EU เตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะสินค้าที่ซื้อจากแพลตฟอร์มของจีนอย่าง Shein และ Temu รวมถึง Aliexpress โดยเหตุผลสำคัญคือสินค้าจีนราคาถูกได้ทะลักเข้าสู่ยุโรปจำนวนมาก ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการหลายแห่งได้รับความเดือดร้อน
มาตรการที่ EU เตรียมงัดขึ้นมาคือ จะมีการขึ้นภาษีสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 150 ยูโร ซึ่งในอดีตไม่เคยต้องเสียภาษีนำเข้า ซึ่งก่อนหน้านี้มีแค่การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เหล่า E-commerce ที่มีแหล่งจัดส่งนอกสหภาพยุโรป เช่น จีน ฯลฯ จะโดนภาษีเพิ่มเติมทันที ถ้าหากส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ในสหภาพยุโรป
จำนวนสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 150 ยูโรได้ทะลักเข้ามาในทวีปยุโรปมากถึง 2,300 ล้านชิ้นในปี 2023 ที่ผ่านมา โดยข้อมูลจาก EU เผยว่าแต่ละครัวเรือนในสหภาพยุโรปได้สั่งซื้อสินค้าจาก E-commerce เฉลี่ยครัวเรือนละ 2 ชิ้น
สำหรับ Shein หรือแม้แต่ Temu นั้นได้ขายสินค้าที่มีราคาถูก อย่างเช่น เดรสผู้หญิงในราคาราวๆ 10 ดอลลาร์สหรัฐ หรือแม้แต่สินค้าที่มีราคาถูกมากๆ ไม่เพียงเท่านี้ผู้ประกอบการจากจีนนั้นยังได้ประโยชน์เนื่องจากอัตราค่าขนส่งของจีนนั้นยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่จ่ายในอัตราแพงกว่า
ผลที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ประกอบการในยุโรป เช่น H&M หรือแม้แต่ Inditex เจ้าของแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นอย่าง Zara นั้นเสียความสามารถในการแข่งขันจากสินค้าราคาถูกจากจีนเหล่านี้ จนต้องมีการงัดกลยุทธ์ออกมาต่อสู้
ไม่ใช่แค่ EU เท่านั้นที่กำลังปวดหัวกับสินค้าจากจีนจำนวนมากทะลักเข้าสู่ประเทศ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อินโดนีเซียเองกำลังพิจารณาที่จะขึ้นภาษีสินค้าจากจีนบางชนิดสูงถึง 200% ด้วยเช่นกัน เนื่องจากรัฐบาลมองว่าสินค้าที่ทะลักเข้ามาบางชนิดส่งผลทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถแข่งขันได้
ก่อนหน้าที่จะมีมาตรการตอบโต้สินค้าราคาถูกจากจีน EU ได้ออกมาตรการขึ้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าสูงสุดถึง 38.1% มาแล้ว เพื่อตอบโต้รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่ทะลักเข้าสู่ยุโรปจำนวนมาก และมองว่าผู้ผลิตจากจีนได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่งผลทำให้ EV จีนมีราคาถูกกว่าผู้ผลิตในสหภาพยุโรป
อย่างไรก็ดีในการใช้มาตรการดังกล่าวนั้นอาจเพิ่มหน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากร เนื่องจากต้องตรวจสอบสินค้านำเข้าจำนวนมาก นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของ EU ยังเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อนำเสนอให้กับรัฐสภายุโรปชุดใหม่ เพื่อพิจารณาวิธีการตอบโต้สินค้าจากจีนที่ทะลักเข้ามาด้วย
ที่มา – The Guardian, Reuters
]]>Apple ถูกสหภาพยุโรปปรับเป็นเงินมากถึง 1,800 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 70,000 ล้านบาท จากข้อหาที่ผูกขาด App Store และขัดขวางไม่ให้คู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการ Music Streaming รายอื่นสามารถแจ้งผู้ใช้งานได้ว่าสามารถจ่ายเงินค่าบริการจากนอกแพลตฟอร์มได้
ปัจจุบัน Apple ห้ามแอปประเภท Music Streaming แจ้งผู้ใช้งาน iOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ iPhone และ iPad ว่าสามารถสมัครสมาชิกด้านนอกแอปที่มีราคาถูกกว่าการสมัครผ่านแอปใน iOS ได้ ซึ่งถ้าหากมีการสมัครผ่านแอปโดยตรงนั้นจะโดน Apple หักค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 30% ทำให้ผู้พัฒนาแอปหลายรายไม่พอใจ
ขณะเดียวกันค่าปรับดังกล่าวยังสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้ ซึ่งในตอนแรกคาดว่าจะอยู่ที่ราวๆ 500 ล้านยูโรเท่านั้น
คำตัดสินดังกล่าวมาจากข้อกล่าวหาที่ Spotify ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการยุโรปถึงพฤติกรรมของ Apple ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น การขวางไม่ให้อัปเดตตัวแอป เนื่องจากบริษัทให้ผู้ใช้งานรายใหม่สมัครสมาชิกนอกแอปฯ ของตัวเองจะได้ฟังเพลงฟรี 3 เดือนในราคา 0.99 เหรียญเท่านั้น
Margrethe Vestager กรรมาธิการการแข่งขันของคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่า Apple ใช้ตำแหน่งที่โดดเด่นในทางที่ผิดมานานนับ 10 ปี หลังจากนี้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ จะต้องยกเลิกข้อจำกัดที่มีอยู่ทั้งหมด
รายได้จาก App Store นั้นถือว่าเป็นรายได้สำคัญของ Apple ปัจจุบันรายได้ในส่วนดังกล่าวนั้นมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของรายได้รวมของบริษัทแล้ว
ไม่ใช่แค่สหภาพยุโรปเท่านั้นที่มองถึงเรื่องการผูกขาด App Store แต่หน่วยงานกำกับดูแลหลายประเทศเองเริ่มบีบ Apple หรือแม้แต่ Google ให้เปิดเสรีมากขึ้น เนื่องจากมองว่าผู้เล่นรายอื่นควรที่จะเข้ามาแข่งขันได้ เช่น ในกรณีของญี่ปุ่น เป็นต้น
ทางฝั่งของ Apple กล่าวว่าจะอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าว และมองว่าผลการตัดสินนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือฝั่งของ Spotify ซึ่งได้เข้าพบกับคณะกรรมาธิการยุโรปมากถึง 65 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา และมองว่าบริษัทไม่ได้ผูกขาดบริการ Music Streaming เนื่องจาก Spotify มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 56% ในทวีปยุโรป
ที่มา – BBC, CNN, The Guardian
]]>สหภาพยุโรป (EU) ได้เริ่มเปิดการไต่สวน TikTok เครือข่ายสังคมที่เน้นไปยังการแชร์วิดีโอสั้น มีการละเมิดกฎระเบียบปกป้องผู้เยาว์ หรือแม้แต่ความโปร่งใสในการจัดการคอนเทนต์ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งถ้าหากพบว่ามีการฝ่าฝืนจริง อาจทำให้บริษัทโดนปรับเม็ดเงินมหาศาล
การที่ EU ได้สอบสวน TikTok เนื่องจากอาจมีการละเมิดกฎ พระราชบัญญัติบริการดิจิทัล (Digital Services Act) ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดความโปร่งใส การไม่ปกป้องผู้เยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มมีการออกแบบให้ผู้เยาว์ติดหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน การจัดการคอนเทนต์ผิดกฎหมาย ไปจนถึงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
สำหรับ Digital Services Act ของ EU มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคหลังจากบริการจากบริษัทเทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การรับรองด้านเสรีภาพ การปกป้องผู้เยาว์ การโฆษณาบนแพลตฟอร์ม หรือแม้แต่เรื่องการบิดเบือนข้อมูล
ถ้าหากมีการฝ่าฝืน หรือแม้แต่ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า บทลงโทษจะรุนแรงมากขึ้น โดยค่าปรับนั้นจะคำนวณจากยอดขายของบริษัทถ้าหากเป็นบริษัทใหญ่ ซึ่ง EU ได้บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
Thierry Breton กรรมาธิการตลาดภายในของสหภาพยุโรป ได้กล่าวว่า การปกป้องผู้เยาว์ถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของ Digital Services Act เพื่อปกป้องคนหนุ่มสาวชาวยุโรป และเขาชี้ว่า TikTok จะต้องทำตามข้อระเบียบอย่างเต็มที่ ซึ่ง EU กำลังสอบสวนในเรื่องดังกล่าว
หาก EU พบว่า TikTok มีการฝ่าฝืนจริงนั้นอาจมีค่าปรับได้มากถึง 6% ของรายได้รวมที่ทำได้ทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่หลักพันล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าหากคิดจากรายได้ล่าสุดครึ่งปีแรกของปี 2023 หรือคิดเป็นเงินไทยคร่าวๆ ถึงหลักหมื่นล้านบาท
ทางฝั่งของ TikTok ได้กล่าวว่าจะมีการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คนหนุ่มสาวบนแพลตฟอร์มของบริษัทปลอดภัย โดยบริษัทหวังว่าจะได้อธิบายสิ่งดังกล่าวนี้โดยละเอียดต่อคณะกรรมาธิการยุโรป
นอกจากนี้ตัวแทนของ TikTok ยังกล่าวว่าบริษัทเป็นผู้บุกเบิกฟีเจอร์และการตั้งค่าเพื่อปกป้องวัยรุ่นและป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีใช้งานแพลตฟอร์ม
ก่อนหน้านี้ TikTok ได้ถูกหน่วยงานกำกับดูแลในไอร์แลนด์ปรับเงินเป็นเม็ดเงิน 345 ล้านยูโรมาแล้ว จากประเด็นละเมิดกฎระเบียบปกป้องผู้เยาว์มาแล้ว
ที่มา – The Guardian, Irish Times
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า สหภาพยุโรป (EU) เตรียมเข้าสืบสวนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มาจากประเทศจีนหลายแบรนด์ หลังจากที่มีข้อกล่าวหาว่าแบรนด์เหล่านี้อาจได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ทำให้การแข่งขันเกิดความไม่ยุติธรรม
การตรวจสอบของ EU จะพุ่งเป้าไปยังผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีน ได้แก่ BYD และ Geely รวมถึง SAIC ขณะที่แบรนด์จากตะวันตกที่มีฐานการผลิตในประเทศจีนอย่าง Tesla และ Renault หรือแม้แต่ BMW จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเข้าตรวจสอบ
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวต่อยอดมาจากเมื่อเดือนตุลาคมของปี 2023 ที่ผ่านมา EU ได้เตรียมที่จะเข้าสอบสวนประเด็นดังกล่าว โดยคาดว่าการสอบสวนจะใช้เวลาไม่เกิน 13 เดือน
ราคารถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนถือว่ามีราคาถูก เมื่อเทียบกับราคารถยนต์ไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายยุโรป ส่งผลทำให้ผู้ผลิตหลายรายในยุโรปเองประสบปัญหาความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์รถยนต์จากเยอรมันหลายรายเริ่มประสบปัญหาดังกล่าวแล้ว
ไม่เพียงเท่านี้อุตสาหกรรมยานยนต์ในยุโรปเองถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเป็นจำนวนที่สูงมาก และถ้าหากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจยุโรปในหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งออกหรือแม้แต่การบริโภค
]]>สหภาพยุโรป (EU) ได้ตกลงที่จะออกกฎระเบียบในการควบคุมด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ AI Act ซึ่งมีแนวโน้มว่าเกณฑ์ดังกล่าวจะกลายเป็นกฎระเบียบฉบับแรกที่ควบคุมเทคโนโลยีดังกล่าวทางด้านฝั่งโลกตะวันตก เพื่อควบคุมผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายของ AI
เกณฑ์ที่จะนำมาบังคับใช้ หลังจากที่มีการประชุมกันยาวนานมากถึง 36 ชั่วโมง จะมีทั้งวิธีการควบคุมโมเดล AI ทั่วไปที่ใช้ในการสร้างเครื่องมืออย่างเช่น ChatGPT รวมถึงการใช้เครื่องมือระบุตัวตน เช่น การจดจำใบหน้าและการสแกนลายนิ้วมือ
นอกจากนี้ AI Act ของสหภาพยุโรปยังป้องกันการนำ AI ไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การบิดเบือนพฤติกรรมทางปัญญา การตัดภาพใบหน้าจากอินเทอร์เน็ตหรือภาพจากกล้องวิดีโอวงจรปิดโดยไม่ได้ตั้งใจ การจดจำอารมณ์ในที่ทำงานและสถาบันการศึกษา หรือแม้แต่การให้คะแนนทางสังคม (Social Credit)
สำหรับค่าปรับสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎระเบียบดังกล่าวคือมีค่าปรับที่จะกำหนดจากสัดส่วนยอดการขาย โดยจะมีค่าปรับขั้นต่ำแล้วแต่กรณีที่ทำผิด ซึ่งค่าปรับที่ EU ได้ปรับเงินบริษัทต่างๆ ที่ทำผิดกฎนั้นขึ้นอยู่กับว่าเม็ดเงินค่าปรับในส่วนใดมากกว่ากัน และค่าปรับจะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นไปด้วยถ้าหากมีการกระทำผิดซ้ำซ้อนหลายครั้ง
Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้กล่าวว่า AI Act ของสหภาพยุโรป จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่คุกคามความปลอดภัยและสิทธิของประชาชน
การเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์สู่โลกกระแสหลักนั้นเกิดจากการเปิดตัวแชทบอต ChatGPT ของ OpenAI ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2022 ซึ่งสร้างผลกระทบในหลายมิติ และคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวมหาศาล จนทำให้หลายประเทศนั้นเริ่มวางแผนที่จะออกกฎระเบียบเพื่อที่จะควบคุม AI ไม่ให้สร้างผลเสียต่อสังคม ซึ่งรวมถึงสหภาพยุโรปด้วย
อย่างไรก็ดีสำหรับ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลีได้คัดค้านการควบคุมโมเดล AI โดยมองว่าโมเดลการควบคุมดูแลของบริษัทเทคโนโลยีผ่านการแนะนำแนวทางของรัฐบาลนั้นดีกว่าการออกกฎระเบียบเพื่อบังคับ
ขณะเดียวกันฝรั่งเศสซึ่งเป็นอีกประเทศที่มีสตาร์ทอัพด้าน AI มากแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปมีความกังวลว่าถ้าหากมีการออกกฎระเบียบดังกล่าวอาจขัดขวางความสามารถของทวีปยุโรปในการแข่งขันด้าน AI เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศจีน
]]>Meta โดนหน่วยงานกำกับดูแลด้านการปกป้องข้อมูล (DPC) ของประเทศไอร์แลนด์ สั่งปรับเงินมากถึง 1,200 ล้านยูโร เนื่องจากบริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป และบริษัทจากสหรัฐอเมริการายนี้ยังทำสถิติโดนค่าปรับสูงสุดเท่าที่เคยมีกรณีดังกล่าวด้วย
ซึ่งยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมจากสหรัฐอเมริกานี้ได้กฎซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการยุโรป เพื่อที่ป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลยังคงได้รับการคุ้มครองเมื่อถ่ายโอนข้อมูลออกนอกยุโรป อย่างไรก็ดี Meta ได้มองว่าการปรับเงินก้อนใหญ่นี้เกิดจากมีข้อกฎหมายที่ขัดแย้งกัน
นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าการส่งของข้อมูลเหล่านี้จะเปิดเผยข้อมูลของชาวยุโรป เนื่องจากกฎหมายความเป็นส่วนตัวที่อ่อนแอกว่าของสหรัฐฯ รวมถึงความกังวลที่ว่าหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลชาวยุโรปได้
ไม่เพียงเท่านี้ Meta ยังได้รับคำเตือนให้หยุดส่งข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่ผิดกฎหมายของสหภาพยุโรป รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานยุโรปในสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อมูลผู้ใช้งานในยุโรปจะต้องลบออกจากเซิร์ฟเวอร์ Facebook ในสหรัฐอเมริกา
ก่อนหน้านี้ Amazon เคยโดนปรับเงินจากกรณีคล้ายกันมาแล้ว โดยเม็ดเงินที่โดนปรับมากถึง 746 ล้านยูโร
อย่างไรก็ดีการพิจารณาคดีดังกล่าวของไอร์แลนด์จะไม่ส่งผลกระทบต่อการถ่ายโอนข้อมูลที่แพลตฟอร์มอื่นของ Meta ไม่ว่าจะเป็น Instagram และ WhatsApp ขณะเดียวกันทาง Meta กล่าวว่าจะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของหน่วยงานในประเทศไอร์แลนด์และขอพักคำสั่งโอนข้อมูลไปยังสหรัฐอเมริกา และชี้ว่าผลกระทบดังกล่าวจะไม่กระทบกับผู้ใช้งานในยุโรป
]]>รัฐสภายุโรปอาจเตรียมไฟเขียวข้อตกลงดังกล่าวภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า หลังจากมีข้อตกลงกับตัวแทนของแต่ละประเทศเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งโรงงานผลิตชิปที่ตั้งในสหภาพยุโรปนั้นจะได้รับเงินทุน รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ และเม็ดเงินสนับสนุนนี้จะรวมไปถึงการวิจัยในเรื่องเซมิคอนดักเตอร์อีกด้วย ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินสำหรับการวิจัยจะมากถึงหลักพันล้านยูโร
อย่างไรก็ดีโรงงานผลิตชิปที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากเม็ดเงินดังกล่าว เนื่องจากประเทศต่างๆ ใน EU นั้นมองว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้กับเยอรมันแต่เพียงฝ่ายเดียว
โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายหนุนศักยภาพผลิตชิปคอมพิวเตอร์ (Chips Act) ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนเม็ดเงินมากถึง 52,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ไปตั้งฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิประโยชน์มหาศาล
ข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ในตลาดชิปคอมพิวเตอร์นั้นลดลงจาก 37% เมื่อปี 1990 เหลือเพียง 12% ในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีน ทำให้ประเทศอย่างสหรัฐต้องออกกฎหมายดังกล่าว และส่งผลทำให้ทางสหภาพยุโรปเองก็ต้องออกข้อตกลงดังกล่าวออกมาเพื่อจูงใจผู้ผลิตชิปให้มาตั้งฐานการผลิตอีกแห่ง
อย่างไรก็ดีคาดว่ารายละเอียดเกี่ยวกับ EU Chips Act อาจต้องรอถึงช่วงปี 2023 แต่ก็มีหลายบริษัทที่เตรียมตัวสร้างโรงงานผลิตชิปในแผ่นดินยุโรปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Intel และ GlobalFoundries รวมถึงผู้ผลิตรายอื่นๆ
]]>นอกจากจะมีการยุติการขายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปในปี 2035 แล้ว สหภาพยุโรปยังมีการอนุมัติให้มีการติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทุกๆ 60 กิโลเมตรอีกด้วย ขณะเดียวกันถ้าหากยังมีผู้ใช้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปอยู่ก็จะโดนอัตราภาษีสูงที่สุดของในแต่ละประเทศ
สำหรับนโยบายดังกล่าวนั้นมีการต่อสู้ในรัฐสภายุโรปมาแล้ว โดยนักการเมืองฝ่ายแรกมองว่าควรที่จะแบนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป 100% ภายในปี 2035 ขณะที่นักการเมืองอีกฝ่าย ซึ่งมาจากประเทศที่มีอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์กลับมองว่ายุโรปควรจะแบนเพียงแค่ 90% เท่านั้น และให้ความเห็นว่าผู้บริโภคควรที่จะเลือกได้ว่าอยากได้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป
มาตรการดังกล่าวที่ EU ต้องมีการผลักดันออกมา ส่วนหนึ่งนั้นมาจากแรงกดดันในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่มีผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศจีน รวมถึงสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ในสหภาพยุโรปมีการเร่งให้หลายประเทศเลิกผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ให้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เพราะไม่งั้นแล้วจะไม่สามารถต่อสู้ได้
Agnes Pannier-Runacher รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของฝรั่งเศส ได้ออกมากล่าวว่า “นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของทวีปยุโรป” และเธอยังได้เสริมว่า “ด้วยข้อตกลงดังกล่าวนี้ ยุโรปกำลังจะเป็นผู้นำในด้านการจัดการด้านสภาวอากาศ”
อย่างไรก็ดี คำขอของประเทศต่างๆ รวมถึงเยอรมนีและอิตาลี สหภาพยุโรปยังตกลงที่จะพิจารณาอนุญาตสำหรับการใช้เทคโนโลยีทางเลือกในอนาคต เช่น เชื้อเพลิงสังเคราะห์หรือระบบไฮบริด หากพวกแต่ละประเทศสามารถกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างสมบูรณ์
นอกจากนี้ EU ยังได้อนุมัติขยายเวลา 5 ปี ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ “เฉพาะกลุ่ม” หรือผู้ผลิตรถยนต์น้อยกว่า 10,000 คันต่อปีจนถึงสิ้นปี 2035 ซึ่งข้อกำหนดนี้จะทำให้หลายฝ่ายมองว่าผู้ผลิตรถยนต์หรูที่มีฐานการผลิตในยุโรปหลายยี่ห้อนั้นประโยชน์จากข้อยกเว้นนี้
]]>