หัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวซีรีส์ Mate 70 สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุดที่เป็นรุ่นต่อจาก Mate 60 ซึ่งถือเป็นรุ่นที่ส่งแรงกระเพิ่มในตลาดจีนอย่างมาก รวมถึงยังตอกกลับ สหรัฐฯ ที่จำกัดการเข้าถึงชิป ด้วยการเป็นรุ่นแรกที่รองรับ 5G ด้วยชิปขนาด 7 นาโนเมตรที่พัฒนาเองในประเทศ
และอย่างที่หลายคนรู้ว่าหัวเว่ย ถูกแบนจากการทำธุรกิจกับบริษัทสหรัฐฯ ทำให้หัวเว่ยไม่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการ Android ของ Google ตั้งแต่ปี 2019 ทําให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเองซึ่งก็คือ HarmonyOS
อย่างไรก็ตาม ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS เวอร์ชันแรก ๆ ของบริษัทสร้างขึ้นยังคงรองรับระบบปฏิบัติการ Android อยู่ แต่ Huawei Mate 70 ซีรีส์นี้ จะทํางานบน HarmonyOS NEXT ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่พัฒนาขึ้นเองเต็มรูปแบบตัวแรกของบริษัท
โดยหัวเว่ยตั้งเป้าจะเลิกใช้ระบบปฏิบัติการ Android อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2569 และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หัวเว่ยจะอัปเกรดซอฟต์แวร์ให้สินค้ารุ่นเก่าบางรุ่นให้ใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS NEXT ใหม่นี้ ซึ่งการที่หัวเว่ยจะเลิกพึ่งพาระบบปฏิบัติการ Android ถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสหรัฐฯ
สำหรับ Mate 70 ซีรีส์ จะมีหน่วยประมวลผลที่ได้รับการยกระดับ ซึ่งดำเนินการด้วยระบบปฏิบัติการ HarmonyOS Next ของหัวเว่ยเอง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น 40% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน โดย Mate 70 ซีรีส์จะมีทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเปิดตัว Mate X6 สมาร์ทโฟนจอพับ ราคาเริ่มต้นที่ 12,999 หยวน หรือราว 62,159 บาท
โดยหลังจากเปิดให้จอง Mate 70 ซีรีส์ ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา สามารถทำยอดจองได้ถึง 3 ล้านเครื่อง อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงยอดจองเท่านั้น ไม่ใช่ยอดขาย ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา หัวเว่ยอยู่ อันดับ 3 ตามหลัง Apple ที่อยู่อันดับ 2 ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 15.3% โดยการจัดส่งสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยเพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามข้อมูล IDC
]]>กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ขอให้ TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก หยุดส่งชิปขนาด 7 นาโนเมตร หรือมากกว่า ซึ่งเป็นชิปขั้นสูงที่มีไว้สําหรับขับเคลื่อน AI และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ไปยังประเทศจีน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. นี้
โดยก่อนหน้านี้ ทาง Tech Insights บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีได้แยกชิ้นส่วนสินค้าของ หัวเว่ย (Huawei) ที่เผยให้เห็นชิปของ TSMC อยู่ภายใน ซึ่งถือเป็นการ ละเมิดการควบคุมการส่งออก เพราะหัวเว่ยถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ ส่งผลให้ทาง TSMC ต้องหยุดจัดส่งชิปให้กับบริษัท Sophgo เนื่องจากคาดว่าเป็นบริษัทที่ส่งต่อชิปให้ทางหัวเว่ย
จากเหตุการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การปราบปรามครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายในจีน และจะช่วยให้สหรัฐฯ ประเมินว่าบริษัทอื่น ๆ กําลังเปลี่ยนเส้นทางชิปสําหรับ AI ไปยังหัวเว่ยหรือไม่
ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ร่างกฎใหม่เกี่ยวกับการส่งออกอุปกรณ์ทําชิปจากต่างประเทศ และวางแผนที่จะเพิ่มบริษัทจีนประมาณ 120 แห่ง ในรายชื่อนิติบุคคลที่จํากัดของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงโรงงานผลิตชิป ผู้ผลิตเครื่องมือ และบริษัทที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวยังไม่ถูกบังคับใช้
ทั้งนี้ จากรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมาของ TSMC แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีรายได้จากชิปขนาด 7 นาโนเมตรหรือชิปขั้นสูงถึง 69% จากรายได้ทั้งหมด
]]>แม้ว่า หัวเว่ย (Huawei) วางแผนจะเปิดตัว Huawei Mate XT อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ก.ย. เวลา 14.30 น. ตามเวลาปักกิ่ง ซึ่งจะชนกับ Apple Event เปิดตัว iPhone 16 แต่บริษัทก็ชิง เปิดจอง ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.ย. และภายใน 3 วัน หัวเว่ยก็สามารถกวาดยอดจองไปได้ 2.7 ล้านเครื่อง ก่อนจะวางจำหน่ายจริงในวันที่ 20 ก.ย.นี้
สำหรับจุดเด่นของ Huawei Mate XT คือจะเป็นสมาร์ทโฟน จอพับสามทบ รายแรกของตลาด ตัดหน้า ซัมซุง (Samsung) ที่เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมจอพับ ไม่เพียงแค่สามารถพับได้สามทบ แต่หัวเว่ยยังทำได้ บางกว่า และในไตรมาส 1 หัวเว่ยยังสามารถแซงหน้าซัมซุงขึ้นเป็น เบอร์ 1 ในตลาดสมาร์ทโฟนจอพับด้วยส่วนแบ่งตลาด 35% เติบโตถึง +257%
ที่ผ่านมา หัวเว่ยสามารถกลับมาผงาดในตลาดสมาร์ทโฟนได้อีกครั้งด้วยการเปิดตัว Mate 60 Pro ที่สามารถรองรับ 5G ได้ โดยในไตรมาส 2/2024 ที่ผ่านมา หัวเว่ยยังคงรักษา อันดับ 4 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 15% มียอดจัดส่ง 10.6 ล้านเครื่อง
ขณะที่ Apple กลับหลุดจากตำแหน่ง Top 5 ด้วยส่วนแบ่งตลาดที่เหลือ 14% ลดลงจาก 15% ในไตรมาสแรก โดยคาดว่ามียอดจัดส่งอยู่ที่ 9.7 ล้านเครื่อง ตามการคํานวณของ CNBC
ก็คงต้องรอดูว่า iPhone 16 ที่กำลังจะเปิดตัวในคืนนี้ จะสามารถช่วยให้ Apple กลับมาผงาดในตลาดจีนอีกครั้งได้หรือไม่ เพราะในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา Top 5 ของตลาดสมาร์ทโฟนของจีนถูกครองโดยผู้เล่นจีนทั้งหมด
]]>เยอรมนี จะเลิกใช้ส่วนประกอบที่ผลิตโดย Huawei และ ZTE ของจีนจากเครือข่ายไร้สาย 5G ในอีก 5 ปีข้างหน้าโดยผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรวมถึง Vodafone, Deutsche Telekom และ Telefonica ได้ตกลงที่จะ ถอดส่วนประกอบออกจากเครือข่าย 5G โดยภายในสิ้นปี 2029 ส่วนประกอบเหล่านี้จะต้องถูกกําจัดออกจากเครือข่ายการเข้าถึงและการขนส่ง
“ด้วยวิธีนี้ เรากําลังปกป้องระบบประสาทส่วนกลางของเยอรมนีในฐานะที่ตั้งธุรกิจ และเรากําลังปกป้องการสื่อสารของพลเมือง บริษัท และรัฐ เราต้องลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการพึ่งพาด้านเดียวซึ่งแตกต่างจากในอดีต” แนนซี่ เฟเซอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเยอรมนี กล่าว
ในแถลงการณ์เดียวกัน รัฐบาลเยอรมันเน้นย้ำถึงความสําคัญของ โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่ปลอดภัยและยืดหยุ่น เนื่องจาก อันตรายของการก่อวินาศกรรมและการจารกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงช่องโหว่ดังกล่าว จึงต้องพึ่งพา ผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม Huawei ออกแถลงการณ์ว่า ไม่มีหลักฐานหรือสถานการณ์เฉพาะ ที่ยืนยันว่าเทคโนโลยีของตนมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และบริษัทร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงและความก้าวหน้าของความปลอดภัยทางไซเบอร์ และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายมือถือและการทําให้เป็นดิจิทัลในเยอรมนี
ขณะที่ สถานทูตจีนในเยอรมนี ให้คํามั่นว่า จะใช้มาตรการที่จําเป็นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทจีน และเตือนว่า การเคลื่อนไหวของเยอรมนีกำลัง ทําลายความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองฝ่าย และจะส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในอนาคตระหว่างจีนและยุโรปในสาขาที่เกี่ยวข้องด้วย
ปัจจุบันจีนถือเป็น คู่ค้ารายใหญ่ที่สุด แต่ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศเริ่มตึงเครียดยิ่งขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่รัฐบาลเยอรมนีได้ปิดกั้นการขายบริษัทในเครือโฟล์คสวาเกนให้กับบริษัทรัฐของจีนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ ซึ่งทําให้เกิดการตําหนิจากปักกิ่ง ขณะที่ตอนนี้จีนยังอยู่ในช่วงพิพาททางการค้ากับสหภาพยุโรป ซึ่งขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าของจีน
ก่อนหน้าที่เยอรมนีลจะแบน Huawei ในเครือข่าย 5G ก็มีสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และญี่ปุ่นสั่งห้ามบริษัทสร้างเครือข่าย 5G ของตน เนื่องจาก ความกลัวว่ารัฐบาลจีนอาจใช้ Huawei เพื่อสอดแนมพลเมืองของตน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังวาง Huawei ไว้ในรายการจํากัดการค้าในปี 2019 ซึ่งทําให้บริษัทได้รับชิปเซมิคอนดัก เตอร์จากซัพพลายเออร์ชาวอเมริกันได้ยากขึ้น ข้อจํากัดเหล่านั้นถูกเข้มงวดขึ้นอีกเมื่อต้นปีนี้
ตามรายงานประจําปีของ Huawei ทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาคิดเป็น 21% ของรายได้ในปีที่แล้ว
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Huawei ผู้ผลิตสินค้าโทรคมนาคมและสินค้าไอทีในจีน เตรียมปรับกลยุทธ์ในการขายครั้งใหม่ โดยล่าสุดยักษ์ใหญ่จากจีนรายนี้ได้เตรียมที่จะเปิด Flagship Store เพิ่มเติม หลังจากที่ไม่เคยขยายสาขาประเภทดังกล่าวเลยนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา
นอกจากนี้ Huawei เองยังเตรียมที่จะปรับปรุงสาขา Flagship Store บางสาขาให้ดูทันสมัยเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย เช่น สาขาเซี่ยงไฮ้ ที่บริษัทได้ปรับปรุงสาขาทำให้มีบรรยากาศที่ดีมากขึ้น ซึ่งสื่อรายดังกล่าวได้สัมภาษณ์ลูกค้าหญิงรายหนึ่ง โดยเธอได้กล่าวว่าบรรยากาศร้านนั้นดีกว่า Apple Store ด้วยซ้ำ
สาเหตุที่ทำให้ Huawei กลับมาขยาย Flagship Store เพิ่มคือ บริษัทยังมีสาขาร้านประเภทดังกล่าวน้อยกว่าคู่แข่งอย่าง Apple ที่มีสาขามากถึง 49 สาขาในจีน ขณะที่บริษัทนั้นมีสาขาแค่ 11 สาขาเท่านั้น และบริษัทไม่ได้ขยายสาขาดังกล่าวเพิ่มเลยนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา
ไม่เพียงเท่านี้ความต้องการของโทรศัพท์มือถือของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวในรุ่น Mate 60 Pro หรือแม้แต่รุ่นเรือธงล่าสุดอย่าง Pura 70 นั้นทำให้ความต้องการสินค้ามีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นยังส่งผลทำให้ Apple ที่เป็นแบรนด์ต่างประเทศที่ครองตลาดจีนมาเป็นเวลานานนั้นมียอดขายลดลง ตรงข้ามกับแบรนด์จีนอย่าง Huawei ที่มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้บริษัทมองเห็นถึงโมเมนตัมจากเรื่องดังกล่าวเช่นกัน
ปกติแล้ว Huawei มักจะใช้โมเดลการขยายสาขาให้กับผู้จัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทในการเปิดสาขา ซึ่งตัวเลขล่าสุดจนถึงเดือนตุลาคมปี 2023 บริษัทมีสาขาประเภทดังกล่าว 5,200 สาขาทั่วประเทศจีน
Lucas Zhong นักวิเคราะห์จาก Canalys มองว่าการที่ Huawei ได้ขยายสาขาประเภท Flagship Store ได้ช้าผิดปกติคือบริษัทได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา และยังรวมถึงปัญญหาด้าน Supply Chain ทำให้บริษัทต้องโฟกัสในการแก้ปัญหาด้านธุรกิจเรื่องดังกล่าวเป็นอันดับแรก
แต่หลังจากปัญหาดังกล่าวคลี่คลาย รวมถึงความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคชาวจีน ทำให้บริษัทมีแผนในการขยายสาขา Flagship Store เพิ่มขึ้นนั่นเอง
]]>Huawei ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าไอทีและโทรคมนาคมของจีน ได้วางขายโทรศัพท์มือถือรุ่น Pura 70 อย่างเป็นทางการ หลังจากที่บริษัทได้รีแบรนด์รุ่นโทรศัพท์เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็ได้กระแสตอบรับของผู้บริโภคชาวจีนดีไม่น้อยทั้งออนไลน์และในร้านค้าตามเมืองใหญ่
สำหรับโทรศัพท์ Pura 70 ที่วางขายในวันนี้จะมีรุ่น Ultra ซึ่งถือเป็นโทรศัพท์รุ่นแพงที่สุดนั้นจะมีราคา 9,999 หยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 50,000 บาท และรุ่น Pro ที่มีราคาเริ่มต้น 6,499 หยวน
ในส่วนรุ่นเริ่มต้นอย่าง Pura 70 จะมีราคาเริ่มต้นที่ 5,499 หยวน และ Pura Pro+ ที่มีราคาเริ่มต้น 7,999 หยวนจะเริ่มวางขายในวันที่ 22 เมษายน
บนเว็บไซต์ของ Huawei ผู้บริโภคชาวจีนได้จองซื้อ Pura 70 ทั้งรุ่น Pro และ Ultra หมดภายในเวลาไม่กี่นาที ขณะที่หน้าร้านของบริษัทตามเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ก็มีคิวยาวเช่นกัน แต่พนักงานของร้านให้ผู้ที่ซื้อโทรศัพท์จะต้องเปิดเครื่องเพื่อลงทะเบียนใช้งานจริง ป้องกันไม่ให้นำโทรศัพท์รุ่นดังกล่าวไปขายต่อในราคาแพง ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วกับรุ่น Mate 60 Pro
นักวิเคราะห์ยังคาดว่าในโทรศัพท์รุ่น Pura 70 นั้นจะเหมือนการเปิดตัวโทรศัพท์ในรุ่น Mate 60 ที่มีการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศจีน ตั้งแต่ชิป จนถึงชิ้นส่วนอื่นๆ เนื่องจาก Huawei เป็นหนึ่งผู้ผลิตที่ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้มาตรการในการห้ามเข้าถึงชิ้นส่วน หรือแม้แต่เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS
Ivan Lam นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Counterpoint ได้ชี้ว่าโทรศัพท์ในรุ่น Pura 70 อาจเป็นตัวเร่งยอดขายโทรศัพท์มือถือของ Huawei เหมือนกับ Mate 60 Pro ที่เคยทำมาแล้ว ขณะเดียวกันเขาก็มองว่าโทรศัพท์รุ่นดังกล่าวอาจไม่ต้องรอสินค้านานเท่า Mate 60 Pro แม้ว่าจะมีความต้องการสูงก็ตาม
ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นดังกล่าวไม่กี่วัน Huawei ได้มีการรีแบรนด์โทรศัพท์ในรุ่น P ซึ่งเป็นรุ่นพรีเมียมสุดของบริษัท โดยมีการเปลี่ยนชื่อเป็นรุ่น Pura แทน โดยผู้บริหารของบริษัทได้กล่าวถึงการออกแบบตัวเครื่องที่เน้นความเรียบง่าย สวยงาม รวมถึงการใช้นวัตกรรมทันสมัย
ในปี 2023 ที่ผ่านมา Huawei ได้จำหน่ายโทรศัพท์มือถือไปแล้วถึง 32 ล้านเครื่อง
คาดว่ากระแสของโทรศัพท์รุ่น Pura 70 นี้อาจสร้างความยากลำบากให้กับคู่แข่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Apple ที่พบกับแรงสนับสนุนโทรศัพท์ที่ผลิตในประเทศจีนอย่างรุ่น Mate 60 จนทำให้ยอดขายตกมาแล้วในปีที่ผ่านมาก็เป็นได้
ที่มา – China Daily, Reuters, South China Morning Post
]]>ตามรายงานของ Counterpoint Research พบว่า ในช่วง 6 สัปดาห์แรกของปี 2024 ยอดขายของ iPhone ลดลง 24% เนื่องจาก Apple เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากบริษัทสมาร์ทโฟนของจีน ไม่ว่าจะเป็น Huawei, Oppo, Vivo และ Xiaomi โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงกดดันจาก Huawei ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน ที่กำลังฟื้นตัวหลังจากเปิดตัวสมาร์ทโฟน Mate 60
อย่างไรก็ตาม ตลาดสมาร์ทโฟนโดยรวมในจีนหดตัวลง 7% ซึ่งไม่ใช่แค่ยอดขาย iPhone ที่ลดลง แต่บริษัทสมาร์ทโฟนคู่แข่งหลายรายในจีนก็มียอดขายลดลงเช่นกัน เพียงแต่การลดลงดังกล่าวมีความชัดเจนน้อยกว่าของ Apple อาทิ Vivo และ Xiaomi ลดลง 15% และ 7% ตามลำดับ ยกเว้น Oppo ที่ลดลงมากถึง 29%
สำหรับแบรนด์สมาร์ทโฟนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในช่วง 6 สัปดาห์แรก ได้แก่ Huawei และ Honor อดีตแบรนด์ลูกของ Huawei ที่แยกออกมาในปี 2020 อันเป็นผลมาจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ โดยการจัดส่งสมาร์ทโฟน Huawei เพิ่มขึ้น +64% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงหกสัปดาห์แรกของปี 2024 ส่วน Honor เพิ่มขึ้น +2%
ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนในจีนของ Apple ลดลงเหลือ 15.7% ทำให้ตกมาอยู่อันดับ 4 จากเดิมอยู่ที่อันดับ 2 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ซึ่งเคยครองส่วนแบ่งตลาดที่ 19% ส่วน Huawei ไต่ขึ้นมาอยู่อันดับ 2 โดยส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 16.5% จากเดิม 9.4% ในปีก่อนหน้า ปัจจุบัน แบรนด์ที่มีส่วนแบ่งตลาดในจีน 5 อันดับแรก ได้แก่ Vivo, Huawei, Hornor, Apple และ Xiaomi
ต้องยอมรับว่าครั้งหนึ่ง Huawei เคยเป็นผู้เล่นสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดในโลก หากวัดจากปริมาณการขาย และ Huawei เป็นผู้เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนจากจีนเพียงรายเดียวที่สามารถงัดกับ Apple ได้ในตลาดระดับไฮเอนด์ แต่จากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้ Huawei สูญเสียความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากขาด 5G และไม่มีเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำสมัย แต่ในปีที่ผ่านมา Huawei ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนชื่อ Mate 60 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อ 5G ได้ ส่งผลให้แบรนด์ Huawei เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
“Huawei กำลังกลับมาอีกครั้งโดยพยายามที่จะดึงลูกค้าที่ 2-3 ปีก่อนได้ย้ายค่ายไปใช้ iPhone และไม่ใช่แค่ Apple แต่แบรนด์จีนอื่น ๆ ก็รู้สึกได้ถึงความร้อนแรงของ Huawei ในกลุ่มพรีเมียม” Neil Shah นักวิเคราะห์จาก Counterpoint Research กล่าว
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและโทรศัพท์มือถือจากจีนอาจลดกำลังการผลิตโทรศัพท์มือถือลง หลังจากความต้องการชิปเร่งการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ (AI)
โรงงานผลิตชิปของ Huawei บางโรงงานที่ปกติไว้ผลิตชิป Kirin ให้กับโทรศัพท์มือถือรุ่น Mate 60 Pro ถูกเปลี่ยนมาผลิตชิป Ascend 910B ซึ่งเป็นชิปเร่งการประมวลผล AI แทน แม้ว่าข้อมูลจาก Counterpoint ชี้ว่า Huawei ได้กลับมาครองแชมป์ยอดขายมือถือในช่วง 2 สัปดาห์แรกของปี 2024 ก็ตาม
การหันมาผลิตชิป Ascend 910B เนื่องจากอัตราความสำเร็จในการผลิตชิปของ Huawei ถือว่าต่ำมาก เป็นผลจากการห้ามส่งออกเครื่องจักรผลิตชิปของสหรัฐฯ บริษัทจึงต้องให้ความสำคัญกับการผลิตชิปตัวดังกล่าวก่อน
ผู้ที่สั่งซื้อโทรศัพท์รุ่น Mate 60 Pro อาจต้องใช้เวลารอยาวนานขึ้นกว่าเดิมอีก เนื่องจากกำลังการผลิตชิป Kirin เองก็มีจำนวนจำกัดเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้สัญญาว่าโทรศัพท์รุ่นดังกล่าวผู้ที่สั่งซื้อจะได้รับเครื่องภายในระยะไม่เกิน 90 วัน
ในเดือนสิงหาคมปี 2023 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวถึงความต้องการชิปเร่งการประมวลผล AI ของบริษัทเทคโนโลยีจีน ไม่ว่าจะเป็น Baidu ByteDance Tencent และ Alibaba ได้สั่งซื้อชิปรุ่น A800 ของ Nividia มูลค่ามากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันก็ยังได้สั่งการ์ดประมวลผลกราฟิกอีกเป็นมูลค่ามากถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะส่งมอบในปีนี้
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวตามมาหลังจากที่ Nvidia ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปเร่งประมวลผล AI จากสหรัฐฯ กำลังจะถูกแบนห้ามส่งออกชิปเร่งการประมวลผล AI ไปยังจีน แม้ว่าบริษัทจะพัฒนชิปเพื่อวางจำหน่ายสำหรับลูกค้าในประเทศจีนและยังตรงตามข้อกำหนดของรัฐบาลสหรัฐฯ แล้วก็ตาม
ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะห้ามการส่งออกชิปเร่งการประมวลผล AI ไปยังประเทศจีน Nvidia ยังครองส่วนแบ่งตลาดด้วยสัดส่วนมากถึง 90% ในส่วนที่เหลือคือผู้เล่นรายอื่นๆ ซึ่งรวมถึง Huawei
ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ Huawei ได้เข้ามาอุดช่องว่างความต้องการดังกล่าว โดยลูกค้ารายใหญ่อย่าง Baidu แม้จะสั่งซื้อชิปจาก Nvidia ไปแล้ว ก็ยังมีการสั่งชิปของ Ascend 910B เพิ่มเติมเป็นจำนวนมากเช่นกัน
นักวิเคราะห์ได้กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ Huawei อาจจับมือร่วมกันกับ SMIC เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตมาช่วยเร่งการผลิตชิป Ascend 910B เพิ่มมากขึ้น โดยชิปตัวดังกล่าวทางการจีนได้ตั้งเป้าที่จะลดการพึ่งพาชิปจากต่างประเทศ และเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีเทคโนโลยี AI ในประเทศมากขึ้น
]]>21st Century Business Herald สื่อธุรกิจในประเทศจีน ได้รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า หัวเว่ย (Huawei) ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและสินค้าไอทีจากประเทศจีน ได้เตรียมเปิดตัว HarmonyOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ภายในปี 2024
แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวได้รายงานว่า ผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งใน Huawei กล่าวว่าแผนของ HarmonyOS กำลังเป็นไปตามแผนของบริษัทในขณะนี้ โดยล่าสุดได้มีการทดลองติดตั้ง OpenHarmony ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแจกฟรี แต่มีระบบพื้นฐานเหมือนกับ HarmonyOS ลงใน Laptop ของ HP ด้วย (คลิปด้านล่าง)
Huawei ได้เปิดตัว HarmonyOS ในปี 2019 เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกา ทำให้บริษัทต้องพัฒนาระบบปฏิบัติการขึ้นมาโดยเริ่มต้นจากการเป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือ ก่อนที่จะขยายมาสู่ PC หรือแม้แต่ตั้งเป้าขยายไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจของบริษัทในหลายด้าน
สื่อจากประเทศจีนยังได้รายงานถึงส่วนแบ่งตลาดของ HarmonyOS นั้นอยู่ที่ราวๆ 2% ยังตามหลังระบบปฏิบัติการจาก Google อย่าง Andriod และ Apple อย่าง iOS อยู่มาก
โดย Huawei ตั้งเป้าที่จะให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งาน HarmonyOS ได้อย่างไร้รอยต่อในหลากหลายอุปกรณ์ และมีประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยม อย่างไรก็ดีรายละเอียดเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการดังกล่าวสำหรับเครื่อง PC ยังมีออกมาไม่มากนัก และคาดว่าจะเห็นรายละเอียดดังกล่าวมากขึ้นในปี 2024 นี้
ที่มา – 21st Century Business Herald ผ่านเว็บไซต์ Huawei Central, Ifeng
]]>หัวเว่ย (Huawei) ประกาศเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2023 ว่า บริษัทมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ “ฉางอัน” (Changan Auto) เพื่อทำธุรกิจด้านระบบรถยนต์อัจฉริยะแบบครบลูป ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การผลิต ขาย และบริการหลังขาย โดยจะมีการยกแผนก ทรัพยากร และเทคโนโลยีแกนกลางที่หัวเว่ยพัฒนามาก่อนหน้านี้ เข้าไปพัฒนาต่อที่บริษัทร่วมทุนแห่งใหม่
“บริษัทใหม่นี้จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อสนับสนุนการเป็นผู้นำและนวัตกรรมในด้านเทคโนโลยีระบบรถยนต์อัจฉริยะ และสนับสนุนการพัฒนาและความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมรถยนต์” ถ้อยแถลงจากหัวเว่ยระบุ
ฝั่งบริษัท Chongqing Changan Automobile แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เสิ่นเจิ้นเรื่องการร่วมทุนครั้งนี้ว่า มูลค่าการร่วมทุนและอัตราส่วนการร่วมทุนยังอยู่ระหว่างเจรจา
“ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทเพื่อเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมระบบรถยนต์อัจฉริยะในประเทศจีน” เป็นคำแถลงจากฝั่งฉางอัน
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว Reuters มีการรายงานว่าบริษัทร่วมทุนใหม่นี้ ฉางอันน่าจะถือหุ้น 40% และฝั่งหัวเว่ยถือหุ้น 60%
ด้าน Yu Chengdong กรรมการผู้จัดการและประธานแผนกโซลูชันรถยนต์อัจฉริยะของหัวเว่ย กล่าวในงานลงนามความร่วมมือที่เสิ่นเจิ้นว่า ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจะมีการทำงานร่วมกับบริษัทรถยนต์มากขึ้น “เพื่อคว้าโอกาสในช่วงทรานสฟอร์มเป็นรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์อัจฉริยะในวงการยานยนต์”
“หัวเว่ย” ชี้แจงหลายครั้งมาก่อนหน้านี้ว่า บริษัทไม่มีการผลิตรถยนต์ของตนเอง เพียงแต่ทำงานเบื้องหลังเพื่อช่วยให้บริษัทรถยนต์อื่นๆ ผลิตรถยนต์ที่ดีขึ้น
นอกจากฉางอันแล้ว หัวเว่ยยังมีความร่วมมือกับ “เซเรส กรุ๊ป” บริษัทรถจีนอีกค่ายหนึ่งด้วย โดยทั้งคู่ร่วมงานกันในการผลิตรถยนต์ยี่ห้อ “AITO” มาแล้วหลายรุ่น
รวมถึงหัวเว่ยยังไปจับมือกับ “เชอรี่” อีกหนึ่งบริษัทรถจีน เพื่อพัฒนารถยนต์ยี่ห้อ “Luxeed” รุ่น S7 รถซีดานที่ตั้งใจออกมาแข่งกับ Tesla Model S โดยเฉพาะ
ระบบรถยนต์อัจฉริยะของหัวเว่ยนั้นครอบคลุมทั้งการพัฒนาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่เป็นแกนกลางซอฟต์แวร์รถยนต์ ระบบขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะภายในห้องโดยสาร แอปพลิเคชันในตัวรถยนต์ ระบบคลาวด์เซอร์วิส ไปจนถึงระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย
]]>