Saturday, April 20, 2024
Home Tags Economics

Tag: Economics

ธุรกิจสิ่งพิมพ์ครึ่งหลังปี’48 : ตลาดในแผ่ว…ตลาดนอกพุ่ง

จากรายงานผลการดำเนินงานของธุรกิจสิ่งพิมพ์ในตลาดหลักทรัพย์ช่วง 6 เดือนแรกปี 2548 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ซึ่งสอดคล้องกับรายได้จากค่าโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ในช่วงครึ่งปีแรกที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าธุรกิจสิ่งพิมพ์ในช่วงครึ่งแรกปี 2548 ยังคงสามารประคองตัวภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง แต่สำหรับสถานการณ์ธุรกิจสิ่งพิมพ์ในช่วงครึ่งปีหลังนั้นตลาดในประเทศไม่สดใสนัก แม้ว่าหลายฝ่ายจะมีการคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจจะขยายตัวดีกว่าช่วงครึ่งปีแรกก็ตาม เนื่องจากราคาน้ำมันยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูง ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ทยอยปรับขึ้น ส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคสิ่งพิมพ์ของประชาชนและภาคธุรกิจในประเทศที่ชะลอตัว ยกเว้นธุรกิจสิ่งพิมพ์ในภาคส่งออกที่คาดว่าจะยังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรก อันเป็นผลจากเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของประเทศสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดที่ไทยมีการรับจ้างพิมพ์งานสิ่งพิมพ์รายใหญ่ของไทยยังคงขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก ในขณะเดียวกันจากการที่ภาครัฐและผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ของไทยได้มีการเร่งขยายตลาดการรับจ้างพิมพ์งานออกไปจากตลาดดั้งเดิม ไปสู่ประเทศที่มีศักยภาพอื่นๆอย่างต่อเนื่องก็ช่วยให้ตลาดรับจ้างพิมพ์งานเพื่อการส่งออกของธุรกิจสิ่งพิมพ์ไทยขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งแรกของปี...

เงินดอลลาร์ฟิต:อุ่นใจเงินทุนไหลเข้า & ดอกเบี้ยยังขาขึ้น

เงินดอลลาร์สหรัฐฯ กระเตื้องสูงขึ้นเป็นลำดับ หลังจากค่าเงินอเมริกันร่วงลงรวดเร็วหวิดทะลุ 1.2450 ดอลลาร์/ยูโร เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ขณะที่เงินเยนญี่ปุ่น ได้รับผลดีจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นโตเกียวคึกคัก ส่วนเงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ มีแนวโน้มสดใส เมื่อธนาคารกลางอังกฤษอาจยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หลังจากที่มีมติลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 4.50% เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำหรับราคาทองคำในตลาดต่างประเทศ คลายความผันผวนลงบ้าง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอ่อนแรงลง ราคาทองคำอยู่ในช่วงซื้อขายประมาณ 441-444 ดอลลาร์/ออนซ์ เทียบกับราคาเฉลี่ย...

ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน : ไทยส่งออกอันดับ 3 ของโลก

ข้าวโพดหวานเป็นสินค้าผักประเภทหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานของไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านราคาและคุณภาพ โดยปัจจุบันไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากฮังการี และสหรัฐฯ ทำให้การปลูกข้าวโพดหวานในประเทศมีการขยายตัวอย่างมาก รองรับกับความต้องการของผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่มีการขยายการลงทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน ตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานโลก…ฮังการีครองแชมป์ ไทยกำลังไล่ตามสหรัฐฯ ฮังการี สหรัฐฯและไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานมากที่สุดในโลก ปัจจุบันฮังการีมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดหวานสดแช่เย็นและแช่แข็งร้อยละ 31.0 ของปริมาณการส่งออกในตลาดโลก และมีสัดส่วนร้อยละ 34.0 สำหรับข้าวโพดหวานแปรรูป โดยสามารถแย่งชิงตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานมาจากสหรัฐฯ...

ไข้หวัดสุกรในจีน : ส่งผลดี…ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์สุกรเพิ่ม

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมจีนแจ้งให้องค์การสุขภาพสัตว์แห่งโลกทราบว่าเชื้อ สเตร็บโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) ระบาดในสุกรในฟาร์ม 8 แห่งที่มณฑลเสฉวนเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งห้องปฏิบัติการทดลองของจีนได้ยืนยันการระบาดของเชื้อดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 และมีสุกรป่วยด้วยโรคติดเชื้อดังกล่าวทั้งหมด 640 ตัว นอกจากนี้จากการตรวจก็ไม่พบเชื้อไว้รัสไข้หวัดนกและเชื้อไวรัสนิปาห์ด้วย ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ทางการของจีนได้ออกมาตรการเข้มงวดในการควบคุมและกักกันสัตว์ รวมทั้งสั่งตรวจสอบและห้ามการเคลื่อนย้ายสัตว์ในพื้นที่เสี่ยงด้วย และขณะนี้จีนกำลังพิจารณาที่จะให้วัคซีนเพื่อควบคุมการระบาด ในวันที่ 8 สิงหาคม 2548 มีรายงานผู้ป่วยจากการติดเชื้อเพิ่มอีก...

นอร์เวย์ห้ามนำเข้าผักสดกินใบจากไทย : ระวังภาพลักษณ์สินค้าไทย

ประเทศนอร์เวย์มีการตรวจพบเชื้ออีโคไลและเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนจากผักที่วางจำหน่ายในตลาดมากถึง 12 ครั้งในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกันไอซ์แลนด์ตรวจพบเชื้ออีโคไล เชื้อซัลโมเนลลา และเชื้อเอนเทอร์แบคทีเรียในสินค้าผักสดและผักกินใบที่นำเข้าจากไทย 10 รายการ ส่วนทางการฟินแลนด์ตรวจพบเชื้อซัลโมเนลลาในผักสด 2 รายการ ทำให้ประเทศต่างๆปฏิเสธการนำเข้าสินค้าผักสดจากไทยและส่งสินค้ากลับไทย หลังจากนั้นนอร์เวย์สั่งห้ามนำเข้าสินค้าผักสดกินใบจากไทยเป็นการชั่วคราว 8 ชนิด ได้แก่ สะระแหน่ ตะไคร้ ผักชีฝรั่ง ผักชีไทย โหระพา ผักแขยง...

ลดนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย : ชะลอขาดดุลการค้าครึ่งปีหลัง 2548

สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยปรากฏยอดขาดดุลการค้ารายเดือนติดต่อกันตลอด 6 เดือนแรก 2548 รวมเป็นยอดขาดดุลสูงถึง 8,153 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเกือบเท่ากับตัวเลขประมาณการยอดขาดดุลการค้าของไทยตลอดทั้งปีนี้ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าจะอยู่ในระดับประมาณ 8,000-9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้สถานการณ์การค้าของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2548 ต้องระมัดระวังกันเป็นพิเศษ โดยภาครัฐและเอกชนจะต้องช่วยกันผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยประมาณ 15% ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศไม่ควรจะขยายตัวเกินกว่าอัตราเฉลี่ย 28% จึงจะสามารถประคับประคองให้ยอดขาดดุลการค้าของไทยอยู่ภายในเป้าหมายประมาณ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามที่กำหนดไว้ในปี 2548 หลังจากที่ประเทศไทยมียอดเกินดุลการค้าตลอด...

FTA ไทย-ญี่ปุ่น : เตรียมความพร้อมของไทยต่อการแข่งขันในภูมิภาค

หลังจากเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นผ่านมา 9 รอบ เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2547 ไทยและญี่ปุ่นได้ข้อสรุปการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการและการลงทุนภายใต้ FTA ในกรอบกว้างแล้ว รวมทั้งเรื่องกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origins : ROOs) ที่ญี่ปุ่นยอมรับในหลักการให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นโดยปราศจากอุปสรรคเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า แต่ทั้งสองฝ่ายยังคงต้องเจรจารายละเอียดเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นรายสินค้าต่อไป บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด...

อาหารกึ่งสำเร็จรูป : แนวโน้มขยายตัว…สอดรับพฤติกรรมผู้บริโภครัดเข็มขัด

อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีบทบาทต่อคนไทยมากขึ้น เนื่องจากสามารถตอบสนองกับวิถีชีวิตในปัจจุบันที่ต้องเร่งรีบแข่งกับเวลา และในช่วงที่ผู้บริโภคต้องประหยัดนั้น ความนิยมอาหารกึ่งสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของอาหารกึ่งสำเร็จรูปคือ ราคาจำหน่ายอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆ ไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมอาหารมากนัก มีความสะดวกรวดเร็ว และมีให้เลือกหลากหลายรสชาติ รวมทั้งยังเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นานอีกด้วย ภาพรวมธุรกิจอาหารกึ่งสำเร็จรูปปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีการแข่งขันกันสูงมาก โดยเฉพาะการแข่งขันในด้านบรรจุภัณฑ์ รสชาติและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากขึ้น เช่น เมื่อผู้บริโภคหันมาสนใจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยมากยิ่งขึ้น บรรดาผู้ประกอบการก็คิดค้นอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ไม่มีส่วนผสมของผงชูรส การหันมาใช้วัตถุดิบเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะโฮลวีท เป็นต้น ในปี 2548 คาดว่าตลาดอาหารกึ่งสำเร็จรูปในประเทศมีมูลค่ารวมกว่า...

เมกะโปรเจ็กต์:เศรษฐกิจโตขึ้น เสถียรภาพยากขึ้น

การลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ของรัฐบาลจำนวน 1.7 ล้านล้านบาท จะมีผลทำให้เศรษฐกิจในระยะ 5 ปีข้างหน้าเติบโตสูงกว่าในกรณีที่ไม่มีการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ประมาณร้อยละ 1 แต่จะมีผลทำให้การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้ายากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลสูงขึ้นตามลำดับจากปี 2549 เป็นต้นไปจนถึงระดับประมาณ 5-6 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 5-6 ของ GDP ในปี 2552 จากการคำนวณของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ...

อัตราดอกเบี้ย Fed Funds คงจะขยับขึ้นเป็น 3.50%

จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆ ของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาในรอบเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯที่การขยายตัวยังคงมีแนวโน้มดำเนินไปอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะล่าสุดการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนกรกฎาคมที่เพิ่มขึ้น 2.07 แสนตำแหน่ง สูงกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.80 แสนตำแหน่ง ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งนี้ค่อนข้างจะมีความแตกต่างไปจากภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงก่อนหน้าการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ครั้งก่อนเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ในช่วงเวลาดังกล่าว สัญญาณการชะลอตัวลงของภาคการผลิตสหรัฐฯมีความเด่นชัดจนทำให้ตลาดมีการคาดคะเนว่าวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจมีแนวโน้มชะลอลงหรือเข้าใกล้จุดสิ้นสุดลงในไม่ช้า ขณะที่สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มเข้มแข็งมากขึ้นในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ได้ทำให้ตลาดกลับมาคาดการณ์ว่า วัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยของเฟดคงจะมีแนวโน้มดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง...