ZARA – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 04 Jun 2024 03:13:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Zara เตรียมใช้กลยุทธ์ไลฟ์ขายของในหลายประเทศ หลังทดลองในจีนแล้วประสบความสำเร็จ https://positioningmag.com/1476381 Tue, 04 Jun 2024 02:43:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476381 ซาร่า (Zara) ยักษ์ใหญ่ฟาสต์แฟชั่นจากสเปน ได้เตรียมงัดกลยุทธ์ไลฟ์ขายของในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในทวีปยุโรป สหราชอาณาจักร หรือสหรัฐอเมริกา ภายในปี 2024 นี้ หลังจากที่บริษัทได้ทดลองกลยุทธ์ดังกล่าวในประเทศจีนแล้วประสบความสำเร็จ

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Zara ยักษ์ใหญ่ฟาสต์แฟชั่นจากสเปน ได้เตรียมงัดกลยุทธ์ไลฟ์ขายของในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในทวีปยุโรป สหราชอาณาจักร หรือสหรัฐอเมริกา ภายในปี 2024 นี้ โดยจะมีการไลฟ์ผ่านแอปฯ ของบริษัทเป็นหลัก และอาจมีช่องทางอื่นๆ ผ่าน Social Network ด้วย

ยักษ์ใหญ่ฟาสต์แฟชั่นจากสเปน ยังกล่าวว่า การไลฟ์ขายของบริษัทจะเน้นไปยังคอลเลกชั่นเสื้อผ้าผู้หญิง ใช้เวลาราวๆ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง และผู้ที่มาจัดการไลฟ์ขายของนั้นจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในวงการแฟชั่น แต่บริษัทไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าเป็นใคร

บริษัทได้ทดลองไลฟ์ขายของในประเทศจีนมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2023 ที่ผ่านมา โดยการไลฟ์ขายของบน Douyin ซึ่งมีทุกสัปดาห์ แต่ละครั้งในการไลฟ์ขายของนั้นมีระยะเวลามากถึง 5 ชั่วโมง และผลปรากฏว่ายอดขายสินค้าของบริษัทดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ในการไลฟ์ขายของนั้นจะมีนางแบบชาวจีนสวมชุดของ Zara และมีการลองสวมรองเท้าและเครื่องประดับ และบรรยากาศในการไลฟ์ขายของของทางบริษัทค่อนข้างดูสบายๆ เมื่อเทียบกับการไลฟ์ขายของทั่วๆ ไป

Zara ได้ใช้ทีมงาน 70 ระหว่างในการไลฟ์ขายของ โดยสลับมุมระหว่างกล้อง 7 ตัว และการไลฟ์ในแต่ละครั้งจะมี  ผู้ชมที่ไม่ซ้ำกันได้ประมาณ 800,000 คนต่อการไลฟ์ 1 ครั้ง

ตลาดไลฟ์ขายของในประเทศจีนถือว่าเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง ในปี 2023 ที่ผ่านมานั้นมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวนั้นจะเติบโตได้มากถึง 30% และทำให้หลายแบรนด์เริ่มมีการนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาช่วยเพิ่มยอดขายสินค้า หรือแม้แต่ผู้เล่น E-commerce นอกจีนก็ต้องมีฟังก์ชันดังกล่าวให้บริการกับพ่อค้าแม่ค้าด้วย

มุมมองของนักวิเคราะห์อย่าง Krista Corrigan นักวิเคราะห์จาก EDITED มองว่าการไลฟ์ขายของของบริษัทนั้นเป็นเหมือนกับการสร้างความรับรู้ของแบรนด์มากกว่า ขณะที่ Georgina Johanan จาก JP Morgan มองว่ากลยุทธ์ดังกล่าวสำเร็จในประเทศจีนนั้นอาจใช้ไม่ได้กับโลกตะวันตก

ยักษ์ใหญ่ฟาสต์แฟชั่นจากสเปน ได้กล่าวถึงบริษัทได้ลงทุนในวิธีใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้ซื้อ ซึ่งตัวแทนของ Zara ได้กล่าวว่า จะนำกลยุทธ์ไลฟ์ขายของไปใช้ในอีกฝากของโลก แม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยม แต่บริษัทก็มองว่าเป็นสิ่งที่น่าลอง นอกจากนี้ถ้าหากมองในมุมความบันเทิง เรื่องดังกล่าวก็ถือว่าเป็นวิวัฒนการเช่นกัน

]]>
1476381
‘Inditex’ บริษัทแม่ ‘Zara’ ทำยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ฟันกำไรกว่า 5.4 พันล้านยูโร โต 30% https://positioningmag.com/1466174 Wed, 13 Mar 2024 14:10:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466174 แม้ว่าในตลาด Fast Fashion จะมีการแข่งขันสุดร้อนแรง โดยเฉพาะจาก SHEIN แบรนด์จากจีนที่ขึ้นแท่นเจ้าตลาดครองส่วนแบ่ง 1 ใน 5 ของโลก แต่ Inditex เจ้าของแบรนด์ Zara ก็โชว์ผลงานสุดแกร่งโดยมีรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์

หุ้นของ Inditex (อินดิเท็กซ์) เจ้าของ Zara (ซาร่า) แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเพิ่มขึ้นกว่า 6% หลังจากที่บริษัทประกาศผลประกอบการปี 2023 โดยมียอดขายรวมทั้งหน้าร้านและออนไลน์ที่ 3.59 หมื่นล้านยูโร เติบโตขึ้น 10.4% ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่กําไรสุทธิเพิ่มขึ้น 30% สู่ระดับ 5.4 พันล้านยูโร

ในปีที่ผ่านมา Inditex มีหน้าร้านรวมทั่วโลกทั้งหมด 5,692 แห่ง โดยปีนี้ บริษัทมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มเติมในปี 2024 ที่ประมาณ 192 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนที่จะเปิดศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ในปี 2567 และ 2568 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนขยายโลจิสติกส์ โดยบริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 1,800 ล้านยูโรในช่วง 2 ปีนี้

สำหรับ Inditex เป็นบริษัทเสื้อผ้าสัญชาติสเปน โดยมีแบรนด์แฟชั่นในเครือมากมาย อาทิ Zara, Pull & Bear, Bershka, Stradivarius, Massimo Dutti และ Oysho โดยแบรนด์ Zara รวมถึง Zara Home ถือเป็นแบรนด์ที่ทำยอดขายมากที่สุดในปี 2023 ตามมาด้วย Pull & Bear และ Massimo Dutti Inditex

ทั้งนี้ Inditex ทิ้งห่างคู่แข่งอย่าง H&M เนื่องจากนำเสนอแฟชั่นใหม่ ๆ ได้เร็วกว่า และสามารถขายเสื้อผ้าราคาสูงกว่าให้แก่กลุ่มผู้บริโภครายได้สูง เนื่องจากต้องปรับราคาสินค้าเพราะปัญหาเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม บริษัทได้อุดช่องว่างในสินค้าแฟชั่นราคาจับต้องได้ด้วยแบรนด์ Lefties เพื่อใช้ต่อกรกับแบรนด์ Shein จากจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

Source

]]>
1466174
ฝรั่งเศสเตรียมเข็นกฎหมายชุดใหม่ พุ่งเป้าแบรนด์ Fast Fashion ปรับเงินรายชิ้น ให้เหตุผลทำลายสิ่งแวดล้อม https://positioningmag.com/1465451 Thu, 07 Mar 2024 04:42:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465451 ฝรั่งเศสเตรียมเข็นกฎหมายชุดใหม่ พุ่งเป้าแบรนด์ Fast Fashion โดยชี้ถึงการกระตุ้นทำให้คนจับจ่ายใช้สอยมากเกินไป โดยไม่นำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ขณะที่บทลงโทษคือการปรับเงินสินค้ารายชิ้นละ 10 ยูโร และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% ของราคาสินค้าภายในปี 2030

สำนักข่าว Reuters และ Euronews รายงานข่าวว่า ฝรั่งเศสเตรียมที่จะเข็นกฎหมายชุดใหม่โดยพุ่งเป้าไปยังแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion หลายแบรนด์ โดยชี้กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากเกินไป และยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งฝรั่งเศส มองว่าเหล่าแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับหลายพันรายการต่อวัน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายมากเกินไปและยังก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่จำเป็น

ในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ได้กล่าวถึง วิวัฒนาการของเครื่องแต่งกายไปสู่แฟชั่นแบบชั่วคราว ผสมกับจำนวนสินค้าที่เพิ่มขึ้นและราคาที่ถูกนั้นกำลังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างแรงกระตุ้นในการซื้อและทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังระบุถึง Shein แบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion ที่กำลังมีชื่อเสียงในเวลานี้ โดยชี้ว่าบริษัทจากจีนรายดังกล่าวได้นำเสนอเสื้อผ้ารุ่นใหม่มากกว่า 7,200 รุ่นต่อวัน และผลิตผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันมากกว่า 470,000 รายการให้กับผู้บริโภค

คริสตอฟ เบชู รัฐมนตรีกระทรวงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของฝรั่งเศส ได้กล่าวว่า เสื้อผ้าที่เป็น Fast Fashion ถือเป็นหายนะทางระบบนิเวศ โดยเขาชี้ว่าเสื้อผ้าเหล่านี้มีกระบวนการผลิตที่ไม่ดี มีการซื้อกันอย่างแพร่หลาย และถูกโยนทิ้งไปอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลจาก UNEP ชี้ว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าทั่วโลกมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 10% ซึ่งมากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากการขนส่งทางอากาศและทางทะเลด้วยซ้ำ

สำหรับบทลงโทษดังกล่าวถ้าหากกฎหมายออกมา คาดว่าจะมีการปรับเงินเหล่าแบรนด์เสื้อผ้า Fast Fashion เป็นรายชิ้นขั้นต่ำที่ 10 ยูโรต่อชิ้นและอาจปรับเงินเป็นจำนวนมากถึง 50% ของราคาสินค้าภายในปี 2030

ที่มา – Reuters, Euronews

]]>
1465451
รู้จัก “Lefties” แบรนด์ลูกของ “Zara” ซุ่มขยายสาขาท้าชิงตลาดคืนจาก “Shein” https://positioningmag.com/1464083 Tue, 27 Feb 2024 08:22:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464083 รู้จักแบรนด์ลูกของ “Zara” อย่าง “Lefties” แบรนด์ที่บริษัทหวังให้เป็นหัวหอกยื้อตลาดคืนจาก “Shein” เน้นขายเสื้อผ้าแฟชั่นราคาไม่แพง

ผู้หญิงสายช้อปเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นน่าจะรู้จักแบรนด์ “Shein” กันหมดแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก เราขอรีแคปให้สั้นๆ ว่า “Shein” คือ แอปฯ ขายเสื้อผ้าออนไลน์จากจีนที่เน้นดัมพ์ราคาแบบสุดถูก และใช้การตลาดออนไลน์ปั้นจนดังทั่วโลก

ความแรงของ “Shien” สร้างความโกลาหลให้แอปฯ หลายแขนง ไม่ว่าจะ “Amazon” ซึ่งถือว่าทับไลน์กันในฐานะอีคอมเมิร์ซ รวมถึงบริษัท “Inditex” ยักษ์ใหญ่ฟาสต์แฟชั่นจากสเปนก็ชักจะร้อนๆ หนาวๆ เพราะถูกทับไลน์ในตลาดเสื้อผ้า

เหตุนี้ “Inditex” จึงต้องซุ่มสร้างแบรนด์ของตัวเองเพื่อชนกับ “Shein” บ้าง โดยสำนักข่าว Reuters รายงานว่า แบรนด์ที่บริษัทจะใช้คือ “Lefties”

ย้อนความก่อนว่า “Inditex” นั้นคือบริษัทแม่ของ “Zara” ร้านเสื้อผ้าที่ฮิตสุดๆ และยังเป็นเจ้าของแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น Bershka, Pull and Bear, Massimo Dutti ฯลฯ

เมื่อก่อน “Zara” ก็เคยถูกจัดประเภทเป็นฟาสต์แฟชั่น เป็นเสื้อผ้าที่ไม่แพงมาก ซื้อใส่ง่าย หน่ายเร็ว เปลี่ยนบ่อย แต่ระยะหลัง Inditex เริ่มขยับราคาของ Zara ขึ้นเพราะปัจจัยเงินเฟ้อ และทำให้ Zara ต้องพุ่งเป้าไปที่ตลาดระดับกลางบนมากกว่าลูกค้าที่อยากประหยัดเงิน

Lefties
ตัวอย่างสินค้าจาก Lefties แบรนด์ในเครือ Inditex ที่จะมาสู้กับ Shein

แบรนด์ที่จะมาแทนที่จุดนี้จึงเป็น “Lefties” แบรนด์นี้ก่อตั้งเมื่อปี 1993 และเคยอยู่ในฐานะ “ร้านขายของเหลือจาก Zara” มาก่อน แต่ปัจจุบันแบรนด์มีสินค้าของตัวเอง ขายเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องสำอาง ทั้งของ    ผู้หญิง ผู้ชาย เด็กหญิง เด็กชาย

ราคาของ Lefties ถือว่าไม่สูงมาก เช่น กางเกงยีนส์ตัวละ 700 บาท เดรสชุดละ 310 บาท หรือกระเป๋าถือใบละแค่ 240 บาท เป็นช่วงราคาที่สู้กับ Shein ได้

การขยายตัวของ Lefties เห็นได้ชัดเจนในช่วงปี 2019 เป็นต้นมา มีการขยายสาขาสูงขึ้น และขยายไปประเทศใหม่ๆ จนขณะนี้ Lefties เปิดไปแล้ว 17 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี และในเขตตะวันออกกลางและตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เช่น กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย UAE อิสราเอล โมร็อกโก เป็นต้น (*ยังไม่มีสาขาในเอเชียแปซิฟิก)

Leftiesจากการวิจัยตลาดของ Kantar พบว่า Lefties ในประเทศสเปนซึ่งปัจจุบันมี 25 สาขา สามารถเพิ่มจำนวนฐานลูกค้าจาก 5 ล้านคนในปี 2019 ขึ้นเป็น 5 ล้านคนในปี 2023 เกือบจะไล่ตาม Shein ที่มีฐานลูกค้าในสเปน 5.2 ล้านคนได้สำเร็จ

ในแง่การตลาด Lefties กำลังซุ่มตามรอย Shein เช่นกัน ด้วยการจ้าง “ไมโครอินฟลูเอนเซอร์” ทั้งใน Instagram และ TikTok ให้รีวิวสินค้า โดยเปรียบเทียบแฮชแท็กกันได้ดังนี้

  • Instagram แฮชแท็ก #Lefties มีจำนวน 213,000 โพสต์ ขณะที่ #Shein มีจำนวน 10 ล้านโพสต์
  • TikTok แฮชแท็ก #Lefties มีจำนวน 18,500 โพสต์ ขณะที่ #Shein มีจำนวน 5.4 ล้านโพสต์

ยังไม่มีรายงานยอดขายและกำไรของ Lefties โดยตรง เนื่องจากตัวเลขทั้งหมดยังรายงานรวมกับ Zara แต่น่าสนใจว่า Inditex จะดันแบรนด์นี้ไปมากแค่ไหน ทั้งการทำตลาดออนไลน์ และการขยายไปในทวีป อื่นๆ ทั่วโลก

Source

]]>
1464083
ราคาหุ้น “Inditex” บริษัทแม่ของ “Zara” ทะยาน 48% ส่งให้มูลค่าบริษัทสูงระดับ Top 100 ของโลก https://positioningmag.com/1453046 Thu, 23 Nov 2023 04:44:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453046 ธุรกิจ “ฟาสต์แฟชั่น” ฟื้นแรงในปีนี้ ล่าสุดราคาหุ้นบริษัท “Inditex” บริษัทแม่ของ “Zara” ดีดตัวขึ้นไปแล้ว 48% จากต้นปี 2023 ส่งให้มาร์เก็ตแคปขึ้นไปแตะ 1.25 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เข้าทำเนียบ Top 100 บริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก

ราคาหุ้นบริษัท “Inditex” ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติสเปนเจ้าของร้านฟาสต์แฟชั่นชื่อดัง “Zara” ดีดตัวขึ้นสู่ราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 37 ยูโรต่อหุ้นเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2023 ถือเป็นราคาสูงสุดที่เคยทำได้นับตั้งแต่บริษัทนี้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2001

เฉพาะปี 2023 นี้ ราคาหุ้น Inditex หรือชื่อเต็มคือ Industria de Diseño Textile S.A. ปรับขึ้นมาแล้ว 48% จากช่วงต้นปี ทำให้มาร์เก็ตแคปของบริษัททะยานขึ้นแตะ 1.25 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และเข้าไปอยู่ในทำเนียบ Top 100 บริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก

Photo : Shutterstock

หุ้นที่พุ่งขึ้นรอบล่าสุดของ Inditex เกิดจากรายงานของนักวิเคราะห์ที่คาดกันว่า ผลการดำเนินงานรอบไตรมาส 3/2023 ที่บริษัทกำลังจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนหน้านี้ จะทำกำไรสุทธิได้ถึง 1,600 ล้านยูโร ซึ่งถือว่าสูงกว่าปกติ 20% ถ้าเทียบกับไตรมาสอื่นๆ

อานิสงส์จากราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นนี้ทำให้ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Inditex อย่าง “Amancio Ortega” วัย 87 ปี มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นทันทีอีก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มูลค่าความมั่งคั่งของเขาเพิ่มเป็น 9.44 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามการรายงานของ Forbes ปัจจุบัน Ortega เป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 2 ของยุโรป

“Zara” ถือเป็นแบรนด์ที่ทำยอดขายสัดส่วนสูงถึง 73% ในบริษัท Inditex ส่วนแบรนด์อื่นๆ ที่อยู่ภายใต้บริษัทนี้ เช่น Pull&Bear, Massimo Dutti, Bershka, Stradivarius, Oysho เป็นต้น

ขณะที่แหล่งรายได้หลักหากแบ่งตามทวีป 60% ของรายได้ Inditex มาจากทวีปยุโรป ขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ส่งรายได้ให้บริษัททวีปละ 20% เท่าๆ กัน

H&M สาขาปักกิ่ง (Photo : Shutterstock)

ในปีนี้ไม่ได้มีแค่ Inditex ที่ฟื้นตัวแรง เพราะฟาสต์แฟชั่นเจ้าใหญ่อื่นๆ ก็ฟื้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งหลักอย่าง “H&M” ที่ราคาหุ้นพุ่ง 46% ในรอบปี 2023 หรือ “Fast Retailing” บริษัทญี่ปุ่นเจ้าของ Uniqlo ราคาหุ้นก็พุ่ง 22% ในปีนี้

หากวัดจากยอดขายปี 2022 บริษัท Inditex ยังถือว่าใหญ่ที่สุด ด้วยยอดขายรวม 3.29 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ Fast Retailing ยอดขาย 1.84 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และที่ตามมาแบบสูสีคือ H&M ยอดขาย 1.74 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ในสนามแข่งขันด้านฟาสต์แฟชั่น ไม่ได้มีแค่ 3 เจ้าใหญ่นี้อีกแล้ว เพราะฟาสต์แฟชั่นออนไลน์จากจีนอย่าง “Shein” กำลังไล่ฟาดฟัน และกำลังจะพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เร็วๆ นี้ โดย Bloomberg รายงานข่าวคาดการณ์ว่า Shein จะมีมูลค่าบริษัทสูงสุด 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หลังเข้าจดทะเบียนสำเร็จ

Source

]]>
1453046
‘Uniqlo’ กลับมาตามหลัง ‘Zara’ หลังตลาดเอเชียสะดุดเพราะเข้าถึงวัคซีนช้ากว่ายุโรป https://positioningmag.com/1336428 Thu, 10 Jun 2021 10:30:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336428 หลังจากที่มูลค่าบริษัทของ ‘Fast Retailing’ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ ‘Uniqlo’ แซงหน้า ‘Zara’ ไปช่วงสั้น ๆ เมื่อช่วงต้นปี แต่ปัจจุบัน Zara ก็พลิกกลับมาแซง Uniqlo เนื่องจากผู้ที่ได้รับวัคซีนในประเทศฝั่งตะวันตกทำให้หน้าร้านกลับมาเปิดได้อีกครั้งหลังจากการล็อกดาวน์

จากที่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ Uniqlo เคยแซง Zara เนื่องจากบริษัทได้รับประโยชน์จากจุดแข็งในตลาดเอเชีย ซึ่งทำได้ดีกว่าประเทศตะวันตกในช่วงแรก ๆ ของการแพร่ระบาด แต่การเปิดตัววัคซีนในตลาดหลักได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ส่งผลให้มูลค่าตลาดของ Fast Retailing บริษัทแม่ของญี่ปุ่นของ Uniqlo มีมูลค่ารวม 8.7 ล้านล้านเยน (7.94 หมื่นล้านดอลลาร์) ต่ำกว่า Inditex ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในสเปนของ Zara ซึ่งมีมูลค่า 1 แสนล้านยูโร (1.21 แสนล้านดอลลาร์)

ในสหราชอาณาจักรมีอัตราการฉีดวัคซีนต่อ 100 คนอยู่ที่ 103 โดส ขณะที่สหรัฐอเมริกามีอัตรา 91 โดสต่อ 100 คน ตามการวิเคราะห์โดยนิกเคอิและไฟแนนเชียลไทมส์ ขณะที่ในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ตามหลังด้วยปริมาณยา 20 โดสต่อ 100 คน ตามด้วยญี่ปุ่น 14 โดสต่อ 100 คน และมาเลเซีย 11 โดสต่อ 100 คน

แม้ Fast Retailing ยังคงแข็งแกร่งในตลาดหลักในจีน ซึ่งควบคุมการแพร่ระบาดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังน่าห่วง เพราะในมาเลเซีย Uniqlo ต้องปิดร้านทั้งหมด 49 แห่งชั่วคราวเนื่องจากการระบาด ส่วนเวียดนามต้องปิดหน้าร้านถึง 5 ใน 8 แห่ง

ส่วนในญี่ปุ่นก็ประสบปัญหากับการดำเนินงานเช่นกัน โดยในเดือนพฤษภาคม ยอดขาย Uniqlo สาขาเดิมลดลง 0.6% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขติดลบครั้งแรกในรอบ 12 เดือน เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2019 ก่อนเกิดโรคระบาด ยอดขายสาขาเดิมลดลง 18.6%

Photo : Shutterstock

ท่ามกลางฉากหลังของการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของ COVID-19 ในเอเชียและตลาดในประเทศที่ชะลอตัว หุ้นของ Fast Retailing อยู่ในแนวโน้มขาลง ในวันพุธที่ผ่านมาราคาหุ้นแตะระดับต่ำสุดในรอบปี โดยล่าสุดปิดที่ 82,500 เยน ลดลง 760 เยนจากการปิดครั้งก่อน

Fast Retailing มีความแข็งแกร่งในด้านเสื้อผ้าในร่มและชุดลำลอง แต่การเปลี่ยนแปลงทั่วโลกไปสู่การเปิดเศรษฐกิจใหม่ได้ฟื้นความต้องการเสื้อผ้ากลางแจ้งแฟชั่นชั้นสูงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ Inditex” Dairo Murata จาก JPMorgan Securities Japan กล่าว

Inditex รายงานเมื่อวันพุธว่ามีกำไรสุทธิ 421 ล้านยูโรสำหรับไตรมาสแรกสิ้นสุดในเดือนเมษายน สิ่งนี้แสดงถึงการฟื้นตัวจากรายได้ที่ลดลง 409 ล้านยูโรในปีก่อนหน้า โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณของ Inditex เมื่อปีที่แล้ว บริษัทต้องปิดหน้าร้านกว่า 88% ทั่วโลก แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 16% ขณะที่ ยอดขายออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น 67% ในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนจากปีก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นความเชื่อร่วมกันว่าเอเชียจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตระยะกลางถึงระยะยาว โดยเมื่อสิ้นเดือนที่แล้ว Fast Retailing ได้เปิดร้าน Uniqlo จำนวน 818 แห่งในประเทศจีน แซงหน้าร้านค้าในญี่ปุ่นทั้งหมด 810 แห่ง เป็นครั้งแรก โดย Fast Retailing วางแผนที่จะเปิดร้านค้า 100 แห่งในจีน รวมถึงไต้หวันและฮ่องกง ในช่วงปีงบประมาณปัจจุบันจนถึงเดือนสิงหาคม

Source

]]>
1336428
‘Uniqlo’ ผงาดแซง ‘Zara’ ขึ้นแท่นบริษัทฟาสต์แฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดของโลก https://positioningmag.com/1319840 Wed, 17 Feb 2021 10:45:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319840 เพราะวิกฤต COVID-19 ที่กินเวลายาวนานกว่า 1 ปีมาแล้ว ซึ่งวิกฤตดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายทั่วโลก และทำให้ ‘Fast Retailing’ บริษัทแม่ของ ‘Uniqlo’ ยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องแต่งกายของญี่ปุ่นมีมูลค่าตลาด 10.87 ล้านล้านเยน หรือราว 1.03 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.08 ล้านล้านบาท) หลังจากปิดทำการเมื่อวันอังคาร ซึ่งแซงหน้าบริษัท แม่ของ ‘Zara’ อย่าง ‘Inditex’ เป็นครั้งแรก และทำให้กลายเป็นบริษัทค้าปลีกเครื่องแต่งกายที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อปิดการซื้อขายเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ผ่านมา Inditex มีมูลค่าตลาดประมาณ 8.14 หมื่นล้านยูโรเทียบเท่ากับประมาณ 9.88 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 3 ล้านล้านบาท โดยราคาหุ้นของ Inditex ลดลงกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 แม้ว่ายอดขายจะเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องก็ตาม

อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมปี 2020 รายได้ของ Uniqlo ลดลง 40% และรายได้ในปีงบประมาณ 2020 ก็ลดลง 12% จากปีก่อนหน้า แต่ทำไมยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องแต่งกายของญี่ปุ่นรายนี้จึงพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส และกลายเป็นร้านค้าปลีกเครื่องแต่งกายที่ใหญ่ที่สุดในโลก

คำตอบคือ Fast Retailing อยู่ในเอเชียโดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 น้อยกว่า และยังสามารถ ฟื้นตัวได้เร็วกว่า ประเทศในยุโรปและอเมริกามาก ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ช่องว่างของ Fast Retailing และ Inditex แคบลง

โดย ณ เดือนพฤศจิกายน 2020 Uniqlo มีร้านค้า 2,298 แห่งทั่วโลกโดย 815 แห่งตั้งอยู่ในญี่ปุ่นและ 892 แห่งตั้งอยู่ในประเทศจีน จำนวนร้านค้าในเอเชียนอกประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 1,300 แห่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมากกว่า 90% ของร้านค้าอยู่ในตลาดเอเชีย ในทางตรงกันข้ามร้านค้าของ Zara ประมาณ 70% ตั้งอยู่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับผลกระทบหนักขึ้นจากการแพร่ระบาด ขณะที่ร้านในฝั่งเอเชียคิดเป็นเพียง 20% เท่านั้น

และจากการปิดสาขาชั่วคราวในหลายประเทศฝั่งยุโรปของ Uniqlo ทำให้รายได้จากตลาดต่างประเทศของ Fast Retailing ลดลง แต่กำไรขั้นต้นของ Greater China (จีนฮ่องกงและไต้หวัน) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้กำไรขั้นต้นโดยรวมในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 9.5% เป็น 41.4 พันล้านเยนญี่ปุ่น ในปีงบประมาณ 2020 (ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2020) อัตรากำไรขั้นต้นของประเทศจีนอยู่ที่ 14.4% ซึ่งสูงกว่าญี่ปุ่นที่ทำได้ 13%

Photo : Shutterstock

ในส่วนของการเร่งการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ Fast Retailing และ Inditex นั้นต่างก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายออนไลน์ของ Fast Retailing คิดเป็นประมาณ 15.6% ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่ยอดขายออนไลน์ของ Inditex คิดเป็นประมาณ 14% อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับการประกาศลดขนาดร้านค้าทางกายภาพและการเร่งอีคอมเมิร์ซของแบรนด์ใหญ่ อีคอมเมิร์ซจะยังไม่มาแทนที่ ‘หน้าร้าน’

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าตลาดจะสูงกว่า Inditex เป็นครั้งแรก แต่รายได้ของ Fast Retailing ก็ยังไม่ดีเท่ากับ Inditex หรือ H&M โดยรายได้ประจำปีงบประมาณที่แล้วของ Inditex อยู่ที่ 2.82 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 1.02 ล้านล้านบาท) ส่วน H&M อยู่ที่ 2.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.7 แสนล้านบาท) ส่วนรายได้ปัจจุบันของ Fast Retailing อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านล้านเยน (ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท)

ทั้งนี้ Inditex ได้เริ่มเสริมสร้างการลงทุนในตลาดเอเชียเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วได้เปิดตัวแฟล็กชิปสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในปักกิ่งโดยมีอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่มากกว่า 3,000 ตารางเมตร โดยหลายคนมองว่า ตลาดเอเชียน่าจะเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดมูลค่าตลาดของบริษัทเครื่องแต่งกายยักษ์ใหญ่ทั้งสองบริษัทในอนาคต เนื่องจากตลาดเอเชียกำลังกลายเป็นจุดสนใจของแบรนด์เสื้อผ้า

Nikei Asia / bnext.com

]]>
1319840
3 แบรนด์เสื้อผ้าเครือ Zara “ปิดสาขา” หน้าร้านทั้งหมดใน “จีน” ลุยออนไลน์เต็มตัว https://positioningmag.com/1313646 Mon, 11 Jan 2021 08:42:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313646 3 แบรนด์ย่อยในเครือบริษัทเดียวกับ Zara ได้แก่ Bershka, Pull&Bear และ Stradivarius เตรียมปิดหน้าร้านสาขาทั้งหมดในประเทศจีน และมุ่งสู่การขายออนไลน์เท่านั้น ตามแผนธุรกิจใหม่ของบริษัทแม่ รับมือตลาดจีนที่เป็นเรดโอเชียนธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่น

Woman’s Wear Daily รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่า บริษัทฟาสต์แฟชั่น Inditex ยักษ์ใหญ่จากสเปน เตรียมปิดสาขาหน้าร้านออฟไลน์ทั้งหมดในจีนของ 3 แบรนด์ในเครือ ได้แก่ Bershka, Pull&Bear และ Stradivarius เหลือเฉพาะการขายออนไลน์เท่านั้น โดยปัจจุบันทั้ง 3 แบรนด์มีแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซบนหน้าเว็บไซต์ของตนเอง ร้านค้าทางการบน Tmall และโปรแกรมไลฟ์ขายของบน WeChat

ทำให้เครือ Inditex จะมี 4 แบรนด์ในจีนที่ยังมีร้านค้าแบบออฟไลน์อยู่ คือ Zara, Zara Home, Massimo Dutti และ Oysho

ตั้งแต่ปี 2020 บริษัท Inditex ทยอยปิดสาขาของทั้ง 3 แบรนด์ดังกล่าวรวมกว่า 120 แห่ง จนกระทั่งขณะนี้แต่ละแบรนด์มีสาขาเหลือแบรนด์ละประมาณ 10-12 สาขาเท่านั้น โดยมีเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เสิ่นเจิ้น

หน้าร้าน Pull&Bear ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ภาพเมื่อเดือนธ.ค. 2018 (Photo : Shutterstock)

การปิดสาขาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับใหญ่ของ Inditex ที่ต้องการจะ “ทำให้เป็นดิจิทัล” ทั้งบริษัท โหมการค้าออนไลน์เพื่อรับมือกับผลของโรคระบาด COVID-19 เมื่อช่วงกลางปี 2020 บริษัทจึงประกาศเตรียมปิดสาขาแบรนด์ Zara ถึง 1,200 สาขาทั่วโลก และตั้งเป้าจะมีสัดส่วนการขายจากช่องทางออนไลน์ 25% ของยอดขายรวมภายในปี 2022

3 แบรนด์ย่อยดังกล่าวมีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างจาก Zara โดย Bershka วางกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นสไตล์คนเมือง Pull&Bear จำหน่ายเสื้อผ้าที่กำลังฮิตในกลุ่มวัยรุ่นอเมริกัน ขณะที่ Stradivarius เป็นเสื้อผ้าวัยรุ่นที่มีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งหมดเข้าสู่ตลาดจีนมาแล้วหลายปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับแบรนด์ Zara ด้วยสภาพตลาดจีนแข่งขันสูงและลูกค้ามีรสนิยมที่ละเอียดอ่อนมาก

ปัจจุบัน นับได้ว่าแบรนด์ต่างประเทศในกลุ่มฟาสต์แฟชั่นที่เข้าจีนแล้วติดตลาดจริงๆ มีเพียงแค่ Zara จากสเปน H&M จากสวีเดน และ Uniqlo จากญี่ปุ่น

Source: S&P Global Market Intelligence, Yicai Global

]]>
1313646
Gap ปรับกลยุทธ์ค้าปลีกแฟชั่น หลัง COVID-19 ปิดสาขาในยุโรปเเละ UK ลุยทำตลาด “แฟรนไชส์” https://positioningmag.com/1303005 Mon, 26 Oct 2020 07:55:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303005 หลังวิกฤต COVID-19 วงการค้าปลีกเเฟชั่นต้องปรับตัวขนานใหญ่ ล่าสุดเเบรนด์ดังจากอเมริกาอย่าง “Gap” ตัดสินใจปิดสาขาที่บริหารเองทั้งหมดในสหราชอาณาจักรเเละบางส่วนในยุโรป ทำให้พนักงานหลายพันตำเเหน่งเสี่ยงตกงาน พร้อมปรับทิศทางหันไปมุ่งทำตลาดเเบบแฟรนไชส์แทน

โดยคาดว่าสาขาของ Gap ในสหราชอาณาจักร ไอร์เเลนด์เเละอิตาลี จะปิดตัวลงในช่วงฤดูร้อนปี 2021 พร้อมกับการปิดศูนย์กระจายสินค้าในอังกฤษด้วย

ต่อไปบริษัทจะเปลี่ยนไปเน้นทำตลาดในยุโรปให้เป็นลักษณะ “พาร์ตเนอร์ชิป” ในรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งสาขาหน้าร้านเเละอีคอมเมิร์ซ ซึ่งปัจจุบัน Gap มีสาขาที่บริหารเองกลุ่มยุโรปทั้งหมด 129 สาขา และมีหน้าร้านที่อยู่ในรูปแบบแฟรนไชส์ราว 400 สาขา

ธุรกิจค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่น ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต COVID-19 หลังต้องปิดสาขาชั่วคราวในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ ขณะเดียวกัน พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปทั้งการเดินทางมาช้อปปิ้งน้อยลงเเละหันไปช้อปปิ้งออนไลน์อย่างรวดเร็ว ซึ่งคู่เเข่งรายสำคัญของ Gap อย่าง Asos และ Boohoo ก็เข้ามาเเย่งฐานลูกค้าเเละรุกทำตลาดออนไลน์ได้ประสบความสำเร็จมากกว่า

โดยก่อนที่จะเกิดโรคระบาด สถานการณ์ของ Gap ก็อยู่ในช่วงที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคหลายอย่าง หลังต้องเสียฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่ ให้กับเเบรนด์ฟาสต์เเฟชั่นที่ราคาถูกกว่าอย่าง Zara, H&M และ Forever 21 ซึ่งเเบรนด์เหล่านี้ก็กำลังปรับทิศทางการขายมาเน้นออนไลน์ เเละปิดสาขาเพื่อลดต้นทุนมากขึ้นเช่นกัน

เมื่อต้นปีนี้ Gap เปิดเผยว่า มีแผนที่จะปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรกว่า 225 แห่งทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างบริษัท โดยวิกฤต COVID-19 ทำให้ Gap ต้องขาดทุนกว่า 740 ล้านปอนด์ในช่วง 3 ไตรมาสที่สิ้นสุดเดือนพ.. จึงเป็นปัจจัยที่เร่งให้เเผนการปรับลดต้นทุนเเละปรับมาทำธุรกิจแบบแฟรนไชส์เร็วขึ้นกว่าเดิม

เหล่านักช้อปเริ่มกลับมาซื้อสินค้าแฟชั่นอีกครั้งหลังร้านต่างๆ กลับมาเปิดอีกครั้ง โดย JP Morgan ระบุว่ายอดขายเสื้อผ้าแฟชั่นในยุโรปลดลงราว 15% ในเดือนก.ฟื้นตัวขึ้นจากเดือนพ.ที่ลดลงถึง 42% ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็มีการเลือกซื้อเสื้อผ้าที่เปลี่ยนไปเช่นกัน เช่นมีการสั่งซื้อเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายและไม่เป็นทางการมากขึ้น เมื่อต้องทำงาน Work from Home เเละงานสังสรรค์ปาร์ตี้ต่างๆ ถูกยกเลิกไปในช่วงที่ผ่านมา

 

 

ที่มา : BBC , The Guardian

]]>
1303005
ปรับรับลูกค้าเปลี่ยน “ช้อปเสื้อผ้าออนไลน์” มาเเรง H&M ตัดสินใจปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก https://positioningmag.com/1299764 Fri, 02 Oct 2020 09:14:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299764 กระเเสผู้บริโภคหันมาซื้อเสื้อผ้าออนไลน์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ยักษ์ฟาสต์เเฟชั่นอันดับ 2 ของโลกจากสวีเดน ตัดสินใจปิดร้าน 250 สาขาทั่วโลก คิดเป็นกว่า 5% ของจำนวนร้านสาขาทั้งหมด 5,000 แห่ง

H&M เริ่มกลยุทธ์ปิดร้านเพิ่มขึ้นเปิดน้อยลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาซื้อออนไลน์ ท่ามกลางการเเข่งขันของวงการค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่นที่ดุเดือด เเละยิ่งประสบปัญหาใหญ่ เพราะผลกำไรของปีนี้ต้องลดลงอย่างมาก จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

H&M ระบุในเเถลงการณ์ว่าลูกค้าเริ่มช้อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆโดยในช่วงที่แบรนด์ต้องปิดสาขาชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปรากฏว่า ยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กลับพุ่งสูงขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับยอดขายของหน้าร้านตามปกติ

ยอดขายของบริษัทในไตรมาส 3 ตั้งแต่เดือนมิ..ถึงเดือนส.. เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น หลังผ่านช่วงวิกฤต จากการที่สามารถเปิดร้านได้อีกครั้ง และการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เติบโตและทำกำไรอย่างไรก็ตาม ยอดขายเดือนก.. ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนจนถึงวันที่ 31 .. ของ H&M มีกำไรก่อนหักภาษีลดลงเหลือ 2.37 พันล้านโครนาสวีเดน (ราว 8.3 พันล้านบาท) ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

แม้ความท้าทายต่างๆ จะยังไม่สิ้นสุด แต่เราเชื่อว่าบริษัทได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเราจะฟื้นตัวจากวิกฤตได้อย่างแข็งแกร่ง” Helena Helmersson ซีอีโอของ H&M กล่าว

H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

โดยเเผนต่อไป H&M จะเพิ่มการลงทุนในส่วนดิจิทัลเพื่อรองรับผู้บริโภคทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนจะมีการปรับเเผนการดำเนินงานใหม่ ทั้งการลงทุน ค่าเช่า การจัดหาพนักงาน และการจัดหาเงินทุน 

กลุ่มสินค้าเเฟชั่น เริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยผู้นำฟาสต์เเฟชั่นอย่าง Inditex เจ้าของเเบรนด์ดังอย่าง Zara ก็สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 2 โดยมียอดขายออนไลน์” ที่พุ่งกระฉุดกว่า 74% เป็นพระเอก บ่งชี้ว่าการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจฟาสต์เเฟชั่น ที่ผสมทั้งออนไลน์เเละสาขาเข้าด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จ

ช่วงที่ผ่านมา Inditex มีการ “ลดต้นทุน” ปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 21% รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง เน้นการผลิตในสเปนเเละประเทศใกล้เคียง อีกทั้งยังตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้เพื่อโฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น เเละหันมาบุกออนไลน์อย่างเต็มสูบ

โดย Inditex ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ของยอดรวมภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับ 14% ที่สามารถทำได้ในปี 2019

ไม่ใช่เเค่เจ้าใหญ่อย่าง H&M และ Inditex เท่านั้น ตอนนี้ค้าปลีกเเฟชั่นอย่าง American Eagle Outfitter (AEO) และ GameStop (GME) ก็เพิ่งประกาศแผนการปิดสาขาไปหลายร้อยแห่ง เนื่องจากกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องรีบมาทุ่มลงทุนด้านดิจิทัลเเทนนั่นเอง

]]>
1299764