Tag: Exclusive
มติชนบุ๊ค ยกเครื่องใหม่ ลุย Happy Book Day เอาใจตลาดเทรนดี้
ปีนี้ มติชน บุ๊ค เป็นสำนักพิมพ์ที่สร้างสีสัน และถูกกล่าวไม่น้อย หลังจากเปิดตัวพจนานุกรมเวอร์ชั่นมติชน ที่เน้นเนื้อหาสาระของศัพท์ใหม่ๆ ให้ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งศัพท์ที่ใช้ในภาษาข่าวอัดแน่นไว้ในเล่มขนาดกะทัดรัด จำนวน 1061 หน้า ที่สามารถปั๊มยอดขายในการพิมพ์ครั้งแรกอยางถล่มทลาย จนต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง นับเป็นผลงานชิ้นโบแดงสร้างชื่อให้สำนักพิมพ์ใหญ่อย่าง “มติชน” ให้เป็นที่รู้จักในเชิงแมสมากขึ้นในฐานะสำนักพิมพ์คุณภาพที่มีอายุร่วม 20 ปี แต่ความที่เป็นองค์กรใหญ่และปรับตัวช้า ทำให้มติชนพลาดโอกาสตลาดหนังสือแนวกระแสไปหลายครั้ง...
ยิ่งอ่าน ยิ่งลึกล้ำ…ภูมิปัญญาผู้จัดการ
อำนาจการบริหารจัดการ...สุดยอดนักคิดกูรูระดับโลก...กระแสเศรษฐกิจแห่งทุนนิยม...ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แห่งโลกตะวันตก ...นี่คือแบรนด์ที่บ่งบอกบุคลิกของความเป็น “สำนักพิมพ์ผู้จัดการ” ถ้าจะเปรียบเป็นคน สำนักพิมพ์ผู้จัดการก็เหมือนกับนักวิชาการใส่แว่นหนาๆ ใหญ่ๆ แว่นนี้เป็นดั่งเลนส์ที่มีองค์ความรู้แบบ know how มีความเชี่ยวชาญทางการบริหารจัดการ การตลาด สามารถเสพแล้วแผ่ขยายไปใช้ประโยชน์ทางความคิดได้ นี่ยังไม่รวมถึงอีกสองบุคลิกของสำนักพิมพ์ในเครือผู้จัดการ คือ สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ ที่มีบุคลิกเสนอเรื่องราวแบบแนวสันทนาการและปรากฏการณ์ทางสังคมวิทยา เช่น ท่องเที่ยว เลี้ยงลูก และสำนักพิมพ์ผู้จัดการคลาสิกที่นำเสนอปรากฏการณ์สำคัญๆ กับเรื่องราวในอดีต “ในส่วนของสำนักพิมพ์ผู้จัดการ...
ณ บ้านวรรณกรรม จากนิยายไทยคลาสสิกสู่การ์ตูนวัยใส
กว่า 15 ปีที่โลดแล่นในวงการสำนักพิมพ์ "ณ บ้านวรรณกรรม" ได้สร้างชื่อเป็นยอมรับจากบรรดาคอนักอ่าน นวนิยายไทยคลาสสิก ด้วยการผลิตงานออกสู่ตลาดนับ 100 เรื่อง มีนักเขียนชื่อดังระดับแนวหน้าของเมืองไทยหลายคน อาทิ พนมเทียน ทมยันตี โรสลาเรน ล้วนเป็นนักเขียนที่มีแฟนนักอ่านประจำอยู่เป็นจำนวนมาก เพชรพระอุมา เป็น1 ในผลงานชิ้นเอกที่ ณ บ้านวรรณกรรมได้นำมาจับมาปรับภาพลักษณ์ใหม่ จุดเด่นของหนังสือ ได้ใส่ความทันสมัย...
The writer
บนปลายปากกา หรือแท่นพิมพ์ดีดของนักเขียนยุคเก่า กลาง และยุคใหม่ แม้จะมีบุคลิกแง่คิดที่นำเสนอแตกต่างกัน มีเงื่อนไขของบริบททางกาลเวลาต่างกัน แต่จุดหมายของการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวอักษร อาจมีปลายทางเหมือนกัน คือ เพื่อผู้อ่าน หรือนักอ่าน ซึ่งสามารถเลือกเสพ เลือกอ่านได้ แม้ยุคสมัยใหม่นี้ โลกของนักอ่านยังโหยหาผูกยึดกับผลงานนักเขียนมือระดับรางวัล แต่นักเขียนรุ่นใหม่ๆ ที่มีลีลาการถ่ายทอดอย่างหลากหลาย ทั้งบนโลกของนักเขียนไซเบอร์ หรือแม้แต่นักเขียนในรูปแบบ “โกสท์ไรเตอร์” ก็ตาม ล้วนมีลีลาน่าสนใจยิ่งนัก
Dek-d ชุมนุมนักเขียนไซเบอร์
จากความด้านชอบเทคโนโลยี และใฝ่ฝันมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางคอมมูนิตี้บนโลกไซเบอร์ระหว่างกลุ่มเพื่อนและเด็กนักเรียนวัยเดียวกัน ส่งผลให้เกิดเว็บไซต์ www.dek-d.com ที่พัฒนาขึ้นแบบง่ายๆ ตามความสามารถของเด็กในวัยนั้น ได้กลายเป็นสังคมไซเบอร์ขนาดใหญ่มีคนเข้าไปเยี่ยมชมเฉลี่ย 5-6 แสนครั้ง/เดือน “วโรรส โรจนะ” หรือโน้ต เว็บมาสเตอร์หนุ่มวัย 22 ปี หนึ่งใน 5 อดีตเด็กผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.dek-d.com เล่าว่า คอมมูนิตี้และคอนเทนต์บนเว็บกระตุ้นให้มีคนสนใจเข้ามาเยี่ยมชม อาทิ...
ดร.ป๊อป คลื่นลูกแรกในโลกไซเบอร์
ใช่ว่างานเขียนดีๆ ที่หาอ่านได้ในเว็บไซต์จะมีโอกาสได้ตีพิมพ์ หรือรวมเล่มให้ได้อ่านกันทุกเรื่อง ด้วยเหตุที่โลกไซเบอร์เปิดกว้างให้สามารถเข้ามาเขียนเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างเสรี จนกลายเป็นคอมมูนิตี้ใหญ่ที่มีคอนเทนต์หลากหลาย ตั้งแต่บันทึก เรื่องสั้น นวนิยาย หรือแม้แต่เรื่องเล่าประสบการณ์ที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ “The White Road (เดอะไวท์โรด)” นวนิยายแนวแฟนตาซีผลงานเขียนคนรุ่นเยาว์อย่าง “ดร.ป๊อป” ที่สามารถตีตลาดประสบผลสำเร็จขายทะลุ 100,000 เล่มไปแล้ว จนต้องพิมพ์ซ้ำหลายรอบ และทยอยออกวางต่อจนถึงเล่ม 4...
ปรัชญ์ รุจินารมย์ นักเขียนรุ่นเยาว์เด็กปั้นนานมี
เด็กหนุ่มอารมณ์ดีฉายานักเขียนแนวสืบสวนสอบสวนอายุน้อยที่สุดของเมืองไทย ที่กลายเป็นต้นแบบของนวนิยายแนวสืบสวนสวบสวนสำหรับเยาวชน...เด็กหนุ่มผู้นี้ อาจกล่าวได้ว่า นี่คือแรงบันดาลใจของ สำนักพิมพ์นานมี บุ๊คส์ ที่บรรเจิดขึ้นเพื่อสร้างโครงการปั้นนักเขียนแนวสืบสวนสอบสวนรุ่นใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นในวันนี้ จากเด็กนักเรียนชั้น ป.2 ที่ถูกปลูกฝังให้อ่านบทความ และหนังสือมาตั้งแต่เด็ก กลายเป็นแรงกระตุ้นให้ “ปรัชญ์ รุจินารมย์” หรือ น้องปรัชญ์ รักการอ่าน และมีจินตนาการด้านงานเขียนตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยการเริ่มเขียนบทความสำหรับเด็กเรื่อง “บ้านในฝัน”...
พลอย จริยะเวช จากนักแปลสู่….คอลัมนิสต์
คอลัมนิสต์ (หญิง) ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในยุคนี้ เจ้าของพ็อกเกตบุ๊กดังๆ หลายเล่ม รวมทั้งนิยายแปลต่างๆ และล่าสุดออกพ็อกเกตบุ๊กชื่อ “หวานจับใจ” หนังสือพิมพ์ Bangkok Post เคยนิยามงานเขียนของเธอว่าเป็น Informative Entertaining หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บินไปเรียนต่อทางด้าน Tourist Management ที่ออสเตรีย กลับมาทำงานที่เมืองไทยกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จนเกิดวิกฤตฟองสบู่แตก จึงได้รับการชักชวนให้เขียนบทความกับนิตยสาร...
ปราย พันแสง ตัวแทน “นักรัก”
เป็นนามปากกาที่ย่อมาจากนามปากกา “ทองปราย พันแสง” อีกต่อหนึ่ง เป็นชื่อที่ เสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์เป็นคนตั้งให้เมื่อครั้งเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ เธอเป็นชาวนครราชสีมา เริ่มงานเขียนตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย จบการศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจ เอกโฆษณา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันเขียนคอลัมน์ประจำที่มติชนสุดสัปดาห์ และทำงานประจำที่บริษัท เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง จำกัด จัดเป็นนักเขียนมือทองที่หลายสำนักพิมพ์ต่างอยากร่วมงานด้วย ผ่านผลงานมามากมาย...
คำ ผกา นักเขียนหญิงร้อนแรงแห่งยุคสมัย
เป็น 1 ในนามปากการ้อนๆ ของลักขณา ปันวิชัย หากพบเห็นเรื่องราวผ่านปลายปากกาของ ฮิมิโตะ ณ เกียวโต หรือ ปันคำ ณ ปันนา โปรดทราบไว้ด้วยว่า เธอคือคนเดียวกัน เธอจบการศึกษาภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นร่ำเรียนปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เกียวโต เธอเด่นดังในแวดวงวรรณกรรม ด้วยการฉายความคิดผ่านตัวหนังสือในแง่มุมที่ไม่มีใครกล้าเขียนถึง เป็นการเผยถึงมุมมองอีกด้านของผู้หญิง...