EV Charger – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Jan 2024 06:29:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ความหวังรถอีวี! นักวิจัยค้นพบเทคโนโลยีใหม่ผลิต “แบตเตอรี่” ให้ชาร์จเต็มได้ใน 5 นาที https://positioningmag.com/1460829 Tue, 30 Jan 2024 03:26:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460829 อุปสรรคอย่างหนึ่งในการเปลี่ยนมาใช้รถอีวีของผู้บริโภคคือความกังวลเกี่ยวกับ “แบตเตอรี่” ความจุแบตเตอรี่จะวิ่งได้ไกลเท่าไหร่? ต้องใช้เวลาชาร์จนานแค่ไหน? การชาร์จจะกระทบกับคุณภาพแบตเตอรีในระยะยาวหรือไม่? คำถามเหล่านี้ต้องได้รับการวิจัยเพื่อพัฒนาให้การชาร์จดียิ่งขึ้น และดูเหมือนเทคโนโลยีบนโลกกำลังคืบหน้าไปสู่การชาร์จรถอีวีให้เต็มได้ใน 5 นาที

กลุ่มนักวิจัยที่ มหาวิทยาลัยคอร์เนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ที่อาจทำให้ความกังวลเหล่านี้ได้รับการแก้ไข เพราะพวกเขาสามารถสร้าง “แบตเตอรี่” ที่ชาร์จเต็มได้ภายใน 5 นาทีสำเร็จ และยังให้ประสิทธิภาพปกติเมื่อ “ชาร์จและหยุดชาร์จ” หลายครั้งตามวัฏจักรการใช้งานจริง

ที่ผ่านมาแบตเตอรีรถอีวีจะใช้แบตฯ ลิเธียมไอออนเป็นหลัก เพราะมีคุณสมบัติน้ำหนักเบา เก็บกักพลังงานได้ดี และมีอายุใช้งานยืนยาว

ส่วนการชาร์จแบตฯ ลิเธียมไอออนจะใช้เวลานานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่และประเภทของที่ชาร์จที่ใช้ ปัจจุบันที่ชาร์จที่ใช้กันแพร่หลายประเภท ‘Fast charger’ สามารถชาร์จแบตฯ รถอีวีจนเต็มได้ในเวลา 30 นาที ขณะที่ที่ชาร์จแบบใช้ในบ้านเรือนทั่วไปมักจะต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง สูงสุดคืออาจต้องชาร์จกันถึง 40 ชั่วโมง ก็มี

ก่อนหน้านี้มีการพัฒนาที่ชาร์จให้ชาร์จได้เร็วขึ้นมาตลอด​ โดยมีบริษัทแห่งหนึ่งชื่อ Gravity เคลมว่าที่ชาร์จของบริษัทสามารถชาร์จแบตเตอรี่ขนาดวิ่งได้ไกล 321 กิโลเมตรให้เต็มได้ใน 5 นาที แต่ไม่สามารถใช้ได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น

ปัญหาการใช้เวลานานในการชาร์จคือข้อเสียหนึ่งของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ทำให้นักวิจัยกลุ่มนี้ทดลองแร่โลหะอื่นเพื่อมาผลิตแบตเตอรี่ โดยค้นพบว่าแร่ “อินเดียม” เป็นแร่ที่สามารถเปลี่ยนให้แบตเตอรี่ชาร์จไฟและเก็บไฟได้เร็วขึ้น ปกติแร่อินเดียมนั้นจะใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแผงโซลาร์และจอทัชสกรีนต่างๆ

Man plugging in charger into an electric car at charge station

“ลินเดน อาร์เชอร์” ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล ผู้ดูแลโครงการวิจัยชิ้นนี้ กล่าวแถลงในวารสาร Joule ที่ตีพิมพ์งานวิจัยแบตเตอรี่อินเดียมว่า การลดระยะเวลาชาร์จเหลือเพียง 5 นาที จะทำให้คนขับไม่ต้องกังวลเรื่องระยะทางที่ใช้ได้สำหรับการชาร์จหนึ่งครั้งอีกต่อไป ต่อไปรถอีวีจะไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เพื่อให้วิ่งได้ไกลถึง 480 กิโลเมตรก็ได้ เพราะสามารถชาร์จได้เร็วขึ้น ซึ่งจะลดต้นทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แร่อินเดียมก็มีข้อเสียของตัวเอง เพราะแร่ชนิดนี้มีน้ำหนักสูง ขณะที่อุตสาหกรรมรถอีวีย่อมต้องการวัสดุที่เบาที่สุดที่เป็นไปได้ แต่การวิจัยนี้ก็ถือเป็นหมุดหมายหนึ่งที่อาจจะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จได้เร็วขึ้นในอนาคต

กลุ่มนักวิจัยนี้จะยังเดินหน้าต่อกับการวิจัยแร่โลหะอื่นๆ ที่อาจจะให้คุณสมบัติชาร์จเร็วได้เหมือนแร่อินเดียมแต่มีน้ำหนักเบากว่า “ยังมีแร่โลหะอื่นอีกไหมในโลกนี้ที่มีคุณสมบัติตามที่เราต้องการแต่เรายังไม่ได้นำมาศึกษา?” อาร์เชอร์กล่าว “นั่นคือจุดเริ่มต้นของความปรารถนาในการวิจัยของฉัน เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานที่ทำให้ใครๆ ต่างพยายามออกแบบแบตเตอรีเพื่อให้บรรลุการชาร์จที่เร็วขึ้นกว่าเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ขณะนี้”

Source

]]>
1460829
น้ำขึ้นให้รีบตัก! “LG” ตั้งโรงงานผลิต “เครื่องชาร์จอีวี” ในสหรัฐฯ สนองนโยบายไบเดน https://positioningmag.com/1458861 Mon, 15 Jan 2024 10:52:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458861 “LG” เป็นหนึ่งในผู้ผลิต “แบตเตอรี” รายสำคัญในสหรัฐฯ แต่บริษัทจากแดนโสมแห่งนี้ยังต้องการขยายไปผลิต “เครื่องชาร์จอีวี” อีกด้วย โดยบริษัทเพิ่งจะเปิดโรงงานผลิต EV Charger เป็นแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่รัฐเท็กซัส กำลังการผลิต 10,000 เครื่องต่อปี รีบตักตวงโอกาสหลังประธานาธิบดีไบเดนประกาศเร่งเพิ่มสถานีชาร์จรถอีวีสาธารณะทั่วประเทศ

โรงงานผลิตเครื่องชาร์จอีวีของ LG เริ่มต้นการผลิตเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้ในบ้าน กำลังไฟ 11kW แล้ว และจะเริ่มไลน์การผลิตเครื่องชาร์จแบบ ‘Fast Charge’ กำลังไฟ 175 kW ภายในครึ่งปีแรกปี 2024 นี้

LG ยังแถลงด้วยว่า บริษัทอยู่ระหว่างวางแผนการผลิตเครื่องชาร์จในระดับ ‘Ultra-fast Charge’ กำลังไฟ 350kW ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นการผลิตได้ภายในสิ้นปี 2024

บริษัทจากเกาหลีใต้แห่งนี้ระบุว่า บริษัทเลือกเท็กซัสเพราะมีโรงงานบางส่วนอยู่ที่นั่นแล้ว และเป็นเพราะรัฐเท็กซัสมีเครือข่ายโลจิสติกส์ขนส่งที่ยอดเยี่ยม และยังเป็นแหล่งรวมการดำเนินการของบริษัทในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ยานยนต์ไปจนถึงการเงิน (รัฐเท็กซัสเป็นที่ตั้งของโรงประกอบรถยนต์หลายยี่ห้อ เช่น GM, Toyota และ Tesla)

LG กล่าวด้วยว่า บริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจเกี่ยวกับ “เครื่องชาร์จอีวี” ทั้งในยุโรปและเอเชีย โดยบริษัทร่วมกับพันธมิตรอีก 2 รายเริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้เมื่อ 2 ปีก่อน ผ่านการเข้าซื้อกิจการบริษัท EV Charger สัญชาติเกาหลีใต้ชื่อ “AppleMango” (ก่อนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “HiEV”)

จากการเข้าซื้อกิจการครั้งนั้น LG มองว่าบริษัทจะได้สร้าง ‘synergy’ กับธุรกิจแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอยู่แล้ว รวมถึงสินค้าประเภทเครื่องกักเก็บพลังงานและระบบจัดการพลังงาน และยังจะได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้าน “หน้าจอ” เข้าไปผนวกกับเครื่องชาร์จอีวีเหล่านี้ เพื่อให้ได้สถานีชาร์จที่มีหน้าจอกลางแจ้งแบบกันน้ำ กันฝุ่น และคงทนถาวร

หลังการขยายสู่ธุรกิจใหม่ นำมาสู่การสร้างโอกาสในสหรัฐฯ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลโจ ไบเดนต้องการจะขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกให้รถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น

ปัจจุบันสหรัฐฯ มีเครื่องชาร์จ 169,741 หัวในสถานีชาร์จจำนวน 65,113 แห่งทั่วประเทศ (รวมหัวชาร์จทั้งประเภท DC, Fast Charge และ Ultra-fast Charge) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไบเดนต้องการขยายจำนวนเครื่องชาร์จสาธารณะเป็น 500,000 หัวทั่วประเทศภายในปี 2030 ซึ่งจะทำให้ LG มีโอกาสการผลิตและขายสินค้า

“จากการลงทุนโรงงานผลิต EV Charger ของเราในเท็กซัส เราจะสามารถสนองตอบความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านรถยนต์อีวีที่เติบโตอย่างรวดเร็วในสหรัฐฯ ได้” Jand Ik-hwan ประธานธุรกิจโซลูชันของ LG กล่าว

Source

]]>
1458861
Google Maps อัปเดตใหม่! ให้คุณค้นหาสถานี EV Charger แบบ Fast charge ได้แล้ว https://positioningmag.com/1409101 Mon, 21 Nov 2022 04:19:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409101
  • ชีวิตผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะยิ่งง่ายขึ้น ล่าสุด Google Maps อัปเดตแอปฯ การค้นหาสถานี EV Charger มีฟีเจอร์ที่เลือกค้นหาเฉพาะสถานีแบบ Fast charge ได้แล้ว
  • การอัปเดตแอปฯ ครั้งนี้ยังมีระบบ AR ในชื่อฟีเจอร์ ‘Search with Live View’ แค่ส่องกล้องไปรอบตัว แอปฯ จะแสดงสถานที่รอบๆ ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง
  • ก่อนหน้านี้ Google Maps สามารถค้นหาสถานี EV Charger ได้แล้ว แต่จากการอัปเดตล่าสุดทั้งบนระบบ Android และ iOS แอปพลิเคชันมีฟีเจอร์ใหม่ในการเลือกให้แผนที่แสดงเฉพาะสถานีที่เป็นระบบ “Fast charge” เท่านั้น ซึ่งนิยาม Fast charge ของ Google คือต้องเป็นสถานีที่สามารถชาร์จไฟด้วยกำลังชาร์จที่ 50kW ขึ้นไปได้

    ระบบค้นหาสถานี EV Charger ของ Google Maps จะใช้ได้เฉพาะประเทศที่มีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้วเท่านั้น ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย

    Google Maps EV Charger
    ทดลองค้นหา EV Charger แบบ Fast charge

     

    อีกหนึ่งฟีเจอร์น่าสนใจคือการเปิดระบบ ‘Search with Live View’ ด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ฟีเจอร์นี้ทำให้ผู้ใช้สามารถส่องกล้องไปรอบๆ ตัวเพื่อดูว่ารอบๆ มีสถานที่อะไรที่น่าสนใจอยู่บ้าง

    สิ่งที่จะแสดงขึ้นมาใน Live View เช่น แลนด์มาร์กสำคัญของเมือง สวนสาธารณะ โรงแรม ร้านอาหาร บาร์ ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น และจะมีรายละเอียดประกอบขึ้นมาด้วย เช่น ตอนนี้คนเยอะหรือเปล่า ร้านเปิดอยู่หรือไม่ ราคาประมาณไหน และได้กี่ดาวจากผู้ใช้ Google Maps

    เสียดายที่ประเทศไทยยังใช้ฟีเจอร์นี้ไม่ได้ เพราะแอปฯ จะนำร่องทดลองใช้งานระบบนี้ใน 6 เมืองหลักก่อน ได้แก่ นิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก ลอนดอน ปารีส และโตเกียว แต่ฟีเจอร์แบบนี้อีกไม่นานก็น่าจะมาถึงเมืองไทยเหมือนกัน

    ระบบ Search with Live View ทดลองใน 6 เมืองหลักของโลกก่อน

     

    ฟีเจอร์สุดท้ายที่มีการอัปเดต คือการเพิ่มไอคอนแสดงว่าสถานที่นั้น “เป็นมิตรต่อผู้ใช้วีลแชร์” (Accessible Places) โดยก่อนหน้านี้เคยนำร่องใช้ไปเพียง 4 ประเทศเมื่อปี 2020 ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น แต่การอัปเดตล่าสุดจะทำให้ใช้ได้ทั่วโลก

    Google เชื่อว่าฟีเจอร์นี้จะทำให้ผู้ใช้วีลแชร์หรือกระทั่งพ่อแม่ที่มีรถเข็นเด็กวางแผนการเดินทางง่ายขึ้น เพราะจะได้ทราบล่วงหน้าว่าสถานที่นั้นมีแรมป์สำหรับรถวีลแชร์หรือไม่ก่อนที่จะไปถึง

    ไอคอนรูปรถเข็น เพื่อแสดงว่าสถานที่นั้นๆ มีแรมป์วีลแชร์

    เราจะสังเกตเห็นว่าก่อนหน้านี้พักใหญ่แล้ว Google Maps ให้ผู้ใช้ช่วยกันส่งข้อมูลเกี่ยวกับแรมป์รถเข็นในสถานที่ต่างๆ มาตลอด เพื่อจะนำมาแสดงผลในวันนี้

    Source

    ]]>
    1409101
    แผนสนับสนุนมาตรฐาน “สถานีชาร์จ” รัฐบาลไบเดน ต้องติดราคาชัด-ไม่บังคับสมัครสมาชิก https://positioningmag.com/1388396 Fri, 10 Jun 2022 10:54:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388396 รัฐบาลไบเดนต้องการสร้างระบบนิเวศ “รถยนต์ไฟฟ้า” ให้เกิดขึ้นจริงในสหรัฐฯ ทำให้การจัดการ “สถานีชาร์จ” เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ในงบสนับสนุนของรัฐเพื่อจัดตั้งสถานีชาร์จให้เพียงพอ ไบเดนต้องการสร้างมาตรฐานสถานีให้เหมือนกับปั๊มน้ำมันปัจจุบัน เช่น ติดป้ายราคาขนาดใหญ่ ไม่บังคับสมัครสมาชิก รับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

    รัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดย “โจ ไบเดน” กำลังเดินตามแผนสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า โดยในแง่ของการตั้ง “สถานีชาร์จ” รัฐบาลจะใช้งบสนับสนุนทั้งหมด 5 แสนหัวชาร์จ ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมถนนไฮเวย์ทั่วประเทศ

    สถานีที่สนับสนุนโดยรัฐจะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน คล้ายกับที่ปั๊มน้ำมันเป็นอยู่ขณะนี้ จุดสำคัญที่ไบเดนต้องการคือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะต้อง “เปิดกว้าง” ให้กับทุกๆ คน ไม่มีการบังคับสมัครสมาชิกก่อนจึงเข้าใช้ได้ มีการใช้ระบบชำระเงินมาตรฐาน เช่น บัตรเครดิต

    ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 รัฐบาลไบเดนประกาศเป้าหมายด้านรถยนต์ไฟฟ้า โดยต้องการให้ยานพาหนะที่ออกจำหน่ายในปี 2030 ครึ่งหนึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า, รถไฟฟ้าฟิวเซลล์ หรือ รถปลั๊กอินไฮบริด

    เมื่อจะสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า สิ่งที่ชาวอเมริกันกังวลมากที่สุดจึงเป็น “สถานีชาร์จ” ผู้ใช้จะต้องไม่มีความกังวลว่าจะหาสถานีชาร์จข้างหน้าไม่ได้จนแบตเตอรีหมด ดังนั้น รัฐบาลจึงให้การสนับสนุนสถานีชาร์จด้วย รวมถึงมีการทุ่มทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนการวิจัยและติดตั้งสถานีชาร์จประเภทชาร์จเร็ว (fast charge)

    Man plugging in charger into an electric car at charge station

    ถ้าหากกฎการสร้างสถานีชาร์จที่เป็นมาตรฐานนี้สามารถเคาะร่างกฎหมายขั้นสุดท้ายออกมาได้ จะถูกนำไปใช้กับการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เซ็นผ่านกฎหมายไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน โดยในกฎหมายฉบับนั้นมีการสนับสนุนเงินทุน 5,000 ล้านเหรียญแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อสร้างโครงข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

    “เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า เราต้องสร้างโครงข่ายสถานีชาร์จระดับชาติที่ทำให้การชาร์จรถง่ายเหมือนกับการเข้าปั๊ม” พีท บัททิกีเอก เลขานุการกระทรวงคมนาคม กล่าว

    ความคืบหน้ากฎหมายเกี่ยวกับสถานีชาร์จเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ “ราคาน้ำมัน” พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ขณะนี้ราคาน้ำมันในสหรัฐฯ ขึ้นไปแตะ 4.96 เหรียญต่อแกลลอน ไบเดนเองได้ระบุแล้วว่ารัฐบาลของเขาไม่สามารถจะดึงราคาน้ำมันลงมาได้ในระยะสั้น

    Source

    ]]>
    1388396
    SHARGE ติดสปีดปูพรม “หัวชาร์จ” 2,400 หัว เน้นตลาดบ้าน-คอนโด รองรับ “รถอีวี” เวฟแรก https://positioningmag.com/1379098 Thu, 24 Mar 2022 11:05:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1379098 บริษัท SHARGE ผู้ให้บริการ “หัวชาร์จ” รถอีวี ตั้งเป้าติดตั้งหัวชาร์จให้ได้ 600 แห่ง รวมหัวชาร์จ 2,000-2,400 หัวภายในปี 2565 โดยเริ่มต้นเน้นตลาดบ้าน-คอนโดเป็นหลัก รองรับกระแสคลื่นลูกแรกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไทยที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 10,000 คันในปีนี้ ก่อนจะโตก้าวกระโดดแตะ 1.05 ล้านคันภายในปี 2568

    กระแสรถยนต์ไฟฟ้านับได้ว่าเริ่มจุดติดแล้วในไทย โดยหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้กระแสนี้เป็นไปได้ คือการมี “หัวชาร์จ” อย่างเพียงพอในจุดที่ผู้ใช้รถต้องการ

    “พีระภัทร ศิริจันทโรภาส” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE) หนึ่งในผู้เล่นของตลาดติดตั้งและบริการหัวชาร์จรถอีวี จึงต้องรีบติดสปีดให้ทันต่อดีมานด์ โดยเขากล่าวถึงโมเดลธุรกิจของ SHARGE ก่อนว่า บริษัทมีการแบ่งตลาดออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

    • Night คือ การชาร์จยามค่ำคืน ระหว่างผู้ใช้รถพักผ่อน เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม โรงแรม ทำให้หัวชาร์จใช้แบบกระแสสลับ (AC) ได้ เพราะลูกค้ามีเวลาในการชาร์จนานเพียงพอ
    • Day คือ การชาร์จที่จุดหมายปลายทางระหว่างวัน เช่น ห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ทำให้หัวชาร์จจะใช้แบบกระแสตรง (DC) หรือ AC เพิ่มความเร็วการชาร์จ ใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง
    • On-the-go คือ การแวะชาร์จระหว่างเดินทางไกล เช่น สถานีชาร์จ จุดพักรถ หัวชาร์จจะใช้แบบ DC ซูเปอร์ชาร์จจิ้ง ใช้เวลาเพียง 10-15 นาที
    • Fleet เป็นการวางระบบเฉพาะสำหรับบริษัทพาหนะขนส่งคน ส่งของ โลจิสติกส์

    ชาร์จ แมเนจเม้นท์ นั้นก่อตั้งในรูปแบบสตาร์ทอัพเมื่อปี 2562 และหลังจากนั้นมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่ร่วมลงทุน เช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน), บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด, บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งทำให้ชาร์จ แมเนจเม้นท์มีฐานการขยายตัว

    พีระภัทรเปิดเผยว่า ปี 2565 นี้ SHARGE ประกาศเป้าจะขยายหัวชาร์จเพิ่มเป็น 600 แห่ง มีทั้งหมด 2,000-2,400 หัวชาร์จ โดยเน้นการเป็นผู้นำตลาดที่พักอาศัย ผ่านการเพิ่มความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์เป็น 27 บริษัทภายในสิ้นปีนี้ และ 50 บริษัทภายในสิ้นปี 2568

    SHARGE
    เป้าหมายปี 2565

     

    ติดตั้งในบ้าน-คอนโด ทั้งโครงการใหม่และเก่า

    พีระภัทรกล่าวว่า เมื่อผู้ใช้เปลี่ยนจากรถสันดาปมาเป็นรถอีวี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีเติมพลังงานด้วย เพราะเราสามารถนำหัวชาร์จไฟฟ้าเข้ามาติดตั้งในบ้านหรือสถานที่ใดก็ได้ ต่างจากน้ำมันที่จะต้องอยู่ในสถานีเฉพาะเท่านั้น

    ดังนั้น ตลาด ‘Night’ จึงเป็นกลุ่มที่เติบโตก่อนและจะยังเป็นกุญแจหลักของการเติบโตในระยะแรก ตั้งเป้าเพิ่มหัวชาร์จเป็น 2,000 หัวในกลุ่มนี้สำหรับปีนี้

    ปัจจุบัน SHARGE มีพาร์ตเนอร์ผู้ประกอบการอสังหาฯ ไม่ใช่แค่แสนสิริ แต่ร่วมมือกับสารพัดแบรนด์ เช่น พฤกษา, เอสซี แอสเสท, ไรมอนแลนด์, ศุภาลัย, พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟกต์ ฯลฯ ทำให้มีจำนวนหัวชาร์จติดตั้งไปแล้วกว่า 100 หัว มีลูกค้าที่เป็น active users ประมาณ 3,500 ราย

    พาร์ตเนอร์ผู้ประกอบการอสังหาฯ

    การติดตั้งดังกล่าว ไม่ใช่แค่การติดในโครงการใหม่ แต่เข้าไปติดตั้งในส่วนกลางหมู่บ้านเก่า คอนโดฯ เดิมที่ส่งมอบไปแล้ว โดยประสานงานกับบริษัทนิติบุคคล

    ส่วนการติดตั้งกลุ่ม ‘Day’ บริษัทมีความร่วมมือแล้วหลายแห่งเช่นกัน สถานีที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ใน เซ็นทรัล เอ็มบาสซี นอกจากนี้มีในสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น สิงห์ คอมเพล็กซ์, SC ทาวเวอร์, ไบเทค บางนา, ทรู ดิจิทัล พาร์ค เป็นต้น โดยปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 100 หัวชาร์จในกลุ่มนี้

     

    จับมือ “บางจาก” และ “กฟภ.” กระจายหัวชาร์จต่างจังหวัด

    อีกส่วนที่น่าสนใจคือกลุ่ม On-the-go สถานีชาร์จระหว่างทางที่ครอบคลุมทั่วถึงคือความท้าทายและเป็นหนึ่งในปัจจัยการตัดสินใจซื้อรถอีวี ส่วนนี้พีระภัทรระบุว่าบริษัทมีความร่วมมือกับ บางจาก (หนึ่งในผู้ร่วมลงทุน) และพาร์ตเนอร์กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ด้วยเพื่อขยายตัวในต่างจังหวัด

    เบื้องต้นบริษัทมองเป้าหมายการติดตั้งหัวชาร์จ DC กลุ่ม On-the-go ทั้งในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และหัวเมืองต่างจังหวัดที่มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ มากกว่า 200 กิโลเมตร ขณะนี้มีการติดตั้งแล้ว 6 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ, ปทุมธานี, เชียงใหม่, ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ และนครราชสีมา และตั้งเป้าปีนี้จะเพิ่มเป็น 200 หัวชาร์จในกลุ่มนี้

    SHARGE ผนึกบางจากฯ ร่วมตั้งสถานี Quick SHARGE รองรับรถ EV
    หัวชาร์จ On-the-go ที่ร่วมกับบางจากแห่งแรก ตั้งอยู่ในสถานีน้ำมันบางจาก สุขุมวิท 62

    “เราจะขยายสถานี DC ให้มากขึ้น เพราะคาดว่าปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีดีมานด์สูงจริงๆ ความต้องการชาร์จความเร็วสูงระหว่างเดินทางต่างจังหวัดจะมาจากรถที่เป็น BEV (ใช้ไฟฟ้า 100%) ซึ่งปีนี้จะมีรถยนต์ BEV บนถนนเมืองไทยถึง 5,000 คันอย่างแน่นอน และยอดขายสะสมอาจไปแตะ 10,000 คันได้ในสิ้นปีนี้ ต้องจับตายอดขายในงานมอเตอร์โชว์ที่กำลังจะมาถึง” พีระภัทรกล่าว

     

    นำร่องลูกค้าขนส่งกับ “เรือด่วนเจ้าพระยา”

    พีระภัทรกล่าวต่อว่า อีกส่วนที่สำคัญและเป็นโซลูชันใหม่ปีนี้ของ SHARGE คือ Fleet กลุ่มนี้มีการเซ็นดีลไปให้บริการ “เรือด่วนเจ้าพระยา” ที่เป็นเรือไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว

    โดยกลุ่ม Fleet นี้บริษัทต้องการเข้าไปแก้ปัญหาต้นทุนการลงทุนสูง หากเจ้าของฟลีทพาหนะต้องลงทุนสถานีและหัวชาร์จ รวมถึงระบบบริหารจัดการเอง ดังนั้น SHARGE จะติดตั้งให้ แต่เก็บเกี่ยวรายได้จากการขายไฟฟ้า และบริการหลังบ้านในการตรวจสอบค่าการใช้พลังงาน

    SHARGE
    “พีระภัทร ศิริจันทโรภาส” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE)

    เป้าหมายปี 2568 ของชาร์จ แมเนจเม้นท์ ต้องการมีรายได้สะสม 5 ปี (2564-2568) รวม 3,000 ล้านบาท ซึ่งพีระภัทรระบุว่าขณะนี้บริษัททำได้ 25% ของเป้าแล้ว และมองวิสัยทัศน์ระยะยาว Fleet จะเป็นคีย์สำคัญถึง 50% ของรายได้บริษัท

     

    ตลาดแมสเริ่มแล้ว – วอนรัฐสนับสนุน “มิเตอร์”

    ด้านการเติบโตของ “รถอีวี” ในไทย พีระภัทรมองว่า เดิมตลาดเริ่มจากกลุ่มรถหรูก่อน ไม่ว่าจะเป็น Audi, Porsche, Mercedes-Benz แต่ปี 2565 เห็นได้ชัดว่าตลาดแมสออกสตาร์ทแล้ว จากการเข้ามาของค่ายจีน เช่น MG, GWM และเชื่อว่าปี 2566 จะยิ่งเป็นกระแสในวงกว้าง เพราะค่ายญี่ปุ่น เช่น Toyota, Honda จะออกรถอีวีเพิ่มขึ้น

    “คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ตั้งเป้าให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทรวม 1.05 ล้านคันภายในปี 2568 ผมคิดว่าตัวเลขนี้อาจจะน้อยไปด้วยซ้ำ”

    ขณะนี้รัฐเริ่มการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ด้วยการอุดหนุนทางภาษี แต่พีระภัทรก็ยังเห็นว่ามีส่วนอื่นๆ ที่รัฐควรสนับสนุนเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างพื้นฐานสายส่งไฟฟ้าที่เข้าถึงทุกแห่งมากขึ้น และส่งเสริมการติดตั้งมิเตอร์ที่ 2 สำหรับชาร์จรถอีวีโดยเฉพาะ รวมถึงการขอลดค่าไฟสำหรับชาร์จรถอีวีที่ถูกลง

    ]]>
    1379098
    “แสนสิริ” ประกาศเป้า Net-Zero ดูแลสิ่งแวดล้อม ติดตั้ง “EV Charger” ทุกโครงการในปี 2025 https://positioningmag.com/1370044 Tue, 11 Jan 2022 08:22:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370044 “แสนสิริ” แถลงผลประกอบการปี 2564 โตทะลุเป้า ปี 2565 วางแผนเปิดใหม่มูลค่าโครงการรวม 50,000 ล้านบาท เน้นโครงการระดับเข้าถึงง่ายสนองเรียลดีมานด์ ชูเป้าหมายสำคัญด้าน “สิ่งแวดล้อม” มุ่งสู่ Net-Zero จะมีการติดตั้ง “EV Charger” ในส่วนกลางทุกโครงการใหม่ภายในปี 2025 และเป้าหมายด้านพลังงานโซลาร์ รีไซเคิลขยะจากไซต์ก่อสร้าง

    “เศรษฐา ทวีสิน” ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แสนสิริ แถลงผลการดำเนินงานปี 2564 และแผนงานปี 2565 ของบริษัท

    โดย ยอดขายของแสนสิริปี 2564 ทำได้ 33,500 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 29% ด้าน ยอดโอนกรรมสิทธิ์ทำได้ 32,500 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 21%

    จบสิ้นปีแสนสิริมีกระแสเงินสด 15,000 ล้านบาท ซึ่งเศรษฐามองว่าน่าจะเป็นหนึ่งในบริษัทเบอร์ต้นๆ ของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีกระแสเงินสดในมือสูง ทำให้บริษัทพร้อมรับมือสถานการณ์ปีนี้ และจะลดการทำสงครามราคา เพราะบริษัทมีกระแสเงินสดเพียงพอ

     

    ปี 2565 ลุยเปิดโครงการมูลค่ารวม 50,000 ล้าน

    ด้านแผนดำเนินงานปี 2565 ปีนี้แสนสิริ เตรียมเปิดตัว 46 โครงการ มูลค่ารวม 50,000 ล้านบาท โดยแบ่ง 75% เป็นโครงการแนวราบ 28 โครงการ และ 25% เป็นคอนโดมิเนียม 18 โครงการ

    สำหรับเซ็กเมนต์ที่จะจับตลาดปีนี้ 50% เป็นโครงการระดับราคาเข้าถึงได้ 25% เป็นระดับกลาง และ 25% เป็นระดับบน

    ตลาดโครงการระดับราคาเข้าถึงได้ยังให้น้ำหนักมาก เพราะตลาดเรียลดีมานด์ซื้ออยู่เองมีความต้องการ และเป็นกลุ่มราคาที่เหมาะกับเศรษฐกิจ แบรนด์ที่ถือว่าอยู่ในกลุ่มนี้และจะมีการเปิดตัว ได้แก่ บ้านเดี่ยว อณาสิริ ราคา 3-4 ล้านบาท, ทาวน์เฮาส์ สิริ เพลส ราคาประมาณ 2 ล้านบาท และคอนโดฯ แบรนด์ ดีคอนโด, เดอะมูฟ, คอนโดมี ราคาประมาณ 1-2 ล้านบาท

    ส่วนตลาดระดับบนก็ยังน่าสนใจเช่นกัน เพราะเป็นกลุ่มที่กำลังซื้อสูง ปีที่ผ่านมายอดขายบ้านเดี่ยวระดับบนทำได้ดีมาก ทำให้ปีนี้จะได้เห็นทั้งแบรนด์ นาราสิริ เศรษฐสิริ บุราสิริ และ บูก้าน แบรนด์น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวปีก่อน เปิดทำเลใหม่เพิ่มอีก

    ส่วนจะเป็นทำเลไหนนั้น แสนสิริแบ่งการเปิดตัวปีนี้ 90% อยู่ในกทม.และปริมณฑล 10% อยู่ในต่างจังหวัด มีทำเลเด่นที่แสนสิริจะลุยต่อไปคือ ถ.กรุงเทพกรีฑา และโซนบางนา-สุวรรณภูมิ ที่ถือว่าศักยภาพเติบโตสูงมาก

     

    เป้าหมาย Net-Zero ดูแลสิ่งแวดล้อม

    อีกเป้าหมายสำคัญของแสนสิริที่ประกาศในปีนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากการประชุม COP26 ทำให้บริษัทตั้งเป้าที่จะเป็นบริษัท Net-Zero ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ในอนาคต โดยในแง่การพัฒนาโครงการและการก่อสร้าง มีเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนี้

    • ใช้พลังงานจากโซลาร์รูฟ
      – ติดตั้งในพื้นที่ส่วนกลางของโครงการใหม่ 100% ภายในปี 2022
      – ติดตั้งในบ้านทุกหลังของโครงการระดับบน 100% ภายในปี 2022

    • เสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
      – ติดตั้งในสวนส่วนกลางของทุกโครงการใหม่ 100% มาตั้งแต่ปี 2021
      – ติดตั้งไฟถนนจากพลังงานแสงอาทิตย์ทุกโครงการใหม่ 100% ภายในปี 2030
    • EV Charger
      – ติดตั้งในบ้านทุกหลังของโครงการระดับบน 100% ภายในปี 2022
      – ติดตั้งในพื้นที่ส่วนกลางทุกโครงการใหม่ 100% ภายในปี 2025

    EV Charger แสนสิริ

    • แยกขยะ รีไซเคิลขยะ
      – รียูสหรือรีไซเคิลขยะจากไซต์ก่อสร้าง 70% ได้ภายในปี 2025
      – ขยะเหลือทิ้งจากโรงงาน PCF ของแสนสิริมีไม่เกิน 2%
      – ทุกโครงการแสนสิริ ต้องมีการแยกขยะ
      – จับมือพันธมิตรเพื่อรณรงค์การแยกขยะ
    • ดีไซน์บ้านแบบใหม่ ประหยัดพลังงานได้ 50% ภายในปี 2025 และประหยัดได้ 70% ภายในปี 2030

    สำหรับประเด็น EV Charger ที่น่าจะเป็นเทรนด์อนาคตเมื่อคนไทยใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ในกรณีที่เป็นโครงการเก่าที่ขายหมดแล้วหรือระหว่างขายของแสนสิริ ซึ่งมีการจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาบริหารจัดการแล้ว ทางแสนสิริจะมีการติดต่อกับนิติบุคคลเพื่อนำเสนอการติดตั้ง EV Charger จากบริษัท SHARGE ที่แสนสิริเข้าไปร่วมลงทุน โดยการจะติดตั้งหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนิติบุคคลของแต่ละโครงการเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ

    “เศรษฐา ทวีสิน” ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แสนสิริ และ “อุทัย อุทัยแสงสุข” ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บมจ.แสนสิริ

    ด้านสถานการณ์ธุรกิจอสังหาฯ ปีนี้ เศรษฐาทิ้งท้ายว่าสงครามราคาน่าจะลดลง เพราะนอกจากแสนสิริแล้วบริษัทใหญ่อื่นหลายรายก็มีกระแสเงินสดมั่นคงขึ้นจนไม่ต้องลดราคาหนักเหมือนปีก่อน

    อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบก็มีมาตั้งแต่ต้นปี ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าแพง และไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนระบาดซึ่งกระทบธุรกิจท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มีมุมมองว่า ในระยะต่อไปไม่ควรมีการล็อกดาวน์อีก เพราะจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจสูง ควรจะเรียนรู้การอยู่ร่วมกับการระบาดให้ได้มากกว่า

    ]]>
    1370044