลค่า 4.94 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 2.17 ล้านล้านบาท)

เมื่อเข้าไปขายในจีนก็ขายดี ทำให้แบรนด์ลักชัวรีจึงหันมาเลือกเปิดหน้าร้านในจีนแผ่นดินใหญ่แทน เช่น Hermes ที่เปิดไปแล้ว 27 สาขาในจีน ปีนี้เพิ่งจะเปิดหน้าร้านใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมที่เมืองนานจิง เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขณะที่ Saint Laurent แบรนด์ในเครือ Kering เพิ่งจะเปิดแฟลกชิปสโตร์สองแห่งแรกที่เซี่ยงไฮ้และปักกิ่งเมื่อปี 2019 นี้เอง

อย่างไรก็ตาม มุมมองอีกทิศทางหนึ่งก็เห็นว่า ฮ่องกงอาจจะยังมีความหวังในระยะยาวได้เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกกลับมาปกติ และการท่องเที่ยวกลับมา

อีกทั้งเสน่ห์ของร้านแบรนด์เนมในฮ่องกงยังคงเป็นหน้าร้านแบบแยกตึกเดี่ยวของแบรนด์นั้นๆ ซึ่งเป็นความรู้สึกพิเศษที่หาไม่ได้ในศูนย์การค้าของไห่หนาน จุดนี้อาจจะเป็นจุดที่เอาชนะใจผู้ซื้อได้โดยเฉพาะผู้ซื้อจากจีนแผ่นดินใหญ่เอง

Source

]]>
1422142
‘ไห่หนาน’ จ่อเป็นมณฑลแรกของจีนห้ามขาย ‘รถยนต์สันดาป’ ภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1397575 Thu, 25 Aug 2022 05:25:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397575 รัฐบาลจีนมีแผนปฏิบัติการที่จะลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึงระดับสูงสุดก่อนปี 2030 ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากจีนจะพยายามเร่งผลักดัน รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถอีวี จนปัจจุบันมียอดขายกว่าปีละ 3.3 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของยอดขายรถทั้งหมด

หลังจากที่จีนต้องดิ้นรนผ่านฤดูร้อนที่ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งทำให้พืชผลเหี่ยวเฉา ทำให้แม่น้ำและแหล่งกักเก็บน้ำที่ใช้สำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำหดตัว

ล่าสุด รัฐบาลท้องถิ่นของมณฑลไห่หนานที่อยู่ทางใต้ของจีน กำลังจะกลายเป็นมณฑลแรกของประเทศ ที่จะยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์สันดาปเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี 2030 นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้าจะยิ่งได้รับการส่งเสริม ทั้งการลดหย่อนภาษีและการขยายเครือข่ายการชาร์จ

“ภายในปี 2030 ทั้งมณฑลจะห้ามการขายรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง” ข้อความที่ระบุในแผนงานของมณฑลไห่หนาน

โดยมณฑลไห่หนานตั้งเป้าให้มีรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็น 45% ของรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030 และเมืองต่าง ๆ จะพัฒนาเป็น เขตปลอดการปล่อยมลพิษ ซึ่งยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันจะถูกแบน และปัจจุบัน กว่า 50% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมาจากประเทศจีน

Source

]]>
1397575
‘เซี่ยงไฮ้’ หนุนเปิดร้าน ‘ดิวตี้ฟรี’ ดันเศรษฐกิจปลอดภาษี กระตุ้นการใช้จ่ายผู้บริโภค https://positioningmag.com/1352482 Sat, 18 Sep 2021 08:52:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352482 เซี่ยงไฮ้ ประกาศสนับสนุนบริษัทต่างๆ ให้ยื่นขออนุมัติขายสินค้าดิวตี้ฟรี’  เเละเปิดร้านค้าปลอดภาษีที่สนามบิน โรงแรม ห้างสรรพสินค้าเเละพื้นที่พาณิชย์ต่างๆ

โดยเป็นส่วนหนึ่งของเเผนการบริโภค ในปี 2021-2025 ที่รัฐบาลท้องถิ่นของเซี่ยงไฮ้จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจปลอดภาษี (duty-free economy) เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายสินค้านำเข้าเเละสินค้าหรูที่มีการเก็บภาษีหนัก

ปัจจุบัน การใช้จ่ายซื้อสินค้าปลอดภาษีในจีน ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในมณฑลไห่หนานซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้จำกัดการใช้จ่ายที่ยกเว้นภาษีบุคคลไม่เกินปีละ 100,000 หยวน (ราว 5.1 เเสนบาท) เพิ่มขึ้นจากเดิม 30,000 หยวน (ราว 1.5 เเสนบาท)

จีนมีการเก็บภาษีสินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าจากต่างประเทศ ในอัตราแตกต่างกัน เช่น บรรดาสินค้าหรู อย่างน้ำหอม นาฬิกา ก็มีการเก็บภาษีเกินกว่า 30%

การเก็บภาษีที่สูงมากนี้ ทำให้ชาวจีนหลายล้านคน เลือกจะเเห่กันมาช้อปปิ้งสินค้าดิวตี้ฟรีที่ห้างในมณฑลไห่หนานเเทน เเละยิ่งเจอวิกฤตโควิด-19 ที่เดินทางไปต่างประเทศลำบาก นักท่องเที่ยวจีนจำนวนมาก ก็ยิ่งพากันมาซื้อของที่ไห่หนานมากขึ้น

China Daily รายงานมูลค่ายอดขายดิวตี้ฟรีบนเกาะไห่หนาน รอบวันที่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 31 พฤษภาคม 2021 แตะ 4.55 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 2.22 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้นถึง 236% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ในจีนมีร้านค้าปลอดภาษีกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ ขายสินค้าหลากหลายตั้งแต่น้ำหอม เครื่องสำอาง ไปจนถึงเสื้อผ้าและรองเท้า โดยมีบริษัทใหญ่อย่าง China Tourism Group ครองเจ้าตลาดอยู่ ด้วยร้านค้าปลอดภาษีเกือบ 200 สาขา ทั้งนี้ ในตลาดรวมยอดการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าดิวตี้ฟรีของจีน มีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านหยวนต่อปี

 

ที่มา : Reuters , texasnewstoday

]]>
1352482
พลิกวิกฤตโลกเป็นโอกาสของ “ไห่หนาน” ยอดขาย “ดิวตี้ฟรี” โต 236% ในรอบปี https://positioningmag.com/1336016 Wed, 09 Jun 2021 05:59:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336016 แผนปั้น “ไห่หนาน” เป็นเมืองท่องเที่ยวและ “ดิวตี้ฟรี” ระดับโลกเริ่มฉายแสง จากนโยบายใหม่ดันเพดานยอดซื้อสินค้าปลอดภาษีเป็น 100,000 หยวนต่อคน ผนวกกับโรคระบาดที่ทำให้คนจีนเดินทางต่างประเทศไม่ได้ ทำให้ยอดขายดิวตี้ฟรีเกาะไห่หนานพุ่ง 236% ในรอบปี และส่งบริษัท China Duty-Free Group ขึ้นเป็นบริษัทดิวตี้ฟรีเบอร์ 4 ของโลก

สำนักข่าว China Daily รายงานมูลค่ายอดขายดิวตี้ฟรีบนเกาะไห่หนานรอบวันที่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 31 พฤษภาคม 2021 แตะ 4.55 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 2.22 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้นถึง 236% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ จำนวนนักช้อปยังเพิ่มขึ้น 144% เป็น 8.77 ล้านคน และซื้อสินค้าคิดเป็นจำนวนชิ้น 47 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้น 152% สะท้อนให้เห็นการเติบโตที่พุ่งสูงในทุกแง่มุม

เกาะไห่หนาน (หรือเกาะไหหลำที่คนไทยรู้จัก) ถูกเรียกว่าเป็น “ฮาวายของเมืองจีน” โดยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของประเทศ มีพื้นที่ทั้งหมด 35,000 ตร.กม. เล็กกว่าเกาะไต้หวันเพียงเล็กน้อย เกาะไห่หนานนี้ได้รับการกำหนดนโยบายจากรัฐบาลจีนให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลและเมืองดิวตี้ฟรี โดยที่ผ่านมาเป็นที่นิยมในหมู่คนจีนแผ่นดินใหญ่ ปัจจุบันกำหนดพื้นที่ดิวตี้ฟรีไว้ 210,000 ตร.ม.

ซานย่า เมืองบนเกาะไห่หนาน แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลและดิวตี้ฟรีของจีน

ล่าสุด เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 ไห่หนานประกาศเป้าขึ้นเป็น “เมืองท่าปลอดภาษี” ระดับโลก โดยจะกำหนดนโยบายต่างๆ ให้บริษัทต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในมณฑลนี้ง่ายขึ้น

ไห่หนานยังเปิดนโยบายเร่งยอดขายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 โดยปลดล็อกการจำกัดค่าใช้จ่ายสินค้าปลอดภาษีต่อคนจากเดิม 30,000 หยวนต่อคน(ประมาณ 146,000 บาท) เป็น 100,000 หยวนต่อคน (ประมาณ 487,000 บาท) และยังขยายประเภทสินค้าปลอดภาษีจาก 38 ประเภทเป็น 45 ประเภท รวมถึงยกเลิกเพดานภาษีที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่เกิน 8,000 หยวนต่อชิ้น (ประมาณ 39,000 บาท) เป็นไม่มีเพดานใดๆ

ด้วยยอดใช้จ่ายที่ดันเพดานให้สูงขึ้น และเป็นช่วงที่คนจีนไม่สามารถออกนอกประเทศไปช้อปสินค้าโดยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนมได้ ทำให้การเดินทางมาท่องเที่ยวและช้อปปิ้งที่ไห่หนานสูงขึ้นทันที โดยมีแบรนด์ยอดนิยมที่คนจีนต้องการ เช่น Louis Vuitton, Hermes, Estee Lauder, Cartier, Bulgari, Tiffany & Co. เป็นต้น

สำนักข่าว Global Times China สัมภาษณ์ “หลี่หู” นักช้อปวัย 29 ปีผู้เดินทางมาเที่ยวและช้อปปิ้งในไห่หนาน สะท้อนมุมมองของคนจีนว่า แม้เมืองใหญ่อย่างปักกิ่งที่เธออาศัยอยู่จะมีสินค้าหลากหลายรุ่นกว่าแต่ราคาของในไห่หนานสมเหตุสมผลมากกว่า และยิ่งขณะนี้เดินทางไปต่างประเทศไม่ได้ ทำให้เธอตัดสินใจเดินทางมาช้อปที่ไห่หนาน

Haitang Bay Duty Free Shopping Complex แหล่งช้อปปิ้งดิวตี้ฟรี พัฒนาโดยบริษัท China Duty-Free Group (Photo : CDF)

ชาวจีนนั้นเป็นกำลังซื้อสำคัญในตลาดสินค้าแบรนด์เนมอยู่แล้ว ทำให้การเปิดดิวตี้ฟรีของตัวเองเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจในการดึงเม็ดเงินให้หมุนเวียนในประเทศ และเป็นฐานต่อยอดไปสู่การเป็นสถานที่ช้อปปิ้งดิวตี้ฟรีระดับโลก

ไห่หนานจะต้องแข่งขันกับเมืองดิวตี้ฟรีดั้งเดิม เช่น สิงคโปร์ ดูไบ ส่วนบริษัทดิวตี้ฟรีหลักของจีนคือ China Duty-Free Group (CDF) จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่คือ Dufry เบอร์ 1 โลกจากสวิตเซอร์แลนด์ และ Lotte Duty Free เบอร์ 2 จากเกาหลีใต้ รวมถึง The Shilla Duty Free เบอร์ 3 จากเกาหลีใต้อีกเช่นกัน โดยขณะนี้ CDF ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกแล้ว (ข้อมูลจาก The Moodie Davitt Report)

นอกจากเป็นผู้เล่นหลักครองตลาดในสนามบินทั่วประเทศจีน CDF ยังสยายปีกออกนอกประเทศแล้ว โดยได้สิทธิดิวตี้ฟรีในสีหนุวิลล์และพนมเปญ ประเทศกัมพูชา รวมถึงเป็นพันธมิตรเปิดร้านบนเครือข่ายเรือสำราญ Star Cruise

Source: China Daily, Global Times China

]]>
1336016