Thursday, January 23, 2025
Home Tags Import-Export

Tag: Import-Export

ธุรกิจไทย – ฮ่องกง ปี 2551 … จับตาการลงทุนและการท่องเที่ยว

ที่ผ่านมา ฮ่องกงถือเป็นเมืองท่าทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แม้ว่าในปี 2549 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของฮ่องกงจะอยู่ในอันดับที่ 38 ของโลก แต่รายได้ต่อหัวของประชากรฮ่องกงก็สูงถึง 38,127 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ในช่วงปี 2547-2549 จีดีพีของฮ่องกงมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 8.5, 7.1 และ 6.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าแนวโน้มการขยายตัวในระยะหลายปีที่ผ่านมา...

รายงานผลสรุปการแถลงข่าวอุตสาหกรรมอาหารทะเลของธนาคาร ราโบแบงค์

รายงานผลสรุปการแถลงข่าวอุตสาหกรรมอาหารทะเลของธนาคาร ราโบแบงค์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก สำหรับปี ค.ศ. 2007 ณ โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ - ความได้เปรียบทางการค้าของประเทศไทย - ปัญหาความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล ในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมทางทะเลเสื่อมโทรมลงทุกวัน ธนาคาร ราโบแบงค์ อินเตอร์เนชั่นนัล (“ราโบแบงค์”) เป็นธนาคารที่มีเอกชนเป็นเจ้าของและเป็นธนาคารที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด (Triple-A...

เงินเฟ้อจีน : เพิ่มสูงขึ้น … การส่งออกยังแข่งขันได้

อัตราเงินเฟ้อของจีนและไทย ปี 2550 ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2550 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอยู่ที่ร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของจีนที่วัดจากราคาสินค้าผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.3 เท่านั้น และเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าไทยที่มีค่าเฉลี่ยในช่วงเดียวกันที่ร้อยละ...

JTEPA : ปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทย … ท่ามกลางปัจจัยลบรอบด้าน

เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเผชิญกับปัจจัยกดดันหลายประการ ทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกดดันภาวะเงินเฟ้อของไทย โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งสูงขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เหนือระดับ 97 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทยที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งทำให้การบริโภคภายในประเทศชะลอตัวลงด้วย การแก้ไขกฎหมายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และพระราชบัญญัติค้าปลีก ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ สถานการณ์ความไม่มั่นใจทางการเมือง ...

การส่งออกไทยปี 2550-2551: ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยสนับสนุน

นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจภายในประเทศมีทิศทางที่ชะลอตัว แต่การเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องของภาคการส่งออกเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการส่งออกชะลอตัวลงค่อนข้างมากในไตรมาสที่ 3 โดยมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 12 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 19 ในช่วงครึ่งปีแรก ประกอบกับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นสร้างความกังวลต่อแนวโน้มการส่งออกในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่จะมีผลต่อแนวโน้มการส่งออกโดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ สถานการณ์การส่งออกของไทยปี 2550 ช่วง 9 เดือนแรกของปีไทยส่งออกเป็นมูลค่า 110,598 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 16.07 ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 16.01...

สินค้าปลอมปนสารพิษ : บทเรียนจากจีนสู่ไทย

ปี 2550 เป็นต้นมา เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสินค้าจีนได้ส่งผลให้จีนตกเป็นเป้าโจมตีอย่างหนักจากสื่อมวลชนในต่างประเทศ โดยแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินแต่ยังได้สร้างความตื่นตระหนกแก่ประเทศที่นำเข้าสินค้าจากจีนอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ยาและเวชภัณฑ์ ของใช้ในครัวเรือน ฯลฯ ในเดือนพฤษภาคม 2550 สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ เริ่มดำเนินการสืบสวนกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในมณฑลซานตงทางตอนเหนือของประเทศจีน เนื่องจากตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนสาร เมลามีนในอาหารสัตว์เลี้ยงที่ส่งไปจำหน่ายยังสหรัฐฯ ทั้งนี้ เมลามีนถือเป็นโปรตีนเทียมชนิดหนึ่ง (Fake Protein) เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้สุนัขและแมวในสหรัฐฯ...

สัญญาณร้าย ส่งออกวูบ

“ค่าบาทแข็ง” กระหน่ำซัดภาคการส่งออกต้องตกที่นั่งลำบาก เมื่อเงินดอลลาร์ที่ได้มาเมื่อแลกกลับมาเป็นบาทแล้วลดลง แม้ปริมาณส่งออกจะเท่าเดิม ชะตากรรมของสินค้าส่งออกไทยบางประเภทถูกซ้ำเติม เมื่อเจอคู่แข่งแย่งชิงตลาดด้วยต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่าไทยถึง 3 เท่า อะไรคือจุดอ่อน และจุดแข็งของส่งออกไทยที่ต้องแก้ไข สัญญาณร้ายธุรกิจส่งออกไทย เริ่มออกอาการชัดเจนเมื่อกระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขมูลค่าการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ค่าเงินบาทไหลรูดไปถึงต่ำสุดที่ 32.27 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะแถลงเน้นเป็นตัวเลขที่ใช้หน่วยเป็นดอลลาร์สหรัฐว่ามูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2549 มีมูลค่า 11,810.1...

สหรัฐฯยกเลิกการเก็บภาษีเอดีกุ้งเอกวาดอร์ : ผลกระทบกุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดหรือภาษีเอดีจากการนำเข้ากุ้งของเอกวาดอร์ที่เคยเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 4.42 ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2550 ตามคำตัดสินของคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก ซึ่งดูเหมือนเป็นข่าวดีสำหรับผู้ส่งออกกุ้งของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากไทยก็มีการยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลกในกรณีเดียวกัน แต่ไทยคงต้องรอจนกว่าจะมีคำตัดสินจากองค์การการค้าโลก ถ้ามีคำตัดสินยกเลิกการจัดเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับการนำเข้ากุ้งของไทยก็จะทำให้การส่งออกกุ้งไทยไปยังตลาดสหรัฐฯดีขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้อนาคตของธุรกิจส่งออกกุ้งและธุรกิจเนื่องมีแนวโน้มแจ่มใส เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐฯมีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 50.0 ของมูลค่าการส่งออกกุ้งทั้งหมดของไทย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องระวังคือ ผลกระทบในระยะที่ยังไม่มีคำตัดสินจากองค์การการค้าโลก เนื่องจากจะเป็นช่วงที่เอกวาดอร์จะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบไทย รวมทั้งยังต้องติดตามคำตัดสินของอินเดีย ซึ่งยื่นฟ้ององค์การการค้าโลกเช่นกัน ซึ่งมีแนวโน้มว่ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะประกาศคำตัดสินกรณีอินเดียก่อน เนื่องจากทั้งเอกวาดอร์และอินเดียนั้นยื่นฟ้องเฉพาะกรณีความไม่เป็นธรรมของวิธีการคำนวณอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดเท่านั้น ส่วนไทยนั้นยื่นฟ้อง...

งานสัมมนาเรื่อง อนาคตอุตสาหกรรมส่งออกไทย…ทิศทางและขีดความสามารถในการแข่งขัน

สำหรับผู้สนใจในธุรกิจส่งออก....สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนาเรื่อง……อนาคตอุตสาหกรรมส่งออกไทย...ทิศทางและขีดความสามารถในการแข่งขัน..... "ขึ้นวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ ห้องวิภาวดี บอลรูม กรุงเทพฯ "โดยมีเนื้อหาการสัมมนาที่น่าสนใจอาทิเช่น การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "อนาคตอุตสาหกรรมส่งออกไทย" โดย.....นายโฆษิต...

“ กู้ชาติด้วยศูนย์ค้าส่งสินค้านานาชาติ ” (ภาค 2 )

ตอน ศูนย์ค้าส่งอุปกรณ์ที่ใช้ในร้านอาหาร และโรงแรมนานาชาติ โดย ดร.วิลเลี่ยม วู ในสภาวะปัจจุบัน ผู้ผลิตไทยกำลังถูกภัยคุกคามรอบด้าน ทั้งจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการจัดจำหน่าย ต้นทุนของการขนส่ง ภัยจาก ซัพพลายเออร์ ที่ขยายมาทำตลาดแข่งกับผู้ผลิต ภัยจากลูกค้าที่พยายามจะแย่งงานของผู้ผลิต หรือ การรุกคืบทำเฮ้าส์ แบรนด์ ( House brand...