Clubhouse – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Jul 2021 09:37:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Clubhouse ปลดล็อก “ไม่ต้องมีคนเชิญ” ก็เล่นได้แล้ว พร้อมติดสปีดการเติบโต https://positioningmag.com/1343842 Fri, 23 Jul 2021 08:24:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343842 จากแอปฯ โซเชียลมีเดียที่จำกัดการเข้าถึง ต้องได้รับคำเชิญ (invite) จากคนในแอปฯ ถึงจะเข้าไปเล่นได้ วันนี้ Clubhouse เปิดระบบเป็น ‘สาธารณะ’ เต็มตัวแล้ว ทุกคนสมัครแล้วสามารถเข้าใช้ได้เลย ไม่ต้องรอคำเชิญอีก

ที่ผ่านมา Clubhouse สร้างกำแพงให้เป็น ระบบ ‘invite-only’ โดยไม่ได้ตั้งใจเพื่อให้มีความพรีเมียม แต่เป็นเพราะแอปพลิเคชันนี้เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2020 และยังอยู่ในช่วงทดลองระบบเบตา ทำให้ต้องจำกัดจำนวนคนใช้งานไว้ก่อน ป้องกันระบบล่ม แต่แอปฯ เกิดฮิตเกินคาดจนทำให้ระบบคำเชิญกลายเป็นเหมือนสิทธิพิเศษ

“พอล เดวิดสัน” และ “โรฮาน เซธ” ผู้ร่วมก่อตั้ง Clubhouse ระบุว่า บัดนี้ระบบขยายตัวพร้อมที่จะป้องกันระบบไม่ให้ล่มแล้ว จึงออกจากระบบเบตา และเปิดเป็นสาธารณะในที่สุด

การเติบโตของ Clubhouse เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ เริ่มต้นมีผู้ใช้งานเพียง 5,000 คน แต่เกิดฮิตขึ้นมาในซิลิคอน วัลเลย์ เมื่อมีคนดังช่วยบอกต่อ ทำให้ปัจจุบันแอปฯ มียอดดาวน์โหลดทั่วโลกมากกว่า 20 ล้านครั้ง โดยครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ใช้ระบบแอนดรอยด์ที่เพิ่งได้ใช้กับเขาบ้างเมื่อ 2 เดือนก่อน (ข้อมูลจาก Sensor Tower)

ปัจจุบันมีการตั้งห้องทั้งแบบสาธารณะและส่วนตัววันละประมาณ 5 แสนห้องทั่วโลก เติบโตขึ้นเกือบ 70% เทียบกับเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 เห็นได้ว่ายอดการเติบโตเกิดจากผู้ใช้แอนดรอยด์

clubhouse

ผู้ใช้ Clubhouse จะอยู่ในแอปฯ เฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง และมีการส่งข้อความส่วนตัว (direct message) ภายในแอปฯ แล้ว 90 ล้านข้อความ หลังจากที่แอปฯ เพิ่งเปิดฟีเจอร์นี้ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

Clubhouse ยังคงต้องหาที่ทางของตนเองว่าจะเป็นแอปฯ ที่แข็งแรงในแง่มุมไหน โดยขณะนี้แอปฯ ถูกมองว่ามีแนวโน้มจะเป็นแหล่ง ‘จัดรายการวิทยุ/พอดคาสต์แบบสด’ ผสมกับการเป็น ‘เวทีเสวนา’ ทำให้แอปฯ กำลังหาช่องทางสร้างรายได้จากสิ่งเหล่านี้อยู่ เช่น คิดเงินค่าเข้าฟังโดยแบ่งรายได้กับผู้จัดห้องเสียงนั้นๆ

สำหรับในไทย Clubhouse เคยร้อนแรงสุดขีดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 แม้ปัจจุบันจะคลายความร้อนแรงไปแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้งานสม่ำเสมอ มีการพูดคุยหลายเรื่องตั้งแต่การเมือง สุขภาพ บิตคอยน์ กีฬา ฯลฯ

source

]]>
1343842
มองอนาคต ‘โซเชียลเสียง’ เมื่อแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่ต่างตบเท้าลุยตลาดชน Clubhouse https://positioningmag.com/1334782 Tue, 01 Jun 2021 13:25:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334782 ในช่วงปีที่ผ่านมาที่เกิดการระบาดของ COVID-19 จู่ ๆ ก็มีแพลตฟอร์มโซเชียลน้องใหม่ที่มาแปลกและมาแรงหรือก็คือ ‘Clubhouse’ เพราะเป็นโซเชียลมีเดียที่เน้นใช้ ‘เสียง’ ในการสนทนา (ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นเป็น Text) แม้ในไทยกระแสจะซาลงไป แต่หากพูดในระดับโลกแล้วจะเห็นว่าแพลตฟอร์มรายใหญ่อย่าง Facebook, Twitter ต่างก็ลงมาเล่นในตลาดนี้ หรืออนาคตโซเชียลจะเน้นไปที่การฟังมากกว่าการอ่าน

ยอดฟังพอดคาสต์ลด แต่มีเดียประเภทเสียงโต

ตั้งแต่เกิดการระบาด การฟังพอดคาสต์ก็ลดลง เนื่องจากการผู้คนไม่ได้ออกจากบ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการฟังพอดคาสต์ระหว่างเดินทาง โดยยอดดาวน์โหลดพอดคาสต์ช่วงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 25 มีนาคม 2020 ลดลง 10% แต่กลับกันยอดการฟังมีเดียประเภทเสียงกลับเติบโตขึ้น ที่ผ่านมา eMarketer ได้แก้ไขประมาณการในปี 2020 จากที่เวลาการฟังมีเดียเสียงลดลง 1% เป็นการเติบโต 8.3% เฉลี่ยที่ประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งต่อวัน ขณะที่ Clubhouse อ้างว่าผู้ใช้ใช้เวลากับแอปโดยเฉลี่ยมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน

ในขณะที่ผู้คนอาจเดินทางน้อยลงและอาจใช้เวลาช่วงแรก ๆ ของการแพร่ระบาดของโรคในการดูข่าว แต่ความเจ๋งของคอนเทนต์รูปแบบเสียงก็ยังคงอยู่ เพราะผู้คนสามารถฟังขณะทำอาหาร, ทำความสะอาดและออกกำลังกาย ขณะที่คอนเทนต์ประเภทวิดีโอยังต้องใช้ตาดู

Discord, Clubhouse แพลตฟอร์มคนรุ่นใหม่

โดยในปีที่ผ่านมาโซเชียลมีเดียที่เน้นใช้เสียงสนทนาอย่าง Clubhouse และ Discord กลายเป็นแพลตฟอร์มของคนรุ่นใหม่หลายคนคาดว่า จุดที่ทำให้ทั้ง 2 แพลตฟอร์มประสบความสำเร็จก็คือ การ พูดคุยสด ๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของประสบการณ์ทางสังคมรูปแบบใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งจุดนี้เองทำให้ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียพยายามเข้ามาในตลาด

สำหรับเกมเมอร์จะคุ้นเคยกับ Discord แน่นอน โดย Discord ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกด้านเสียง ซึ่งเริ่มจากเป็นแพลตฟอร์มแชทสำหรับนักเล่นเกมตั้งแต่ปี 2558 ได้รับความนิยมอย่างมากและมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว โดยผู้ใช้สามารถสนทนาผ่านข้อความและแชทด้วยเสียงพร้อมกับวิดีโอ ปัจจุบันแพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานกว่า 150 ล้านคน/เดือน จากที่ปี 2562 มี 56 ล้านคน/เดือน

หน้าแชทของ Discord

แพลตฟอร์มจะให้ผู้ใช้สามารถตั้ง ห้อง ที่ทำหน้าที่เป็นชุมชนออนไลน์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ แม้ว่าฐานผู้ใช้ในช่วงแรกของบริษัทจะเน้นไปที่การพูดคุยเกี่ยวกับเกมเป็นหลัก แต่ความน่าสนใจของบริษัทก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้คนพบชุมชนบนแพลตฟอร์มเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ เกม ข่าว กีฬา หรือฟุตบอลและเรื่องจิปาถะอื่น ๆ 

ที่ผ่านมา Discord ระดมทุนได้เกือบ 500 ล้านดอลลาร์จากนักลงทุน รวมถึง Sony Interactive Entertainment, Tencent, Index Ventures และ Greylock ของ Reid Hoffman ขณะที่ Microsoft เคยเสนอราคาให้กับแพลตฟอร์มดังกล่าวถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในขณะที่ Clubhouse ที่เปิดตัวในช่วงการแพร่ระบาดก็ได้ขยายฐานผู้ใช้อย่างรวดเร็วส่งผลให้บริษัทมีมูลค่าหลายพันล้าน หลังจากที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2020 ซึ่งมีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มการสนทนาด้วยเสียงแบบสด โดยผู้ที่จะใช้งานต้องได้รับเชิญเท่านั้น ปัจจุบัน บริษัทได้ขยายจากที่สามารถโหลดได้เฉพาะ iOS ไปเป็น Android แล้ว

เสียงคอนเทนต์ที่อยู่ยงคงกระพันที่สุด

หลังจากที่มัวอย่างความสำเร็จให้เห็น ยักษ์ใหญ่ด้านโซเชียลมีเดียได้เปิดตัวบริการที่คล้ายกัน เริ่มจาก Twitter ที่เปิดตัวฟีเจอร์ Spaces เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคลิกจากทวีตเพื่อเข้าสู่แชทสดได้ ส่วน Facebook ก็ประกาศที่จะทำฟีเจอร์ Live Audio Rooms ที่จะคล้าย ๆ กับ Clubhouse ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ LinkedIn ของ Microsoft กำลังเพิ่มฟีเจอร์เสียงด้วยเช่นกัน ส่วน Spotify ได้ซื้อ Betty Labs ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Locker Room ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Clubhouse

“เสียงเป็นสื่อที่เก่าที่สุด … เรารวมตัวกับคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ และพูดคุยกันมาตั้งแต่เริ่มอารยธรรม เสียงจึงเป็นเป็นสื่ออยู่ยงคงกระพันที่สุด” Paul Davison ซีอีโอของ Clubhouse กล่าว

สุดท้ายแล้ว ปัญหาเดียวของ โซเชียลเสียง น่าจะเป็นเรื่องของ เวลา และ ความน่าสนใจ เพราะในเดือนกุมภาพันธ์ที่ตัวเลขผู้ใช้ Clubhouse ลดลง เพราะไม่ได้มีผู้พูดระดับแม่เหล็กอย่าง Elon Musk CEO ของ Tesla และ Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook ที่เคยดึงดูดผู้ฟังจำนวนมาก ดังนั้น แม้เสียงเป็นเป็นสื่ออยู่ยงคงกระพันที่สุด แต่จากนี้จะดึงคนฟังได้แค่ไหนก็คงต้องขึ้นอยู่กับผู้พูดแล้วล่ะ

Source

]]>
1334782
ยังทันไหม? Clubhouse เปิดตัวบนระบบ Android แล้ว เริ่มทดลองที่สหรัฐฯ ประเทศแรก https://positioningmag.com/1331230 Mon, 10 May 2021 07:19:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331230 ในที่สุด Clubhouse แอปพลิเคชันสนทนาเสียงที่เคยฮิตสุดๆ ก็เปิดตัวบนระบบ Android เสียที หลังเปิดให้ใช้เฉพาะระบบ iOS มานาน

สำนักข่าว South China Morning Post รายงานข่าวว่า แอปพลิเคชัน Clubhouse จะเปิดตัวบน Android แล้ว โดยจะเริ่มในสหรัฐฯ ก่อนเป็นประเทศแรก และจะทยอยเปิดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักต่อไป ส่วนประเทศที่ใช้ภาษาอื่นอย่างประเทศไทย ยังไม่มีกำหนดชัดเจนว่าจะเปิดเมื่อไหร่

มีการคาดการณ์ว่า Clubhouse ต้องเข็นเวอร์ชัน Android ออกมาในเวลานี้เพื่อเรียกความมั่นใจของนักลงทุน เพราะยอดดาวน์โหลดที่ตกลงอย่างรวดเร็ว หลังจากยอดดาวน์โหลดขึ้นไปพีคสุดที่ 9.6 ล้านครั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ แต่ตกฮวบลงเหลือ 2.7 ล้านครั้งในเดือนมีนาคม และเหลือเพียง 9 แสนครั้งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก Sensor Tower)

แม้ว่า Clubhouse จะเคยฮิตสุดขีดในช่วงแรก ถึงขนาดที่มีปรากฏการณ์ “ขาย invite” เพื่อให้ได้ใช้งานในหลายๆ ประเทศ ยิ่งในประเทศจีนเคยมีกระทั่งโพสต์เปิดประมูลราคา invite กันเลย แต่ความสนใจก็ซาลงเร็วเช่นกัน เพราะคนเริ่มหาย ‘เห่อ’ ของใหม่ และในหลายประเทศเริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติแล้ว ทำให้มีเวลาอยู่บนโลกออนไลน์น้อยลง

นอกจากนี้ ยังถูกแย่งตลาดจากการเปิดฟีเจอร์ใหม่ของแอปฯ โซเชียลมีเดียเดิม เช่น Twitter ที่เปิดตัวฟีเจอร์ Spaces ห้องสนทนาเสียง ทยอยเปิดตัวตั้งแต่เดือนมีนาคมและประกาศใช้ได้แล้วทั่วโลกเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2021 หรือ Facebook ก็ประกาศว่ากำลังพัฒนาฟีเจอร์เสียงแบบเดียวกับ Clubhouse ผสมกับมีฟีเจอร์ฟังพอดคาสต์ด้วย

ต้องรอติดตามว่าการปล่อยหมัดเปิดใช้บนระบบ Android จะช่วยกู้ความนิยมให้แอปฯ นี้ได้มากน้อยแค่ไหน และยังทันอยู่หรือไม่ ในโลกที่ผู้ใช้เปลี่ยนความสนใจเร็วขนาดนี้

Source

]]>
1331230
‘Twitter’ เปิดใช้ฟีเจอร์ ‘Spaces’ อย่างเป็นทางการ แต่ต้องมีผู้ติดตาม 600 คนขึ้นไปถึงเป็นโฮสต์ได้ https://positioningmag.com/1330374 Tue, 04 May 2021 04:38:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330374 ในช่วงที่ ‘Clubhouse’ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียน้องใหม่ที่มาแรงสุด ๆ เหล่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหน้าเก่าทั้งหลายเลยพยายามสร้างฟีเจอร์ ‘เสียง’ ที่ให้พูดคุยกันได้เหมือน Clubhouse บ้าง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘Twitter’ ที่พัฒนาฟีเจอร์ ‘Spaces’ และตอนนี้ก็เปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว

ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม Twitter ได้เปิดฟีเจอร์ Spaces อย่างเป็นทางการ โดยบัญชีที่มีผู้ติดตาม 600 คนขึ้นไปจะสามารถเป็นโฮสต์สร้างห้องให้คนมาพูดคุย Spaces ห้องเสียงแบบคลับเฮาส์ หลังจากที่ทดลองฟีเจอร์มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แม้ว่าการเปิดให้ใช้อย่างเป็นทางการจะช้ากว่าที่บริษัทคาดไว้เล็กน้อย จากที่วางแผนไว้ว่าจะเปิดตัวในเดือนเมษายน

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเปิดตัวฟีเจอร์ Spaces ที่เหมือนกับ Clubhouse แล้ว Twitter ยังเปิดฟีเจอร์ ‘Tickets’ ที่ Clubhouse ไม่มี โดยฟีเจอร์นี้จะเป็นวิธีสร้างรายได้ให้กับเจ้าของห้องผ่านการจองตั๋วเข้าฟังใน Spaces โดยบริษัทกล่าวว่าโฮสต์จะสามารถกำหนดราคาตั๋วและจำนวนตั๋วที่ขายได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสร้างกิจกรรมพิเศษและรับเงินจากความพยายามของพวกเขา โดยฟีเจอร์นี้จะพร้อมให้บริการสำหรับ “กลุ่มจำกัด” ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ลือ ‘Twitter’ แอบซุ่มเจรจาซื้อ ‘คลับเฮาส์’ ด้วยเงิน 4 พันล้านเหรียญ

ทั้งนี้ หลังจากที่มีโฮสต์เปิดห้องสนทนา ระบบแจ้งเตือนจะแจ้งให้คนเข้าร่วม นอกจากนี้จะมีการแสดงสีที่รูปโปรไฟล์เพื่อให้รู้ว่ากำลังมีห้อง Spaces เกิดขึ้น เพื่อให้การหาห้องสนทนานั้นง่ายยิ่งขึ้น

Source

]]>
1330374
ลือ ‘Twitter’ แอบซุ่มเจรจาซื้อ ‘คลับเฮาส์’ ด้วยเงิน 4 พันล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1327062 Thu, 08 Apr 2021 05:43:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327062 ถือเป็นข่าวที่ค่อนข้างสร้างความแปลกใจในวงการเทคคอมปานี เมื่อ ‘Twitter’ ได้เจรจาของซื้อ ‘Clubhouse’ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียน้องใหม่ที่กำลังมาแรง ทั้ง ๆ ที่ Twitter เองก็กำลังพัฒนาฟีเจอร์ ‘Spaces’ ที่ใช้งานคล้าย ๆ กับ Clubhouse

รู้จัก Clubhouse โซเชียลมีเดียดูดชีวิต เล่นกับความไม่อยากพลาดของคนฟัง

สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้ระบุว่า มีแหล่งข่าววงในได้ออกมาเปิดเผยว่า ‘Twitter’ ได้แอบเจรจาซื้อ ‘Clubhouse’ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ที่เน้นไปที่คอนเทนต์แบบ ‘เสียง’ ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดย Twitter ได้เสนอเงินสูงถึง ‘4 พันล้านดอลลาร์’ หรือราว 1.2 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ดีลดังกล่าวดูเหมือนจะ ‘ล่ม’ ไปแล้ว โดยยังไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าอะไรทำให้ดีลดังกล่าวล่ม ขณะที่ Twitter เองก็ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเจรจาซื้อ Clubhouse เช่นเดียวกับฝั่งของ Clubhouse ที่ไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ

ที่น่าสนใจคือ หลังจากมีข่าวลือดังกล่าว Clubhouse ก็ได้อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อ ‘ระดมทุน’ จากนักลงทุน ซึ่งประเมินมูลค่าธุรกิจไว้ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นจำนวนเงินเท่ากับที่ Twitter เสนอซื้อ

หน้าตาฟีเจอร์ Spaces ของ Twitter

สำหรับ Clubhouse จะเป็นแพลตฟอร์มน้องใหม่ที่มีอายุยังไม่ถึงขวบ แต่กลับมีเหล่าคนดังมากมายตบเท้าเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงระดับโลก หรือแม้แต่นักแสดงฮอลลีวูด และเนื่องจากกระแสดังกล่าวทำให้เหล่าโซเชียลมีเดียหน้าเก่าในตลาดต่างพากันพัฒนาฟีเจอร์ที่คล้ายกับ Clubhouse กันเพียบ

อย่าง Twitter ก็มี ‘Spaces’ ซึ่งเปิดตัวในปลายปี 2020 แม้ว่าปัจจุบันจะยังอยู่ในรูปแบบเบต้า แต่ ‘แจ็ค ดอร์ซีย์’ CEO และผู้ก่อตั้งก็มั่นใจในศักยภาพของเสียงว่าจะเป็นวิธีใหม่สำหรับผู้คนในการโต้ตอบบน Twitter  นอกจากนี้ ทั้ง Facebook, LinkedIn และ Slack ของ Microsoft หรือแม้แต่ ByteDance เจ้าของ TikTok ก็กำลังพัฒนาฟีเจอร์ดังกล่าวเช่นกัน

เอาบ้าง! ByteDance ซุ่มเงียบพัฒนาแอปฯ สนทนาเสียงแบบเดียวกับ Clubhouse

ก็ไม่รู้ว่าข่าวลือเป็นจริงแค่ไหน เพราะ Twitter เองก็มีฟีเจอร์ของตัวเอง และอีกสิ่งที่ต้องจับตาก็คือ ตัว Clubhouse จะไปได้ไกลแค่ไหน เพราะในไทยเองกระแสก็ค่อนข้าซาพอสมควร

Source

]]>
1327062
Crabhouse แอปคุยเรื่องปูสุดฮิตในญี่ปุ่น ถูก iOS บังคับให้เปลี่ยนชื่อเป็น Crabhome https://positioningmag.com/1323382 Sun, 14 Mar 2021 15:16:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323382 แครบเฮาส์ (Crabhouse) คือแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียที่มาแรงมากในญี่ปุ่นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แต่ด้วยชื่อที่ออกเสียงพ้องกับคลับเฮาส์ (Clubhouse) ทำให้ผู้พัฒนาต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “แครบโฮม” (Crabhome)

เรื่องราวของ Crabhome นั้นถือเป็นมหากาพย์เรื่องย่อม เพราะเมื่อประมาณ 1 เดือนที่แล้ว แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียน้องใหม่นี้ถูกยกย่องว่ากำลังมาแรงในสังคมญี่ปุ่น ความโดดเด่นของ Crabhouse คือการเปิดทางให้ผู้ใช้เข้าไปในห้องเสมือนจริงเหมือนคลับเฮาส์แต่เป็นห้องที่เต็มไปด้วยปู ผู้ใช้สามารถเพลินกับเรื่องปูๆ ทั้งข้อมูลเกร็ดความรู้หรือข้อความเรียกรอยยิ้มด้วยการแตะที่ปูแต่ละตัว

แอปเปิล (Apple) เลือกเข้าข้าง Clubhouse ซึ่งพัฒนามาก่อนในหมวดประเภทเดียวกัน

สมาชิกของ Crabhouse เติบโตอย่างรวดเร็ว พลังของการบอกต่อทำให้มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 150,000 ครั้งและได้รับคะแนน 5 ดาวจากผู้ใช้กว่า 2,000 คนบนแอปสโตร์ (App Store)

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นักพัฒนา Crabhouse ได้ทวีตข้อความระบุว่าการอัปเดตของ Crabhouse ถูกปฏิเสธโดย App Store เหตุผลชี้แจงคือชื่อของแอปพลิเคชันนั้นชวนให้สับสน

นักพัฒนา Crabhouse ไม่เห็นด้วย เพราะบน App Store นั้นมีแอปพลิเคชันอื่นที่มีชื่อพ้องกันกับ Clubhouse อยู่แล้ว แต่ทำไม Crabhouse จึงถูกมองว่าเป็นแอปที่สร้างความสับสนอยู่แอปเดียว

นักพัฒนา Crabhouse ไม่ได้พูดเกินจริง เพราะจากการตรวจสอบ พบว่ามีแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียชื่อ Clubhouse ชนิดเหมือนทุกตัวอักษร แต่ก็ยังมีภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน

แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าถึงคำ “Crabhouse” และ “Clubhouse” จะแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน แต่ในภาษาญี่ปุ่น การออกเสียงตัวอักษรแอล (l) และอาร์ (r) ส่วนใหญ่ใช้แทนกันได้ และเมื่อเขียนด้วยอักษรคาตาคานะของญี่ปุ่น คำเขียนจะกลายเป็นคำเหมือนกัน ซึ่งมีโอกาสสูงที่ผู้ใช้ชาวญี่ปุ่นจะจับจ้องไปที่คำภาษาคาตาคานะก่อนที่จะเห็นชื่อภาษาอังกฤษว่า “Crabhouse” ด้านบน

 

ทั้งหมดนี้จึงเกิดเป็นภาวะเสียงแตก เพราะบางรายมองว่า Crabhouse เป็นแอปในหมวดประเภทคล้ายกับ Clubhouse การมีชื่อคล้ายกันเหมือนกับที่มีเบียร์ญี่ปุ่นอาซาฮีและหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นอาซาฮี ทำให้แอปเปิล (Apple) เลือกเข้าข้าง Clubhouse ซึ่งพัฒนามาก่อนในหมวดประเภทนั้น

ความโดดเด่นของ Crabhouse คือการเปิดทางให้ผู้ใช้เข้าไปในห้องเสมือนจริงเหมือนคลับเฮาส์ แต่เป็นห้องที่เต็มไปด้วยปู

ที่สุดแล้ว Crabhouse จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น Crabhome บ้านปูที่แสดงจำนวนปูตามจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ Crabhouse ในเวลานั้น โดยภาพปูในห้องใช้เทคนิกภาพ RPG แม้ว่าผู้ใช้บางรายจะยอมรับว่ายังไม่รู้เจตนาของ Crabhouse ว่าพัฒนาขึ้นมาเพื่ออะไร นอกจากการแก้เหงาของผู้เล่น

 

สำหรับการลงดาบของ Apple รายงานระบุว่าเจ้าพ่อไอโฟนไม่ได้ห้ามหรือสั่งแบน Crabhouse แบบเด็ดขาดแม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องชื่อ โดยยอมให้นักพัฒนาอัปเดตเมื่อนักพัฒนายอมเปลี่ยนชื่อ และยังคงส่งเสริมให้ผู้ใช้ไอโอเอส (iOS) รายอื่นดาวน์โหลด Crabhome ไปใช้งาน แม้จะมีผู้ใช้บางรายให้ความเห็นว่ารู้สึกกับชื่อ Crabhome ไม่เหมือนชื่อ Crabhouse เพราะ Crabhome ฟังดูเหมือนบ้านบำบัดฟื้นฟูปูที่ประสบปัญหาชีวิต มากกว่าบ้านอบอุ่นสนุกสนานที่สังสรรค์ปาร์ตี้กัน

บทสรุปของการพบกันของ Clubhouse และ Crabhouse จึงอยู่ที่ Crabhome แอปญี่ปุ่นสุดฮิตรายล่าสุดที่ถูก iOS บังคับให้เปลี่ยนชื่อ

Source

]]>
1323382
เอาบ้าง! ByteDance ซุ่มเงียบพัฒนาแอปฯ สนทนาเสียงแบบเดียวกับ Clubhouse https://positioningmag.com/1321910 Thu, 04 Mar 2021 08:37:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321910 ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok กำลังซุ่มเงียบพัฒนาแอปฯ ใหม่ที่คล้ายกับ Clubhouse หลังจากแอปฯ โซเชียลมีเดียสื่อสารด้วยเสียงจากสหรัฐฯ รายนี้ฮิตไปทั่วประเทศจีนก่อนจะถูกรัฐบาลสั่งระงับ ทำให้สารพัดบริษัทเทคฯ แข่งขันพัฒนาแอปฯ ‘เลียนแบบ’ หวังจับตลาดใหม่

Clubhouse แอปพลิเคชันสนทนาเสียงที่ฮิตไปทั่วโลก เคยฮิตในจีนอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะถูกรัฐบาลจีนสั่งระงับห้ามใช้งานเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เนื่องจากผู้ใช้ใช้แพลตฟอร์มนี้สนทนาเรื่องที่เป็น ‘ประเด็นอ่อนไหว’ ของแดนมังกร เช่น ค่ายกักกันซินเจียง หรือการแยกตัวเป็นอิสระของฮ่องกง

แต่ความฮิตของแอปฯ ลักษณะนี้มีผลกระตุ้นให้บริษัทอื่นพัฒนาแอปฯ เลียนแบบอีกเพียบ แค่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีแอปฯ ใหม่แบบเดียวกันออกสู่ตลาดแล้วเกินสิบตัว หนึ่งในนั้นคือแอปฯ Mi Talk จากบริษัท Xiaomi โดยใช้วิธีเจาะตลาดกลุ่มผู้บริหารก่อน และผู้จะเข้าใช้แอปฯ ได้ต้องได้รับ ‘คำเชิญ’ เท่านั้น

ล่าสุด Reuters รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าววงในสองราย ระบุว่า “จาง อี้หมิง” ซีอีโอบริษัท ByteDance เจ้าของแอปฯ TikTok มีความสนใจแอปฯ ในลักษณะเดียวกับ Clubhouse และอยู่ในช่วงศึกษาขั้นต้นเพื่อพัฒนาแอปฯ ทั้งนี้ ByteDance ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ความสำเร็จและฮิตจัดของ Clubhouse นั้น อาจจะดูเหมือนเกิดขึ้นในโลกตะวันตกเป็นหลัก เพราะเป็นแอปฯ ที่กำเนิดในซิลิคอนวัลเลย์ แต่เมื่อไปดู Google Trend รอบ 90 วันที่ผ่านมา 4 อันดับแรกเขตการปกครองที่พูดถึง Clubhouse มากที่สุดคือ จีน, มองโกเลีย, ไต้หวัน และฮ่องกงตามลำดับ (ไทยอยู่ในอันดับ 5) ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทเทคฯ จีนต่างรีบเร่งพัฒนาแอปฯ มาแย่งตลาด

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าแอปฯ จีนจะต้องมีระบบเซ็นเซอร์และสอดส่องโดยรัฐบาลจีน ไม่ว่าจะสื่อสารกันด้วยอะไรก็ตาม และที่จริงแล้วแอปฯ สนทนาเสียงเป็นกลุ่มแบบนี้ก็มิใช่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะจีนมีแอปฯ Zhiya ที่เป็นโซเชียลมีเดียแบบเสียง เปิดตัวตั้งแต่ปี 2013 แต่ฮิตในกลุ่มเฉพาะทาง เช่น เกมเมอร์ที่จะเข้ามาคุยเรื่องเกมกัน หรือกลุ่มที่เข้ามาร้องเพลงร่วมกัน

มาร์โก้ ล่าย ซีอีโอ บริษัท Lizhi เจ้าของแอปฯ Zhiya กล่าวว่า การลงทะเบียนใช้แอปฯ นี้จะต้องระบุตัวตนจริง รวมถึงบริษัทต้องมีทั้งระบบ AI และพนักงานที่เป็นมนุษย์คอยดักฟังการสนทนาในห้องทุกห้อง เพื่อตรวจจับแบนคอนเทนต์ “ไม่พึงประสงค์” ต่างๆ เช่น เรื่องอนาจาร ประเด็นอ่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น แอปฯ นี้ยังเคยถูกรัฐบาลระงับมาแล้วเมื่อปี 2019 ก่อนจะได้กลับมาเปิดใช้ใหม่เมื่อบริษัทแก้ไขปัญหาการกลั่นกรองคอนเทนต์ได้แล้ว

แม้มาตรการของรัฐจะทำให้คนจีนคุยเรื่องการเมืองในห้องแชทเสียงไม่ได้ แต่ล่ายมองว่าตลาดมีโอกาสสำหรับการมาคุยกันในเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความบันเทิง จะได้ผลดีมากกับชาวจีน

Google Trends เช็กความฮิต Clubhouse รอบ 90 วันที่ผ่านมา โดยแบ่งตามภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม ระบบกลั่นกรองคอนเทนต์ที่พัฒนาไม่ง่ายน่าจะเป็นกำแพงกั้นแอปฯ ใหม่ที่อยากเข้าตลาดโซเชียลมีเดียแบบเสียง ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Inke Ltd. เพิ่งจะออกแอปฯ Duihuaba เมื่อสองสัปดาห์ก่อน โดยมุ่งเจาะกลุ่มนักลงทุนเวนเจอร์แคปิตอล นักวิจารณ์ด้านแฟชั่น และเซเลบดารา ให้มาตั้งห้องสนทนาในแอปฯ แต่ปัจจุบันถูกสั่งระงับไปเสียเฉยๆ โดยบริษัทไม่ได้ชี้แจงอะไรมากไปกว่า “แอปฯ ยังต้องพัฒนาเพิ่มเติม”

ความเคลื่อนไหวการเกาะกระแส Clubhouse ไม่ได้เกิดแต่ที่ประเทศจีน แม้แต่ยักษ์ใหญ่ซีกโลกตะวันตกอย่าง Facebook กับ Twitter ก็กำลังเร่งพัฒนาแอปฯ แบบเดียวกัน โดยเฉพาะรายหลังที่เปิดตัวเวอร์ชันเบต้าเรียบร้อยในชื่อ Twitter Spaces ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android แต่ปัจจุบันยังทดลองใช้ในกลุ่มจำกัดอยู่

Source

]]>
1321910
รู้จัก “โรฮาน เสท” ผู้ก่อตั้ง Clubhouse อดีตพนักงาน Google เชื้อสายอินเดีย https://positioningmag.com/1320677 Sun, 28 Feb 2021 18:18:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320677 ต้องขอบคุณ อีลอน มัสก์ ที่ทำให้ Clubhouse แอปฯ โซเชียลเน็ตเวิร์กน้องใหม่กลายเป็นที่รู้จักชั่วข้ามคืน จนตอนนี้มีมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แต่แอปฯ บนไอโฟนตัวนี้จะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีผู้ก่อตั้งที่เป็นอดีตพนักงานของกูเกิล อย่าง โรฮาน เสท (Rohan Seth)

Clubhouse เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กทางเสียงแอปฯ แรก ที่กำลังฮิตในหมู่เซเลบริตี ผลิตโดยบริษัท อัลฟา เอ็กซ์พลอเรชัน แม้มีการเริ่มต้นเล็กๆ ในแบบระดมทุนคราวด์ฟันดิ้ง ตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา แต่พออีลอน มัสก์ และมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เข้ามาเป็นสมาชิก ก็ดึงดูดผู้ใช้ได้มากกว่า 2 ล้านยูสเซอร์ และเพิ่มมูลค่าเป็นพันล้านอย่างรวดเร็ว

เว็บไซต์เทคครันช์รายงานว่า ผู้อยู่เบื้องหลังแอปฯ มาแรงขณะนี้ คือ โรฮาน เสท ผู้ร่วมก่อตั้งเชื้อสายอินเดีย วิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้เป็นอัจฉริยะ เขาจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สาขาวิทยาการจัดการ และวิศวกรรมศาสตร์ ในปี 2008

ข้อมูลจากหน้าเพจ Linkedin ของเขามีอยู่ว่า เริ่มทำงานเป็นวิศวกรอยู่ที่ Google ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบปริญญาโท โดยอยู่ในส่วนการพัฒนาเว็บไซต์ Google สำหรับผู้ที่ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ โรฮานยังมีส่วนในการก่อตั้งแพลตฟอร์ม Google Location ที่ทำให้รู้ว่าใครอยู่ที่ไหนในโลกนี้ได้ ผ่านทางสมาร์ทโฟน

(Photo illustration by Jakub Porzycki/NurPhoto via Getty Images)

หลังออกจาก Google เขาได้ไปก่อตั้งบริษัทด้านเทคโนโลยีของตัวเอง ชื่อว่า โอเพน ดอร์ ในปี 2014 ซึ่งได้พัฒนาแอปฯ เมมรี แล็บส์ ที่อาศัยพฤติกรรมของคนในชีวิตประจำวัน เป็นตัวช่วยในการบันทึกความทรงจำ โดยออกแบบให้เหมือนการจดบันทึกไดอารีง่ายๆ แต่ก็ได้การตอบรับอย่างดีพอสมควร เขาระดมทุนได้ถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

ก่อนจะก่อตั้ง Clubhouse โรฮาน แต่งงานกับ เจนนิเฟอร์ เฟิร์นกิสต์ อดีตเพื่อนร่วมงานที่ Google ในปี 2019 พวกเขาก็มีลูกสาวด้วยกัน 1 คน คือ ลีเดีย นีรู เสท ที่เกิดมาพร้อมโรคร้ายติดมาจากยีนที่ผิดปกติ

“หมอบอกว่าเธอเป็นโรคที่หายาก ไม่มีทางรักษา แต่เราไม่เชื่อหรอกว่าจะเป็นเรื่องจริง” โรฮานโพสต์ลงในทวิตเตอร์ของเขาด้วยว่า ลีเดีย จะเข้ารับการรักษาโรคที่เกิดจากพันธุกรรม และเขาจะไม่ยอมหยุดสู้ไปพร้อมกับเธอ รวมทั้งเด็กๆ คนไหนก็ตามที่ป่วยเป็นโรคเดียวกันนี้ ทุกคนจะต้องหาย และมีอนาคตที่สดใส

Photo : Twitter Rohan Seth

โรฮาน ไม่ได้เอาแต่พูดไปวันๆ แต่เขากับภรรยาช่วยกันก่อตั้งแพลตฟอร์ม ‘ลีเดีย แอ็กเซเลอเรเตอร์’ ขึ้นมาเพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลในการช่วยรักษาโรคทางพันธุกรรม

จากข้อมูลงานวิจัยทางการแพทย์จากหมอและนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้ามากมาย ทำให้ทั้งคู่ก็พบว่ายาในกลุ่มเอเอสโอ สามารถช่วยรักษาคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมได้ โดยจะสร้างชิ้นส่วนดีเอ็นเอเล็กๆ เข้าไปขัดขวาง เอ็มอาร์เอ็นเอ ไม่ให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนออกมา วิธีนี้จะช่วยรักษาได้ดีในกรณีที่เพิ่งเริ่มเป็นโรค เท่ากับว่าลีเดียก็มีความหวังแล้ว

นอกจากเรื่องของลูกสาวสุดรักอย่างลีเดียแล้ว หากไปส่องในทวิตเตอร์ของโรฮาน ก็จะเห็นแต่ทวีตที่มีเรื่องราวของศิลปินป็อปร็อก บรูซ สปริงทีน โรฮานเป็นแฟนตัวยง ไม่ว่าจะเป็นการทวีตเพลงฮิต หรือปกแมกกาซีนที่มีภาพของนักร้อง/นักแต่งเพลงคนโปรด นอกจากนี้ เขายังแต่งตัวเลียนแบบไอดอลของเขาในเทศกาลฮัลโลวีนอีกด้วย

“ผมอาจจะไม่ได้เกิดในอเมริกา แต่ผมก็เกิดมาเพื่อสู้ตามความฝัน เหมือนบรูซ สปริงทีนแหละ”

Source

]]>
1320677
นายกฯ เกาหลีใต้ เปิด ‘Clubhouse’ คุย-ถามตอบ ปัญหาบ้านเมืองกับประชาชนโดยตรง https://positioningmag.com/1320322 Mon, 22 Feb 2021 04:40:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320322 ดังพลุเเตกจนยอดดาวน์โหลดทะลุ 8 ล้านครั้งไปเป็นที่เรียบร้อย สำหรับ Clubhouse โซเชียลมีเดียน้องใหม่มาเเรง ที่เหล่าคนดังหลากหลายวงการเข้ามาร่วมเเจม ได้รับความนิยมต่อเนื่อง ล่าสุดขยายไปยังฝั่งการเมืองในเกาหลีใต้เเล้ว 

โดย ‘Chung Sye-kyun’ นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้คนปัจจุบัน ได้เข้าร่วมแอปพลิเคชันสนทนาด้วยเสียง ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างClubhouse – Drop-in Audio Chat’ ในชื่อเเอคเคาท์ @gyunvely ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในผู้นำการเมืองระดับอาวุโสที่เข้าร่วมใช้งานในแอปฯ นี้

ล่าสุด นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ มียอดผู้ติดตามใน Clubhouse เกือบ 500 บัญชี และได้มีการติดตามบัญชีอื่น ๆ เกือบ 200 บัญชี

เขาระบุในคำบรรยายโปรไฟล์ว่า ‘That Yellow Jacket Guy’ อ้างอิงถึงเครื่องแบบป้องกันพลเรือน ที่นักการเมืองเกาหลีใต้มักจะสวมใส่ในช่วงวิกฤต (เช่น ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19) เหมือนกับรูปโปรไฟล์ของเขาที่เป็นรูปการ์ตูนสวมเครื่องแบบสีเหลือง

screenshot from techcrunch.com via Clubhouse

นายกรัฐมนตรี Chung ได้ร่วมสนทนาใน Clubhouse เป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง โดยได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่าผมได้ยินมาว่าแอปฯ นี้กำลังฮอต เลยจะพยายามเข้าไปเล่นตอนกลางคืน

ระหว่างการสนทนา ก็มีคำถามถึงเขามากมาย เช่น เป็นนายกฯ ตัวจริงหรือไม่ ไปจนถึงคำถามเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจเเละสังคม อย่าง ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น และความรุนแรงเเละการคุกคามในวงการกีฬา ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ของเกาหลีใต้ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยเขารู้สึกตกใจเล็กน้อยกับคำถามและปฏิกิริยาที่คาดไม่ถึงของประชาชน เพราะการพูดคุยจะใช้เสียงเท่านั้น ทำให้ทุกคนสามารถสนทนากันได้โดยไม่ต้องสงวนท่าที เเต่ก็มองว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ที่สนุกดี เเละคิดว่าต่อไปจะเข้าร่วมเป็นครั้งคราว

ผมคิดว่ามันเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีกว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เราไม่ต้องสนทนากันต่อหน้า

ความนิยมของ Clubhouse ที่ขยายไปทั่วโลก กำลังเป็นความท้าทายของเเพลตฟอร์มที่ต้องทำขึ้นเพื่อรองรับผู้ใช้จำนวนมาก การหาเงินทุน รวมไปถึงการกลั่นกรองข้อมูล เเละระบบความปลอดภัยที่ต้องได้รับการปรับปรุงเเละพัฒนาต่อไป

 

 

ที่มา : techcrunch , Facebook : 정세균 

]]>
1320322
อย่างเจ็บ! เมื่อ ‘Facebook’ ถูกเรียก ‘นักก๊อป’ มูลค่า 7.7 แสนล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1320170 Fri, 19 Feb 2021 09:59:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320170 Facebook ยังคงเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก พร้อมกับครองตลาดโฆษณาออนไลน์เช่นเดียวกับ Google แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการ ‘ก๊อปฟีเจอร์ยอดนิยม’ จากคู่แข่งมากกว่าที่มีในการสร้างฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ด้วยตัวเอง

ย้อนไป 4 ปีที่แล้ว ‘Facebook’ มักจะมีนวัตกรรมอะไรที่น่าตื่นเต้นอยู่เสมอ โดยบริษัทได้จัดตั้งแผนกฮาร์ดแวร์ใหม่ชื่อ ‘Building 8’ โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรดูแลโดยผู้บริหารจาก DARPA และประกาศว่ากำลังสร้างเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้สามารถ ‘พิมพ์ด้วยสมอง’ และ ‘ได้ยินด้วยผิวหนัง’ นอกจากนี้มีข่าวว่าจะผลิต ‘สมาร์ทโฟน’ ด้วย

ในตอนนั้นยังไม่รู้ว่าสิ่งที่คิดนั้นจะสามารถเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ แต่มันให้ความรู้สึกแปลกใหม่และแตกต่างจากสิ่งที่บริษัทเคยทำมา แต่แล้วผู้บริหาร DARPA ก็ออกจาก Facebook ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา และหนึ่งปีหลังจากนั้น Building 8 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ‘Portal’ ชื่อเดียวกับ ‘Facebook Portal’ ลำโพงอัจฉริยะที่ Facebook สร้างขึ้นเพื่อแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันจาก ‘Amazon’

Computer screen showing the website for social networking site, Facebook (Photo by In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images)

แทนที่จะใช้เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ใหม่ ๆ Facebook ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบจำนวนมากที่ยกมาจาก YouTube, Twitch, TikTok, LinkedIn, Pinterest และ Slack โดย Facebook ดำเนินการเกี่ยวกับแอปหาคู่ยอดนิยมเปิดตัวคู่แข่ง Craigslist และฉีกฟีเจอร์ Stories ยอดนิยมของ Snapchat ในปี 2559 ไม่นานก่อนที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะ และที่เพิ่งมีข่าวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็คือ Facebook กำลังต้องการทำฟีเจอร์แบบเดียวกับ ‘Clubhouse’ ซึ่งเป็นแอปที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้

นอกเหนือจากการก๊อปแล้ว เมื่อ Facebook ไม่สามารถเอาชนะพวกเขาได้มันก็ซื้อมันเหมือนกับที่ซื้อ ‘Instagram’ ในปี 2012 เช่นเดียวกับ ‘WhatsApp’ และ ‘Oculus’

เพราะทั้งซื้อและก๊อปฟีเจอร์ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกากล่าวหา Facebook ว่าใช้ “อำนาจการครอบงำและการผูกขาดเพื่อบดขยี้คู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่า” ตามคำพูดของ Letitia James อัยการสูงสุดแห่งนิวยอร์ก ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มในการสืบสวน Facebook

ด้วยความพยายามในการก็อปที่ต่อเนื่องทำให้เกิดคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ของ Facebook ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญของบริษัทเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม Facebook นั้นไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยีรายแรกหรือรายเดียวที่ก๊อปฟีเจอร์ แต่ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ดูเหมือนจะคัดลอก TikTok ในระดับหนึ่งรวมถึง Snapchat และ YouTube อย่างไรก็ตาม สำหรับ Facebook เองก็ยากที่จะบอกได้ว่าครั้งสุดท้ายที่ Facebook สร้างนวัตกรรมที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงคือตอนไหน

Tucker Marion รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น ที่มุ่งเน้นไปที่การเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม กล่าวว่า การก๊อปของคู่แข่งไม่ใช่กลยุทธ์ที่ไม่ดี แต่จำเป็นต้องควบคู่ไปกับการที่บริษัทดำเนินการตามแนวคิดดั้งเดิมของตนเองด้วย

เพื่อความเป็นธรรมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เป็นเรื่องยาก โดย Google ได้เผาผลาญเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่การร่วมทุนบอลลูนอินเทอร์เน็ตที่มีความทะเยอทะยานไปจนถึงรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองและมีความขยันขันแข็งมากขึ้นเกี่ยวกับการทดลอง

Facebook ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เปิดตัว News Feed ในปี 2006 หลายเดือนหลังจากที่ Twitter เปิดตัวและช่วยเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนบริโภคข้อมูลทางออนไลน์ จากนั้นการเปิดตัวโทรศัพท์ Facebook ก็ล้มเหลว การทดลองใช้โดรนส่งมอบอินเทอร์เน็ตที่บินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ก็เงียบไป และ cryptocurrency ตัวใหม่ (TBD ก็ยังมีปัญหาในช่วงแรก ๆ)

ในทางกลับกันความพยายามบางส่วนในการเลียนแบบคู่แข่งประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล Instagram Stories ซึ่งเป็นก๊อป Snapchat กลายเป็นวิธีเริ่มต้นในการสื่อสารและเชื่อมต่อสำหรับผู้คนนับล้าน รวมถึง Facebook Marketplace กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม

ที่ผ่านมา Kevin Systrom ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CEO ของ Instagram เคยกล่าวไว้เมื่อถูกถามเกี่ยวกับปัญหาการลอกเลียนแบบว่า “ลองนึกภาพรถคันเดียวในโลกคือ Model T ในตอนนี้มีคนประดิษฐ์รถขึ้นมาใหม่มันเจ๋งมาก แต่คุณจะโทษไหมที่บริษัทอื่น ๆ สร้างรถยนต์ที่มีล้อพวงมาลัยและแอร์และหน้าต่างเหมือนกัน คำถามคือ คุณสร้างสิ่งที่ไม่เหมือนใครได้อย่างไร?”

คงจะจริงอย่างที่ว่า เพราะผู้บริโภคทั่วไปไม่สนใจว่าใครจะนึกถึงแนวคิดนี้ก่อน พวกเขาสนใจว่าใครเป็นผู้ดำเนินการได้ดีที่สุด อย่าง Apple ไม่ได้คิดค้นสมาร์ทโฟนขึ้นมา แต่เพียงแค่สร้างเครื่องที่ดีที่สุดในเวลานั้น นั่นเป็นเหตุผลที่ Instagram Stories ทำให้ฐานผู้ใช้ทั้งหมดของ Snapchat ลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีแม้ว่า Facebook จะไม่ใช่คนที่คิดค้น และด้วยเหตุนี้ Reels ซึ่งเป็นฟีเจอร์วิดีโอรูปแบบสั้นจึงพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้รับแรงการตอบรับและแข่งขันกับอัลกอริทึมการแนะนำที่มีประสิทธิภาพของ TikTok

แม้แต่เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยสมองก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เมื่อไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ Elon Musk มีแผนจะใช้สมองกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เฟซคอมพิวเตอร์สมองอื่น ๆ มีการใช้งานมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็อดไม่ได้ที่จะหวังว่าวันหนึ่งจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ จาก Facebook และแม้จะมีนักวิจารณ์พูดถึง Facebook แบบนี้ แต่ตัวแทนของบริษัทก็ยังไม่ตอบกลับคำร้องขอความคิดเห็นในเรื่องนี้ทันที

Source

]]>
1320170