Fashion – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 12 Feb 2024 12:50:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEO ของ Under Armour เผย “บริษัทไม่ได้พยายามที่จะเป็นอย่างอื่น นอกจากเป็นตัวของตัวเอง” หลังดันคอลเลกชันสไตล์สปอร์ตเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1462374 Mon, 12 Feb 2024 06:55:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462374 CEO ของ อันเดอร์อาร์เมอร์ (Under Armour) ผู้ผลิตสินค้าเสื้อผ้ากีฬาและแฟชั่น ได้กล่าวถึงการผลักดันสินค้าคอลเลกชันสไตล์สปอร์ตเพิ่มขึ้น โดยชี้ว่า “บริษัทไม่ได้พยายามที่จะเป็นอย่างอื่น นอกจากเป็นตัวของตัวเอง” และเตรียมผลิตเสื้อผ้าคอลเลกชันสไตล์สปอร์ตสำหรับผู้หญิงด้วย

Stephanie Linnartz ประธานและ CEO ของ Under Armour ได้ตอบคำถามในการแถลงผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัท ที่วิเคราะห์ได้สอบถามเธอในเรื่องการผลักดันสินค้าคอลเลกชันสไตล์สปอร์ตเพิ่มขึ้น รวมถึงทิศทางบริษัทหลังจากนี้

นักวิเคราะห์รายหนึ่งได้ถามถึงการผลักดันสินค้าคอลเลกชันสไตล์สปอร์ตของบริษัท เช่น เสื้อที่มีรูปโลโก้บริษัทอันใหญ่โตว่าเป็นกลยุทธ์ดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ซึ่ง CEO ของ Under Armour ได้กล่าวว่า “เราไม่ได้พยายามที่จะเป็นอย่างอื่นนอกจาก Under Armour อย่างแท้จริง และเรื่องของประสิทธิภาพอยู่ใน DNA ของเรา”

นอกจากนี้ ประธานและ CEO ของ Under Armour ยังได้กล่าวถึงสินค้าคอลเลกชันสไตล์สปอร์ตว่าเป็นการบรรจบกันระหว่างสมรรถนะและสไตล์ และบริษัทเองกำลังมีแผนที่จะผลิตเสื้อผ้าคอลเลกชันสไตล์สปอร์ตสำหรับผู้หญิง ซึ่งต้องการการออกแบบที่ต้องดีมากกว่าเดิม

สำหรับ Stephanie เธอได้เข้ามาเป็นประธานและ CEO ของ Under Armour ในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา และเป็น CEO คนที่ 3 นับตั้งแต่บริษัทตั้งมา โดยเธอชี้ว่าโอกาสของบริษัทมีทั้ง รองเท้า สินค้าของผู้หญิง สินค้าคอลเลกชันสไตล์สปอร์ต โดยเธอต้องการที่จะวางจุดยืนของแบรนด์ในระดับพรีเมียมมากขึ้น และขยายความนิยมของแบรนด์เพิ่มมากขึ้น

Under Armour ประสบปัญหาลูกค้าสนใจในตัวแบรนด์เสื้อผ้ากีฬาลดลงในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าบริษัทจะวางจุดยืนของแบรนด์ในระดับพรีเมียมมากขึ้นก็ตาม นอกจากนี้แบรนด์ยังประสบปัญหาในการดึงจุดเด่น หรือเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคไม่สนใจ

ไม่เพียงเท่านี้บริษัทเองยังเจอปัญหาสินค้าคงคลังที่เพิ่มมากขึ้นในปี 2023 ซึ่งเกิดขึ้นจากยอดขายที่อ่อนแอ แม้ว่าบริษัทจะกำลังแก้ปัญหาดังกล่าวอยู่ก็ตาม โดยปัญหาดังกล่าวได้กดดันราคาหุ้นของบริษัทในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา

ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา Under Armour ทำรายได้รวมอยู่ที่ 1,486 ล้านเหรียญสหรัฐ มีกำไรจากการดำเนินงาน 114.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าอยู่ที่ 3,486 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 124,466 ล้านบาท

]]>
1462374
Zilingo ล้มละลาย เข้าสู่ขั้นตอนชำระบัญชีแล้ว หลังแก้ปัญหาวิกฤตในบริษัทไม่ได้ https://positioningmag.com/1416189 Sun, 22 Jan 2023 05:44:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416189 สตาร์ทอัพแฟชั่นชื่อดังอย่าง Zilingo ได้เข้าสู่ขั้นตอนชำระบัญชีแล้ว หลังจากบรรดาเจ้าหนี้ของบริษัทได้หาผู้ที่สามารถซื้อสินทรัพย์ของบริษัทได้ เป็นการปิดฉากสตาร์ทอัพที่มีชื่อเสียงรายหนึ่งในอาเซียน และมีสำนักงานในประเทศไทย

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Zilingo สตาร์ทอัพด้าน Market Place ที่เน้นสินค้าแนวแฟชั่นจากผู้ค้ารายเล็กจากประเทศสิงคโปร์ และมีสำนักงานในประเทศไทยด้วยนั้น ล่าสุดได้เข้าสู่ขั้นตอนชำระบัญชีแล้ว โดยบอร์ดของบริษัทได้แจ้งเรื่องดังกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นรายใหญ่กับเจ้าหนี้

โดยขั้นตอนการชำระบัญชีนั้นมาจากบรรดาเจ้าหนี้ของ Zilingo สามารถหาผู้ซื้อสินทรัพย์ของบริษัทได้ และเตรียมที่จะโอนสินทรัพย์ให้กับเจ้าของสินทรัพย์ดังกล่าว อย่างไรก็ดีไม่มีการระบุถึงมูลค่าแต่อย่างใด

สตาร์ทอัพสิงคโปร์รายนี้เริ่มมีข่าวฉาวตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2022 ผ่านมา โดยบริษัทได้พบความผิดปกติด้านบัญชีและบริษัทได้จ้างผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระจากภายนอก จนท้ายที่สุดได้มีการไล่ Ankiti Bose ซึ่งเป็น CEO และหนึ่งในผู้ก่อตั้งของบริษัทออกในเดือนพฤษภาคม

อย่างไรก็ดี Ankiti Bose ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาในเรื่องดังกล่าว และโต้แย้งว่าเธอยังตกเป็นเป้าของขัดแย้งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดาผู้บริหารของบริษัท

ต่อมาในเดือนมิถุนายน หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทอย่าง Dhruv Kapoor ได้เสนอกับบอร์ดของ Zilingo ว่าเขาเตรียมที่จะตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อซื้อกิจการของ Zilingo รวมถึงบริษัทลูกบางบริษัท และจะมีการอัดฉีดเงินอีก 8 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะมีการปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ด้วย

อย่างไรก็ดีความเคลื่อนไหวดังกล่าวกลับไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จนทำให้บริษัทต้องประกาศล้มละลายในท้ายที่สุด

]]>
1416189
Pomelo ปลดพนักงาน 55 ราย เตรียมระดมทุนจากนักลงทุนเพิ่ม https://positioningmag.com/1399790 Mon, 12 Sep 2022 17:31:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399790 สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่า Pomelo สตาร์ทอัพที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่น ได้ปลดพนักงานจำนวน 55 ราย คิดเป็นสัดส่วน 8% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด โดยบริษัทได้ให้เหตุผลว่าได้ปรับปรุงกระบวนการเพื่อก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้น

การปลดพนักงานของสตาร์ทอัพรายดังกล่าวนี้ได้เดินตามรอยบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการสั่งปรับลดจำนวนของพนักงานลง รวมถึงการลดขนาดบริษัทลงมา โดยให้เหตุผลไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย รวมถึงต้องการที่จะเติบโตแบบยั่งยืน

ปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Pomelo ได้วางเป้าหมายจะขยายการเติบโตของธุรกิจในหลายส่วน ตั้งแต่การขยายการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกไปยังต่างจังหวัด หรือแม้แต่การขยายบริการ Tap.Try.Buy ไปยังกลุ่มลูกค้าในประเทศสิงคโปร์เพิ่มเติม ก่อนที่จะมีข่าวปลดพนักงานออกมา

สตาร์ทอัพรายดังกล่าวนี้รายได้หลักยังมาจากช่องทางของ E-commerce รองลงมาเป็นรายได้จากบริการ Tap.Try.Buy รวมถึงช่องทางร้านค้า

นอกจากนี้ Bloomberg ยังได้รายงานว่า Pomelo ได้ติดต่อไปยัง Morgan Stanley วาณิชธนกิจชื่อดังเพื่อที่จะระดมทุนเพิ่มเติมจากภายนอกเพิ่มเติม แม้ว่าในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาบริษัทได้ระดมทุนไปถึง 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกลุ่มนักลงทุนที่เคยลงทุนในบริษัทมาแล้วก็ตาม

Pomelo เป็นสตาร์ทอัพแฟชั่นเทคที่ก่อตั้งในไทยเมื่อปี 2013 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นชาวเอเชียนอเมริกัน 2 คน คือ เดวิด โจว และ เคซี่ เหลียง และสตาร์ทอัพรายนี้ตั้งเป้าที่จะเป็นเบอร์ 1 ในตลาดแฟชั่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้

]]>
1399790
แบรนด์เสื้อผ้า Esprit เตรียมยกเครื่องธุรกิจใหม่ เน้นขายสินค้าราคาแพงมีคุณภาพแทน https://positioningmag.com/1392982 Mon, 18 Jul 2022 11:08:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392982 Esprit แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง เตรียมยกเครื่องธุรกิจใหม่ หลังจากไม่สามารถสู้กับคู่แข่งในสินค้าประเภท Fast Fashion ได้ และทำให้ต้องปิดสาขาในเอเชียไปมากถึง 56 สาขา ล่าสุดเตรียมขายสินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาแพงมากขึ้น 

William Pak ซึ่งเป็น CEO ของ Esprit ได้ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่า บริษัทเตรียมเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ หันมาจำหน่ายเสื้อผ้าที่มีคุณภาพที่มีราคาแพงมากขึ้น โดยเหตุผลดังกล่าวจากหัวเรือใหญ่ของ Esprit มองว่าจะทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงในอนาคต

แบรนด์เสื้อผ้ารายนี้ถือเป็นขวัญใจของใครไม่น้อย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Esprit นั้นประสบปัญหาใหญ่ก็คือไม่สามารถที่จะสู้แบรนด์ Fast Fashion ของทวีปยุโรปเช่น H&M หรือแม้แต่ Zara ได้ ขณะเดียวกันตัวแบรนด์เองก็พบกับช่วงเวลายากลำบาก ส่งผลทำให้ต้องปิดสาขาทั่วเอเชียไป 56 สาขา

ล่าสุดแบรนด์เสื้อผ้ารายนี้ได้เปิดร้านแบบ Pop-up Store ที่ประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงกลับมาเปิดร้านในฮ่องกงอีกครั้ง ขณะเดียวกัน Esprit ก็ยังเน้นขายเสื้อผ้าผ่านช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางหลัก และจะมีการขยายการขายไปยังประเทศจีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย ในช่วงปลายปีนี้ด้วย

นอกจากนี้คอลเลกชันของ Esprit ที่เคยออกปีละ 12 ครั้งจะลดลงเหลือปีละ 4 ครั้ง นอกจากนี้บริษัทจะมีเสื้อผ้าแบบพิเศษที่ได้ร่วมงานกับพาร์ตเนอร์รายอื่นด้วย ขณะเดียวกันบริษัทเตรียมย้ายสำนักงานใหญ่ที่อยู่สหรัฐอเมริกากลับมาที่ฮ่องกง หลังจากที่ซัพพลายเออร์ของบริษัทอยู่ในเอเชียมากกว่า

CEO ของ Esprit เองยังกล่าวเสริมว่าบริษัทต้องใช้เวลาถึงจะเข้าใจว่าแบรนด์เสื้อผ้าจากฮ่องกงรายนี้ไม่เหมาะสำหรับธุรกิจ Fast Fashion โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Fast Fashion มักถูกวิจารณ์ว่าทำให้สภาวะแวดล้อมแย่ลงจากปริมาณขยะเสื้อผ้า รวมถึงประเด็นอื่นๆ อย่างเช่นการใช้แรงงานตามประเทศต่างๆ ด้วย

แบรนด์เสื้อผ้ารายนี้ก่อตั้งในปี 1968 ในสหรัฐอเมริกา โดย Susie และ Doug Tompkins ก่อนที่ทั้งคู่จะพบกับ Michael Ying นักธุรกิจฮ่องกงในช่วงยุค 1970 ก่อนที่จะกลายเป็นว่าธุรกิจในทวีปเอเชียเติบโตกว่าในสหรัฐอเมริกา จนนำธุรกิจในทวีปเอเชียเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงในปี 1993 และมีการซื้อธุรกิจของ Esprit ในทวีปยุโรปในปี 1996 และจ่ายเงินอีก 150 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อซื้อสิทธิในการจำหน่ายสินค้าในปี 2002 อย่างไรก็ดีแบรนด์เสื้อผ้ารายดังกล่าวนี้ประสบปัญหาขาดทุนก่อนจะมีกำไรอีกครั้งในปี 2021

]]>
1392982
เปิดมุมคิด 3 เเบรนด์ดัง พลิกวิกฤตอุตสาหกรรม ‘เสื้อผ้า’ คว้าโอกาสปรับตัวสู่ดิจิทัล https://positioningmag.com/1382271 Tue, 26 Apr 2022 04:49:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382271 ในยุคที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวเเละปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด พร้อมพัฒนาให้ก้าวทันตลาดอยู่ทุกช่วงเวลา เเม้จะต้องเจอวิกฤตที่ไม่คาดฝัน อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเป็นธุรกิจที่มีการเเข่งขันสูง ทั้งรายใหญ่รายย่อย โดยมีทั้งเเบรนด์ที่ประสบความสำเร็จกลายเป็นที่รู้จักโด่งดัง เเละอีกมุมหนึ่งก็มีเเบรนด์ที่ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก

วันนี้เราจะมาเปิดมุมคิดพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทองยุคดิจิทัล จาก 3 เเบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังของเมืองไทย อย่างห่านคู่เสื้อยืดที่อยู่คู่กับคนไทยมาหลายทศวรรษ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตามมาด้วยวอริกซ์’ (Warrix) แบรนด์เสื้อผ้า รองเท้ากีฬาที่ท้าชนแบรนด์ระดับโลกด้วยกลยุทธ์ออนไลน์ เเละน้องใหม่ไฟเเรงอย่าง ‘Davie Jones’ เสื้อผ้าแฟชั่นผู้ชาย แบรนด์ไทยที่กำลังเป็นที่นิยม

จากรุ่นสู่รุ่น ‘ห่านคู่’ ยกเครื่องดิจิทัล 

เมื่อพูดถึง ‘เสื้อยืด-เสื้อกล้าม’ คลายร้อน ห่านคู่จะเป็นเเบรนด์อันดับต้นๆ ที่คนไทยรู้จักเเละคุ้นเคยอยู่เสมอ หลังอยู่อยู่ในตลาดมายาวนานกว่า 69 ปี

‘คุณากร ธนสารสมบัติ’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานไทยแลนด์ นิตติ้ง จำกัด เล่าว่า ความท้าทายของธุรกิจนั้นมีอยู่ตลอดเวลา เเละมีอยู่ต่อเนื่องก่อนช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ต้องเจอคู่แข่งจากต่างประเทศ ที่มีรูปแบบการเเข่งขันที่เเตกต่างกันไป

การตัดสินใจปรับเปลี่ยนเข้าสู่ ‘digital transformation’ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์เเต่ละยุคสมัย หลังมีฐานกลุ่มลูกค้ากว่า 5 เจเนเรชัน

“ออนไลน์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นมาก ถ้าเราจะอยู่ได้ถึง 100 ปี เราต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้ง 5 กลุ่มนี้ให้ได้”

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เห็นกลุ่มลูกค้าต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น รวบรวมข้อมูลเพื่อทำการประเมินได้รวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้น จากการประเมินด้วยข้อมูลที่เคยเป็น mass สู่การประเมินเเบบฉพาะบุคคลได้อย่างเรียลไทม์ เป็นการปรับตัวเพื่อให้สามารถรองรับลูกค้าได้มากขึ้น

“ในช่วงวิกฤตผู้ประกอบการต้องหัวใจนักสู้ เสี่ยงให้ถูกทาง การลงทุนเทคโนโลยีจึงมีความจำเป็นมาก Digital Platform จะเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในปัจจุบันและรองรับในอนาคต”

โดยห่านคู่ ได้เข้าร่วมกับโครงการกับ ‘The FinLab Thailand’ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกดิจิทัลของเหล่า SMEs ไทย

ทางเเบรนด์ต้องการมุ่งเน้นที่ e-commerce, social commerce รวมทั้งการมีระบบ backend หลังบ้านที่แข็งแกร่ง โดยได้รับคำแนะนำและทำการติดตั้ง ERP เพื่อเชื่อมต่อกับระบบ supply chain เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในได้ดีขึ้นได้มาก

สำหรับจุดเด่นของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าในตลาดไทยนั้น คือการมีอยู่หลาย segment หลายกลุ่มลูกค้า เเละนั่นหมายถึง “การมีโอกาสมากขึ้นตามไปด้วย”

-ร่วมมือกับบาบีคิวพลาซ่า เปิดตัวเสื้อยืดรุ่นลิมิเต็ด “GON X ห่านคู่” ขยายฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่

ขณะที่การแข่งขันในระดับภูมิภาค CLMV และจากประเทศจีนก็ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ เเบรนด์ต้องขยายการลงทุนแข่งขันกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มทประเทศเพื่อนบ้าน ที่สามารถเข้าไปเจาะตลาดได้ผ่านการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่มีอยู่

ด้านการส่งต่อธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นนั้น แต่ละรุ่นจะมีความท้าทายเป็นของตนเองต่างกันในแต่ละยุค “หลักการคงอยู่ ไม่เปลี่ยน แต่วิธีการและเครืองมือเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงวิธีความคิด การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของคนเหล่านี้คือความท้าทาย” 

“เราในฐานะผู้บริหารต้องถอดตรงนี้ออก แล้วลงมือทำไปด้วยกันเลย ตอนนี้องค์กรของเรามีการทำงานเเบบ Flat Organization สามารถที่จะเข้าถึงผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง”

เเม้ว่าเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยที่สำคัญ แต่เรื่องบริหารคนก็สำคัญมากไม่เเพ้กัน การมีวิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่จะปรับเปลี่ยนองค์กร กล้าลองผิดลองถูก ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน

“ผู้ประกอบการตระหนักรู้ว่าทุกวันนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยง เมื่อคิดแล้วลงมือทำ ต้องประเมินความเสี่ยง แล้วเดินหน้าลุยการตลาดดิจิทัล อย่าคิดว่าสายแล้วเกินจะทำ เพราะถ้าไม่ทำ เราก็จะหายไปเลย”

Warrix ส่งเเบรนด์ไทยสู่ตลาดโลกด้วย ‘ออนไลน์‘ 

‘วอริกซ์’ (Warrix) แบรนด์เสื้อผ้ารองเท้ากีฬาของคนไทยที่ดำเนินธุรกิจมา 8 ปี จากการวางโพสิชันเป็น sportswear มาสู่เสื้อผ้าด้าน ‘healthy active lifestyle’ บริการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและการฟื้นฟู

แม้จะเจอวิกฤตโควิด เเต่ Warrix ก็ยังสามารถทำยอดขายได้สูงสุดเป็นประวัติการของบริษัทได้ จากการปรับสู่ ‘ดิจิทัลแพลตฟอร์ม’ และเข้าเปิดตลาดที่หลากหลาย อย่างเช่น สถานพยาบาล , ที่พักสำหรับผู้สูงวัย ฯลฯ

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ซีอีโอบริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด บอกเล่าถึงการตัดสินใจทรานฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลว่า
ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งเเต่ช่วงก่อนโควิด ปี 2017 ตั้งแต่ที่หลังชนะงานประมูล sportswear ทีมชาติไทย

จุดนั้นถือเป็นความท้าทายใหม่ เเละถึงเวลาที่จะต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทโดยตรง ตัวเขาเองจึงได้ไปลงคอร์สเรียนธุรกิจดิจิทัล เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ทำให้มีวิสัยทัศน์มาช่วยเร่งสปีดในเรื่องการปรับส่วนต่างๆ ในองค์กร

“ถ้าเราไม่ตัดสินใจทุ่มลงทุนในเรื่องออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2017 เราคงไม่ได้มาอยู่ตรงจุดนี้”

โดยเริ่มจากการพัฒนาช่องทางการค้า e-commerce  ทั้ง Inbox Facebook , LineAds, eCommerce เเละ marketplace ชื่อดังต่างๆ อย่าง Lazada ฯลฯ

ทางโครงการ Smart Business Transformation ( SBTP) โดยธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เเละ the FinLab ได้แนะนำให้ Warrix ได้รู้จักกับระบบบริหารกิจกรรมทางการขายบนช่องทางที่หลากหลายให้อยู่บนแพลตฟอร์มเดียว และทำให้เราสามารถพัฒนาต่อยอดจากตรงนั้นได้

เหล่านี้ ทำให้เเบรนด์เห็นความสำคัญของ Data Management การลงทุนกับเว็บไซต์ เเละการนำ AI มาใช้

“เราเริ่มลงทุนกับเว็บไซต์สูงขึ้น ใช้เงินทุนไปหลายล้าน ในส่วนตรงกลางเราก็ลิงก์กับระบบซัพพลายต่างๆ หลังบ้าน เราใช้ SAP B1 ติดตั้งใช้งานเรียบร้อย การเชื่อมต่อได้ดีขึ้น จากนั้นก็กลับมาลงทุนที่หน้าบ้านเราให้ดีขึ้นอีก เเละทำอย่างต่อเนื่อง เพราะเครื่องมือทางการตลาดก็มีออกมาเรื่อยๆ”

เมื่อถามถึงการเข้าสู่เทคโนโลยีโลก Metaverse ของเเบรนด์เสื้อผ้าอย่าง Warrix นั้น เขายอมรับว่ามีความเสี่ยง และยังเป็นเรื่องที่ใหม่มาก เเต่ก็มองเป็น high risk, high return

ดังนั้น ต้องมีการแสวงหาความร่วมมือ จับมือกับผู้เชี่ยวชาญ อย่างการจับมือกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตและบริษัท อินเด็กซ์ ทำ MOU เพื่อร่วมทุนกันซื้อพื้นที่ใน ‘sandbox’

“เราต้องก้าวไปในอนาคต เพื่อไปจับคนกลุ่มใหม่ พาร์ทเนอร์ และความรู้พื้นฐานถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ควรอัปเดตความรู้อยู่เสมอ เพราะการเรียนรู้ทำได้ไม่มีวันจบ มีเครื่องมือทางการตลาดออกมาใหม่มากมาย”

ปัจจุบัน Warrix มีส่วนออนไลน์คิดเป็น 1 ใน 3 ของช่องทางการตลาดทั้งหมด พร้อมมีการจัดงบโฆษณาออนไลน์ ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นรายได้อย่างมาก รวมถึงการใช้ Data Management ในการกระตุ้นยอดขาย

“มีใจสู้ ไม่ยกธงขาวไปก่อน วิกฤตโควิดถือว่าเป็นช่วงที่หนักที่สุด เเต่ผมรู้สึก down แค่วันเดียว เราต้องตัดสินใจเรื่องธุรกิจบนพื้นฐานความจริง ทั้งปัญหาระยะสั้นและระยะยาว”

สำหรับเป้าหมายของ Warrix คือการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่น
 การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทำให้เเบรนด์สามารถที่จะขยายธุรกิจเข้าไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม โดยไม่ต้องพึ่งพาเอเจนท์ เพราะเมื่อลูกค้าสนใจสินค้า ก็สามารถเข้าดูสินค้าได้เอง และสั่งได้เองโดยตรงจากเว็บไซต์ของบริษัท หรือตาม marketplace ต่างๆ

-ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ของ www.warrix.co.th ที่มีฟังก์ชั่นการค้นหาสินค้าผ่านการเลือกสี ไซส์ ราคา ขนาด ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น

โดยความท้าทายในการขยายธุรกิจนั้น ก็มีหลายด้าน ทั้งการดิสรัปองค์กร การทำ branding ความท้าทายด้านทรัพย์สินทางปัญญา เเละด้าน digitalization

การสร้างแบรนด์ ให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่งให้ได้นั้นมีความสำคัญมาก เพราะการผลิตสินค้าทุกวันนี้ เอาเข้าจริงก็มักจะมาจากโรงงานเดียวกัน แหล่งวัตถุดิบเดียวกัน แบบก็คล้ายๆ กัน แต่ branding เป็นสิ่งที่จะทำให้เราตั้งราคาได้ต่างกัน เเละได้รับความเชื่อถือจากผู้ซื้อต่างกัน

“ตอนเริ่มทำสินค้าเสื้อผ้า มีแต่คนมาเตือนว่าตลาดเสื้อผ้าอยู่ช่วง sunset ช่วงขาลง แต่ไม่จริงเลย มีโอกาสเกิดใหม่ สร้างโอกาสใหม่ได้มากมาย”

ผู้บริหารต้องสร้างแบรนด์ให้ใหม่ หาทางหนีออกมาจากตลาดที่แข่งขันด้วยราคาให้ได้ หันมาสร้างแบรนด์ให้มี value พัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ ตราบใดที่คนเราต้องใส่เสื้อผ้าออกจากบ้าน ก็จะต้องเกิดดีมานด์ขึ้น ต้องเดินให้ถูกทางไปพร้อมความต้องการของลูกค้า สร้างความน่าเชื่อถือในแบรนด์ เป็นจุดมีความสำคัญมากๆ

Davie Jones เจาะอีคอมเมิร์ซเเบบ ‘คีพคาแร็กเตอร์’ 

Davie Jones เเบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นผู้ชาย ที่เริ่มจากการเป็นโรงงานผลิตเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ และเริ่มปรับตัวมาจับตลาดในประเทศ หลังเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2015 ณ ตอนนี้มีการขยายสาขา 50-60 แห่งทั่วประเทศ เน้นช่องทางห้างสรรพสินค้าและทางออนไลน์

ศิพิมพ์ อุ่นวรวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและอีคอมเมิร์ซ บริษัท วี.พี.อาร์.เอส. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของแบรนด์ Davie Jones กล่าวว่า ทุกวันนี้ลูกค้าได้เปลี่ยนทางเลือกในการจับจ่าย กำลังการซื้อของลูกค้าบางกลุ่มไม่ได้ลดลง แต่ลูกค้าหันมาช้อปปิ้งออนไลน์เเทน กดซื้อจากไหนก็ได้ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เเบรนด์อยากจะทรานส์ฟอร์มเเละต้องการที่รวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด

เราต้องการรู้จักลูกค้าของเรา รู้ความต้องการ รู้สัดส่วนต่างๆ ในตลาด  ซึ่งเมื่อเรามาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว ก็ทำให้เรารู้จักลูกค้าได้เร็วขึ้น เปลี่ยนจาก fast/mass fashion มาสู่ realtime fashion”

ปัจจุบันมีแบรนด์เสื้อผ้าเกิดใหม่มากมาย แต่เราต้องมีตัวตนที่ชัดเจน มีคุณภาพของสินค้าที่ดี ด้วยความที่ Davie Jones มีโรงงานของตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้ พร้อมมีปัจจัยสนับสนุนหลายอย่างประกอบกัน เมื่อลูกค้าทำการซื้อแล้ว ก็เกิดการ re- purchase กับมาซื้ออีกกับเเบรนด์เรา

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ทำให้เเบรนด์สื่อสารผ่านเว็บไซต์ของตัวเองได้ ต่อไปก็จะขยายไปสู่ตลาดเพื่อนบ้าน ที่มีภาษาใกล้เคียงกันเเละชื่นชอบสินค้าไทย อย่าง สปป.ลาว

ตลอดออนไลน์เป็นโลกที่ต้องรีบเข้าไป จะช่องทางไหนก็ต้องรีบเข้าไปดู ไม่มีคำว่าช้าไป เพราะการที่จะสร้างให้เป็นแบรนด์ที่หนึ่งในใจได้ ต้องสามารถเข้าถึงลูกค้าแม้ในภาวะที่มีปัญหามากมาย ลูกค้าก็ยังสามารถเข้าถึงสินค้าได้

โดยแพลตฟอร์มการขายทางออนไลน์ช่วยให้ยอดขายของ Davie Jones พุ่งกระฉูดช่วงโควิด เเม้จะมีสัดส่วนออนไลน์ประมาณ 20% เท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็น activewear, casualwear, streetwear เเบรนด์จะต้องมีตัวตนที่ชัดเจน อย่าง Davie Jones มี denim jogger มีแบบขาจัมพ์ เอวจัมพ์ หรือแบบเดินด้ายเขียวสะท้อนแสง เห็นปุ๊บก็รู้ว่าเป็นของเเบรนด์เรา พร้อมมีจุดยืนที่แตกต่างจากเจ้าอื่น และมีความชัดเจนในคาแร็กเตอร์สินค้า มีช่องทางการตลาดแน่นอน เเต่ยืดหยุ่นได้เเละปรับตัวตลอดเวลา

 

]]>
1382271
Levi’s เพิ่มคาดการณ์รายได้ครึ่งปีแรก โต 25% กระจายวัคซีนเร็ว กระตุ้นคนมาช้อปปิ้งที่ร้าน https://positioningmag.com/1327604 Fri, 09 Apr 2021 17:31:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327604 Levi Strauss & Co เเบรนด์ยีนส์รายใหญ่ของโลก ปรับคาดการณ์รายได้ในช่วงครึ่งปีเเรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 25% จากก่อนหน้านี้ตั้งเป้าไว้ที่ 20% หลังการกระจายวัคซีนเร็วกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ เเละยุโรป

Chip Bergh ซีอีโอของ Levi เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของโครงการฉีดวัคซีนทั่วโลก เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้บริษัทปรับคาดการณ์ยอดขายในปีนี้ให้เพิ่มขึ้นเพราะผู้บริโภคเริ่มมั่นใจที่จะกลับมาจับจ่ายใช้สอยอีกครั้ง

โดยอัตราของลูกค้าที่เข้ามาซื้อของในร้านตามสาขาต่างๆ ในหลายประเทศ เริ่มกลับมาอยู่ในระดับปกติขณะเดียวกันยอดขายสินค้าทางออนไลน์ ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทำให้ประเมินว่าธุรกิจของ Levi จะเติบโตได้

เช่นเดียวกับเเบรนด์เครื่องเเต่งกายเจ้าอื่นอย่าง Nike และ Kohl’s Corp ให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่าจำนวนลูกค้าที่เข้าชมสินค้าภายในร้านกลับมาอยู่ในระดับปกติ เเม้ว่ายอดขายทางออนไลน์จะพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดก็ตาม

ด้านผลประกอบการของ Levi ในไตรมาส 1/2021 มีรายได้อยู่ที่ 1.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ก็สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยสาเหตุที่รายได้ลดลงนั้น หลักๆ มาจากผลมาจากการปิดสาขาชั่วคราวในยุโรป ที่มีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 หลายระลอก ส่วนรายได้ที่มาจากทางออนไลน์นั้นเพิ่มขึ้นถึง 41%

 

ที่มา : Reuters , CNBC

]]>
1327604
Levi’s สหรัฐฯ ออกเเคมเปญลดมลพิษ “ซื้อคืนยีนส์เก่า” นำเสื้อผ้ามือสอง “ขายต่อ” ออนไลน์ https://positioningmag.com/1300473 Wed, 07 Oct 2020 14:49:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300473 เเบรนด์ยีนส์ยักษ์ใหญ่อย่าง Levi’s ออกแคมเปญใหม่ เสนอให้ลูกค้านำยีนส์ตัวเก่ามาเเลกบัตรของขวัญมูลค่า 5-35 ดอลลาร์ ตามสาขาในสหรัฐฯ จากนั้นจะนำเสื้อผ้ามือสองไปทำความสะอาดเเละขายต่อบนร้านค้าออนไลน์ที่เพิ่งเปิดใหม่อย่าง Levi’s SecondHand

โดยยีนส์เก่าที่ลูกค้านำมาเเลกบัตรของขวัญนั้น จะถูกประเมินราคาตามอายุ สภาพการใช้งานเเละราคาขายปลีกเดิมของสินค้านั้นๆ เบื้องต้นจะอยู่ในเรท 5-35 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 150-1,000 บาท)

Levi’s SecondHand เป็นโครงการล่าสุดของเเบรนด์เสื้อผ้าที่พยายามจะเจาะตลาด Circular Economy เศรษฐกิจเเบบหมุนเวียน ที่กำลังเป็นเทรนด์ในขณะนี้

ปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตเสื้อผ้า เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ตั้งแต่ปี 2000 – 2014 โดยมีการผลิตสินค้ามากกว่า 1 แสนล้านตัวใน 1 ปี เเต่ทว่าเสื้อผ้าใหม่ที่ขายไปนั้น กลับถูกสวมใส่น้อยครั้งลงกว่าเดิม โดยเฉลี่ยแล้วเสื้อผ้าหนึ่งตัวมีการสวมใส่น้อยลงถึง 36% ทำให้เสื้อผ้าเก่ากลายเป็นขยะเเละถูกนำไปฝังกลบมากขึ้นเเละเป็นมลพิษต่อโลก

ตามรายงานปี 2018 ของ UNECE ระบุว่า อุตสาหกรรมแฟชั่น มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนประมาณ 10% ของโลกและ 20% ของน้ำเสียทั่วโลก

Jennifer Sey หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Levi’s สหรัฐฯ บอกว่าการนำเสื้อผ้ามือสองมาทำความสะอาดเเละซ่อมเเซมจะใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเเละไม่มีการสีย้อมเพิ่มด้วย พร้อมจูงใจลูกค้าว่า หากซื้อกางเกงยีนส์มือสองผ่าน Levi’s SecondHand จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 80% เเละลดขยะไป 700 กรัม เมื่อเทียบกับการผลิตยีนส์ตัวใหม่

ปัจจุบันสินค้าบนเว็บไซต์ Levi’s SecondHand จะป้ายกำกับว่าเป็นสินค้ามือสองที่ผ่านการใช้แล้ว มีราคาตั้งแต่
30 -150 ดอลลาร์สหรัฐ

ไม่ใช่เเค่ Levi’s เท่านั้นที่เปิดโครงการซื้อคืนเเต่ยังมีเเบรนด์เสื้อผ้าต่างๆ อย่าง Patagonia ที่เปิดตัวโครงการซื้อคืนมาตั้งเเต่ปี 2017 เเละเเบรนด์ The North Face ก็ทำแคมเปญในเเบบเดียวกันตามมา

เทรนด์ของ Resale Market กำลังเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ ไปเป็น 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2023 ตามการวิจัยของ ThredUp และ GlobalData Retail

 

ที่มา : hypebeast , business insider, fastcompany 

]]>
1300473
คนล้มต้องซ้ำ ‘Walmart’ สบช่องแบรนด์แฟชั่นตายช่วง COVID-19 ปั้นแบรนด์ ‘Free Assembly’ เสียบแทน https://positioningmag.com/1298043 Mon, 21 Sep 2020 07:34:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298043 ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด COVID-19 แบรนด์ค้าปลีกรายใหญ่ของโลกอย่าง ‘Walmart’ ได้ระบุว่าบริษัทต้องการเพิ่มยอดขายสินค้าทั่วไป เช่น ‘เสื้อผ้า’ เพื่อพยายามเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซให้เป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้ แต่หลังจากที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ขึ้น Walmart เลยมีโอกาสในการคว้าส่วนแบ่งการตลาดในเครื่องแต่งกายไปแบบงง ๆ ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไว้ตั้งแต่ก่อนเกิด COVID-19

เป็นที่รู้กันว่าช่วง COVID-19 ส่งผลต่อ อุตสาหกรรมแฟชั่น เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ทำงานจากที่บ้านเพื่อลดการระบาดของเชื้อ ส่งผลให้เสื้อผ้าเป็นสิ่งที่ ‘ไม่จำเป็น’ ต้องซื้อใหม่ (เพราะไม่รู้จะใส่ออกไปไหน) ซึ่งนั่นทำให้ผู้ค้าปลีกเครื่องแต่งกายรายใหญ่หลายรายต้องปิดตัวลง เช่น แบรนด์ J.C. Penney และ Neiman Marcus ที่ยื่นล้มละลาย ส่วนแบรนด์ Macy’s และ Kohl’s ก็มีรายได้ลดลง

ขณะที่ข้อมูลของ McKinsey and Company ระบุว่ารายได้ของอุตสาหกรรมค้าปลีกและธุรกิจเครื่องแต่งกายจะลดลง 20-30% ทั่วทั้งอุตสาหกรรมในปีนี้ และลดอีก 10-25% ในปี 2021 แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ค้าปลีกจำนวนมากเช่น Walmart และ Target คาดว่าจะเห็นรายได้จากเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้น 10-20% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

“พวกเขาได้รับส่วนแบ่งดังกล่าวจากการที่ห้างร้านที่จำหน่ายสินค้าแฟชั่นปิดตัวลง เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายของร้านค้าแบบครบวงจร เพราะพวกเขากำลังซื้อเครื่องแต่งกายในเวลาเดียวกับที่พวกเขาจะไปรับสินค้าที่จำเป็น” Althea Peng ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นเครื่องแต่งกายและงานหรูหราของ McKinsey ในอเมริกากล่าว

ด้วยความตั้งใจที่จะรุกตลาดแฟชั่นมากขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 และเมื่อเกิดการระบาด คู่แข่งก็พากันล้มหายตายจากไปอีก Walmart เลยถือโอกาสทำข้อตกลงกับ ThredUp แพลตฟอร์มขายสินค้ามือสอง ในการนำสินค้ามือสองในกลุ่มแฟชั่นมาขายบนเว็บไซต์ และล่าสุด Walmart ก็ได้เปิดตัวแบรนด์แฟชั่น ‘Free Assembly’ ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ที่จะขายทั้งทางออนไลน์และในร้านค้า 250 แห่ง

แบรนด์ดังกล่าวได้ Dwight Fenton อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสร้างสรรค์ของ Bonobos และผู้คร่ำหวอดในแบรนด์ต่าง ๆ อาทิ J. Crew, Vineyard Vines และ Old Navy มาเป็นผู้ออกแบบสินค้า โดยเขากล่าวว่า เสื้อผ้าที่เขาออกแบบนั้นให้รู้สึกเหมือนกับ “ชิ้นส่วนที่คุ้นเคยและอยู่เหนือกาลเวลา” ซึ่งลูกค้าสามารถมิกซ์แอนด์แมตช์กับสิ่งที่มีอยู่แล้วในตู้เสื้อผ้าของพวกเขาได้ นอกจากนี้ แบรนด์จะมีความหลากหลายมาก โดยครอบคลุมกลุ่มอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ราคาเริ่มตั้งแต่ 9-45 ดอลลาร์สหรัฐ (280-1,400 บาท)

อย่างไรก็ตาม แม้ Walmart จะมีโอกาสใหม่ในการชิงส่วนแบ่งการตลาดจากร้านค้าปลีกเครื่องแต่งกายเช่น J.C. Penney ที่ฟ้องล้มละลาย และอื่น ๆ เช่น Kohl’s และ Macy’s ที่มียอดขายลดลงเพราะพิษ COVID-19 แต่ Walmart ยังคงต้องพิสูจน์ว่าสามารถตอบสนองรสนิยมของผู้บริโภคซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนในโลกของแฟชั่นได้หรือไม่

Source

]]>
1298043
‘Work from Home’ ทำพิษ จนร้านสูทอายุ 200 ปีต้องยื่น ‘ล้มละลาย’ https://positioningmag.com/1287509 Mon, 13 Jul 2020 08:05:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287509 ในช่วง Covid-19 ที่ผ่านมา มีการทำงานระยะไกลเพิ่มขึ้น 84% และเพิ่มชั่วโมงการทำงานแบบยืดหยุ่นอีก 58% ยังไม่รวมการว่างงานอีก ดังนั้นอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยเฉพาะชุดทำงานจึงกำลังโดนผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากความต้องการที่ลดลง

Photo : Shutterstock

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาร้าน Brooks Brothers แบรนด์เสื้อสูทอายุ 202 ปี ที่มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาถึง 40 คนเป็นลูกค้า และมีสาขากว่า 700 แห่งทั่วโลกต้องยกธงขาวยอมแพ้ ยื่นขอ ‘ล้มละลาย’ ขณะเดียวกัน Ascena Retail Group ซึ่งเป็นเจ้าของกลุ่มเสื้อผ้าของ Ann Taylor และ Lane Bryant ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักโดยกำลังวางแผนที่จะปิดร้านค้าอย่างน้อย 1,200 สาขา จากปัจจุบันที่มีสำนักงานทั้งหมด 2,800 แห่งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเปอร์โตริโก

“มีชายมากกว่า 10 ล้านคนที่ตกงานและอีกหลายล้านคนทำงานจากที่บ้านในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การซื้อชุดสูทจึงไม่ค่อยสำคัญนัก ส่งผลให้ยอดขายชุดทำงานลดลง 74% ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา”

อย่างไรก็ตาม เทรนด์การใส่สูทไปทำงานกำลังจะค่อย ๆ หายไป เพราะคนทั่วโลกก็เริ่มหันเข้าหาชุดลำลอง ชุดสวมใส่สบายมากขึ้น และเกิดแนวโน้มที่พนักงานส่วนใหญ่ในบริษัทยุคใหม่สามารถสวมใส่เสื้อยืด รองเท้าผ้าใบไปทำงานได้ โดยเฉพาะบริษัท Tech Company

“ความจริงก็คือ แนวโน้มของชุดงานกำลังอยู่ในช่วงขาลงมาพักหนึ่งแล้ว และน่าเศร้าที่การระบาดใหญ่เป็นการตอกหมุดสุดท้ายในฝาโลง”

ไม่ใช่เพียงแค่ชุดทำงานเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ เพราะบางคนไม่ได้เปลี่ยนชุดนอนในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยซ้ำ โดยในเดือนมิถุนายน 47% ของผู้บริโภคบอกกับบริษัทวิจัยตลาด NPD ว่าพวกเขาสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดียวกันตลอดทั้งวันขณะอยู่ที่บ้านในช่วงที่มีการระบาดใหญ่และเกือบ 1 ใน 4 กล่าวว่า พวกเขาชอบใส่ชุดนอนชุดนอนหรือชุดนอนเกือบทุกวัน

“ผู้คนไม่ต้องการเปลี่ยนเป็นชุดหลายชุดตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ดังนั้น เทรนด์ต่อไปมันเป็นเรื่องของการผสมผสานชุดที่ใส่แล้วทำให้ตัวเองดูดีที่สุด และยังต้องดูเรียบร้อยสำหรับการทำงาน ที่สำคัญต้องสะดวกสบาย” Maria Rugolo นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของ NPD กล่าว

อ่าน >>> นักวิเคราะห์ชี้ Covid-19 จะ ‘รีเซต’ อุตสาหกรรม ‘แฟชั่น’ คาด 18 เดือนจากนี้ บริษัทระดับโลกล้มละลายอื้อ

อย่างไรก็ตาม Nicola Harrison สไตลิสต์ ระบุว่า ชุดทำงานในปัจจุบันดูเป็นมืออาชีพน้อยกว่าอดีต

“ฉันยังต่อต้านมันอยู่เหมือนกัน สำหรับผู้ชายเสื้อสูทให้ลุคที่ดูเป็นมืออาชีพ กางเกงยีนส์สีเข้ม เสื้อเชิ้ต เสื้อกีฬาไม่ควรไปไกลเกินกว่าการทำงานจากที่บ้าน”

Source

]]>
1287509
เทรนด์ Streetwear บูมไม่หยุด Louis Vuitton เดินเกมเปิด Flagship Store สำหรับ “ผู้ชาย” สาขาเเรก https://positioningmag.com/1285024 Thu, 25 Jun 2020 01:03:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285024 ตลาดเครื่องแต่งกายผู้ชายเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บรรดาเเบรนด์หรูชั้นนำพยายามงัดกลยุทธ์เจาะตลาดกลุ่มนักช้อปผู้ชายกันมากขึ้น

จากรายงานของ Mordor Intelligence ระบุว่า ตลาดเครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชาย มีแนวโน้มที่จะเติบโตถึง 5.7% ในระหว่างปี 2020 – 2025 ปัจจัยหลักๆ มาจากความนิยมของแฟชั่นสายสตรีท หรือเสื้อผ้ากลุ่ม Streetwear ที่กำลังมาเเรงในยุคนี้ รวมถึงเทรนด์ชุดกีฬาที่มีการสวมใส่ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ชายมีทางเลือก ในการเเต่งตัวมากขึ้นและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่มักจะจำกัดเเค่ชุดสูทหรือเสื้อเชิ้ตแบบทั่วไป

ด้วยการเติบโตของเสื้อผ้าผู้ชาย ที่คาดว่าจะตามทันเสื้อผ้าผู้หญิงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แบรนด์เเฟชั่นไฮเอนด์รายใหญ่ อย่าง Prada, Gucci และ Dior ปรับรับเทรนด์ใหม่นี้ด้วยการเริ่มเปิดสาขาที่เน้นขายเครื่องเเต่งกายผู้ชายมากขึ้น

ล่าสุดเเบรนด์หรูอย่าง Louis Vuitton เตรียมเปิด Flagship Store จำหน่ายเฉพาะสินค้าสำหรับ “ผู้ชาย” เป็นครั้งเเรก นำร่องที่ญี่ปุ่น เเม้ตามสาขาทั่วไปของเเบรนด์จะมีสินค้าผู้ชายวางขายอยู่เเล้วก็ตาม เเต่ครั้งนี้จะเป็นการเปิดสาขาที่ขายสินค้าของผู้ชายโดยเฉพาะ

สาขาดังกล่าวจะตั้งอยู่ในย่านเเฟชั่นสำคัญอย่าง มิยาชิตะปาร์คในชิบูย่า ของกรุงโตเกียว มีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 กรกฎาคมนี้ โดยสินค้าภายในร้านจะมีให้เลือกหลากหลาย ทั้งเสื้อผ้าแฟชั่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องประดับ น้ำหอม รวมถึงคอลเลกชั่นพิเศษต่างๆ

Photo: Louis Vuitton

ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 ผู้ที่จะเข้าไปเยี่ยมชม Flagship Store สาขานี้จะต้องปฏิบัติตามมาตรการ Social Distancing โดยจะต้องลงทะเบียนจองล่วงหน้า ผ่านทางเว็บไซต์ของ Louis Vuitton ก่อน เพื่อจำกัดจำนวนลูกค้า ให้มีความปลอดภัยในการใช้บริการ

Louis Vuitton หันมาให้ความสำคัญกับตลาดเสื้อผ้าผู้ชายอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยมีการทุ่มลงทุนครั้งใหญ่ด้วยการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน Streetwear อย่าง Virgil Abloh มานั่งตำเเหน่งครีเอทีฟไดเรกเตอร์ นำทัพสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชาย ซึ่งเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น นำมาสู่การเปิด Flagship Store ในย่านชิบูย่าครั้งนี้

นอกจาก Virgil Abloh ที่กำลังเป็นดีไซเนอร์ดาวรุ่งของวงการเสื้อผ้าผู้ชายเเล้ว ยังมีดีไซเนอร์ที่น่าจับตามองอย่าง Kim Jones ของ Dior Men เเละ Hedi Slimane ของ Celine และล่าสุด Givenchy ก็เพิ่งแต่งตั้ง Matthew Williams ดีไซเนอร์ผู้ก่อตั้งเเบรนด์สตรีทชื่อดัง Alyx เจ้าของคอลเลกชั่น 1017 ALYX 9SM ขึ้นมาเป็นครีเอทีฟไดเรกเตอร์คนล่าสุด

ความเคลื่อนไหวของเเบรนด์หรูเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นทิศทางของเเฟชั่นผู้ชายที่กำลังถูกขับเคลื่อนเเละจะเปลี่ยนเเปลงครั้งสำคัญในเร็วๆ นี้ 

 

ที่มา : CNA , WWD , fashionnetwork

]]>
1285024