herd immunity – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 17 Jan 2021 14:24:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ซีอีโอ ‘Moderna’ ผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ มองว่า COVID-19 อาจจะอยู่กับเรา ‘ตลอดไป’ https://positioningmag.com/1314626 Sun, 17 Jan 2021 11:50:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314626 ซีอีโอของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 รายใหญ่ของโลกอย่างModerna’ บอกว่า เราอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป

สอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดหลายคนที่มองว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ไวรัสโคโรนาจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่สามารถพบได้ตลอดเวลา แม้ว่าตอนนี้มีอัตราการระบาดจะลดลงแล้วก็ตาม

Stephane Bancel ซีอีโอของ Moderna กล่าวในงาน JPMorgan Healthcare Conference ตอนหนึ่งว่าผู้คนทั่วโลกอาจจะต้องอยู่กับไวรัสชนิดนี้ตลอดไป มันจะไม่หายไปไหน’

ด้านเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข กำลังจับตาการกลายพันธุ์ของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เเม้ตอนนี้จะมีการผลิตวัคซีนออกมาเเละมีการเริ่มฉีดให้ประชาชนบางส่วนเเล้ว เเต่นักวิจัยจากรัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาเพิ่งค้นพบ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ 2 ชนิดที่มาจากอเมริกา เเละเริ่มเเพร่ระบาดในประเทศมาอย่างน้อย 3 สัปดาห์เเล้ว ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2020

ก่อนหน้านี้ มีการค้นพบการกลายพันธุ์ของ COVID-19 ในอังกฤษเเละเเอฟริกาใต้ ก่อนจะลุกลามไปเเล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งคาดว่าการกลายพันธุ์ดังกล่าวสามารถเเพร่ระบาดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก

โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่าตอนนี้มีไวรัส COVID-19 อยู่ 4 สายพันธุ์ เเต่ความรุนเเรงที่อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตยังไม่เท่ากับสายพันธุ์เดิม

ด้านนักวิจัยจาก Pfizer ระบุว่า วัคซีนที่ได้ร่วมพัฒนากับ BioNTech นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกัน COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในอังกฤษและในแอฟริกาใต้ 

ส่วนวัคซีนของ Moderna เพิ่งได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ให้สามารถใช้กับชาวอเมริกันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปได้ แต่วัคซีนสำหรับเด็กยังต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่

ตอนนี้ ทางการสหรัฐฯ กำลังเร่งเเจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชน เเต่ยังต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าที่จะครอบคลุมประชากรในจำนวนที่เพียงพอให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้

ซีอีโอของ Moderna มองว่า สหรัฐฯ น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศขนาดใหญ่ชาติเเรกๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการปกป้องจากโรค COVID-19 ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างเพียงพอ

 

ที่มา : CNBC

]]> 1314626 ฉีดวัคซีนแล้วเลิกใส่มาสก์เลยได้ไหม? ช้าก่อน! ฟัง 3 ขั้นกลับสู่ชีวิตปกติจากผู้เชี่ยวชาญ https://positioningmag.com/1314211 Thu, 14 Jan 2021 07:28:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314211 แม้ว่าไทยจะได้วัคซีนป้องกัน COVID-19 ช้ากว่าบางประเทศ แต่หลายคนน่าจะเริ่มฝันถึงวันที่ได้ฉีดวัคซีนแล้วว่า หลังจากนั้นจะได้กลับไปใช้ชีวิตปกติ ปาร์ตี้ ท่องเที่ยว กินข้าวแบบสบายใจ ที่สำคัญจะได้ไม่ต้องใส่มาสก์ในที่สาธารณะเสียที ใจเย็นๆ ก่อน! เพราะการฉีดวัคซีนเฉพาะตัวเราคนเดียวไม่ได้ทำให้ปลอดภัยพอที่จะทำอย่างนั้น มาฟัง 3 ขั้นการค่อยๆ กลับสู่ชีวิตปกติจากผู้เชี่ยวชาญกัน

“ความจริงแล้ว วัคซีนไม่ได้เป็นสวิตช์กดเปิด/ปิดสู่ชีวิตปกติได้ทันที” เอเลียนอร์ เมอร์เรย์ นักระบาดวิทยาจาก มหาวิทยาลัยบอสตัน กล่าว

แล้วชีวิตหลังการกระจายวัคซีนในหมู่ประชาชนจะเป็นอย่างไร? คำตอบที่ตรงกับความเป็นจริงคือต้องแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 สิ่งที่คุณสามารถทำได้เมื่อคุณและครอบครัว/เพื่อนสนิทได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
ขั้นที่ 2 สิ่งที่คุณสามารถทำได้เมื่อเมืองหรือรัฐของคุณเกิด ‘herd immunity’ คือคนในเมืองมีภูมิคุ้มกันมากพอที่จะไม่เกิดการระบาดรอบใหม่
ขั้นที่ 3 สิ่งที่คุณสามารถทำได้เมื่อ herd immunity เกิดขึ้นในระดับสากลแล้ว (ขั้นตอนนี้มีแนวโน้มสูงมากว่าจะไม่เกิดขึ้นภายในปี 2021 นี้)

นอกจากการต้องรอให้มี herd immunity ในประชากรส่วนใหญ่แล้ว ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เราต้องระวังแม้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วคือ “วัคซีนยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น”

“ขณะนี้มีสมมติฐานว่า ในกรณีที่คุณได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว และร่างกายคุณเริ่มพัฒนาระบบภูมิคุมกันขึ้นมา คุณจะไม่ป่วยและไม่เสียชีวิตจากโรคนี้ แต่ไวรัสอาจจะยังเติบโตได้ในร่างกายคุณและแพร่เชื้อต่อให้คนอื่นได้” แบร์รี่ บลูม ศาสตราจารย์ด้านโรคติดเชื้อและภูมิคุ้มกันวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว

บลูมและผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ มองในแง่บวกว่าวัคซีนน่าจะช่วยลดการแพร่เชื้อต่อได้ แต่ยังไม่มีใครฟันธงได้ในขณะนี้ “เราต้องการดาต้าเกี่ยวกับการแพร่เชื้อให้มากกว่านี้” เขากล่าว “หวังว่าจะมีผลลัพธ์การวิจัยได้ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า”

ดังนั้น ระยะนี้แม้แต่คนที่ได้รับวัคซีนแล้วก็จำต้องระวังไว้ก่อนว่า ตัวคุณเองยังอาจจะมีเชื้อและเป็นพาหะแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ แม้ว่าตัวเองจะไม่ป่วยก็ตาม นั่นแปลว่า คนที่ได้รับวัคซีนแล้วก็ยังต้องใส่หน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างทางสังคม หากไปพบปะกับคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

และเมื่อใดก็ตามที่มีคนได้รับวัคซีนมากขึ้น เราถึงมาเริ่มต้นนับ “ขั้นที่ 1” ของการกลับสู่ชีวิตปกติกัน!

 

ขั้นที่ 1 : เมื่อคุณและครอบครัว/เพื่อนสนิทได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

สมมติว่าคุณและเพื่อนสนิทกลุ่มเล็กๆ ได้รับวัคซีนกันหมดแล้ว ทีนี้คุณกับเพื่อนๆ จะไปเช่าพูลวิลล่าสักหลังจัดปาร์ตี้สุดสัปดาห์ได้หรือยัง โดยไม่ต้องใส่มาส์กหรือเว้นระยะห่างทางสังคมจากกันอีก

คำตอบก็คือ “น่าจะได้แล้ว …แต่ยังมีข้อควรระวังอยู่”

ข้อแรก คือ ไม่ใช่ว่าคุณฉีดวัคซีนโดสที่สองแล้วจะกระโดดขึ้นรถไปปาร์ตี้ที่พัทยาได้ทันที แต่ต้องรออย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเพื่อให้วัคซีนออกฤทธิ์

ข้อที่สอง คือ ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น บางคนอาจจะมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ระบบภูมิคุ้นกันตอบโต้ไวรัสได้ไม่ดีพอ ดังที่เห็นผลการวิจัยในขณะนี้ แม้แต่วัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna ก็ยังให้ประสิทธิภาพที่ 95% ยังมีคนที่วัคซีนไม่ได้ผลอยู่

สรุปก็คือ การไปปาร์ตี้กับเพื่อนที่ฉีดวัคซีนกันหมดแล้วอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ปลอดภัย 100% แต่ก็พอทำได้ถ้ารอเวลาให้ผ่านไป 1 สัปดาห์หลังฉีดโดสสอง และอย่าลืมไปในสถานที่ปิด ไม่ปะปนกับคนอื่นๆ

ส่วนการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันของขั้นที่ 1 ก็คือ คุณยังต้องใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ เพราะยังไม่เกิด herd immunity คุณอาจจะพบปะกับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และไปทำให้คนอื่นติดเชื้อได้

 

ขั้นที่ 2 : เมื่อเมืองหรือรัฐของคุณเกิด ‘herd immunity’ แล้ว

ดร.แอนโธนี เฟาชี ผู้อำนวยการ สถาบันโรคติดเชื้อและภูมิแพ้แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา กล่าวในบริบทของประเทศสหรัฐฯ ว่า ชาวอเมริกันควรจะใส่มาสก์และเว้นระยะห่างอย่างต่อเนื่องจนกว่าประชากร 75-85% ในพื้นที่จะได้รับวัคซีนแล้ว นั่นแปลว่าทั้งประเทศสหรัฐฯ จะมี herd immunity ราวๆ กลางฤดูใบไม้ร่วง (ประมาณเดือนตุลาคม 2021) แน่นอนว่าเป็นข้อมูลการคาดการณ์ มีปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนแปรได้ไม่ว่าจะเป็นการกลายพันธุ์ของ COVID-19 จนถึงอัตราการยอมเข้ารับวัคซีนของประชาชน และอื่นๆ

สำหรับประชากรไทยคิดคร่าวๆ มีทั้งหมด 70 ล้านคน หากจะมี herd immunity ต้องมีประชากรได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 75% เท่ากับประมาณ 52.5 ล้านคน แปลว่าไทยเราต้องมีวัคซีนอย่างน้อย 105 ล้านโดสที่ฉีดให้ประชากรจนครบแล้วเราถึงจะกลับสู่ชีวิตปกติ

หากไปถึง จุดที่ประเทศมี herd immunity เมื่อไหร่ เราจะได้เห็นการกลับสู่ชีวิตปกติจริงๆ เช่น ร้านอาหารเปิดได้ตามปกติ ไม่ต้องเว้นระยะหรือมีฉากกั้น แต่พนักงานเสิร์ฟอาจจะยังต้องใส่มาส์กไปก่อนเพื่อความปลอดภัย โรงภาพยนตร์ไม่ต้องขายตั๋วเว้นที่นั่งว่าง และในที่สุด เราจะได้ไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัยกันแล้ว

การรณรงค์ให้คนส่วนใหญ่ไปรับการฉีดวัคซีนจึงสำคัญมาก เพราะถ้ายังไม่ถึงจุดที่เกิด herd immunity การใช้ชีวิตของคนก็ยังไม่สามารถกลับมาเป็นปกติทั้งสังคมได้

“คุณอาจจะมีวัคซีนที่ยอดเยี่ยมมาก แต่มันไม่สามารถกำจัดไวรัสไปหมดได้จนกว่าจะมีคนไปฉีดวัคซีนเป็นวงกว้างมากๆ” แองเจล่า ราสมุสเซ่น นักวิทยาไวรัสที่ทำงานร่วมกับ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กล่าว “อย่างไรก็ตาม คนมักจะคิดถึงวัคซีนในแง่ของการป้องกันส่วนบุคคล มากกว่าจะคิดว่าวัคซีนคือสิ่งที่ต้องใช้ให้ทั่วถึงทั้งสังคมจึงจะได้ผล”

พูดง่ายๆ ก็คือ “ไม่มีใครปลอดภัยจริงๆ จนกว่า ‘ทุกคน’ จะปลอดภัย”

 

ขั้นที่ 3 : เมื่อ herd immunity เกิดขึ้นในระดับสากลแล้ว

ฝันถึงทริปต่างประเทศอยู่หรือเปล่า? บอกกันตรงๆ ตรงนี้เลยว่า ปีนี้ยังเดินทางต่างประเทศลำบาก

เมอร์เรย์จาก ม.บอสตันกล่าวว่า สหรัฐฯ แคนาดา และประเทศกลุ่มยุโรปได้วัคซีนเร็วมาก แต่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีจำนวนมากยังเข้าถึงวัคซีนได้ยาก และประชาชนจะได้รับวัคซีนช้ากว่า แปลว่าการเดินทางหากันโดยอิสระตามปกติจะยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้

ในอีกมุมหนึ่ง เมื่อบางประเทศได้รับวัคซีนเร็วกว่า บุคคลที่ได้รับวัคซีนแล้วจะขอเดินทางไปยังประเทศใดๆ ก็ได้ได้หรือยัง?

เมอร์เรย์อธิบายว่า คำถามนี้ต้องกลับไปดูคำตอบของประเด็นที่ว่า “วัคซีนช่วยป้องกันการแพร่เชื้อด้วยหรือไม่” ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น เพราะถ้าหากวัคซีนไม่ได้ช่วยป้องกันการแพร่เชื้อ (เสมือนว่าผู้ได้รับวัคซีนยังเป็นพาหะได้อยู่) การที่คนที่ได้รับวัคซีนเดินทางเข้าประเทศที่ยังไม่มี herd immunity คนต่างชาติก็จะไปทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อที่ประเทศนั้นๆ

แต่ถ้าหากผลการศึกษาพบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการแพร่เชื้อต่อได้ด้วย ก็จะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพิงเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เพราะจะสามารถเปิดประเทศให้คนที่ได้รับวัคซีนแล้วเข้ามาเที่ยวในประเทศ ฟื้นเศรษฐกิจที่ซบเซาให้กลับมาคึกคักอีกครั้งได้ โดยไม่ต้องรอให้คนในประเทศรับวัคซีนมากพอเสียก่อน

ดังที่กล่าวไปว่า ผลการศึกษาเรื่องวัคซีนช่วยป้องกันไม่ให้คนเป็นพาหะแพร่เชื้อด้วยหรือไม่ ต้องใช้เวลาอีก 2-3 เดือน ดังนั้น คำตอบของเรื่องนี้ต้องรอจนถึงอย่างน้อยเดือนมีนาคมนี้

ระหว่างนี้ก็สวมมาสก์ เว้นระยะห่าง ล้างมือกันต่อไปก่อน จนกว่าประเทศไทยเราจะมีประชากรได้รับวัคซีนครบอย่างน้อย 52.5 ล้านคน!

Source

]]>
1314211
เปิดเหตุผล ทำไม ‘อินโดนีเซีย’ เลือกฉีดวัคซีน COVID-19 ให้คนวัยทำงาน ก่อนผู้สูงอายุ? https://positioningmag.com/1313072 Wed, 06 Jan 2021 10:39:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313072 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกอย่างอินโดนีเซียวางเเผนจะเริ่มเเจกจ่ายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชาชนกว่าร้อยล้านคนภายในเดือนมีนาคมนี้

ในขณะที่หลายชาติ ทั้งสหรัฐฯ เเละยุโรป เลือกฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ’ ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจเเละโรคเเทรกซ้อนมากกว่า

เเต่อินโดนีเซียกลับมีเเนวทางที่เเตกต่างออกไป โดยมีแผนจะฉีดให้กับประชากรวัยทำงาน เป็นกลุ่มแรกๆ ถัดจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เเละเจ้าหน้าที่ทางการ โดยหวังว่าช่วยขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 

เเละนี่คือมุมมองของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อดีและความเสี่ยงที่อินโดนีเซียเลือกใช้แนวทางนี้ 

ทำไมต้องฉีดวัคซีนให้กลุ่มอายุ 18-59 ปี ก่อน?

อินโดนีเซีย เตรียมแจกจ่ายให้ประชาชนในเฟสแรก ด้วยวัคซีนของบริษัท Sinovac Biotech ของจีน โดยรัฐบาลได้ทำข้อตกลงซื้อวัคซีน 125.5 ล้านโดส ซึ่งตอนนี้วัคซีนล็อตแรก 3 ล้านโดสได้มาถึงอินโดนีเซียแล้ว

ขณะที่วัคซีนของ Pfizer คาดว่าจะส่งถึงอินโดนีเซียในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป ส่วนวัคซีนที่พัฒนาโดย AstraZeneca-Oxford จะเริ่มแจกจ่ายในช่วงไตรมาส 2

การฉีดวัคซีนของอินโดนีเซีย จะเริ่มจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการก่อน จากนั้นจะแจกจ่ายให้คนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ซึ่งเป็นลำดับการเข้าถึงวัคซีนที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ เเละสหราชอาณาจักร ที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยก่อน ทำให้การเเจกจ่ายวัคซีนครั้งนี้ จึงถูกจับตามองจากนานาประเทศเป็นพิเศษ 

โดยวัคซีน Sinovac ของจีนนั้นได้ทำการทดลองทางคลินิกกับกลุ่มคนในช่วงวัย 18-59 ปี แตกต่างจากวัคซีนของประเทศตะวันตกอย่าง Pfizer และ Moderna ที่มีผลการทดลองออกมาแล้วว่า ใช้ได้ผลดีกับคนทุกช่วงอายุ

Peter Collignon ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ให้ความเห็นว่า ไม่มีใครฟันธงได้ว่าวิธี (เเจกจ่ายวัคซีน) เเบบไหนเป็นวิธีที่ถูกต้อง เเละยังไม่เเน่ชัดว่ากลยุทธ์ของอินโดนีเซียอาจช่วยชะลอการเเพร่ระบาดของโรคได้จริง 

เเต่การที่รัฐบาลอินโดฯ ใช้วิธีที่เเตกต่างจากสหรัฐฯ และยุโรป ถือว่าเป็นประโยชน์เชิงข้อมูล เพราะเราจะได้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่าง ส่วนจะได้เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไป

Photo : Shutterstock

ด้านศาสตราจารย์ Dale Fisher จาก Yong Loo Lin School of Medicine มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ บอกว่า เขาเข้าใจถึงเหตุผลที่อินโดนีเซียเลือกวิธีนี้ เพราะคนวัยทำงานมีกิจกรรมมากกว่า เข้าสังคมมากกว่า และเดินทางบ่อยกว่า ดังนั้นยุทธศาสตร์นี้ น่าจะช่วยลดการแพร่ระบาดในชุมชนได้เร็วกว่าการมุ่งฉีดวัคซีนให้ผู้สูงวัย

แน่นอนว่าคนแก่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีอาการของโรคและเสียชีวิตได้มากกว่า ดังนั้นการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ซึ่งผมมองเห็นข้อดีของทั้งสองกลยุทธ์” Fisher ระบุ

 ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เป้าหมายหลักๆ ของอินโดนีเซียคือการทำให้เกิด ‘herd immunity’ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดยการทำให้สัดส่วนของประชากรผู้มีภูมิคุ้มกันแล้วมีจำนวนมากพอ จนเชื้อไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายหรือถูกส่งผ่านไปยังคนอื่นได้ ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเเละสังคมอย่างรวดเร็ว

Budi Gunadi Sadikin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ประชากร 181.5 ล้านคน หรือประมาณ 67% ของประชากรทั้งหมด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และต้องการวัคซีนเกือบ 427 ล้านโดส กรณีที่ต้องฉีดวัคซีนให้ประชากรคนละ 2 ครั้ง เพื่อลดอัตราการสูญเสีย 15%

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังสงสัยเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อค้นคว้าว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเเล้วจะยังสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้อีกหรือไม่

Photo : Getty Images

นักเศรษฐศาสตร์ มองอีกมุมว่า โครงการฉีดวัคซีนให้เกิด ‘herd immunity’ ที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องครอบคลุมประชากรประมาณ 100 ล้านคนจึงจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากทำให้ประชากรเหล่านี้จะกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นการใช้จ่ายและการผลิต

Faisal Rachman นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Mandiri บอกว่า ประชาชนวัยทำงาน อายุ 18-59 ปี เป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ

พวกเขาจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการบริโภคในครัวเรือนมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมากกว่า 50% ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นในประเทศนั้น เป็นการลดความเชื่อมั่นของประชาชน

อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เเต่การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ปะทุขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปี โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะหดตัวถึง 2.2%  

 

 

ที่มา : Reuters , Jakartapost

]]>
1313072