Friday, April 19, 2024
Home Tags Economics

Tag: Economics

ธุรกิจค้าปลีกครึ่งหลังปี’48 : ชะลอตัว…ต้องเร่งทำตลาดจูงใจ…รับยุคค่าครองชีพสูง

จากรายงานของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการค้าต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศจากการสำรวจในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2548 ผู้ประกอบการภาคการค้าส่งมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับทรงตัว ในขณะที่ผู้ประกอบการภาคการค้าปลีกมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในระดับที่ไม่ดีนัก โดยผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมองว่ายังไม่มีปัจจัยใดส่งผลกระทบในด้านบวกต่อกิจการอย่างชัดเจนมากนัก ในขณะที่ปัจจัยลบกลับส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อกิจการไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงระดับราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง หรือระดับราคาบริการสาธารณูปโภคโดยรวมและระดับอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจนี้ ดังนั้นภาพรวมของบรรยากาศการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกช่วง 6 เดือนแรกปี 2548 ที่ผ่านมาจึงเป็นไปในลักษณะของการเปิดเกมรุกบุกตลาดกันอย่างเต็มที่ของบรรดาผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ในกิจการค้าปลีกแบบใหม่ทั้งดิสเคานท์สโตร์ ห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าทั้งการปรับปรุงสถานที่ การจัดกิจกรรมทางการตลาดที่ค่อนข้างถี่มากขึ้น หรือการจัดมหกรรมลดราคาสินค้าในแต่ละประเภทสินค้าหมุนเวียนกันไปอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคให้คึกคักขึ้น และหวังผลต่อเนื่องให้ยอดขายเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับในช่วงครึ่งหลังปี...

เครื่องปรุงรสอาหาร : ขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและส่งออก

ปัจจุบันกระแสความนิยมบริโภคเครื่องปรุงรสอาหารในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ตลาดเครื่องปรุงรสอาหารขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนไทยยอมรับและบริโภคเครื่องปรุงรสที่มีความหลากหลายมากขึ้น ส่วนตลาดในต่างประเทศความนิยมเครื่องปรุงรสอาหารจากประเทศไทยเริ่มขยายตัวไปสู่การวางจำหน่ายบนชั้นในซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ จากที่เคยจำกัดตัวอยู่ในร้านขายของชำของชาวเอเชีย เนื่องจากชาวต่างชาติหันมานิยมรับประทานอาหารไทยมากขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคารไทยในต่างประเทศทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้มูลค่าการส่งออกเครื่องปรุงรสอาหารของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าในปี 2548 มูลค่าตลาดเครื่องปรุงรสอาหารในประเทศมีขนาดใหญ่ถึง 9,700 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวของตลาดในแต่ละปีเฉลี่ยร้อยละ 10 ตลาดแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ตลาดระดับบน...

เครื่องปรุงรสอาหาร : ขยายตัวทั้งตลาดในประเทศและส่งออก

ปัจจุบันกระแสความนิยมบริโภคเครื่องปรุงรสอาหารในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ตลาดเครื่องปรุงรสอาหารขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนไทยยอมรับและบริโภคเครื่องปรุงรสที่มีความหลากหลายมากขึ้น ส่วนตลาดในต่างประเทศความนิยมเครื่องปรุงรสอาหารจากประเทศไทยเริ่มขยายตัวไปสู่การวางจำหน่ายบนชั้นในซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ จากที่เคยจำกัดตัวอยู่ในร้านขายของชำของชาวเอเชีย เนื่องจากชาวต่างชาติหันมานิยมรับประทานอาหารไทยมากขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคารไทยในต่างประเทศทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้มูลค่าการส่งออกเครื่องปรุงรสอาหารของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าในปี 2548 มูลค่าตลาดเครื่องปรุงรสอาหารในประเทศมีขนาดใหญ่ถึง 9,700 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวของตลาดในแต่ละปีเฉลี่ยร้อยละ 10 ตลาดแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ตลาดระดับบน...

จีนใช้ระบบตะกร้าเงิน : สาเหตุ & แนวโน้มการค้า-ท่องเที่ยว-ลงทุนของไทย

ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของเหตุการณ์รุนแรงในภูมิภาคต่างๆของโลก ปรากฏว่าอย่างน้อยมีประเด็นเศรษฐกิจที่สร้างความพอใจในระดับหนึ่งให้แก่แวดวงต่างประเทศ ก็คือ การที่จีนยอมปลดค่าเงินหยวนที่ตรึงไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯมานาน 11 ปี จากอัตราเฉลี่ย 8.28 หยวน/ดอลลาร์ ปล่อยให้ค่าเงินหยวนยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นมาอยู่ในอัตรา 8.11 หยวน/ดอลลาร์ หรือมีค่าเพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2548 โดยทางการจีนเปลี่ยนมาผูกค่าเงินหยวนไว้กับตะกร้าเงินหลายๆสกุล อาทิ เงินยูโร เงินเยน เงินสกุลเอเชียสำคัญๆ รวมถึงเงินดอลลาร์สหรัฐฯด้วย...

ดอลลาร์เฉื่อยชา : ตลาดชาชินแถลงการณ์ Greenspa

ตลาดเงินตราต่างประเทศจับตาการแถลงสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯของประธานธนาคารกลาง นาย Alan Greenspan ต่อรัฐสภาอเมริกัน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบประมาณ 1.20-1.21 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น มีค่าลดต่ำลงในรอบ 14 เดือน แตะระดับเฉลี่ย 113 เยน/ดอลลาร์ หลังจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับเสถียรภาพของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ขณะที่เงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษยังคงอ่อนแอ ซื้อขายในระดับเฉลี่ย 1.74 ดอลลาร์/ปอนด์ เนื่องจากธนาคารกลางอังกฤษมีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับราคาทองคำในตลาดโลกกระเตื้องสูงขึ้นเหนือแนวต้าน 420 ดอลลาร์/ออนซ์เป็นผลสำเร็จ...

บทเรียนอินโดนีเซีย : ฝ่าวิกฤตพลังงาน

อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบส่งออกหรือกลุ่มโอเปค แต่ขณะนี้อินโดนีเซียกลับเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป และผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประธานาธิบดีสุสิโล มัมบัง ยูโดโยโน ของอินโดนีเซียต้องยกเลิกกำหนดการเดินทางเยือนไทย บรูไนฯ และจีน ในช่วงระหว่างวันที่ 13-20 กรกฎาคม 2548 นี้ เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์พลังงานภายในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน การขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูปส่งผลกระทบต่อพื้นที่หลายแห่งในประเทศอินโดนีเซีย จนเป็นเหตุให้การขนส่งสาธารณะต้องหยุดให้บริการ โดยเฉพาะการขาดแคลนพลังงานในเมืองซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล...

คาดแบงก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 2.75% จากความเสี่ยงด้านเสถียรภาพที่มีมากขึ้น

ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (Monetary Policy Committee: MPC) ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จะประชุมเพื่อตัดสินใจทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.50% โดยจะเป็นการประชุมรอบที่ 5 ของปี 2548 นี้ หลังจากที่ธปท.ได้มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ...

เกณฑ์ควบคุมการลงทุนในตั๋ว B/E …ผลกระทบต่อธุรกิจกองทุนรวม

ตั๋วแลกเงิน หรือ Bill of Exchange เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้สั่งจ่ายสั่งให้ผู้จ่ายจ่ายเงินให้ผู้ถือตั๋วตามจำนวนและวันที่กำหนดหน้าตั๋ว โดยปกติแล้วตั๋วแลกเงินมักจะมีอายุไม่เกิน 270 วัน เเละมีทั้งแบบที่มีการค้ำประกันความรับผิดชอบของลูกหนี้และไม่มีการค้ำประกัน ในช่วงปีที่ผ่านมานั้น ผู้ประกอบการต่างๆทั้งที่เป็นบริษัทจดทะเบียนและบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ได้หันมาออกตั๋วแลกเงิน(B/E) กันมากขึ้น ทั้งเพื่อเป็นการระดมทุนในระยะสั้นหรือเพื่อนำไปใช้ชำระหนี้เดิม เนื่องจากต้นทุนในการออกที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ อีกทั้ง การออกตั๋วแลกเงินสามารถกระทำได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการออกหุ้นกู้ ส่งผลให้มูลค่าการเสนอขายตั๋วแลกระยะสั้นเงินปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยมียอดการออกเสนอขายถึง 1.81 แสนล้านบาทในไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับ 1.48...

ค่าดอลลาร์วูบวาบ : ปัจจัยบวก-ลบพอกัน

เงินดอลลาร์สหรัฐฯมีค่าทรุดต่ำลงในช่วงแรก หลังจากที่เงินยูโรได้รับแรงสนับสนุนจากการลงประชามติของชาวลักเซมเบิร์กเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป และการคาดคะเนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยยุโรป แต่อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ฟื้นตัวกลับมาเข้มแข็งดังเดิม เนื่องจากรายงานยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯเดือนพฤษภาคมลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณสหรัฐฯปี 2548 ด้วย ส่วนเงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ มีค่ากระเตื้องดีขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือน เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ หลังจากที่ตลาดเงินคลายความกังวลเกี่ยวกับภัยก่อการร้ายในอังกฤษ และเห็นว่าผลกระทบจากวินาศกรรมลอนดอนในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าไม่ได้ส่งผลเสียหายแก่ธุรกิจและเศรษฐกิจร้ายแรงจนเกินไป สำหรับราคาทองคำต่างประเทศ เคลื่อนไหวสวนทิศทางกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกครั้งหนึ่ง ซื้อขายอยู่ในช่วง 424-426 ดอลลาร์/ออนซ์ เงินดอลลาร์สหรัฐฯมีค่าอ่อนไหวตั้งแต่ต้นสัปดาห์ เป็นผลจากแรงเทขายต่อเนื่องหลังจากรายงานตัวเลขการจ้างงานใหม่ของสหรัฐฯเดือนมิถุนายนไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจของตลาดเงินเท่าใดนัก ประกอบกับนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับตัวเลขยอดขาดดุลการค้าสหรัฐฯที่จะประกาศตอนกลางสัปดาห์...

ธุรกิจยาง : อีก 5 ปีข้างหน้าไม่น่าห่วง …แต่ต้องเตรียมรับมือหลังจากปี 2552

ยางเป็นสินค้าเกษตรดาวเด่นมาตั้งแต่ปี 2547 และคาดว่ายางจะยังคงมีบทบาทที่โดดเด่นต่อไปจนถึงปี 2552 เนื่องจากคาดการณ์ว่าราคายางธรรมชาติจะยังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องไปอีก 5 ปี อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของผลผลิตยางนั้นจะเติบโตไม่ทันกับความต้องการใช้ยางที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กอปรกับภาวะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้การหันไปใช้ยางสังเคราะห์ทดแทนนั้นทำได้ยาก เนื่องจากราคายางสังเคราะห์ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่บรรดานักวิเคราะห์ตลาดยางต่างคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของความต้องการยางธรรมชาติจะอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าความต้องการใช้ยางสังเคราะห์ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องเตรียมรับมือคือ หลังจากปี 2552 ยางที่เริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกในช่วงตั้งแต่ปี 2547 เริ่มให้ผลผลิต ซึ่งคาดว่าอาจจะส่งผลทำให้ราคายางในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้น และราคายางอาจจะกลับไปสู่วัฏจักรราคาตกต่ำในกรณีที่ปริมาณการผลิตขยายตัวมากกว่าความต้องการใช้ สถานการณ์ปี’48…ความต้องการใช้ขยายตัวมากกว่าการผลิต การผลิตยางธรรมชาติในตลาดโลกในปี...