BANDAI – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 12 Jun 2020 14:13:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ทามาก็อตจิ” ของเล่นฮิตยุค 90 กลับมารุกตลาดอเมริกาเหนือ เพิ่มเทคโนโลยีให้ทันสมัย https://positioningmag.com/1283383 Fri, 12 Jun 2020 13:29:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283383 ของเล่นเเห่งยุค 90 ที่ครองใจใครหลายคนอย่าง “ทามาก็อตจิ” (Tamagotchi) กำลังจะกลับมาทำตลาดในอเมริกาเหนืออีกครั้ง 

โดยจะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ในชื่อ Tamagotchi On Wonder Garden ในวันที่ 26 ก.ค.นี้ ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 59.99 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,850 บาท) ซึ่งจะเริ่มให้มีการสั่งจองล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ของ Target, Amazon, Walmart และ GameStop

สำหรับการกลับมาของทามาก็อตจิ เวอร์ชั่นใหม่นี้ไม่ธรรมดาเเน่นอน เพราะจะมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากขึ้นพร้อมกราฟิกสีสันสดใส สามารถเชื่อมต่อกับเเอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย

สิ่งที่เเตกต่างไปจากรุ่นเดิมคือ ทามาก็อตจิสามารถออกจากบ้านของตัวเองเเละเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ อีกทั้งยังสามารถฉลองวันเกิดให้กับตัวเองด้วยลูกโป่งหลากสี พร้อมเพลงรื่นเริงเเบบสนุกสนาน นอกจากนี้ ยังสามารถแต่งงานและมีลูกได้ สามารถเลี้ยงดูลูกของมันให้เติบโตเพื่อสืบสกุลได้

อย่างไรก็ตาม ระดับความยากง่ายของทามาก็อตจิรุ่นใหม่ก็ไม่ได้ต่างไปจากเดิมเท่าไหร่นัก โดยเวอร์ชั่นนี้ผู้เล่นสามารถฝากสัตว์เลี้ยงไว้ให้โรงแรมดูแลได้ด้วย

เพื่อที่จะคงกลิ่นอายของยุค 90 ไว้ให้มากที่สุด Tamagotchi On Wonder Garden จะยังคงมีความ “อนาล็อก” อยู่มากคุณไม่จำเป็นต้องใช้ Wi-Fi เพื่อเล่นมัน เเละการเพิ่มฟังก์ชั่นการเชื่อมต่อกับแอปฯ มือถือนั้นเป็นเเค่อีกทางเลือกหนึ่งเเละจะยังคงมีปุ่มสำหรับใช้งานเพียง 3 ปุ่ม เหมือนกับเวอร์ชั่นเดิม

ผู้เล่นจะได้ดูเเลทามาก็อตจิให้เติบโต ต้องรักษาระดับความหิว ความสุขและความบันเทิง ไม่ให้อยู่ในระดับอันตราย เเละเมื่อทามาก็อตจิต้องการอะไรบางอย่างมันจะส่งเสียงดังปี๊บ หรืออาจจะปิดหน้าจอเมื่อรู้สึกโกรธ

เมื่อปีที่เเล้ว บริษัทแม่อย่าง Bandai America เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Tamagotchi On เป็นครั้งแรกในอเมริกาเหนือ เเม้ทางบริษัทจะไม่ได้เปิดเผยตัวเลขยอดขายในโซนอเมริกาเหนือ แต่ระบุว่ามียอดขายมากกว่า 82 ล้านหน่วยทั่วโลก

ตัวเเทนของ Bandai America ให้สัมภาษณ์กับ CNN ว่าเเบรนด์มีกลยุทธ์การตลาดในญี่ปุ่นเเละอเมริกาที่เเตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยจะเห็นได้ชัดจากการออกเเบบบรรจุภัณฑ์ เช่น ในญี่ปุ่นจะถูกห่อขายเเยกกัน โดยไม่ต้องมีคำอธิบายมาก เเต่ในสหรัฐฯ กล่องจะต้องมีขนาดใหญ่เเละเน้นกราฟิกที่มีสีสัน

Bandai เปิดตัวทามาก็อตจิครั้งแรกในปี 1996 ในญี่ปุ่น ก่อนจะบุกตลาดอเมริกาในปีต่อมา จนกระทั้งปี 2018 ได้กลับมาทำตลาดในอเมริกาเหนืออีกครั้ง เเละมีการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้นในปี 2019

 

ที่มา : CNN Business , Bandai

]]>
1283383
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.10 Gunpla การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยหยุดนิ่ง https://positioningmag.com/1192646 Sun, 14 Oct 2018 09:05:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1192646 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Ep. 10

กันพลาในชุด Gundam Age
กันพลาในชุด Gundam Age

กันดั้มทีวีภาคต่อไป Gundam Age ออกฉายในปี 2011 เนื้อหาสามชั่วคนของตระกูลที่เกี่ยวพันกับกันดั้ม มีคอนเซ็ปต์น่าสนใจแต่กลับไม่สนุกและสะดุดเมื่อเปลี่ยนรุ่น บันไดเปิดเกรดใหม่ AG (Advanced Grade) ในสเกล 1/144 โมเกรดนี้จะสลับสีสำเร็จ แกะกล่องมาประกอบได้เลย แต่มีจุดขยับน้อย เพราะจะเน้นที่มีชิปมาให้ติดโมเอาไปเล่นในเกมเซ็นเตอร์ แต่ก็มี แบบ HG ของสเกล1/144 ด้วยเช่นกัน ส่วน 1/100 มีออกเป็น MG

โมในชุด Entry Grade

นอกจากนี้ในปีนี้ บันไดยังออกสินค้า Exclusive วางขายเฉพาะในเอเชียเป็นเกรดใหม่ มีชื่อว่า EG(Entry Grade) ในขนาด 1/144 ไม่ได้สลับสีอย่างละเอียด มีจุดเคลื่อนไหวน้อย ไม่มีโพลี่แค็ป ผลิตในจีน ออกขายในราคาประหย้ดตัวละไม่ถึง 150 แต่ขายไม่ออก เลยเลิกไปหลังออกมาได้สี่ตัวเท่านั้น

Gunpla Builder World Cup

ปีนี้บันไดเริ่มจัดการประกวดกันพลาระดับโลก Gunpla Builders World Cup ที่คนไทยเราก็เคยชนะเลิศกับเขาด้วย ในปี 2015 โดยจะจัดประกวดหาตัวแทนในแต่ละประเทศก่อนจะมาชิงชนะเลิศที่ญี่ปุ่น

Gunpla Expo World Tour

ปี 2012 บันไดขยายงาน Gunpla Expo เป็นระดับโลก ในชื่อ Gunpla Expo World Tour มาจัดตามประเทศต่างๆ ปี 2013 Gundam Build Fighter อนิเมะ ต่อหุ่นมาสู้กัน ที่ต่อยอดมาจาก Beginning G ออกฉายทางทีวี (แต่เนื้อหาไม่เกี่ยวกัน) เปิดไลน์ย่อยเป็น HGBF (High Grade Build Fighter) ที่เป็นตัวหุ่น กับ HGBC (High Grade Build Custom) ที่เป็นอุปกรณ์เสริม และมีโมสเกล1/100 ออกเป็น MG ด้วย ซีรีส์นี้จะมีภาคต่อในปีต่อมา Gundam Build Fighter Try (2014) ซีรีส์หลังนี้แหละที่เป็นต้นกำเนิดของกันพลาแนวหญิงสาวจากในเรื่องในสไตล์กันพลาอย่าง Super Fumina

กันพลาในชุด Gundam Build Fighter และ Build Fighter Try
กันพลาในชุด Gundam Build Fighter และ Build Fighter Try
กันพลาในชุด Gundam Build Fighter และ Build Fighter Try

ในปีนี้ (2013) บันไดยังเพิ่ม HG Thunderbolt จากคอมิคฮิตของ .ยาสุโอะ โอตางากิ ที่ย้อนกลับไปเล่าช่วงสุดท้ายของสงครามหนึ่งปี แล้วฮิตจนเรื่องยืดยาวต่อมา และถูกเอาไปสร้างอนิเมะในที่สุด จุดที่แตกต่างคือหุ่นในเรื่องจะมีเฟรมผ้าใบหุ้มรอยต่อ จึงต้องเพิ่มพาร์ตในส่วนนี้ขึ้นมา กับรายละเอียดที่แตกต่างจาก HGUC เดิม จึงต้องออกโมใหม่

HG Thunderbolt

ปี 2014 บันไดยังเปิดซีรีส์ทีวีกันดั้มใหม่อีกเรื่อง Gundam Recongista in G ที่ให้โยชิยูกิ โทมิโนะ มาดูแลอีกรอบ ผลก็คือกันดั้มสุดอาภัพที่ไม่มี 1/100 แม้แต่ตัวเดียว มีแค่สเกล 1/144 HGเท่านั้น

กันพลาในชุด Gundam Recongista in G

ปีนี้ยังเปิดไลน์ใหม่ในขนาด 1/100 ในชื่อ Re/100(Reborm one hundred) ที่ในสเกล1/100นี้ จะไม่มีเครื่องในซับซ้อนแบบ MG ทำให้ราคาถูกลง และโมที่ออกก็เป็นตัวแปลกๆ ที่มักจะมาคู่กับโม MG ที่ออกในช่วงใกล้กันหรือก่อนหน้านั้น ข้อดีของพวกนี้คือขนาดใหญ่ขึ้นและไม่ซับซ้อน ทำให้โมเดลเลอร์ สว.ทำงานได้ง่ายขึ้น

Re/100

2014 ยังเป็นปีที่อนิเมะกันดั้มครบ 30 ปี บันไดจึงออก MG RX-78-2 Ver 3.0 ที่พัฒนาขึ้นไปอีกมาร่วมฉลอง

MG RX-78-2 Ver 3.0

แต่ถ้าคุณพลาด หรือตังค์ไม่พอ ปี 2015 ครบรอบ 35 ปี กันพลา บันไดเลยยกเครื่อง HGUCด้วย HG Revive ที่เอาโมที่เคยออกแล้วมาปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้น (มันเลยไม่เคยทำได้ครบสักที) และแน่นอนเปิดด้วย RX-78-2 เข่นเดิม

HG RX-78-2 Revive

ส่วนด้านอนิเมะปีนี้เป็นจุดเริ่มต้นของอนิเมะที่บอกว่าเป็น OVA แต่ฉายโรงด้วย จากมังงะที่ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของกันดั้ม จากผลงานของยาสุฮิโกะ โยชิคาสุ หนึ่งในผู้ให้กำเนิดกันดั้ม ที่ลงต่อเนื่องยาวนานในนิตยสาร Gundam Ace กว่าสิบปี (ชนิดว่าคนอ่านลุ้นกันว่าจะจบได้ไหมนะ เพราะคนวาดก็อายุมากแล้ว) Gundam The Origin ที่แน่นอนบันไดก็ไม่พลาดเปิดไลน์มาออก HG Gundam the Origin มาออกหุ่นในเรื่อง (ที่หลายตัวไม่เคยเห็นในมังงะ) และมีผลักไปออก MG ด้วยนิดนึง

HG Gundam the Origin

กับทีวีซีรีส์ประจำปี 2015 Gundam Iron Blood Orphans ที่ได้รับความนิยมไม่น้อยจนมีซีซั่นสองตามมา โมของซีรีส์นี้ก็มีทั้ง 1/144HG ที่แบ่งเป็น Iron Blood Orphans สำหรับตัวหุ่น และ HG Iron Blood Arms สำหรับอาวุธและอุปกรณ์เสริม กับสเกล 1/100 แบบไม่ระบุเกรด

กันพลาในชุด Gundam Iron Blood Orphans

แต่ Gundam Barbatos ตัวเอกของเรื่องนี้ก็เปิดไลน์ใหม่ สเกล 1/100 Hi-Resolution Model (HiRM) ในปี 2016 จุดเด่นของซีรีส์นี้คือ มีโครงในประกอบสำเร็จมาแล้ว พร้อมข้อต่อโลหะ และพาร์ตเกราะนอกที่มีชิ้นส่วนเคลือบ และรายละเอียดลวดลายในเนื้อ ราคาจึงสูงระดับหมื่นเยนอัพ ซึ่งถ้าคุณเล่นโมบันไดมานานจะรู้ว่านี่ต่อยอดมาจาก Dragonar D-1Custom 1/100 ที่เคยทำแบบนี้มาแล้ว แต่ปัญหาของตัวนั้นคือเกราะมันสวมไม่ค่อยอยู่จะหลุดท่าเดียวเลย และหนักทำให้โพสท่าไม่ค่อยได้

.Gundam Unicorn 1/1

ปีนี้บันไดปลดระวางกันดั้ม 1/1 ก่อนจะแทนที่ด้วย Gundam Unicorn ในอีกหกเดือนต่อมา ซีรีส์นี้ถือเป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในช่วงหลังๆ ของกันดั้ม

Z-Gundam ในชุด Gunpla Evolution Project

ปี 2017 บันไดประกาศ โปรเจกต์ Gunpla Evolution ที่จะพัฒนาโมในหลายๆไลน์ของบันได ทั้ง HG,RG,MG,PG และ Re/100 โดยตัวแรกที่ออกมาคือ Z-Gundam ก่อนที่บันไดจะไปแก้นิดแก้หน่อยเอามาออกเป็น พีบันไดในชื่อ Z-Gundam U.C.0088 ก็เลยไม่รู้จะเชื่อน้ำยางานนี้ของบันไดดีไหม ว่านี่คือสินค้าที่พัฒนาแล้ว

ปีนี้ถึงไม่มีอนิเมะของกันดั้มตัวใหม่ออกมา แต่ก็มีอนิเมะต่อกันพลาเรื่องใหม่ออกฉาย Gundam Build Divers ที่เปิดไลน์ HGBD (High Grade Build Divers) ที่เนื้อหาไม่ต่อกับภาคก่อนหน้า

โมกันดั้มตัวใหม่ก็หยิบเอามาจากมังงะที่ลงในนิตยสาร Gundam Ace อย่าง Moon Gundam ที่น่าจะเอาโมบางตัวไปออกเป็นชุดคิทในอนิเมะกันดั้มเรื่องต่อไปที่มีแผนจะฉายในปี 2019 อย่าง GundamNT (narrative)

SD Cross Silhouette

วิวัฒนาการล่าสุดของกันพลาคือ SD Gundam ที่มีโครงใน ในชื่อ SD Cross Silhouette ที่เพิ่งออกมาในปี 2018 นี้เองโดยมีโครงในมาให้ด้วย (กับกล่องแรก RX-78-2 แต่ถ้าอยากได้เพิ่มมไว้ใช้กับตัวอื่นก็ไปซื้อแยกเอา) โครงนี้ต้องประกอบเอง แล้วคุณก็สามารถเลือกต่อแบบมีโครงหรือไม่มีก็ได้ ถ้าใส่โครงในก็จะมีสัดส่วนดีขึ้น ขยับได้มากขึ้น

แต่นี่ไม่ใช่จุดสุดท้ายของวิวัฒนาการของกันพลา แน่นอนการเปลี่ยนแปลงนั้นคือสิ่งที่อยู่คู่กับกันพลามาตั้งแต่จุดเริ่มต้น และจะคงอยู่กับมันต่อไป

อย่างน้อยๆคุณสังเกตไหมครับตอนนี้โลโก้บันไดบนกล่องพลาโม กลายเป็นสีฟ้าแล้ว

ปิดท้ายด้วยยอดขายของกันพลานับแต่วางตลาด (1980) เมื่อถึงปีที่ 35 ของการวางตลาด (2015) บันไดประกาศว่าทำยอดขายไปได้กว่า 450 ล้านชุด จากสินค้ากว่า 2,000 แบบ ถึงทุกวันนี้ก็ไม่รู้ว่าเติบโตไปถึงไหนแล้ว.

ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=767314790271796&id=279183085751638&__tn__=K-R


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1192646
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.9 อนิเมะซีรีส์กันพลา-ที่มา Gundam Front https://positioningmag.com/1192572 Sat, 13 Oct 2018 04:59:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1192572 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Bandai Ep.9

ปี 2001 บันไดปล่อย Master Grade นอกยุค U.C. ตัวแรก G-Gundam โดยออกระบบใหม่มาใช้กับหุ่นที่มีขนาดเล็กลง แต่ต้องเคลื่อนไหวได้มากขึ้นเรียกว่า Action Frame

ปี 2002 กันดั้มกลับมามีซีรีส์อนิเมะทางทีวีอีกครั้ง คราวนี้โด่งดังเหนือความคาดหมาย เด็กรุ่นใหม่ตื่นเต้นกับเรื่องราว แต่แฟนเก่ากลับรู้สึกว่า นี่คือกันดั้มภาคแรกที่เอามายกเครื่องใหม่เพิ่มคู่จิ้น (คิระ-อัสลัน) ปรับหุ่นให้หน้าตาทันสมัยขึ้น (แต่หลายๆ ตัวก็คล้ายๆ เดิม)

MG G-Gundam

แต่ที่สำคัญเปิดตัวมากันดั้มก็มี 5 ตัว แถมตัวพระเอกมี 3 แบบ ขายโมกันสนุกไปเลย โมจากซีรีส์นี้แบ่งออกเป็น 1/144 กับ 1/100 ทั้งสองรุ่นไม่ติดเกรดแบบที่บันไดใช้เป็นมาตรฐานอยู่ แต่ก็เข้าใจได้ว่า 1/100 ก็จะมีรายละเอียดและการเคลื่อนไหวที่ดีกว่า 1/144 ก่อนที่จะมีรุ่น HG ในสเกล 1/144 ตามมาบางตัว รวมทั้ง MG ในสเกล 1/100 ในภายหลัง อันนี้ก็จะคงไว้ต่อเนื่องไปถึงภาคต่อ Gundam Seed Destiny (2004) ด้วย ที่แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าภาคแรก แต่ก็ยังมี OVA ตอนพิเศษ Stargazer ออกมาอีกตอน แต่ที่แน่ๆ ภาคนี้มีหุ่นชื่อกันดั้ม หรือหน้าตาออกเป็นกันดั้มมากกว่าเดิม

Gunpla Series Seed/Seed Destiny
Gunpla Series Seed/Seed Destiny

แต่ที่ซีรีส์นี้ประสบความสำเร็จมากคือ Side Story ที่ฮิตไม่น้อยกว่าเรื่องหลัก แถมมีหลายภาคอีกด้วย นั่นก็คือ Gundam Astray ทั้งที่มีแค่คอมมิค และนิยายประกอบภาพถ่ายจากโมเดลเท่านั้น แต่ 5 ยูนิตก็เปลี่ยนเฟรมไปเรื่อยจนมีเป็นสิบแบบ ถึงทุกวันนี้ยังมีโมจากซีรีส์นี้ออกวางขายอยู่เลยทั้งแบบ HG และ MG

เทียบขนาด RX-78-2

ในปี 2002 ยังเป็นครั้งแรกที่บันไดเริ่มออก Master Grade Ver Ka. ที่เอาหุ่นเก่ามาให้คาโตกิ ฮาจิเมะมาดีไซน์ใหม่ จะถือว่าเป็นสายย่อยของ MG ก็ได้ครับ และแน่นอนครับตัวแรกก็ต้องเป็น RX-78-2 (ซึ่งจริงก็ออกแบบมานานแล้วล่ะ เคยทำทั้งการาจคิท และตัวสำเร็จ แต่เพิ่งเอามาออกเป็นชุดคิทที่ทำง่ายเป็นมาตรฐานก็ตอนนี้เอง)

MG RX-78-2 Ver Ka.

ปี 2005 บันไดออก OVA ออกมา 2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นของเก่าเอามาแก้ (ไปเพื่อ?) ขายอีกรอบอย่าง Z-Gundam A New Translation ที่โทมิโนะเจ้าของเรื่องเอาภาคเซต้ามาแก้ (แบบโคตรหยาบอย่างหันซ้ายเป็นของเดิม แต่พอหันหน้ามาดันวาดใหม่ ก็ขนาดเจ้าตัวออกปากทีหลังว่าทำไปทำไม) แถมแก้ตอนจบจนมีปัญหากับความคงอยู่ของภาค ZZ กับอีกเรื่องคือ MS Igloo ที่เนื้อหาประมาณไซด์สตอรี่ของกันดั้ม ที่ดูจริงจังขึ้น เรื่องนี้มีออกโมจากในเรื่องเป็น HG ด้วย ปีนี้MGปรับปรุงโมและออก Z-Gundam Ver 2.0 หลังจากที่อัพเกรดแต่ RX-78-2 มาหลายรอบแล้ว (ก่อนหน้านี้ก็อัพเกรด Gundam Mk.II เป็น 2.0 ไปก่อนแล้ว)

MS Igloo
Z-Gudam Ver 2.0

ปี 2006 บันไดออก MG Gundam F91 เป็นตัวแรกที่ไม่ใช้โพลี่แค็ปในนการประกอบ และในปีนี้เริ่มจัดงาน Gunpla Expo ซึ่งเป็นงานเปิดตัวกันพลารุ่นใหม่ๆเป็นครั้งแรก

MG Gundam F91 Ver 1.0

ปี 2007 กันดั้มกลับลงจอทีวีอีกครั้งด้วย Gundam OO ที่ประสบความสำเร็จไม่น้อยจนได้สร้างติดต่อกัน 2 ซีซั่น แถมด้วยหนังใหญที่เป็นบทสรุปอีก 1 ภาค โมเดลของซีรีส์นี้สเกล 1/144 จะเริ่มเปลี่ยนจุดเชื่อมกระโปรงจากจอยนท์เบ้ากับบอลล์จอยนท์ เป็นแบบใหม่ ส่วน 1/100 มีแบบ ไม่ระบุเกรดออกมา ก่อนจะคัดบางตัวไปออกเป็น MG และในปีนี้ซีรีส์ MG ก็ออกวางตลาดสินค้าตัวที่ 100 และผู้ได้รับเกียรตินั้นคือ Turn A Gundam

Gundam OO

ในปีถัดไปบันไดจะออกผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้ กันพลาสวยงามง่ายขึ้น (หรือจะไม่แบ่งให้ใครกินเลยก็ไม่รู้) Gunpla Marker ที่ใช้ได้ทั้งตัดเส้นและทำสี รูปแบบปากกา

MG Turn A

ปี 2009 ในวาระครบ 30 ปีของกันดั้ม บันไดจัดงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ เปิดจุดท่องเที่ยวใหม่ที่เขต โอไดบะ ชื่อ Gundam Front ที่มีจุดเด่นคือ Gundam RX-78-2 ขนาดเท่าตัวจริง ยืนเด่นเป็นสง่าอยู่ข้างหน้า (เจ้าตัวนี้ผลิตในเมืองไทยเองครับ ก่อนจะส่งไปประกอบที่ญี่ปุ่น) มีการออกอนิเมะขายกันพลาแบบเต็มตัว อย่าง Model Suit Gunpla Builder Beginning G ในรูปแบบ OVA เรื่องของเจ้าหนูที่ประทับใจกันดั้ม 1:1 แล้วเลยซื้อกันพลามาต่อ

Beginnig G

ก่อนจะเข้าร่วมการต่อสู้ในกันพลาแบทเทิ่ลที่ผู้เล่นจะได้บังคับกันพลาที่ตัวเองต่อ เรื่องนี้มีภาคนิยายประกอบภาพ และคอมิคด้วย และจะเป็นจุดเริ่มต้นของอะนิเมซีรีส์ต่อกันพลามาสู้กันต่อไป และยังมีไลน์ HG ของตัวในชื่อ HG Gunpla Builders เพื่อออกหุ่นจากในเรื่อง ไลน์ HGUC ร่วมฉลองด้วยการออกกันดั้ม RX-78-2 เวอร์ชั่น G30th ที่สร้างตามแบบเจ้าตัว 1:1 ปีนี้ไลน์ HGUC ออกตัวที่ 100 เป็น Gundam Unicorn (Destroy Mode) จากนิยายที่กำลังจะออก OVA ในปีถัดไป

G30th

ในวาระฉลอง 30 ปีกันพลาในปี 2010 บันไดเปิดไลน์ใหม่ RG (Real Grade) ในขนาด 1/144 ที่ต้องสร้างโครงในก่อน ประกอบเกราะภายนอกแบบเดียวกับ MG (ปัญหาของซีรีส์นี้จะมีกับนักเล่นกันพลาสูงวัยเพราะ ชิ้นส่วนเล็กและยิบย่อยเหลือเกิน) อีกซีรีส์เป็นไซส์ยักษ์ สเกล 1/48 เป็นซีรีส์ Mega Size ที่มีจุดเด่นคือการแกะพาร์ตออกจากเกทที่ง่ายมากๆ แบบไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย หรือการพับเกทเพื่อประกบชิ้นส่วน

โดยทั้งสองไลน์เปิดด้วย RX-78-2 ที่ใช้ต้นแบบจากตัวเท่าจริง และในปีนี้เช่นกัน ที่ไลน์ HGUC แตกไปออกโมเดลจากซีรีส์ในจักรวาลอื่นของกันดั้ม กลายเป็น High Grade After Colony (HGAC) ภาค Wing, High Grade After War (HGAW) ภาค Gundam X, High Grade Future Century (HGFC) ภาค G-Gundam, High Grade Correct Century (HGCC) ของ Turn A และ High Grade Cosmic Era (HGCE) ของถาค Gundam Seed และ Seed Destiny (และถึงบนกล่องจะเขียนสเกล 1/144 แต่โมจริงๆ มีสเกลประมาณ 1/132 มากกว่า) ปีนี้บันไดยังผลิตกันพลาจากพลาสติครีไซเคิลโดยใช้แม่พิมพ์จาก HGUC และ SD Gundam ออกมาเป็นโมสีดำในชื่อ Ecopla

ExpandHG
ExpandHG
Gundam Marker

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1192572
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.7 วิวัฒนาการ Gunpla https://positioningmag.com/1191600 Sun, 07 Oct 2018 12:08:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1191600 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Bandai Ep.7

ถ้าถามว่าทำไมกันพลาถึงอยู่ยั้งยืนยงมาจนปัจจุบัน จนเกือบจะมีการวางตลาดต่อเนี่องมาเกือบจะครบ 40 ปีในอีก 2 ปีข้างหน้าแล้ว ก็คงต้องตอบว่ามีหลายปัจจัย หนึ่งคือ กันพลา นั้นมีวิวัฒนาการ 

ถ้าได้เคยสัมผัสกันพลาตัวแรก กันดั้ม 1/144 ราคา 300 เยน แล้วลองมาดูในสเกลเดียวกัน อย่าง HG หรือ RG คุณจะเข้าใจ กันพลาในจุดเริ่มต้น ก็ไม่ได้แตกต่างจากอนิเมะโมเดลทั่วไปในยุคนั้นสักเท่าไร จุดขยับที่จำกัด สีเมื่อต่อเสร็จมีเพียงสีเดียวหรือ 2 สี เวลาต่อก็ต้องทากาวประกบจุดขยับก็ใช้เสียบพลาสติกเข้ากันเพียวๆ ถ้าขยับมากๆ นานเข้าก็จะหลวมโพสท่าไม่อยู่

แต่มันก็มีวิวัฒนาการ เริ่มจากระบบ Polycaps ซึ่งเป็นพลาสติกโพลีเอสทีรินที่มีความยืดหยุ่นและทนทานต่อการเสียดสีสูงกว่าพลาสติกที่ใช้ทำโมเดลทำให้มันมีอายุที่ทนนานกว่า และทำให้สามารถโพสท่าได้แข็งแรงกว่าเดิมแม้จะมีการขยับบ่อย ถ้าจำไม่ผิดกันพลาตัวแรกที่เอาระบบนี้มาใช้คือเพอร์เฟคท์กันดั้ม

หลังจากที่โมจากหนังหุ่นอีกเรื่องคือ Vifam ทดลองใช้ระบบนี้เป็นเรื่องแรก ก่อนที่กันพลาในซีรี่ส์ Z-Gundam จะใช้ระบบนี้เป็นมาตรฐาน และพัฒนาเจ้านี่เป็นระบบ Joint ที่พัฒนาจากแค่ห่วงทรงกลมที่มีรูตรงกลาง เป็นมีรูปร่างต่างๆ มากมาย

ในส่วนของรูปร่างกันพลาก็มีการพัฒนาให้สะโอดสะองสวยงามขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือ” ที่เป็นปัญหาใหญ่เพราะจะทำกำตันๆ ก็ไม่ได้ ต้องมีช่องว่างเพื่อใส่และถอดเปลี่ยนอาวุธได้ เป็นมีมือที่สวยงามขึ้น มีหลายแบบให้ถอดเปลี่ยนได้

กันพลาซีรี่ส์ Char’s Counter Attack เริ่มฉีดหลายสี

สีสันก็มีเพิ่มขึ้นจาก 1-2 สี แต่ก็ติดปัญหาที่จำนวนแผง เพราะ 1 แผงฉีดได้ 1 สี จะซอยย่อยตามสีสันของหุ่นค่าแม่พิมพ์คงไม่ไหว ในที่สุดบันไดก็คิดวิธีฉีด แผงโม 1 แผง ให้มีหลายสีได้สำเร็จ และใช้มันในการผลิตกันพลาในชุด Char‘s Counter Attack เป็นครั้งแรก ทำให้แก้ปัญหาข้อจำกัดเรื่องสีจากจำนวนแผงหมดไป และสามารถออกแบบกันพลาที่มีลูกเล่นสลับสีได้มากยิ่งขึ้น

ซีรี่ส์ Gundam Sentinel เริ่มต้นใช้ สแน็ปฟิท

กันพลาในชุดนี้เช่นกันที่บันไดหาทางแก้ไขปัญหาอีกข้อ คือการใช้กาวในการต่อ อย่างที่รู้ๆ กันกาวในการเชื่อมต่อพลาสติก อาจทำให้เสพติดได้ บันไดทดลองใช้น็อตยึดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันแทนกาว ก่อนที่จะพัฒนาเป็น Snap-Fit ในซีรีส์ที่ออกตามมา Gundam Sentinel ที่คราวนี้แค่คุณบีบขิ้นส่วนเข้าหากันให้แน่น มันก็จะติดสนิทโดยไม่ต้องใช้อะไรช่วยยึดอีกแล้ว

HG ตัวแรก Gundam RX-78-2

ก้าวกระโดดที่สำคัญคือการเปิดตัว HG (High Grade) ฉลอง 10 ปีกันพลา ที่งานนี้บันไดจัดเต็ม เป็นการตั้งมาตรฐานใหม่ของกันพลา เป็นไลน์ที่มีคุณภาพสูงในสเกล 1/144 โดยออกมาเพียง 4 แบบ เฉพาะกันดั้มที่มีอนิเมะ คือ RX-78 , กันดั้ม มาร์คทูเซต้า กันดั้ม และกันดั้ม ดับเบิ้ล เซต้า บันไดออกแบบจอยท์แบบใหม่ เรียกว่า MS. Joint มาใช้กับซีรีส์นี้ ตัวกันดั้ม มีคอร์ไฟท์เตอร์ในตัวในสเกล 1/144 เป็นครั้งแรก มีการแก้แบบจากอนิเมะ จากถือโล่ด้วยมือ เป็นโล่ติดแขน เซต้า และดับเบิ้ลแปลงร่างได้ด้วย แถมคู่มือใบต่อ พิมพ์เป็นเล่มอีกด้วย และนับแต่นั้นมากันพลาก็เริ่มต้นสู่ยุคแห่งการแบ่งเกรดสินค้าออกเป็นหลายระดับ ก่อนที่จะมีเกรดอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามมาในเวลาต่อมา

ยังมีสินค้ากันพลาอีกชุดที่เกิดขึ้นในกลางยุค 80 นั่นคือ SD Gundam โดย SD ย่อมาจาก Super Deformed โดยที่มาของการเอากันดั้ม และตัวละครมาย่อส่วนนั้น ว่ากันว่ามาจากภาพวาดที่แฟนกันดั้ม นักเรียนจากนาโงย่า ชื่อ โคจิ โยโคอิ เขียนส่งมาลงนิตยสาร Model News ของบันได แล้วโดนใจบรรณาธิการ จนได้เอาตัวละครเหล่านี้ไปเขียนการ์ตูนช่องลงในนิตยสารเล่มนี้แล้วได้รับความนิยม 

แต่มีอีกด้านหนึ่งเล่าว่าบันไดผลักดันคาแร็กเตอร์แบบย่อส่วนมารับมือกับ Choro Q Dougram ของบริษัทคู่แข่งอย่างทาการ่า ที่ย่อส่วนตัวละครจากอนิเมะหุ่นดังอีกเรื่อง Dougram (ที่เนื้อหาซีเรียสมากมาเป็นอนิเมะสั้นแล้วได้รับความนิยม อันนี้ก็เล่าสู่กันฟังเฉยๆ ครับไม่ยืนยันว่าจริงแท้ 100%

SD Gundam ตัวแรก ในชุด BB Senshi

เริ่มต้น SD Gundam ไม่ได้ออกเป็นพลาโมหรอกครับ แต่ออกเป็น “ตุ๊กตุ่น” ใส่ไข่ขายผ่านตู้กาชาปอง ข้างใต้มีรู เสียบด้ามดินสอได้ แล้วได้รับความนิยมจนขยายไปทำเกมบนเครื่องแฟมิคอม มังงะ และกลายเป็นโมเดลในที่สุด โดยเริ่มวางตลาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 1987 ในชื่อชุด BB Senshi ที่มีลูกเล่นคือสามารถยิงกระสุน BB ได้ แล้วได้รับความนิยม จนแตกลูกแตกหลานไปอีกหลายซีรีส์ ไม่รวมกับที่แต่งเรื่องเพิ่มเติม เป็นมุชา, สามก๊ก ,ไนท์กันดั้มและอื่นๆ อีก

ช่วงปลายยุค 80 ต่อต้น 90 SD Gundam ได้รับความนิยมอย่างสูง จนเพิ่มยอดขายกันพลาอย่างมหาศาล (ช่วงนั้นมีบันทึกว่าบันไดขายกันพลาได้กว่า 120 ล้านชุด ขณะที่ประชากรญี่ปุ่นมี 120 ล้านคน) ขนาดว่าเทียบยอดกัน SD ทำยอดได้มากกว่า กันดั้มเรียลสเกลกันเลยทีเดียว.

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1191600
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.6 ที่มา Gunpla จุดกำเนิด Gundam https://positioningmag.com/1191559 Sat, 06 Oct 2018 05:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1191559 ครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Bandai Ep.6

กันพลาตัวแรก

ปี ค.ศ. 1980 บันไดประกาศจะออกพลาสติกโมเดลของอนิเมะซีรีส์ ที่เมื่ออกฉายครั้งแรกมีเรตติ้งต่ำมาก เนื้อหาซับซ้อน สงครามระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองแม้ฝ่ายหนึ่งจะอยู่บนโลกและอีกฝ่ายจะอยู่บนอวกาศ หุ่นฝ่ายตรงข้ามก็หน้าตาซ้ำเดิมออกมาทุกอาทิตย์ แถมมาทีละหลายๆ ตัว ไม่มาทีละตัวเหมือนซีรีส์อื่นๆ

แต่เพราะความแตกต่างนี่เองที่ทำให้เกิดกระแสขึ้นมาอย่างช้าๆ จนเมื่อฉายจบก็มีเสียงเรียกร้องให้เอากลับมาฉายอีกรอบทันทีหลังจากหนังเพิ่งจบไปทั้งจากคนที่ดูแล้วและยังไม่ได้ดู โปรดอย่าลืมว่านั่นคือโลกที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตช่วยสร้างกระแส และไม่มียูทิวป์ให้คุณดูรายการย้อนหลัง อนิเมะเรื่องนั้นก็คือ กันดั้ม อนิเมะหุ่นยนต์ที่จะนำการ์ตูนหุ่นยนต์สู่เส้นทางใหม่ และจะจุดกระแสอนิเมะหุ่นยนต์บูมขึ้นมาในญี่ปุ่นทศวรรษ 1980

อันที่จริงการออกพลาสติกโมเดลของบันไดก็เหมือนการแก้เกม เมื่อเรื่องเริ่มมีกระแส แต่ไลน์หุ่นเหล็กที่บันไดถนัดก็ตกไปเป็นสิทธิ์ของบริษัทอื่นไปแล้ว (Clover) เพื่อไม่ให้ตกกระแส บันไดต้องหาทางออกโปรดักต์อะไรสักอย่าง ทางเลือกที่ออกมาคือพลาสติกโมเดล แต่คราวนี้บันไดเพิ่มอีกมิติที่ไม่เคยมีมาก่อนในสินค้าพลาสติกโมเดลจากอนิเมะ มันก็คือการให้ความสำคัญกับสเกล” ที่เป็นมาตรฐาน

จากก่อนหน้านี้เมื่อออกโมเดลจากอนิเมะ ขนาดของโมเดลถูกจำกัดอยู่ที่กล่อง คือตัวใหญ่เล็กไม่รู้จะออกมาในกล่องไซล์ไล่เลี่ยกัน เช่นเรื่อง A หุ่น A สูง 20 หุ่น B สูง 50 แต่ออกของมาตัวจะพอๆ กัน สเกลตัวแรกอาจเป็น 1/100 ตัวที่สองเป็น 1/200 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คราวนี้บันไดจะให้หุ่นเกือบทุกตัวออกมาในสเกลเดียวกัน คือ 1/144 ซึ่งสร้างความแตกต่างและช่วยขยายตลาดให้ลูกค้าที่เล่นโมเดลแบบเหมือนจริง (สเกลโมเดลได้ด้วย

ซีรี่ส์ Mecha Collection ที่รวมกันพลาชุดแรกไว้ จะเห็นว่ามีเรื่องอื่นๆรวมอยู่ด้วย ขออถัยที่ภาพไม่ชัดไว้จะเปลี่ยนเป็นภาพสแกนให้ครับ

โมเดลชุดนี้ไปต่อกับตัวอื่นในซีรีส เมก้าคอลเลกชั่นจะเห็นว่ากันดั้มโผล่มาเป็นเบอร์สี่เลย สามตัวก่อนหน้านั้นคือ หุ่นมนุษย์ไฟฟ้าก็อดซิกม่า และกอร์เดี้ยน ตามลำดับ ระหว่างออกก็ยังมีเรื่องอื่นๆ มาแทรกเป็นระยะๆ ทั้งยอดมนุษย์และไอ้มดแดง

บันไดเองก็ไม่ได้มั่นใจว่าพลาสติกโมเดลของกันดั้มจะไปได้แค่ไหน แต่กันดั้มก็ยังขายดีจนบันไดขนมาเท่าไหร่ก็ขายหมดเกลี้ยง ไม่ว่าหุ่นตัวประกอบระดับไหน หรือแม้กระทั่งยานในเรื่อง จนหมดเกลี้ยง และขยายออกสเกลใหญ่ 1/100 ก็ยังไม่สาแก่ใจแฟนๆ ที่ให้ชื่อสินค้าชุดนี้ว่ากันพลาอันมาจากคำว่า Gundam Plastic Model นั่นเอง

Real Type

เพื่อสนองความต้องการของตลาดบันไดหันกลับไปหาคนออกแบบแม็กคานิกส์ในเรื่อง โอคาวาระ คุนิโอะ ให้ช่วยออกสีสันและลวดลายใหม่ให้หุ่นในเรื่อง ออกมาเป็นหุ่นที่มีสีสันและลวดลายที่แตกต่างออกไปจากเดิม แม้หน้าตาจะเหมือนเดิมในชื่อ Real Type (งานย้อมครั้งแรกๆ ของกันดั้มก่อนจะตามมาด้วยหุ่นในเรื่องแบบที่ไม่เคยออกในเรื่องมาก่อนในชื่อ MSV (Mobile Suit Variation) ที่บันไดเสริมพลังการขายด้วยคอมิคขายของแบบเนียนๆ (ที่กลายเป็นตำนานไปแล้วอย่าง พลาโม เคียวชิโร่ (ชื่อไทยคือ อัศวิน สมองกล) เรื่องของเจ้าหนูเคียวตะ ชิโร่ที่ต่อหุ่นมาประลองกับเพื่อน (คอนเซ็ปต์ที่บันไดยังใช้มาจนทุกวันนี้ในซีรีส์ Build ทั้งหลาย) ผ่านเครื่องซูมิเลชั่น ที่โด่งดังจน หุ่นออริจินอลในเรื่องถูกนำมาผลิดเป็นโมให้คนอ่านได้ซื้อไปเล่นกันอย่าง Perfect Gundam และ Perfect Zeong

พลาโมเคียวชิโร่
พลาโมเคียวชิโร่

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของกันพลาบูม ที่ทำให้กันดั้มกลายเป็นสินค้าอมตะนิรันดร์กาลมาจนทุกวันนี้ ซีรีส์ MSV นี้ช่วยยืดระยะการขายของกันพลาให้ยืดยาวต่อมาจนกระทั่งการมาถึงของภาคต่อของกันดั้ม นั่นก็คือ Z-Gundam หลังจากนั้นเราก็มีกันพลาให้เล่นมาตลอดตราบจนทุกวันนี้.

MSV
MSV
MSV
Perfect Gundam & Perfect Zeong ออริจินอลโมบิลสูทจากพลาโมเคียวชิโร่ และยังมีมุฉะกันดั้มอีก

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1191559
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.5 ต้นกำเนิด Plastic Model https://positioningmag.com/1191365 Fri, 05 Oct 2018 09:00:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1191365 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Bandai Ep.5

วิวัฒนาการโลโก้บันได
โลโก้บนกล่องโมยุค 80

ตั้งแต่ปี 1967 บันไดได้เปลี่ยนโลโก้เป็นรูปเด็กที่เรียกว่า Bandai Baby ที่จะพัฒนามาเป็นโลโก้ที่หลายคนคงคุ้นกัน (ถ้าชราหน่อย) เด็กกางแขนอย่างที่เห็นในโมกันดั้มยุคแรกๆ ของบันได

บันได เริ่มแบบจำลองพลาสติก หรือ Plastic Model ขึ้นมาในโลกเมื่อปี 1936 โดยผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เป็นเพนกวินขนาด 1/72

พลาสติกโมเดลชิ้นแรกของญี่ปุ่น นอติลุส

ส่วนในญี่ปุ่นบริษัทที่ผลิตพลาสติกโมเดลเป็นเจ้าแรกคือ Maru-San ในปี 1958 โดยเป็นโมเดลของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ “นอติลุส” 

โมเดลในช่วงแรกๆ นั้นไม่เน้นความถูกต้องของสเกล แต่มีลูกเล่นพวกถอดล้อหรือติดมอเตอร์มากกว่าเพราะผู้ผลิตโมเดลนั้นก็คือผู้ผลิตของเล่นที่หันมาเปิดไลน์สินค้าใหม่นั่นเอง

โดยสินค้าพลาสติกโมเดลก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากหลังจากออกวางจำหน่าย (น่าจะเป็นเพราะราคาที่ถูกลง เพราะปัญหาที่ผู้ผลิตของเล่นญี่ปุ่นเจอคือการขนส่งที่ยากลำบาก และโรงงานไม่พร้อม ต้องจ้างแรงงานทำกันตามบ้าน การออกเป็นโมเดลให้ไปทำเองช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ได้มาก)

พอถึงยุค 60 ตลาดพลาสติกโมเดลยิ่งเติบโตในปี 1967 บันไดจึงวางแผนจะผลิตสินค้าพลาสติกโมเดล และได้ตั้งโรงงานผลิตสินค้าประเภทนี้ขึ้นที่เมืองชิสุโอกะในปี 1969

อนิเมะโมเดลชิ้นแรกของญี่ปุ่นจากอิมาอิ หุ่นเหล็กหมายเลข 28
ธันเดอร์เบิร์ด 2 นี่แหละที่อิมาอิจ้างบันไดผลิต

แล้วก็เหมือนโชคชะตาฟ้าบันดาลให้ Imai บริษัทผลิตพลาสติกโมเดลที่ชำนาญการผลิตโมเดลจากคาแร็กเตอร์ (เพราะทำมาตั้งแต่หุ่นเหล็กหมายเลข 28 แล้ว) ประสบปัญหาไม่สามารถผลิตโมเดลจากซีรีส์หนังหุ่นกระบอกสุดฮิตอย่าง Thunderbird ไม่ทัน ต้องมาว่าจ้างบันไดผลิตตัวรีโปรดักต์ให้ เปิดทางให้บันไดได้เข้าถึงตลาดพลาสติกโมเดลจากคาแร็กเตอร์ได้รับรู้ว่าตลาดนี้ดีแค่ไหน ทั้งๆ ที่บันไดเองไม่เคยคิดจะทำตลาดพลาโมจากคาแร็กเตอร์เลย (ขออนุญาตใช้คำญี่ปุ่นนิดมันพิมพ์ง่ายดี)

ปัจจุบัน Imai โดน Aoshima บริษัทผลิตโมเดลอีกแห่งเทคโอเวอร์ไปแล้ว สินค้าเด่นๆ ของ Imai ที่แฟนโมเก่าๆ เคยเห็นกันก็คือ มาครอสภาคแรก ที่ต่อมาแม่พิมพ์โมเดลชุดนี้ก็ถูกบันไดซื้อไปผลิตออกมาขายใหม่

การเข้าสู่ตลาดพลาสติกของบันไดประสบความสำเร็จจนในปี 1971 ปีเดียวที่เปิดบริษัท ป็อปปี้ที่ได้เล่าไปก่อนหน้านี้แล้ว บันไดก็เปิดบริษัทลูก Bandai Models ขึ้นมาเพื่อดูแลในส่วนนี้โดยเฉพาะ

Image Model ของเรือรบอวกาศยามาโต้

โดยพลาโมในช่วงแรกของบันได ก็ยังมีลักษณะเหมือนกับที่เจ้าอื่นทำกันในช่วงนั้น คือไม่ได้ให้ความสนใจใน ”สเกล” มากนัก แต่เน้นไปที่ลูกเล่นมากกว่ารายละเอียดก็ค่อนข้างน้อย จนกระทั่งปี 1978 เมื่ออนิเมชั่นชุด ”เรือรบอวกาศยามาโต้” ออกฉายและประสบความสำเร็จอย่างสูง บันไดก็หันมาสนใจในเรื่องสัดส่วนและสเกลมากขึ้น ด้วยการออกพลาโมในซีรีส์ “Mecha Collection“ ออกมา ที่จะเน้นที่รายละเอียดด้านรูปร่างและขนาดให้เหมือนกับในการ์ตูนมากที่สุด ทุกวันนี้บันไดก็ยังออกสินค้าในซีรีส์นี้ออกมาเรื่อยๆ แต่เป็นรูปแบบยานขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่

Image Model ของรถไฟอวกาศ 999 โปรดสังเกตขบวนรถไฟเป็นเพอร์สเปกทีฟ

และระหว่างที่ออกสินค้าในชุดนี้อยู่นั่นเองที่จะเกิดตัวเปลี่ยนเกมขึ้นมาเมื่อบันไดตัดสินใจออกพลาสติกโมเดลของอนิเมะซีรีส์ที่ถูกตัดจบเนื่องจากเรตติ้งต่ำเหลือเกินเรื่อง Kido Senshi Gundam.

Mecha Collection จากเรือรบอวกาศยามาโต้
Mecha Collection จากเรือรบอวกาศยามาโต้
Mecha Collection จากเรือรบอวกาศยามาโต้
Mecha Collection จากเรือรบอวกาศยามาโต้

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1191365
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep. 4 ต้นกำเนิดหุ่นเหล็ก Chogokin https://positioningmag.com/1190332 Sun, 30 Sep 2018 11:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1190332 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของ บันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Bandai Ep.4

หุ่นเหล็ก Chogokin

โลโก้ Chogokin

สินค้าที่เป็นเหมือนลายเซ็นของบริษัทนี้ก็คือ “หุ่นเหล็ก” (หรือชื่อในภาษาญี่ปุ่นคือ Chogokin ชื่อนี้มาจากโลหะที่ใช้ผลิตหุ่นยนต์ในอนิเมะยอดนิยมที่เป็นจุดเริ่มต้นของสินค้าไลน์นี้อย่างหุ่นยนต์ Z ที่เป็นอนิเมะสุดฮิตในยุค 70 ที่เปิดกระแสอนิเมะหุ่นยนต์บูม) โดยเป็นสินค้าที่นำเอาตัวละครไม่ว่าจะเป็นตัวฮีโร่ หรือหุ่นยนต์ หรือยานยนต์ต่างๆ มาผลิตเป็นหุ่นโลหะที่มีลูกเล่นอย่างการยิงหมัดหรือจรวดออกจากตัว เริ่มแรกก็เป็นแค่ตัวหุ่นตัวเดียว (ขนาดประมาณ 5 นิ้ว เรียกว่า ST หรือ Standard) ก่อนที่จะพัฒนาเป็นหุ่นแยกร่างประกอบร่างตามที่ทำได้ในหนัง (มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า DX หรือ Deluxe) Chogokin ตัวแรก มาชินก้า Z ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมอีกด้วย

เหล่า Chogokin
เหล่า Chogokin

สินค้าในไลน์นี้ฮิตมากและถือได้ว่าเป็นของเล่นในฝันสำหรับเด็กๆ ยุค 70 ถึงต้น 80 เกือบทุกคน และทำลายความเชื่อที่มีมาก่อนว่าของเล่นเหล็กที่ทำเป็นรูปตัวคนนั้นขายไม่ได้ แต่นี่ขายได้และขายดีด้วยจนมีผู้ผลิตสินค้าในรูปแบบนี้เจ้าอื่นตามมาอีก

จัมโบ้แมชชีนเดอร์

เมื่อสินค้านี้จับกลุ่มเด็กชายได้อยู่หม้ด ป๊อปปี้ก็แตกไลน์ผลิตหุ่นไวนีลขนาดยักษ์ โดยมีส่วนประกอบของโลหะน้อยมากออกมาอีกด้วย ในชื่อ “จัมโบ้ แมชชีนเดอร์” ที่ก็ประสบความสำเร็จไม่น้อยเช่นกัน

หุ่นเหล็กไดโอจาจาก clover ที่ออกมาแข่งกับ popy ในช่วงนั้น

และในช่วงปลายยุค 70 ที่ ”หุ่นเหล็ก” กำลังฮิต บันไดก็ได้เปิดบริษัทสาขาในต่างประเทศเป็นแห่งแรกคือ Bandai (H.K.) Ltd. ในปี 1976 ที่ฮ่องกง และตามด้วย Bandai Americaในปี 1978 เพื่อดูแลตลาดในประเทศและภูมิภาคนั้นๆ

Shogun Warrior

โชโกคินมีการส่งออกไปจำหน่ายในอเมริกาด้วยผ่าน 2 บริษัท คือ แมทเทลในชื่อ Shogun Warrior (ส่วนนี้มีจัมโบ้ แมชชีนเดอร์พ่วงไปด้วย) และโดย Bandai America ในชื่อ Godaikin

Popy จะอยู่มาจนถึงปี 1983 ก่อนจะยุบรวมกลับไปอยู่กับบันได

เครื่องเล่นเกมตีตัวตุ่น

นอกจากความสำเร็จของบริษัทลูกตัวบริษัทแม่ก็มีสินค้าขายดีหลายตัวในยุค 70 เช่น เกมตีตัวตุ่น ที่เป็นเกมที่คอยทุบหัวตัวตุ่นที่โผล่มาจากรูขึ้นมา ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีวางขายและเล่นกันอยู่, LSI เบสบอล ที่เป็นเกมอิเล็กทรอนิกส์เกมแรกที่บันไดผลิต และยังเป็นจุดเริ่มต้นของตู้ไขไข่ กาชาปองด้วย.

เครื่องเล่นเกม LSI Baseball
ตู้กาชาปอง

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1190332
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep. 3 ตั้งบริษัทลูก Popy https://positioningmag.com/1190322 Sat, 29 Sep 2018 12:21:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1190322 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของ บันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

Ep. 3

โลโก้ Popy

ในเดือนกรกฎาคม ปี 1971บันไดได้ตั้งบริษัทลูกชื่อ ”Popy” ขึ้นมา เพื่อดูแลกิจการในสวนของของเล่นที่ไม่ได้วางขายในร้านของเล่น เช่น ของเล่นแถมขนม หรือ “Candy Toy” การตั้งบริษัทนี้สะท้อนแนวทางการทำธุรกิจของบริษัทที่จะตั้งบริษัทลูก หรือไลน์ย่อยมารับผิดชอบสินค้าเป็นแนวๆ ไป หรืองานด้านต่างๆ เช่นการจัดจำหน่ายสินค้าไปต่างประเทศ และการขนส่ง เป็นต้น 

Captain Scarlet

แต่หลังจากความล้มเหลวของ Captain Scarlet หนังหุ่นเชิดราคาแพงโดยผู้สร้างเดียวกับ Thunderbirds ที่โด่งดังจากประเทศอังกฤษ นาโอฮารุก็เห็นว่าการให้บริษัทแม่ดูแลของเล่นจากคาแร็กเตอร์นั่นเสี่ยงเกินไป จึงมอบหน้าที่นี้ให้ป๊อปปี้เป็นบริษัทที่ดูแลการผลิตสินค้าจากคาแร็กเตอร์ที่บันไดได้สิทธิ์มาทั้งจากหนังคนแสดงแปลงร่าง (Tokusatsu), Anime และมังงะ แต่ยังคงหน้าที่ผลิตของเล่นบางชนิดเช่น โมเดลที่บันไดแข็งแรงมากแล้วไว้กับบริษัทแม่ (เราจะพูดถึงเรื่องนี้กันต่อไปครับ)

Henshin Belt และรถมอเตอร์ไซค์ของ มดแดง1 และ V3

สินค้าฮิตตัวแรกของป๊อปปี้ คือ เข็มขัดแปลงร่าง (Henshin Belt) อุปกรณ์ที่ใช้แปลงร่างของเหล่าไอ้มดแดงที่ทางบริษัทผลิตขึ้นหลังจากที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ซื้อของเล่นชิ้นนี้ไปให้ลูกชายของเขา แล้วลูกชายเขาบอกว่าไม่ชอบ เพราะมันไม่หมุนและมีแสงเสียงเหมือนกับที่เห็นในทีวี ทำให้เขาตัดสินใจผลิตเข็มขัดแบบนี้ออกมาให้ทำงานได้เหมือนในหนังทีวีออกมา แม้ราคาจะสูงกว่าของคู่แข่งมากก็ตาม (ป๊อปปี้ขายสินค้าตัวนี้ที่ 1500 เยน ขณะที่ของทาคาโตกุขายที่ 500 เยน) แต่สินค้าตัวนี้ก็ยังขายดิบขายดี (ทำยอดขายกว่า 3.8 ล้านชิ้นในเวลาแค่ 2 ปี) จนบริษัทขยายไปผลิตยวดยานพาหนะจำลองที่เหล่าฮีโร่ใช้ในเรื่องจากโลหะและไวนีลในชื่อชุดว่าโปปี้นิก้าที่ก็ขายดิบขายดีอีกเช่นกัน 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1190322
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep2 สปอนเซอร์รายการทีวีอนิเมะ สู่ของเล่นจากซีรีส์ยอดฮิต https://positioningmag.com/1190000 Thu, 27 Sep 2018 09:36:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1190000 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของ บันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้ 

Bandai Ep.2

ก่อนจะเดินหน้ากันต่อไปขอย้อนกลับไปในช่วงยุค 50 สักเล็กน้อย คุณนาโอฮารุ ผู้ก่อตั้ง จริงจังกับงานนี้มาก เขาเปิดฝ่ายพัฒนาสินค้าใหม่ สร้างโกดัง ทำการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศตั้งแต่ช่วงนี้แล้ว และในช่วงนี้แหละที่เขาออกโลโก้แรกของบริษัท ในนาม BC (หมายถึง Bandai Company ตามชื่อญี่ปุ่นในตอนนั้นคือ Bandai-Ya) และมีการออกโฆษณาทางทีวีที่มีเนื้อหาว่าเครื่องหมาย BC เครื่องหมายที่รับประกันคุณภาพ

เมื่อพูดถึงทีวี ก็นำเราไปสู่ก้าวต่อไปของบันได ที่จะกลายเป็นแนวทางการผลิตสินค้าของบริษัทต่อมาจนปัจจุบัน นั่นก็คือสินค้าที่อิงกับเหล่าตัวละคร เพราะถ้าเป็นแค่รถธรรมดาทั่วๆ ไป มันก็ไม่มีความโดดเด่น หรือสตอรี่ของตัวเอง แต่ถ้าเป็นรถของตัวละครมันก็จะแตกต่าง และตัวละครนั้นๆ ก็มีเรื่องราว มีสื่ออื่นๆ ที่จะช่วยโปรโมตขายสินค้าด้วย

ของเล่นสังกะสี อะตอม รุ่นดั้งดิมของบันได

บันไดเริ่มเข้ามาผูกพันกับ คาแร็กเตอร์ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของทีวีอนิเมะของญี่ปุ่น ด้วยการเป็นสปอนเซอร์รายการ แลกกับเวลาโฆษณาสินค้าที่ผลิตจากทีวีอนิเมะซีรีส์แรกของญี่ปุ่นอย่างอะตอม เจ้าหนูปรมาณู” ของปรมาจารย์นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่นอย่างโอซามุ เท็ตสึกะ ที่ออกฉายในปี 1963

ก่อนที่จะไปประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยการเป็นผู้อุปถัมภ์หลักของทีวีซีรีส์ แนวฮีโร่แปลงร่างอมตะอีกชุดอย่างอุลตร้าแมนที่เอย์ยิ สึบุราญ่า ผู้สร้างสัตว์ประหลาดอมตะอย่าง “ก็อตซิล่า” สร้างออกฉายทางทีวี (หลังจากผลิตหนังสัตว์ประหลาดแต่ไม่มีฮีโร่มาพักใหญ่) และก็ผูกพันกับทางสึบุราญ่าโปรดักชั่น ผู้ผลิตซีรีส์นี้มาตั้งแต่นั้น และบันไดก็พบว่าการออกของเล่นที่ผูกกับรายการทีวีสำหรับเด็กนี่แหละที่เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผลที่สุด

ของเล่น “ฟลิปเปอร์”จากบันได

หนึ่งในสินค้าจากคาแร็กเตอร์ที่โด่งดังมากในช่วงแรกๆ นี้คือของเล่นที่สร้างมาจากซีรีส์ยอดฮิตจากอเมริกายุค 60 เรื่อง Flipper ที่เคยมาฉายในเมืองไทยในชื่อโลมาเพื่อนรัก ซึ่งเป็นเรื่องของเด็กชายกับปลาโลมาแสนรู้ ของเล่นชุดนี้ไปได้รางวัลในงานแสดงสินค้าที่นิวยอร์กด้วย มันคือปลาไขลานที่ว่ายน้ำได้ บันไดผลิตสินค้าออกมาหลายอย่างด้วยกัน 

ของเล่นสำหรับเล่นในน้ำนี้ถือว่าเป็นหมวดหมู่ที่ทำรายได้ดีมากในช่วงยุคโชวะ เพราะช่วงนั้นบ้านในญี่ปุ่นยังมีห้องอาบน้ำใช้กันน้อย ประชาชนแม้แต่ในโตเกียวก็ยังพึ่งพาโรงอาบน้ำทำให้ที่นั่นเหมือนสนามเด็กเล่นของเด็กๆ ที่มาอาบน้ำกับครอบครัว

Crazy Foam ของบันได

เมื่อเด็กๆ มาชุมนุมกันก็ไม่แปลกที่จะมีการเอาของเล่นมาเล่นมาอวดกัน นั่นนำไปสู่ของเล่นอีกชุดที่ขายดีของบันไดคือ Crazy Foam อันนี้เป็นโฟมอาบน้ำที่มีจำหน่ายในอเมริกาด้วย เป็นโฟมอาบน้ำที่ข้นเหนียวคล้ายครีมโกนหนวดมาในบรรจุภัณฑ์ลายต่างๆ สามารถทำยอดขายได้ถีง 2.4 ล้านชิ้นในเวลาเพียง 3 เดือน

ชุดรถแข่งของบันได

สินค้าของบันไดที่ได้รับความนิยมในยุค 60 นี้ก็มี ขุดรถแข่งบังคับ ที่เป็นรางแข่งเอารถวางแล้วมีรีโมตบังคับ ที่เด็กรุ่นเก่าๆ (แปลว่าคนแก่ๆคงจะพอนึกออก.

ที่มา : https://www.facebook.com/pages/category/Magazine/Power-Up-Mag-279183085751638/


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1190000
เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” บิ๊กธุรกิจของเล่นรายใหญ่ในญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1189769 Wed, 26 Sep 2018 07:05:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1189769 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้ 

Ep1

ยามาชินะ นาโอฮารุ ผู้ก่อตั้งบันได

เรื่องราวของบันไดเริ่มขึ้นเมื่อทหารผ่านศึกผู้เสียตาไปข้างหนึ่งเพราะสงคราม ชื่อ นาโอฮารุ ยามาชินะ เขาเป็นลูกชายของพ่อค้าข้าวในจังวัดคานาซาว่า ที่มาช่วยงานขายส่งผ้าให้พี่เขย เขารู้สึกว่าธุรกิจนี้คงจะไม่รุ่ง และได้ข้อมูลจากเพื่อนบ้านว่าธุรกิจของเล่นดูจะมีอนาคตดี เพราะช่วงหลังสงครามโลกในญี่ปุ่นมีเด็กเยอะแต่ไม่ค่อยมีของเล่น จึงขอทุนจากพี่เขยไปเริ่มธุรกิจจัดจำหน่ายของเล่นที่โตเกียว เมื่อปี 1947 และมันก็ดีจริง เพราะถึงเดือนกรกฎาคม ปี 1950 เขาก็ขอซื้อกิจการที่ก่อตั้งด้วยเงินที่ยืมมาจากพี่เขย มาก่อตั้งเป็นบริษัทของเล่นของตัวเองได้ และเปลี่ยนชื่อเป็น “Bandai-Ya” (ที่ต่อมาจะถูกตัดสั้นเหลือแค่ ”บันได” ในปี 1961) ที่เอามาจากคำในภาษาจีนที่ว่า “สิ่งที่จะคงอยู่ชั่วนิรันดร์”

คำอธิบายวิธีเล่นริธึ่มบอล สินค้าชิ้นแรดใต้แบรนด์บันได

ก้าวต่อไปของนาโอฮารุหลังจากที่บันไดเป็นของเขาแล้วอย่างเต็มตัวคือการ ”ผลิตสินค้าของตัวไม่ใช่แค่จัดจำหน่าย” บันไดออกสินค้าตัวแรกเป็นลูกบอลที่มีกระดิ่งอยู่ข้างใน มีชื่อว่า “ริธึ่มบอล” แต่มีปัญหาเรื่องสินค้าเสียเป็นจำนวนมาก เพราะกระบวนการผลิตนั้นยาก แต่ด้วยคุณภาพที่ดีจึงช่วยทำให้ชื่อบันไดเริ่มเป็นที่รู้จัก ก่อนที่จะเพิ่มสินค้าพวกรถและเครื่องบินโลหะตามมาอีก ซึ่งสินค้าในไลน์นี้ก็มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย และรถเหล็กในชุด “รถยนต์ของโลก” นี่แหละที่เป็นสินค้าฮิตในยุคแรกของบันได

เมื่อเข้าสู่ยุค 60 บันไดจะเริ่มการผลิตสินค้าในแนวทางใหม่ ที่บันไดจะยึดเป็นแนวทางผลิตสินค้ามาจนปัจจุบัน การผลิตสินค้าจาก ”คาแร็กเตอร์”

เครื่องบินเหล็ก B-26 สินค้าฮิทชิ้นแรกๆ ของบันได
รถเหล็ก โตโยเป็ท คราวน์ หนึ่งในสินค้าชุด Car of The World
สำนักงานบันไดในปี 1951

ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=770684933268115&id=279183085751638&__tn__=K-R

]]>
1189769